คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ยักยอกทรัพย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 543 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5838/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ยักยอกทรัพย์: การครอบครองรถนานและถอดอะไหล่ขาย ถือเป็นความผิดฐานยักยอก
รถยนต์ที่ผู้เสียหายมอบให้จำเลยซ่อมได้อยู่กับจำเลยนานถึง 1 ปีเศษ ถือได้ว่าผู้เสียหายมอบหมายให้จำเลยครอบครองทรัพย์นั้นไว้ จำเลยถอดอะไหล่และเครื่องเสียงในรถยนต์ให้บุคคลอื่นหรือนำไปขาย จึงเป็นการเบียดบังเอาทรัพย์ดังกล่าวเป็นของตนและบุคคลที่สามโดยทุจริต เป็นความผิดฐานยักยอกตาม ป.อ. มาตรา 352 วรรคแรก โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 334, 357 เมื่อศาลฎีกาพิจารณาแล้วเห็นว่าจำเลยกระทำความผิดฐานยักยอกตามมาตรา 352 วรรคแรก แม้ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างจากที่กล่าวในฟ้องก็ไม่ใช่ข้อแตกต่างในข้อสาระสำคัญ และจำเลยมิได้หลงต่อสู้ ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานยักยอก ตามที่พิจารณาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4649/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล: ความผิดฐานยักยอกทรัพย์ต้องเกิดขึ้นในเขตอำนาจศาล จึงจะรับคดีได้
จำเลยมิได้ยักยอกเงินของโจทก์ที่จังหวัดเชียงราย จำเลยรับเงินและเช็คจากลูกค้าของโจทก์ที่จังหวัดสมุทรปราการแล้วไม่นำส่งให้โจทก์ที่จังหวัดเชียงราย แต่กลับนำเงินและเช็คเข้าบัญชีเงินฝากของจำเลยที่ธนาคารซึ่งตั้งอยู่ที่กรุงเทพมหานคร แม้อาจจะเป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์ แต่ความผิดดังกล่าวก็มิได้เกิดขึ้น อ้างหรือเชื่อว่าได้เกิดขึ้นในจังหวัดเชียงราย อันจะทำให้ศาลจังหวัดเชียงรายมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีได้ การที่จำเลยมีเจตนาทุจริต โดยมีการวางแผนยักยอกเงินของโจทก์ที่จังหวัดเชียงราย หลังจาก ส. ถึงแก่ความตายแล้ว ก็ยังถือไม่ได้ว่าความผิดได้เกิดขึ้นแล้วอันจะทำให้ศาลจังหวัดเชียงรายไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแล้ว กรณีจึงไม่อาจโอนคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 23 วรรคหนึ่ง ไปชำระที่ศาลแขวงสมุทรปราการได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4649/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล: ความผิดฐานยักยอกทรัพย์ต้องพิจารณาที่สถานที่กระทำความผิด หากมิได้เกิดขึ้นในเขตอำนาจศาล ศาลนั้นไม่มีอำนาจพิจารณา
ที่ประชุมผู้ถือหุ้นของโจทก์มอบหมายให้จำเลยทั้งสองเป็นผู้ทำบัญชี เก็บเอกสาร การเงินและนำเงินรายได้จากขายห้องชุดที่จังหวัดสมุทรปราการนำเข้าบัญชีของโจทก์ที่จังหวัดเชียงราย การที่จำเลยทั้งสองรับเงินและเช็คจากลูกค้าของโจทก์ที่จังหวัดสมุทรปราการแล้วไม่นำส่งให้โจทก์ที่จังหวัดเชียงราย แต่กลับนำเงินเข้าบัญชีเงินฝากของจำเลยทั้งสองที่ธนาคารในกรุงเทพมหานคร แม้การกระทำของจำเลยทั้งสองอาจเป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์ แต่ความผิดดังกล่าวมิได้เกิดขึ้น อ้าง หรือเชื่อว่าได้เกิดขึ้นในจังหวัดเชียงราย อันจะทำให้ศาลจังหวัดเชียงราย มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีได้ ที่โจทก์อ้างว่าจำเลยทั้งสองมีเจตนาทุจริต โดยมีการวางแผนยักยอกเงินของโจทก์ที่จังหวัดเชียงรายตั้งแต่เมื่อปลายเดือนเมษายน 2539 ข้ออ้างดังกล่าวของโจทก์ยังถือไม่ได้ว่าความผิดฐานยักยอกทรัพย์ได้เกิดขึ้นแล้ว อันจะทำให้ศาลจังหวัดเชียงรายมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีได้ เมื่อศาลจังหวัดเชียงรายไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแล้ว จึงไม่อาจโอนคดีไปชำระที่ศาลแขวงหรือศาลจังหวัดสมุทรปราการได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 23 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2192/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งพนักงานตรวจแรงงานเป็นที่สุดเมื่อจำเลยไม่นำคดีไปสู่ศาล ศาลไม่รับฟ้องแย้งเรื่องยักยอกทรัพย์
โจทก์ฟ้องว่าพนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งที่ 31/2545 สั่งให้จำเลยชำระค่าจ้างและเงินประกันแก่โจทก์ พ้นกำหนดระยะเวลาตามที่กฎหมายบัญญัติแล้วจำเลยไม่นำคดีไปสู่ศาลและไม่ปฏิบัติตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน ขอให้บังคับจำเลยปฏิบัติตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานที่ 31/2545 การที่จำเลยไม่นำคดีไปสู่ศาลทำให้คำสั่งพนักงานตรวจแรงงานเป็นที่สุดตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 125 วรรคสอง ซึ่งจำเลยต้องปฏิบัติตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานนั้นไม่มีสิทธินำคดีในเรื่องเดียวกันนี้ไปสู่ศาลอีก ตามคำฟ้องจึงเป็นกรณีโจทก์ฟ้องขอบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานอันเป็นที่สุดแล้ว ไม่เกี่ยวกับเรื่องโจทก์ยักยอกทรัพย์จำเลย ที่จำเลยฟ้องแย้งว่าโจทก์ยักยอกทรัพย์ของจำเลย โจทก์ต้องชดใช้ราคาทรัพย์ที่ยักยอกโดยจำเลยขอนำเงินตามจำนวนที่พนักงานตรวจแรงงานสั่งให้จำเลยชำระมาหักกับราคาทรัพย์แล้วให้โจทก์ชำระส่วนที่เหลือจึงไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2192/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งพนักงานตรวจแรงงานเป็นที่สุดเมื่อจำเลยไม่นำคดีไปสู่ศาล ฟ้องแย้งเรื่องยักยอกทรัพย์ไม่เกี่ยวเนื่องกับคำฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่าพนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้จำเลยชำระค่าจ้างและเงินประกันแก่โจทก์ พ้นกำหนดระยะเวลาตามที่กฎหมายบัญญัติแล้วจำเลยไม่นำคดีไปสู่ศาลและไม่ปฏิบัติตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน ขอให้บังคับจำเลยปฏิบัติตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน การที่จำเลยไม่นำคดีไปสู่ศาลทำให้คำสั่งพนักงานตรวจแรงงานเป็นที่สุดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 125 วรรคสอง ซึ่งจำเลยต้องปฏิบัติตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานนั้น ไม่มีสิทธินำคดีในเรื่องเดียวกันนี้ไปสู่ศาลอีก ตามคำฟ้องจึงเป็นกรณีโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยปฏิบัติตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานอันเป็นที่สุดแล้ว ไม่เกี่ยวกับเรื่องโจทก์ยักยอกทรัพย์จำเลย ดังนั้นที่จำเลยฟ้องแย้งอ้างว่าโจทก์ยักยอกทรัพย์ของจำเลย โจทก์ต้องชดใช้ราคาทรัพย์ที่ยักยอกโดยจำเลยขอนำเงินตามจำนวนที่พนักงานตรวจแรงงานสั่งให้จำเลยชำระมาหักกับราคาทรัพย์แล้วให้โจทก์ชำระส่วนที่เหลือ จึงไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4608/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากสัญญาจ้างแรงงาน ไม่เป็นฟ้องซ้อนคดีอาญา ยักยอกทรัพย์
คดีก่อนพนักงานอัยการฟ้องจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานยักยอกเงินและให้จำเลยที่ 1 คืนหรือใช้เงินที่ยักยอกไปแก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหาย แม้การขอให้คืนหรือใช้เงินจะเป็นการขอแทนโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 ก็ตาม แต่ก็เป็นความเสียหายอันเนื่องมาจากการกระทำผิดอาญาเท่านั้น ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างโจทก์มีข้อตกลงกับโจทก์ว่าในระหว่างการทำงานหากจำเลยที่ 1 ทุจริตต่อหน้าที่ ยักยอก ฉ้อโกงจนเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 1 ยอมชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งหมดและยอมเสียค่าปรับให้โจทก์อีก 3 เท่าของราคาทรัพย์สินหรือความเสียหายที่เกิดขึ้น โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันยอมรับอย่างลูกหนี้ร่วม ระหว่างที่จำเลยที่ 1 ทำงานอยู่กับโจทก์จำเลยที่ 1 ทุจริตต่อหน้าที่โดยยักยอกเงินของโจทก์ด้วยวิธีการต่างๆ หลายครั้งรวมเป็นเงิน 1,222,095 บาท อันเป็นการจงใจละเมิดสัญญาจ้างแรงงาน จำเลยที่ 1 จึงต้องชดใช้เงินจำนวนดังกล่าวและค่าปรับตามสัญญาให้แก่โจทก์ โดยจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันใช้เงินที่จำเลยที่ 1 ยักยอกพร้อมค่าปรับ อันเป็นการฟ้องในมูลหนี้ผิดสัญญาทางแพ่ง แม้จะมีคำขอให้จำเลยที่ 1 คืนหรือใช้เงินที่ยักยอกเหมือนกัน แต่ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาในคดีที่พนักงานอัยการขอให้บังคับในส่วนแพ่งนั้นมาจากการกระทำผิดอาญาอันเป็นการเรียกร้องในมูลหนี้ละเมิด แต่คดีนี้มีที่มาจากมูลสัญญาจ้างแรงงานและสัญญาค้ำประกัน ข้ออ้างอันอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาจึงมิได้เป็นอย่างเดียวกัน ไม่ใช่เป็นการฟ้องร้องเรื่องเดียวกันตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31 ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนกับคดีส่วนแพ่งของคดีอาญาคดีก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2284/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ยักยอกทรัพย์: การครอบครองทรัพย์โดยอนุญาตไม่ตัดสิทธิความผิดฐานยักยอก หากมีการทุจริตเบียดบังเอาราคา
เหตุผลตามที่จำเลยยกขึ้นอ้างเป็นเพียงข้อตกลงและมีผลต่อกันว่าผู้เสียหายยินยอมให้จำเลยครอบครองและทำการจำหน่ายสินค้าของผู้เสียหาย อันเป็นพฤติการณ์แห่งข้อเท็จจริงในการที่จำเลยได้เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในการครอบครองทรัพย์ของผู้เสียหาย การกระทำความผิดฐานยักยอกทรัพย์นี้ แม้ผู้เสียหายจะอนุญาตหรือยินยอมให้จำเลยกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์ของผู้เสียหายที่จำเลยครอบครองอยู่นั้นได้ตามที่ตกลงกันไว้ แต่การครอบครองทรัพย์ดังกล่าวของจำเลยจะกลายเป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์ทันที เมื่อจำเลยกระทำการเบียดบังเอาทรัพย์หรือราคาทรัพย์ของผู้เสียหายเป็นของจำเลยโดยมีเจตนาทุจริตตามบทบัญญัติใน ป.อ. มาตรา 352 วรรคแรก ฉะนั้น การที่ผู้เสียหายไม่อนุญาตให้จำเลยเข้าครอบครองทรัพย์ของผู้เสียหายหรือไม่ จึงหาใช่เป็นองค์ประกอบความผิดฐานยักยอกทรัพย์แต่อย่างใดไม่
จากข้อความที่ปรากฏในเอกสารได้ความแต่เพียงว่า เงินค่าราคาสินค้าที่จำเลยรับมาจากลูกค้าแล้วไม่ส่งมอบให้แก่ผู้เสียหายมีจำนวน 94,729 บาท จำเลยจะนำมาส่งคืนให้ผู้เสียหายในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2541 เท่านั้น โดยไม่ปรากฏข้อความหรือพฤติการณ์ใดเลยว่า ผู้เสียหายได้ตกลงยินยอมที่จะไม่ดำเนินคดีทางอาญาเกี่ยวกับความผิดฐานยักยอกทรัพย์ที่จำเลยได้กระทำขึ้นให้ระงับหรือเลิกกันไป สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงยังไม่ระงับไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5437/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำนำทรัพย์สินเพื่อไถ่ถอนจากการขายฝาก ไม่ถือเป็นยักยอกทรัพย์ หากมีหลักประกันชัดเจน
โจทก์มีอาชีพขายเครื่องประดับอัญมณี โจทก์นำเครื่องประดับอัญมณีไปขายฝากหรือจำนำที่ห้างทอง พ. เป็นเงิน 3 ล้านบาทเศษ ต่อมาโจทก์ขอให้จำเลยที่ 1 ช่วยเหลือโดยการไถ่ทรัพย์สินดังกล่าวให้ ซึ่งแน่นอนว่าโจทก์ต้องมีหลักประกันที่น่าเชื่อถือให้แก่จำเลยที่ 1 เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 มีความสนิทสนมกันเป็นพิเศษถึงขนาดที่จำเลยที่ 1 จะนำเงินจำนวนมากไปไถ่ทรัพย์สินให้โจทก์โดยไม่มีค่าตอบแทนหรือหลักประกัน เมื่อจำเลยที่ 1 ไถ่ทรัพย์สินมาแล้วโจทก์ได้ส่งมอบทรัพย์สินนั้นให้แก่จำเลยที่ 1 ทันทีเพื่อเป็นหลักประกันหนี้ ย่อมเข้าลักษณะเป็นการจำนำตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 747 จำเลยที่ 1 ผู้รับจำนำชอบที่จะยึดของจำนำไว้ได้ทั้งหมดจนกว่าจะได้รับชำระหนี้และค่าอุปกรณ์ครบถ้วนตามมาตรา 758ส่วนการที่โจทก์ตกลงให้จำเลยที่ 1 นำทรัพย์สินไปขายให้แก่บุคคลอื่นโดยโจทก์กำหนดราคาขายให้นั้น ก็เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 ผู้รับจำนำจะช่วยขายทรัพย์สินที่จำนำให้แก่โจทก์เพื่อนำเงินมาชำระหนี้คืนแก่จำเลยที่ 1 เท่านั้น มิใช่เรื่องตัวการตัวแทนทั้งข้อเท็จจริงก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้ขายทรัพย์สินจำนำให้แก่จำเลยที่ 2 แล้วหรือไม่ แต่กลับได้ความจากโจทก์เองว่า จำเลยที่ 2 มีหนังสือทวงถามให้โจทก์ชำระเงินเพื่อชำระหนี้จำนำทรัพย์สินดังกล่าวให้เสร็จภายใน 30 วัน อันเป็นการแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 มิใช่ผู้ซื้อทรัพย์สินของโจทก์จากจำเลยที่ 1 แต่อย่างใด ดังนั้น แม้หากจะฟังว่าจำเลยที่ 1 ได้ขายทรัพย์สินไปแล้วและยังไม่ได้ชำระเงินค่าทรัพย์สินส่วนที่เหลือจากการหักชำระหนี้จำนำคืนให้แก่โจทก์ก็ตาม ก็เป็นเรื่องผิดสัญญาทางแพ่งที่โจทก์ต้องฟ้องร้องขอชำระหนี้ที่จำนำหรือเรียกราคาทรัพย์สินคืนจากจำเลยทั้งสองเท่านั้น จำเลยทั้งสองไม่มีความผิดฐานยักยอก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4497/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องเคลือบคลุม: จำเป็นต้องระบุรายละเอียดการยักยอกทรัพย์ แม้มีสัญญารับผิดรับใช้
โจทก์ฟ้องว่า ประมาณเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม 2542 จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของโจทก์ได้ยักยอกเงินและสินค้าของโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเป็นเงิน202,314 บาท และจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2543จำเลยที่ 2 ได้ขอเข้าทำสัญญารับผิดรับใช้กับโจทก์ ขอบังคับให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ คำฟ้องของโจทก์มีมูลฐานมาจากการที่จำเลยที่ 1 ยักยอกเงินและสินค้าเป็นข้อสำคัญ ซึ่งโจทก์จะต้องบรรยายฟ้องโดยแจ้งชัดว่า จำเลยที่ 1 ได้ยักยอกเงินและสินค้าไปเมื่อใด เงินที่ยักยอกเป็นจำนวนเท่าใด สินค้าที่ยักยอกเป็นสินค้าประเภทใดจำนวนเท่าใด และราคาเท่าใด แม้โจทก์จะเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดตามสัญญารับผิดรับใช้ด้วย แต่หนี้ตามสัญญารับผิดรับใช้ก็มีมูลฐานมาจากที่โจทก์กล่าวหาจำเลยที่ 1ยักยอกเงินและสินค้าของโจทก์ ซึ่งจำเลยที่ 2 ย่อมยกเป็นข้อต่อสู้ถึงการมีอยู่ จำนวนและความสมบูรณ์แห่งหนี้ดังกล่าวได้ เมื่อโจทก์มิได้กล่าวโดยแจ้งชัดถึงเรื่องจำเลยที่ 1ยักยอกเงินและสินค้าของโจทก์ไป จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคสอง ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 185/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างฐานยักยอกทรัพย์และการฝ่าฝืนระเบียบ คำพิพากษาไม่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา
จำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์ซึ่งมีหน้าที่และรับผิดชอบขับรถยนต์นำน้ำมันไปส่งให้แก่กรมช่างอากาศ แต่โจทก์หาได้กระทำเช่นนั้นไม่ กลับยักยอกเอาน้ำมันดังกล่าวไปเป็นของบุคคลอื่นโดยทุจริต ทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย การเลิกจ้างดังกล่าวจึงมาจากเหตุที่โจทก์ยักยอกทรัพย์และฝ่าฝืนระเบียบและคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลย การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าแม้จะฟังไม่ได้ว่าโจทก์ยักยอกน้ำมัน แต่การกระทำของโจทก์เป็นการฝ่าฝืนระเบียบและคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยนั้น เป็นการวินิจฉัยถึงเหตุแห่งการเลิกจ้างตามที่ระบุไว้ในคำสั่งเลิกจ้างแล้ว มิใช่เป็นการยกเหตุอื่นนอกเหนือจากที่มีในคำสั่งเลิกจ้างมาวินิจฉัยคดีแต่อย่างใด
โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างฟ้องจำเลยผู้เป็นนายจ้างเรียกค่าชดเชยสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า โบนัส เงินบำเหน็จ และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม อันเป็นการฟ้องบังคับตามสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้ที่เกิดจากการผิดสัญญาจ้างแรงงานแม้โจทก์จะถูกดำเนินคดีอาญาฐานยักยอกทรัพย์ตามที่จำเลยกล่าวหาก็ไม่ทำให้คดีนี้กลายเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาดังนั้น ในการพิพากษาคดีศาลแรงงานกลางจึงไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา
of 55