พบผลลัพธ์ทั้งหมด 29 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4926/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกเว้นภาษีการค้าสำหรับยาที่ต้องผ่านกรรมวิธีเพิ่มเติมก่อนใช้ และการคำนวณดอกเบี้ยคืนภาษี
สินค้ายากานาไมซินซัลเฟตและเจนตาไมซินซัลเฟต แม้จะมีคุณสมบัติในการรักษาโรคโดยไม่ต้องใส่ยาตัวอื่นเติม เข้าไป แต่เมื่อจะใช้ต้องไปทำตามกรรมวิธีด้วยเครื่องจักรในสถานที่ปราศจากเชื้อตลอดจนภาชนะและตัวผู้ทำก็ต้องปราศจากเชื้อด้วย เป็นการเอาไปผลิตใหม่เพื่อให้เป็นยาสำเร็จรูปใช้ได้ทันที จึงไม่เป็นยาซึ่งแพทย์หรือประชาชนนำไปใช้ได้โดยตรง ตามบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกา(ฉบับที่ 54) พ.ศ. 2517 บัญชีที่ 3 หมวด 2(1) โจทก์จึงได้รับยกเว้นภาษีการค้าสำหรับการขายสินค้านั้นตามมาตรา 5(8) แห่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว ตามมาตรา 5 ทศ แห่งประมวลรัษฎากร และกฎกระทรวง ฉบับที่ 161(พ.ศ.2526) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการให้ดอกเบี้ยแก่ผู้ได้รับคืนเงินภาษีอากรข้อ 1(2) ให้เริ่มคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันถัดจากวันครบระยะเวลาสามเดือน นับแต่วันยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีอากรดังนั้น เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีอากรในวันที่ 28พฤศจิกายน 2529 จึงครบระยะเวลาสามเดือนในวันที่ 28 กุมภาพันธ์2530 และต้องเริ่มคิดดอกเบี้ยให้โจทก์ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2530เป็นต้นไป แม้ว่าตามมาตรา 4 ทศ แห่งประมวลรัษฎากร โจทก์จะมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือน ซึ่งเป็นอัตรามากกว่าอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ขอให้จำเลยทั้งสองรับผิดใช้ดอกเบี้ยเพียงอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ศาลจึงพิพากษาให้เท่าที่โจทก์ขอ แต่ไม่เกินกว่าจำนวนเงินภาษีอากรที่ได้รับคืนตามมาตรา 4 ทศวรรคสอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4602/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความอัตรากำไรมาตรฐานยาตามบัญชีอัตรากำไรมาตรฐานสินค้านำเข้า: ยาสำหรับสัตว์จัดอยู่ในอัตรา 11.5% ไม่ใช่ 21%
ยาทุกชนิดตามข้อ 3 (1) ของบัญชีอัตรากำไรมาตรฐานสินค้านำเข้า หมายถึงยาที่ใช้กับมนุษย์เท่านั้น สำหรับยาป้องกันกำจัดศัตรูและโรคพืชสัตว์ตามข้อ 3 (4) หมายถึงยาป้องกันกำจัดศัตรูและโรคพืชอย่างหนึ่งกับยาห้องกันกำจัดศัตรูและโรคสัตว์อีกอย่างหนึ่ง
สินค้าของโจทก์เป็นยารักษาโรคสัตว์ทั่วไป จึงเป็นยากำจัดโรคสัตว์ตามข้อ 3 (4) อัตรากำไรมาตรฐานกำหนดไว้ร้อยละ 11.5
สินค้าของโจทก์เป็นยารักษาโรคสัตว์ทั่วไป จึงเป็นยากำจัดโรคสัตว์ตามข้อ 3 (4) อัตรากำไรมาตรฐานกำหนดไว้ร้อยละ 11.5
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2230/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลียนแบบเครื่องหมายการค้าและหีบห่อยา ไม่เข้าข่ายละเมิด หากมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน และผู้บริโภคต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ
โจทก์เป็นเจ้าของยาชื่อ PERIACTIN ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านี้ในประเทศไทยแล้ว ส่วนจำเลยที่ 2 ได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าคำว่า PERITADINE เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการของจำเลยที่ 1 การที่จำเลยพิมพ์คำนี้บนกล่องบรรจุยาของจำเลย แม้จะมีคำภาษาไทย "เพอริตาดิน" พิมพ์ไว้ด้วย จำเลยก็มีสิทธิ์ทำได้ และการที่แผงยาของจำเลยทำด้วยพลาสติกเซโลเฟนด้านหนึ่ง และอลูมิเนียมหรือฟอยล์สีฟ้าคล้ายกับแผงยาของโจทก์อีกด้านหนึ่ง แต่ตัวอักษรที่พิมพ์ไว้ทั้งสองด้านแตกต่างกันหลายประการ แผงยาของโจทก์และแผงยาของจำเลยจึงแตกต่างกัน ไม่อาจทำให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นแผงยาของผู้ผลิตรายเดียวกันได้ โดยเฉพาะยาของโจทก์และจำเลยเป็นยาอันตรายด้วยกัน ตามปกติผู้ซื้อและผู้ขายจะต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ จึงเป็นการยากที่จะทำให้ผู้ซื้อเข้าใจผิดได้ สำหรับกล่องบรรจุแผงยาของโจทก์และของจำเลยก็มีลักษณะสีสรรแตกต่างกันมาก ไม่อาจทำให้ประชาชนเข้าใจผิดได้ การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นการเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ และเอาชื่อรูปรอยประดิษฐ์ในการประกอบการค้าของโจทก์ไปใช้กับสินค้าของจำเลยเพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าของโจทก์ ไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์
ฟ้องของโจทก์ได้บรรยายโดยแจ้งชัดแล้วว่า โจทก์มีสิทธิ์ในเครื่องหมายการค้าของโจทก์อย่างไร และจำเลยได้กระทำการอย่างใดบ้างอันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ สำหรับค่าเสียหายก็ได้บรรยายแล้วว่าการกระทำของจำเลยทำให้โจทก์เสียหายอย่างใดคิดเป็นเงินเท่าใด ฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
ฟ้องของโจทก์ได้บรรยายโดยแจ้งชัดแล้วว่า โจทก์มีสิทธิ์ในเครื่องหมายการค้าของโจทก์อย่างไร และจำเลยได้กระทำการอย่างใดบ้างอันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ สำหรับค่าเสียหายก็ได้บรรยายแล้วว่าการกระทำของจำเลยทำให้โจทก์เสียหายอย่างใดคิดเป็นเงินเท่าใด ฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 237/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดเกี่ยวกับยา สถานพยาบาล และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม โดยไม่ได้รับอนุญาต
คำว่า 'ขาย' ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติยาพ.ศ.2510 หมายความถึงจำหน่าย จ่าย แจก หรือแลกเปลี่ยนเพื่อประโยชน์ในการค้า และมีไว้เพื่อขายด้วย
ยาที่จำเลยได้ขายและมีไว้เพื่อขายโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นทรัพย์สินที่ต้องริบตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510 มาตรา 126 ส่วนเครื่องมือและอุปกรณ์การแพทย์ซึ่งจำเลยใช้ในการรักษาพยาบาลคนไข้ในสถานพยาบาลซึ่งจำเลยเป็นผู้ดำเนินการโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นทรัพย์สินที่ศาลมีอำนาจสั่งริบได้ตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ.2504 มาตรา 37
พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ.2504 มาตรา 38 เป็นกรณีที่ผู้ได้รับอนุญาตให้ดำเนินการสถานพยาบาลอยู่ก่อนและได้ดำเนินการต่อไปเมื่อใบอนุญาตสิ้นอายุแล้ว จำเลยไม่ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ดำเนินการสถานพยาบาล แต่ได้เปิดดำเนินการสถานพยาบาลการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ.2504 มาตรา 37
พระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2511 ยกเลิกพระราชบัญญัติควบคุมการประกอบโรคศิลปะในส่วนที่เกี่ยวกับเวชกรรมดังนั้นการที่โจทก์อ้างพระราชบัญญัติควบคุมการประกอบโรคศิลปะ ซึ่งเป็นกฎหมายที่ถูกยกเลิกแล้ว มาขอให้ลงโทษจำเลยเท่ากับโจทก์ไม่ได้อ้างกฎหมายเลย ศาลยกข้อนี้ขึ้นวินิจฉัยยกฟ้องได้เอง
ความผิดตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาล ฯ พระราชบัญญัติยา ฯขายยาและดำเนินการสถานพยาบาลโดยไม่ได้รับอนุญาตซึ่งได้กระทำในระหว่างวันเวลาเดียวกัน เป็นความผิดหลายกระทง ศาลลงโทษเรียงกระทงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ซึ่งแก้ไขโดยประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 พ.ศ.2514 ข้อ2
ยาที่จำเลยได้ขายและมีไว้เพื่อขายโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นทรัพย์สินที่ต้องริบตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510 มาตรา 126 ส่วนเครื่องมือและอุปกรณ์การแพทย์ซึ่งจำเลยใช้ในการรักษาพยาบาลคนไข้ในสถานพยาบาลซึ่งจำเลยเป็นผู้ดำเนินการโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นทรัพย์สินที่ศาลมีอำนาจสั่งริบได้ตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ.2504 มาตรา 37
พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ.2504 มาตรา 38 เป็นกรณีที่ผู้ได้รับอนุญาตให้ดำเนินการสถานพยาบาลอยู่ก่อนและได้ดำเนินการต่อไปเมื่อใบอนุญาตสิ้นอายุแล้ว จำเลยไม่ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ดำเนินการสถานพยาบาล แต่ได้เปิดดำเนินการสถานพยาบาลการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ.2504 มาตรา 37
พระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2511 ยกเลิกพระราชบัญญัติควบคุมการประกอบโรคศิลปะในส่วนที่เกี่ยวกับเวชกรรมดังนั้นการที่โจทก์อ้างพระราชบัญญัติควบคุมการประกอบโรคศิลปะ ซึ่งเป็นกฎหมายที่ถูกยกเลิกแล้ว มาขอให้ลงโทษจำเลยเท่ากับโจทก์ไม่ได้อ้างกฎหมายเลย ศาลยกข้อนี้ขึ้นวินิจฉัยยกฟ้องได้เอง
ความผิดตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาล ฯ พระราชบัญญัติยา ฯขายยาและดำเนินการสถานพยาบาลโดยไม่ได้รับอนุญาตซึ่งได้กระทำในระหว่างวันเวลาเดียวกัน เป็นความผิดหลายกระทง ศาลลงโทษเรียงกระทงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ซึ่งแก้ไขโดยประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 พ.ศ.2514 ข้อ2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 200/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลียนแบบเครื่องหมายการค้าและการสร้างความเข้าใจผิด: ศาลฎีกาตัดสินว่าการใช้ชื่อและบรรจุภัณฑ์ยาที่คล้ายคลึงกันไม่ถือเป็นการละเมิด หากไม่ทำให้ผู้ใช้หลงเชื่อว่าเป็นสินค้าเดียวกัน
โจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า คำว่า "PENSTREP" และใช้คำว่า "PENSTREP 4 1/2" ลงบนหีบห่อยาของโจทก์ จำเลยใช้คำว่า P-STREPTO ลงบนหีบห่อยาของจำเลย การอ่านออกเสียงชื่อยาทั้งสองขนานห่างไกลกันมาก รูปลักษณะการวางตัวอักษรบนกล่องยาก็ไม่เหมือนกัน แถบสีขาวบนหีบห่อยาไม่ถือว่าเป็นรอยประดิษฐ์ของโจทก์ เพราะไม่เป็นสัญลักษณ์พิเศษ นอกจากนั้น กล่องยาของจำเลยยังระบุชื่อห้างหุ้นส่วนของจำเลยไว้ชัดเจนยาของโจทก์จำเลยเป็นยาอันตราย บุคคลบางประเภทเท่านั้นที่จะใช้ยานี้ ไม่ใช่สินค้าที่ประชาชนทั่วไปใช้สอย ไม่มีทางที่ผู้ใช้จะหลงผิดเข้าใจว่ายาของจำเลยเป็นยาของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 941/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายการค้า: การใช้ชื่อยาเป็นส่วนผสม ไม่เป็นการละเมิด
บทบัญญัติมาตรา 272(1) เป็นบทบังคับในเรื่องเครื่องหมายของสินค้าอันเป็นที่สังเกตว่าเป็นสินค้าของใครเท่านั้น มิใช่ห้ามการผลิตสินค้าโดยใช้วัตถุในการผลิตหรือวิธีการผลิตเหมือนกับของผู้อื่น เช่นการปรุงยาโดยใช้ส่วนผสมซึ่งมีตัวยาบางอย่างเหมือนกันหรือใช้ตำรับเดียวกันอันเป็นสูตรหรือวิธีการผลิต ซึ่งยังไม่มีบทบัญญัติในกฎหมายไทยก่อตั้งสิทธิประเภทนี้และให้ความคุ้มครองไว้ การใช้ชื่อหรือข้อความในการประกอบการค้าตามมาตรา 272(1)จึงไม่แปลไปถึงการใช้ชื่อหรือข้อความนั้นในสูตรหรือวิธีการผลิตด้วย. ฉะนั้น แม้ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยนำชื่อยาของโจทก์ร่วม ซึ่งจะเป็นชื่อเฉพาะหรือไม่ก็ตามมาแสดงว่าจำเลยได้เอายาของโจทก์ร่วมทำเป็นส่วนผสมในการปรุงยาของจำเลย ก็ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 272(1) ดังกล่าว เพราะเป็นการแสดงถึงส่วนผสมอันเป็นสูตรหรือวิธีการผลิตเท่านั้น ทั้งการกระทำดังว่านี้ยังแสดงอยู่ว่ายานั้นเป็นยาที่จำเลยปรุงขึ้น และถึงแม้ว่าจะทำให้เข้าใจไปได้ว่ายาของจำเลยมีคุณภาพและมาตรฐานเหมือนยาของโจทก์ร่วมก็ไม่เป็นการแสดงว่าเป็นสินค้าของโจทก์ร่วมอยู่นั่นเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 201/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายวัตถุที่มีเจตนาใช้บำบัดโรค ถือเป็น 'ยา' ตาม พ.ร.บ.ขายยา แม้จะไม่ได้ผลจริง
คำว่า "ยา" ตามพระราชบัญญัติการขาย พ.ศ. 2493 มาตรา 4 นั้น หาได้อยู่ที่ว่าวัตถุนั้นจะบำบัดรักษาหรือป้องกันโรคได้จริงหรือไม่ แต่อยู่ที่ความมุ่งหมายในการใช้ ฉะนั้น กำไลแหวนและสร้อยซึ่งมุ่งหมายจะใช้ป้องกันโรค จึงเป็นยาตามความหมายแห่งกฎหมายดังกล่าว และเมื่อผู้ใดโฆษณาหรือขายวัตถุเหล่านี้โดยมิได้รับอนุญาต ก็ย่อมมีความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 201/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนิยามคำว่า 'ยา' ตาม พ.ร.บ.ขายยา พิจารณาจากความมุ่งหมายในการใช้ ไม่ใช่ผลลัพธ์การรักษา
คำว่า 'ยา' ตามพระราชบัญญัติการขายยา พ.ศ.2493มาตรา4 นั้น หาได้อยู่ที่ว่าวัตถุนั้นจะบำบัดรักษาหรือป้องกันโรคได้จริงหรือไม่ แต่อยู่ที่ความมุ่งหมายในการใช้ฉะนั้น กำไลแหวน และสร้อย ซึ่งมุ่งหมายจะใช้เพื่อบำบัดรักษาและป้องกันโรคจึงเป็นยาตามความหมายแห่งกฎหมายดังกล่าวและเมื่อผู้ใดโฆษณาหรือขายวัตถุเหล่านี้โดยมิได้รับอนุญาตก็ย่อมมีความผิด(ประชุมใหญ่ ครั้งที่42/2504)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 882/2504
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิจำหน่ายยาต่างประเทศ: ผู้รับมอบหมายจำหน่ายย่อมไม่มีสิทธิผูกขาดเหนือผู้อื่น
การที่โจทก์ได้รับมอบหมายจากบริษัทต่างประเทศให้จำหน่ายยาชนิดหนึ่งในประเทศไทยแต่ผู้เดียวนั้น เป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับบริษัทต่างประเทศ มิได้ก่อให้เกิดสิทธิเหนือคนทั่วไปที่จะไม่ให้ใครจำหน่ายยาของบริษัทต่างประเทศนั้นในประเทศไทย ฉะนั้น การที่จำเลยสั่งยาชนิดนั้นจากต่างประเทศมาขายในประเทศไทยบ้าง แม้ยาที่จำเลยสั่งมาขายจะมีสลากใส่กล่อง และใช้สำลีปลอม ก็ไม่ใช่เรื่องโต้แย้งสิทธิของโจทก์ ซึ่งเป็นแต่ผู้จำหน่ายเท่านั้นโจทก์จะฟ้องหาว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์ให้ใช้ค่าเสียหายและทำลายยากับกล่องบรรจุยา ห้ามจำหน่ายยาต่อไปไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 485/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำเข้าและจำหน่ายยาชื่อซ้ำกับเครื่องหมายการค้าของผู้อื่น ไม่ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.ก.เครื่องหมายการค้า
จำเลยได้สั่งยารักษาวรรณโรค ชื่อเดียวกับของโจทก์จากบริษัทผลิตยาในต่างประเทศ ที่ส่งมาให้โจทก์จำหน่าย แม้โจทก์จะได้จดทะเบียนเครื่องหมายไว้แล้วก็ดี จำเลยก็หามีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ม.272, 275 ไม่