พบผลลัพธ์ทั้งหมด 676 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 247/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้ที่ไม่สมบูรณ์แต่เกิดจากความยินยอมของผู้กู้ ไม่ถือเป็นเอกสารปลอม ผู้กู้ต้องรับผิดตามสัญญา
โจทก์จำเลยกับพวกร่วมกันเล่นแชร์โดยโจทก์เป็นนายวงแชร์ ตามข้อตกลงเมื่อจำเลยประมูลแชร์ได้ จำเลยจะต้องลงลายมือชื่อในสัญญากู้ที่ยังไม่ได้กรอกข้อความให้โจทก์ยึดถือไว้ภายหลังที่จำเลยได้รับเงินแชร์จากโจทก์ ดังนั้น ข้อความในสัญญากู้ที่ยังไม่ได้กรอกก็คือจำนวนเงินค่าแชร์ที่จำเลยจะต้องชำระคืนแก่โจทก์ พฤติการณ์เท่ากับว่าจำเลยได้ยินยอมให้โจทก์กรอกจำนวนเงินค่าแชร์ที่จำเลยจะต้องรับผิดชำระคืนตามความเป็นจริงนั่นเอง เมื่อได้ความว่า จำเลยจะต้องชำระคืนเงินค่าแชร์เป็นจำนวน 82,800 บาท และโจทก์กรอกจำนวนเงินกู้ลงในสัญญากู้ตรงกับมูลหนี้ที่แท้จริง สัญญากู้จึงไม่ใช่เอกสารปลอม จำเลยจึงต้องรับผิดชำระหนี้ตามสัญญากู้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2355/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยินยอมให้ใช้รถร่วมโดยไม่จำกัดเงื่อนไข ถือเป็นความรู้เห็นเป็นใจในการกระทำผิด
ผู้ร้องเป็นภรรยา ส. เจ้าของรวมกรรมสิทธิ์รวมรถยนต์กระบะของกลาง เมื่อ ส. ถึงแก่ความตาย ทรัพย์มรดกส่วนของ ส. ย่อมตกแก่ทายาทซึ่งรวมถึงผู้ร้องด้วย รถยนต์กระบะของกลางเก็บอยู่ที่บ้านผู้ร้องซึ่งพักอยู่กับพี่สาว กุญแจรถแขวนเก็บไว้ใต้หิ้งพระภายในบ้าน ญาติพี่น้องและบุตรของผู้ร้อง รวมทั้งจำเลยซึ่งเป็นบุตรเขยของผู้ร้องสามารถนำรถยนต์กระบะของกลางไปใช้ได้ จำเลยเคยนำไปใช้หลายครั้ง วันเกิดเหตุจำเลยเอากุญแจรถกระบะของกลางไปใช้กระทำความผิดโดยไม่ได้บอกกล่าวผู้ร้อง และผู้ร้องไม่ทราบว่าจำเลยนำรถยนต์กระบะของกลางไปใช้ในการกระทำความผิด แสดงว่าผู้ร้องยินยอมอนุญาตให้จำเลยหยิบเอากุญแจรถยนต์กระบะของกลางไปใช้ได้ตลอดเวลาที่จำเลยต้องการใช้ โดยไม่คำนึงว่าจำเลยจะนำรถไปใช้ในกิจการใด เมื่อจำเลยนำรถยนต์กระบะของกลางไปใช้บรรทุกถ่านไม้โกงกางโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานตามกฎหมาย ย่อมถือได้ว่าผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำผิดของจำเลยแล้ว ส่วนบุคคลอื่นซึ่งเป็นทายาทและเจ้าของรวมจะมีสิทธิร้องขอคืนรถยนต์กระบะของกลางหรือไม่ เพียงใด เป็นเรื่องที่จะต้องไปว่ากล่าวกันตามสิทธิของตนต่างหากจากคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1669/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าของรวมและการใช้ทรัพย์สินร่วมกัน การก่อสร้างโดยไม่ยินยอมกระทบสิทธิผู้อื่น
ป.พ.พ. มาตรา 1360 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "เจ้าของรวมคนหนึ่งๆ มีสิทธิใช้ทรัพย์สินได้ แต่การใช้นั้นต้องไม่ขัดต่อสิทธิแห่งเจ้าของรวมคนอื่นๆ" ดังนั้นเมื่อที่ดินกรรมสิทธิ์รวมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ยังไม่มีการแบ่งแยกการครอบครองออกเป็นส่วนสัด การใช้ทรัพย์สินกรรมสิทธิ์รวมของจำเลยที่ 1 จึงต้องเป็นการใช้ที่ไม่ขัดต่อสิทธิแห่งเจ้าของรวมคนอื่นๆ ที่จำเลยที่ 1 ปลูกสร้างอาคารโดยเลือกบริเวณติดถนนสุขุมวิท โดยไม่ได้รับความยินยอมของเจ้าของรวมคนอื่นจึงไม่มีสิทธิที่จะทำได้ โจทก์มีสิทธิฟ้องขอให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างของจำเลยที่ 1 ออกจากที่ดินพิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1651/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารกู้เงินปลอม: สัญญาที่ไม่ได้รับความยินยอมไม่ใช้เป็นหลักฐานได้
จำเลยกู้เงินโจทก์จำนวน 10,000 บาท และได้ลงลายมือชื่อไว้ในแบบพิมพ์หนังสือสัญญากู้เงินที่ยังไม่ได้กรอกข้อความมอบไว้ให้แก่โจทก์ ต่อมาโจทก์ได้กรอกข้อความและจำนวนเงินในหนังสือสัญญากู้เงินว่า จำเลยกู้เงินโจทก์ไป 300,000 บาท โดยจำเลยมิได้รู้เห็นยินยอมด้วยสัญญากู้เงินตามฟ้องจึงเป็นเอกสารปลอม โจทก์จึงไม่อาจอ้างเอกสารดังกล่าวมาเป็นพยานหลักฐานในคดีได้ ถือว่าโจทก์ไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือที่จะฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1539/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้ยืมปลอมและผลต่อการบังคับคดี การเปลี่ยนแปลงจำนวนเงินกู้โดยไม่ยินยอม
ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินไปจากโจทก์เพียง 45,000 บาท และลงลายมือชื่อในสัญญากู้ยืมเงินที่ยังไม่ได้กรอกจำนวนเงินไว้ แล้วมีการนำสัญญากู้ยืมเงินไปกรอกจำนวนกู้เป็น 200,000 บาท ในภายหลังเกินกว่าจำนวนเงินกู้ที่แท้จริง โดยจำเลยที่ 1 ไม่ได้ยินยอม สัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวจึงเป็นเอกสารปลอม ถือได้ว่าโจทก์มิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือ โจทก์จึงไม่อาจฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง ดังนั้น แม้จำเลยที่ 1 ให้การรับว่าได้กู้และรับเงินกู้ไปเป็นเงิน 45,000 บาท จำเลยที่ 1 ก็ไม่ต้องรับผิดชำระเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่โจทก์ และแม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ฎีกามาด้วย แต่คดีนี้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจะต้องชำระหนี้เป็นอย่างเดียวกับจำเลยที่ 1 ผู้กู้ ถือเป็นการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 2 ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) ประกอบมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1446/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรู้เห็นเป็นใจในการกระทำผิดทางอาญา และการขอคืนของกลาง ศาลฎีกาชี้ว่าการยินยอมให้ใช้ทรัพย์สินโดยไม่คำนึงถึงการนำไปใช้ผิดกฎหมายถือเป็นการรู้เห็นเป็นใจ
การร้องขอคืนของกลางที่ศาลมีคำสั่งให้ริบตาม ป.อ. มาตรา 36 มิใช่เป็นการฟ้องขอให้ลงโทษผู้ร้องว่าได้กระทำผิดอาญา เมื่อผู้ร้องอ้างว่าของกลางที่ศาลสั่งริบเป็นของผู้ร้องและผู้ร้องไม่ได้รู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดด้วย จึงเป็นหน้าที่ของผู้ร้องจะต้องนำสืบให้ได้ความตามที่กล่าวอ้างตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84/1 กรณีหาใช่โจทก์จะต้องเป็นฝ่ายมีหน้าที่นำสืบในข้อเท็จจริงดังกล่าวไม่
การที่ผู้ร้องอยู่กินเป็นสามีภริยากับจำเลยซึ่งเป็นสามีโดยความสัมพันธ์ระหว่างผู้ร้องกับสามี แต่ละฝ่ายย่อมมีสิทธิใช้สอยทรัพย์ของอีกฝ่ายหนึ่งได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวหรือขอยืมจากอีกฝ่ายหนึ่งก่อน พฤติการณ์จึงไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นกรณีที่จำเลยขอยืมรถจักรยานยนต์ไปใช้ แต่น่าเชื่อว่าเป็นเรื่องที่ผู้ร้องยินยอมอนุญาตให้จำเลยนำรถจักรยานยนต์ของกลางดังกล่าวไปใช้ตลอดเวลาตามที่จำเลยต้องการใช้ โดยผู้ร้องมิได้คำนึงว่าจำเลยจะนำรถไปใช้ในกิจการใด เมื่อจำเลยนำรถจักรยานยนต์ของกลางไปขับรถแข่งในทางโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายเช่นนี้ ย่อมถือว่าผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดของจำเลยแล้ว
การที่ผู้ร้องอยู่กินเป็นสามีภริยากับจำเลยซึ่งเป็นสามีโดยความสัมพันธ์ระหว่างผู้ร้องกับสามี แต่ละฝ่ายย่อมมีสิทธิใช้สอยทรัพย์ของอีกฝ่ายหนึ่งได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวหรือขอยืมจากอีกฝ่ายหนึ่งก่อน พฤติการณ์จึงไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นกรณีที่จำเลยขอยืมรถจักรยานยนต์ไปใช้ แต่น่าเชื่อว่าเป็นเรื่องที่ผู้ร้องยินยอมอนุญาตให้จำเลยนำรถจักรยานยนต์ของกลางดังกล่าวไปใช้ตลอดเวลาตามที่จำเลยต้องการใช้ โดยผู้ร้องมิได้คำนึงว่าจำเลยจะนำรถไปใช้ในกิจการใด เมื่อจำเลยนำรถจักรยานยนต์ของกลางไปขับรถแข่งในทางโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายเช่นนี้ ย่อมถือว่าผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดของจำเลยแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7011/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมต้องจดทะเบียนเป็นหนังสือ จึงมีผลผูกพันบุคคลภายนอก การยินยอมใช้ทางโดยไม่จดทะเบียน ไม่สร้างภาระจำยอม
แม้จำเลยที่ 2 ในขณะเป็นเจ้าของถนนพิพาทจะทำหนังสือยินยอมให้โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ใช้ถนนพิพาทเป็นทางเข้าออกและต่อมาเมื่อถนนพิพาทตกเป็นของจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 ก็ทำหนังสืออนุญาตให้โจทก์ทั้งสี่ใช้ถนนพิพาทเป็นทางเข้าออกได้ อันทำให้โจทก์ทั้งสี่มีสิทธิใช้ถนนพิพาทก็ตาม แต่เมื่อข้อตกลงดังกล่าวไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงไม่เป็นทรัพยสิทธิไม่เป็นภาระจำยอมตามกฎหมาย และการที่โจทก์ทั้งสี่มีสิทธิใช้ถนนพิพาทได้ก็เพราะจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 ยินยอมและอนุญาตให้ใช้ จึงเป็นการใช้โดยอาศัยสิทธิของเจ้าของที่ดิน แม้จะใช้ถนนพิพาทมานานเกินกว่า 10 ปี โจทก์ทั้งสี่ก็ไม่ได้ภาระจำยอมโดยอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1401 ประกอบมาตรา 1382 และแม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะทำข้อตกลงกับโจทก์ทั้งสี่ว่า ถ้ามีการเปลี่ยนมือกรรมสิทธิ์ที่ดิน ผู้รับโอนต้องยินยอมให้ผู้รับความยินยอมมีสิทธิใช้ถนนและลานคอนกรีตได้ตลอดไป ข้อตกลงเช่นนี้ไม่อาจบังคับบุคคลภายนอกไว้ล่วงหน้าโดยที่บุคคลภายนอกนั้นมิได้ยินยอมด้วยได้ ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่มีผลบังคับถึงจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจากจำเลยที่ 3 ซึ่งมีถนนพิพาทรวมอยู่ด้วย คงมีผลเฉพาะจำเลยที่ 3 ผู้ทำหนังสืออนุญาตที่จะต้องจัดการให้เป็นไปตามข้อตกลงเท่านั้น แม้จำเลยที่ 3 จะเป็นภริยาของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินซึ่งมีถนนพิพาทรวมอยู่ด้วยให้แก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ก็หาผูกพันต้องปฏิบัติตามหนังสืออนุญาตให้ใช้ทางที่จำเลยที่ 3 ทำไว้กับโจทก์ทั้งสี่ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 473/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร แม้ผู้เยาว์ยินยอม แต่ขาดการยินยอมจากผู้ปกครอง ถือความผิดอาญา
จำเลยรับ ศ. ผู้เยาว์มาจากในตัวเมืองเพชรบุรีแล้วพาไปที่ห้องพักของจำเลย จากนั้นจำเลยไดร่วมประเวณีกับ ศ. แม้ว่า ศ. ออกจากบ้านเองโดยจำเลยไม่ได้เป็นผู้ชักนำ แต่เมื่อจำเลยพบ ศ. ในบริเวณตลาดอำเภอเมืองเพชรบุรีแล้วพาไปค้างคืนที่ห้องพักของจำเลยโดย ศ. ยินยอมแต่ผู้เสียหายซึ่งเป็นมารดาผู้ใช้อำนาจปกครอง ศ. ไม่ได้ยินยอมอนุญาต ย่อมเป็นการพราก ศ. ไปจากอำนาจปกครองของผู้เสียหาย จำเลยร่วมประเวณีกับ ศ. โดยไม่ได้ประสงค์รับเป็นภริยา พฤติกรรมของจำเลยเป็นพฤติกรรมที่ไม่สมควรในทางเพศตามครรลองครองธรรม ถือเป็นการกระทำเพื่อการอนาจาร การกระทำของจำเลยเข้าองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 319 วรรคแรก เป็นความผิดอาญาฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจาร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3718/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พรากเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี เพื่อการอนาจาร แม้ผู้เสียหายยินยอมเดินทางไป แต่ยังอยู่ภายใต้ความปกครองของบิดามารดา
ที่ผู้เสียหายที่ 2 เบิกความว่า วันเกิดเหตุจำเลยชวนผู้เสียหายที่ 2 กับ ส. ไปเที่ยวที่อำเภอนางรองแต่กลับพาไปที่อำเภอโนนดินแดงนั้น ปรากฏว่าผู้เสียหายที่ 2 เคยให้การต่อพนักงานสอบสวนตามบันทึกคำให้การว่า วันเกิดเหตุจำเลยชวนผู้เสียหายที่ 2 ไปเที่ยวที่อำเภอโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์ ผู้เสียหายที่ 2 ตกลงไปและได้ชวน ส. ไปเป็นเพื่อนด้วยได้ไปเที่ยวที่เขื่อนลำนางรองจนถึงเวลาประมาณ 21 นาฬิกา จำเลยชวนไปเที่ยวต่อที่บ้านเพื่อนจำเลยหลังจากนั้นก็ชวนกลับ แต่ผู้เสียหายที่ 2 ไม่กล้ากลับบ้านเนื่องจากเป็นเวลาค่ำมืดแล้วกลัวบิดามารดาดุด่าเฆี่ยนตี ซึ่งเจือสมกับทางนำสืบของจำเลยที่ว่า จำเลยผู้เสียหายที่ 2 และ ส. ได้ไปเที่ยวเขื่อนลำนางรองด้วยกันแล้วผู้เสียหายที่ 2 ไม่ยอมกลับบ้าน ประกอบกับผู้เสียหายที่ 2 ให้ถ้อยคำต่อพนักงานสอบสวนหลังวันเกิดเหตุเพียง 3 วัน จึงเชื่อว่าให้การไปตามความเป็นจริง ทำให้เห็นได้ว่าจำเลยมิได้ใช้อุบายหลอกลวงผู้เสียหายที่ 2 ไปเที่ยวแต่ประการใด หากแต่เป็นความยินยอมพร้อมใจที่จะไปเที่ยวกับจำเลยและ ส. ตามประสาวัยรุ่น แม้ต่อมาจะปรากฏว่าจำเลยได้กระทำชำเราผู้เสียหาย ก็เป็นเรื่องเกิดเหตุภายหลังโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยวางแผนมาแต่แรก จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจารโดยใช้อุบายหลอกลวงตาม ป.อ. มาตรา 284 วรรคแรก
ความผิดฐานพรากเด็กมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความคุ้มครองอำนาจปกครองของบิดามารดาที่มีต่อเด็กมิให้ผู้ใดพรากไปเสียจากความปกครอง แม้ข้อเท็จจริงจะได้ความว่าผู้เสียหายที่ 2 และ ส. จะเพียงชวนกันไปเที่ยวอันเป็นการที่ผู้เสียหายที่ 2 เต็มใจไปกับจำเลยเองดังวินิจฉัยข้างต้น แต่ผู้เสียหายที่ 2 ยังไม่พ้นจากความปกครองดูแลของผู้เสียหายที่ 1 และ ท. ผู้เป็นบิดามารดา ที่จำเลยอ้างว่าผู้เสียหายที่ 2 ไม่ยอมกลับบ้านทั้ง ๆ ที่จำเลยชวนกลับแล้วนั้น จำเลยก็หามีสิทธิที่จะพาผู้เสียหายที่ 2 ไปเสียจากความปกครองของผู้เสียหายที่ 1 และ ท. ไม่ ทั้งยังปรากฏพฤติการณ์ที่จำเลยพาผู้เสียหายที่ 2 ไปยังสถานที่ต่าง ๆ ก็มีลักษณะเป็นการหลบซ่อนเพื่อมิให้ผู้เสียหายที่ 1 ตามไปพบผู้เสียหายที่ 2 อันเป็นข้อพิรุธในการกระทำของจำเลย จำเลยอยู่กับผู้เสียหายที่ 2 ตลอดมาแล้วจำเลยยังได้กระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 อีกด้วย ซึ่งข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาได้ความว่าผู้เสียหายที่ 2 กับจำเลยมิได้มีความรักใครกันทางชู้สาวมาก่อน และจำเลยก็ไม่มีเจตนาจะแต่งงานอยู่กินหรือเลี้ยงดูผู้เสียหายที่ 2 แต่อย่างใด ในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนจำเลยให้การรับสารภาพ การกระทำของจำเลยถือได้ว่าเป็นการพรากเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจากบิดามารดาเพื่อการอนาจาร อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม
ความผิดฐานพรากเด็กมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความคุ้มครองอำนาจปกครองของบิดามารดาที่มีต่อเด็กมิให้ผู้ใดพรากไปเสียจากความปกครอง แม้ข้อเท็จจริงจะได้ความว่าผู้เสียหายที่ 2 และ ส. จะเพียงชวนกันไปเที่ยวอันเป็นการที่ผู้เสียหายที่ 2 เต็มใจไปกับจำเลยเองดังวินิจฉัยข้างต้น แต่ผู้เสียหายที่ 2 ยังไม่พ้นจากความปกครองดูแลของผู้เสียหายที่ 1 และ ท. ผู้เป็นบิดามารดา ที่จำเลยอ้างว่าผู้เสียหายที่ 2 ไม่ยอมกลับบ้านทั้ง ๆ ที่จำเลยชวนกลับแล้วนั้น จำเลยก็หามีสิทธิที่จะพาผู้เสียหายที่ 2 ไปเสียจากความปกครองของผู้เสียหายที่ 1 และ ท. ไม่ ทั้งยังปรากฏพฤติการณ์ที่จำเลยพาผู้เสียหายที่ 2 ไปยังสถานที่ต่าง ๆ ก็มีลักษณะเป็นการหลบซ่อนเพื่อมิให้ผู้เสียหายที่ 1 ตามไปพบผู้เสียหายที่ 2 อันเป็นข้อพิรุธในการกระทำของจำเลย จำเลยอยู่กับผู้เสียหายที่ 2 ตลอดมาแล้วจำเลยยังได้กระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 อีกด้วย ซึ่งข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาได้ความว่าผู้เสียหายที่ 2 กับจำเลยมิได้มีความรักใครกันทางชู้สาวมาก่อน และจำเลยก็ไม่มีเจตนาจะแต่งงานอยู่กินหรือเลี้ยงดูผู้เสียหายที่ 2 แต่อย่างใด ในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนจำเลยให้การรับสารภาพ การกระทำของจำเลยถือได้ว่าเป็นการพรากเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจากบิดามารดาเพื่อการอนาจาร อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2030/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาผู้ให้เช่าซื้อและการยินยอมให้ใช้รถแม้ผิดสัญญา ถือเป็นการรู้เห็นเป็นใจในการกระทำผิด
ตามสัญญาเช่าซื้อระบุว่า ถ้าทรัพย์สินที่เช่าซื้อเสียหาย สูญหาย หรือถูกริบไม่ว่าด้วยเหตุสุดวิสัยหรือเหตุใด ๆ ผู้เช่าซื้อยอมรับผิดฝ่ายเดียวและยอมชำระค่าเช่าซื้อตามสัญญาครบถ้วน เป็นพฤติการณ์ที่ถือได้ว่าผู้ร้องมีเจตนาเพียงต้องการที่จะได้รับค่าเช่าซื้อเท่านั้น อีกทั้งไม่ปรากฏว่าเมื่อจำเลยผิดสัญญา ผู้ร้องได้บอกเลิกสัญญาหรือติดตามรถที่เช่าซื้อคืนแต่ประการใด ทั้งที่จำเลยก็มีภูมิลำเนาที่เดียวกับผู้ร้อง ผู้ร้องอ้างแต่เพียงว่าไม่ได้ติดตามจำเลยเพราะไม่ทราบว่าจำเลยไปไหน เป็นข้ออ้างที่ไม่มีน้ำหนักในการรับฟัง เมื่อจำเลยผิดสัญญาเช่าซื้อแต่ผู้ร้องยังคงให้จำเลยใช้รถจักรยานยนต์ของกลางต่อไป โดยไม่ได้ติดตามยึดรถจักรยานยนต์ของกลางคืน จนกระทั่งจำเลยนำรถจักรยานยนต์ของกลางไปใช้ในการกระทำความผิด และศาลมีคำสั่งให้ริบรถจักรยานยนต์ของกลาง ผู้ร้องจึงมาร้องขอคืนของกลางโดยอ้างว่าผู้ร้องมิได้รู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดของจำเลย ซึ่งเป็นระยะเวลานานเกือบ 5 ปี นับแต่จำเลยผิดนัดไม่ชำระเงินค่าเช่าซื้องวดสุดท้าย ถือได้ว่าผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด ผู้ร้องจึงไม่อาจที่จะขอคืนรถจักรยานยนต์ของกลางได้