พบผลลัพธ์ทั้งหมด 60 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1088/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล้อมรั้วที่ดินสาธารณประโยชน์โดยเจตนาถือครอง ยึดถือที่ดินของรัฐ
จำเลยล้อมรั้วที่ดินแปลงพิพาทด้านติดถนนสาธารณะและด้านซึ่งติดกับที่ดินของ ม.และ พ.ตลอดแนว เมื่อ พ.กล่าวหาว่าจำเลยรุกล้ำที่ดินของ พ.ปลัดอำเภอ ที่ดินอำเภอ และคณะกรรมการหมู่บ้านได้ตรวจสอบแล้วว่าจำเลยไม่ได้รุกล้ำที่ดินของ พ. แต่ที่ดินพิพาทไม่ใช่ที่ดินของ ส. แม่ยายจำเลย หากแต่เป็นที่สาธารณประโยชน์ เมื่อปลัดอำเภอได้แจ้งให้จำเลยทราบ จำเลยรับปากว่าจะรื้อรั้วออกไป ครั้นครบกำหนดจำเลยยังมิได้ดำเนินการ จึงเป็นกรณีที่จำเลยเจตนาล้อมรั้วเพื่อแสดงขอบเขตหวงกันไม่ให้บุคคลอื่นเข้าไปใช้สอยถือครอง การกระทำของจำเลยเป็นการเข้าไปยึดถือที่ดินของรัฐ จำเลยจึงมีความผิดตาม ป.ที่ดินมาตรา 9, 108 ทวิ วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2727/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รังนก-ลักทรัพย์-รับของโจร: รังนกเป็นทรัพย์ไม่มีเจ้าของ การยึดถือจึงสำคัญกว่าการมีสิทธิผูกขาด
รังนกในถ้ำตามเกาะเป็นทรัพย์ไม่มีเจ้าของ แต่บุคคลอาจได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์โดยเข้ายึดถือเอา การที่ อ.ได้รับอนุญาตให้เก็บรังนกได้อันเป็นการได้รับผูกขาดจากรัฐบาลนั้น อ.ผู้รับผูกขาดมีสิทธิเพียงว่าถ้าประสงค์จะเก็บรังนกในถ้ำที่ผูกขาดก็เข้าเก็บเอาได้ ไม่ต้องมีการหวงห้ามเหมือนบุคคลผู้ไม่ได้รับอนุญาต แต่จะมีกรรมสิทธิ์ได้ในรังนกนั้นยังจะต้องมีการเข้ายึดถือเอาอีกชั้นหนึ่งก่อนเมื่อผู้ที่เก็บรังนกรายนี้ไม่ใช่ลูกจ้างของ อ. และ อ.ยังมิได้เข้ายึดถือเอารังนกนั้นตามบทบัญญัติมาตรา 1318 แห่ง ป.พ.พ. อ.จึงยังมิได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในรังนกรายนี้ การเก็บรังนกดังกล่าวไปจึงไม่เป็นการลักทรัพย์ของ อ. และเมื่อรังนกไม่ใช่ทรัพย์ที่ถูกลักมาจึงขาดองค์ประกอบความผิดฐานรับของโจร
จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ถูกฟ้องว่าร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 2 จึงเป็นเหตุอยู่ในลักษณะคดี แม้จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 มิได้อุทธรณ์ฎีกาขึ้นมา เมื่อการกระทำของจำเลยทั้งสามไม่เป็นความผิด ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษายกฟ้องตลอดไปถึงจำเลยทั้งสามได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบด้วยมาตรา 225
จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ถูกฟ้องว่าร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 2 จึงเป็นเหตุอยู่ในลักษณะคดี แม้จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 มิได้อุทธรณ์ฎีกาขึ้นมา เมื่อการกระทำของจำเลยทั้งสามไม่เป็นความผิด ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษายกฟ้องตลอดไปถึงจำเลยทั้งสามได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2727/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในรังนกไม่มีเจ้าของ การยึดถือเพื่อเป็นเจ้าของ และความผิดฐานรับของโจร
รังนกในถ้ำตามเกาะเป็นทรัพย์ไม่มีเจ้าของ บุคคลใดก็อาจได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์โดยเข้ามายึดถือเอา แม้ อ. ได้รับอนุญาตผูกขาดจากรัฐให้เก็บรังนกบนเกาะได้อ. ก็มีสิทธิเพียงว่าถ้าประสงค์จะเก็บรังนกที่ผูกขาดก็เข้าเก็บเอาได้ไม่ต้องมีการหวงห้ามเหมือนบุคคลผู้ไม่ได้รับอนุญาต แต่ อ.จะมีกรรมสิทธิ์ได้ในรังนกนั้นจะต้องมีการเข้ายึดถือเอาอีกชั้นหนึ่งก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1318เมื่อมีบุคคลอื่นเข้าไปเก็บรังนกจำนวน0.5กิโลกรัมโดยที่อ.ยังมิได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในรังนกดังกล่าวการเก็บรังนกนั้นจึงยังไม่เป็นการลักทรัพย์ของ อ.จำเลยเป็นผู้ครอบครองรังนกนั้นก็ไม่มีความผิดฐานรับของโจร เพราะรังนกไม่ใช่ทรัพย์ที่ถูกลักมา จึงขาดองค์ประกอบความผิดฐานรับของโจร เมื่อเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี แม้จำเลยมิได้อุทธรณ์หรือฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยให้เป็นคุณแก่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2727/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รังนกในถ้ำ: การยึดถือและฐานความผิดลักทรัพย์-รับของโจร
รังนกในถ้ำตามเกาะเป็นทรัพย์ไม่มีเจ้าของ แต่บุคคลอาจได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์โดยเข้ายึดถือเอา การที่ อ. ได้รับอนุญาตให้เก็บรังนกได้อันเป็นการได้รับผูกขาดจากรัฐบาลนั้นอ.ผู้รับผูกขาดมีสิทธิเพียงว่าถ้าประสงค์จะเก็บรังนกในถ้ำที่ผูกขาดก็เข้าเก็บเอาได้ ไม่ต้องมีการหวงห้ามเหมือนบุคคลผู้ไม่ได้รับอนุญาต แต่จะมีกรรมสิทธิ์ได้ในรังนกนั้นยังจะต้องมีการเข้ายึดถือเอาอีกชั้นหนึ่งก่อนเมื่อผู้ที่เก็บรังนกรายนี้ไม่ใช่ลูกจ้างของอ.และอ.ยังมิได้เข้ายึดถือเอารังนกนั้นตามบทบัญญัติมาตรา 1318 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ อ. จึงยังมิได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในรังนกรายนี้การเก็บรังนกดังกล่าวไปจึงไม่เป็นการลักทรัพย์ของอ.และเมื่อรังนกไม่ใช่ทรัพย์ที่ถูกลักมาจึงขาดองค์ประกอบความผิดฐานรับของโจร จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ถูกฟ้องว่าร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 2 จึงเป็นเหตุอยู่ในลักษณะคดี แม้จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4มิได้อุทธรณ์ฎีกาขึ้นมา เมื่อการกระทำของจำเลยทั้งสามไม่เป็นความผิดศาลฎีกามีอำนาจพิพากษายกฟ้องตลอดไปถึงจำเลยทั้งสามได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1720/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดิน น.ส.3 ที่มีมาก่อนเขตป่าสงวน การยึดถือแทนเจ้าของ และการบอกกล่าวเปลี่ยนแปลงเจตนา
ที่ดินของโจทก์ออก น.ส.3 มาก่อนกฎกระทรวงประกาศเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ ที่ดินของโจทก์ยังไม่ถูกเพิกถอน น.ส.3 โจทก์จึงยังคงมีสิทธิในที่ดินตามมาตรา 12 วรรคท้าย ของพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติฯ การที่จำเลยทั้งห้าทำนาในนาพิพาทโดยอาศัยสิทธิของโจทก์ต้องถือว่าจำเลยทั้งห้ายึดถือนาพิพาทแทนโจทก์ จำเลยทั้งห้าจะเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือได้ก็แต่โดยบอกกล่าวไปยังโจทก์ว่าไม่เจตนาจะยึดถือนาพิพาทแทนโจทก์ต่อไป ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381 เท่านั้น เพียงแต่การไปขอให้ทางราชการออกหนังสืออนุญาตให้ได้รับการผ่อนผันให้มีสิทธิทำกินในนาพิพาทได้ชั่วคราว หรือ สทก.1 ยังไม่ถือว่าเป็นการบอกกล่าวแสดงเจตนาเปลี่ยนลักษณะแห่งการครอบครอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2552/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดิน การเปลี่ยนแปลงลักษณะการยึดถือ และอายุความครอบครอง
ประเด็นที่ว่าจำเลยได้มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะแห่งการยึดถือที่พิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1381 หรือไม่ ไม่ใช่ประเด็นที่เกี่ยวพันหรือรวมอยู่ในประเด็นข้อพิพาทที่ว่า โจทก์หรือจำเลยที่ 1มีสิทธิครอบครองที่พิพาท เมื่อจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้ ศาลไม่อาจหยิบยกประเด็นเรื่องเปลี่ยนแปลงลักษณะแห่งการยึดถือขึ้นมาวินิจฉัยได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4719/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องแย่งการครอบครอง: เริ่มนับเมื่อทราบการเปลี่ยนลักษณะการยึดถือ
จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมาโดยไม่ปรากฏว่าได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือ จนกระทั่งโจทก์ไปยื่นเรื่องราวขอรับโอนมรดกที่ดินส่วนที่เป็นของมารดาโจทก์ที่สำนักงานที่ดิน จำเลยจึงได้มีหนังสือลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2527 ถึงนายอำเภอขอคัดค้านการรับโอนมรดกโดยอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยผู้เดียว หนังสือดังกล่าวได้ยื่นต่อนายอำเภอเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2527 โจทก์ได้รับสำเนาหนังสือคัดค้านของจำเลยเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2527 แสดงว่าโจทก์ทราบเรื่องที่จำเลยได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือที่ดินพิพาทเพื่อตนตั้งแต่วันที่ 19 มีนาคม 2527 ซึ่งเป็นการแย่งการครอบครองของโจทก์ โจทก์ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครอง เมื่อวันที่ 6กุมภาพันธ์ 2528 จึงเป็นการฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองภายในกำหนด 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 แล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3975/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน: การโอนสิทธิจากผู้ไม่เป็นเจ้าของ การเปลี่ยนแปลงลักษณะการยึดถือ และสิทธิเรียกร้องคืน
แม้จำเลยซื้อที่ดินพิพาทจากผู้ขายและเข้าอยู่ในที่ดินพิพาทแล้วก็ตาม เมื่อปรากฏว่าผู้ขายไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท เป็นแต่เพียงผู้อาศัยสิทธิของโจทก์อยู่ในที่พิพาท จำเลยย่อมไม่ได้สิทธิครอบครองที่พิพาท เพราะผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีไปกว่าผู้โอน จำเลยคงมีสิทธิเท่าที่ผู้ขายมีอยู่ จึงเท่ากับอยู่ในที่พิพาทโดยอาศัยสิทธิของโจทก์เช่นกัน ดังนั้น จำเลยอยู่ในที่ดินพิพาทนานเท่าใดก็ไม่ได้สิทธิครอบครอง เว้นแต่จะเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381
จำเลยเพิ่งโต้แย้งสิทธิโจทก์ซึ่งถือว่าจำเลยได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือที่ดินพิพาท ซึ่งนับถึงวันฟ้องแล้วยังไม่เกิน 1 ปี โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องเอาคืนที่ดินพิพาทจากจำเลยได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1375
จำเลยเพิ่งโต้แย้งสิทธิโจทก์ซึ่งถือว่าจำเลยได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือที่ดินพิพาท ซึ่งนับถึงวันฟ้องแล้วยังไม่เกิน 1 ปี โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องเอาคืนที่ดินพิพาทจากจำเลยได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1375
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3239/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินพิพาท: เจตนาเปลี่ยนลักษณะการยึดถือและการฟ้องเรียกคืนภายใน 1 ปี
จำเลยได้รับอนุญาตจาก ป. เข้าไปเลี้ยงโคชั่วคราวในที่ดินของป. แล้วจำเลยถือวิสาสะนำโคไปเลี้ยงในที่ดินของโจทก์คือที่พิพาทซึ่งไม่ถือว่าเป็นการแย่งการครอบครอง แต่หลังจาก ป. ตาย จำเลยอ้างว่าได้ซื้อที่ดินแปลงใหญ่รวมทั้งที่พิพาทจาก ป. เมื่อเจ้าหน้าที่มารังวัดที่ดินจำเลยได้โต้แย้งโจทก์ในเรื่องดังกล่าวถือว่าจำเลยแสดงเจตนาเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือมาเป็นของตนนับแต่วันรังวัดเมื่อจำเลยเข้ายึดถือครอบครองยังไม่ครบ 1 ปีดังนี้ โจทก์จึงไม่ขาดสิทธิฟ้องร้องเรียกคืนการครอบครองตามป.พ.พ. มาตรา 1375.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2293/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดถือหนังสือรับรองการทำประโยชน์เป็นประกันหนี้ที่ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ
ส. ยืมเงินจำเลยไปโดยมอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์ฉบับพิพาทให้จำเลยยึดถือไว้เป็นประกันหนี้ แต่ไม่มีหลักฐานการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือ ดังนี้ แม้ ส. จะยังไม่ได้ชำระหนี้แก่จำเลย จำเลยก็ไม่อาจฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ เมื่อหนี้ที่จำเลยอาศัยเป็นมูลเหตุให้ยึดถือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ฉบับพิพาทไม่อาจฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ จำเลยจึงไม่มีสิทธิยึดถือหนังสือรับรองการทำประโยชน์นั้นไว้เป็นประกันหนี้ต่อไป
(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 229/2532 ประชุมใหญ่)
(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 229/2532 ประชุมใหญ่)