คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ยึดรถยนต์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 16 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3396/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พนักงานสอบสวนยึดรถยนต์ที่ได้มาจากการซื้อขายโดยสุจริต: การกระทำตามอำนาจหน้าที่และสิทธิในทรัพย์สิน
จำเลยที่3เป็นพนักงานสอบสวนในการสืบสวนสอบสวนจึงมีหน้าที่ตามกฎหมายในการแสวงหาข้อเท็จจริงรวบรวมหลักฐานและดำเนินการทั้งหลายเกี่ยวกับความผิดเพื่อทราบข้อเท็จจริงพิสูจน์ความผิดและเอาตัวผู้กระทำผิดมาฟ้องลงโทษการที่จำเลยที่3สืบสวนทราบว่ารถยนต์ของช.ที่ถูกยักยอกไปอยู่ในความครอบครองของโจทก์และยึดรถยนต์ดังกล่าวมาเพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีจึงเป็นการกระทำตามอำนาจหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมายจำเลยที่3และกรมตำรวจจำเลยที่4ต้นสังกัดจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ โจทก์ซื้อรถยนต์จากท้องตลาดโดยสุจริตก็หาได้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่ซื้อนั้นไม่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1332เพียงแต่บัญญัติว่าผู้ซื้อไม่จำต้องคืนให้แก่เจ้าของแท้จริงเว้นแต่เจ้าของจะชดใช้ราคาที่ซื้อมาดังนี้เมื่อเจ้าของติดตามรถยนต์ดังกล่าวคืนโดยตำรวจยึดรถยนต์นั้นไปและศาลพิพากษาให้โจทก์ได้รับชำระราคาเพราะเหตุที่โจทก์ถูกรอนสิทธิแล้วโจทก์จึงขอบังคับให้ส่งมอบรถยนต์แก่โจทก์อีกไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4785/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความของจำเลยที่ 1 ไม่ทำให้โจทก์เสียหายจากการยึดรถยนต์ของพนักงานสอบสวน จึงไม่เป็นการละเมิด
จำเลยที่ 1 ขายรถยนต์คันพิพาทให้โจทก์รับชำระราคาแล้วบางส่วน ตกลงกันว่าจะโอนทะเบียนกันเมื่อชำระราคาหมดแล้วโจทก์มอบรถยนต์ ดังกล่าวให้ห้างฯ ย. จัดจำหน่าย และห้างฯย.ให้ค.เช่าซื้อไปต่อมาจำเลยที่1พาค.ไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนว่า ค. เช่าซื้อรถ มาจากห้างฯย. แล้วเกิดการโต้แย้งกรรมสิทธิ์ในรถระหว่างโจทก์ กับจำเลยที่ 1 พนักงานสอบสวนได้ยึดรถยนต์คันพิพาทไป แต่เหตุที่พนักงานสอบสวนยึดรถยนต์ก็เนื่องจากสอบสวนได้ความว่ารถยนต์เป็นของจำเลยที่ 2 ไม่ได้ต่อทะเบียน จึงดำเนินคดีกับจำเลยที่ 2 อันเป็นเรื่องอยู่ในอำนาจหน้าที่และดุลพินิจของพนักงานสอบสวนโดยเฉพาะ ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1กระทำละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3390/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดรถยนต์ของกลางที่มิได้ตกเป็นของแผ่นดิน และความรับผิดทางละเมิดของเจ้าพนักงาน
มาตรา 24 แห่ง พระราชบัญญัติ ศุลกากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย มาตรา3 แห่ง พระราชบัญญัติ ศุลกากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2497 ใช้บังคับเฉพาะในกรณีที่มิได้มีการฟ้องคดีอาญาต่อศาล เพราะกำหนดระยะเวลาเรียกคืนสิ่งที่ยึดไว้ภายใน 60 วัน หรือ 30 วันแล้วแต่กรณีนับแต่วันยึดอย่างเดียว หากประสงค์จะให้ใช้บังคับในกรณีที่มีการฟ้องคดีอาญาต่อศาลด้วยก็น่าจะกำหนดระยะเวลาเรียกร้องขอส่งคืนสิ่งที่ยึดนับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุดไว้ด้วย
พนักงานศุลกากรยึดรถยนต์พิพาทไว้เพราะมีผู้นำของซุกซ่อนเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงการเสียภาษี ต่อมาพนักงานอัยการได้ฟ้องผู้กระทำผิดดังกล่าวโดยมิได้ขอให้ริบรถยนต์พิพาท เมื่อรถยนต์พิพาทมิได้ตกเป็นของแผ่นดินตามมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติ ศุลกากร กรณีการร้องขอคืนของกลางที่มีตัวผู้ต้องหาและมีการฟ้องคดีอาญาต่อศาลนั้นไม่มีบทบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติ ศุลกากร อีกทั้งรถยนต์พิพาทยังไม่ตกเป็นของแผ่นดินตาม มาตรา 1327 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กรมศุลกากร จำเลยที่1 จึงไม่มีอำนาจยึดรถนั้นไว้ การที่จำเลยที่ 1 ปฏิเสธไม่ยอมคืนรถให้แก่โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของและโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิครอบครองและใช้ประโยชน์ในรถยนต์พิพาท จึงเป็นการกระทำโดยผิดกฎหมาย ทำให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหายจึงเป็นการกระทำละเมิด ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิดที่ตนได้กระทำส่วนการที่โจทก์ทั้งสองจะนำรถยนต์พิพาทไปรับส่งผู้โดยสารโดยผิดกฎหมายหรือไม่ เป็นคนละเรื่องกับการทำละเมิดจึงไม่จำต้องวินิจฉัยเพราะไม่เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 พ้นความรับผิด
จำเลยที่ 1 เพียงแต่ยึดรถยนต์ของโจทก์ไว้เป็นเวลานาน การเสื่อมราคาถ้าหากจะมีบ้างก็เป็นการเสื่อมไปตามกาลเวลา ซึ่งเกลื่อนกลืนไปกับค่าสินไหมทดแทนเพื่อการที่โจทก์ทั้งสองขาดรายได้จากการใช้รถในระยะเวลาเดียวกันแล้ว ที่ศาลอุทธรณ์ไม่กำหนดค่าสินไหมทดแทนส่วนนี้ให้โจทก์จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10409/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความ การยึดรถยนต์เกินสิทธิ ทำให้เกิดละเมิดต่อคู่สัญญา
ก่อนคดีนี้จำเลยได้นำหนี้ตามสัญญาเช่าซี้อรถยนต์พิพาทมาฟ้องให้โจทก์รับผิดแล้ว แต่ภายหลังตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน ซึ่งศาลจังหวัดขอนแก่นได้พิพากษาไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวและคำพิพากษาตามยอมถึงที่สุดแล้ว ผลของสัญญาประนีประนอมยอมความย่อมทำให้สิทธิของจำเลยที่จะเรียกร้องให้โจทก์รับผิดตามสัญญาเช่าซื้อเดิมเป็นอันระงับสิ้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 852 จำเลยคงมีสิทธิเรียกร้องให้โจทก์ชำระหนี้แก่ตนตามสัญญาประนีประนอมยอมความเท่านั้น เนื่องจากคำพิพากษาตามยอมย่อมมีผลผูกพันคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง แต่สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยในคดีดังกล่าวถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำพิพากษา เมื่อข้อตกลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความระบุไว้เพียงว่าหากโจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาผิดนัด โจทก์ยินยอมให้จำเลยบังคับเอากับหนี้ที่เหลือได้ทั้งหมด โดยไม่มีข้อความใดระบุให้สิทธิแก่จำเลยติดตามยึดรถยนต์พิพาทคืน ดังนั้น เมื่อโจทก์ผิดนัดชำระหนี้ จำเลยก็ชอบที่จะร้องขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีไปดำเนินการบังคับคดีเอากับหนี้ที่เหลือตามคำพิพากษาตามยอมทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ยได้ทันทีเท่านั้นไม่มีสิทธิที่จะไปยึดรถยนต์พิพาทได้อีก การกระทำของจำเลยที่มอบหมายให้พนักงานของจำเลยไปยึดรถยนต์พิพาทแล้วนำออกขายทอดตลาดจึงเป็นการผิดสัญญาประนีประนอมยอมความและเป็นการจงใจกระทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมาย ทำให้โจทก์เสียหายอันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8812/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผิดสัญญาเช่าซื้อ ยึดรถยนต์ก่อนบอกเลิกสัญญา จำเลยต้องคืนเงินดาวน์และค่าเช่าซื้อ
จำเลยยึดรถยนต์พิพาทจากบ้านของโจทก์ไปไว้ที่บริษัทจำเลย ไม่ได้ความว่าจำเลยบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อก่อน กลับได้ความว่าในวันดังกล่าวฝ่ายโจทก์นำค่าเช่าซื้อไปชำระให้แก่จำเลยจำนวนหนึ่ง จำเลยก็รับไว้ การที่จำเลยยึดรถยนต์พิพาทจากโจทก์ในระหว่างการเช่าซื้อถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่าซื้อจำเลยย่อมไม่มีสิทธิริบเงินดาวน์และค่าเช่าซื้อที่โจทก์ได้ชำระไปตามสัญญาเช่าซื้อ
หลังจากที่จำเลยยึดรถยนต์พิพาทคืนไปจากโจทก์แล้ว โจทก์มีหนังสือให้จำเลยคืนเงินดาวน์และค่าเช่าซื้อทั้งหมดให้แก่โจทก์ จึงถือว่าโจทก์บอกเลิกสัญญาต่อจำเลย สัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์และจำเลยจึงเป็นอันเลิกกัน ผลแห่งการเลิกสัญญาดังกล่าวคู่สัญญาจะต้องกลับสู่ฐานะเดิม จำเลยต้องคืนเงินที่ได้รับตามสัญญาเช่าซื้อให้แก่โจทก์ และโจทก์ต้องรับผิดในค่าขาดประโยชน์ของจำเลยในระหว่างที่โจทก์ครอบครองและใช้ประโยชน์ในรถยนต์พิพาทของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 527/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐ ยึดรถยนต์โดยไม่ชอบ ชดใช้ค่าเสียหายขาดประโยชน์และค่าเสื่อมราคา
สินค้ารถยนต์ตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตท้าย พ.ร.บ.พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมตาม พ.ร.บ.พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.2534 มาตรา 3 ได้ให้คำจำกัดความไว้แล้ว การที่กรมสรรพสามิตจำเลยออกคำสั่งกรมสรรพสามิตที่ 437/2537 ให้รถยนต์ซึ่งทำจากชิ้นส่วนของรถยนต์ที่ออกแบบเพื่อใช้สำหรับนั่งเป็นปกติวิสัย แม้มีที่นั่งด้านหน้าตอนเดียวสำหรับคนขับและด้านหลังเปิดโล่งเป็นรถยนต์นั่งตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต ประเภทที่ 05.01 ด้วย เป็นการเปลี่ยนประเภทรถยนต์กระบะตามความหมายของรถยนต์กระบะ ให้เป็นรถยนต์นั่ง มิใช่การตีความในพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 จึงไม่เป็นการปฏิบัติหน้าที่ภายในขอบอำนาจโดยเคร่งครัด ถือว่าเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย การที่เจ้าหน้าที่ของจำเลยยึดรถยนต์ของโจทก์ไว้จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยต้องรับชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในผลแห่งละเมิดที่เจ้าหน้าที่ของจำเลยได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่
ระหว่างที่รถยนต์คันของโจทก์ถูกจำเลยยึดไว้ ย่อมทำให้โจทก์ไม่สามารถใช้ประโยชน์ และระยะเวลาที่ผ่านไปเกือบ 2 ปี ย่อมทำให้รถยนต์ที่จอดทิ้งไว้โดยไม่ได้ใช้งานเก่าลง อุปกรณ์บางอย่างหมดสภาพหรือหมดอายุการใช้งานซึ่งเป็นเหตุให้รถยนต์มีราคาลดลงจากเดิม อันเป็นความเสียหายที่เกิดจากการทำละเมิดของจำเลย จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าขาดประโยชน์จากการที่โจทก์มิได้ใช้รถยนต์ และค่าเสื่อมราคาของรถยนต์ให้แก่โจทก์ด้วย
of 2