พบผลลัพธ์ทั้งหมด 48 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8239/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาของผู้สมัครรับเลือกตั้งที่เอกสารไม่ครบถ้วนและพ้นกำหนด
หลักเกณฑ์ในการที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลฎีกา เพื่อให้ศาลมีคำสั่งให้ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งรับสมัครผู้สมัครรับเลือกตั้งตามมาตรา 32 และ 34 แห่ง พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2543 ประการแรก ต้องเป็นผู้สมัครที่ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งรับใบสมัครและลงบันทึกการรับสมัครพร้อมกับได้ออกใบรับให้แก่ผู้สมัครนั้นแล้ว ประการที่สอง ผ่านการตรวจสอบและสอบสวนของผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งแล้ว ประการที่สาม ไม่มีชื่อเป็นผู้สมัครในประกาศของผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้ง ดังนั้น ที่ผู้ร้องได้ยื่นใบสมัครครั้งแรก แต่ผู้คัดค้านเห็นว่าเอกสารหลักฐานไม่ครบถ้วน จึงให้ผู้ร้องไปนำเอกสารมาให้ครบ เมื่อผู้ร้องกลับมาอีกครั้งเมื่อเวลา 17 นาฬิกา ปรากฏว่าพ้นกำหนดระยะเวลายื่นใบสมัคร ผู้คัดค้านจึงไม่รับใบสมัคร ไม่ลงบันทึกการรับสมัครไว้เป็นหลักฐาน และไม่มีการออกใบรับให้แก่ผู้ร้อง ดังนี้ ผู้ร้องยังไม่ผ่านขั้นตอนการรับสมัครตามมาตรา 32 อย่างครบถ้วน จึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาเพื่อให้มีคำสั่งตามมาตรา 34 ได้
ตาม พ.ร.บ. ดังกล่าว มาตรา 34 บัญญัติให้ผู้สมัครยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาโดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลในการดำเนินกระบวนพิจารณา ที่ศาลชั้นต้นรับค่าธรรมเนียมศาลไว้จึงไม่ถูกต้อง
(คำสั่งศาลฎีกา)
ตาม พ.ร.บ. ดังกล่าว มาตรา 34 บัญญัติให้ผู้สมัครยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาโดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลในการดำเนินกระบวนพิจารณา ที่ศาลชั้นต้นรับค่าธรรมเนียมศาลไว้จึงไม่ถูกต้อง
(คำสั่งศาลฎีกา)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4276/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอคืนภาษีธุรกิจเฉพาะต้องยื่นคำร้องก่อนฟ้องคดี หากไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ศาลไม่รับฟ้อง
โจทก์อ้างว่าตนไม่มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ เงินเพิ่มและภาษีส่วนท้องถิ่น แต่ได้ชำระภาษีอากรดังกล่าวแก่จำเลยที่ 2 ไว้ โจทก์จึงนำคดีมาฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินดังกล่าวคืน เป็นเรื่องการขอคืนภาษีธุรกิจเฉพาะซึ่งโจทก์ต้องยื่นคำร้องขอคืนตามหลักเกณฑ์ วิธีการและระยะเวลาที่กำหนดไว้ก่อนโจทก์จึงจะนำคดีมาฟ้องต่อศาลภาษีอากรได้ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 9 โจทก์รับว่าก่อนฟ้องคดีนี้โจทก์ไม่ได้ยื่นคำร้องขอคืนภาษีที่ตนไม่มีหน้าที่ต้องเสีย จึงเป็นกรณีที่โจทก์มิได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด โจทก์ไม่อาจนำคดีมาฟ้องต่อศาลได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1795/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอุทธรณ์คำสั่งปรับผู้ประกัน การยื่นคำร้องซ้ำ และกรอบเวลาอุทธรณ์ตามกฎหมาย
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 119 วรรคแรกบัญญัติเพียงว่า เมื่อศาลสั่งบังคับตามสัญญาประกันแล้ว ผู้ถูกบังคับตามสัญญาประกันมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ แต่ ไม่มีบทมาตราใดบัญญัติห้ามไว้ว่า เมื่อศาลสั่งปรับผู้ประกันแล้ว และผู้ประกันได้ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาลดค่าปรับ แต่ศาลชั้นต้น ยกคำร้องของผู้ประกัน ผู้ประกันนั้นจะยื่นคำร้องขอให้พิจารณา ลดค่าปรับซ้ำอีกไม่ได้ การที่ ผู้ประกันยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นเพื่อขอให้พิจารณาลดค่าปรับ ให้แก่ผู้ประกันใหม่อีกนั้นก็ไม่มีเหตุส่อให้เห็นว่าเป็นการ ยื่นเกินความจำเป็น จึงมิใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ หรือขยายอายุอุทธรณ์ ดังนั้น เมื่อผู้ประกันได้ยื่นคำร้อง ลงวันที่ 21 สิงหาคม 2540 วันที่ 3 ตุลาคม 2540 และวันที่ 10 พฤศจิกายน 2540 ขอให้ศาลชั้นต้นพิจารณาลดค่าปรับ แต่ศาลชั้นต้น มีคำสั่งยกคำร้องทั้ง 3 ครั้งผู้ประกันย่อมมีสิทธิที่จะอุทธรณ์ คำสั่งนั้นต่อศาลอุทธรณ์ภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันที่ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ประกันครั้งสุดท้ายตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 198 วรรคแรก เมื่อนับแต่วันที่ 10 พฤศจิกายน 2540 ถึงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2540 ที่ผู้ประกันทั้งสี่ยื่นอุทธรณ์ จึงยังไม่เกิน 1 เดือน ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ต้องรับพิจารณาอุทธรณ์ของผู้ประกันทั้งสี่ไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6261/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคิดดอกเบี้ยค่าจ้างค้างชำระ เริ่มนับแต่วันที่ลูกจ้างยื่นคำร้องต่อหน่วยงานราชการ เมื่อทวงถามแล้วจำเลยยังไม่ชำระ
โจทก์ฟ้องว่าได้ทวงถามให้จำเลยชำระค่าจ้างค้างแล้ว แต่จำเลยเพิกเฉย ขอให้บังคับจำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันผิดนัด โดยมิได้ระบุว่าการทวงถามอันเป็นเหตุให้จำเลยผิดนัดได้กระทำเมื่อใด ดังนั้น ข้อเท็จจริงจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยผิดนัดตั้งแต่เมื่อใด แต่การที่จำเลยไม่ยอมจ่ายค่าจ้างค้างแก่โจทก์โดยโจทก์ได้ทวงถามจนกระทั่งโจทก์ยื่นคำร้องต่อสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดนครศรีธรรมราชในวันที่ 4 ตุลาคม 2539 จำเลยก็ยังไม่ยอมชำระให้นั้น ถือได้ว่าจำเลยผิดนัดในการชำระค่าจ้างค้างแก่โจทก์แล้ว จำเลยจึงต้องรับผิดในดอกเบี้ยแก่โจทก์ตั้งแต่วัน ดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 900/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคัดค้านการขายทอดตลาด: กำหนดระยะเวลาการยื่นคำร้อง
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ผู้คัดค้านที่ 1 ขายทอดตลาดที่ดินพิพาทเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2535 การที่ ด.ผู้รับมอบอำนาจของผู้ร้องได้ทราบวันขายทอดตลาด แต่ไม่มาดูแลการขาย ต้องถือว่าผู้ร้องได้ทราบถึงการขายทอดตลาดในวันที่ 13 พฤศจิกายน 2535 ดังกล่าวด้วย ผู้ร้องยื่นคำร้องคัดค้านการขายทอดตลาดเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2535 จึงเกินสิบสี่วัน นับแต่วันที่ผู้ร้องทราบถึงการกระทำหรือคำวินิจฉัยของผู้คัดค้านที่ 1 ผู้ร้องจึงหมดสิทธิที่จะยื่นคำร้องตาม พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 146
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5780/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขออนุญาตฎีกาในข้อเท็จจริงเกินทุนทรัพย์ที่กำหนด และการคำนวณระยะเวลาการยื่นคำร้อง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่งที่บัญญัติว่า ในคดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท หรือไม่เกินจำนวนที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงเว้นแต่ ผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีนั้นในศาลอุทธรณ์ได้มีความเห็นแย้ง หรือผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นก็ดีศาลอุทธรณ์ก็ดีได้รับรองไว้หรือรับรองในเวลาตรวจฎีกาว่ามีเหตุสมควรที่จะฎีกาได้ ถ้าไม่มีความเห็นแย้งหรือคำรับรองเช่นว่านี้ต้องได้รับอนุญาต ให้ฎีกาเป็นหนังสือจากอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์นั้นเมื่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งภาค3 ลักษณะ 2 ว่าด้วยฎีกามิได้บัญญัติถึงวิธีปฏิบัติในการยื่นคำร้องเพื่อที่จะได้รับอนุญาตให้ฎีกาเป็นหนังสือจากอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ จึงต้องนำบทบัญญัติในลักษณะ 1 ว่าด้วยอุทธรณ์มาใช้บังคับโดยอนุโลมตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 247 ซึ่งได้แก่บทบัญญัติในมาตรา 230 วรรคสาม เมื่อนำบทบัญญัติดังกล่าวมาใช้บังคับโดยอนุโลมแล้วจะได้วิธีปฏิบัติดังนี้คือ คดีที่ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง ถ้าไม่มีความเห็นแย้งหรือคำรับรอง ให้ศาลมีคำสั่งไม่รับฎีกาในข้อเท็จจริงดังกล่าว ในกรณีเช่นนี้ผู้ฎีกาชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นเพื่อจะได้รับอนุญาตให้ฎีกาเป็นหนังสือจากอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภายในเวลาเจ็ดวันนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อศาลชั้นต้นได้รับคำร้องเช่นว่านั้นแล้วให้ศาลชั้นต้นส่งคำร้องดังกล่าวพร้อมด้วยสำนวนความไปยังอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์เพื่อมีคำสั่ง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาของจำเลย ในวันที่ 25 ธันวาคม2538 ดังนั้น จำเลยมีสิทธิยื่นคำร้องเพื่อจะได้รับอนุญาตให้ฎีกาเป็นหนังสือต่อศาลชั้นต้นถึงอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภายในวันที่ 1 มกราคม 2539 ซึ่งตรงกับวันหยุดราชการประจำปีจำเลยที่ 1 และที่ 3 ถึงที่ 5 จึงมีสิทธิยื่นคำร้องในวันที่ศาลชั้นต้นเปิดทำการเป็นวันแรกได้ ซึ่งโดยทั่วไปคือวันที่2 มกราคม 2539 แต่เฉพาะในปี 2539 นี้คณะรัฐมนตรีมีมติให้วันที่ 2 มกราคม 2539 เป็นวันหยุดชดเชยของวันที่31 ธันวาคม 2538 ที่ตรงกับวันอาทิตย์อันเป็นวันหยุดราชการประจำสัปดาห์ ตามหนังสือเลขาธิการคณะรัฐมนตรีที่ นร0215/ว 274 ลงวันที่ 27 ธันวาคม 2538 วันที่ศาลชั้นต้นเปิดทำการเป็นวันแรกหลังจากวันสุดท้ายที่จำเลยที่ 1 และที่ 3ถึงที่ 5 มีสิทธิยื่นคำร้องได้ซึ่งตรงกับวันหยุดราชการจึงเป็นวันที่ 3 มกราคม 2539 และจำเลยได้ยื่นคำร้องดังกล่าวในวันที่3 มกราคม 2539 อันเป็นการยื่นคำร้องดังกล่าวภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้แล้ว ศาลชั้นต้นจะต้องส่งคำร้องดังกล่าวของจำเลยพร้อมสำนวนไปยังอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์เพื่อพิเคราะห์สั่งต่อไปตามบทบัญญัติของกฎหมาย ศาลชั้นต้นไม่มีสิทธิปฏิบัติไม่ส่งคำร้องดังกล่าวไปยังอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ตามที่จำเลยขอ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลย ที่ขอให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์อนุญาตให้จำเลยฎีกาในข้อเท็จจริงจึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2972/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ระยะเวลาฎีกา, การขยายเวลา, และการยื่นคำร้องอนุญาตฎีกาหลังหมดกำหนด
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา216บัญญัติให้คู่ความมีอำนาจฎีกาคัดค้านคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นให้คู่ความฝ่ายที่ฎีกาฟังทั้งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/5บัญญัติว่าถ้ากำหนดระยะเวลาเป็นเดือนให้คำนวณตามปีปฏิทินถ้าระยะเวลามิได้กำหนดนับแต่วันต้นแห่งเดือนระยะเวลาย่อมสิ้นสุดลงในวันก่อนหน้าจะถึงวันแห่งเดือนสุดท้ายอันเป็นวันตรงกับวันเริ่มระยะเวลานั้นและคดีนี้ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้โจทก์และจำเลยฟังเมื่อวันที่27กันยายน2539หากจำเลยจะฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จำเลยจะต้องฎีกาภายในวันที่17ตุลาคม2539แต่ทนายจำเลยยื่นคำร้องในวันที่16ตุลาคม2539ขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาออกไปอีก15วันซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตเมื่อนับระยะเวลาเป็นวันตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/3วรรคสองบัญญัติมิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลานั้นรวมเข้าด้วยแล้วจึงเป็นผลให้ระยะเวลาที่จำเลยจะยื่นฎีกาได้นั้นยืนออกไปอีกโดยจำเลยสามารถยื่นฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้ภายในวันที่31ตุลาคม2539จำเลยยื่นคำร้องพร้อมฎีกาต่อผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นในวันที่29ตุลาคม2539ขอให้อนุญาตให้จำเลยฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา221ยังอยู่ในกำหนดระยะเวลาที่จำเลยจะฎีกาได้จึงเป็นคำร้องที่ยื่นโดยชอบด้วยกฎหมายส่วนคำร้องของจำเลยพร้อมฎีกาที่ขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในศาลอุทธรณ์อนุญาตให้จำเลยฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา221ซึ่งยื่นเมื่อวันที่18พฤศจิกายน2539นั้นแม้จะเป็นการยื่นก่อนเวลาที่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยฎีกาก็ตามแต่ก็เป็นการยื่นเพื่อปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา221เมื่อล่วงพ้นระยะเวลาที่จำเลยมีสิทธิฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เสียแล้วการยื่นคำร้องดังกล่าวของจำเลยต่อผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในศาลอุทธรณ์จึงเป็นการปฏิบัติที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยนั้นชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7060/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาล: การนับระยะเวลาตาม ป.วิ.พ. และผลของการยื่นคำร้องล่าช้า
จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์ครั้งที่หนึ่งเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2537 ขอขยายระยะเวลามีกำหนด 15 วันนับแต่วันที่ยื่นคำร้อง จึงครบกำหนดเวลาที่ได้รับอนุญาตวันที่ 3 กันยายน 2537 ซึ่งเป็นวันเสาร์หยุดราชการ แม้จำเลยจะมีสิทธิยื่นคำร้องขอเป็นครั้งที่สองในวันที่ 5 กันยายน2537 อันเป็นวันที่เริ่มทำการใหม่ได้ก็ตาม แต่การนับระยะเวลาที่จะขอขยายออกไปต้องนับต่อจากวันสุดท้ายที่ครบกำหนดระยะเวลาเดิมคือเริ่มนับ 1 ตั้งแต่วันที่ 4กันยายน 2537 เมื่อขอขยายเวลาอีก 15 วัน จึงครบกำหนดในวันที่ 18 กันยายน2537 ซึ่งเป็นวันอาทิตย์ หากจำเลยประสงค์จะขยายระยะเวลาวางเงินออกไปอีกก็ต้องยื่นคำร้องขอในวันจันทร์ที่ 19 กันยายน 2537 ซึ่งเป็นวันที่ศาลเริ่มทำการใหม่การที่จำเลยยื่นคำร้องขอครั้งที่สามเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2537 จึงล่วงพ้นกำหนดระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นขยายให้แล้ว ทั้งคำร้องก็มิได้แสดงเหตุว่ามีเหตุสุดวิสัยที่มิอาจยื่นคำร้องก่อนสิ้นกำหนดเวลาดังกล่าว กรณีจึงไม่มีเหตุที่จะขยายระยะเวลาตามคำร้องขอครั้งที่สามได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตตามคำร้องขอครั้งที่สามของจำเลยทั้งสอง จึงเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.ว่าด้วยการพิจารณาศาลฎีกาให้ยกคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมครั้งที่สามของศาลชั้นต้นนั้นเสีย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6013/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสันนิษฐานสถานะบริวารในบังคับคดี ผู้ร้องมีสิทธิยื่นคำร้องพิสูจน์สถานะแม้พ้นกำหนด 8 วัน
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งได้บัญญัติเกี่ยวกับสิทธิของผู้ร้องไว้ในมาตรา296จัตวา(3)คือถ้าผู้ร้องไม่ได้ยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษว่าผู้ร้องไม่ใช่บริวารของจำเลยต่อศาลชั้นต้นเสียภายในกำหนดเวลา8วันนับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ร้องเป็นบริวารของจำเลยการที่กฎหมายเพียงแต่ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ร้องเป็นบริวารของจำเลยในกรณีที่ผู้ร้องมิได้ยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษว่าผู้ร้องไม่ใช่บริวารของจำเลยเสียภายในกำหนดเวลา8วันนับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศแสดงว่ากฎหมายมิได้บัญญัติบังคับไว้โดยเด็ดขาดว่าถ้าผู้ร้องไม่ได้ยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในกำหนดเวลา8วันนับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศแล้วผู้ร้องจะต้องเป็นบริวารของจำเลยสถานเดียวแม้ล่วงเลยกำหนดเวลา8วันนับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศไปแล้วถ้าผู้ร้องมีหลักฐานสืบแสดงได้ว่าผู้ร้องไม่ใช่บริวารของจำเลยผู้ร้องก็ชอบที่จะยื่นคำร้องนำพยานหลักฐานมาสืบพิสูจน์ถึงสถานภาพของผู้ร้องได้ว่าผู้ร้องไม่ใช่บริวารของจำเลยและแม้ผู้ร้องจะไม่ได้ขอขยายระยะเวลายื่นคำร้องเสียก่อนสิ้นระยะเวลา8วันนับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศก็ไม่ตัดสิทธิผู้ร้องที่จะยื่นคำร้องในภายหลังเพราะระยะเวลา8วันดังกล่าวเป็นเพียงระยะเวลาที่กฎหมายสันนิษฐานถึงสถานภาพของบุคคลว่าใช่หรือไม่ใช่บริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเท่านั้นมิใช่ระยะเวลาสิ้นสุดเพื่อให้ดำเนินหรือมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาใดๆตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา23
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5120/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำร้องภาษีล่าช้าเกินกำหนด ไม่ถือเป็นเหตุสุดวิสัย แม้ส่งทางไปรษณีย์
โจทก์มีเวลาเพียงพอที่จะดำเนินการยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินใหม่ต่อเจ้าหน้าที่ของเทศบาลจำเลยได้จนถึงวันที่ 17 ตุลาคม 2533 อันเป็นวันสุดท้าย แต่โจทก์หาได้ดำเนินการดังกล่าวไม่กลับส่งคำร้องจะให้พิจารณาการประเมินใหม่ไปยังจำเลยโดยทางไปรษณีย์ และคำร้องดังกล่าวไปถึงจำเลยเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2533 เกินกำหนดเวลาตามกฎหมายแล้ว พฤติการณ์เช่นนี้ยังถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีที่มีเหตุสุดวิสัยที่จะรับไว้ได้