คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ย้อนสำนวน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 113 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3154/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คดีอาญา: หลักเกณฑ์การพิจารณาโทษหนัก-เบา และขอบเขตการย้อนสำนวน
คดีอาญาเรื่องใดจะต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงหรือไม่ ต้องพิจารณาอัตราโทษที่กฎหมายบัญญัติสำหรับข้อหาแต่ละกระทงความผิดเป็นสำคัญ เมื่อความผิดในกระทงนั้นมีความผิดหลายบทรวมอยู่ด้วย ถ้าบทหนักไม่ต้องห้าม ก็ถือว่าทุกบทไม่ต้องห้าม โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสามในความผิดฐานร่วมกันบุกรุกและทำให้เสียทรัพย์ ซึ่งเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวกัน เมื่อความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365(2) ประกอบด้วยมาตรา 362 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดมีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ ความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358 ซึ่งเป็นบทเบา แม้จะมีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับก็ย่อมไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงด้วย สมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิจารณาพิพากษาใหม่ เพื่อให้การวินิจฉัยความผิดของจำเลยทั้งสามเป็นไปตามลำดับศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 208(2) ประกอบด้วย มาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2984/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสอบถามจำเลยเรื่องทนายความก่อนเริ่มพิจารณาคดีอาญาเป็นหน้าที่ของศาลชั้นต้น หากไม่ปฏิบัติตามต้องย้อนสำนวน
คดีที่มีอัตราโทษจำคุก ก่อนเริ่มการพิจารณาศาลชั้นต้นจะต้องถามจำเลยว่ามีทนายความหรือไม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 173 วรรคสอง เมื่อตามรายงานกระบวนพิจารณาศาลชั้นต้น เพียงอ่านอธิบายฟ้องให้จำเลยฟัง โดยไม่ดำเนินการตามบทกฎหมาย จึงเป็นการมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณา ศาลฎีกาจำเป็นต้องย้อนสำนวนเพื่อให้ศาลชั้นต้นดำเนินการใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 208(2)ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8745/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องอุทธรณ์ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากทนายความมิได้ยื่นใบแต่งทนาย ศาลฎีกาย้อนสำนวนเพื่อพิจารณาใหม่ตามลำดับชั้น
คำฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์ในคดีแพ่ง มี ก. ทนายความลงชื่อเป็นผู้อุทธรณ์แต่ ก. มิได้ยื่นใบแต่งทนายความให้ ก. มีอำนาจดำเนินคดีในชั้นอุทธรณ์ย่อมเป็นคำฟ้องอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ในชั้นตรวจรับคำคู่ความศาลชั้นต้นผู้ตรวจชอบที่จะสั่งแก้ไขเสียให้ถูกต้องหรือไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 แต่ศาลชั้นต้นกลับรับอุทธรณ์ของโจทก์ไว้ดำเนินการต่อมา จึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนในเรื่องการเขียนและยื่นคำคู่ความ ศาลฎีกามีอำนาจสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการแก้ไขตามที่กล่าวได้ แต่เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้ฎีกาและแต่งตั้ง ก. เป็นทนายความของโจทก์และให้มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาแล้ว ศาลฎีกาจึงไม่จำต้องดำเนินการในเรื่องนี้อีก แต่เห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาคดีนี้ใหม่เพื่อเป็นไปตามลำดับชั้นศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5294/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและการกำหนดค่าเสียหาย ศาลฎีกาให้ย้อนสำนวนเพื่อพิจารณาข้อเท็จจริงเพิ่มเติม
ข้อเท็จจริงในสำนวนปรากฏเพียงว่าโจทก์ได้รับเงินเดือน48,400 บาท ค่ารับรอง-ของขวัญ 5,000 บาท และค่าตอบแทนอื่น ๆ 30,000 บาทแต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยจ่ายเงินค่ารับรอง-ของขวัญ และเงินค่าตอบแทนอื่น ๆ ให้แก่โจทก์ด้วยเหตุใด เป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานหรือไม่ จึงไม่อาจวินิจฉัยอุทธรณ์จำเลยที่ว่า ค่ารับรองของขวัญและค่าตอบแทนอื่น ๆ ดังกล่าวเป็นค่าจ้างหรือไม่ศาลฎีกาให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานพิจารณาและวินิจฉัยข้อเท็จจริงดังกล่าวก่อน
ศาลแรงงานกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์เนื่องจากเห็นว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม โดยมิได้กำหนดค่าเสียหายที่เกิดจากการถูกบุคคลอื่นดูหมิ่นเหยียดหยาม เสื่อมเสียชื่อเสียงและเสียประวัติการทำงาน การที่จำเลยอุทธรณ์ว่าค่าเสียหายส่วนที่ศาลแรงงานไม่ได้กำหนดให้โจทก์ไม่อยู่ในอำนาจของศาลแรงงานนั้นจำเลยมิได้โต้แย้งหรือคัดค้านว่าศาลแรงงานกำหนดค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมให้โจทก์ไม่ถูกต้องอย่างไร และที่ถูกต้องควรเป็นเช่นไร จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5294/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าจ้าง, ค่าชดเชย, ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม: ศาลฎีกาย้อนสำนวนเพื่อพิสูจน์การจ่ายเงินและตรวจสอบความชัดเจนของอุทธรณ์
ข้อเท็จจริงในสำนวนปรากฏเพียงว่าโจทก์ได้รับเงินเดือน48,400 บาท ค่ารับรอง-ของขวัญ 5,000 บาท และค่าตอบแทนอื่น ๆ30,000 บาท แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยจ่ายเงินค่ารับรอง-ของขวัญและเงินค่าตอบแทนอื่น ๆ ให้แก่โจทก์ด้วยเหตุใด เป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานหรือไม่ จึงไม่อาจวินิจฉัยอุทธรณ์จำเลยที่ว่า ค่ารับรองของขวัญและค่าตอบแทนอื่น ๆ ดังกล่าวเป็น ค่าจ้างหรือไม่ศาลฎีกาให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานพิจารณา และวินิจฉัยข้อเท็จจริงดังกล่าวก่อน ศาลแรงงานกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์เนื่องจากเห็นว่าจำเลย เลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม โดยมิได้กำหนดค่าเสียหายที่เกิด จากการถูกบุคคลอื่น ดูหมิ่นเหยียดหยาม เสื่อมเสียชื่อเสียงและ เสียประวัติการทำงาน การที่จำเลยอุทธรณ์ว่าค่าเสียหายส่วนที่ ศาลแรงงานไม่ได้กำหนดให้โจทก์ไม่อยู่ในอำนาจของศาลแรงงานนั้น จำเลยมิได้โต้แย้งหรือคัดค้านว่าศาลแรงงานกำหนดค่าเสียหาย จากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมให้โจทก์ไม่ถูกต้อง อย่างไร และที่ถูกต้องควรเป็นเช่นไร จึงเป็นอุทธรณ์ที่ ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงาน และวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5461/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลแรงงานวินิจฉัยข้อเท็จจริงขัดแย้งกันในคดีค่าจ้างและค่าชดเชย จำเป็นต้องย้อนสำนวนเพื่อวินิจฉัยใหม่
จำเลยให้การว่า ค่าจ้างค้างจ่ายตามฟ้องโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดสำนวนจำเลยได้จ่ายให้แล้ว จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้เงินจำนวนใด ๆ ให้แก่โจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดสำนวน อันแสดงถึงข้อต่อสู้ของจำเลยไว้อย่างชัดแจ้งแล้วว่าเมื่อจำเลยไม่ค้างจ่ายค่าจ้างตามฟ้องโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดสำนวน จำเลยก็ไม่ต้องรับผิดจ่ายเงินเพิ่มให้แก่โจทก์ร้อยละสิบห้าของเงินค้างชำระทุกระยะเวลา 7 วัน ตามฟ้องโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดสำนวนด้วย
ศาลแรงงานวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยไม่ได้นำสืบว่าจำเลยประสบภาวะซบเซาทางเศรษฐกิจจริงหรือไม่จากคำแถลงรับของโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดกับจำเลยตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลแรงงานที่ว่า ก่อนที่จำเลยจะไม่จ่ายเงินค่าจ้างให้แก่โจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดนั้น มีการประชุมระดับผู้บริหารว่าบริษัทจำเลยขาดสภาพคล่องจำเป็นต้องลดพนักงานลง ประกอบคำเบิกความของพยานจำเลยซึ่งเป็นการวินิจฉัยไปตามข้อต่อสู้และการนำสืบของจำเลย รวมตลอดทั้งข้อเท็จจริงตามที่คู่ความแถลงรับกันโดยถูกต้องชอบด้วยกฎหมายแล้ว จึงมิใช่เป็นการวินิจฉัยที่ขัดต่อกฎหมาย
เมื่อโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดจะมีสิทธิได้รับค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าก็ต่อเมื่อโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดพ้นสภาพจากการเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของจำเลยโดยถูกจำเลยเลิกจ้างเสียก่อน ในปัญหานี้ศาลแรงงานได้วินิจฉัยไว้ในตอนต้นว่า จำเลยมิได้เลิกจ้างโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ด อันหมายถึงว่าโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าการที่ต่อมาศาลแรงงานวินิจฉัยว่า จำเลยให้การต่อสู้คดีว่าโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า โดยไม่ได้ให้การว่าเลิกจ้างหรือไม่ และทางพิจารณาปรากฏว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ 19 คน ส่วนอีก12 คน ไม่ได้เลิกจ้าง โดยมิได้วินิจฉัยว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์คนใดบ้าง แต่กลับพิพากษาให้ยกคำขอในส่วนนี้ของโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดและกำหนดให้สิทธิแก่โจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดซึ่งรวมทั้งโจทก์ที่ไม่ปรากฏว่าถูกเลิกจ้าง ยังไม่มีสิทธิที่จะเรียกค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจากจำเลยได้ ให้กลับมีสิทธินำคดีมาฟ้องใหม่ภายในกำหนดอายุความด้วยเช่นนี้ ย่อมเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่ขัดกันเอง ไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดคนหรือเลิกจ้างโจทก์คนใดบ้าง ถือได้ว่าศาลแรงงานยังไม่ได้วินิจฉัยตามข้อหาทุกข้อ ขัดต่อ ป.วิ.พ.มาตรา 142 ประกอบพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31จึงเป็นการมิชอบ ศาลฎีกาให้ยกคำพิพากษาศาลแรงงานในส่วนนี้แล้วย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานวินิจฉัยในประเด็นนี้ใหม่ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 243 (1) ประกอบพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
ค่าจ้างเดือนมีนาคม เมษายน และพฤษภาคม 2540 ตามฟ้องของโจทก์ที่ 2 และที่ 28 เป็นเงินรวม 24,570 บาท และ 87,540 บาท แต่จำเลยชำระให้แก่โจทก์ที่ 2 และที่ 28 ไปแล้ว 10,200 บาท และ 8,500 บาทจึงยังคงเหลือค่าจ้างค้างจ่ายแก่โจทก์ที่ 2 และที่ 28 เป็นเงิน 14,370 บาท และ79,040 บาท ตามลำดับ แต่ศาลแรงงานพิพากษาให้จำเลยชำระเงินค่าจ้างค้างจ่ายแก่โจทก์ที่ 2 และที่ 28 เป็นเงิน 143,370 บาท และ 108,220 บาท จึงเป็นการไม่ถูกต้องและเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อย แม้จำเลยไม่อุทธรณ์ในปัญหานี้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขข้อผิดพลาดดังกล่าวให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 143 ประกอบพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3650/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ต้องมีใบแต่งทนายความที่ถูกต้อง หากศาลชั้นต้นละเลยหน้าที่ ศาลฎีกาสั่งย้อนสำนวนให้พิจารณาใหม่
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 198 วรรคสองบัญญัติให้เป็นหน้าที่ศาลชั้นต้นตรวจอุทธรณ์ว่าควรจะรับส่งขึ้นไปยังศาลอุทธรณ์หรือไม่ ถ้าเห็นว่าไม่ควรรับให้จดเหตุผลไว้ในคำสั่งของศาลนั้นโดยชัดเจน และมาตรา 158บัญญัติให้ฟ้องต้องทำเป็นหนังสือและมี (7) ลายมือชื่อโจทก์ผู้เรียง ผู้เขียนหรือพิมพ์ฟ้อง เมื่อปรากฏว่าคำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยมี ค.ทนายจำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อเป็นผู้อุทธรณ์และผู้เรียงพิมพ์ โดยที่ค.มิได้ยื่นใบแต่งทนายความไว้ต่อศาล แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยไว้โดยมิได้มีคำสั่งให้จำเลยยื่นใบแต่งทนายความเข้ามาในคดีให้ถูกต้องเสียก่อน จึงต้องถือว่าศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณาและกรณีเช่นว่านี้ ศาลอุทธรณ์จะถือว่าจำเลยมิได้ลงชื่อเป็นผู้อุทธรณ์ และจะถือว่าคำฟ้องอุทธรณ์ที่ค.ยื่นต่อศาลเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ และไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยหาได้ไม่ เมื่อคดีขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกา ศาลฎีกาย่อม มีอำนาจสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการตามที่กล่าว ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 208(2) ประกอบมาตรา 225 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เพราะยังมิได้ล่วงเลยเวลาที่ควรปฏิบัติ แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยได้ตั้งแต่งให้ค.เป็นทนายความของตนโดยให้มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาได้ในชั้นฎีกานี้แล้วศาลฎีกาจึงไม่จำต้องดำเนินการในเรื่องนี้อีก และศาลฎีกาให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาคดีนี้ใหม่เพื่อเป็นไปตามลำดับชั้นศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5757/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำให้การและการพิจารณาคดีโดยไม่ต้องย้อนสำนวนเมื่อพยานหลักฐานเพียงพอ
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้อันเกิดจากการที่จำเลยจ้างโจทก์ให้เลี้ยงไก่ของจำเลยเป็นจำนวนเงิน 48,000 บาท จำเลยให้การและแก้ไขคำให้การปฏิเสธว่า จำเลยมิได้เป็นหนี้โจทก์เพราะเมื่อครั้งที่โจทก์รับเลี้ยงไก่ให้จำเลย โจทก์ก็เป็นหนี้จำเลยจากการที่จำเลยจ่ายค่าอุปกรณ์การเลี้ยงไก่เป็นจำนวนเงิน 17,715 บาท จำนวนหนึ่ง ต่อมาโจทก์ได้ตกลงกับจำเลยใหม่เป็นว่าโจทก์จะเป็นผู้ซื้อลูกไก่ อาหารไก่ อุปกรณ์การเลี้ยงไก่จากจำเลย โดยจำเลยจะต้องเป็นผู้ซื้อไก่จากโจทก์ครั้งนี้โจทก์เป็นหนี้จำเลยเป็นเงิน 136,283 บาท การที่จำเลยให้การและแก้ไขคำให้การดังกล่าว เท่ากับว่าจำเลยปฏิเสธว่าไม่ได้เป็นหนี้โจทก์อีกเช่นกัน ประเด็นที่จำเลยต่อสู้ตามคำให้การที่ขอแก้ไขใหม่จึงเป็นไปตามประเด็นที่จำเลยให้การต่อสู้ไว้เดิมนั่นเอง ทั้งในชั้นพิจารณาจำเลยก็ได้นำสืบปฏิเสธตามคำให้การและคำร้องขอแก้ไขคำให้การแล้วดังที่ศาลอุทธรณ์อนุญาต ดังนี้ เมื่อศาลอุทธรณ์พิจารณาแล้วเห็นว่าพยานหลักฐานที่ปรากฏในสำนวนเพียงพอแก่การวินิจฉัย ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจที่จะพิจารณาพิพากษาให้คดีเสร็จไปได้โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3790-3792/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องเคลือบคลุมหรือไม่? ศาลสูงมีอำนาจย้อนสำนวนเพื่อสืบพยานได้ แม้ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยาน
แม้คำสั่งที่ศาลชั้นต้นให้งดสืบพยานโจทก์จำเลยจะเป็นคำสั่งที่ชอบ แต่เป็นคำสั่งที่ชอบเฉพาะประเด็นที่ว่าโจทก์ในฐานะคู่ความจะอุทธรณ์ในเรื่องขอสืบพยานใหม่ไม่ได้มิได้หมายความว่าห้ามศาลสูงมิให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นทำการสืบพยานใหม่ให้ได้ข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญแห่งคดีจนสิ้นกระแสความและพิพากษาใหม่ได้ ซึ่งอำนาจของศาลอุทธรณ์ภาค 3 ในอันที่จะยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาใหม่นั้นมีอยู่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 เมื่อคดีนี้ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุมทั้งมีข้อเท็จจริงที่ยังโต้เถียงกันอยู่โจทก์จึงมีสิทธิที่จะสืบพยานต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2839/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังข้อเท็จจริงจากคดีอาญาในคดีแพ่ง, การบรรยายฟ้อง, และการย้อนสำนวนเพื่อวินิจฉัยประเด็นข้อเท็จจริง
การบรรยายฟ้องในคดีแพ่ง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 กำหนดแต่เพียงว่า ฟ้องต้องแสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเท่านั้น หาต้องบรรยายถึงข้อเท็จจริงและรายละเอียดเหมือนกับฟ้องในคดีอาญาไม่ ส่วนรายละเอียดที่จะต้องนำพยานเข้าสืบเมื่อมีประเด็นโต้เถียงกันแม้โจทก์จะไม่ได้บรรยายข้อความเหล่านั้นมา ฟ้องโจทก์ก็ไม่เคลือบคลุม การจะนำข้อเท็จจริงจากคำพิพากษาส่วนอาญามารับฟังในคดีส่วนแพ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46นั้น จะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ 3 ประการ คือ คำพิพากษาคดีอาญาต้องถึงที่สุด ข้อเท็จจริงนั้นต้องเป็นประเด็นโดยตรงในคดีอาญาและคำพิพากษาคดีอาญาต้องวินิจฉัยไว้โดยชัดแจ้งและผู้ที่จะถูกข้อเท็จจริงในคดีอาญามาผูกพัน ต้องเป็นคู่ความในคดีอาญา โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาในข้อหาร่วมกันบุกรุกที่ดินพิพาทและทำให้เสียทรัพย์ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยทั้งสองไม่มีเจตนาบุกรุกหรือทำให้เสียทรัพย์ ส่วนที่ว่าที่ดินพิพาทจะเป็นของโจทก์หรือจำเลยไม่จำต้องวินิจฉัยคดีดังกล่าวถึงที่สุดแล้ว ดังนี้แม้โจทก์และจำเลยคดีก่อนเป็นคู่ความรายเดียวกับคดีนี้ก็ตาม แต่ปัญหาที่ว่าที่ดินพิพาทตามฟ้องเป็นของโจทก์ทั้งสองหรือของจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นประเด็นโดยตรงในคดีนี้ คดีอาญายังไม่ได้วินิจฉัย จึงนำข้อเท็จจริงในคดีอาญาดังกล่าวมารับฟังเป็นยุติในคดีนี้ซึ่งเป็นคดีแพ่งไม่ได้ การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์นำเอาข้อเท็จจริงดังกล่าวในคดีอาญามารับฟังว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ทั้งสองจึงเป็นการไม่ชอบด้วยบทกฎหมาย และปัญหานี้ต้องวินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวน แต่เมื่อคดีนี้ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในปัญหาที่ว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือจำเลย ปัญหาอื่น ๆ ตามคำฟ้องของโจทก์ต่อไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 240(3) ประกอบด้วยมาตรา 247 จำเลยให้การสู้คดีอ้างสิทธิครอบครองที่ดินจำนวน 20 ไร่ทุนทรัพย์ที่พิพาทจึงถือตามราคาที่ดินจำนวน 20 ไร่ แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นและจำเลยทั้งสองเสียค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และฎีกามาในราคาที่ดินจำนวน 90 ไร่ศาลฎีกาให้คืนค่าขึ้นศาลในส่วนที่เกินมาให้โจทก์และจำเลย
of 12