คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ย้อนหลัง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 45 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3016/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างต้องได้รับอนุญาตศาลก่อน แม้ศาลอนุญาตย้อนหลังก็ไม่ทำให้ความผิดหมดไป
ตามบทบัญญัติมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ไม่ว่าจะเป็นการเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างด้วยเหตุอันใด นายจ้างจะต้องได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานเสียก่อนเสมอจึงจะเลิกจ้างได้
จำเลยทั้งสองเลิกจ้างโจทก์ร่วมซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้าง เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2529 โดยมิได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานกลางก่อน เป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติ มาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ต้องรับโทษตาม มาตรา 143 และต้องถือว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดสำเร็จตั้งแต่วันดังกล่าว แม้ต่อมาภายหลังจำเลยทั้งสองจะยื่นคำร้องต่อศาลแรงงานกลางขออนุญาตเลิกจ้างโจทก์ร่วม และศาลแรงงานกลางมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยทั้งสองเลิกจ้างโจทก์ร่วมโดยให้มีผลย้อนหลังไปถึงวันที่ 19 พฤษภาคม 2529 ก็ตาม ก็ไม่มีผลให้การกระทำของจำเลยทั้งสองที่เป็นความผิดอยู่แล้วกลายเป็นการกระทำที่ไม่เป็นความผิดไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 715/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เพิกถอนสิทธิประโยชน์ส่งเสริมการลงทุน ทำให้ต้องเสียภาษีอากรย้อนหลัง แม้จะสุจริต
จำเลยนำของเข้ามาในราชอาณาจักร โดยได้รับยกเว้นการเสียภาษีอากรจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ต่อมาจำเลยถูกเพิกถอนสิทธิและประโยชน์ที่ได้รับยกเว้นทั้งหมด ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 มาตรา 55 ให้ถือว่าผู้ได้รับการส่งเสริมนั้นไม่เคยได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีอากรมาแต่ต้น ฉะนั้นจำเลยจะต้องชำระภาษีอากรโดยไม่คำนึงว่า เมื่อจำเลยนำของเข้ามานั้นได้กระทำโดยสุจริตหรือไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 715/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน ทำให้ต้องเสียภาษีอากรย้อนหลัง แม้จะสุจริต
จำเลยนำของเข้ามาในราชอาณาจักร โดยได้รับยกเว้นการเสียภาษีอากรจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ต่อมาจำเลยถูกเพิกถอนสิทธิและประโยชน์ที่ได้รับยกเว้นทั้งหมด ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 มาตรา 55 ให้ถือว่าผู้ได้รับการส่งเสริมนั้นไม่เคยได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีอากรมาแต่ต้น ฉะนั้นจำเลยจะต้องชำระภาษีอากรโดยไม่คำนึงว่า เมื่อจำเลยนำของเข้ามานั้นได้กระทำโดยสุจริตหรือไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 123/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กฎหมายยาเสพติดใหม่มีผลย้อนหลังเป็นคุณแก่จำเลย โทษจำคุกเบากว่าเดิม
ขณะคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2528 มาตรา 3 ยกเลิก พ.ร.บ. ฝิ่นพุทธศักราช 2472 โดยบัญญัติให้ฝิ่นหรือมูลฝิ่นเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 2 ตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 และมาตรา 17บัญญัติห้ามมิให้มียาเสพติดให้โทษประเภท 2 ไว้ในครอบครอง หากฝ่าฝืนมีโทษตามมาตรา 69 ซึ่งมีโทษเบากว่าโทษฐานมีมูลฝิ่นไว้ในครอบครองตาม พ.ร.บ. ฝิ่น พุทธศักราช 2472 อันเป็นกรณีที่กฎหมายซึ่งใช้ในขณะกระทำผิด แตก ต่างกับกฎหมายซึ่งใช้ในภายหลังการกระทำผิดเป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้ พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522มาตรา 69 ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 3.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3841/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้กฎหมายอาญาต้องเป็นไปตามกฎหมายที่ใช้บังคับขณะกระทำผิด แม้กฎหมายใหม่มีผลใช้บังคับแล้ว แต่ไม่สามารถใช้บังคับย้อนหลังได้
การที่จะลงโทษบุคคลใดในทางอาญาได้ ก็ต่อเมื่อบุคคลนั้นได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้
จำเลยมีอาวุธปืนเอ็ม16และกระสุนปืนเอ็ม 16 ซึ่งเป็นอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 11(พ.ศ.2522) ไว้ในครอบครองและจำหน่าย ในขณะที่พระราชบัญญัติอาวุธปืน ฯ (ฉบับที่ 7)พ.ศ.2522 ใช้บังคับแล้ว แต่กฎกระทรวง ฉบับที่ 11(พ.ศ.2522) ซึ่งกำหนดประเภท ชนิดและขนาดของอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ได้ยังไม่ได้ประกาศใช้บังคับแม้ต่อมาภายหลังที่จำเลยกระทำผิดกฎกระทรวงฉบับที่ 11(พ.ศ.2522) จะประกาศใช้บังคับก็จะนำกฎกระทรวงฉบับนี้มาใช้บังคับย้อนหลังเป็นผลร้ายแก่จำเลยหาได้ไม่การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ พ.ศ.2490 มาตรา 55,78 ที่ได้แก้ไขแล้ว(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 12/2524)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2831/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้กฎหมายแรงงานย้อนหลังไม่ได้ แม้มีการร้องเรียนหลังกฎหมายมีผลบังคับใช้
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2522 เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์ถูกปลดออกจากงานเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2521 อันเป็นเวลาก่อนที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ ใช้บังคับ โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะนำพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯมาตรา 49 มาใช้บังคับแก่กรณีการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมของโจทก์ได้ แม้โจทก์จะกล่าวอ้างว่าการเลิกจ้างโจทก์ควรจะต้องนับตั้งแต่วันที่ 5 ธันวาคม 2522 อันเป็นวันที่ประธานกรรมการบริษัทไอ บี เอ็ม ในสหรัฐอเมริกาแจ้งผลการพิจารณาขอความเป็นธรรมให้โจทก์ทราบก็ตาม แต่เมื่อโจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่าโจทก์ได้อาศัยระเบียบข้อบังคับในการทำงานข้อใดที่ให้สิทธิแก่โจทก์ทำการร้องเรียนขอความเป็นธรรมตามธรรมดาอันจะทำให้เห็นว่า คำสั่งปลดโจทก์ออกจากงานของจำเลยยังไม่มีผลในวันที่ 7 ธันวาคม 2521 ซึ่งเป็นข้อสำคัญที่โจทก์จะต้องบรรยายในคำฟ้อง เมื่อโจทก์มิได้กล่าวไว้ก็ไม่มีเหตุที่จะแสดงให้เห็นว่าโจทก์มีสิทธิที่จะขอให้ศาลแรงงานกลางนำมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ ซึ่งเป็นกฎหมายที่ประกาศใช้ภายหลังคำสั่งปลดออกจากงานมาปรับกับกรณีของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2831/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้กฎหมายแรงงานย้อนหลังไม่ได้ แม้มีการร้องเรียนหลังกฎหมายมีผลบังคับใช้
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522มีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2522เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์ถูกปลดออกจากงานเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2521 อันเป็นเวลาก่อนที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ ใช้บังคับ โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะนำพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 49 มาใช้บังคับแก่กรณีการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมของโจทก์ได้ แม้โจทก์จะกล่าวอ้างว่าการเลิกจ้างโจทก์ควรจะต้องนับตั้งแต่วันที่ 5 ธันวาคม 2522 อันเป็นวันที่ประธานกรรมการบริษัทไอบีเอ็ม ในสหรัฐอเมริกาแจ้งผลการพิจารณาขอความเป็นธรรมให้โจทก์ทราบก็ตาม แต่เมื่อโจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่าโจทก์ได้อาศัยระเบียบข้อบังคับในการทำงานข้อใดที่ให้สิทธิแก่โจทก์ทำการร้องเรียนขอความเป็นธรรมตามธรรมดาอันจะทำให้เห็นว่า คำสั่งปลดโจทก์ออกจากงานของจำเลยยังไม่มีผลในวันที่ 7 ธันวาคม 2521 ซึ่งเป็นข้อสำคัญที่โจทก์จะต้องบรรยายในคำฟ้อง เมื่อโจทก์มิได้กล่าวไว้ก็ไม่มีเหตุที่จะแสดงให้เห็นว่าโจทก์มีสิทธิที่จะขอให้ศาลแรงงานกลางนำมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ ซึ่งเป็นกฎหมายที่ประกาศใช้ภายหลังคำสั่งปลดออกจากงานมาปรับกับกรณีของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1788/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองวัตถุระเบิดชนิดสงครามหลังกฎหมายแก้ไข: การใช้กฎหมายย้อนหลังต้องห้าม
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดโดยมีวัตถุระเบิดสำหรับใช้เฉพาะแต่ในการสงครามไว้ในความครอบครองเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2522อันเป็นเวลาหลังจากที่ พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิงและสิ่งเทียมอาวุธปืนมาตรา 55 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2522 มาตรา 6 ใช้บังคับแล้ว ซึ่งใน มาตรา 55 ที่แก้ไขแล้ว มิได้บัญญัติถึงวัตถุระเบิดสำหรับแต่เฉพาะในการสงครามว่าเป็นความผิดคงบัญญัติถึงประเภท ชนิด และขนาดของวัตถุระเบิดที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ได้หรือไม่เท่านั้นแม้ในวันที่จำเลยกระทำผิดจะมีกฎกระทรวงฉบับที่ 7 (พ.ศ.2501) ออกตามความในพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิงและสิ่งเทียมอาวุธปืนพ.ศ.2490 ใช้บังคับอยู่แต่กฎกระทรวงดังกล่าวก็มิได้กำหนดว่าวัตถุระเบิดชนิดใดบ้างที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ได้จึงถือไม่ได้ว่าวัตถุระเบิดที่จำเลยมีในวันเกิดเหตุเป็นวัตถุระเบิดที่นายทะเบียนไม่อาจอนุญาตได้แม้ต่อมาจะมีกฎกระทรวง ฉบับที่ 11(พ.ศ.2522) ออกตามความใน พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิงและสิ่งเทียมอาวุธปืนพ.ศ.2490 ใช้บังคับอันจะถือได้ว่าวัตถุระเบิดที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเป็นวัตถุระเบิดที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ก็ตามแต่กฎกระทรวงดังกล่าวประกาศใช้ภายหลังโจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดจึงนำมาใช้บังคับย้อนหลังให้เป็นผลร้ายแก่จำเลยไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 756/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแสดงใบอนุญาตย้อนหลังเพื่อแก้ต่างความผิด การมีน้ำมันเกินกว่าที่ได้รับอนุญาต ไม่เป็นเหตุให้ไม่ต้องรับผิด
ตำรวจค้นพบน้ำมันเบนซิน 1,500 ลิตร ในบ้านจำเลย จำเลยนำใบอนุญาตให้เก็บรักษาน้ำมันเบนซิน 300 ลิตร มาแสดง ตำรวจจับจำเลยมาดำเนินคดี ชั้นสอบสวนจำเลยกลับนำใบอนุญาตเก็บรักษาน้ำมันเบนซินได้ไม่เกิน 2,000 ลิตร มาแสดงอีกฉบับหนึ่ง แต่เป็นใบอนุญาตที่เจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาตออกให้จำเลยหลังวันจับกุมจำเลยแล้วลงวันที่ย้อนหลังไปจนถึงวันก่อนจำเลยถูกจับกุมดังนี้ เป็นการจดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ หาใช่การปลอมเอกสารไม่ จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารปลอม
แม้ศาลจะฟังว่าเจ้าพนักงานออกใบอนุญาตเก็บรักษาน้ำมันเบนซินได้ไม่เกิน 2,000 ลิตร ให้จำเลย แต่เมื่อความผิดฐานมีน้ำมันเบนซินไว้เกินกว่าที่ได้รับอนุญาตนี้ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 ศาลฎีกาจึงต้องฟังข้อเท็จจริงตามศาลอุทธรณ์ว่าใบอนุญาตที่ทางการออกให้จำเลยเก็บรักษาน้ำมันเบนซินได้ไม่เกิน 2,000 ลิตร นั้นเพิ่งออกให้ภายหลังจากที่เจ้าพนักงานตรวจพบการกระทำความผิดแล้วใบอนุญาตดังกล่าวจึงหาคุ้มจำเลยให้ไม่ต้องรับผิดทางอาญาในการกระทำความผิดของจำเลยที่เกิดขึ้นก่อนออกใบอนุญาตไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 550/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานประเมินในการกำหนดรายรับย้อนหลังเพื่อประเมินภาษีการค้าตาม ปร. 87 ทวิ (7) และ 88 ทวิ (1)
โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการการค้าไว้ไม่ถูกต้อง เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยจึงไปควบคุมรายรับของโจทก์เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการกำหนดรายรับให้ถูกต้อง ตามความเป็นจริง ซึ่งเป็นการกระทำโดยอาศัยอำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 87 ทวิ (7) และการกำหนดรายรับของผู้ประกอบการค้าด้วยวิธีดังกล่าว กฎหมายมิได้จำกัดว่าให้ทำได้เฉพาะรายรับของปีปัจจุบันเท่านั้น หากเจ้าพนักงานประเมินเห็นว่าปีใดผู้ประกอบการค้ายื่นแบบแสดงรายการการค้าไว้ไม่ถูกต้อง หรือมีข้อผิดพลาดทำให้จำนวนภาษีที่ต้องเสียคลาดเคลื่อนไป เจ้าพนักงานประเมินก็ย่อมมีอำนาจกำหนดรายรับของผู้ประกอบการค้าสำหรับในปีนั้นได้เพื่อจะนำมาประเมินภาษีตามมาตรา 87 และการประเมินดังกล่าวมาตรา 88 ทวิ (1) บัญญัติให้กระทำได้ภายในกำหนดเวลา 5 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้า หรือวันที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้าแล้วแต่วันใดจะเป็นวันหลัง ถ้ามีการยื่นแบบแสดงรายการการค้า ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินกำหนดรายรับของโจทก์ด้วยวิธีควบคุมรายรับดังกล่าวแล้วประเมินภาษีย้อนหลังไปภายใน 5 ปี (นับแต่ปีที่ควบคุมรายรับ) จึงชอบด้วยกฎหมาย
of 5