พบผลลัพธ์ทั้งหมด 101 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1007/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รถจักรยานยนต์หลังศาลริบ: ผู้ขายยังโอนกรรมสิทธิ์ให้ผู้ซื้อได้ก่อนคำพิพากษาถึงที่สุด
ผู้ร้องทำสัญญาซื้อรถจักรยานยนต์ของกลางจากผู้ขายตามสัญญาซื้อขายรถแบบเงินผ่อน โดยในสัญญาได้กำหนดให้ผู้ร้องชำระราคารถจักรยานยนต์ของกลางบางส่วนในวันทำสัญญา ส่วนที่เหลือผ่อนชำระรวม 24 งวด เมื่อชำระราคารถจักรยานยนต์ครบแล้วผู้ขายจึงจะโอนกรรมสิทธิ์ให้ สัญญาซื้อขายรถจักรยานยนต์ของกลางจึงเป็นสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข เมื่อปรากฏว่าก่อนที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้ริบรถจักรยานยนต์ของกลางนั้น ผู้ร้องยังมิได้ชำระเงินงวดสุดท้ายให้แก่ผู้ขาย กรรมสิทธิ์ในรถจักรยานยนต์ของกลางจึงยังอยู่ที่ผู้ขายแม้ว่าต่อมาศาลชั้นต้นจะมีคำพิพากษาให้ริบรถจักรยานยนต์ของกลางก็ตาม แต่รถจักรยานยนต์ของกลางที่ศาลมีคำพิพากษาให้ริบนั้นจะตกเป็นของแผ่นดินก็ต่อเมื่อคำพิพากษาทีให้ริบของกลางดังกล่าวเป็นที่สุด แต่ระหว่างที่คำพิพากษาที่ให้ริบของกลางดังกล่าวยังไม่เป็นที่สุดเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ของกลางยังคงมีอำนาจที่จะจำหน่าย จ่าย โอน ทรัพย์ของตนได้ เมื่อปรากฏว่าศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาให้ริบรถจักรยานยนต์ของกลางดังกล่าว โดยไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ฎีกา คำพิพากษาศาลชั้นต้นดังกล่าวนั้นจะเป็นที่สุดก็ต่อเมื่อระยะเวลาในการอุทธรณ์ฎีกาได้สิ้นสุดลงดังที่ได้บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 147 วรรคสอง ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 15 ดังนั้น ก่อนหน้าที่คำพิพากษาศาลชั้นต้นดังกล่าวจะเป็นที่สุด ผู้ขายซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในรถจักรยานยนต์ของกลางยังสามารถที่จะโอนกรรมสิทธิ์ในรถจักรยานยนต์ของกลางให้แก่ผู้ร้องได้ เมื่อผู้ร้องได้ชำระราคางวดสุดท้ายก่อนวันที่คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้ริบรถจักรยานยนต์ของกลางจะเป็นที่สุด ผู้ขายจึงสามารถโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ร้อง และถือได้ว่าผู้ร้องเป็นเจ้าของรถจักรยานยนต์ของกลางที่แท้จริงอันมีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอคืนของกลางได้ เมื่อผู้ร้องและผู้ขายซึ่งเป็นเจ้าของเดิมของรถจักรยานยนต์ของกลางขณะที่ถูกนำไปใช้กระทำความผิดมิได้มีส่วนรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิด จึงสมควรคืนรถจักรยานยนต์ของกลางให้แก่ผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1589/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ปกครองต่อการกระทำผิดของผู้เยาว์ กรณีอนุญาตให้ใช้รถโดยขาดการควบคุมดูแล
ผู้ร้องเป็นมารดาจำเลยผู้เยาว์ ผู้ร้องเก็บกุญแจรถจักรยานยนต์ของกลางไว้ที่บ้านโดยบุคคลในบ้านทุกคนสามารถนำกุญแจไปใช้ขับขี่รถจักรยานยนต์ของกลางได้ จำเลยสามารถหยิบกุญแจนำรถจักรยานยนต์ของกลางไปใช้ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวบุคคลใด ในวันเกิดเหตุจำเลยได้นำกุญแจรถจักรยานยนต์ของกลางไปใช้โดยไม่ได้บอกกล่าวผู้ร้อง และผู้ร้องไม่ทราบว่าจำเลยนำรถจักรยานยนต์ของกลางไปใช้ในการกระทำความผิดนั้น แสดงว่าผู้ร้องยินยอมอนุญาตให้จำเลยหยิบกุญแจรถจักรยานยนต์ของกลางดังกล่าวไปใช้ได้ตลอดเวลาตามที่จำเลยต้องการใช้ โดยไม่คำนึงถึงว่าผู้เยาว์ซึ่งอยู่ในอำนาจปกครองของตนจะนำรถไปใช้ในกิจการใด เมื่อจำเลยนำรถจักรยานยนต์ของกลางไปขับขี่แข่งขันกันในถนนโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานจราจร ย่อมถือว่าผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจในการกระทำผิดของจำเลยแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1589/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยินยอมให้ผู้เยาว์ใช้รถจักรยานยนต์โดยประมาท ผู้ปกครองมีส่วนร่วมความผิด
การที่ผู้ร้องเก็บกุญแจรถจักรยานยนต์ของกลางไว้ที่บ้านโดยบุคคลในบ้านทุกคนรวมทั้งจำเลยสามารถนำกุญแจไปใช้ขับขี่ รถจักรยานยนต์ของกลางได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวบุคคลใด แสดงว่า ผู้ร้องยินยอมอนุญาตให้จำเลยหยิบกุญแจรถจักรยานยนต์ดังกล่าว ไปใช้ได้ตลอดเวลาตามที่จำเลยต้องการ โดยไม่คำนึงถึงว่า จำเลยซึ่งเป็นผู้เยาว์และอยู่ในอำนาจปกครองของตนจะนำรถ ไปใช้ในกิจการใด เมื่อจำเลยนำรถจักรยานยนต์ของกลางไปขับขี่ แข่งขันกันในถนนโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานจราจรเช่นนี้ ย่อมถือว่าผู้ร้องเห็นเป็นใจในการกระทำผิดของจำเลยแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1589/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยินยอมให้ผู้เยาว์ใช้รถจักรยานยนต์โดยประมาทเลินเล่อถือเป็นความรู้เห็นเป็นใจในการกระทำผิด
ผู้ร้องเป็นมารดาจำเลยผู้เยาว์ ผู้ร้องเก็บกุญแจรถจักรยานยนต์ของกลางไว้ที่บ้านโดยบุคคลในบ้านทุกคนสามารถนำกุญแจไปใช้ขับขี่รถจักรยานยนต์ของกลางได้ จำเลยสามารถหยิบกุญแจนำรถจักรยานยนต์ของกลางไปใช้ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวบุคคลใด ในวันเกิดเหตุจำเลยได้นำกุญแจรถจักรยานยนต์ของกลางไปใช้โดยไม่ได้บอกกล่าวผู้ร้องและผู้ร้องไม่ทราบว่าจำเลยนำรถจักรยานยนต์ของกลางไปใช้ในการกระทำความผิดนั้น แสดงว่าผู้ร้องยินยอมอนุญาตให้จำเลยหยิบกุญแจรถจักรยานยนต์ของกลางดังกล่าวไปใช้ได้ตลอดเวลาตามที่จำเลยต้องการใช้ โดยไม่คำนึงถึงว่าผู้เยาว์ซึ่งอยู่ในอำนาจปกครองของตนจะนำรถไปใช้ในกิจการใดเมื่อจำเลยนำรถจักรยานยนต์ของกลางไปขับขี่แข่งขันกันในถนนโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานจราจร ย่อมถือว่าผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจในการกระทำผิดของจำเลยแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3629/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ชิงทรัพย์โดยใช้กำลังประทุษร้าย การริบรถจักรยานยนต์
จำเลยกระชากสร้อยคอทองคำหนัก 15 บาท ของผู้เสียหายผู้เสียหายจับเหรียญรัชกาลที่ 5 ที่ห้อยอยู่ที่สร้อยคอทองคำไว้ และใช้มืออีกข้างหนึ่งตีจำเลย จำเลยลากผู้เสียหายไป 3 ถึง 4 ก้าว จนผู้เสียหายล้มลง จำเลยใช้มือกดหน้าอกผู้เสียหายพร้อมกับกระชากสร้อยคอทองคำผู้เสียหาย แล้วจำเลยวิ่งไปขึ้นรถจักรยานยนต์ขับหลบหนีไป แม้ไม่ปรากฏว่าขณะจำเลยกระชากสร้อยคอทองคำผู้เสียหาย และผู้เสียหายจับเหรียญรัชกาลที่ 5 ที่ห้อยอยู่ที่สร้อยคอทองคำนั้น จำเลยได้พูดขู่เข็ญว่า ทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้ายผู้เสียหายก็ตาม แต่การที่จำเลยลากผู้เสียหายโดยเร็วและแรงมาก โดยจำเลยมีเจตนาเพื่อให้ผู้เสียหายเกิดความกลัวและทำให้ผู้เสียหายอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ กรณีถือได้ว่าจำเลยใช้กำลังประทุษร้ายผู้เสียหายตาม ป.อ.มาตรา 1 (6) เพื่อให้ความสะดวกแก่การกระชากสร้อยคอทองคำของผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ตามมาตรา 339 วรรคหนึ่ง
หลังจากจำเลยกระชากสร้อยคอทองคำของผู้เสียหายแล้ว จำเลยวิ่งไปขึ้นรถจักรยานยนต์ที่จอดอยู่ห่างจากที่เกิดเหตุถึง 100 เมตร แล้วขับหลบหนีไปการนำรถจักรยานยนต์ไปจอดห่างมากเช่นนั้นเป็นพฤติการณ์ที่บ่งชี้ว่าจำเลยมีเจตนาเพียงใช้รถจักรยานยนต์ของกลางไปและกลับจากการกระทำความผิด และเพื่อหลบหนีให้พ้นจากการจับกุมโดยสะดวกรวดเร็วเท่านั้น รถจักรยานยนต์ของกลางจึงไม่ใช่ทรัพย์ที่จะพึงริบตาม ป.อ.มาตรา 33 (1)
หลังจากจำเลยกระชากสร้อยคอทองคำของผู้เสียหายแล้ว จำเลยวิ่งไปขึ้นรถจักรยานยนต์ที่จอดอยู่ห่างจากที่เกิดเหตุถึง 100 เมตร แล้วขับหลบหนีไปการนำรถจักรยานยนต์ไปจอดห่างมากเช่นนั้นเป็นพฤติการณ์ที่บ่งชี้ว่าจำเลยมีเจตนาเพียงใช้รถจักรยานยนต์ของกลางไปและกลับจากการกระทำความผิด และเพื่อหลบหนีให้พ้นจากการจับกุมโดยสะดวกรวดเร็วเท่านั้น รถจักรยานยนต์ของกลางจึงไม่ใช่ทรัพย์ที่จะพึงริบตาม ป.อ.มาตรา 33 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3629/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ชิงทรัพย์โดยใช้กำลังประทุษร้าย และการริบรถจักรยานยนต์ที่ใช้หลบหนี
จำเลยกระชากสร้อยคอทองคำหนัก 15 บาท ของผู้เสียหาย ผู้เสียหายจับเหรียญรัชกาลที่ 5 ที่ห้อยอยู่ที่สร้อยคอทองคำไว้ และใช้มืออีกข้างหนึ่งตีจำเลย จำเลยลาก ผู้เสียหายไป 3 ถึง 4 ก้าว จนผู้เสียหายล้มลง จำเลยใช้มือ กดหน้าอกผู้เสียหายพร้อมกับกระชากสร้อยคอทองคำผู้เสียหาย แล้วจำเลยวิ่งไปขึ้นรถจักรยานยนต์ขับหลบหนีไป แม้ไม่ปรากฏ ว่าขณะจำเลยกระชากสร้อยคอทองคำผู้เสียหาย และผู้เสียหาย จับเหรียญรัชกาลที่ 5 ที่ห้อยอยู่ที่สร้อยคอทองคำนั้น จำเลยได้พูดขู่เข็ญว่า ทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้ายผู้เสียหายก็ตาม แต่การที่จำเลยลากผู้เสียหายโดยเร็วและแรงมาก โดยจำเลยมีเจตนาเพื่อให้ผู้เสียหายเกิดความกลัว และทำให้ผู้เสียหายอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ กรณี ถือได้ว่าจำเลยใช้กำลังประทุษร้ายผู้เสียหายตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1(6) เพื่อให้ความสะดวกแก่การกระชาก สร้อยคอทองคำของผู้เสียหาย การกระทำ ของจำเลยเป็นความผิด ฐานชิงทรัพย์ตาม มาตรา 339 วรรคหนึ่ง หลังจากจำเลยกระชากสร้อยคอทองคำของผู้เสียหายแล้วจำเลยวิ่งไปขึ้นรถจักรยานยนต์ที่จอดอยู่ห่างจากที่เกิดเหตุถึง 100 เมตร แล้วขับหลบหนีไปการนำรถจักรยานยนต์ไปจอดห่างมาก เช่นนั้นเป็นพฤติการณ์ที่บ่งชี้ว่าจำเลยมีเจตนาเพียงใช้ รถจักรยานยนต์ของกลางไปและกลับจากการกระทำความผิด และเพื่อหลบหนีให้พ้นจากการจับกุมโดยสะดวกรวดเร็วเท่านั้น รถจักรยานยนต์ของกลางจึงไม่ใช่ทรัพย์ที่จะพึงริบตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1825/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รถเช่าซื้อและการไม่รู้เห็นเป็นใจในความผิด ผู้ให้เช่าซื้อไม่ต้องรับผลกระทบ
ผู้ร้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถจักรยานยนต์ของกลางและให้จำเลยเช่าซื้อไปเมื่อวันที่22พฤศจิกายน2537ต่อมาวันที่19มีนาคม2538จำเลยถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมและถูกพนักงานอัยการส่งฟ้องต่อศาลในวันรุ่งขึ้นคือวันที่20มีนาคมและศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ริบรถจักรยานยนต์ของกลางในวันเดียวกันนั้นต่อมาวันที่21มีนาคมจำเลยไปติดต่อกับผู้ร้องเพื่อขอหนังสือมอบอำนาจจากผู้ร้องไปขอรับรถจักรยานยนต์ของกลางคืนผู้ร้องจึงได้ทราบเรื่องและได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อกับจำเลยในวันนั้นตามพฤติการณ์แห่งคดีจึงน่าเชื่อว่าผู้ร้องมิได้รู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดของจำเลยต้องคืนรถจักรยานยนต์ของกล่าวให้ผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1571/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การช่วยเหลือคนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง: รถจักรยานยนต์ไม่ใช่ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำผิดโดยตรง
การที่จำเลยช่วยเหลือคนต่างด้าวให้เข้ามาในราชอาณาจักรโดยใช้รถจักรยานยนต์รับคนต่างด้าวดังกล่าวพาไปเพื่อให้พ้นจากการจับกุมนั้นการช่วยเหลือดังกล่าวมิจำเป็นต้องใช้พาหนะรถจักรยานยนต์ในการช่วยเหลือรถจักรยานยนต์ของกลางถือไม่ได้ว่าเป็นทรัพย์สินที่จำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิดโดยตรงจึงเป็นทรัพย์สินที่ไม่ควรริบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9761/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้รถจักรยานยนต์หลังชิงทรัพย์เข้าข่ายความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ตรี แม้ทรัพย์สินมีขนาดเล็ก
จำเลยใช้มีดปลายแหลมจี้เอาสร้อยคอทองคำและเงินสดของผู้เสียหายทั้งสามแล้ววิ่งไปขึ้นรถจักรยานยนต์ที่จอดเตรียมอยู่ขับหลบหนี แม้ทรัพย์ที่จำเลยชิงไปจะเป็นของเล็กสามารถพาไปได้โดยไม่ต้องใช้รถจักรยานยนต์ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยใช้รถจักรยานยนต์พาทรัพย์ที่ชิงได้ไป แสดงว่าจำเลยมีเจตนาจะใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะพาทรัพย์ที่ชิงได้นั้นไป จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ตรี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 500/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รถจักรยานยนต์รับจ้างและการแข่งขันทางการค้า: ไม่ผิดกฎหมายขนส่งทางบก
พ.ร.บ.การขนส่งทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 5 บัญญัติว่า พ.ร.บ.นี้มิให้ใช้บังคับแก่รถจักรยานยนต์ ดังนี้ การใช้รถจักรยานยนต์เดินรับจ้างขนส่งผู้โดยสารจึงไม่จำต้องขออนุญาตจากนายทะเบียน การที่โจทก์ได้รับสัมปทานประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก ไม่มีบทกฎหมายห้ามมิให้ผู้อื่นประกอบการขนส่งอันมีลักษณะเป็นการแย่งผลประโยชน์ของโจทก์ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์