พบผลลัพธ์ทั้งหมด 36 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2624/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขับขี่รถชนที่ไม่หยุดช่วยเหลือและแจ้งเหตุ รวมถึงประเด็นการประมาท
เมื่อเกิดเหตุแล้วจำเลยซึ่งขับรถยนต์เฉี่ยวชนกับรถยนต์อื่นมิได้อยู่ในที่เกิดเหตุ และมิได้ไปแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในคืนเกิดเหตุ แม้จะอ้างว่าได้มอบให้ พ. เป็นคนคอยแจ้งเหตุต่อเจ้าพนักงานตำรวจ และในวันรุ่งขึ้นได้มาพบเจ้าพนักงานตำรวจแล้วก็ตามก็เป็นการไม่ปฏิบัติตามที่กฎหมายบังคับไว้จำเลยจึงมีความผิดตาม พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 78 วรรคแรก160 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 402/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากรถชน, การระบุชื่อจำเลยผิดพลาดไม่ทำให้ฟ้องเสีย, และการพิสูจน์การครอบครองทรัพย์สิน
ฟ้องโจทก์ระบุชื่อจำเลยที่ 2 ผิดไป แต่รายละเอียดที่บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นเจ้าของผู้ครอบครองรถยนต์บรรทุกที่ทำละเมิดและข้อเท็จจริงในทางนำสืบก็รับฟังได้เช่นนั้น เมื่อบรรยายฟ้องไว้ถูกต้องแต่ระบุชื่อผิดไปจึงไม่ทำให้ฟ้องโจทก์เสียไปหรือเป็นการฟ้องผิดคน แม้พยานจำเลยที่ 1 คือจำเลยที่ 2 จะเบิกความยอมรับว่าเป็นเจ้าของรถยนต์บรรทุกที่ทำละเมิดแต่ผู้เดียวก็ตามแต่ก็ต้องพิจารณาพยานอื่นประกอบด้วย เมื่อได้ความว่าจำเลยที่ 1 ก็เป็นเจ้าของรถยนต์บรรทุกคันดังกล่าวเช่นเดียวกัน จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ด้วย โจทก์บรรยายฟ้องว่ารถของโจทก์บรรทุกน้ำปลาเพื่อไปส่งลูกค้าเมื่อรถโจทก์ถูกชน รถโจทก์เสียหายหลายประการรวมทั้งน้ำปลาขวดน้ำปลาและลังบรรจุน้ำปลาแตกหักเสียหาย ถือว่าพอเข้าใจแล้วว่าน้ำปลาและลังซึ่งอยู่ในครอบครองของโจทก์เสียหายเนื่องจากการกระทำละเมิดของลูกจ้างจำเลย ฟ้องโจทก์ส่วนนี้จึงไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 239/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้อง: ศาลอนุญาตแก้ไขทิศทางรถชนได้หากไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบและไม่ขัดกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องเกี่ยวกับทิศทางสิ่งของรถยนต์ที่เกิดเหตุจากข้อความที่ว่า "รถยนต์คันหมายเลขทะเบียน 80-4314 เชียงใหม่ขับจากจังหวัดตากมุ่งหน้ามาจังหวัดกำแพงเพชร" เป็น "รถยนต์คันหมายเลขทะเบียน 80-4314 เชียงใหม่ ขับจากจังหวัดกำแพงเพชรมุ่งหน้ามาจังหวัดตาก" เป็นการแก้ไขข้อเท็จจริงให้เป็นตามความเป็นจริงไม่ก่อให้เกิดผลตามกฎหมายที่แตกต่างกัน เพราะจำเลยที่ 3 ก็ให้การรับอยู่แล้ว การแก้ไขดังกล่าวเป็นเรื่องการแก้ไขข้อผิดพลาดบกพร่องในคำฟ้องเพียงเล็กน้อยไม่ทำให้จำเลยที่ 3 เสียเปรียบในการต่อสู้คดีไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 180 ศาลสั่งอนุญาตจึงชอบด้วยกฎหมาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 538/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีรถชน: กรรมสิทธิ์รถยังเป็นของผู้ซื้อแม้โอนทะเบียน และหนังสือมอบอำนาจใช้ได้แม้ผู้รับมอบอำนาจไม่ลงชื่อ
โจทก์ได้กล่าวในฟ้องแล้วว่า รถยนต์ของโจทก์ที่ถูกชนส่วนไหนของรถที่ได้รับความเสียหายบ้าง เสียค่าซ่อมแซมเป็นเงินเท่าใดโจทก์หาต้องกล่าวมาในคำฟ้องว่า ชิ้นส่วนของรถที่ได้รับความเสียหายนั้น รายการใดเป็นการเปลี่ยนอุปกรณ์ รายการใดเป็นการซ่อมของเดิมในแต่ละรายการเป็นเงินเท่าใดไม่ รายละเอียดดังกล่าวเป็นเรื่องที่คู่ความนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม แม้หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดี โจทก์ที่ 2 ผู้มอบอำนาจจะลงชื่อฝ่ายเดียว โจทก์ที่ 1 มิได้ลงชื่อในฐานะผู้รับมอบอำนาจด้วยก็ใช้ได้เพราะไม่มีกฎหมายบังคับให้ผู้รับมอบอำนาจต้องลงชื่อด้วย โจทก์ที่ 1 ซื้อรถยนต์มาก่อนเกิดเหตุ โจทก์ที่ 1 จึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ แม้โจทก์ที่ 1 จะโอนใส่ชื่อโจทก์ที่ 2ในทะเบียนเป็นเจ้าของรถยนต์คันดังกล่าวก็เพื่อความจำเป็นในทางธุรกิจเท่านั้น กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ยังเป็นของโจทก์ที่ 1 อยู่ เพราะทะเบียนรถยนต์มิใช่ทะเบียนกรรมสิทธิ์ โจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5266/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหุ้นส่วนสามัญ, ผู้รับประกันภัย และการชดใช้ค่าเสียหายกรณีรถชน โดยประเด็นสำคัญคือการเสื่อมราคาของรถ
จำเลยที่ 2 นำรถยนต์โดยสารคันเกิดเหตุไปร่วมกิจการเดินรถกับห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ช. จำเลยที่ 2 จึงเป็นหุ้นส่วนของห้างดังกล่าวในลักษณะหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน ซึ่งต้องร่วมรับผิดในหนี้สินของห้างฯ โดยไม่จำกัดจำนวนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1025เมื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของห้างฯ ได้กระทำละเมิดในทางการที่จ้างของห้างฯ ห้างฯ และจำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมกันรับผิดในผลแห่งการละเมิดของจำเลยที่ 1 ส่วนจำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยต้องรับผิดแทนห้างฯ และจำเลยที่ 2 ผู้เอาประกันภัยตามสัญญาประกันภัยจำเลยทั้งสามจึงต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ ศาลอุทธรณ์ให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสื่อมราคารถแก่โจทก์ จำเลยที่ 2 และที่ 3 ฎีกา เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่ารถยนต์โจทก์เสื่อมราคาจากการเกิดเหตุ กรณีเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ศาลฎีกาจึงชี้ขาดให้มีผลถึงจำเลยที่ 1ซึ่งไม่ได้ฎีกาด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5263-5264/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทในการขับขี่และการรักษาความปลอดภัยบนท้องถนน กรณีรถชนท้ายรถเสีย
พนักงานสอบสวนพบรอยห้ามล้อท้าย รถยนต์ ของ โจทก์ที่ 2 ยาวประมาณ30 เมตร แสดงว่าก่อนเกิดเหตุโจทก์ที่ 2 ขับรถมาด้วยความเร็วสูงเพราะแม้ห้ามล้อห่างถึง 30 เมตรก็ยังไม่สามารถหยุดรถได้โดยปลอดภัยการที่โจทก์ที่ 2 ห้ามล้อรถของตนถึง 30 เมตรยังแสดงว่าเห็นรถยนต์บรรทุกของจำเลยที่ 1 ห่างกว่า 30 เมตร พนักงานสอบสวนเบิกความด้วยว่าตามสภาพที่เห็นมีทางเป็นไปได้ว่ามีกองไฟก่อด้วยกิ่งไม้อยู่ทางด้านหลังรถยนต์ บรรทุก โจทก์ที่ 2 ยอมรับว่าก่อนเกิดเหตุมีรถยนต์บรรทุกและรถยนต์เล็กเปิดไฟสูงแล่นสวนทางมา พอไฟจางจึงเห็นรถจำเลยที่ 1 จอดอยู่ข้างหน้า การที่โจทก์ที่ 2 ไม่อาจแลเห็นทางด้านหน้าได้พอแก่ความปลอดภัย โจทก์ที่ 2 ควรลดความเร็วลงแต่โจทก์ที่ 2 กลับขับรถด้วยความเร็วสูงเป็นเหตุให้รถยนต์ของโจทก์ที่ 2ชนท้าย รถยนต์ บรรทุกของจำเลยที่ 1 ที่จอดอยู่โดยได้ทำสัญญาณรถเสียไว้แล้ว ฉะนั้นจึงเป็นการกระทำโดยประมาทปราศจากความระมัดระวังของโจทก์ที่ 2 ฝ่ายเดียว และมิใช่เหตุสุดวิสัยเพราะกรณีดังกล่าวสามารถที่จะป้องกันมิให้เกิดเหตุได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 893/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประมาทเลินเล่อของคู่กรณีทั้งสองฝ่ายในคดีรถชน ทำให้ความรับผิดในความเสียหายเป็นอันพับไป
ศาลสั่งรวมพิจารณาคดีแพ่งสองสำนวนเข้าด้วยกันและพิพากษายกฟ้องโจทก์ทั้งสองสำนวนเนื่องจากทั้งสองฝ่ายต่างประมาทไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ในสำนวนแรกยื่นฎีกาแม้ตามฎีกาของจำเลยทั้งสามจะระบุเลขคดีทั้งสองสำนวนก็ตามแต่ในช่องทุนทรัพย์ระบุทุนทรัพย์ตามสำนวนที่สองเท่านั้นคำขอท้ายฎีกาก็ขอให้จำเลยในสำนวนที่สองร่วมกันใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยทั้งสาม ค่าธรรมเนียมชั้นฎีกาก็เสียตามทุนทรัพย์ในสำนวนที่สอง ประกอบกับการที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยทั้งสามก็ถือทุนทรัพย์ตามสำนวนที่สอง จึงเห็นได้ว่าจำเลยทั้งสามประสงค์จะฎีกาเฉพาะสำนวนที่สอง ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2มิได้เป็นคู่ความในสำนวนที่สอง จึงไม่มีสิทธิฎีกา คงเป็นฎีกาเฉพาะของจำเลยที่ 3 ในฐานะที่เป็นโจทก์ในสำนวนที่สองเท่านั้น ผู้ขับรถยนต์เก๋งและรถยนต์บรรทุกต่างฝ่ายต่างประมาทไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน เป็นเหตุให้รถชนกัน ความรับผิดในความเสียหายของทั้งสองฝ่ายจึงเป็นอันพับ ไป.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2027/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แจ้งเท็จเกี่ยวกับเหตุการณ์รถชนถึงแก่ความตาย: มาตรา 172 เป็นบทเฉพาะ ใช้บังคับก่อนมาตรา 137
รถยนต์บรรทุกชนรถยนต์โดยสารตู้บนทางหลวง เป็นเหตุให้บุตรโจทก์และผู้อื่นในรถยนต์โดยสารตู้ถึงแก่ความตาย จำเลยซึ่งเป็นตำรวจทางหลวงได้ขับรถปฏิบัติหน้าที่มาถึงที่เกิดเหตุหลังจากเกิดเหตุแล้ว และมิได้เห็นเหตุการณ์ในขณะเกิดเหตุรถชนกัน การที่จำเลยให้การต่อพนักงานสอบสวนว่า จำเลยเห็นเหตุการณ์ขณะที่รถชนกัน โดยขณะเกิดเหตุจำเลยขับรถวิทยุตำรวจทางหลวงตามหลังรถบรรทุกมา และได้เห็นรถโดยสารตู้พุ่งชนรถบรรทุกในช่องทางเดินรถของรถบรรทุกจึงเป็นการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาแก่พนักงานสอบสวนซึ่งอาจทำให้โจทก์เสียหาย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 172
เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามมาตรา 172 ซึ่งเป็นบทบัญญัติเฉพาะแล้ว ย่อมไม่เป็นความผิดตามมาตรา137ซึ่งเป็นบทบัญญัติว่าด้วยการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานทั่วๆ ไปอีก
เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามมาตรา 172 ซึ่งเป็นบทบัญญัติเฉพาะแล้ว ย่อมไม่เป็นความผิดตามมาตรา137ซึ่งเป็นบทบัญญัติว่าด้วยการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานทั่วๆ ไปอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2027/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แจ้งเท็จต่อพนักงานสอบสวนเกี่ยวกับเหตุรถชน: มาตรา 172 เป็นบทบัญญัติเฉพาะเหนือกว่ามาตรา 137
รถยนต์บรรทุกชนรถยนต์โดยสารตู้บนทางหลวง เป็นเหตุให้บุตรโจทก์และผู้อื่นในรถยนต์โดยสารตู้ถึงแก่ความตาย จำเลยซึ่งเป็นตำรวจทางหลวงได้ขับรถปฏิบัติหน้าที่มาถึงที่เกิดเหตุหลังจากเกิดเหตุแล้ว และมิได้เห็นเหตุการณ์ในขณะเกิดเหตุรถชนกันการที่จำเลยให้การต่อพนักงานสอบสวนว่า จำเลยเห็นเหตุการณ์ขณะที่รถชนกัน โดยขณะเกิดเหตุจำเลยขับรถวิทยุตำรวจทางหลวงตามหลังรถบรรทุกมา และได้เห็นรถโดยสารตู้พุ่งชนรถบรรทุกในช่องทางเดินรถของรถบรรทุกจึงเป็นการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาแก่พนักงานสอบสวนซึ่งอาจทำให้โจทก์เสียหายการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 172
เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามมาตรา 172 ซึ่งเป็นบทบัญญัติเฉพาะแล้ว ย่อมไม่เป็นความผิดตามมาตรา137ซึ่งเป็นบทบัญญัติว่าด้วยการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานทั่วๆ ไปอีก
เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามมาตรา 172 ซึ่งเป็นบทบัญญัติเฉพาะแล้ว ย่อมไม่เป็นความผิดตามมาตรา137ซึ่งเป็นบทบัญญัติว่าด้วยการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานทั่วๆ ไปอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3451/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องผู้ยืมทรัพย์ในกรณีรถชน: ผู้ยืมไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายหากความเสียหายเกิดจากบุคคลภายนอก
ในการยืมใช้คงรูปนั้นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา643 ได้บัญญัติให้ผู้ยืมต้องรับผิดต่อผู้ให้ยืมเฉพาะแต่กรณีผู้ยืมเอาทรัพย์ที่ยืมไปใช้การอย่างอื่นนอกจากการอันเป็นปกติแก่ทรัพย์สินนั้น หรือนอกจากการอันปรากฏในสัญญา หรือเอาไปให้บุคคลภายนอกใช้สอยหรือเอาไปไว้นานกว่าที่ควรจะเอาไว้ โจทก์เป็นแต่เพียงผู้ยืมรถคันที่ถูกชนไม่ได้เป็นเจ้าของไม่ปรากฏเหตุดังกล่าวที่โจทก์จะต้องรับผิดต่อผู้ให้ยืม. และการที่รถที่โจทก์ขับได้รับความเสียหายก็มิใช่เป็นความผิดของโจทก์ฉะนั้นโจทก์ในฐานะผู้ยืมจึงไม่ต้องรับผิดต่อเจ้าของรถและแม้ว่าโจทก์จะได้ซ่อมรถคันดังกล่าวไปแล้ว โจทก์ก็ไม่อยู่ในฐานะที่จะรับช่วงสิทธิของเจ้าของรถที่จะเรียกร้องให้จำเลยรับผิดได้ เพราะการรับช่วงสิทธิจะมีได้ต่อเมื่อผู้รับช่วงสิทธิมีหนี้อันจะต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้คือเจ้าของรถ เมื่อโจทก์ไม่ใช่ผู้รับช่วงสิทธิโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง