คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
รถราชการ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 14 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1410/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ควบคุมรถราชการ: การใช้ดุลยพินิจในการมอบหมายให้พลขับดูแลรถและการขาดหน้าที่ในการควบคุม
จำเลยได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ควบคุมรถยนต์เดินทางจากต่างจังหวัดมาราชการในจังหวัดพระนคร แต่ทางราชการยังไม่ได้วางระเบียบในเรื่องการควบคุมยานพาหนะที่มาราชการในจังหวัดพระนครไว้ การที่จำเลยให้พลขับนำรถไปเก็บไว้ที่บ้านพักนายทหารในกรมทหารนั้น นับว่าเป็นการใช้ดุลยพินิจที่เหมาะสม จะหาว่าเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อไม่ได้
เมื่อได้ความว่าพลขับรถมีอำนาจถือกุญแจรถ คนอื่นจะเอากุญแจไปไม่ได้การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้ควบคุมไม่เรียกเก็บลูกกุญแจรถไว้ จะถือว่าเป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลยไม่ได้
การที่จำเลยให้พลขับเอารถไปจอดเก็บไว้ในที่ปลอดภัย แล้วพลขับได้เอารถไปขับโดยพลการ จะถือว่าจำเลยประมาทเลินเล่อต่อหน้าที่ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1410/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ควบคุมรถราชการ กรณีไม่มีระเบียบชัดเจน และพลขับกระทำโดยพลการ
จำเลยได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ควบคุมรถยนต์เดินทางจากต่างจังหวัดมาราชการในจังหวัดพระนคร แต่ทางราชการยังไม่ได้วางระเบียบในเรื่องการควบคุมยานพาหนะที่มาราชการในจังหวัดพระนครไว้ การที่จำเลยให้พลขับนำรถไปเก็บไว้ที่บ้านพักนายทหารในกรมทหารนั้น นับว่าเป็นการใช้ดุลพินิจที่เหมาะสม จะหาว่าเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อไม่ได้
เมื่อได้ความว่าพลขับรถมีอำนาจถือกุญแจรถ คนอื่นจะเอากุญแจไปไม่ได้ การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้ควบคุมไม่เรียกเก็บลูกกุญแจรถไว้ จะถือว่าเป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลยไม่ได้
การที่จำเลยให้พลขับเอารถไปจอดเก็บไว้ในที่ปลอดภัยแล้วพลขับได้เอารถไปขับโดยพลการ จะถือว่าจำเลยประมาทเลินเล่อต่อหน้าที่ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15723/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดของเจ้าหน้าที่: จำเลยต้องรับผิดชอบเหตุละเมิดจากความประมาทเลินเล่อของเจ้าหน้าที่ในการควบคุมรถราชการ
ธ.ขับรถยนต์ตู้คันเกิดเหตุกลับมาที่สำนักงานเมื่อเวลาประมาณ 14 นาฬิกา หลังจาก ป.โทรศัพท์ตาม ธ. เพื่อให้นำกุญแจรถยนต์ตู้คันเกิดเหตุมาส่งคืนเมื่อเวลาประมาณ 15 นาฬิกาแล้ว ป. ก็ไม่ได้โทรศัพท์ติดต่อ ธ. อีกเลย และก่อนที่ ป. จะกลับบ้านเมื่อเวลาประมาณ 17 นาฬิกา ป. เห็นอยู่ว่า รถยนต์ตู้คันเกิดเหตุจอดเก็บในช่องจอดรถ ซึ่งแสดงว่า ธ. กลับมาที่สำนักงานแล้ว แต่ ป. ก็ไม่ได้โทรศัพท์สั่งให้ ธ. นำกุญแจรถยนต์ตู้คันเกิดเหตุมาส่งคืนตามระเบียบ จะถือว่า ป.ปฏิบัติงานตามหน้าที่อันสมควรแก่หน้าที่ความรับผิดชอบของตนแล้วหาได้ไม่ ส่วน ธ. ก็เข้าใจเอาเองว่า ป. กลับบ้านไปแล้ว แต่ก็ยังนั่งเล่นอยู่ที่บริเวณที่ทำการของจำเลยจนถึงเวลา 18 นาฬิกา โดยต่างฝ่ายต่างทอดธุระ ขาดความสำนึกไม่ใส่ใจที่จะปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ กระทำเสมือนหนึ่งว่าเป็นเรื่องปกติ แสดงให้เห็นถึงการปล่อยปละละเลย ย่อหย่อนไม่ควบคุมการใช้รถให้เป็นไปตามระเบียบของทางราชการ และเชื่อว่าจำเลยปล่อยปละละเลยให้เป็นเช่นนี้มาก่อนเกิดเหตุแล้ว ป.และ ธ. จึงไม่ใส่ใจที่จะปฏิบัติตามระเบียบ เข้าลักษณะที่จำเลยยินยอมให้ ธ. ใช้รถยนต์ตู้คันเกิดเหตุ อันเป็นหน้าที่ของพนักงานขับรถได้แม้เป็นเวลานอกราชการ เหตุละเมิดที่เกิดขึ้นในคดีนี้ จึงถือได้ว่าเป็นผลแห่งละเมิดที่เจ้าหน้าที่กระทรวงจำเลยได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งกระทรวงจำเลยต้องรับผิดตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มาตรา 5 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2527/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดของเจ้าหน้าที่: การควบคุมดูแลการใช้รถราชการ และความรับผิดชอบของหน่วยงาน
จำเลยที่ 1 ไม่เคยขออนุญาตใช้รถจาก ส. ซึ่งได้รับมอบหมายให้เป็นผู้อนุญาตใช้รถจาก ม. ก็ดี และ ม. ไม่ทราบตัวผู้รับผิดชอบเก็บรักษากุญแจรถคันเกิดเหตุรวมทั้งไม่ทราบเหตุรถชนที่เกิดขึ้น จนกระทั่งมีการร้องเรียนไปที่จำเลยที่ 2 ก็ดีเหล่านี้ย่อมเห็นได้ว่ามีการปล่อยปละละเลยย่อหย่อนไม่ควบคุมการใช้รถให้เป็นไปตามระเบียนของทางราชการ จำจำเลยที่ 1 เคยนำรถคันเกิดเหตุไปจอดค้างคืนที่บ้านของตนเอง รวมทั้งสามารถนำรถออกไปใช้ในกิจธุระส่วนตัวโดยพลการ ทั้งที่ขัดต่อระเบียบกฎเกณฑ์การใช้รถราชการดังกล่าว เข้าลักษณะที่จำเลยที่ 2 ยินยอมให้จำเลยที่ 1 ใช้รถคันเกิดเหตุอันเป็นหน้าที่ของพนักงานขับรถได้แม้เป็นเวลานอกราชการการที่จำเลยที่ 1 ขับรถไปเฉี่ยวชนจนทำให้โจทก์ได้รับบาดเจ็บโดยประมาท จึงถือได้ว่าเป็นผลแห่งละเมิดที่เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ฯ มาตรา 5 วรรคหนึ่ง
of 2