คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
รถหาย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 44 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2251/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพาทรถหาย: ข้อจำกัดการฎีกาในคดีทุนทรัพย์น้อยกว่าสองแสนบาท
ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยขับรถของโจทก์ไปราชการแล้วสูญหายไปทั้งจำเลยและรถ โดยโจทก์ไม่มีพยานยืนยันให้รับฟังได้ว่ารถของโจทก์สูญหายไปเพราะการจงใจหรือประมาทเลินเล่อของจำเลย โจทก์ฎีกาว่าจำเลยเอารถของโจทก์ไปใช้ส่วนตัวมิใช่เป็นการใช้ในราชการหรือได้รับอนุญาตให้เอาไปใช้โดยจำเลยไม่มีเหตุจะอ้างได้ เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2251/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดสิทธิฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อทุนทรัพย์ไม่เกินสองแสนบาท คดีรถหาย
ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยขับรถของโจทก์ไปราชการแล้วสูญหายไปทั้งจำเลยและรถ โดยโจทก์ไม่มีพยานยืนยันให้รับฟังได้ว่ารถของโจทก์สูญหายไปเพราะการจงใจหรือประมาทเลินเล่อของจำเลยโจทก์ฎีกาว่าจำเลยเอารถของโจทก์ไปใช้ส่วนตัวมิใช่เป็นการใช้ในราชการหรือได้รับอนุญาตให้เอาไปใช้โดยจำเลยไม่มีเหตุจะอ้างได้เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 521/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โรงแรมรับผิดชอบรถหาย แม้ผู้พักไม่ได้แจ้งล่วงหน้า เพราะถือเป็นการพาทรัพย์สินเข้าโรงแรม
รถยนต์ไม่ใช่ของมีค่าพิเศษตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 675 วรรคสอง แขกผู้มาพักจึงไม่ต้องแจ้งให้เจ้าสำนักโรงแรมทราบว่านำรถยนต์เข้าจอดในโรงแรมวันเวลาใด การที่แขกผู้มาพักนำรถยนต์มาจอดไว้ ณ ที่จอดรถของโรงแรม ถือได้ว่าเป็นการพาทรัพย์สินมาที่โรงแรมแล้ว เมื่อรถยนต์สูญหายไปเจ้าสำนักโรงแรมต้องรับผิดตามมาตรา 674

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 155/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข, รถหาย, ความรับผิดของผู้ซื้อและผู้ค้ำประกัน, ราคารถที่แท้จริง
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาซื้อรถยนต์กระบะจากโจทก์ 1 คัน สัญญาดังกล่าวข้อ 3 ระบุว่า "กรรมสิทธิ์ในรถยนต์จะตกไปอยู่แก่ผู้ซื้อชำระราคาตามเงื่อนไขครบถ้วน" และ ข้อ 6 ระบุว่า "ในกรณีที่ผู้ซื้อผิดนัดขาดการชำระเงินงวดใด จำนวนใดตามที่มีหน้าที่ต้องชำระโดยสัญญาฉบับนี้ และหรือสัญญาฉบับอื่นใดที่ผู้ซื้อได้ทำไว้แก่ผู้ขาย ก็ดี...ก็ย่อมมีสิทธิที่จะเรียกให้ผู้ซื้อชำระราคาที่เหลืออยู่ในขณะนั้นเสียโดยครบถ้วนโดยพลัน ก็ได้..." ซึ่งสาระสำคัญของข้อความแตกต่างกับข้อความในบทบัญญัติเรื่องเช่าซื้อ จึงมีลักษณะเป็นสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข ไม่ใช่สัญญาเช่าซื้อ เมื่อปรากฏว่ารถยนต์ที่ซื้อขายได้สูญหายไปเพราะถูกคนร้ายลัก แม้จะไม่ใช่ความผิดของจำเลยที่ 1จำเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิดตามสัญญาข้อ 5 โดยจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันต้องร่วมรับผิดด้วย ส. พยานโจทก์เบิกความตอบ คำถามค้านว่า รถยนต์คันพิพาทราคาเงินสดจำนวนเท่าใดจำไม่ได้และจำเลยที่ 1 เบิกความยืนยันว่าก่อนทำสัญญาซื้อขายโจทก์ตกลงว่า ถ้า ซื้อรถยนต์ด้วยราคาเงินสดจะเป็นจำนวน 163,000 บาท และเมื่อสัญญาซื้อขายก็ไม่ได้ระบุว่า หากรถยนต์สูญหายจำเลยที่ 1 จะต้องชดใช้ราคารถยนต์จำนวนเท่าใด ราคารถยนต์ ในสัญญาที่ระบุจำนวน 199,000 บาท ไม่ใช่ราคารถยนต์ที่แท้จริง ต้องถือราคารถยนต์จำนวน 163,000 บาท เป็นราคาที่นำมาเป็น ฐานที่ตั้งของการคำนวณค่าเสียหาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4757/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าพื้นที่จอดรถ vs. การรับฝากทรัพย์: จำเลยไม่ต้องรับผิดชอบรถหาย หากไม่มีการส่งมอบและอารักขา
จ. นำรถยนต์เข้าไปจอดในปั๊มน้ำมันของจำเลย เสียค่าจอดรถยนต์เป็นรายเดือนไม่มีการส่งมอบรถยนต์ให้อยู่ในความอารักขาของจำเลย จ. สามารถนำรถยนต์เข้าออกในเวลาใดก็ได้ จำเลยไม่สามารถรู้ได้ว่า จ. ได้นำรถยนต์เข้าไปจอดหรือไม่ ในคืนที่รถยนต์หายก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รับมอบรถยนต์จาก จ. แต่อย่างใดพฤติการณ์ดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าจำเลยรับฝากรถยนต์ไว้จาก จ.แต่เป็นการให้เช่าสถานที่จอดรถยนต์ เมื่อรถยนต์หายไป จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายให้แก่ จ. โจทก์ผู้รับประกันภัยจึงไม่มีสิทธิไล่เบี้ยจากจำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4237/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหมิ่นประมาทต้องพิจารณาจากความรู้สึกบุคคลทั่วไป ไม่ใช่ผู้เสียหาย การโฆษณาแจ้งรถหายไม่ถึงขั้นหมิ่นประมาท
ข้อความที่จะทำให้ผู้อื่นเสื่อมเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชังอันจะเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทหรือไม่นั้น ต้องถือตามความรู้สึกนึกคิดของบุคคลธรรมดาทั่วไป มิใช่ถือเอาแต่ความรู้สึกของผู้ที่อ้างว่าตนเป็นผู้เสียหาย การที่จำเลยทั้งสองร่วมกันว่าจ้างหนังสือพิมพ์ลงโฆษณาข้อความว่า "รถเบนซ์ 500 สีเทา9 ง 8923 พบแจ้งที่ 2711580 มีรางวัล อุดม " นั้น ในความรู้สึกนึกคิดของบุคคลโดยทั่วไปแล้ว การประกาศโฆษณาดังกล่าวหาได้ทำให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าของรถยนต์ต้องเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชังแต่อย่างใดไม่ หากการประกาศโฆษณาเช่นว่านั้นจะเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเดือดร้อนรำคาญใจและเสียหาย ก็เป็นเรื่องที่โจทก์ จะต้องไปว่ากล่าวเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองในฐานะที่กระทำละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1448/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายรถยนต์: ความรับผิดเมื่อรถหายและการคืนสู่ฐานะเดิม
ในสัญญาซื้อขายระบุเงื่อนไขว่า 'แม้ว่าสัญญาฉบับนี้จะผ่านการโอนการต่ออายุหรือการเปลี่ยนมืออย่างใด ๆ หรือตัวยานยนต์อันเป็นวัตถุแห่งสัญญาต้องประสบความสูญเสีย เสียหายหรือย่อยยับประการใด ผู้ซื้อก็หาหลุดพ้นจากหน้าที่รับผิดตามสัญญาฉบับนี้แต่อย่างใดไม่ 'ฯลฯ' ข้อความที่ว่ายานยนต์อันเป็นวัตถุแห่งสัญญาต้องประสบความสูญเสียนั้น ย่อมมีความหมายรวมตลอดถึงยานยนต์สูญหายไปเพราะเหตุถูกคนร้ายลักไปด้วย จำเลยที่ 1 ชำระค่าซื้อรถยนต์ตามสัญญายังไม่ครบถ้วน จึงต้องรับผิดชำระราคารถยนต์ให้แก่โจทก์จนครบถ้วน จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกันด้วย
เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาและโจทก์ก็ได้บอกเลิกสัญญาแล้ว สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขสิ้นสุดลง คู่สัญญาจำต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 จำเลยที่ 1 ต้องคืนรถยนต์ให้โจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่สามารถส่งคืนได้เพราะรถยนต์ถูกลักไป จำเลยที่ 1 จึงต้องใช้ราคารถแทนเฉพาะส่วนที่ยังส่งไม่ครบ
ตามหนังสือสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขไม่มีข้อความตอนใดระบุว่าเมื่อจำเลยผิดนัดแล้วต้องมีหน้าที่ส่งมอบรถคืนให้แก่โจทก์แต่อย่างใด ดังนั้นจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในการที่ไม่ส่งมอบรถคืนให้แก่โจทก์.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3646/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อระงับเมื่อรถหาย ข้อตกลงชดใช้เป็นสัญญา รับใช้ค่าเสียหาย อายุความ 10 ปี
สัญญาเช่าซื้อที่ตกลงไว้ว่าถ้า รถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหายในระหว่างสัญญาเช่าซื้อ ผู้เช่าซื้อจะต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเช่าซื้อจำนวนที่ยังขาดอยู่ให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อ และในกรณีนี้ถือว่าสัญญาเช่าซื้อสิ้นสุดระงับลงนั้นเป็นความตกลงที่ผู้เช่าซื้อยอมรับผิดในเหตุที่รถยนต์สูญหาย ซึ่งข้อตกลงเช่นนี้เป็นข้อสัญญารับใช้ค่าเสียหาย แม้จะเรียกว่าค่าเช่าซื้อ กรณีก็มิใช่การฟ้องเรียกเอาค่าเช่าซื้ออันมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 165(6)แต่เป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้ จึงต้องใช้อายุความ10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 728/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกค่าเช่าซื้อกรณีรถหาย: ใช้ 10 ปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 ไม่ใช่ 2 ปี
สัญญาเช่าซื้อข้อ5กำหนดว่าในกรณีที่รถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหายไม่ว่าโดยเหตุสุดวิสัยหรือโดยเหตุใดผู้เช่าซื้อต้องรับผิดแต่ฝ่ายเดียวชำระค่าเช่าซื้อทั้งสิ้นจนครบการที่โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อฟ้องขอให้จำเลยที่1ผู้เช่าซื้อชำระค่ารถยนต์ที่ค้างตามสัญญาดังกล่าวจึงเป็นการฟ้องขอให้จำเลยที่1ชำระราคาทรัพย์สินที่เช่าซื้อจนครบตามที่ระบุไว้ในสัญญาหาใช่ฟ้องเรียกค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระไม่(อ้างคำพิพากษาศาลฎีกาที่366/2521) ในกรณีฟ้องเรียกราคารถยนต์ที่เช่าซื้อตามสัญญาเช่าซื้อดังกล่าวข้างต้นไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่นจึงต้องใช้อายุความ10ปีตามป.พ.พ.มาตรา164มิใช่อายุความ2ปี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 725/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข vs. เช่าซื้อ: ความรับผิดของผู้ซื้อเมื่อรถหาย และดอกเบี้ยหลังเลิกสัญญา
ในสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยไม่มีข้อความตอนใดแสดงให้เห็นว่าโจทก์ผู้ขายเอาทรัพย์สินออกให้เช่าและให้คำมั่นว่า จะขายทรัพย์สินนั้น หรือจะให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นสิทธิแก่ผู้เช่าโดยเงื่อนไขที่ผู้เช่าได้ใช้เงินเป็นจำนวนเท่านั้นเท่านี้คราว ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 572 แต่สัญญาดังกล่าวนอกจากใช้ชื่อว่าหนังสือสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขแล้ว ข้อความตามหนังสือสัญญาดังกล่าวเห็นได้ว่าเป็นสัญญาซื้อขายรถยนต์โดยโจทก์ผู้ขายยอมให้จำเลยผู้ซื้อผ่อนชำระราคามีเงื่อนไขว่าจะโอนกรรมสิทธิ์ให้เมื่อผู้ซื้อผ่อนชำระราคาครบถ้วนแล้ว ทั้งในกรณีผิดนัดผิดสัญญา หรือทรัพย์ตามสัญญาสูญหายก็ยังให้สิทธิผู้ขายได้รับชำระค่ารถส่วนที่ยังค้างชำระเต็มราคาค่ารถที่ซื้อขายแสดงให้เห็นว่า กรณีจะเป็นประการใดก็ตาม คู่กรณีมีเจตนาให้ผู้ขายได้รับชำระราคารถยนต์ที่ซื้อขายจนครบถ้วนเท่านั้น ไม่มีข้อตกลงว่าถ้าผู้ซื้อผิดนัดผิดสัญญา ให้ผู้ขายริบบรรดาเงินที่ผู้ซื้อได้ใช้มาแล้ว และผู้ขายเข้าครองรถยนต์เป็นของตนดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 574 สัญญาพิพาทจึงเป็นสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขในการโอนกรรมสิทธิตาม มาตรา 459 หาใช่สัญญาเช่าซื้อไม่ การที่ผู้ขายกำหนดเงื่อนไขการรักษา การใช้ และการเอาประกันภัยรถยนต์ในระหว่างผ่อนใช้ราคาไม่ครบก็ดี ให้ผู้ซื้อต้องมีผู้ค้ำประกันในการปฏิบัติตามสัญญาก็ดี ก็เป็นเพียงการสงวนทรัพย์สินและแสวงหาหลักประกันของผู้เขายเพื่อให้ได้รับชำระราคาครบถ้วนแน่นอนยิ่งขึ้นเท่านั้น หาเป็นเหตุให้สัญญากลายเป็นการเช่าซื้อไม่
สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขระบุว่า แม้ว่าสัญญาฉบับนี้จะผ่านการโอนการต่ออายุหรือการเปลี่ยนมืออย่างใด หรือตัวยานยนต์อันเป็นวัตถุแห่งสัญญาต้องประสบความสูญเสียเสียหายหรือย่อยยับประการใด ผู้ซื้อก็หาหลุดพ้นจากหน้าที่รับผิดตามสัญญาฉบับนี้แต่อย่างใดไม่ ข้อสัญญาดังกล่าวมีความหมายรวมตลอดถึงยานยนต์สูญหายไปเพราะเหตุถูกคนร้ายลักไปด้วย ฉะนั้น เมื่อระหว่างที่จำเลยชำระเงินค่าซื้อรถยนต์ตามสัญญายังไม่ครบถ้วน รถถูกคนร้ายลักไปยังไม่ได้กลับคืนมา จำเลยก็ยังคงต้องรับผิดชำระราคารถยนต์แก่โจทก์จนครบถ้วน ข้อสัญญาดังกล่าวข้างต้นเป็นการยกเว้นบทบัญญัติ มาตรา 372 วรรคแรก ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวมิใช่กฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน คู่สัญญาย่อมตกลงกันให้เป็นอย่างอื่นได้ ข้อสัญญานั้นจึงไม่ตกเป็นโมฆะตาม มาตรา 114
เมื่อจำเลยมีหน้าที่ต้องชำระราคารถยนต์ให้โจทก์แม้รถนั้นจะสูญหายไปแต่จำเลยมิได้ชำระ จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ เมื่อโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาแล้ว จึงเป็นผลให้สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขฉบับพิพาทสิ้นสุดลง คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมตาม มาตรา 391 จำเลยต้องคืนรถให้โจทก์ และโจทก์ต้องคืนเงินค่ารถที่ได้รับไว้แล้วพร้อมดอกเบี้ยให้จำเลย แต่ปรากฏว่ารถยนต์อันเป็นวัตถุแห่งสัญญาสูญหายเพราะถูกลักไปยังไม่ได้คืนจำเลยไม่สามารถส่งรถยนต์คืนให้โจทก์ได้ จำเลยที่ 1 จึงต้องชำระราคารถให้แทน โดยชำระเฉพาะส่วนที่ยังส่งไม่ครบพร้อมด้วยดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันเลิกสัญญา ตามมาตรา 224
of 5