พบผลลัพธ์ทั้งหมด 23 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1238-1239/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรวมสำนวนคดีและการรอการลงโทษ: โทษจำคุกไม่เกิน 2 ปีต่อสำนวน
ในกรณีที่ศาลรวมการพิจารณาพิพากษาคดีที่จำเลยคนเดียวกันถูกฟ้องตั้งแต่ 2 สำนวนขึ้นไป คำว่า "ในคดีนั้น" ในตอนต้นของมาตรา 56 แห่งประมวลกฎหมายอาญา หมายถึงคดีแต่ละสำนวนเป็นรายคดี เมื่อกำหนดโทษจำคุกที่ศาลลงแก่จำเลยในแต่ละสำนวนตามที่ได้ลดโทษให้แล้วไม่เกิน 2 ปี และไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รับโทษจำคุกมาก่อน ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้รอการลงโทษได้ถ้าเห็นเป็นการสมควร (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7/2518)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2811-2818/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรวมสำนวนคดีและอำนาจฟ้องขับไล่เมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุด
ศาลชั้นต้นสั่งให้รวมการพิจารณาคดีทั้ง 11 สำนวนเข้าด้วยกันจำเลยแต่ละคนในทุกสำนวนต่างก็อ้างตนเองเป็นพยาน โดยรวมอยู่ในบัญชีระบุพยานฉบับเดียวกัน แสดงว่าจำเลยในคดีหนึ่งมิได้เป็นพยานเฉพาะคดีของตนเองเท่านั้น แต่ต่างเป็นพยานซึ่งกันและกันในทุกคดี จึงต้องห้ามไม่ให้เบิกความต่อหน้าจำเลยอื่นที่จะเบิกความเป็นพยานในภายหลัง
โจทก์ทำสัญญาเช่าที่ดินกับกองมรดกของ ส. ครบกำหนดเวลาเช่าในสิ้นเดือนมีนาคม 2511 ต่อมาโจทก์ทำสัญญาเช่าต่อ เริ่มนับแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2511 เป็นต้นไป จึงมีช่วงว่างอยู่ 3 เดือน แต่โจทก์ยังครอบครองทรัพย์ที่เช่าอยู่ในระหว่าง 3 เดือนนั้น ถือได้ว่าคู่สัญญาได้ทำสัญญาใหม่ต่อไปไม่มีกำหนดเวลา จำเลยอยู่ในห้องพิพาทโดยอาศัยสัญญาที่ทำไว้กับโจทก์ ดังนี้ เมื่อสัญญาเช่าช่วงที่พวกจำเลยทำไว้กับโจทก์สิ้นสุดลง โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้
โจทก์ทำสัญญาเช่าที่ดินกับกองมรดกของ ส. ครบกำหนดเวลาเช่าในสิ้นเดือนมีนาคม 2511 ต่อมาโจทก์ทำสัญญาเช่าต่อ เริ่มนับแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2511 เป็นต้นไป จึงมีช่วงว่างอยู่ 3 เดือน แต่โจทก์ยังครอบครองทรัพย์ที่เช่าอยู่ในระหว่าง 3 เดือนนั้น ถือได้ว่าคู่สัญญาได้ทำสัญญาใหม่ต่อไปไม่มีกำหนดเวลา จำเลยอยู่ในห้องพิพาทโดยอาศัยสัญญาที่ทำไว้กับโจทก์ ดังนี้ เมื่อสัญญาเช่าช่วงที่พวกจำเลยทำไว้กับโจทก์สิ้นสุดลง โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 828-830/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรวมสำนวนคดีอาญาและการลงโทษจำเลยหลายกรรมต่างกัน โดยจำกัดโทษรวมตามกฎหมาย
แม้โจทก์จะแยกฟ้องจำเลยเป็น 3 สำนวนโดยขอให้นับโทษจำเลยทุกสำนวนต่อกันก็ตามแต่เมื่อศาลได้รวมพิจารณาคดีทั้ง 3 สำนวนเข้าด้วยกัน และปรากฏว่าจำเลยได้กระทำการอันเป็นความผิดทั้ง 3 สำนวน ก็ถือได้ว่าจำเลยได้กระทำความผิดหลายกรรมต่างกันซึ่งศาลจะพิพากษาลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามรายสำนวนได้แต่ทั้งนี้โทษจำคุกทั้งสิ้นของจำเลยในคำพิพากษาฉบับเดียวกันนี้จะต้องไม่เกิน 20 ปีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 17/2511)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 828-830/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รวมสำนวนคดีอาญา การลงโทษจำเลยหลายกรรม และข้อจำกัดโทษจำคุกรวมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91
แม้โจทก์จะแยกฟ้องจำเลยเป็น 3 สำนวน. โดยขอให้นับโทษจำเลยทุกสำนวนต่อกันก็ตาม. แต่เมื่อศาลได้รวมพิจารณาคดีทั้ง 3 สำนวนเข้าด้วยกัน และปรากฏว่าจำเลยได้กระทำการอันเป็นความผิดทั้ง 3 สำนวน ก็ถือได้ว่าจำเลยได้กระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน. ซึ่งศาลจะพิพากษาลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามรายสำนวนได้แต่ทั้งนี้โทษจำคุกทั้งสิ้นของจำเลยในคำพิพากษาฉบับเดียวกันนี้จะต้องไม่เกิน20 ปีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91.(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 17/2511)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1356-1521/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรวมสำนวนคดีอาญาหลายกรรมต่างวาระและการคำนวณโทษ จำเลยต้องรับโทษตามจำนวนวันจริง ไม่ใช่การทอนเป็นปีเดือน
การกระทำผิดต่างกรรมต่างวาระกันถึง 166 ครั้งนั้น เพื่อความสดวกศาลแขวงจะรวมคดีทั้ง 166 สำนวนพิจารณาพิพากษารวมกันก็ได้ และเมื่อศาลแขวงลงโทษจำคุกจำเลยแต่ละสำนวนโดยมีกำหนดโทษซึ่งอยู่ในอำนาจศาลแขวงที่จะลงแล้ว แม้ในที่สุดจำเลยจะต้องรับโทษถึง 2490 วัน ก็ย่อมทำได้
การลงโทษเรียงสำนวนทั้ง 166 สำนวน พึ่งให้นับโทษติดต่อกันไปไม่จำต้องรวมโทษทุกสำนวนเข้าด้วยกันแล้วคิดทอนจากวันเป็นปีเดือน เพราะจะทำให้จำเลยต้องรับโทษจริงเกินกว่าโทษที่จะต้องรับโดยการนับโทษติดต่อ
การลงโทษเรียงสำนวนทั้ง 166 สำนวน พึ่งให้นับโทษติดต่อกันไปไม่จำต้องรวมโทษทุกสำนวนเข้าด้วยกันแล้วคิดทอนจากวันเป็นปีเดือน เพราะจะทำให้จำเลยต้องรับโทษจริงเกินกว่าโทษที่จะต้องรับโดยการนับโทษติดต่อ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 79-80/2494
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฎีกาขึ้นอยู่กับทุนทรัพย์ในสำนวนที่ฎีกา แม้รวมสำนวนพิจารณาแต่ไม่ถือเป็นคดีเดียวกัน
โจทก์จำเลยต่างกล่าวหาฟ้องร้องกันคนละสำนวนแม้ศาลจะรวมการพิจารณา ก็ไม่ทำให้คดีทั้ง 2 เรื่องนั้น เป็นคดีเรื่องเดียวและมีทุนทรัพย์ที่พิพาทเท่ากันไปได้ สิทธิที่จะฎีกาจะมีเพียงใด จึงต้องพิจารณาตามจำนวนทุนทรัพย์ที่ตั้งพิพาทในคดีที่จะฎีกานั้นเองโดยเฉพาะ แม้สำนวนหนึ่งมีทุนทรัพย์เกิน 2,000 บาท อันจะฎีกาในข้อเท็จจริงได้แต่คู่ความไม่ฎีกาในสำนวนนี้ คงติดใจฎีกาเฉพาะแต่สำนวนที่มีทุนทรัพย์ไม่ถึง 2,000 บาทเท่านั้น ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าในคดีที่ฎีกานี้ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นในข้อเท็จจริงแล้ว คู่ความก็ฎีกาในข้อเท็จจริงไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1676-1677/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รวมสำนวนคดีอาญาและพิจารณาโทษฐานสมรู้ร่วมคิด แม้ลงโทษฐานตัวการแต่ศาลอุทธรณ์แก้ไขเป็นสมรู้ร่วมคิดได้
คดี 2 สำนวน ทั้งโจทก์และจำเลยจะต่างคนกัน ทั้งสองสำนวนแต่เป็นเรื่องกรณีเดียวกัน แม้ศาลสืบพยานแต่ละสำนวนกัน ก็พิพากษารวมกันได้ตามอำนาจใน ป.ม.วิ.อาญามาตรา 15 ป.ม.วิ.แพ่งมาตรา 28
ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยฐานเป็นตัวการในการจัดให้มีการเล่นการพะนันโดยไม่ได้รับอนุญาต เมื่อปรากฎว่าเป็นเพียงผู้ทำไพ่ และคนไพ่อันเป็นการอุปการะแก่การกระทำผิดรายนี้ศาลก็ย่อมลงโทษฐานสมรู้ได้ตามนัยฎีกาที่ 205/2483 , 214/2484
ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยฐานเป็นตัวการในการจัดให้มีการเล่นการพะนันโดยไม่ได้รับอนุญาต เมื่อปรากฎว่าเป็นเพียงผู้ทำไพ่ และคนไพ่อันเป็นการอุปการะแก่การกระทำผิดรายนี้ศาลก็ย่อมลงโทษฐานสมรู้ได้ตามนัยฎีกาที่ 205/2483 , 214/2484
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1676-1677/2494
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รวมสำนวนคดีเดียวกัน แม้สืบพยานแยกกัน ศาลลงโทษฐานสมรู้ร่วมคิดได้
คดี 2 สำนวน ทั้งโจทก์และจำเลยจะต่างคนกัน ทั้งสองสำนวนแต่เป็นเรื่องกรณีเดียวกัน แม้ศาลสืบพยานแต่ละสำนวนกัน ก็พิพากษารวมกันได้ตามอำนาจในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 28
ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยฐานเป็นตัวการในการจัดให้มีการเล่นการพนันโดยไม่ได้รับอนุญาต เมื่อปรากฏว่าเป็นเพียงผู้ทำไพ่ และคนไพ่อันเป็นการอุปการะแก่การกระทำผิดรายนี้ ศาลก็ย่อมลงโทษฐานสมรู้ได้ ตามนัยฎีกาที่205/2483,214/2484
ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยฐานเป็นตัวการในการจัดให้มีการเล่นการพนันโดยไม่ได้รับอนุญาต เมื่อปรากฏว่าเป็นเพียงผู้ทำไพ่ และคนไพ่อันเป็นการอุปการะแก่การกระทำผิดรายนี้ ศาลก็ย่อมลงโทษฐานสมรู้ได้ ตามนัยฎีกาที่205/2483,214/2484
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14001/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการรวมสำนวนคดีและการบังคับคดีข้ามสำนวน ต้องมีคำสั่งรวมกันตามกฎหมาย
แม้คดีนี้กับคดีหมายเลขแดงที่ 15529 - 15530/2541 ต่างเป็นสำนวนของศาลชั้นต้นเดียวกัน แม้คู่ความทั้งสองฝ่ายเป็นบุคคลเดียวกัน และพิพาทกันในมูลหนี้ตามสัญญาจะซื้อขาย ฉบับเดียวกันก็ตาม แต่ศาลชั้นต้นก็เพียงแต่มีคำสั่งให้นำสำนวนคดีหมายเลขแดงที่ 15529 - 15530/2541 มาผูกรวมกับสำนวนคดีนี้ โดยมิได้มีคำสั่งให้พิจารณาคดีเหล่านี้รวมกัน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 28 วรรคหนึ่ง แต่อย่างใด ทั้งสำนวนคดีหมายเลขแดงที่ 15529 - 15530/2541 ศาลฎีกาก็ได้มีคำพิพากษาเป็นที่สุดไปก่อนในลักษณะวินิจฉัยชี้ขาดคดีที่ต่างสำนวนกันกับคดีนี้ จึงไม่อาจจะถือว่าสำนวนคดีหมายเลขแดงที่ 15529 - 15530/2541 เป็นส่วนหนึ่งของคดีนี้ที่ศาลชั้นต้นคดีนี้จะมีคำสั่งข้ามสำนวนไปเพิกถอนการบังคับคดี ซึ่งเป็นการใช้อำนาจทำคำวินิจฉัยชี้ขาดในเรื่องใด ๆ อันเกี่ยวด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งในสำนวนคดีหมายเลขแดงที่ 15529 - 15530/2541 นั้นได้ และปัญหาเกี่ยวด้วยอำนาจศาลในการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่เมื่อเห็นสมควรศาลอุทธรณ์ย่อมยกขึ้นวินิจฉัยแล้วพิพากษาคดีไปได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14517-14520/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรวมสำนวนคดีและการลงโทษจำคุกกระทงละเดือน ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษาเนื่องจากนับโทษต่อกันเกินคำขอ
ศาลสั่งให้รวมการพิจารณาพิพากษาคดีที่โจทก์แยกฟ้องมารวมสี่สำนวน โดยโจทก์ไม่ได้ขอให้นับโทษจำเลยติดต่อกัน จึงนับโทษต่อกันไม่ได้เพราะเป็นการพิพากษาเกินคำขอตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำคุกจำเลยกระทงละ 1 เดือน รวม 9 กระทง จำคุก 9 เดือน นั้น มีผลเท่ากับนับโทษจำคุกจำเลยติดต่อกันทั้งสี่สำนวน จึงไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225