คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ระงับสิ้น

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 17 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2517/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำนำแล้วให้เช่าทรัพย์สินจำนำทำให้สิทธิจำนำระงับสิ้น และไม่มีสิทธิขอกันส่วนตามกฎหมาย
การที่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับจำนำให้จำเลยผู้จำนำเช่าเครื่องจักรอันเป็นทรัพย์สินจำนำ ย่อมเป็นการยอมให้ทรัพย์สินจำนำกลับคืนไปสู่การครอบครองของผู้จำนำตามความหมายของบทบัญญัติมาตรา 769(2) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ สิทธิจำนำของผู้ร้องจึงระงับสิ้นไปตามมาตรา ดังกล่าว ผู้ร้องจึงมิใช่เจ้าหนี้ผู้รับจำนำที่จะร้องขอกันส่วนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 287 ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5563/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันระงับสิ้นเมื่อผู้ร้องชนะคดีและไม่มีหนี้ตามสัญญา ศาลคืนโฉนดที่ดินที่วางค้ำประกันได้
โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์จำเลย ผู้ร้องยื่นคำร้องว่า ทรัพย์ที่โจทก์นำยึดไม่ใช่ของจำเลย และโจทก์ยินยอมให้ผู้ค้ำประกันนำที่ดินมาวางค้ำประกันในการถอนการยึดทรัพย์ของจำเลย โดยถ้าผู้ร้องแพ้ ผู้ค้ำประกันยอมชำระหนี้แทนสัญญาค้ำประกันดังกล่าวไม่มีข้อความระบุว่าผู้ค้ำประกันยอมค้ำประกันตลอดไปจนกว่าคดีถึงที่สุด ดังนี้ เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้ผู้ร้องชนะคดี จึงไม่มีหนี้ที่ผู้ค้ำประกันจะต้องชำระตามสัญญาค้ำประกัน สัญญาค้ำประกันย่อมระงับสิ้นไปทันทีศาลชอบที่คืนโฉนดที่ดินให้แก่ผู้ค้ำประกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2067/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าระงับสิ้นเมื่อผู้เช่าถึงแก่กรรม ศาลจำหน่ายคดี
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับให้จำเลยโอนสิทธิการเช่าที่ดินคืนโจทก์ศาลล่างพิพากษาตามฟ้อง แต่ปรากฏว่าในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น จำเลยได้ถึงแก่กรรมบุตรจำเลยได้รับอนุญาตให้เข้าเป็นคู่ความแทนจำเลย เมื่อจำเลยซึ่งในระหว่างพิจารณายังมีชื่อเป็นผู้เช่าที่ดินได้ถึงแก่กรรมไปแล้วเช่นนี้ สัญญาเช่าอันเป็นสิทธิเฉพาะตัวย่อมระงับสิ้นไป การที่จะบังคับให้จำเลยโอนสิทธิการเช่าให้โจทก์ย่อมไม่อาจทำได้จึงไม่มีประโยชน์ที่จะวินิจฉัยต่อไป ศาลฎีกาย่อมสั่งจำหน่ายคดีเสีย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2067/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าระงับสิ้นเมื่อผู้เช่าถึงแก่กรรม ศาลจำหน่ายคดี
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับให้จำเลยโอนสิทธิการเช่าที่ดินคืนโจทก์ ศาลล่างพิพากษาตามฟ้อง แต่ปรากฏว่าในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น จำเลยได้ถึงแก่กรรมบุตรจำเลยได้รับอนุญาตให้เข้าเป็นคู่ความแทนจำเลย เมื่อจำเลยซึ่งในระหว่างพิจารณายังมีชื่อเป็นผู้เช่าที่ดินได้ถึงแก่กรรมไปแล้วเช่นนี้ สัญญาเช่าอันเป็นสิทธิเฉพาะตัวย่อมระงับสิ้นไป การที่จะบังคับให้จำเลยโอนสิทธิการเช่าให้โจทก์ย่อมไม่อาจทำได้จึงไม่มีประโยชน์ที่จะวินิจฉัยต่อไป ศาลฎีกาย่อมสั่งจำหน่ายคดีเสีย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1466/2498

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลงหนี้: หนี้เดิมระงับสิ้นเมื่อทำสัญญากู้ใหม่แทน
หนี้เดิมเป็นการตกลงซื้อขายที่ดินกัน ฝ่ายจำเลยไม่มีเงินพอจะจ่ายได้ครบตามจำนวนเงินที่ได้ตกลงซื้อขาย จึงตกลงทำสัญญากู้ขึ้นเฉพาะจำนวนเงินที่ยังขาด ถือว่าเป็นการแปลงสาระสำคัญแห่งหนี้ หนี้เดิม(จำนวนเงินที่ยังขาด) จึงเป็นอันระงับสิ้นไปด้วย การแปลงหนี้ใหม่ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 349
จำเลยจะอาศัยสัญญาซื้อขายที่ดินซึ่งปรากฏว่าโจทก์ได้รับเงินค่าซื้อขายที่ดินไปครบถ้วนแล้ว มาเป็นข้ออ้างให้ไม่ต้องชำระเงินตามสัญญากู้ที่แปลงขึ้นใหม่หาได้ไม่ เพราะหนี้เก่าได้แปลงเป็นหนี้ใหม่แล้ว หนี้เก่าหรือหนี้เดิมเป็นอันระงับสิ้นไปตาม กฎหมายแล้ว แต่มีหนี้ใหม่เข้ามาแทนหาได้ระงับสิ้นไปด้วยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15467/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าล่วงเวลาที่ระงับสิ้นไปแล้ว ไม่อาจนำมาฟ้องร้องได้อีก
อ. ลูกจ้างโจทก์เคยใช้สิทธิเรียกร้องค่าล่วงเวลาที่พิพาทจากโจทก์พร้อมเงินอื่น เนื่องจากถูกโจทก์เลิกจ้างในคดีหมายเลขแดงที่ รย.310/2551 ของศาลแรงงานภาค 2 ซึ่งระหว่างการพิจารณาในคดีดังกล่าว อ. กับโจทก์ตกลงกันได้และ อ. ได้สละสิทธิเรียกร้องในเงินค่าล่วงเวลาดังกล่าวแล้ว สิทธิเรียกร้องในค่าล่วงเวลาดังกล่าวนั้นจึงระงับสิ้นไป อ. จึงไม่อาจนำเอาสิทธิเรียกร้องค่าล่วงเวลาที่ระงับไปแล้วไปยื่นคำร้องต่อจำเลยเพื่อให้พิจารณาและมีคำสั่งได้อีก ดังนั้น อ. จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาจากโจทก์ คำสั่งของจำเลยที่ 78/2551 ลงวันที่ 28 สิงหาคม 2551 ที่ให้โจทก์จ่ายค่าล่วงเวลาแก่ อ. จึงไม่ชอบ ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11447/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอมระงับสิ้นเมื่อมีการแบ่งแยกที่ดินและไม่ใช้ประโยชน์ทางภาระจำยอมเดิม
เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า หลังจากที่ดินตามโฉนดเลขที่ 11327 ได้แบ่งแยกเป็นแปลงย่อยแล้ว ที่ดินดังกล่าวซึ่งมีการจดทะเบียนภาระจำยอมเดิมได้กันที่ดินที่เหลือจากการแบ่งแยกให้เป็นทางถนนกว้าง 8 เมตร ยาวตลอดเชื่อมต่อกับที่ดินโฉนดเลขที่ 43653 ซึ่งทำเป็นทางถนนเชื่อมกับทางสาธารณะถนนสายรามอินทรา โดยเจ้าของที่ดินที่ซื้อที่ดินที่แบ่งแยกรวมทั้งโจทก์และจำเลยต่างใช้ทางดังกล่าวเข้าและออกสู่ถนนสาธารณะ และหลังจากแบ่งแยกที่ดินของโจทก์นั้น จำเลยไม่ได้ใช้ประโยชน์ในที่ดินของโจทก์เป็นทางภาระจำยอมอีกเลยตั้งแต่ปี 2515 และต่อมาเมื่อมีการก่อสร้างทางพิเศษสายรามอินทรา-อาจณรงค์ แล้ว จำเลยสามารถใช้ที่ดินโฉนดเลขที่ 43653 ออกสู่ทางถนนดังกล่าวได้ด้วย ในกรณีเช่นนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1394 บัญญัติว่า "ถ้ามีการแบ่งแยกภารยทรัพย์ ท่านว่าภาระจำยอมยังคงมีอยู่ทุกส่วนที่แยกออก แต่ถ้าในส่วนใดภาระจำยอมนั้นไม่ใช้และใช้ไม่ได้ตามรูปการ ท่านว่าเจ้าของส่วนนั้นจะเรียกให้พ้นจากภาระจำยอมก็ได้" เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ที่ดินของโจทก์ซึ่งเป็นภารยทรัพย์หลังจากมีการแบ่งแยกแล้ว จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินสามยทรัพย์ไม่ได้ใช้ประโยชน์ในภารยทรัพย์ โจทก์ในฐานะเจ้าของภารยทรัพย์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้ที่ดินส่วนที่แบ่งแยกของโจทก์ให้พ้นจากภาระจำยอมเพราะเหตุไม่ใช้หรือใช้ไม่ได้ตามรูปการได้ ภาระจำยอมในที่ดินของโจทก์จึงระงับสิ้นไป ตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว ทั้งการใช้สิทธิฟ้องของโจทก์ในกรณีนี้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายหาใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตแต่อย่างใดไม่
of 2