คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ระบุพยาน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 38 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2347/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลอนุญาตระบุพยานเพิ่มเติม และการเป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมาย
การที่ศาลชั้นต้นจดรายงานไว้ว่า ก่อนสืบพยาน โจทก์ยื่นขอระบุพยานเพิ่มเติม ศาลสั่งอนุญาตและจ่ายสำเนาให้จำเลย โจทก์จะนำพยานคนที่ระบุเพิ่มเติมเข้าสืบ แต่จำเลยแถลงคัดค้านขออย่าให้ศาลอนุญาตให้โจทก์นำพยานปากนี้เข้าสืบ ศาลชั้นต้นพิเคราะห์แล้วอนุญาตให้โจทก์นำพยานดังกล่าวเข้าสืบได้ ดังนี้ ถือว่าจำเลยได้โต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์ระบุพยานเพิ่มเติมไว้แล้ว จึงมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นได้
เช็คพิพาทเป็นเช็คสั่งจ่ายเงินสดหรือผู้ถือ เมื่อโจทก์มีเช็คพิพาทไว้ในความครอบครอง โดย น. ได้นำมาขอแลกเงินจากโจทก์ โจทก์จึงเป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 904
ก่อนพยานเบิกความ ย่อมต้องสาบานตนว่าจะให้การตามสัตย์จริงและตอบคำถามของศาลในเรื่องนามของตนแล้ว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 112,116 เมื่อศาลชั้นต้นเขียนชื่อพยานว่า จ. จึงน่าเชื่อว่าพยานผู้นั้นคือ จ. จริง แต่เหตุใดพยานจึงเซ็นชื่อว่า พ. นั้น เมื่อไม่มีข้อเท็จจริงบ่งชัดว่าเป็นคนละคนกับ จ. ก็จะฟังว่ามิใช่ จ. ยังไม่ถนัด เพราะพยานอาจมีชื่ออีกชื่อหนึ่งก็ได้ เพียงเหตุนี้อย่างเดียวยังไม่พอจะทำให้ ไม่รับฟังคำเบิกความของ จ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 51/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดุลพินิจศาลอนุญาตเลื่อนคดีเด็กและเยาวชน: เหตุผลสมควรและหน้าที่โจทก์ระบุพยาน
แม้ข้อความในตอนต้นของมาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ. 2494 จะได้บัญญัติไว้ว่า การพิจารณาของศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน ให้พยายามทำโดยไม่ต้องดำเนินการตามกฎหมายวิธีพิจารณาโดยเคร่งครัดก็ตาม แต่การที่ศาลจะอนุญาตให้โจทก์เลื่อนคดีไปได้หรือไม่ อยู่ในดุลพินิจของศาลที่จะพึงสั่งตามพฤติการณ์ที่เห็นสมควรเป็นราย ๆ ไป เมื่อพฤติการณ์ที่โจทก์แสดงมาไม่มีเหตุสมควรที่จะให้เลื่อนคดีไป ศาลก็ชอบที่จะสั่งไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 568/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิโจทก์ร่วม ผู้เสียหายระบุพยานเพิ่มเติมได้
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(14) คำว่า'โจทก์หมายความถึงพนักงานอัยการหรือผู้เสียหายซึ่งฟ้องคดีอาญาต่อศาลหรือทั้งคู่ ในเมื่อพนักงานอัยการและผู้เสียหายเป็นโจทก์ร่วมกัน' เมื่อผู้เสียหายเป็นโจทก์ตามบทกฎหมายดังกล่าวก็ย่อมเป็น 'คู่ความ' ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 2(15) จึงชอบที่จะระบุพยานหรือสืบพยานเพิ่มเติมได้โดยอาศัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 และ 228

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 102/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุญาตระบุพยานเพิ่มเติมโดยไม่พิจารณาเหตุผลตามกฎหมาย ทำให้คู่ความเสียเปรียบ เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ
โจทก์ยื่นคำร้องต่อศาลขอระบุพยานเพิ่มเติม โดยอ้างว่าเข้าใจผิดว่าได้ระบุพยานนั้นไว้แล้ว ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตโดยมิได้วินิจฉัยถึงเหตุผลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 88 วรรค 3 เป็นการทำให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งเสียเปรียบ คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 578/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความเข้าใจผิดเรื่องวันนัดคดี: ศาลอนุญาตให้ระบุพยานเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
โจทก์มิได้ยื่นบัญชีระบุพยานเพราะตัวโจทก์ซึ่งเป็นชาวชนบทอายุ 70 ปีเศษเข้าใจว่าศาลสั่งนัดพร้อมอีก (นัดพร้อมมา 3 ครั้งแล้วและบอกทนายโจทก์เช่นนั้นทนายโจทก์จึงมอบฉันทะให้เสมียนมาฟังคำสั่งและวันนัดสืบพยาน เช่นนี้ เห็นได้ว่าไม่ใช่โจทก์จงใจฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมศาลให้โจทก์ระบุพยานและนัดสืบพยานโจทก์จำเลยต่อไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 357/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งไม่อนุญาตระบุพยาน/สืบพยาน เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา หากไม่โต้แย้ง สิทธิอุทธรณ์ฎีกาขาดเสีย
คำร้องขออนุญาตอ้างพยานหลักฐานและบัญชีระบุพยานนั้น หาใช่คำคู่ความที่ยื่นต่อศาลไม่ ฉะนั้นคำสั่งศาลที่ไม่อนุญาตให้ระบุพยานจึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา เมื่อคู่ความไม่ได้แย้งไว้ ก็ย่อมจะอุทธรณ์และฎีกาคำสั่งนั้นไม่ได้
คำสั่งศาลที่ไม่อนุญาตให้จำเลยเข้าสืบ ก็เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาเมื่อไม่โต้แย้งไว้ ก็ไม่มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 357/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งไม่อนุญาตระบุพยานเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ไม่โต้แย้งสิทธิอุทธรณ์ฎีกาขาด
คำร้องขออนุญาตอ้างพยานหลักฐานและบัญชีระบุพยานนั้น หาใช่คำคู่ความที่ยื่นต่อศาลไม่ฉะนั้น คำสั่งศาลที่ไม่อนุญาตให้ระบุพยานจึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา เมื่อคู่ความไม่โต้แย้งไว้ก็ย่อมจะอุทธรณ์และฎีกาคำสั่งนั้นไม่ได้
คำสั่งศาลที่ไม่อนุญาตให้จำเลยเข้าสืบ ก็เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาเมื่อไม่โต้แย้งไว้ ก็ไม่มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 280/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การระบุพยานในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง และการอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์
ผู้เสียหายเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นความผิดหลายกระทง ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วมีคำสั่งให้ประทับฟ้องเฉพาะกระทงที่เห็นว่ามีมูลและไม่ประทับฟ้องกระทงที่เห็นว่าไม่มีมูลนั้น โจทก์อุทธรณ์ได้ในทันที ไม่ต้องรอจนกว่าศาลจะได้ตัดสินคดีแล้ว
การระบุพยานของโจทก์ในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง แม้บัญชีพยาน ของโจทก์จะมีคำว่า บัญชีระบุพยานชั้นไต่สวนมูลฟ้อง ก็ดี จะถือว่าเป็นการระบุเฉพาะแต่ในตอนไต่สวนมูลฟ้องไม่ได้ ต้องถือว่าโจทก์มีความประสงค์ที่จะอ้างอิงพยานหลักฐานในคดีนั้นตามบัญชีพยานของตนตลอดทั้งเรื่อง (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 10/2505 วาระพิเศษ)
โจทก์ยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่ประทับฟ้องความผิดบางกระทง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ และต่อมาได้พิพากษายกฟ้องความผิดกระทงที่ได้ประทับฟ้องไว้โดยถือว่าโจทก์ไม่มีพยานมาสืบ การที่โจทก์จะอุทธรณ์คำสั่งที่ศาลชั้นต้นไม่รับอุทธรณ์และอุทธรณ์ คำพิพากษาศาลชั้นต้นด้วยนั้น ควรยื่นอุทธรณ์แยกกันเป็นคนละฉบับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1034/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การระบุพยานเพิ่มเติม: ศาลพิจารณาความเป็นธรรมและแก้ไขผลกระทบต่อคู่ความได้
บทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 เรื่องระบุพยานหลักฐานนั้น แบ่งออกได้เป็น 3 ตอน คือ ตอนแรกว่า ด้วยการระบุพยานหลักฐานครั้งแรก ตอนที่ 2 ว่าด้วยการระบุพยานเพิ่มเติม ให้ระบุเพิ่มเติมได้เสมอในเมื่อฝ่ายที่สืบก่อนยังสืบไม่เสร็จ ตอนที่ 3 ว่าด้วย การระบุพยานหลักฐาน จะเป็นระบุครั้งแรกก็ดี ระบุเพิ่มเติมก็ดี หากไม่เข้าตอน 1 และ 2 แล้ว ต้องขออนุญาตศาลก่อน ความประสงค์ของบทบัญญัตินี้ก็เพื่อมิให้คู่ความจู่โจมกันในทางพยานหลักฐานโดยไม่รู้สึกตัว ในทางปฏิบัติ จึงชอบที่จะพิจารณาว่า การที่คู่ความฝ่ายใดไม่ระบุพยานภายในกำหนด นั้น เป็นโดยประสงค์จะเอาเปรียบในทางคดี หรือว่าพลั้งพลาดไป หาได้ประสงค์จะเอาเปรียบในทางคดีไม่ และการที่ไม่ระบุพยานนั้น มีทางพอจะแก้ไขไม่ให้อีกฝ่ายหนึ่งเสียหายหรือไม่ หากเป็นเรื่องไม่ใช่เอาเปรียบและมีทางจะแก้ไขไม่ให้อีกฝ่ายหนึ่งระบุพยานเพิ่มเติมบ้าง เสียค่าเสียหายให้อีกฝ่ายหนึ่งเพราะต้องเลื่อนคดีเป็นต้น ก็ชอบที่ศาลจะใช้อำนาจตามตอน 3 โดยสั่งตามควรแก่กรณี ทั้งนี้ เพื่อให้ความเป็นธรรมแก่ตัวความตามสมควร
ทนายโจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานบุคคลและเอกสารก่อนวันเริ่มต้นสืบพยานนัดแรก 1 วัน อ้างว่าหลงสืบ พยานที่ระบุขอสืบ ก็เป็นตัวโจทก์กับเอกสารสัญญากู้ ซึ่งโจทก์ พร้อมที่จะนำเข้าสืบได้ในวันนั้น ในกรณีเช่นนี้ ไม่เป็นการทำให้จำเลยเสียหายแต่อย่างใด หรือถ้าหากจำเลยจะเสียหายก็มีทางแก้ไขได้โดยศาลย่อมมีอำนาจออกคำสั่งให้เลื่อนคดีไปให้โอกาศจำเลยได้พิจารณาเอกสารและตระเตรียมคดีถ้าจำเลยจะขอค่าเสียหายโดยต้องเลื่อนศาลเห็นสมควรจะพิจารณาให้ด้วยก็ได้ เช่นนี้ ย่อมเป็นการสมควรที่ศาลจะได้ฟังพยานทั้งสองฝ่ายเพื่อชี้ขาดข้อสำคัญแห่งคดีไปโดยความเที่ยงธรรม ซึ่งเป็นเจตนารมณ์อันแท้จริงของกฎหมาย ศาลควรให้รับระบุพยานของโจทก์ดังกล่าวไว้พิจารณาต่อไป (ควรดูฎีกาที่ 455/2491 และ 492/2500 ประกอบ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1371/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การระบุพยานล่าช้า: ศาลอนุญาตได้หากไม่ทำให้คู่ความเสียเปรียบ และมีเหตุผลสมควร
โจทก์มีหน้าที่นำสืบก่อน ได้หลงลืมมิได้ระบุพยานให้ถูกต้องตามกฏหมาย ครั้นล่วงเลยมา 2 วัน โจทก์นึกได้รีบยื่นคำร้องขอระบุพยานโดยมีเหตุผลแสดงความสมควร เพราะความเข้าใจผิด เช่นนี้ เมื่อคำนึงว่าหากถ้าศาลอนุญาตคู่ความก็ไม่มีทางเสียรัดเสียเปรียบกัน ศาลก็อนุญาตให้ระบุพยานได้.
of 4