พบผลลัพธ์ทั้งหมด 995 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2007/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คุณสมบัติผู้สมัคร ส.ส. กรณีสมาชิกพรรคการเมืองหลายพรรค และระยะเวลาการเป็นสมาชิก
พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาฯ มาตรา 34/1 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ก่อนวันเลือกตั้งถ้าปรากฏหลักฐานว่าผู้สมัครผู้ใดขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ให้ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งดำเนินการสืบสวนสอบสวนโดยเร็ว ถ้าเห็นว่าผู้สมัครผู้นั้นขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ให้ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาเพื่อพิจารณาวินิจฉัยให้เพิกถอนการสมัครรับเลือกตั้งของผู้นั้น ดังนั้น เมื่อผู้ร้องตรวจพบว่าผู้คัดค้านขาดคุณสมบัติในการสมัครรับเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 107 (4) ผู้ร้องจึงยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาเพื่อให้เพิกถอนการสมัครรับเลือกตั้งของผู้คัดค้านได้ตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว
ผู้ร้องมีหลักฐานการเป็นสมาชิกพรรคการเมืองของผู้คัดค้านว่านอกจากผู้คัดค้านจะเป็นสมาชิกพรรค พ. แล้ว ผู้คัดค้านยังเป็นสมาชิกพรรค ช. ตั้งแต่วันที่ 4 กรกฎาคม 2543 ต่อมาวันที่ 21 กันยายน 2547 พรรค ช. ยุบพรรครวมเข้ากับพรรค ท. ผู้คัดค้านจึงเป็นสมาชิกพรรค ท. ซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่เป็นหลัก แม้ว่าผู้คัดค้านจะไม่เคยสมัครเป็นสมาชิกพรรค ท. มาก่อนก็ตาม ทำให้ผู้คัดค้านเป็นทั้งสมาชิกพรรค พ. และพรรค ท. จึงมิได้เป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งแต่เพียงพรรคเดียวนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วัน มีผลให้ผู้คัดค้านเป็นผู้ไม่มีคุณสมบัติเป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 107 (4)
ผู้ร้องมีหลักฐานการเป็นสมาชิกพรรคการเมืองของผู้คัดค้านว่านอกจากผู้คัดค้านจะเป็นสมาชิกพรรค พ. แล้ว ผู้คัดค้านยังเป็นสมาชิกพรรค ช. ตั้งแต่วันที่ 4 กรกฎาคม 2543 ต่อมาวันที่ 21 กันยายน 2547 พรรค ช. ยุบพรรครวมเข้ากับพรรค ท. ผู้คัดค้านจึงเป็นสมาชิกพรรค ท. ซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่เป็นหลัก แม้ว่าผู้คัดค้านจะไม่เคยสมัครเป็นสมาชิกพรรค ท. มาก่อนก็ตาม ทำให้ผู้คัดค้านเป็นทั้งสมาชิกพรรค พ. และพรรค ท. จึงมิได้เป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งแต่เพียงพรรคเดียวนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วัน มีผลให้ผู้คัดค้านเป็นผู้ไม่มีคุณสมบัติเป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 107 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1832/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คุณสมบัติผู้สมัคร ส.ส. ต้องเป็นสมาชิกพรรคการเมืองติดต่อกัน 90 วัน
การที่ไม่มีชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในระบบฐานข้อมูลสมาชิกพรรคการเมืองและทะเบียนสมาชิกพรรคการเมืองของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งและผู้สมัครยอมรับว่าเพิ่งสมัครเป็นสมาชิกพรรคการเมืองนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาไม่ถึง 90 วัน ผู้สมัครจึงไม่มีคุณสมบัติเป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 107 (4)
(คำสั่งศาลฎีกา)
(คำสั่งศาลฎีกา)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1766/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีธุรกิจเฉพาะ: การได้มาซึ่งอาคารจากการก่อสร้างเองถือเป็นการได้มาภายหลัง ทำให้ต้องเสียภาษีหากขายภายใน 5 ปี
ตาม พ.ร.ฎ. (ฉบับที่ 244) พ.ศ. 2534 มาตรา 3 (6) วรรคสอง บัญญัติว่า "ในกรณีที่ที่ดินและอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างได้มาไม่พร้อมกัน กำหนดเวลา 5 ปี ให้ถือตามระยะเวลาการได้มาซึ่งที่ดิน หรืออาคาร หรือสิ่งปลูกสร้างที่ได้มาภายหลัง" ความหมายของการได้มาซึ่งอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างตามบทบัญญัติดังกล่าว ย่อมต้องหมายความรวมถึงการได้มาโดยเจ้าของที่ดินก่อสร้างเอง หรือซื้อมา หรือรับโอนมาด้วยประการใด ๆ ดังนั้น การที่โจทก์ลงทุนปลูกสร้างอาคารลงในที่ดินของโจทก์เอง ก็ต้องถือว่าโจทก์ได้อาคารหรือสิ่งปลูกสร้างมาภายหลังจากได้ที่ดินมาแล้ว เมื่อโจทก์ขายที่ดินและอาคารดังกล่าวไปภายในระยะเวลา 5 ปี นับแต่ได้อาคารมาโจทก์จึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีธรุกิจเฉพาะสำหรับที่ดินและอาคารนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1699/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดระยะเวลาบังคับคดีนับจากวันคดีถึงที่สุด ไม่ใช่วันมีคำพิพากษาแรก
กำหนดระยะเวลาบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 ที่ให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งได้ภายใน 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น หมายถึง วันที่ศาลมีคำพิพากษาอันถึงที่สุด ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2533 ต่อมาวันที่ 4 มีนาคม 2534 จำเลยที่ 1 และที่ 3 ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วมีคำสั่งยกคำร้อง จำเลยที่ 1 และที่ 3 อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว และศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้งดการบังคับคดีไว้ในระหว่างอุทธรณ์ ต่อมาศาลอุทธรณ์พิพากษายืน โดยศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้คู่ความฟังเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2537 จำเลยที่ 1 และที่ 3 มีสิทธิยื่นฎีกาได้ภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ แต่จำเลยที่ 1 และที่ 3 มิได้ยื่นฎีกา คดีจึงถึงที่สุดตั้งแต่วันถัดจากวันที่ 4 สิงหาคม 2537 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 147 วรรคสอง กำหนดระยะเวลาบังคับคดีต้องนับตั้งแต่วันดังกล่าว ผู้ค้ำประกันยื่นคำแถลงขอคืนหลักประกันเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2545 ยังไม่พ้น 10 ปี นับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุด ศาลจึงไม่อาจคืนหลักประกันให้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1699/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ระยะเวลาบังคับคดีนับจากคำพิพากษาถึงที่สุด ไม่ใช่วันมีคำพิพากษาแรก
กำหนดระยะเวลาบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 ที่ให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งได้ภายใน 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น หมายถึง วันที่ศาลมีคำพิพากษาอันถึงที่สุด
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2533 ต่อมาวันที่ 4 มีนาคม 2534 จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง จำเลยอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน โดยศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้คู่ความฟังเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2537 จำเลยมีสิทธิยื่นฎีกาได้ภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ แต่จำเลยมิได้ยื่นฎีกา คดีจึงถึงที่สุดตั้งแต่วันถัดจากวันที่ 4 สิงหาคม 2537 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 147 วรรคสอง กำหนดระยะเวลาบังคับคดีต้องนับตั้งแต่วันดังกล่าว ผู้ค้ำประกันหนี้ของจำเลยในชั้นขอทุเลาการบังคับในระหว่างอุทธรณ์ยื่นคำแถลงขอคืนหลักประกันเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2545 ยังไม่พ้น 10 ปี นับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุด ศาลจึงไม่อาจคืนหลักประกันให้ได้
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2533 ต่อมาวันที่ 4 มีนาคม 2534 จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง จำเลยอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน โดยศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้คู่ความฟังเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2537 จำเลยมีสิทธิยื่นฎีกาได้ภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ แต่จำเลยมิได้ยื่นฎีกา คดีจึงถึงที่สุดตั้งแต่วันถัดจากวันที่ 4 สิงหาคม 2537 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 147 วรรคสอง กำหนดระยะเวลาบังคับคดีต้องนับตั้งแต่วันดังกล่าว ผู้ค้ำประกันหนี้ของจำเลยในชั้นขอทุเลาการบังคับในระหว่างอุทธรณ์ยื่นคำแถลงขอคืนหลักประกันเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2545 ยังไม่พ้น 10 ปี นับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุด ศาลจึงไม่อาจคืนหลักประกันให้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1185/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบทรัพย์สินจากคดียาเสพติด: ประเภททรัพย์สินและระยะเวลาคัดค้าน
ในการดำเนินคดีตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ นั้นมีอยู่ 2 กรณี คือ การร้องขอให้ศาลสั่งริบทรัพย์สินซึ่งคณะกรรมการมีคำสั่งให้ยึดหรืออายัดตามมาตรา 22 เป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตามมาตรา 27, 28 และการร้องขอให้ริบทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิด หรือใช้เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ตามมาตรา 30 ซึ่งกรณีไม่ใช่ทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดตามความหมายในมาตรา 3 ดังนั้นทรัพย์สินที่จะต้องถูกริบตามมาตรา 27, 28 และมาตรา 30 จึงเป็นทรัพย์สินคนละประเภทกัน และใช้วิธีประกาศแจ้งผู้ที่อาจอ้างเป็นเจ้าของทรัพย์สินได้ต่างกัน เมื่อคดีนี้พนักงานอัยการได้ดำเนินการร้องขอให้ริบรถยนต์บรรทุกของกลางตามมาตรา 30 และศาลได้สั่งให้ประกาศในหนังสือพิมพ์ที่มีจำหน่ายแพร่หลายในท้องถิ่นสองวันติดต่อกันแล้ว ผู้คัดค้านที่อ้างว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินจะต้องยื่นคำร้องเข้ามาในคดีก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง ซึ่งหมายความถึงคำพิพากษาหรือคำสั่งที่พนักงานอัยการยื่นคำร้องต่อศาลขอให้สั่งริบทรัพย์สิน เมื่อผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านเข้ามาภายหลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่ง จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งยกคำคัดค้านได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 986/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการรับเงินค่าขึ้นศาลที่ศาลสั่งคืน หากไม่เรียกรับภายใน 5 ปี เงินดังกล่าวจะตกเป็นของแผ่นดิน
โจทก์แถลงขอรับเงินค่าขึ้นศาลที่ศาลสั่งคืน ศาลมีคำสั่งอนุญาตโดยสั่งจ่ายเช็คให้โจทก์ไป แต่ตราบใดที่โจทก์มิได้นำเช็คไปเรียกเก็บจากธนาคาร เงินดังกล่าวย่อมถือว่าเป็นเงินค้างจ่ายอยู่ในศาล ถ้าโจทก์มิได้เรียกเอาภายใน 5 ปี นับแต่วันที่ศาลสั่งอนุญาตเงินดังกล่าวย่อมตกเป็นของแผ่นดินตาม ป.วิ.พ. มาตรา 323
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8659/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับระยะเวลาอุทธรณ์คดีอาญา และเหตุขยายเวลาต้องยื่นก่อนครบกำหนด เหตุผลที่อ้างไม่ถือเป็นเหตุสุดวิสัย
ศาลชั้นอ่านคำพิพากษาให้จำเลยฟังวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2547 จำเลยต้องยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 198 วรรคหนึ่ง ซึ่งการนับระยะเวลาเริ่มต้น การยื่นอุทธรณ์หนึ่งเดือนต้องนับวันรุ่งขึ้นเป็นวันแรกตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/3 วรรคสอง โดยเริ่มนับวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2547 ดังนั้น เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2547 มิได้เป็นวันต้นแห่งเดือน กำหนดระยะเวลาเป็นเดือนจึงไม่อาจคำนวณตามปีปฏิทินได้ ระยะเวลาสิ้นสุดย่อมเป็นวันที่ 18 มีนาคม 2547 ซึ่งเป็นวันก่อนหน้าจะถึงวันแห่งเดือนสุดท้ายอันเป็นวันตรงกับวันเริ่มระยะเวลาตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/5 หาใช่ต้องนับระยะเวลาเดือนกุมภาพันธ์ 2547 มีกำหนด 11 วัน และเดือนมีนาคม 2547 มีกำหนด 19 วัน เป็น 30 วันตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/6 วรรคหนึ่งและวรรคสามไม่ เนื่องจากบทบัญญัติดังกล่าวเป็นการนับระยะเวลาที่กำหนดเป็นเดือนและวัน หรือกำหนดเป็นเดือนและส่วนของเดือนมิได้กำหนดระยะเวลาที่กำหนดเป็นเดือน การที่จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2547 จึงเป็นการยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์เมื่อพ้นกำหนดเวลายื่นอุทธรณ์แล้ว
การขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ในคดีอาญาตาม ป.พ.พ. มาตรา 23 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 นั้น จะต้องกระทำก่อนสิ้นสุดระยะเวลายื่นอุทธรณ์ เว้นแต่กรณีที่มีเหตุสุดวิสัย การที่ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2547 หลังจากที่ครบกำหนดระยะเวลายื่นอุทธรณ์แล้ว จึงเป็นกรณีที่จำเลยมิได้ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ก่อนสิ้นระยะเวลายื่นอุทธรณ์ อีกทั้งเหตุที่จำเลยอ้างขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ก็ไม่ถือว่าเป็นกรณีมีเหตุสุดวิสัยที่จะมีคำขอภายหลังจากที่ครบกำหนดระยะเวลายื่นอุทธรณ์ได้ ศาลชอบที่จะไม่อนุญาตให้ขยายเวลายื่นอุทธรณ์ให้จำเลยได้
การขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ในคดีอาญาตาม ป.พ.พ. มาตรา 23 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 นั้น จะต้องกระทำก่อนสิ้นสุดระยะเวลายื่นอุทธรณ์ เว้นแต่กรณีที่มีเหตุสุดวิสัย การที่ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2547 หลังจากที่ครบกำหนดระยะเวลายื่นอุทธรณ์แล้ว จึงเป็นกรณีที่จำเลยมิได้ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ก่อนสิ้นระยะเวลายื่นอุทธรณ์ อีกทั้งเหตุที่จำเลยอ้างขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ก็ไม่ถือว่าเป็นกรณีมีเหตุสุดวิสัยที่จะมีคำขอภายหลังจากที่ครบกำหนดระยะเวลายื่นอุทธรณ์ได้ ศาลชอบที่จะไม่อนุญาตให้ขยายเวลายื่นอุทธรณ์ให้จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8659/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับระยะเวลาอุทธรณ์คดีอาญา และเหตุสุดวิสัยในการขอขยายระยะเวลา
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาให้จำเลยฟังในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2547 จำเลยต้องยื่นอุทธรณ์ภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 198 วรรคหนึ่ง ซึ่งการนับระยะเวลาเริ่มต้นต้องนับวันรุ่งขึ้นเป็นวันแรกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/3 วรรคสอง โดยเริ่มนับแต่วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2547 ส่วนวันครบกำหนดยื่นอุทธรณ์นั้น ต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/5 เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2547 มิได้เป็นวันต้นแห่งเดือนกำหนดระยะเวลาเป็นเดือนจึงไม่อาจคำนวณตามปีปฏิทินได้ ระยะเวลาสิ้นสุดย่อมเป็นวันที่ 18 มีนาคม 2547 ซึ่งเป็นวันก่อนหน้าจะถึงวันแห่งเดือนสุดท้ายอันเป็นวันตรงกับวันเริ่มระยะเวลา มิใช่ต้องนับระยะเวลาเดือนกุมภาพันธ์ 2547 มีกำหนด 11 วัน และเดือนมีนาคม 2547 มีกำหนด 19 วัน เป็น 30 วัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/6 วรรคหนึ่งและวรรคสาม เนื่องจากบทบัญญัติดังกล่าวเป็นการนับระยะเวลาที่กำหนดเป็นเดือนและวัน หรือกำหนดเป็นเดือนและส่วนของเดือน มิได้กำหนดระยะเวลาเป็นเดือน
การขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ในคดีอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 นั้น จะต้องกระทำก่อนสิ้นสุดระยะเวลายื่นอุทธรณ์ เว้นแต่กรณีที่มีเหตุสุดวิสัย ส่วนคำว่า "เหตุสุดวิสัย" ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 หมายถึง เหตุที่ทำให้ศาลไม่สามารถมีคำสั่งให้ขยายระยะเวลาหรือคู่ความไม่สามารถมีคำขอเช่นนั้นขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายให้ดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งได้ ซึ่งเป็นพฤติการณ์นอกเหนือที่จะกระทำได้ก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้
เหตุที่จำเลยอ้างขอขยายระยะเวลาเนื่องจากจำเลยไม่สามารถตรวจพยานหลักฐานคำคู่ความซึ่งมีจำนวนมากและพยานหลักฐานอื่นของฝ่ายโจทก์ จำเลยเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหงและอยู่ระหว่างสอบประจำภาคที่กรุงเทพมหานคร ทนายจำเลยไม่สามารถพบจำเลยและสอบถามรายละเอียดได้ทันระยะเวลายื่นอุทธรณ์ กับทนายจำเลยมีภาระต้องดำเนินคดีต่อเนื่องอีกหลายคดีนั้น เมื่อคดีนี้มิได้มีถ้อยคำสำนวนมากเป็นพิเศษ ทั้งมิได้มีปัญหายุ่งยากสลับซับซ้อนจนทนายจำเลยไม่อาจตรวจหรือทำคำฟ้องอุทธรณ์ได้ทัน หรือต้องสอบถามข้อเท็จจริงจากจำเลยอีก จึงไม่ถือว่าเป็นกรณีมีเหตุสุดวิสัยที่จะมีคำขอภายหลังจากที่ครบกำหนดระยะเวลายื่นอุทธรณ์
การขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ในคดีอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 นั้น จะต้องกระทำก่อนสิ้นสุดระยะเวลายื่นอุทธรณ์ เว้นแต่กรณีที่มีเหตุสุดวิสัย ส่วนคำว่า "เหตุสุดวิสัย" ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 หมายถึง เหตุที่ทำให้ศาลไม่สามารถมีคำสั่งให้ขยายระยะเวลาหรือคู่ความไม่สามารถมีคำขอเช่นนั้นขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายให้ดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งได้ ซึ่งเป็นพฤติการณ์นอกเหนือที่จะกระทำได้ก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้
เหตุที่จำเลยอ้างขอขยายระยะเวลาเนื่องจากจำเลยไม่สามารถตรวจพยานหลักฐานคำคู่ความซึ่งมีจำนวนมากและพยานหลักฐานอื่นของฝ่ายโจทก์ จำเลยเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหงและอยู่ระหว่างสอบประจำภาคที่กรุงเทพมหานคร ทนายจำเลยไม่สามารถพบจำเลยและสอบถามรายละเอียดได้ทันระยะเวลายื่นอุทธรณ์ กับทนายจำเลยมีภาระต้องดำเนินคดีต่อเนื่องอีกหลายคดีนั้น เมื่อคดีนี้มิได้มีถ้อยคำสำนวนมากเป็นพิเศษ ทั้งมิได้มีปัญหายุ่งยากสลับซับซ้อนจนทนายจำเลยไม่อาจตรวจหรือทำคำฟ้องอุทธรณ์ได้ทัน หรือต้องสอบถามข้อเท็จจริงจากจำเลยอีก จึงไม่ถือว่าเป็นกรณีมีเหตุสุดวิสัยที่จะมีคำขอภายหลังจากที่ครบกำหนดระยะเวลายื่นอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7786/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปิดคดีล้มละลายหลังปิดคดี: การพิจารณาหลักฐานและการไม่ขัดต่อเงื่อนไขระยะเวลา
ฎีกาของจำเลยที่ว่า ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 7 มีคำสั่งและคำพิพากษาให้เปิดคดีโดยมิได้มีการไต่สวนพยานตามคำร้องของโจทก์เสียก่อนเป็นกระบวนการพิจารณาไม่ชอบและคำสั่งให้เปิดคดีล่วงเลยกำหนด 10 ปี นับแต่ศาลสั่งให้ปิดคดี จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น แม้จำเลยจะเพิ่งยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นฎีกา แต่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาจึงยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคสอง ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153 (เดิม)
โจทก์ยื่นคำร้องฉบับลงวันที่ 20 สิงหาคม 2547 ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ว่าจำเลยมีทรัพย์สินขึ้นใหม่ ขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานศาลเพื่อมีคำสั่งเปิดคดี เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งว่า พยานหลักฐานยังไม่เพียงพอที่จะแสดงว่าทรัพย์สินเป็นของจำเลย ต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องฉบับลงวันที่ 31 สิงหาคม 2547 พร้อมแสดงหลักฐานเพิ่มเติม เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทำความเห็นเสนอต่อผู้บังคับบัญชาโดยเห็นว่าควรรายงานศาลให้มีคำสั่งเปิดคดีโดยท้ายหนังสือดังกล่าวได้แนบสำเนาคำร้องของโจทก์ สำเนาบิลเงินสดและความเห็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มาด้วยจึงเป็นการเพียงพอที่ศาลชั้นต้นจะพิจารณาว่ามีเหตุสมควรอนุญาตให้เปิดคดีแล้วหรือไม่ ไม่จำเป็นต้องไต่สวนพยานตามคำร้องของโจทก์ก่อน
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 135 (4) มีความหมายว่า เมื่อมีเหตุตามที่กฎหมายกำหนดไว้แล้วให้ผู้มีส่วนได้เสียหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำขอและศาลมีอำนาจสั่งยกเลิกการล้มละลายของจำเลยได้ แต่เมื่อศาลยังไม่ได้มีคำสั่งให้ยกเลิกการล้มละลาย จำเลยก็ยังเป็นบุคคลล้มละลาย และคำสั่งให้ปิดคดีก็มีผลตามมาตรา 134 เพียงให้ระงับการจัดการต่างๆ ไว้ไม่ทำให้คดีล้มละลายสิ้นสุด ทรัพย์สินที่จำเลยได้มาก่อนจำเลยจะพ้นจากภาวะการล้มละลายย่อมเป็นทรัพย์สินในคดีล้มละลายที่อาจแบ่งแก่เจ้าหนี้ได้ตามมาตรา 109 ซึ่งจำเลยมีหน้าที่จะต้องส่งมอบให้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจนำไปแบ่งให้แก่เจ้าหนี้ของจำเลยต่อไป กรณีมิใช่เป็นการจัดการทรัพย์ของจำเลยภายหลังที่จำเลยพ้นจากการล้มละลายแล้ว คำสั่งให้เปิดคดีจึงไม่ขัดต่อกฎหมาย
โจทก์ยื่นคำร้องฉบับลงวันที่ 20 สิงหาคม 2547 ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ว่าจำเลยมีทรัพย์สินขึ้นใหม่ ขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานศาลเพื่อมีคำสั่งเปิดคดี เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งว่า พยานหลักฐานยังไม่เพียงพอที่จะแสดงว่าทรัพย์สินเป็นของจำเลย ต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องฉบับลงวันที่ 31 สิงหาคม 2547 พร้อมแสดงหลักฐานเพิ่มเติม เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทำความเห็นเสนอต่อผู้บังคับบัญชาโดยเห็นว่าควรรายงานศาลให้มีคำสั่งเปิดคดีโดยท้ายหนังสือดังกล่าวได้แนบสำเนาคำร้องของโจทก์ สำเนาบิลเงินสดและความเห็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มาด้วยจึงเป็นการเพียงพอที่ศาลชั้นต้นจะพิจารณาว่ามีเหตุสมควรอนุญาตให้เปิดคดีแล้วหรือไม่ ไม่จำเป็นต้องไต่สวนพยานตามคำร้องของโจทก์ก่อน
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 135 (4) มีความหมายว่า เมื่อมีเหตุตามที่กฎหมายกำหนดไว้แล้วให้ผู้มีส่วนได้เสียหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำขอและศาลมีอำนาจสั่งยกเลิกการล้มละลายของจำเลยได้ แต่เมื่อศาลยังไม่ได้มีคำสั่งให้ยกเลิกการล้มละลาย จำเลยก็ยังเป็นบุคคลล้มละลาย และคำสั่งให้ปิดคดีก็มีผลตามมาตรา 134 เพียงให้ระงับการจัดการต่างๆ ไว้ไม่ทำให้คดีล้มละลายสิ้นสุด ทรัพย์สินที่จำเลยได้มาก่อนจำเลยจะพ้นจากภาวะการล้มละลายย่อมเป็นทรัพย์สินในคดีล้มละลายที่อาจแบ่งแก่เจ้าหนี้ได้ตามมาตรา 109 ซึ่งจำเลยมีหน้าที่จะต้องส่งมอบให้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจนำไปแบ่งให้แก่เจ้าหนี้ของจำเลยต่อไป กรณีมิใช่เป็นการจัดการทรัพย์ของจำเลยภายหลังที่จำเลยพ้นจากการล้มละลายแล้ว คำสั่งให้เปิดคดีจึงไม่ขัดต่อกฎหมาย