พบผลลัพธ์ทั้งหมด 213 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7043-7047/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างที่เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้อง การกระทำผิดระเบียบ และการเปลี่ยนแปลงเวลาจ่ายค่าจ้าง
ผู้คัดค้านทั้งห้าเป็นกรรมการลูกจ้าง เหตุคดีนี้เกิดในระหว่างข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับอยู่ ผู้คัดค้านทั้งห้าและพนักงานกว่า 300 คน ได้นัดหมายกันไม่ยอมรับค่าจ้างในช่วงพักเที่ยงและพร้อมใจกันผละงานไปพบ จ. ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายธุรการของผู้ร้องเพื่อขอให้จ่ายค่าจ้างในเวลา 15 นาฬิกา เป็นการวางแผนตระเตรียมกันมาก่อน โดยมีผู้คัดค้านทั้งห้าซึ่งเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงของสหภาพแรงงานเป็นผู้นำการเคลื่อนไหว เมื่อ จ. ปฏิเสธไม่ยอมปฏิบัติตาม ข้อเรียกร้องทุกข้อแล้ว ผู้คัดค้านทั้งห้ากับพวกไม่พอใจโดยผู้คัดค้านที่ 1 ได้กล่าวสบประมาทการบริหารงานของผู้ร้องและหมิ่นประมาท จ. จากนั้นผู้คัดค้านทั้งห้ากับพวกได้รวมตัวไม่ยอมกลับเข้าทำงานและเรียกร้องให้พนักงานที่ไม่ได้เข้าร่วมให้หยุดงานด้วยโดยมีการข่มขู่ ด่าว่าและจดชื่อพนักงานที่ยอมรับค่าจ้างในช่วงพักเที่ยงและไม่เข้าร่วมในการหยุดงานในวันเกิดเหตุ การกระทำของผู้คัดค้านทั้งห้าเป็นการจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย ทั้งยังเป็นการฝ่าฝืน ระเบียบข้อบังคับการทำงานของผู้ร้อง อันเป็นกรณีร้ายแรงด้วย แม้ผู้คัดค้านทั้งห้าจะเป็นกรรมการลูกจ้างและอยู่ ในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับอยู่ก็ตาม ผู้ร้องย่อมชอบที่จะขออนุญาตศาลแรงงานเพื่อเลิกจ้าง ผู้คัดค้านทั้งห้าได้ตามบทบัญญัติดังกล่าว
เดิมผู้ร้องกำหนดจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างระหว่างเวลา 15 - 17 นาฬิกา เมื่อผู้ร้องปิดงานและต่อมาเมื่อผู้ร้องเปิดงานอีกครั้ง เมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างครั้งแรกผู้ร้องกำหนดจ่ายค่าจ้างระหว่างเวลา 12 - 13 นาฬิกา ผู้คัดค้านทั้งห้าและพนักงานอื่นต่างรับค่าจ้างไปจากผู้ร้อง เมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างครั้งที่สอง ผู้ร้องยังคงกำหนดจ่ายค่าจ้างระหว่างเวลา 12 - 13 นาฬิกา การกระทำดังกล่าวของผู้ร้องถือได้ว่าผู้ร้องซึ่งเป็นนายจ้างกระทำผิดข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างขึ้นก่อนจนเป็นเหตุให้ผู้คัดค้านทั้งห้ากระทำการตามคำร้องของผู้ร้องจึงมีเหตุอันควรปรานี ยังไม่สมควรอนุญาตให้ผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้านทั้งห้า แต่การกระทำของผู้คัดค้านทั้งห้าเป็นการกระทำผิดฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับการทำงาน ของผู้ร้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรลดอัตราค่าจ้างร้อยละ 10 ของอัตราค่าจ้างผู้คัดค้านทั้งห้ารวม 6 เดือน
เดิมผู้ร้องกำหนดจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างระหว่างเวลา 15 - 17 นาฬิกา เมื่อผู้ร้องปิดงานและต่อมาเมื่อผู้ร้องเปิดงานอีกครั้ง เมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างครั้งแรกผู้ร้องกำหนดจ่ายค่าจ้างระหว่างเวลา 12 - 13 นาฬิกา ผู้คัดค้านทั้งห้าและพนักงานอื่นต่างรับค่าจ้างไปจากผู้ร้อง เมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างครั้งที่สอง ผู้ร้องยังคงกำหนดจ่ายค่าจ้างระหว่างเวลา 12 - 13 นาฬิกา การกระทำดังกล่าวของผู้ร้องถือได้ว่าผู้ร้องซึ่งเป็นนายจ้างกระทำผิดข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างขึ้นก่อนจนเป็นเหตุให้ผู้คัดค้านทั้งห้ากระทำการตามคำร้องของผู้ร้องจึงมีเหตุอันควรปรานี ยังไม่สมควรอนุญาตให้ผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้านทั้งห้า แต่การกระทำของผู้คัดค้านทั้งห้าเป็นการกระทำผิดฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับการทำงาน ของผู้ร้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรลดอัตราค่าจ้างร้อยละ 10 ของอัตราค่าจ้างผู้คัดค้านทั้งห้ารวม 6 เดือน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อวัสดุก่อสร้างโดยมิได้ทำตามระเบียบพัสดุ ทำให้จำเลยไม่ต้องรับผิดชอบหนี้
แม้พันตำรวจเอก ผ. นายกเทศมนตรีจะสั่งซื้อวัสดุก่อสร้างโดยเขียนข้อความลงในนามบัตรของตนแล้วมอบให้ ว. ไปติดต่อสั่งซื้อจากโจทก์ก็ตามแต่การซื้อโดยวิธีพิเศษนี้ ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2535 ข้อ 17,20 และ 22 กำหนดให้เจ้าหน้าที่พัสดุต้องจัดทำรายงานเสนอนายกเทศมนตรีผู้มีอำนาจสั่งซื้อถึงเหตุผลและความจำเป็นที่ต้องซื้อ รายละเอียดของพัสดุที่จะซื้อ ราคามาตรฐานหรือราคากลางของทางราชการ หรือราคาที่เคยซื้อหลังสุดภายในเวลา 2 ปีงบประมาณวงเงินที่จะซื้อ กำหนดเวลาที่ต้องการใช้พัสดุนั้น วิธีที่จะซื้อและเหตุผลที่ต้องซื้อโดยวิธีนั้น รวมทั้งการขออนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จำเป็นในการซื้อเพื่อในนายกเทศมนตรีอนุมัติก่อน แต่ปรากฏว่าโจทก์ส่งวัสดุก่อสร้างให้จำเลยทันทีทั้งที่เจ้าหน้าที่พัสดุยังไม่ได้ทำรายงานเสนอนายกเทศมนตรี เมื่อนายกเทศมนตรียังมิได้ให้ความเห็นชอบในรายงานดังกล่าว แสดงว่าจำเลยยังไม่ได้ตกลงซื้อวัสดุก่อสร้างจากโจทก์ด้วยวิธีพิเศษ การที่โจทก์ส่งวัสดุก่อสร้างให้แก่จำเลยจึงเป็นการกระทำโดยพลการของโจทก์แต่เพียงฝ่ายเดียว โดยจำเลยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยจึงไม่มีผลผูกพันจำเลยให้ต้องรับผิดชำระหนี้ให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1951-1953/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม การพิจารณาความร้ายแรงของการกระทำผิดต้องเป็นไปตามระเบียบที่กำหนด
ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานตามวินัยและมาตรการลงโทษของจำเลยระบุว่า การฝ่าฝืนระเบียบวินัยและข้อบังคับที่จำเลยถือว่าเป็นกรณีร้ายแรงซึ่งจำเลยมีสิทธิเลิกจ้างได้ทันทีโดยไม่ต้องตักเตือนเป็นหนังสือก่อนนั้นมีอยู่ 5 ข้อ ส่วนการนำสุราหรือเครื่องดองของเมาหรือยาเสพติดให้โทษอันเป็นของต้องห้ามตามกฎหมายทุกชนิด เข้ามาในสถานที่ทำการของจำเลยหรือบริเวณโรงงาน หรือดื่มสุราหรือเครื่องดองขอเมาในสถานที่ดังกล่าวหรือในเวลาทำงาน หรือยาเสพติดให้โทษอันเป็นของต้องห้ามตามกฎหมาย หรือเข้าไปในสถานที่ดังกล่าวในสภาพที่มึนเมาหรือปฏิบัติงานในสภาพที่มึนเมานั้นได้ระบุไว้ว่า พนักงานผู้ใดฝ่าฝืนถือว่าเป็นการกระทำผิดระเบียบวินัยและข้อบังคับของจำเลยเท่านั้น หาได้เป็นการกระทำผิดระเบียบวินัยและข้อบังคับเป็นกรณีร้ายแรงไม่ ดังนี้การที่โจทก์ดื่มเบียร์ที่นอกโรงงานในขณะที่เป็นเวลาพักเที่ยงเพียง 1 ขวด ไม่มีการมึนเมาขณะไปปฏิบัติงาน กรณีจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์กระทำการฝ่าฝืนระเบียบวินัยและข้อบังคับของจำเลยเป็นกรณีร้ายแรง
เมื่อจำเลยมีระเบียบวินัยและข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานระบุไว้โดยชัดแจ้งแล้วว่ากรณีใดบ้างที่พนักงานกระทำผิดถือว่าเป็นการกระทำผิดระเบียบวินัยและข้อบังคับหรือเป็นการฝ่าฝืนระเบียบวินัยและข้อบังคับเป็นกรณีร้ายแรง จึงต้องถือปฏิบัติไปตามนั้น ส่วนการที่ระเบียบดังกล่าวระบุว่าจำเลยสงวนสิทธิในการพิจารณาเพิ่มโทษหรือลดโทษจากที่กำหนดตามความเหมาะสมหรือความร้ายแรงของการกระทำผิดโดยให้อยู่ในดุลพินิจของจำเลยแต่ฝ่ายเดียวนั้น ต้องถือว่าเป็นกรณีสงวนสิทธิในการพิจารณาเพิ่มโทษหรือลดโทษที่จะลงแก่ผู้ที่กระทำผิดระเบียบวินัยและข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเท่านั้น มิใช่การสงวนสิทธิที่จะพิจารณาว่าการกระทำผิดใดร้ายแรงหรือไม่ร้ายแรงนอกเหนือหรือแตกต่างไปจากที่กำหนดไว้
เมื่อจำเลยมีระเบียบวินัยและข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานระบุไว้โดยชัดแจ้งแล้วว่ากรณีใดบ้างที่พนักงานกระทำผิดถือว่าเป็นการกระทำผิดระเบียบวินัยและข้อบังคับหรือเป็นการฝ่าฝืนระเบียบวินัยและข้อบังคับเป็นกรณีร้ายแรง จึงต้องถือปฏิบัติไปตามนั้น ส่วนการที่ระเบียบดังกล่าวระบุว่าจำเลยสงวนสิทธิในการพิจารณาเพิ่มโทษหรือลดโทษจากที่กำหนดตามความเหมาะสมหรือความร้ายแรงของการกระทำผิดโดยให้อยู่ในดุลพินิจของจำเลยแต่ฝ่ายเดียวนั้น ต้องถือว่าเป็นกรณีสงวนสิทธิในการพิจารณาเพิ่มโทษหรือลดโทษที่จะลงแก่ผู้ที่กระทำผิดระเบียบวินัยและข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเท่านั้น มิใช่การสงวนสิทธิที่จะพิจารณาว่าการกระทำผิดใดร้ายแรงหรือไม่ร้ายแรงนอกเหนือหรือแตกต่างไปจากที่กำหนดไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1395/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อบกพร่องคำฟ้องคดีอาญา: จำเป็นต้องแนบระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการพิจารณาคำขอเงินบำเหน็จ
ตามบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.การประมง พ.ศ.2490 มาตรา 71การที่ศาลจะสั่งให้จำเลยจ่ายเงินบำเหน็จจำต้องพิจารณาจากระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนดขึ้นระเบียบดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริง รัฐมนตรีได้ออกระเบียบไว้หรือไม่ มีเงื่อนไขการจ่ายเงินบำเหน็จไว้อย่างไร จึงเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์ต้องบรรยายฟ้องมาให้ศาลทราบหรือแนบระเบียบดังกล่าวมาด้วย เพื่อที่ศาลจะได้พิพากษาให้จำเลยจ่ายเงินบำเหน็จโดยถูกต้อง เมื่อโจทก์มิได้แนบระเบียบดังกล่าวมาให้ศาลทราบ ศาลจึงไม่อาจที่จะพิพากษาให้จำเลยจ่ายเงินบำเหน็จได้ ทั้งนี้เนื่องจากการที่ศาลจะพิพากษาให้จำเลยจ่ายบำเหน็จเป็นเรื่องสำคัญมีผลเท่ากับลงโทษทางอาญาแก่จำเลย เพราะหากจำเลยไม่จ่ายเงินบำเหน็จแล้ว บทบัญญัติมาตรานี้ให้บังคับชำระเช่นเดียวกับการบังคับชำระค่าปรับในคดีอาญาโจทก์จึงต้องบรรยายฟ้องหรือแนบระเบียบดังกล่าวมาให้ศาลทราบระเบียบดังกล่าวคือข้อเท็จจริงอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเท่าที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาได้ดี ตามมาตรา 19 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงพ.ศ.2499 ปัญหาเรื่องข้อบกพร่องของคำฟ้องเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยศาลย่อมยกขึ้นมาพิพากษาให้เป็นประโยชน์แก่จำเลยได้ ดังนี้ การที่ศาลยกเรื่องการจ่ายเงินบำเหน็จขึ้นมาพิพากษา จึงมิใช่เป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1395/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องคดีอาญาต้องระบุข้อเท็จจริงตามกฎหมายอย่างครบถ้วน โดยเฉพาะระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการจ่ายเงินบำเหน็จ
ตามบทบัญญัติพระราชบัญญัติการประมงฯ มาตรา 71 บัญญัติ ให้ผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ต้องจ่ายเงินบำเหน็จ แก่ผู้นำจับตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด การที่ศาลจะสั่งให้ จำเลยจ่ายเงินบำเหน็จจำต้องพิจารณาจากระเบียบที่ รัฐมนตรีกำหนดขึ้นและระเบียบดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์ต้องบรรยายมาให้ศาลทราบหรือแนบระเบียบดังกล่าวมาด้วย เพื่อที่ศาลจะได้พิพากษาให้จำเลยจ่ายเงินบำเหน็จโดยถูกต้อง เมื่อโจทก์มิได้แนบระเบียบดังกล่าวมา ศาลจึงไม่อาจพิพากษา ให้จำเลยจ่ายเงินบำเหน็จได้ ทั้งนี้เนื่องจากการที่ศาลจะ พิพากษาให้จำเลยจ่ายบำเหน็จเป็นเรื่องสำคัญมีผลเท่ากับลงโทษ ทางอาญาแก่จำเลยและระเบียบดังกล่าวคือข้อเท็จจริงอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเท่าที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาได้ดีตามมาตรา 19แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 การที่ศาลอุทธรณ์ยกเรื่องการจ่ายเงินบำเหน็จตาม พระราชบัญญัติการประมงฯ มาตรา 71 ขึ้นมาพิพากษามิใช่ เป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง หากแต่ เป็นการยกเรื่องข้อบกพร่องของคำฟ้องซึ่งเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วย ความสงบเรียบร้อยมาพิพากษาให้เป็นประโยชน์แก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6260/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาวางค่าธรรมเนียมศาลและการรับอุทธรณ์ กรณีหน่วยงานราชการมีขั้นตอนการเบิกจ่ายเงินตามระเบียบ
แม้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 149 และมาตรา 229 บัญญัติให้จำเลยผู้อุทธรณ์ต้องนำค่าธรรมเนียมศาลที่จะต้องเสียในการอุทธรณ์ และค่าธรรมเนียมที่จะต้องชำระให้แก่อีกฝ่ายหนึ่ง รวมทั้งค่าทนายความที่ศาลสั่ง มาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ก็ตาม แต่หากมีพฤติการณ์พิเศษจำเลยทั้งสองย่อมยื่นคำร้องขอต่อศาลให้ขยายระยะเวลาดังกล่าวออกไปได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 วันที่จำเลยยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้น พร้อมกับยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าฤชาธรรมเนียมและค่าขึ้นศาล และวันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงินค่าฤชาธรรมเนียมและค่าขึ้นศาล และสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย พร้อมกันไปในวันเดียวกัน ล้วนยังอยู่ในระยะเวลาอุทธรณ์ และยังไม่ครบกำหนดอุทธรณ์ในวันที่ 7 มีนาคม 2540 ตามที่ศาลชั้นต้นได้อนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ไว้ เหตุนี้แม้ศาลชั้นต้นเห็นว่าการเบิกจ่ายเงินค่าฤชาธรรมเนียมชักช้าเนื่องมาจากความบกพร่องในวิธีการเบิกจ่ายเงินที่มีขั้นตอนไม่เหมาะสมและไม่ใช่พฤติการณ์พิเศษที่จะขอขยายระยะเวลาได้ก็ตามแต่ย่อมแสดงให้เห็นได้อยู่ในตัวเช่นกันว่าจำเลยมิได้จงใจ ที่จะฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ไม่นำเงินค่าธรรมเนียมศาลและค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางในวันยื่นอุทธรณ์ประกอบกับยังไม่พ้นกำหนดระยะเวลา อุทธรณ์ดังกล่าวเช่นนี้ เมื่อปรากฏว่าอุทธรณ์ของจำเลยที่ยื่นไว้ยังมิได้ชำระหรือวางค่าธรรมเนียมศาลและค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยถูกต้องครบถ้วน ศาลชั้นต้นก็ควรให้โอกาสแก่จำเลยชำระหรือวางเงิน ดังกล่าวให้ถูกต้องครบถ้วนภายในระยะเวลาอุทธรณ์ซึ่งยังจะก่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่จำเลยที่มิได้จงใจที่จะไม่ชำระหรือวางค่าธรรมเนียมศาลและค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นการที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยเสียทีเดียวและศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนโดยมิได้ให้โอกาสจำเลยก่อนนั้นเมื่อศาลฎีกาเห็นว่าในวันที่ 17 มีนาคม 2540 จำเลยได้นำเงินค่าธรรมเนียมศาลในชั้นอุทธรณ์จำนวน 200,000 บาท และค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางต่อศาลชั้นต้นจนครบถ้วนแล้วศาลฎีกาย่อมพิพากษายกคำสั่งของศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์และให้ศาลชั้นต้นรับค่าธรรมเนียมศาล ในชั้นอุทธรณ์ที่จำเลยนำมาวาง กับให้รับอุทธรณ์ของจำเลย และให้ศาลชั้นต้นดำเนินการต่อไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5943/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำทุจริตต่อหน้าที่ของลูกจ้างและฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของนายจ้าง
โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างไม่ออกไปปฏิบัติหน้าที่ แต่รู้เห็นยินยอมให้อ.ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกนำอุปกรณ์ของจำเลยผู้เป็นนายจ้างออกไปทำหน้าที่ผู้จัดการประจำเขตการขายที่โจทก์เป็นผู้ดำรงตำแหน่งอยู่ และการเป็นผู้จัดการประจำเขตเป็นคุณสมบัติเฉพาะบุคคลซึ่งผ่านการคัดเลือกจากจำเลย หาใช่มอบหมายให้บุคคลภายนอกซึ่งไม่ผ่านการคัดเลือกมาทำการแทนได้ไม่ การที่โจทก์ไม่ออกไปปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว แต่รับเงินค่าจ้างทุกเดือนย่อมเป็นการแสวงหาประโยชน์อันมิควรได้โดยชอบเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ โจทก์จะอ้างว่าเป็นลูกจ้างรายเดือนวันที่ไม่ทำงานยังมีสิทธิได้ค่าจ้างจึงไม่เป็นการทุจริตหาได้ไม่ เพราะลูกจ้างจะได้ค่าจ้างในวันที่ไม่ทำงานต้องเป็นกรณีลาหยุดงานโดยชอบหรือเป็นกรณีอื่นที่กฎหมายบัญญัติให้ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าจ้าง
แม้ตามระเบียบข้อบังคับการทำงานของจำเลยไม่ได้ระบุว่าการกระทำใดเป็นความผิด และมีเพียงบทลงโทษการที่โจทก์ไม่ออกไปทำงานก็ตามแต่เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างจำเลย มีตำแหน่งผู้จัดการประจำเขตการขายรับผิดชอบงานขาย และจำเลยได้มีหนังสือส่งถึงโจทก์โดยตรง กล่าวย้ำถึงหน้าที่ความรับผิดชอบในตำแหน่งของโจทก์ ซึ่งลักษณะงานต้องติดต่อกับสาวเอวอนตลอดเวลา และหนังสือดังกล่าวมีรายละเอียดระบุชัดว่า รถยนต์ที่บริษัทจำเลยจัดหาให้โจทก์ จำเลยไม่อนุญาตให้บุคคลอื่นที่ไม่ใช่ผู้จัดการประจำเขตนำไปใช้เด็ดขาด การที่โจทก์มีหน้าที่รับผิดชอบต้องติดต่อสาวเอวอนตลอดเวลา แต่โจทก์ละเลยต่อหน้าที่ ไม่ออกปฏิบัติงาน โดยรู้เห็นยินยอมให้ผู้อื่นออกแสดงเป็นผู้จัดการประจำเขต ถือได้ว่าโจทก์ฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับการทำงานอยู่ในตัว และที่โจทก์รู้เห็นยินยอมให้ อ.ซึ่งไม่ใช่พนักงานของจำเลย นำรถยนต์ประจำตำแหน่งของจำเลยไปใช้ย่อมเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของจำเลยโดยแจ้งชัด และนอกจากนี้การที่โจทก์รู้เห็นยินยอมให้ อ.เรียกเก็บค่าสมัครสาวเอวอนโดยไม่มีสิทธิ แอบอ้างชื่อสาวเอวอนสั่งสินค้าจากจำเลยแล้วไม่ชำระค่าสินค้า ทำให้จำเลยเสียชื่อเสียงเกียรติคุณ และเสียทางทำมาหาได้ ถือได้ว่าโจทก์รู้เห็นยินยอมในการก่อความเสียหายดังกล่าวให้จำเลย จึงเป็นการฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับการทำงานเป็นกรณีร้ายแรง
ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า ศาลแรงงานฟังว่าโจทก์ยินยอมให้ อ.นำอุปกรณ์ไปรับสมัครสาวเอวอน เก็บค่าสมัคร แอบอ้างชื่อสาวเอวอนสั่งสินค้านำหลักฐานของผู้อื่นไปแอบอ้างสมัคร ทำให้จำเลยเสียหาย เป็นการฟังข้อเท็จจริงนอกสำนวน เมื่อไม่ปรากฏว่ามีการรับฟังข้อเท็จจริงนอกสำนวนดังที่โจทก์ยกขึ้นกล่าวอ้าง อุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
แม้ตามระเบียบข้อบังคับการทำงานของจำเลยไม่ได้ระบุว่าการกระทำใดเป็นความผิด และมีเพียงบทลงโทษการที่โจทก์ไม่ออกไปทำงานก็ตามแต่เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างจำเลย มีตำแหน่งผู้จัดการประจำเขตการขายรับผิดชอบงานขาย และจำเลยได้มีหนังสือส่งถึงโจทก์โดยตรง กล่าวย้ำถึงหน้าที่ความรับผิดชอบในตำแหน่งของโจทก์ ซึ่งลักษณะงานต้องติดต่อกับสาวเอวอนตลอดเวลา และหนังสือดังกล่าวมีรายละเอียดระบุชัดว่า รถยนต์ที่บริษัทจำเลยจัดหาให้โจทก์ จำเลยไม่อนุญาตให้บุคคลอื่นที่ไม่ใช่ผู้จัดการประจำเขตนำไปใช้เด็ดขาด การที่โจทก์มีหน้าที่รับผิดชอบต้องติดต่อสาวเอวอนตลอดเวลา แต่โจทก์ละเลยต่อหน้าที่ ไม่ออกปฏิบัติงาน โดยรู้เห็นยินยอมให้ผู้อื่นออกแสดงเป็นผู้จัดการประจำเขต ถือได้ว่าโจทก์ฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับการทำงานอยู่ในตัว และที่โจทก์รู้เห็นยินยอมให้ อ.ซึ่งไม่ใช่พนักงานของจำเลย นำรถยนต์ประจำตำแหน่งของจำเลยไปใช้ย่อมเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของจำเลยโดยแจ้งชัด และนอกจากนี้การที่โจทก์รู้เห็นยินยอมให้ อ.เรียกเก็บค่าสมัครสาวเอวอนโดยไม่มีสิทธิ แอบอ้างชื่อสาวเอวอนสั่งสินค้าจากจำเลยแล้วไม่ชำระค่าสินค้า ทำให้จำเลยเสียชื่อเสียงเกียรติคุณ และเสียทางทำมาหาได้ ถือได้ว่าโจทก์รู้เห็นยินยอมในการก่อความเสียหายดังกล่าวให้จำเลย จึงเป็นการฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับการทำงานเป็นกรณีร้ายแรง
ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า ศาลแรงงานฟังว่าโจทก์ยินยอมให้ อ.นำอุปกรณ์ไปรับสมัครสาวเอวอน เก็บค่าสมัคร แอบอ้างชื่อสาวเอวอนสั่งสินค้านำหลักฐานของผู้อื่นไปแอบอ้างสมัคร ทำให้จำเลยเสียหาย เป็นการฟังข้อเท็จจริงนอกสำนวน เมื่อไม่ปรากฏว่ามีการรับฟังข้อเท็จจริงนอกสำนวนดังที่โจทก์ยกขึ้นกล่าวอ้าง อุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 358/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อหนี้ผูกพันตาม พ.ร.บ.งบประมาณ: การแก้ไขใบส่งของไม่ถือเป็นการก่อหนี้ใหม่ หากการก่อหนี้เดิมชอบด้วยระเบียบ
การซื้อพัสดุอุปกรณ์พิพาท จำเลยได้กระทำก่อนสิ้นปีงบประมาณ2530 โดยจำเลยได้ขอเบิกเงินจากโจทก์ กองคลังของโจทก์เห็นว่าเงินงบประมาณในหมวดเงินตอบแทนใช้สอยและวัสดุไม่มีแล้ว จึงแนะนำให้จำเลยเบิกจากเงินบำรุงการศึกษา แต่จำเลยไม่กระทำ กลับไปให้ผู้ขายแก้ไขใบส่งของและสำเนาใบส่งของเป็นว่า จำเลยที่ 1 ได้สั่งซื้อพัสดุ 42 ครั้ง ในปีงบประมาณ 2531 แล้วจำเลยนำพัสดุจัดซื้อมาดังกล่าวนำไปใช้ในหน่วยราชการของโจทก์ครบถ้วน เมื่อตาม พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ.2502 มาตรา 23 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ยกเว้นกรณีที่บัญญัติไว้ในมาตรา 23 ตรี ว่า ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจจะจ่ายเงินหรือก่อหนี้ผูกพันได้แต่เฉพาะตามที่ได้กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี หรือ พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม หรือตามอำนาจที่มีอยู่ตามกฎหมายอื่น และห้ามมิให้จ่ายเงินหรือก่อหนี้ผูกพันตาม พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีหรือ พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม จนกว่าจะได้รับอนุมัติเงินประจำงวดแล้ว ส่วนมาตรา 26 บัญญัติให้ข้าราชการหรือลูกจ้างผู้ใดของส่วนราชการ กระทำการก่อหนี้ผูกพันหรือจ่ายเงิน หรือโดยรู้อยู่แล้วยินยอมอนุญาตให้กระทำการดังกล่าวนั้นโดยฝ่าฝืนพ.ร.บ.นี้ หรือระเบียบหรือข้อบังคับที่ได้ออกตามความใน พ.ร.บ.นี้ นอกจากความรับผิดทางอาญาซึ่งอาจได้รับตามกฎหมายอื่นแล้ว ผู้กระทำหรือผู้ยินยอมอนุญาตให้กระทำดังกล่าว จะต้องรับผิดชดใช้จำนวนเงินที่ส่วนราชการได้จ่ายไป หรือต้องผูกพันจะต้องจ่ายตลอดจนค่าสินไหมทดแทนใด ๆ ให้แก่ส่วนราชการนั้น ดังนี้ การที่จำเลยที่ 1 ได้ทำการขออนุมัติจัดซื้อพัสดุครุภัณฑ์ในคดีนี้โดยชอบด้วยระเบียบของทางราชการโจทก์ในปีงบประมาณ 2530 และโจทก์ได้ใช้ประโยชน์จากพัสดุครุภัณฑ์ที่จำเลยจัดซื้อครบถ้วนแล้ว และการที่จำเลยจัดซื้อพัสดุรุภัณฑ์ที่พิพาทตามระเบียบของโจทก์และเสนอขอเบิกเงินจากกองคลังของโจทก์ในปีงบประมาณ 2530 โดยจำเลยเข้าใจโดยสุจริตว่าได้มีการกำหนดงบประมาณไว้ใน พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2530 แล้ว และโจทก์ได้รับอนุมัติเงินประจำงวดแล้ว การก่อหนี้ผูกพันของจำเลยจึงเป็นการกระทำโดยชอบ มิได้ฝ่าฝืน พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ.2502 มาตรา 23 และมาตรา 26
จำเลยได้จัดซื้อพัสดุคุรุภัณฑ์ประจำปีงบประมาณ 2530 มาใช้ในทางราชการจากร้านค้าต่าง ๆ แต่จำเลยให้ผู้ขายแก้ไขใบส่งของและสำเนาใบส่งของเป็นว่าจำเลยสั่งซื้อพัสดุครุภัณฑ์ในคดีนี้ในปีงบประมาณ 2531 ไม่เป็นการก่อหนี้ผูกพันขึ้นใหม่แต่อย่างใด เพราะหนี้มีอยู่แต่เดิมแล้ว จำเลยกระทำการดังกล่าวก็เพียงเพื่อประสงค์จะขอเบิกเงินจากงบประมาณปี 2531 ซึ่งเป็นการขัดต่อ พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ.2502 มาตรา 27 แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า จำเลยก่อหนี้ผูกพันไม่ชอบตามมาตรา 26 เท่านั้น มิได้ฟ้องให้จำเลยรับผิดโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า จำเลยจ่ายเงินโดยฝ่าฝืนพ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ.2502 มาตรา 26 เมื่อการกระทำของจำเลยไม่เป็นการก่อหนี้ขึ้นใหม่เพื่อผูกพันงบประมาณปี 2531 และการก่อหนี้ผูกพันงบประมาณปี 2530 ของจำเลยได้กระทำโดยชอบด้วยระเบียบของทางราชการ จำเลยจึงไม่ต้องชดใช้เงินดังกล่าวให้โจทก์ และพัสดุที่จำเลยสั่งซื้อได้นำไปใช้ในส่วนราชการของโจทก์ครบถ้วนแล้ว โจทก์จึงไม่ได้รับความเสียหาย การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 420
จำเลยได้จัดซื้อพัสดุคุรุภัณฑ์ประจำปีงบประมาณ 2530 มาใช้ในทางราชการจากร้านค้าต่าง ๆ แต่จำเลยให้ผู้ขายแก้ไขใบส่งของและสำเนาใบส่งของเป็นว่าจำเลยสั่งซื้อพัสดุครุภัณฑ์ในคดีนี้ในปีงบประมาณ 2531 ไม่เป็นการก่อหนี้ผูกพันขึ้นใหม่แต่อย่างใด เพราะหนี้มีอยู่แต่เดิมแล้ว จำเลยกระทำการดังกล่าวก็เพียงเพื่อประสงค์จะขอเบิกเงินจากงบประมาณปี 2531 ซึ่งเป็นการขัดต่อ พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ.2502 มาตรา 27 แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า จำเลยก่อหนี้ผูกพันไม่ชอบตามมาตรา 26 เท่านั้น มิได้ฟ้องให้จำเลยรับผิดโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า จำเลยจ่ายเงินโดยฝ่าฝืนพ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ.2502 มาตรา 26 เมื่อการกระทำของจำเลยไม่เป็นการก่อหนี้ขึ้นใหม่เพื่อผูกพันงบประมาณปี 2531 และการก่อหนี้ผูกพันงบประมาณปี 2530 ของจำเลยได้กระทำโดยชอบด้วยระเบียบของทางราชการ จำเลยจึงไม่ต้องชดใช้เงินดังกล่าวให้โจทก์ และพัสดุที่จำเลยสั่งซื้อได้นำไปใช้ในส่วนราชการของโจทก์ครบถ้วนแล้ว โจทก์จึงไม่ได้รับความเสียหาย การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 420
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5845/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลักลอบขนย้ายน้ำตาลทรายขาวฝ่าฝืนระเบียบ คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล, การพิสูจน์หลักฐานการขาดบัญชี
แม้การที่น้ำตาลทรายขาดบัญชีไปอาจเกิดจากตรวจนับชั่งน้ำหนัก หรือ การชำรุดของกระสอบก็ตาม แต่ขั้นตอนการ บรรจุเก็บรักษามีพนักงานของโจทก์และของบริษัทอ้อยและน้ำตาลไทยจำกัด ตรวจนับและทำบัญชีบันทึกไว้ และการขนย้ายต้องได้รับอนุญาตจากบริษัทอ้อยและน้ำตาลไทย จำกัด โดยมีพนักงานของโจทก์และของบริษัทอ้อยและน้ำตาลไทย จำกัด ควบคุมตรวจนับตลอดเวลา จึงไม่น่าเชื่อว่าจะมีการคลาดเคลื่อนทางบัญชีมากดังที่โจทก์อ้าง การขาดบัญชีกรณีที่อ้างว่าเอาน้ำตาลทรายขาวธรรมดาไปส่งแก่ลูกค้าแทนน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ ที่มีไม่เพียงพอหรืออ้างว่านำไปบริจาคแก่วัด โรงเรียน หน่วยราชการ และแจกแก่พนักงานโจทก์ในเทศกาล ต่าง ๆ ทำให้ไม่ตรงกับบัญชีก็เป็นกรณีขนย้ายที่ต้องได้รับอนุญาตเช่นกัน เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้รับอนุญาตจึงรับฟังไม่ได้ และการขนย้ายน้ำตาลทรายโดยมิได้รับอนุญาตก็ทำให้น้ำตาลทรายขาดบัญชีอยู่ในตัวโจทก์จะโต้เถียงว่าเป็นคนละกรณีกันหาได้ไม่ การที่ขาดบัญชีไปจึงน่าเชื่อว่ามีการลักลอบขนย้ายน้ำตาลทรายขาวอันเป็นการฝ่าฝืนระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายว่าด้วยเบี้ยปรับฉบับที่ 1 พ.ศ. 2528 ระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายว่าด้วยเบี้ยปรับฉบับที่ 1 พ.ศ. 2528 ออกโดยความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีและประกาศในราชกิจจานุเบกษา ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 มาตรา 17 แล้วเป็นการออกโดยชอบด้วยกฎหมายและมีผลบังคับต่อโจทก์ และเบี้ยปรับตามระเบียบดังกล่าวมิใช่โทษทางอาญา เป็นการกำหนดความรับผิดทางแพ่งสำหรับผู้ฝ่าฝืนระเบียบไม่เป็นการเกินขอบเขตที่พระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527มาตรา 70,71 ให้อำนาจไว้ การที่โจทก์มิได้กล่าวในฟ้องว่าเบี้ยปรับกรณีขนย้ายน้ำตาลทรายโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นความรับผิดทางแพ่งต้องมีสัญญาผูกพันกันจึงจะบังคับได้ เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ตกลงด้วยจึงบังคับโจทก์ไม่ได้นั้นเป็นข้อที่มิได้กล่าวในฟ้องจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาโดยชอบในศาลชั้นต้นต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2321/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานกระทำผิดระเบียบและก่อเหตุทำร้ายร่างกาย นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างโดยไม่ต้องบอกกล่าวและจ่ายค่าชดเชย
ตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยระบุไว้ว่าห้ามเล่นการพนัน ก่อการทะเลาะวิวาท ทำร้ายร่างกาย ลักทรัพย์หรือก่อกวนความสงบสุขหรือก้าวก่ายการปฏิบัติงานของพนักงานอื่น ซึ่งหากคนงานกระทำผิดข้อบังคับดังกล่าว จำเลยเลยมีสิทธิเลิกจ้างโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยได้ การที่โจทก์มิได้เป็นผู้บังคับบัญชาของ อ. ไม่มีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบงานของ อ.และ อ.จะตอบคำถามของโจทก์หรือไม่ก็ได้ เมื่อ อ.ไม่ยอมพูดด้วย โจทก์ก็น่าจะรู้ว่า อ.ไม่ต้องการให้โจทก์ไปรบกวนเวลาที่กำลังทำงานระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานก็ระบุห้ามไว้ซึ่งโจทก์ต้องปฏิบัติตาม แต่โจทก์กลับหาเรื่องชกต่อย อ.ถึง 2 ที เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายไปก่อเหตุขึ้นก่อน จะอ้างว่าได้กระทำไปเพราะบันดาลโทสะเนื่องจาก อ.แสดงอาการยียวนหาได้ไม่ การกระทำของโจทก์เป็นการจงใจฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย และเป็นความผิดทางอาญาด้วย จึงเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างกรณีที่ร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 47(4) และเป็นการกระทำความผิดอย่างร้ายแรงตาม ป.พ.พ.มาตรา 583 ด้วยจำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้า