คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
รัฐ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 61 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5278/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินในเขตป่าสงวน: สิทธิระหว่างราษฎร vs. รัฐ
พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 14 บัญญัติห้ามมิให้บุคคลใดยึดถือหรือครอบครองที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ อันเป็นบทบัญญัติที่ใช้บังคับระหว่างรัฐกับราษฎร เป็นผลให้ราษฎรที่เข้ายึดถือครอบครองที่ดินไม่ได้สิทธิครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย ทั้งไม่อาจอ้างสิทธิใด ๆ ใช้ยันรัฐได้ ดังนั้นศาลจะพิพากษาว่าที่พิพาทซึ่งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติเป็นของโจทก์ไม่ได้ แต่ในระหว่างราษฎรด้วยกันผู้ที่ครอบครองใช้ประโยชน์อยู่ก่อน ย่อมมีสิทธิที่จะไม่ถูกรบกวนโดยบุคคลอื่น โจทก์เป็นฝ่ายครอบครองใช้ประโยชน์ในที่พิพาทอยู่ก่อนแล้ว จำเลยเข้าไปแย่งการครอบครอง โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องเพื่อปลดเปลื้องการรบกวนสิทธิของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3042/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำโดยเจ้าพนักงานที่ทำให้ผู้อื่นถูกดำเนินคดี ความเสียหายต้องเกิดกับรัฐ ไม่ใช่ตัวบุคคล
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าพนักงานมีอำนาจหน้าที่ในการสืบสวนคดีอาญาและจับกุมควบคุมตัวผู้ต้องหา ได้ปล่อยตัว ด. กับอ. ซึ่งเป็นผู้ต้องหาว่ากระทำความผิดข้อหาลักทรัพย์ แล้วจำเลยที่ 1 แจ้งต่อพนักงานสอบสวนว่าโจทก์ร่วมกับผู้ต้องหาทั้งสองดังกล่าวลักทรัพย์ทำให้โจทก์ต้องถูกฟ้องเป็นคดีอาญา เป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ดังนี้ การที่พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการจะดำเนินคดีแก่โจทก์หรือไม่เป็นเรื่องของข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิดของโจทก์เอง ไม่เกี่ยวกับการปล่อยตัวบุคคลอื่นซึ่งเป็นผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดการที่จำเลยที่ 1 ปล่อยตัว ด.และ อ. ไปและโจทก์ถูกดำเนินคดีจะถือว่าโจทก์ถูกดำเนินคดีเพราะการปล่อยตัวบุคคลทั้งสองไปยังไม่ได้ อีกทั้งหากการปล่อยตัว ด.และ อ. ของจำเลยที่ 1 เป็นการกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการผู้ที่ได้รับความเสียหาย คือ รัฐไม่ใช่โจทก์ โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหาย ไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 1 ในข้อหาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3521/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาต่อรัฐ: เทศบาลไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรง
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 229,360 พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ. 2456 มาตรา 117,118,120 และประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9,108 ทวิ เป็นความผิดที่กระทำต่อรัฐเป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการที่จะฟ้องร้องขอให้ลงโทษผู้กระทำความผิด ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 28(1)และพระราชบัญญัติพนักงานอัยการ พ.ศ. 2498 มาตรา 11(1) เอกชนจะฟ้องได้ก็ต่อเมื่อได้รับความเสียหายเป็นพิเศษ แม้โจทก์จะเป็นเทศบาลและมีหน้าที่บำรุงทางบกทางน้ำ ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496มาตรา 50(2),53 มีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษา คุ้มครองป้องกันที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินที่อยู่ในเขตเทศบาลตามคำสั่งกระทรวงมหาดไทย และดูแลรักษาลำน้ำในเขตเทศบาลตามที่อธิบดีกรมเจ้าท่ามอบหมาย ตามพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ. 2456 โจทก์ก็ไม่ใช่ผู้เสียหายไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1616/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องกรณีรัฐซื้อที่ดินแล้วมอบให้หน่วยงานอื่น โจทก์มีสิทธิครอบครองและถูกโต้แย้งสิทธิ
กระทรวงการคลังซื้อที่ดิน น.ส.3 จากจำเลยและได้จ่ายเงินทดแทนเพื่อให้จำเลยรื้อถอนอาคารจากที่ดินแล้ว ต่อมากระทรวงการคลังได้มอบการครอบครองที่ดินให้กรมชลประทานโจทก์โจทก์จึงเป็นผู้ครอบครองดูแลรักษาที่ดิน เมื่อโจทก์บอกกล่าวให้จำเลยรื้อถอนอาคารดังกล่าวออกจากที่ดิน แต่จำเลยไม่ยอมออกสิทธิของโจทก์จึงถูกโต้แย้ง ตามมาตรา 55 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6094/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุทางถนน และสิทธิเรียกร้องค่ารักษาพยาบาลของผู้ถูกละเมิด แม้ได้รับสิทธิจากรัฐ
แม้โจทก์ที่ 2 จะขับรถจักรยานยนต์ให้โจทก์ที่ 1 และที่ 3นั่งซ้อนท้ายมาด้วย เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย แต่เหตุดังกล่าวมิใช่เหตุโดยตรงที่ทำให้รถเกิดเฉี่ยวชนกันเมื่อจำเลยที่ 1 ขับรถแซงรถผู้อื่นบนสะพานล้ำเส้นทึบแบ่งกึ่งกลางถนนออกไปเฉี่ยวชนรถโจทก์ที่ 2 ซึ่งขับมาด้วยความเร็วประมาณ 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมงเหตุที่เกิดขึ้นจึงเกิดจากความประมาทของจำเลยที่ 1 แต่เพียงฝ่ายเดียว โจทก์ที่ 2 เป็นข้าราชการ แม้จะมีสิทธิได้รับเงินค่ารักษาพยาบาลทั้งในส่วนของตนตลอดจนโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นภริยาและโจทก์ที่ 3 ซึ่งเป็นบุตรก็ตาม สิทธิดังกล่าวก็เป็นสิทธิที่รัฐกำหนดให้แก่ข้าราชการไม่เกี่ยวกับความรับผิดของจำเลย โจทก์ทั้งสามจึงมีสิทธิที่จะเรียกร้องเอาค่ารักษาพยาบาลจากจำเลยผู้ต้องรับผิดในผลแห่งการละเมิดได้อีก โจทก์ทั้งสามฟ้องให้จำเลยรับผิดฐานละเมิดมาในฟ้องเดียวกันโดยแยกทุนทรัพย์ที่โจทก์แต่ละคนเรียกร้องมาชัดเจน เป็นส่วนของแต่ละคน เมื่อทุนทรัพย์ที่โจทก์ที่ 3 เรียกร้องไม่เกิน 50,000 บาทและศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยที่ 3จะฎีกาเกี่ยวกับจำนวนค่าเสียหายของโจทก์ที่ 3 ซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1086/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีละเมิด: เงินงบประมาณของรัฐ เงินไม่ใช่ของโจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด แม่ฮ่องสอน ขึ้นต่อสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นราชการบริหารสาธารณสุขส่วนภูมิภาค เงินที่กล่าวหาว่ามีการยักยอกคดีนี้เป็นเงินงบประมาณของ กระทรวงสาธารณสุข ซึ่ง จัดสรรไปให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเบิกจ่ายโดย ผ่านคลังจังหวัด แม่ฮ่องสอน เงินที่ถูก ยักยอกจึงไม่ใช่เงินของจังหวัด แม่ฮ่องสอน โจทก์ แต่ เป็นของ กระทรวงสาธารณสุข เจ้าของเงินงบประมาณประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 218 ลง วันที่ 29 กันยายน 2515 ข้อ 50กำหนดให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นหัวหน้าบังคับบัญชาบรรดาข้าราชการฝ่ายบริหารส่วนภูมิภาคในเขตจังหวัดและรับผิดชอบในราชการจังหวัดและอำเภอนั้นและข้อ 55 ระบุถึง อำนาจบังคับบัญชาเท่านั้น ไม่ได้รวมถึง การเป็นเจ้าของเงินงบประมาณที่เสียหายด้วย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2613/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีจัดหางาน: ผู้เสียหายต้องเป็นรัฐ ไม่ใช่ผู้ถูกหลอกลวง
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานเป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อคุ้มครองประชาชนผู้หางานมิให้เสียเปรียบแก่ผู้จัดหางาน ความผิดของผู้จัดหางานจะเกิดขึ้นต่อเมื่อไม่ได้รับอนุญาตให้จัดหางานจากเจ้าพนักงาน รัฐจึงเป็นผู้เสียหายแต่เพียงผู้เดียวที่จะดำเนินคดีแก่ผู้จัดหางานที่ไม่ได้รับอนุญาต โจทก์ซึ่งถูกจำเลยหลอกลวงให้จ่ายเงินโดยไม่อาจหางานให้ทำได้ไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะฟ้องจำเลยให้ต้องรับโทษตามพระราชบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2613/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาจากการถูกหลอกลวงจัดหางาน: ผู้เสียหายต้องเป็นรัฐเท่านั้น
พระราชบัญญัติ ญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานเป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อคุ้มครองประชาชนผู้หางานมิให้เสียเปรียบแก่ผู้จัดหางาน ความผิดของผู้จัดหางานจะเกิดขึ้นต่อเมื่อไม่ได้รับอนุญาตให้จัดหางานจากเจ้าพนักงาน รัฐจึงเป็นผู้เสียหายแต่เพียงผู้เดียวที่จะดำเนินคดีแก่ผู้จัดหางานที่ไม่ได้รับอนุญาต โจทก์ซึ่งถูกจำเลยหลอกลวงให้จ่ายเงินโดยไม่อาจหางานให้ทำได้ไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะฟ้องจำเลยให้ต้องรับโทษตามพระราชบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2613/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีความผิดพ.ร.บ.จัดหางาน: ผู้เสียหายต้องเป็นรัฐ ไม่ใช่ผู้ถูกหลอกลวง
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานเป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อคุ้มครองประชาชนผู้หางานมิให้เสียเปรียบแก่ผู้จัดหางาน ความผิดของผู้จัดหางานจะเกิดขึ้นต่อเมื่อไม่ได้รับอนุญาตให้จัดหางานจากเจ้าพนักงาน รัฐจึงเป็นผู้เสียหายแต่เพียงผู้เดียวที่จะดำเนินคดีแก่ผู้จัดหางานที่ไม่ได้รับอนุญาต โจทก์ซึ่งถูกจำเลยหลอกลวงให้จ่ายเงินโดยไม่อาจหางานให้ทำได้ไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะฟ้องจำเลยให้ต้องรับโทษตามพระราชบัญญัติดังกล่าว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1562/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีฉ้อโกงประชาชน: รัฐเท่านั้นมีอำนาจฟ้องตาม พ.ร.ก.กู้ยืมเงิน
พระราชกำหนดการกู้ยือมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2517บัญญัติขึ้นเพื่อปราบปรามการกระทำที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนกับวางมาตรการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนเป็นส่วนรวมรัฐเท่านั้น เป็นผู้มีอำนาจฟ้องคดีในความผิดตามพระราชกำหนดดังกล่าว เอกชนไม่ใช่ผู้เสียหาย ไม่มีอำนาจฟ้อง.(ที่มา-ส่งเสริม)
of 7