คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
รัฐมนตรี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 44 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 718-723/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีเวนคืน: กำหนดเวลาฟ้องหลังรัฐมนตรีไม่วินิจฉัยอุทธรณ์หรือมีคำวินิจฉัย
ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา25วรรคสองและมาตรา26วรรคหนึ่งในกรณีที่รัฐมนตรีวินิจฉัยอุทธรณ์เสร็จสิ้นภายในกำหนดหกสิบวันนับแต่วันที่่ได้รับคำอุทธรณ์ผู้อุทธรณ์มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีหรือในกรณีที่รัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดหกสิบแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์หรือวินิจฉัยอุทธรณ์เมื่อพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวผู้อุทธรณ์มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ภายในหนึ่งปีนับแต่วันทีพ้นกำหนดหกสืบวันนับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ดังนั้นกรณีคดีนี้เมื่อจำเลยที่2ซึ่งเป็นรัฐมนตรีฯมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ให้เสร็จสิ้นภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์โจทก์ต้องฟ้องคดีต่อศาลภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่พ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6399/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดเวลาฟ้องคดีเวนคืนที่ดิน: คำวินิจฉัยเมื่อรัฐมนตรีไม่พิจารณาอุทธรณ์ภายใน 60 วัน
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะเกิดกรณีพิพาทคดีนี้ มาตรา 26 วรรคหนึ่ง ได้วางหลักเกณฑ์ในการนำคดีมาฟ้องศาลเมื่อผู้มีสิทธิได้รับค่าทดแทนยังไม่พอใจคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีไว้ 2 กรณี คือ กรณีแรกเป็นกรณีที่รัฐมนตรีได้วินิจฉัยอุทธรณ์เสร็จสิ้นใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ เมื่อผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนยังไม่พอใจคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีก็มีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลภายใน1 ปี นับแต่วันที่ ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยนั้น กรณีที่สองเป็นกรณีที่รัฐมนตรีวินิจฉัยอุทธรณ์ไม่เสร็จสิ้นภายใน 60 วันนับแต่วันรับอุทธรณ์ กรณีเช่นนี้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนมีสิทธินำคดีมาฟ้องศาลภายใน 1 ปี นับแต่พ้นกำหนด 60 วันนับแต่วันที่รัฐมนตรีได้รับอุทธรณ์ โจทก์อุทธรณ์เงินค่าทดแทนต่อรัฐมนตรี เมื่อวันที่8 กุมภาพันธ์ 2537 โดยรัฐมนตรีได้รับอุทธรณ์ในวันที่9 กุมภาพันธ์ 2537 ดังนี้ โจทก์จะต้องอุทธรณ์ภายใน 60 วันนับแต่วนที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากเจ้าหน้าที่หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทนโจทก์ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากเจ้าหน้าที่เมื่อวันที่10 พฤษภาคม 2537 โจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิอุทธรณ์ได้ภายในวันที่ 9 กรกฎาคม 2537 หากถือว่าโจทก์ทั้งสองอุทธรณ์และรัฐมนตรีรับอุทธรณ์ในวันดังกล่าวนี้ เมื่อรัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์มาภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์สิทธิในการนำคดีมาฟ้องต่อศาลภายใน 1 ปี จึงเริ่มนับแต่วันที่ 8 กันยายน 2537 ซึ่งจะครบ 1 ปี ในวันที่ 7 กันยายน2538 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2538 เกินกว่า1 ปี นับแต่วันพ้นกำหนด 60 วัน นับแต่วันที่ที่รัฐมนตรีได้รับอุทธรณ์อันพ้นกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนด โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องและเห็นว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเมื่อโจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ ว่าโจทก์ทั้งสองฟ้องคดีภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดแล้วแม้หากอุทธรณ์ของโจทก์ในปัญหาดังกล่าวฟ้องขึ้นก็ตามแต่เมื่อศาลฎีกาไม่มีอำนาจวินิจฉัยอุทธรณ์ข้ออื่นของโจทก์ทั้งสองได้ และต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในประเด็นอื่นอีก อุทธรณ์ของโจทก์เช่นนี้จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ตาราง 1 ข้อ 2(ก)โจทก์ทั้งสองเสียค่าขึ้นศาลในชั้นนี้มาจำนวน 200,000 บาทจึงต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินกว่า 200 บาท ให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6341/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์: อำนาจรัฐมนตรี, การกำหนดราคา, และสิทธิเรียกร้องค่าทดแทนเพิ่มเติม
เมื่อจำเลยที่ 4 เป็นรัฐมนตรีผู้รักษาการตาม พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่จะเวนคืน... พ.ศ. 2533 และยังเป็นผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนตาม พ.ร.ฎ.ดังกล่าวด้วย ดังนี้ จำเลยที่ 4 จึงมีอำนาจควบคุมการดำเนินการเวนคืนและการกำหนดค่าทดแทนให้เป็นไปตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ทั้งตามมาตรา 9 แห่งพ.ร.บ.ดังกล่าวกำหนดให้จำเลยที่ 4 เป็นผู้แต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนและจำนวนเงินค่าทดแทน และมาตรา27 ให้อำนาจสั่งคณะกรรมการดังกล่าวทบทวนราคาอสังหาริมทรัพย์และจำนวนเงินค่าทดแทนใหม่ได้ มาตรา 25 ให้อำนาจจำเลยที่ 4 แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และยังเป็นผู้วินิจฉัยอุทธรณ์ด้วย เช่นนี้การกระทำของจำเลยที่ 4 ดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการกระทำในหน้าที่แทนกระทรวงคมนาคมจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นต้นสังกัดที่มีอำนาจหน้าที่ในการก่อสร้างทางหลวงแผ่นดินตาม พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ฉะนั้นเมื่อโจทก์เจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนตาม พ.ร.ฎ.ฉบับดังกล่าวเห็นว่าการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ สำหรับที่ดินของโจทก์ที่ถูกกำหนดเป็นเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนดังกล่าวยังไม่เป็นธรรม และยังไม่พอใจในราคาอสังหาริมทรัพย์หรือจำนวนเงินค่าทดแทนที่จำเลยที่ 4 วินิจฉัยซึ่งมาตรา 26 ก็กำหนดให้โจทก์ผู้ถูกเวนคืนมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ ดังนี้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้
อำนาจพิจารณาวินิจฉัยของศาลเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ คู่ความก็มีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ เมื่อราคาอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนและจำนวนเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 9 กำหนด หรือที่รัฐมนตรีวินิจฉัยอาจถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้โดยรัฐมนตรีหรือศาลแล้วแต่กรณี ดังนั้นรัฐมนตรีหรือศาลจึงมีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยทบทวนแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้อีกชั้นหนึ่ง และหากรัฐมนตรีหรือศาลพิจารณาวินิจฉัยแล้วเห็นสมควรกำหนดราคาอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนหรือจำนวนเงินค่าทดแทนมากกว่าที่คณะกรรมการตามมาตรา 9กำหนดหรือที่รัฐมนตรีวินิจฉัย แล้วแต่กรณี ค่าทดแทนส่วนที่มากกว่าก็คือส่วนที่เพิ่มขึ้นตามมาตรา 26 วรรคสามนั่นเอง
เมื่อโจทก์ผู้ถูกเวนคืนได้ทำสัญญารับเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนกับจำเลยที่ 2 จึงถือได้ว่ามีการตกลงทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530แล้ว จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนจึงต้องจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนทั้งหมดให้แก่โจทก์ภายใน 120 วัน นับแต่วันทำสัญญาซื้อขาย ดังนั้นในวันครบกำหนด 120 วัน ดังกล่าว คือวันที่ต้องมีการจ่ายดอกเบี้ยสำหรับเงินค่าทดแทนจำนวนที่เพิ่มขึ้นตามมาตรา 26 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5621/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดอายุความฟ้องคดีค่าทดแทนเวนคืน: นับจากวันพ้น 60 วันหลังรับอุทธรณ์รัฐมนตรี
กองนิติการ กรมโยธาธิการเป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงมหาดไทย อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย การที่เจ้าหน้าที่กองนิติการที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการรับอุทธรณ์เรื่องเงินทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนฯ ได้รับอุทธรณ์ของโจทก์ที่ยื่นต่อรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2535 ถือได้ว่า รัฐมนตรีได้รับอุทธรณ์ของโจทก์แล้ว และตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 26ไว้วางหลักเกณฑ์ในการนำคดีมาฟ้องศาลเมื่อผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนยังไม่พอใจในคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีไว้ 2 กรณี กรณีแรกเป็นกรณีที่รัฐมนตรีอุทธรณ์เสร็จสิ้นภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์เมื่อผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนยังไม่พอใจในคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีก็มีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลภายใน 1 ปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยนั้น กรณีที่สองเป็นกรณีที่รัฐมนตรีวินิจฉัยอุทธรณ์ไม่เสร็จสิ้นภายใน 60 วันนับแต่วันรับอุทธรณ์ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 25 วรรคสองสิทธิของโจทก์ในการฟ้องคดีนี้เข้ากรณีที่สอง ดังนั้นสิทธิในการนำคดีมาฟ้องต่อศาลภายใน 1 ปี จึงเริ่มนับแต่วันพ้นกำหนด 60 วัน นับแต่วันที่รัฐมนตรีได้รับอุทธรณ์ของโจทก์ คือเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 24 พฤศจิกายน 2535โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2537 เกินกว่า 1 ปีนับแต่วันพ้นกำหนดที่รัฐมนตรีต้องวินิจฉัยให้แล้วเสร็จโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 748/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดเวลาฟ้องคดีเวนคืนที่ดิน: สิทธิฟ้องภายใน 1 ปีหลังรัฐมนตรีวินิจฉัยช้า หรือไม่วินิจฉัย
ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530มาตรา 25 วรรคสอง ที่บัญญัติว่า ในการพิจารณาอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่ง ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิทางกฎหมาย และผู้มีความรู้ความสามารถในการตีราคาอสังหาริมทรัพย์ มีจำนวนทั้งหมดไม่น้อยกว่าห้าคน เป็นผู้พิจารณาเสนอความเห็นต่อรัฐมนตรี ทั้งนี้ ให้รัฐมนตรีวินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ และตามมาตรา 26 วรรคหนึ่งที่บัญญัติว่า ในกรณีที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนยังไม่พอใจในคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีตามมาตรา 25 หรือในกรณีที่รัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 25 วรรคสอง ให้มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีหรือนับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลาดังกล่าวแล้วแต่กรณีดังนี้เมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์ขอเพิ่มค่าทดแทนต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยวันที่ 4 มิถุนายน 2533 และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้รับคำอุทธรณ์ในวันเดียวกัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจะต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายใน 60 วัน คือวันที่ 3 สิงหาคม 2533 แต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 3 สิงหาคม 2533 โจทก์ก็ต้องฟ้องคดีต่อศาลภายใน 1 ปี นับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลา 60 วัน คือต้องฟ้องคดีภายในวันที่ 3 สิงหาคม 2534 การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องต่อศาลเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2535ซึ่งพ้นกำหนดระยะเวลาแล้ว โจทก์จึงสิ้นสิทธิฟ้องร้อง
สิทธิของผู้ได้รับเงินค่าทดแทนที่จะฟ้องคดีต่อศาลตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 26 วรรคหนึ่ง มีได้เพียงกรณีใดกรณีหนึ่ง คือ กรณีที่รัฐมนตรีวินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ หรือในกรณีที่รัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายใน60 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ ดังนี้ เมื่อรัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ให้เสร็จสิ้นภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลภายใน 1 ปี นับแต่วันพ้นกำหนดเวลาดังกล่าว โจทก์หามีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีที่วินิจฉัยเกินกำหนด 60 วันนับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ไม่
กำหนดระยะเวลาในการใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 26 วรรคหนึ่ง เป็นกำหนดระยะเวลาในการใช้สิทธิ มิใช่อายุความ การที่มีประกาศคณะรักษาความสงบ-เรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 ให้แก้ไขการกำหนดราคาเบื้องต้นและโจทก์ได้รับค่าทดแทนเพิ่มขึ้น ไม่ทำให้กำหนดระยะเวลาในการใช้สิทธิสะดุดหยุดลงและเริ่มต้นใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 748/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดระยะเวลาฟ้องคดีเวนคืน: การนับอายุความเมื่อรัฐมนตรีวินิจฉัยช้ากว่ากำหนด และผลของประกาศ คสช.
สิทธิของผู้ได้รับเงินค่าทดแทนที่จะฟ้องคดีต่อศาลตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530มาตรา 26 วรรคหนึ่ง มีได้เพียงกรณีใดกรณีหนึ่ง คือ กรณีที่รัฐมนตรีวินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ หรือในกรณีที่รัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายใน 60 ปี นับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลภายใน 1 ปี นับแต่วันพ้นกำหนดเวลาดังกล่าว โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีที่วินิจฉัยเกินกำหนด 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ กำหนดระยะเวลาในการใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 26 วรรคหนึ่ง เป็นกำหนดระยะเวลาในการใช้สิทธิ มิใช่อายุความการที่มี ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44ให้แก้ไขการกำหนดราคาเบื้องต้นและโจทก์ได้รับค่าทดแทนเพิ่มขึ้นไม่ทำให้กำหนดระยะเวลาในการใช้สิทธิฟ้องคดีสะดุดหยุดลง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 745/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีเวนคืน: การนับระยะเวลาจากคำวินิจฉัยรัฐมนตรีหรือพ้นกำหนดเวลา
ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา26วรรคหนึ่งโจทก์จะต้องยื่นคำฟ้องภายใน1ปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีซึ่งตามมาตรา25วรรคสองให้รัฐมนตรีวินิจฉัยให้เสร็จสิ้นภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์แต่หากรัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดเวลาดังกล่าวก็ให้โจทก์ยื่นคำฟ้องเสียภายใน1ปีนับแต่วันพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันที่รัฐมนตรีได้รับคำอุทธรณ์คดีนี้รัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยคำอุทธรณ์ของโจทก์ให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดเวลาตามมาตรา25วรรคสองโจทก์ต้องยื่นคำฟ้องภายใน1ปีนับแต่วันที่6ตุลาคม2533อันเป็นวันพ้นกำหนดเวลาวินิจฉัยอุทธรณ์ตามมาตรา25วรรคสองโจทก์ยื่นคำฟ้องคดีนี้วันที่24มกราคม2535อำนาจในการฟ้องคดีของโจทก์จึงเป็นอันสิ้นไปตามมาตรา26แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 740/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีเวนคืน: การนับระยะเวลา 1 ปีจากวันรัฐมนตรีไม่วินิจฉัยอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.เวนคืน
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา26วางหลักเกณฑ์การนำคดีมาฟ้องศาลเมื่อผู้มีสิทธิได้รับค่าทดแทนยังไม่พอใจคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีไว้2กรณีกรณีแรกเป็นกรณีที่รัฐมนตรีได้วินิจฉัยอุทธรณ์เสร็จสิ้นใน60วันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์เมื่อผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนยังไม่พอใจคำวินิจฉัยก็มีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลภายใน1ปีนับแต่ที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยกรณีที่สองเป็นกรณีที่รัฐมนตรีวินิจฉัยอุทธรณ์ไม่เสร็จสิ้นภายใน60วันนับแต่วันรับอุทธรณ์ซึ่งผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนมีสิทธินำคดีมาฟ้องศาลภายใน1ปีนับแต่พ้นกำหนด60วันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์มิฉะนั้นไม่มีสิทธิฟ้องร้องและปัญหาว่าคดีโจทก์ขาดอายุความหรือไม่นี้เป็นหน้าที่ของศาลต้องพิจารณาหาใช่อำนาจของคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6720/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องเวนคืน: เจ้าหน้าที่, รัฐมนตรี, และการคำนวณค่าทดแทนเมื่อราคาที่ดินสูงขึ้น
ในขณะที่ทางราชการเวนคืนที่ดินของโจทก์ จำเลยที่ 2ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจำเลยที่ 1 อยู่ แต่ขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ จำเลยที่ 2 พ้นจากตำแหน่งหน้าที่ดังกล่าวแล้ว จำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนตาม พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่แขวงยานนาวาแขวงทุ่งวัดดอน และแขวงบางโคล่ เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร พ.ศ.2531อีกต่อไป การที่ พ.ร.ฎ.ดังกล่าวกำหนดให้ผู้ว่าราชการจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืน เป็นการกำหนดโดยตำแหน่งหน้าที่ มิใช่เป็นการกำหนดในนามส่วนตัว ดังนั้นเมื่อขณะฟ้องคดีจำเลยที่ 2 พ้นจากตำแหน่งหน้าที่ผู้ว่าราชการจำเลยที่ 1 โดยมีจำเลยที่ 3 เข้ารับตำแหน่งหน้าที่แทนแล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2
กระทรวงมหาดไทยจำเลยที่ 4 เป็นกระทรวงในรัฐบาลมีฐานะเป็นนิติบุคคลและมีรัฐมนตรีว่าการจำเลยที่ 4 เป็นผู้กำกับดูแลงานของจำเลยที่ 4 โดยตรง เมื่อ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่แขวงยานนาวา แขวงทุ่งวัดดอน และแขวงบางโคล่ เขตยานนาวากรุงเทพมหานคร พ.ศ.2531 บัญญัติให้รัฐมนตรีว่าการจำเลยที่ 4 รักษาการตาม พ.ร.ฎ.ฉบับดังกล่าว รัฐมนตรีว่าการจำเลยที่ 4 ก็มีอำนาจในการแต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นและจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตาม พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนฯ และมีอำนาจวินิจฉัยหรือไม่วินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 อันเป็นหน้าที่ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่แขวงยานนาวา แขวงทุ่งวัดดอน และแขวงบางโคล่เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร พ.ศ.2531 ซึ่งหมายถึงว่ารัฐมนตรีว่าการจำเลยที่ 4 กระทำการดังกล่าวในนามจำเลยที่ 4 นั่นเอง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 4
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530มาตรา 21 วรรคสอง กำหนดเป็นหลักการไว้ว่า ถ้าการเวนคืนรายใดทำให้อสังหาริมทรัพย์ที่เหลือจากการเวนคืนนั้นมีราคาสูงขึ้นก็ให้เอาราคาที่สูงขึ้นหักออกจากเงินค่าทดแทนที่จะต้องจ่ายให้แก่เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืน ส่วนในวรรคสี่ได้กำหนดถึงวิธีการคำนวณราคาที่สูงขึ้นของอสังหาริมทรัพย์ตามวรรคสองว่าให้ใช้หลักเกณฑ์ตามที่กำหนดใน พ.ร.ฎ. ดังนั้น หากการเวนคืนทำให้ที่ดินที่เหลือของโจทก์มีราคาสูงขึ้นจึงต้องเป็นไปตามหลักการที่มาตรา 21 วรรคสอง บัญญัติไว้ส่วนวิธีการคำนวณหาราคาที่สูงขึ้นดังกล่าว เมื่อขณะที่ที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืนยังไม่มี พ.ร.ฎ.ตามที่มาตรา 21 วรรคสี่ บัญญัติไว้ออกใช้บังคับ ก็จะต้องอาศัยหลักเกณฑ์ที่เห็นว่าเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมมาใช้ เมื่อปรากฏว่าที่ดินของโจทก์ส่วนที่เหลือจากการเวนคืนมีราคาสูงขึ้นเป็นจำนวนมากกว่าเงินค่าทดแทนที่โจทก์มีสิทธิได้รับ จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายเงินค่าทดแทนแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6222/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องค่าทดแทนเวนคืน: กำหนดเวลา 1 ปี หลังรัฐมนตรีวินิจฉัย หรือพ้น 60 วันจากวันรับอุทธรณ์
ในกรณีที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนไม่พอใจในค่าทดแทนที่คณะกรรมการกำหนดและใช้สิทธิอุทธรณ์ไปยังรัฐมนตรีตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา25แล้วหากรัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายใน60วันนับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์หรือวินิจฉัยเสร็จสิ้นภายใน60วันนับแต่ได้รับคำอุทธรณ์ผู้มีสิทธิได้รับค่าทดแทนจะต้องใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลภายใน1ปีนับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลา60วันนับแต่วันที่รัฐมนตรีได้รับคำอุทธรณ์มิฉะนั้นจะสิ้นสิทธิฟ้องร้อง
of 5