พบผลลัพธ์ทั้งหมด 171 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3214/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะพนักงานรัฐวิสาหกิจ: การพิจารณาจากลักษณะการทำงาน แม้สัญญาจะระบุเป็นผู้รับจ้าง
ขณะที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ จำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจ จึงตกอยู่ในบังคับของ พ.ร.บ. พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 ไม่ได้อยู่ในบังคับของ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 โจทก์ฟ้องเรียกค่าชดเชยกรณีจำเลยเลิกจ้างโจทก์ โดยอ้างว่ามีสิทธิเรียกร้องตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ แต่เมื่อปรับบทกฎหมายตามข้อหาของโจทก์ดังกล่าวแล้ว พอถือได้ว่าโจทก์ฟ้องเรียกค่าชดเชยจากจำเลยตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2703-2713/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รัฐวิสาหกิจกำหนดคุณสมบัติและเหตุพ้นตำแหน่งพนักงานได้ หากไม่ขัด พ.ร.บ.คุณสมบัติมาตรฐาน
จำเลยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจสามารถกำหนดคุณสมบัติ ลักษณะต้องห้ามและการพ้นจากตำแหน่งของพนักงานของจำเลยเองได้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับที่กำหนดไว้ในมาตรา 9 (1) ถึง (7) และมาตรา 11 (1) ถึง (3) แห่ง พ.ร.บ. คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518
พ.ร.บ.คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 มาตรา 9 (2) บัญญัติถึง คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามเรื่องอายุของพนักงานรัฐวิสาหกิจไว้ว่ามีอายุไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์ เป็นการกำหนด อายุขั้นสูงของผู้มีคุณสมบัติเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจไว้เท่านั้น มิได้ห้ามรัฐวิสาหกิจไม่ให้กำหนดให้ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 60 ปีบริบูรณ์ พ้นจากการเป็นพนักงาน ข้อบังคับของจำเลยที่กำหนดให้พนักงานหญิงของจำเลยพ้นจากการเป็นพนักงาน เนื่องจากเกษียณอายุเมื่อมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ จึงไม่ขัดต่อบทบัญญัติดังกล่าว
พ.ร.บ.คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 มาตรา 9 (2) บัญญัติถึง คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามเรื่องอายุของพนักงานรัฐวิสาหกิจไว้ว่ามีอายุไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์ เป็นการกำหนด อายุขั้นสูงของผู้มีคุณสมบัติเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจไว้เท่านั้น มิได้ห้ามรัฐวิสาหกิจไม่ให้กำหนดให้ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 60 ปีบริบูรณ์ พ้นจากการเป็นพนักงาน ข้อบังคับของจำเลยที่กำหนดให้พนักงานหญิงของจำเลยพ้นจากการเป็นพนักงาน เนื่องจากเกษียณอายุเมื่อมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ จึงไม่ขัดต่อบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2703-2713/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รัฐวิสาหกิจกำหนดเกณฑ์เกษียณอายุพนักงานหญิงได้ หากไม่ขัดกับกฎหมายคุณสมบัติมาตรฐานพนักงานรัฐวิสาหกิจ
จำเลยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจสามารถกำหนดคุณสมบัติ ลักษณะต้องห้ามและการพ้นจากตำแหน่งของพนักงานของจำเลยเองได้ เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจพ.ศ. 2518 มาตรา 9(1) ถึง (7) และมาตรา 11(1) ถึง (3) จำเลยจึงสามารถกำหนดให้พนักงานหญิงของจำเลยพ้นจากการเป็นพนักงานเนื่องจากเกษียณอายุเมื่อมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ ได้ โจทก์จึงต้องพ้นจากตำแหน่งเนื่องจากเกษียณอายุเมื่ออายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ ตามข้อบังคับของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1243/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลักทรัพย์ในสำนักงานรัฐวิสาหกิจ ไม่ถือเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ในสถานที่ราชการ
สำนักงานประปาสงขลาเป็นส่วนงานของการประปาส่วนภูมิภาคซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ มิใช่สถานที่ราชการ การที่จำเลยเข้าไปลักทรัพย์ในบริเวณสำนักงานดังกล่าวในเวลากลางคืน จึงไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ในสถานที่ ราชการคงเป็นความผิดเพียงลักทรัพย์ในเวลากลางคืนตาม ป.อ. มาตรา 335(1) วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1243/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลักทรัพย์ในสถานที่ของรัฐวิสาหกิจ ไม่ถือเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ในสถานที่ราชการ
สถานที่เกิดเหตุอยู่ในสำนักงานประปาสงขลา (เขตจำหน่ายน้ำหาดใหญ่) อันเป็นส่วนงานของการประปาส่วนภูมิภาค ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ มิใช่สถานที่ราชการ การที่จำเลยเข้าไปลักทรัพย์ในบริเวณสำนักงานประปาสงขลาในเวลากลางคืน จึงไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ในสถานที่ราชการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9381-9407/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจรัฐวิสาหกิจแก้ไขข้อตกลงสภาพการจ้าง และการจ่ายเงินบำเหน็จตามมติคณะรัฐมนตรี
โจทก์เป็นรัฐวิสาหกิจตาม พ.ร.บ.การปิโตเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ.2521 จึงต้องห้ามมิให้นำพ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาใช้บังคับแก่โจทก์และพนักงานหรือลูกจ้างของโจทก์ตามมาตรา 4 (4) การแก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องแจ้งข้อเรียกร้องเป็นหนังสือ ได้รับความยินยอมหรือต้องเป็นคุณแก่ลูกจ้างยิ่งกว่าแต่อย่างใด ประกอบกับพ.ร.บ. พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2534 มาตรา 11 (1), 18 (1) (3) และระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2534 ข้อ 49 ให้อำนาจรัฐวิสาหกิจแก้ไขข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างได้โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของฝ่ายบริหารพนักงาน ฐานะ ความรับผิดชอบ ความสามารถของรัฐวิสาหกิจ ตลอดจนผลกระทบต่อการบริการประชาชนเป็นสำคัญหาจำต้องได้รับความยินยอมจากพนักงานหรือลูกจ้างไม่ แม้ในมาตรา 54 วรรคสอง จะกำหนดให้ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างซึ่งมีอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับให้ยังคงใช้บังคับต่อไปก็ตาม แต่ก็มิได้เป็นบทบัญญัติที่ห้ามมิให้แก้ไขข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ทั้งโจทก์เป็นรัฐวิสาหกิจมีหน้าที่ต้องบริหารงานภายใต้นโยบายของรัฐบาลและต้องปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีจึงมีอำนาจแก้ไขข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างได้โดยมีผลเป็นการแก้ไขและบังคับใช้ตั้งแต่วันลงมติ ส่วนที่มติดังกล่าวกำหนดให้แก้ไขข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีด้วย ก็เพียงเพื่อให้ปรากฏการแก้ไขในข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างโดยมติคณะรัฐมนตรีเท่านั้น หาได้เป็นเงื่อนไขที่จะทำให้มติคณะรัฐมนตรีไม่มีผลใช้บังคับแต่อย่างใด จำเลยเป็นพนักงานของโจทก์ สิทธิของจำเลยจะได้รับเงินบำเหน็จเพียงใดต้องเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4507/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างพนักงานรัฐวิสาหกิจที่ไม่สุจริต/ไม่อาจไว้วางใจ: สิทธิค่าชดเชยและโบนัส
คำสั่งเลิกจ้างของจำเลยระบุเหตุเลิกจ้างว่าโจทก์มีพฤติการณ์ปฏิบัติหน้าที่ไม่สุจริต สอบสวนรับบุคคลที่ ขาดคุณสมบัติขึ้นทะเบียนเป็นลูกจ้างของจำเลย บันทึกรายการขอขึ้นทะเบียนเป็นลูกค้าที่เป็นเท็จ จัดทำคำขอกู้ให้ แก่บุคคลดังกล่าวด้วยวงเงินกู้สูง และมีพฤติการณ์มีส่วนรู้เห็นกับการที่มีบุคคลภายนอกเรียกหรือรับผลประโยชน์จากลูกค้าเป็นค่าวิ่งเต้นในการเข้าเป็นลูกค้าเพื่อกู้เงินจากจำเลยซึ่งจำเลยอาจปรับเข้ากับข้อบังคับของจำเลยว่าด้วยวินัย การสอบสวนและการลงโทษสำหรับพนักงานและลูกจ้าง ข้อ 5 (4) ว่าโจทก์กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงด้วยการทุจริตต่อหน้าที่ได้ แต่กลับปรากฎตามรายงานผลการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนที่จำเลยตั้งขึ้นว่าโจทก์กระทำผิดวินัยตาม ข้อ 3 (4) (6) (7) (10) แต่ไม่มีหลักฐานเพียงพอว่าโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่ สมควรเลิกจ้างโจทก์ตามข้อบังคับของจำเลยว่าด้วยการบรรจุ การแต่งตั้ง การเรียกประกัน การเลื่อนเงินเดือน การถอดถอนสำหรับพนักงาน ข้อ 19 (2) ด้วยเหตุไม่อาจไว้วางใจให้โจทก์ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ และต่อมาจำเลยก็มีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ตามข้อเสนอของคณะกรรมการสอบสวนโดยอ้างเหตุว่าการกระทำของโจทก์ทำให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่และชื่อเสียง ของจำเลย ซึ่งตามข้อบังคับของจำเลย ข้อ 6 ระบุว่าไม่เป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยอาศัยข้อบังคับของจำเลย หมวด 4 การถอดถอนข้อ 19 (2) เพราะไม่อาจไว้วางใจให้โจทก์ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้อันเป็นการใช้สิทธิเลิกสัญญาจ้างเท่านั้น ต้องถือว่าจำเลยไม่ได้ประสงค์ลงโทษทางวินัยด้วยการไล่ออกหรือปลดออกเนื่องจากโจทก์กระทำผิดทางวินัยอย่างร้ายแรงอันจะทำให้จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ แต่จำเลยประสงค์เลิกสัญญาจ้างเพราะเหตุไม่อาจไว้วางใจให้โจทก์ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ ซึ่งไม่เข้าข้อยกเว้นไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534 ข้อ 46 ซึ่งออกตามความใน พ.ร.บ. พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 มาตรา 11 (1) และมาตรา 11 วรรคสอง แม้ศาลแรงงานกลางจะพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 ก็ตาม แต่ตามระเบียบดังกล่าวข้อ 45 ก็ให้รัฐวิสาหกิจจ่ายค่าชดเชยแก่พนักงานซึ่งเลิกจ้างในหลักเกณฑ์เดียวกับประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 การที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 เป็นเพียงการปรับบทกฎหมายไม่ถูกต้องเท่านั้น จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ และศาลฎีกาเห็นสมควรปรับบทการจ่ายค่าชดเชยดังกล่าวเสียให้ถูกต้อง
ระเบียบฉบับที่ 33 ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงินโบนัสประจำปีสำหรับพนักงานของจำเลย ข้อ 2 กำหนดว่าพนักงานที่ได้ปฏิบัติงานมาครบในรอบปีใดจะได้รับเงินโบนัสในรอบปีนั้นตามกฎเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ถ้าพนักงาน ผู้ใดไม่เคยลา?จะได้รับเงินโบนัสเต็มจำนวน? ส่วนข้อ 3 ถึง 9 ของระเบียบดังกล่าวได้กำหนดหลักเกณฑ์การจ่าย เงินโบนัสสำหรับพนักงานของจำเลยที่ทำงานไม่ครบรอบปีบัญชีจากสาเหตุกรณีต่าง ๆ เช่น ลาออก ได้รับทุนไปศึกษาต่อ ต้องออกจากงานเพราะเกษียณอายุ ถูกเลิกจ้างเป็นต้น สำหรับหลักเกณฑ์ตามข้อ 10 วรรคสอง ก็เป็นกรณีที่พนักงานที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยในระหว่างรอบบัญชีของปีนั้น ๆ หาได้หมายความถึงพนักงานที่ทำงานครบรอบปีจนมีสิทธิได้รับเงินโบนัสเต็มจำนวนดังที่ระบุไว้ในข้อ 2 (1) ไม่ โจทก์ทำงานครบรอบปีบัญชี 1 เมษายน 2539 ถึง 31 มีนาคม 2540 แล้ว จำเลยตั้งกรรมการสอบสวนโจทก์เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2540 และโจทก์ถูกเลิกจ้างเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2540 ซึ่งอยู่ในระหว่างรอบปีบัญชี 1 เมษายน 2540 ถึง 31 มีนาคม 2541 โจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับเงินโบนัสเต็มจำนวนสำหรับรอบปีบัญชี 1 เมษายน 2539 ถึง 31 มีนาคม 2540 ตามระเบียบของจำเลยข้อ 2 (1)
ระเบียบฉบับที่ 33 ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงินโบนัสประจำปีสำหรับพนักงานของจำเลย ข้อ 2 กำหนดว่าพนักงานที่ได้ปฏิบัติงานมาครบในรอบปีใดจะได้รับเงินโบนัสในรอบปีนั้นตามกฎเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ถ้าพนักงาน ผู้ใดไม่เคยลา?จะได้รับเงินโบนัสเต็มจำนวน? ส่วนข้อ 3 ถึง 9 ของระเบียบดังกล่าวได้กำหนดหลักเกณฑ์การจ่าย เงินโบนัสสำหรับพนักงานของจำเลยที่ทำงานไม่ครบรอบปีบัญชีจากสาเหตุกรณีต่าง ๆ เช่น ลาออก ได้รับทุนไปศึกษาต่อ ต้องออกจากงานเพราะเกษียณอายุ ถูกเลิกจ้างเป็นต้น สำหรับหลักเกณฑ์ตามข้อ 10 วรรคสอง ก็เป็นกรณีที่พนักงานที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยในระหว่างรอบบัญชีของปีนั้น ๆ หาได้หมายความถึงพนักงานที่ทำงานครบรอบปีจนมีสิทธิได้รับเงินโบนัสเต็มจำนวนดังที่ระบุไว้ในข้อ 2 (1) ไม่ โจทก์ทำงานครบรอบปีบัญชี 1 เมษายน 2539 ถึง 31 มีนาคม 2540 แล้ว จำเลยตั้งกรรมการสอบสวนโจทก์เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2540 และโจทก์ถูกเลิกจ้างเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2540 ซึ่งอยู่ในระหว่างรอบปีบัญชี 1 เมษายน 2540 ถึง 31 มีนาคม 2541 โจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับเงินโบนัสเต็มจำนวนสำหรับรอบปีบัญชี 1 เมษายน 2539 ถึง 31 มีนาคม 2540 ตามระเบียบของจำเลยข้อ 2 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2727-2731/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับลดเงินโบนัสพนักงานรัฐวิสาหกิจในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ: ศาลฎีกาพิพากษายืนตามมติคณะรัฐมนตรี
จำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจและโจทก์เป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจจึงต้องตกอยู่ภายใต้บังคับของมติคณะรัฐมนตรี แม้จำเลยจะมีระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงินโบนัสแก่พนักงานอันถือเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ซึ่งมีผลใช้บังคับตามบทเฉพาะกาลของพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯมาตรา 54 วรรคสอง แต่ก็มิได้หมายความว่าห้ามมิให้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง และแม้พระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯ จะมิได้บัญญัติวิธีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างไว้ก็ตามแต่ก็ไม่อาจนำขั้นตอนการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างในพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาใช้ได้เนื่องจากกฎหมายดังกล่าวใช้บังคับระหว่างนายจ้างและลูกจ้างในกิจการของเอกชนเท่านั้นไม่ได้ใช้บังคับแก่กิจการรัฐวิสาหกิจด้วย เมื่อประเทศประสบวิกฤตทางเศรษฐกิจคณะรัฐมนตรีย่อมมีมติให้ปรับลดเงินโบนัสของพนักงานรัฐวิสาหกิจลงได้โดยให้ปรับลดเงินโบนัสกรรมการและพนักงานฝ่ายบริหารของรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ ลงทุกแห่งทุกคนจึงมิได้ขัดต่อพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 20 และพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯ มาตรา 54 วรรคสองและมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวให้ปรับลดเงินโบนัสกรรมการและพนักงานฝ่ายบริหารของรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ ลงทุกแห่งทุกคนจึงไม่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 218-220/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขโบนัสโดยไม่ยินยอมขัดต่อสภาพการจ้าง แม้เป็นการปฏิบัติตามนโยบายรัฐ
แม้จำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจและโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจต้องตกอยู่ภายใต้บังคับมติของคณะรัฐมนตรีในการดำเนินการบริหารรัฐวิสาหกิจ แต่การที่จำเลยหักเงินโบนัส ของโจทก์สืบเนื่องมาจากจำเลยได้ปฏิบัติตามหนังสือของกระทรวงการคลังที่ขอความร่วมมือในการแก้ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจของประเทศโดย ให้จำเลยชักชวนพนักงานเสียสละปรับลดเงินโบนัสด้วยความสมัครใจ มิใช่เป็นมติของคณะรัฐมนตรีที่สั่งการให้ปรับลดเงินโบนัส การที่ จำเลยกำหนดหลักเกณฑ์การจ่ายเงินโบนัสและได้จ่ายเงินโบนัสตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์การจ่ายเงินโบนัส ซึ่งไม่เป็นคุณแก่พนักงานของจำเลยโดยพนักงานไม่ยินยอม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8926/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิค่าล่วงเวลาพนักงานรัฐวิสาหกิจงานขนส่ง: ข้อตกลงจ่ายค่าล่วงเวลาต้องชัดเจน
จำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายประกอบกิจการงานขนส่งเดินรถโดยสารประจำทาง โจทก์เป็นพนักงานประจำรายเดือนตำแหน่งพนักงานขับรถจึงเป็นพนักงานซึ่งทำงานขนส่ง ซึ่งตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534 ข้อ 28กำหนดว่า พนักงานที่ทำงานขนส่งไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาตามข้อ 25 และ 26เว้นแต่รัฐวิสาหกิจซึ่งเป็นนายจ้างตกลงจ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่พนักงาน แม้จำเลยมีคำสั่งเกี่ยวกับเบี้ยเลี้ยงพิเศษและอัตราเงินส่วนแบ่ง ให้พนักงานขับรถโดยสารและพนักงานเก็บค่าโดยสารได้รับเบี้ยเลี้ยงพิเศษเนื่องจากทำงานเกินวันละ 8 ชั่วโมงอันเป็นเวลาทำงานตามปกติและได้รับเงินส่วนแบ่งจากจำนวนตั๋วที่จำหน่ายได้ก็ตามแต่คำสั่งดังกล่าวมิใช่ข้อตกลงจ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่พนักงานขับรถโดยสารและพนักงานเก็บค่าโดยสาร โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา