พบผลลัพธ์ทั้งหมด 23 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2069/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยที่ 2 ไม่เป็นผู้ขนส่งอื่นตาม พ.ร.บ.รับขนทางทะเล และความรับผิดของผู้ขนส่งในระบบตู้สินค้า CY/CY
จำเลยที่ 2 มิได้เป็นคู่สัญญารับขนของทางทะเลกับผู้ส่งซึ่งว่าจ้างจำเลยที่ 1 ให้เป็นผู้ขนส่ง เมื่อจำเลยที่ 1 นำเรือเข้าจอดที่ท่าเรือของบริษัทจำเลยที่ 2 ได้มีการขนถ่ายตู้สินค้าที่ใช้ขนส่งสินค้าในคดีนี้ลงจากเรือ และจำเลยที่ 1 มอบให้จำเลยที่ 2 เพื่อให้จำเลยที่ 2 มอบตู้สินค้านั้นให้ผู้รับตราส่งต่อไป อันเป็นการประกอบกิจการเช่นเดียวกับการดำเนินงานของการท่าเรือแห่งประเทศไทย การดำเนินการดังกล่าวของจำเลยที่ 2 จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการที่จำเลยที่ 2 ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งให้ทำการขนส่งของตามสัญญารับขนของทางทะเลนั้นแม้เพียงช่วงระยะทางช่วงใดช่วงหนึ่ง จำเลยที่ 2 จึงมิใช่ผู้ขนส่งอื่น ตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 3
คำว่า "ผู้ขนส่งอื่น" ตามบทบัญญัติมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 นั้น ไม่รวมถึงบุคคลซึ่งได้รับมอบอำนาจโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายตามประเพณีในธุรกิจการรับขนของทางทะเลให้เป็นตัวแทนผู้ขนส่งหรือผู้ขนส่งอื่นในการดำเนินงานอันเกี่ยวกับธุรกิจเนื่องจากการรับขนของทางทะเล เช่น การขนถ่ายของขึ้นจากเรือหรือการส่งมอบสินค้าแก่ผู้รับตราส่ง ดังนี้ แม้จะฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 1 ให้เป็นผู้ขนย้ายตู้สินค้าจากเรือลงท่าเรือของบริษัทจำเลยที่ 2 และขนย้ายตู้สินค้าจากหน้าท่าไปยังลานเก็บสินค้าของท่าเรือ ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ขนส่งอื่น ตามบทบัญญัติมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว
การขนส่งสินค้าเม็ดพลาสติกเป็นการขนส่งในระบบตู้สินค้าแบบ ซีวาย/ซีวาย คือผู้ส่งสินค้าได้ไปตรวจสอบตู้สินค้าว่าอยู่ในสภาพเรียบร้อย เหมาะสมกับสินค้าที่ใช้บรรจุแล้ว ผู้ส่งสินค้าจึงนำตู้สินค้าไปทำการบรรจุและตรวจนับสินค้าเข้าตู้ รวมทั้งปิดผนึกดวงตราปากตู้ต่อหน้าเจ้าพนักงานศุลกากร โดยจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งไม่ได้เกี่ยวข้องด้วย ต่อมาผู้ส่งสินค้าได้นำตู้สินค้าดังกล่าวมามอบให้ตัวแทนของจำเลยที่ 1 บรรทุกลงเรือ เมื่อเรือเดินทางมาถึงประเทศไทยแล้ว จำเลยที่ 1 ได้ส่งมอบตู้สินค้านั้นให้เจ้าหน้าที่ท่าเรือของบริษัทจำเลยที่ 2 ในสภาพตู้และดวงตราผนึกปากตู้เรียบร้อย เช่นนี้ หน้าที่และความรับผิดของจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งจึงสิ้นสุดลง
การขนส่งในระบบตู้สินค้าแบบ ซีวาย/ซีวาย ผู้รับตราส่งที่ปลายทางมีหน้าที่รับตู้สินค้าจากท่าเรือไปเปิดตู้สินค้าที่โกดังของผู้รับตราส่งเองและเมื่อผู้รับตราส่งมาขอรับตู้สินค้าจากจำเลยที่ 2 จะต้องมีการตรวจสอบสภาพตู้สินค้าว่ามีสภาพเรียบร้อยหรือไม่ ซึ่งหากพบความเสียหายจะต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่ท่าเรือทราบและต้องมีการบันทึกหมายเหตุความเสียหายนั้นไว้ในใบรับมอบตู้สินค้า แต่ปรากฏว่าตัวแทนของบริษัท ท. ผู้รับตราส่งได้ลงลายมือชื่อรับมอบตู้สินค้าไปในสภาพเรียบร้อยโดยไม่มีการระบุว่าหลังคาตู้สินค้ามีรูรั่วหรือมีความเสียหายใด ๆ เลย อันแสดงว่าตัวแทนของบริษัท ท. ผู้รับตราส่งได้รับมอบตู้สินค้าดังกล่าวไปในสภาพเรียบร้อย ดังนั้น ข้อเท็จจริงจึงรับฟังไม่ได้ว่าความเสียหายของตู้สินค้าและสินค้าเกิดขึ้นในระหว่างที่อยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่ง หรือเกิดจากการกระทำโดยประมาทเลินเล่อของจำเลยทั้งสอง อันเป็นเหตุให้ผู้รับตราส่งซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยไว้แก่โจทก์ได้รับความเสียหายตามคำฟ้อง จำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์
คำว่า "ผู้ขนส่งอื่น" ตามบทบัญญัติมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 นั้น ไม่รวมถึงบุคคลซึ่งได้รับมอบอำนาจโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายตามประเพณีในธุรกิจการรับขนของทางทะเลให้เป็นตัวแทนผู้ขนส่งหรือผู้ขนส่งอื่นในการดำเนินงานอันเกี่ยวกับธุรกิจเนื่องจากการรับขนของทางทะเล เช่น การขนถ่ายของขึ้นจากเรือหรือการส่งมอบสินค้าแก่ผู้รับตราส่ง ดังนี้ แม้จะฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 1 ให้เป็นผู้ขนย้ายตู้สินค้าจากเรือลงท่าเรือของบริษัทจำเลยที่ 2 และขนย้ายตู้สินค้าจากหน้าท่าไปยังลานเก็บสินค้าของท่าเรือ ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ขนส่งอื่น ตามบทบัญญัติมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว
การขนส่งสินค้าเม็ดพลาสติกเป็นการขนส่งในระบบตู้สินค้าแบบ ซีวาย/ซีวาย คือผู้ส่งสินค้าได้ไปตรวจสอบตู้สินค้าว่าอยู่ในสภาพเรียบร้อย เหมาะสมกับสินค้าที่ใช้บรรจุแล้ว ผู้ส่งสินค้าจึงนำตู้สินค้าไปทำการบรรจุและตรวจนับสินค้าเข้าตู้ รวมทั้งปิดผนึกดวงตราปากตู้ต่อหน้าเจ้าพนักงานศุลกากร โดยจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งไม่ได้เกี่ยวข้องด้วย ต่อมาผู้ส่งสินค้าได้นำตู้สินค้าดังกล่าวมามอบให้ตัวแทนของจำเลยที่ 1 บรรทุกลงเรือ เมื่อเรือเดินทางมาถึงประเทศไทยแล้ว จำเลยที่ 1 ได้ส่งมอบตู้สินค้านั้นให้เจ้าหน้าที่ท่าเรือของบริษัทจำเลยที่ 2 ในสภาพตู้และดวงตราผนึกปากตู้เรียบร้อย เช่นนี้ หน้าที่และความรับผิดของจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งจึงสิ้นสุดลง
การขนส่งในระบบตู้สินค้าแบบ ซีวาย/ซีวาย ผู้รับตราส่งที่ปลายทางมีหน้าที่รับตู้สินค้าจากท่าเรือไปเปิดตู้สินค้าที่โกดังของผู้รับตราส่งเองและเมื่อผู้รับตราส่งมาขอรับตู้สินค้าจากจำเลยที่ 2 จะต้องมีการตรวจสอบสภาพตู้สินค้าว่ามีสภาพเรียบร้อยหรือไม่ ซึ่งหากพบความเสียหายจะต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่ท่าเรือทราบและต้องมีการบันทึกหมายเหตุความเสียหายนั้นไว้ในใบรับมอบตู้สินค้า แต่ปรากฏว่าตัวแทนของบริษัท ท. ผู้รับตราส่งได้ลงลายมือชื่อรับมอบตู้สินค้าไปในสภาพเรียบร้อยโดยไม่มีการระบุว่าหลังคาตู้สินค้ามีรูรั่วหรือมีความเสียหายใด ๆ เลย อันแสดงว่าตัวแทนของบริษัท ท. ผู้รับตราส่งได้รับมอบตู้สินค้าดังกล่าวไปในสภาพเรียบร้อย ดังนั้น ข้อเท็จจริงจึงรับฟังไม่ได้ว่าความเสียหายของตู้สินค้าและสินค้าเกิดขึ้นในระหว่างที่อยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่ง หรือเกิดจากการกระทำโดยประมาทเลินเล่อของจำเลยทั้งสอง อันเป็นเหตุให้ผู้รับตราส่งซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยไว้แก่โจทก์ได้รับความเสียหายตามคำฟ้อง จำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6940/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับขนของทางทะเล: การพิสูจน์หักล้างข้อสันนิษฐานสภาพสินค้าเสียหาย และความรับผิดของผู้ขนส่ง
พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 49 วรรคหนึ่ง คงบัญญัติให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ขนส่งได้ส่งมอบของซึ่งมีสภาพ จำนวน น้ำหนักและรายละเอียดอื่น ๆ ตรงตามที่ระบุไว้ในใบตราส่งให้แก่ผู้รับตราส่ง ซึ่งเป็นเพียงการสันนิษฐานในเบื้องต้นเท่านั้น ดังนี้แม้ผู้รับตราส่งได้รับมอบสินค้าพิพาทไปเก็บรักษาไว้ที่โกดังของตนแล้ว ต่อมาจึงได้มอบหมายให้บริษัท อ. เป็นผู้ทำการสำรวจสภาพของสินค้าที่พิพาทโดยไม่ปรากฏว่าได้มีการส่งคำบอกกล่าวเป็นหนังสือให้ผู้ขนส่งทราบถึงความเสียหายภายในเวลาหนึ่งวันทำการก็ตาม ผู้รับตราส่งก็สามารถนำพยานหลักฐานมาพิสูจน์หักล้างให้เห็นแตกต่างไปจากข้อสันนิษฐานดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4277/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความ 'ผู้ขนส่งอื่น' ตาม พ.ร.บ.รับขนทางทะเล: ตัวแทนของผู้ขนส่งไม่ใช่ผู้ขนส่งอื่น
"ผู้ขนส่งอื่น" ตามพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 3 วรรคสอง มีอยู่ 2 ประเภท คือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากผู้ขนส่งให้ทำการขนส่งของตามสัญญารับขนของทางทะเลประเภทหนึ่ง และบุคคลอื่นซึ่งผู้ขนส่งอื่นได้มอบหมายช่วงต่อไปให้ทำการขนส่งของนั้นอีกประเภทหนึ่ง แต่บุคคลซึ่งได้รับมอบอำนาจโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายตามประเพณีในธุรกิจการรับขนของทางทะเลให้เป็นตัวแทนผู้ขนส่งหรือผู้ขนส่งอื่นในการดำเนินงานอันเกี่ยวกับธุรกิจเนื่องจากการรับขนของทางทะเลนั้นไม่ถือว่าเป็นผู้ขนส่งอื่นด้วย
เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 2 ให้ทำการขนส่งของตามสัญญารับขนของทางทะเล แต่จำเลยที่ 1 เป็นเพียงตัวแทนของจำเลยที่ 2 ในการติดต่อว่าจ้างผู้รับเหมาให้ขนถ่ายสินค้าบางส่วนลงเรือฉลอมที่เกาะสีชังเพื่อให้เรือ ฟ. มีน้ำหนักเบาแล้วนำสินค้าเข้ามาที่ท่าเรือกรุงเทพ เพื่อให้การรับขนของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวการสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ดังนี้ จำเลยที่ 1 จึงมิใช่ผู้ขนส่งอื่นตามความหมายของพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 3 วรรคสอง
เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 2 ให้ทำการขนส่งของตามสัญญารับขนของทางทะเล แต่จำเลยที่ 1 เป็นเพียงตัวแทนของจำเลยที่ 2 ในการติดต่อว่าจ้างผู้รับเหมาให้ขนถ่ายสินค้าบางส่วนลงเรือฉลอมที่เกาะสีชังเพื่อให้เรือ ฟ. มีน้ำหนักเบาแล้วนำสินค้าเข้ามาที่ท่าเรือกรุงเทพ เพื่อให้การรับขนของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวการสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ดังนี้ จำเลยที่ 1 จึงมิใช่ผู้ขนส่งอื่นตามความหมายของพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 3 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5809/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับขนทางทะเลก่อน พ.ร.บ. 2534 ผู้รับประกันภัยมีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายได้ แม้มีข้อตกลงฟ้องศาลต่างประเทศ
การว่าจ้างขนส่งสินค้าทำสัญญาก่อนวันที่พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มีผลใช้บังคับ ดังนั้นการฟ้องเรียกค่าเสียหายเกี่ยวกับสินค้าพิพาทต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 616 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะนั้น อันเป็นบทกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่งปรับแก่คดีตามมาตรา 4 แม้ผู้ส่งกับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ขนส่งมีข้อตกลงกันว่าหากมีข้อพิพาทเกิดขึ้นจะต้องฟ้องคดีต่อศาลตามที่ระบุไว้ในใบตราส่ง แต่เมื่อสินค้าพิพาทได้รับความเสียหายในระหว่างการขนส่ง โจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยสินค้าพิพาทมีหน้าที่ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยและเป็นผู้เข้ารับช่วงสิทธิที่จะฟ้องเรียกเอาค่าเสียหายจากผู้ขนส่ง การรับช่วงสิทธิเกิดขึ้นโดยอำนาจแห่งกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 880 วรรคหนึ่งหาใช่เกิดจากข้อตกลงในสัญญาไม่ ดังนั้นข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่มีผลผูกพันโจทก์ผู้รับประกันภัย เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้ให้การต่อสู้ในเรื่องข้อจำกัดความรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นไว้จึงไม่ใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3937/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในคดีทุนทรัพย์น้อยกว่าสองแสนบาท และการใช้กฎหมายที่ใช้บังคับขณะเกิดเหตุในคดีรับขนทางทะเล
คดีที่มีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่งที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยไม่ได้เป็นผู้ออกใบตราส่งพยานโจทก์และจำเลยเบิกความสอดคล้องกันว่าจำเลยเป็นตัวแทนเจ้าของเรือตรงตามความหมายของคำว่า"ตัวแทน"ตามมาตรา3แห่งพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเลพ.ศ.2534มิใช่ผู้ขนส่งหรือผู้ขนส่งอื่นตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าวจำเลยจึงมิใช่ผู้ร่วมขนส่งสินค้าพิพาทไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์นั้นเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายต้องห้ามตามมาตรา248วรรคหนึ่งดังกล่าว ในคดีที่ฎีกาได้แต่เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายเช่นในคดีนี้การวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวน การใช้กฎหมายปรับแก่คดีนั้นต้องใช้กฎหมายที่มีผลใช้บังคับอยู่ในขณะที่เกิดข้อพิพาทปรับแก่คดีขณะเกิดเหตุข้อพิพาทคดีนี้ในปี2533พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเลพ.ศ.2534ยังมิได้ประกาศใช้จึงนำพระราชบัญญัติดังกล่าวมาปรับแก่คดีนี้หาได้ไม่ข้อพิพาทคดีนี้เกิดจากการรับขนของทางทะเลกรณีจึงต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา609วรรคสองซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาทมาปรับแก่คดีแต่เนื่องจากขณะนั้นไม่มีกฎหมายเกี่ยวกับการรับขนของทางทะเลบังคับใช้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา609วรรคสองทั้งไม่ปรากฎจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นในเรื่องดังกล่าวจึงต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ3ลักษณะ8รับขนมาตรา618อันเป็นกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาปรับแก่คดีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา4วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2929/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับขนทางทะเล: ความรับผิดของผู้ขนส่งกรณีสินค้าสูญหายจากความประมาทเลินเล่อ ไม่ใช่เหตุสุดวิสัย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า สินค้าของโจทก์เป็นเส้นใยฝ้ายจำนวน408 กล่อง น้ำหนัก 2,900 กิโลกรัม สูญหายทั้งหมด ซึ่งจำเลยก็ให้การรับว่าสินค้าของโจทก์ตกลงไปในทะเลและสูญหายทั้งหมด แสดงว่าจำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว รายการสินค้าที่เสียหายมีอย่างไรเป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา หาจำต้องบรรยายมาในฟ้องไม่ ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม คดีนี้เป็นเรื่องรับขนของทางทะเล ซึ่งขณะเกิดข้อพิพาทพระราชบัญญัติ การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 ยังไม่มีผลใช้บังคับทั้งไม่ปรากฏคลองจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นว่าด้วยรับขนของทางทะเลจึงต้องวินิจฉัยคดีโดยอาศัยเพียงบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งตามมาตรา 4 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์อันได้แก่ บทบัญญัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 8 รับขน มาตรา 616 ซึ่งบัญญัติว่า ผู้ขนส่งจะต้องรับผิดในการที่ของอันเขาได้มอบหมายแก่ตนนั้นสูญหาย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการสูญหายนั้นเกิดแต่เหตุสุดวิสัยเมื่อปรากฏว่า การบรรทุกสินค้าของจำเลยไม่รัดกุมพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้อุปกรณ์ผูกรัดตลอดจนวิธีการผูกรัดตู้คอนเทนเนอร์ไม่มั่นคงพอที่จะป้องกันความเสียหายอันเกิดจากคลื่นลมแรงได้ซึ่งเป็นที่แน่นอนว่าการขนส่งสินค้าทางทะเลโดยเรือสินค้ามรสุมคลื่นลมแรงในทะเลย่อมเป็นเรื่องที่อาจเกิดขึ้นเมื่อใดก็ได้ทั้งไม่ปรากฏว่าไม่อาจหาวิธีการอื่นใดในการผูกรัดและป้องกันการตกลงไปในทะเลของตู้คอนเทนเนอร์ให้ดีกว่าที่ปฏิบัติแล้วได้ และก่อนที่เรือจำเลยจะออกจากช่องแคบอังกฤษ ได้ทราบข่าวการพยากรณ์อากาศว่าจะเกิดคลื่นลมแรงแล้ว ดังนั้น หากนายเรือของจำเลยจะหยุดเรืออยู่ที่ช่องแคบอังกฤษรอจนกว่าคลื่นลมในอ่าวบิสเคย์สงบก่อนจึงค่อยออกเรือต่อไป ภัยพิบัติก็จะไม่เกิด จึงเป็นเรื่องที่นายเรือของจำเลยจะป้องกันได้ การที่นายเรือจำเลยอ้างว่าได้ทราบพยากรณ์อากาศแล้วยังเดินเรือต่อไป เพราะเห็นว่าไม่เป็นอันตรายสำหรับเรือขนาดบรรทุก 20,500 ตัน นับว่าเป็นความประมาทของนายเรือจำเลยโดยแท้ ฉะนั้นจึงมิใช่เหตุสุดวิสัย เมื่อจำเลยมีภาระในการพิสูจน์ถึงเหตุสุดวิสัยเพื่อให้พ้นความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 616 แต่นำสืบไม่ได้ตามคำให้การ จำเลยก็ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2768/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับขนทางทะเลต่างประเทศ: การบังคับใช้กฎหมายไทยเมื่อมูลคดีเกิดในไทย และข้อยกเว้นความรับผิด
สัญญารับขนทำในต่างประเทศระหว่างผู้ส่งและจำเลยผู้ขนส่งซึ่งต่างก็มิใช่บุคคลสัญชาติไทย เมื่อสินค้ามาถึงกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นตำบลที่กำหนดให้ส่ง และผู้รับตราส่งได้เรียกให้ส่งมอบแล้วแต่ปรากฏว่าสินค้าบางส่วนสูญหาย ทั้งผู้ซื้อและจำเลยเป็นนิติบุคคลที่มีสาขาในประเทศไทย มูลคดีจึงเกิดในประเทศไทย ต้องบังคับตามกฎหมายไทย กรณีไม่มีปัญหาตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481 มาตรา 13 เมื่อข้อเท็จจริงไม่พอฟังว่าผู้ส่งได้ทำความตกลงด้วยชัดแจ้งในการจำกัดความรับผิด ข้อความจำกัดความรับผิดด้านหลังใบตราส่งจึงใช้ยันผู้ส่งผู้รับตราส่งตลอดจนโจทก์ผู้รับช่วงสิทธิไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1112/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รับขนทางทะเล: ข้อจำกัดความรับผิดในใบตราส่งเป็นโมฆะ หากไม่มีการตกลงชัดเจน และการใช้กฎหมายต่างประเทศต้องยกขึ้นว่ากันตั้งแต่ต้น
จำเลยเพิ่งมาอ้างในชั้นฎีกาว่า การที่จะพิจารณาว่าจำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายตามสัญญาขนส่งพิพาทให้โจทก์หรือไม่เพียงใด ต้องบังคับตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางทะเลของสหรัฐอเมริกา เนื่องจากคู่สัญญาขนส่งคือผู้ส่งและผู้ขนส่งได้ตกลงไว้เช่นนั้นตามมาตรา 13 ของพ.ร.บ.ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พุทธศักราช 2481 ข้อต่อสู้ดังกล่าวจำเลยหาได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไว้ในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ไม่ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้เพราะถือว่ามิใช่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ตามป.วิ.พ. มาตรา 249
ขณะนี้ประเทศไทยไม่มีกฎหมายว่าด้วย การรับขนทางทะเลและไม่ปรากฏว่า มีจารีตประเพณีว่าด้วยการนี้จึงต้องใช้ ป.พ.พ.บรรพ 3ลักษณะ 8 เรื่องรับขน ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาปรับแก่คดีตาม ป.พ.พ. มาตรา 4 วรรค 3
ข้อยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดที่เขียนไว้ด้านหลังใบตราส่งนั้นหากไม่ปรากฏว่าผู้ส่งได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งย่อมเป็นโมฆะตามป.พ.พ. มาตรา 625.(ที่มา-ส่งเสริม)
ขณะนี้ประเทศไทยไม่มีกฎหมายว่าด้วย การรับขนทางทะเลและไม่ปรากฏว่า มีจารีตประเพณีว่าด้วยการนี้จึงต้องใช้ ป.พ.พ.บรรพ 3ลักษณะ 8 เรื่องรับขน ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาปรับแก่คดีตาม ป.พ.พ. มาตรา 4 วรรค 3
ข้อยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดที่เขียนไว้ด้านหลังใบตราส่งนั้นหากไม่ปรากฏว่าผู้ส่งได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งย่อมเป็นโมฆะตามป.พ.พ. มาตรา 625.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3844/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีรับขนทางทะเล, การจำกัดความรับผิด, และผลของสัญญาประกันภัย
จำเลยเป็นบริษัทในต่างประเทศ สายเดินเรือเมอสก์ สาขากรุงเทพเป็นกิจการของจำเลยจึงเป็นสาขาของจำเลยเมื่อสาขาดังกล่าวมี สำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตศาลชั้นต้นและได้ร่วมกระทำการ ในการขนส่งสินค้ารายพิพาท จึงถือว่าสำนักงานแห่งใหญ่ของ สายเดินเรือเมอสก์ สาขากรุงเทพ เป็นภูมิลำเนาของจำเลยตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 71วรรคสอง โจทก์ย่อมฟ้องจำเลย ต่อศาลชั้นต้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(2) ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ แต่ให้ยกฟ้อง เนื่องจากโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องโจทก์อุทธรณ์เรื่องอำนาจฟ้อง แม้จำเลย จะมิได้ยกประเด็นข้ออื่นขึ้นโต้แย้งไว้ในคำแก้อุทธรณ์ก็หาทำให้ ประเด็นดังกล่าวยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่เพราะการที่ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องแล้วยังวินิจฉัยประเด็นข้ออื่น ต่อไปอีกก็โดยมีความประสงค์ว่าหากศาลอุทธรณ์ไม่เห็นด้วยในประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องจะได้วินิจฉัยประเด็นอื่นไปทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวน ดังนี้ เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์มีอำนาจฟ้อง ศาลอุทธรณ์ก็ชอบ ที่จะวินิจฉัยประเด็นข้ออื่นต่อไปการที่ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยให้ และจำเลยยกประเด็นดังกล่าวขึ้นฎีกาต่อมาศาลฎีกาจึงสมควร วินิจฉัยไปทีเดียวโดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอีก
ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายว่าด้วยการรับขนของทางทะเลใช้บังคับ และไม่ปรากฏว่ามีประเพณีการขนส่งทางทะเลที่ถือปฏิบัติกันอยู่ จึงต้องนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะรับขน อันเป็นกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาปรับแก่คดี
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 625 ห้ามผู้ขนส่งกำหนดข้อความยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดไว้ในใบรับ ใบตราส่งหรือเอกสารอื่นๆทำนองนั้นเว้นแต่ผู้ส่งจะแสดงความตกลงด้วยชัดแจ้ง เมื่อฟังไม่ได้ว่าผู้ส่งได้แสดงความตกลงด้วยแจ้งชัด ข้อความจำกัด ความรับผิดจึงไม่มีผลใช้ยันผู้ส่งได้ และไม่อาจใช้ยันผู้รับตราส่ง ซึ่งได้รับช่วงสิทธิมาจากผู้ส่ง ตลอดจนผู้รับประกันภัยซึ่งรับช่วงสิทธิ ของผู้รับตราส่งมาอีกทอดหนึ่ง
สัญญาประกันภัยมีผลบังคับตั้งแต่ผู้รับประกันภัยตกลงรับประกันภัย และได้ออกหนังสือรับประกันภัยล่วงหน้าให้แก่ผู้เอาประกันภัยไว้ สัญญาประกันภัยทำขึ้นก่อนผู้เอาประกันภัยทราบว่าสินค้าสูญหาย แม้ว่าผู้รับประกันภัยจะออกกรมธรรม์ประกันภัยให้หลังจากผู้เอาประกันภัย ทราบว่าสินค้าสูญหายแล้ว สัญญาประกันภัยก็ไม่ตกเป็นโมฆะ
ข้อกำหนดในสัญญาประกันภัยที่ว่าในกรณีวัตถุที่เอาประกันภัยสูญหาย ผู้เอาประกันภัยจะต้องบอกกล่าวให้ตัวแทนของผู้รับประกันภัยทราบ เพื่อทำรายงานสำรวจเสียก่อนมิฉะนั้นจะไม่จ่ายเงินนั้นเป็นวิธีปฏิบัติ เพื่อให้ผู้รับประกันภัยเชื่อถือได้ว่าสินค้าที่เอาประกันภัยสูญหายจริงเท่านั้น หากผู้รับประกันภัยเชื่อถือได้แน่นอนแล้วจะไม่ถือข้อกำหนดนี้เป็น สาระสำคัญก็ได้หาเป็นการผิดเงื่อนไขตามกรมธรรม์ประกันภัยไม่
ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายว่าด้วยการรับขนของทางทะเลใช้บังคับ และไม่ปรากฏว่ามีประเพณีการขนส่งทางทะเลที่ถือปฏิบัติกันอยู่ จึงต้องนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะรับขน อันเป็นกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาปรับแก่คดี
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 625 ห้ามผู้ขนส่งกำหนดข้อความยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดไว้ในใบรับ ใบตราส่งหรือเอกสารอื่นๆทำนองนั้นเว้นแต่ผู้ส่งจะแสดงความตกลงด้วยชัดแจ้ง เมื่อฟังไม่ได้ว่าผู้ส่งได้แสดงความตกลงด้วยแจ้งชัด ข้อความจำกัด ความรับผิดจึงไม่มีผลใช้ยันผู้ส่งได้ และไม่อาจใช้ยันผู้รับตราส่ง ซึ่งได้รับช่วงสิทธิมาจากผู้ส่ง ตลอดจนผู้รับประกันภัยซึ่งรับช่วงสิทธิ ของผู้รับตราส่งมาอีกทอดหนึ่ง
สัญญาประกันภัยมีผลบังคับตั้งแต่ผู้รับประกันภัยตกลงรับประกันภัย และได้ออกหนังสือรับประกันภัยล่วงหน้าให้แก่ผู้เอาประกันภัยไว้ สัญญาประกันภัยทำขึ้นก่อนผู้เอาประกันภัยทราบว่าสินค้าสูญหาย แม้ว่าผู้รับประกันภัยจะออกกรมธรรม์ประกันภัยให้หลังจากผู้เอาประกันภัย ทราบว่าสินค้าสูญหายแล้ว สัญญาประกันภัยก็ไม่ตกเป็นโมฆะ
ข้อกำหนดในสัญญาประกันภัยที่ว่าในกรณีวัตถุที่เอาประกันภัยสูญหาย ผู้เอาประกันภัยจะต้องบอกกล่าวให้ตัวแทนของผู้รับประกันภัยทราบ เพื่อทำรายงานสำรวจเสียก่อนมิฉะนั้นจะไม่จ่ายเงินนั้นเป็นวิธีปฏิบัติ เพื่อให้ผู้รับประกันภัยเชื่อถือได้ว่าสินค้าที่เอาประกันภัยสูญหายจริงเท่านั้น หากผู้รับประกันภัยเชื่อถือได้แน่นอนแล้วจะไม่ถือข้อกำหนดนี้เป็น สาระสำคัญก็ได้หาเป็นการผิดเงื่อนไขตามกรมธรรม์ประกันภัยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8934/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีรับขนของทางทะเล: เริ่มนับจากวันส่งมอบสินค้า และการเรียกจำเลยร่วมเข้าสู่คดีไม่สะดุดอายุความ
พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 46 บัญญัติว่า สิทธิเรียกร้องเอาค่าเสียหายเพื่อการเสียหายแห่งของที่รับขนตามสัญญารับขนทางทะเล ถ้าไม่ได้ฟ้องคดีต่อศาลภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ผู้ขนส่งได้ส่งมอบของให้เป็นอันขาดอายุความ เมื่อข้อเท็จจริงฟังยุติว่า ผู้ขนส่งได้ส่งมอบของวันที่ 28 มิถุนายน 2547 สิทธิของโจทก์ในการฟ้องเรียกค่าเสียหายเพื่อการเสียหายแห่งของที่รับขนจึงเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 28 มิถุนายน 2547 แม้โจทก์จะฟ้องจำเลยภายในกำหนดอายุความก็ตาม แต่การฟ้องคดีดังกล่าว หาทำให้อายุความสำหรับจำเลยร่วมที่ 2 สะดุดหยุดลงไม่ เพราะกำหนดอายุความย่อมเป็นไปเพื่อคุณและโทษแก่ลูกหนี้แต่ละคนโดยเฉพาะ การจะฟังว่าอายุความสำหรับจำเลยร่วมที่ 2 ขาดแล้วหรือไม่ ต้องถือเอาวันที่จำเลยร่วมที่ 2 ถูกเรียกเข้ามาในคดีซึ่งเป็นวันเริ่มต้นคดีเป็นเกณฑ์ โดยไม่คำนึงว่าคู่ความฝ่ายใดเป็นผู้ขอให้เรียกจำเลยร่วมที่ 2 เข้ามา เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยยื่นคำร้องขอให้เรียกจำเลยร่วมที่ 2 เข้ามาในคดีในวันที่ 2 กันยายน 2548 จึงเกินกว่า 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ขนส่งได้ส่งมอบสินค้าพิพาทให้แก่ผู้รับตราส่ง คดีโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยร่วมที่ 2 จึงขาดอายุความ
1/1
1/1