พบผลลัพธ์ทั้งหมด 14 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 62/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับขนสินค้า, ส่วนได้เสีย, ข้อจำกัดความรับผิด, การรับช่วงสิทธิ, คำให้การปฏิเสธ
คำให้การของจำเลยที่ว่า "จำเลยไม่ทราบและไม่ขอรับรอง" เป็นคำให้การที่ไม่ได้แสดงโดยชัดแจ้งว่าจำเลยปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วน ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง ถือไม่ได้ว่าจำเลยให้การปฏิเสธจึงรับฟังข้อเท็จจริงได้ตามฟ้อง
บริษัท ด. และบริษัท อ. ร่วมทุนกันดำเนินธุรกิจขนส่งทางทะเล ใช้ชื่อทางการค้าว่าสายเดินเรือเมอสก์ และเรือซึ่งบรรทุกสินค้ารายนี้เป็นของสายเดินเรือเมอสก์ บริษัททั้งสองซึ่งร่วมทุนกันดังกล่าวจึงเป็นผู้รับขนสินค้ารายนี้ และถือได้ว่าจำเลยซึ่งเป็นสำนักงานสาขาของบริษัททั้งสองนั้นเป็นผู้รับขนสินค้ารายนี้ด้วย
การที่บริษัท ย. เป็นผู้สั่งสินค้าตามฟ้องเข้ามาจากประเทศสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ โดยการเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต ต่อ อินเตอร์เนชั่นแนลแบงค์ออฟไชน่า ถือได้ว่า บริษัท ย. เป็นผู้มีส่วนได้เสียในสินค้าที่เอาประกันไว้นั้น
ข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งในใบตราส่งที่พิมพ์เพิ่มเติมขึ้นจากแบบพิมพ์เดิมโดยไม่ปรากฏการรับรู้ของผู้ส่งหรือผู้ตราส่ง จะฟังว่าผู้ส่งหรือผู้ตราส่งตกลงด้วยในข้อจำกัดความรับผิดของจำเลยซึ่งเป็นผู้ขนส่งหาได้ไม่ และเมื่อข้อจำกัดความรับผิดนั้นไม่อาจใช้ยันผู้ส่งหรือผู้ตราส่งเสียแล้ว ก็ย่อมใช้ยันผู้รับตราส่งซึ่งได้รับสิทธิของผู้ส่งมาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 627 ตลอดจนผู้รับช่วงสิทธิของผู้รับตราส่งไม่ได้
บริษัท ด. และบริษัท อ. ร่วมทุนกันดำเนินธุรกิจขนส่งทางทะเล ใช้ชื่อทางการค้าว่าสายเดินเรือเมอสก์ และเรือซึ่งบรรทุกสินค้ารายนี้เป็นของสายเดินเรือเมอสก์ บริษัททั้งสองซึ่งร่วมทุนกันดังกล่าวจึงเป็นผู้รับขนสินค้ารายนี้ และถือได้ว่าจำเลยซึ่งเป็นสำนักงานสาขาของบริษัททั้งสองนั้นเป็นผู้รับขนสินค้ารายนี้ด้วย
การที่บริษัท ย. เป็นผู้สั่งสินค้าตามฟ้องเข้ามาจากประเทศสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ โดยการเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต ต่อ อินเตอร์เนชั่นแนลแบงค์ออฟไชน่า ถือได้ว่า บริษัท ย. เป็นผู้มีส่วนได้เสียในสินค้าที่เอาประกันไว้นั้น
ข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งในใบตราส่งที่พิมพ์เพิ่มเติมขึ้นจากแบบพิมพ์เดิมโดยไม่ปรากฏการรับรู้ของผู้ส่งหรือผู้ตราส่ง จะฟังว่าผู้ส่งหรือผู้ตราส่งตกลงด้วยในข้อจำกัดความรับผิดของจำเลยซึ่งเป็นผู้ขนส่งหาได้ไม่ และเมื่อข้อจำกัดความรับผิดนั้นไม่อาจใช้ยันผู้ส่งหรือผู้ตราส่งเสียแล้ว ก็ย่อมใช้ยันผู้รับตราส่งซึ่งได้รับสิทธิของผู้ส่งมาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 627 ตลอดจนผู้รับช่วงสิทธิของผู้รับตราส่งไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1583/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับขนสินค้าทางทะเล, อายุความ, การส่งมอบสินค้า, และความรับผิดของผู้ทรงใบตราส่ง
การรับขนของจากประเทศเดนมารค์และนอร์เวย์มายังประเทศไทย แม้ของจะมาถึงประเทศไทยแล้ว ก็ยังเป็นสัญญาในการรับขนของทางทะเล ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 609 ซึ่งในปัจจุบันนี้กฎหมายและกฎข้อบังคับของประเทศไทยว่าด้วยการรับขนของทางทะเลยังไม่มี
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 624 ไม่ใช่กฎหมายว่าด้วยการรับขนของทางทะเล
การตกลงกันให้ใช้กฎหมายเดนมาร์คบังคับแก่ข้อพิพาท ย่อมจะให้ใช้ได้เพียงที่ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแห่งประเทศไทย
กฎหมายเรื่องอายุความ เป็นกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประเทศไทย ฉะนั้น ข้อตกลงหรือเงื่อนไขในใบตราส่งในส่วนที่จะให้มีผลถึงการใช้กฎหมายเรื่องอายุความของกฎหมายเดนมาร์คมาบังคับแก่ข้อพิพาทในคดีนี้ จึงใช้บังคับไม่ได้
แม้โจทก์จะไปรับสินค้าจากจำเลยเป็นเวลาล่าช้าก็ดี ก็ไม่เป็นเหตุถึงกับจะทำให้โจทก์หมดสิทธิที่จะรับสินค้านั้นจากจำเลย หากการล่าช้านั้นเป็นเหตุให้เกิดการเสียหายแก่จำเลยอย่างใด ก็เป็นเรื่องที่จะว่ากล่าวกันได้
โจทก์เป็นผู้ทรงใบตราส่งโดยชอบตามใบกำกับสินค้าซึ่งมีรายการตามใบตราส่งและซึ่งมีอยู่ที่จำเลยนั้น ปรากฏว่า รายการเกี่ยวกับผู้รับตราส่งลงไว้โดยมิได้ระบุชื่อผู้ใด แต่ลงว่า 'ตามคำสั่ง' ซึ่งจำเลยมีหน้าที่จะต้องส่งมอบสินค้านั้นให้แก่ผู้ทรงใบตราส่ง แต่จำเลยกลับมอบสินค้านั้นแก่บริษัทอุดม จำกัด ไปโดยที่บริษัทอุดม จำกัด มิใช่ผู้รับตราส่งไม่ได้เป็นผู้ทรงใบตราส่ง เป็นการส่งโดยมิชอบ แม้จำเลยจะอ้างว่าเป็นประเพณีที่ปฏิบัติกันเช่นนั้นจำเลยก็ยังต้องรับผิดต่อโจทก์
โจทก์เป็นทั้งผู้ทรงใบตราส่งและผู้ทรงตั๋วแลกเงินตั๋วแลกเงินยังไม่ได้มีการใช้เงิน หนี้จึงยังไม่ระงับสิ้นไป โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลย
จำเลยอาจฟ้องธนาคารแหลมทอง จำกัด เรียกให้ชำระหนี้แก่จำเลยตามสัญญาค้ำประกันที่ธนาคารแหลมทอง จำกัด เป็นผู้ค้ำประกัน ในการที่บริษัทอุดม จำกัด รับสินค้าไปจากจำเลย ถ้าหากจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ตามที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ จำเลยก็ย่อมจะขอให้เรียกธนาคารแหลมทอง จำกัดเข้ามาในคดีได้ แต่จะพิพากษาให้ธนาคารแหลมทองจำกัดต้องรับผิดแทนจำเลยหาได้ไม่ เพราะโจทก์ไม่มีนิติสัมพันธ์อันใดกับธนาคารแหลมทองจำกัด
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 624 ไม่ใช่กฎหมายว่าด้วยการรับขนของทางทะเล
การตกลงกันให้ใช้กฎหมายเดนมาร์คบังคับแก่ข้อพิพาท ย่อมจะให้ใช้ได้เพียงที่ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแห่งประเทศไทย
กฎหมายเรื่องอายุความ เป็นกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประเทศไทย ฉะนั้น ข้อตกลงหรือเงื่อนไขในใบตราส่งในส่วนที่จะให้มีผลถึงการใช้กฎหมายเรื่องอายุความของกฎหมายเดนมาร์คมาบังคับแก่ข้อพิพาทในคดีนี้ จึงใช้บังคับไม่ได้
แม้โจทก์จะไปรับสินค้าจากจำเลยเป็นเวลาล่าช้าก็ดี ก็ไม่เป็นเหตุถึงกับจะทำให้โจทก์หมดสิทธิที่จะรับสินค้านั้นจากจำเลย หากการล่าช้านั้นเป็นเหตุให้เกิดการเสียหายแก่จำเลยอย่างใด ก็เป็นเรื่องที่จะว่ากล่าวกันได้
โจทก์เป็นผู้ทรงใบตราส่งโดยชอบตามใบกำกับสินค้าซึ่งมีรายการตามใบตราส่งและซึ่งมีอยู่ที่จำเลยนั้น ปรากฏว่า รายการเกี่ยวกับผู้รับตราส่งลงไว้โดยมิได้ระบุชื่อผู้ใด แต่ลงว่า 'ตามคำสั่ง' ซึ่งจำเลยมีหน้าที่จะต้องส่งมอบสินค้านั้นให้แก่ผู้ทรงใบตราส่ง แต่จำเลยกลับมอบสินค้านั้นแก่บริษัทอุดม จำกัด ไปโดยที่บริษัทอุดม จำกัด มิใช่ผู้รับตราส่งไม่ได้เป็นผู้ทรงใบตราส่ง เป็นการส่งโดยมิชอบ แม้จำเลยจะอ้างว่าเป็นประเพณีที่ปฏิบัติกันเช่นนั้นจำเลยก็ยังต้องรับผิดต่อโจทก์
โจทก์เป็นทั้งผู้ทรงใบตราส่งและผู้ทรงตั๋วแลกเงินตั๋วแลกเงินยังไม่ได้มีการใช้เงิน หนี้จึงยังไม่ระงับสิ้นไป โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลย
จำเลยอาจฟ้องธนาคารแหลมทอง จำกัด เรียกให้ชำระหนี้แก่จำเลยตามสัญญาค้ำประกันที่ธนาคารแหลมทอง จำกัด เป็นผู้ค้ำประกัน ในการที่บริษัทอุดม จำกัด รับสินค้าไปจากจำเลย ถ้าหากจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ตามที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ จำเลยก็ย่อมจะขอให้เรียกธนาคารแหลมทอง จำกัดเข้ามาในคดีได้ แต่จะพิพากษาให้ธนาคารแหลมทองจำกัดต้องรับผิดแทนจำเลยหาได้ไม่ เพราะโจทก์ไม่มีนิติสัมพันธ์อันใดกับธนาคารแหลมทองจำกัด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9784/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับขนสินค้าทางทะเล ผู้ขนส่งต้องเวนคืนใบตราส่งก่อนส่งมอบสินค้า ผู้ซื้อยังไม่ชำระเงินถือเป็นการผิดสัญญา
ใบตราส่งถือเป็นหลักฐานแห่งสัญญารับขนของทางทะเล ซึ่งจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ขนส่งได้ออกให้แก่โจทก์ผู้ส่ง อันแสดงว่า จำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งได้รับของตามที่ระบุไว้ในใบตราส่งไว้ในความดูแลหรือได้บรรทุกของลงเรือแล้ว และรับที่จะส่งมอบของดังกล่าวให้แก่ผู้มีสิทธิรับของนั้นเมื่อได้รับเวนคืนใบตราส่งตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 3 และเมื่อออกใบตราส่งให้แก่โจทก์แล้ว จำเลยที่ 1 จะส่งมอบของให้ได้ก็ต่อเมื่อผู้รับตราส่งเวนคืนใบตราส่งนั้นแก่จำเลยที่ 1 ในกรณีที่ผู้รับตราส่งขอรับของโดยไม่มีใบตราส่งก็จะต้องมีประกันตามสมควรตามมาตรา 28
เมื่อจำเลยที่ 1 ส่งมอบสินค้าให้ผู้ซื้อโดยผู้ซื้อไม่ได้นำต้นฉบับใบตราส่งไปเป็นหลักฐานในการขอให้ปล่อยสินค้าและเวนคืนต้นฉบับหรือคู่ฉบับใบตราส่งให้แก่จำเลยที่ 1 โดยพยานของจำเลยที่ 1 รับว่าสินค้าถูกปล่อยไปตามสำเนาใบตราส่ง ที่จำเลยที่ 1 อ้างว่าใบตราส่งดังกล่าวเป็นชนิดไม่สามารถโอนเปลี่ยนมือได้ แต่ใบตราส่งดังกล่าวก็มีข้อความระบุให้ต้องมีการเวนคืนต้นฉบับใบตราส่ง และแม้การซื้อขายสินค้าพิพาทอาจมีข้อโต้แย้งกันตามที่ปรากฏในจดหมายโต้ตอบของโจทก์ก็เป็นเรื่องของคู่สัญญาซื้อขาย ไม่เกี่ยวข้องกับหน้าที่ความรับผิดของผู้ขนส่งที่มีต่อผู้ส่ง จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ตามที่ พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 บัญญัติไว้ การที่จำเลยที่ 1 ส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้ซื้อโดยมิได้รับเวนคืนต้นฉบับใบตราส่งย่อมเป็นการไม่ชอบและเป็นการผิดสัญญารับขนของทางทะเลต่อโจทก์ต้องรับผิดชำระค่าเสียหายให้แก่โจทก์
แม้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐ แต่จำเลยที่ 1 ยังมีสิทธิเลือกชำระเป็นเงินไทยตามเงื่อนไขใน ป.พ.พ. มาตรา 196 ได้ โดยหากจำเลยที่ 1 ชำระเป็นเงินไทย ให้คิดอัตราถัวเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ ณ สถานที่และในวันที่มีการใช้เงิน ถ้าไม่มีอัตราแลกเปลี่ยนในวันดังกล่าว ให้ถือเอาวันสุดท้ายที่มีอัตราแลกเปลี่ยนเช่นว่านั้นก่อนวันที่มีการใช้เงิน
เมื่อจำเลยที่ 1 ส่งมอบสินค้าให้ผู้ซื้อโดยผู้ซื้อไม่ได้นำต้นฉบับใบตราส่งไปเป็นหลักฐานในการขอให้ปล่อยสินค้าและเวนคืนต้นฉบับหรือคู่ฉบับใบตราส่งให้แก่จำเลยที่ 1 โดยพยานของจำเลยที่ 1 รับว่าสินค้าถูกปล่อยไปตามสำเนาใบตราส่ง ที่จำเลยที่ 1 อ้างว่าใบตราส่งดังกล่าวเป็นชนิดไม่สามารถโอนเปลี่ยนมือได้ แต่ใบตราส่งดังกล่าวก็มีข้อความระบุให้ต้องมีการเวนคืนต้นฉบับใบตราส่ง และแม้การซื้อขายสินค้าพิพาทอาจมีข้อโต้แย้งกันตามที่ปรากฏในจดหมายโต้ตอบของโจทก์ก็เป็นเรื่องของคู่สัญญาซื้อขาย ไม่เกี่ยวข้องกับหน้าที่ความรับผิดของผู้ขนส่งที่มีต่อผู้ส่ง จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ตามที่ พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 บัญญัติไว้ การที่จำเลยที่ 1 ส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้ซื้อโดยมิได้รับเวนคืนต้นฉบับใบตราส่งย่อมเป็นการไม่ชอบและเป็นการผิดสัญญารับขนของทางทะเลต่อโจทก์ต้องรับผิดชำระค่าเสียหายให้แก่โจทก์
แม้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐ แต่จำเลยที่ 1 ยังมีสิทธิเลือกชำระเป็นเงินไทยตามเงื่อนไขใน ป.พ.พ. มาตรา 196 ได้ โดยหากจำเลยที่ 1 ชำระเป็นเงินไทย ให้คิดอัตราถัวเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ ณ สถานที่และในวันที่มีการใช้เงิน ถ้าไม่มีอัตราแลกเปลี่ยนในวันดังกล่าว ให้ถือเอาวันสุดท้ายที่มีอัตราแลกเปลี่ยนเช่นว่านั้นก่อนวันที่มีการใช้เงิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5482/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีรับขนสินค้าทางทะเล: การพิจารณาประเภทมูลคดี (สัญญาขนส่ง vs. การติดตามทรัพย์คืน) มีผลต่ออายุความ
การอ้างมูลแห่งการฟ้องร้องที่ต่างกันระหว่างมูลตามสัญญารับขนของทางทะเลกับมูลเจ้าของกรรมสิทธิ์ใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์คืนนั้นย่อมมีผลต่อรูปคดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องหน้าที่นำสืบที่ต่างกัน โดยในมูลที่ฟ้องว่า ผู้ขนส่งปฏิบัติผิดสัญญารับขนนั้น โจทก์ซึ่งรับช่วงสิทธิมาจากผู้ส่งมีหน้าที่นำสืบเพียงว่า สินค้าได้สูญหายไปในระหว่างการขนส่ง และเป็นเรื่องที่ผู้ขนส่งจะต้องสืบแก้ว่า ความสูญหายนั้นเข้าข้อยกเว้นความรับผิดตามมาตรา 52 (1) ถึง (13) แห่ง พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเลฯ แต่ในการฟ้องคดีเพื่อติดตามเอาทรัพย์คืนเพราะทรัพย์ยังอยู่ที่ผู้ขนส่ง ไม่ได้สูญหายไปแล้วนั้น โจทก์มีภาระการพิสูจน์ว่า ทรัพย์ยังคงอยู่ที่ผู้ขนส่งโดยผู้ขนส่งได้ยึดถือทรัพย์ไว้โดยมิชอบ
คดีนี้ลักษณะของการกล่าวอ้างยืนยันตามคำบรรยายฟ้องก็เพื่อที่จะนำสืบพิสูจน์เพียงว่า สินค้าสูญหายไปในระหว่างขนส่งเท่านั้น ไม่ได้กล่าวอ้างยืนยันเพื่อที่จะนำสืบพิสูจน์ว่าทรัพย์ยังอยู่ที่ผู้ขนส่งโดยผู้ขนส่งยึดถือไว้โดยไม่ชอบ จึงเป็นเรื่องการฟ้องให้จำเลยที่ 2 ผู้ขนส่งรับผิดในความสูญหายของสินค้าในระหว่างการขนส่งเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในข้อที่โจทก์ขอให้จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ทำสัญญารับขนแทนจำเลยที่ 2 ซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ด้วย
จำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้เรื่องอายุความว่า นับแต่เวลาอันควรส่งมอบสินค้าจนถึงวันฟ้องคดีล่วงเลยอายุความที่จะต้องฟ้องให้ผู้ขนส่งรับผิดในความสูญหายของสินค้าไปแล้ว และข้อเท็จจริงปรากฏว่าเรือเข้าเทียบท่าปลายทางตั้งแต่วันที่ 5 กรกฎาคม 2543 ซึ่งควรจะมีการส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้รับตราส่งในวันดังกล่าวหรือในระยะเวลาไม่ห่างจากเวลาเรือเทียบท่ามากนัก แต่ปรากฏว่าโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2546 อันเป็นเวลาหลังจากเวลาอันควรส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้รับตราส่ง 3 ปีเศษ และเป็นเวลาหลังจากที่บริษัท ซ. เรียกร้องให้โจทก์ใช้ค่าเสียหายเพราะสินค้าได้สูญหายไประหว่างเรือขนส่งสินค้าถ่ายลำที่ประเทศสิงคโปร์ถึง 3 ปีเศษแล้วเช่นกัน ดังนั้น เมื่อมาตรา 46 แห่ง พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเลฯ บัญญัติว่าสิทธิเรียกร้องเอาค่าเสียหายเพื่อการสูญหาย เสียหาย หรือส่งมอบชักช้าแห่งของที่รับขนตามสัญญารับขนของทางทะเล ถ้าไม่ได้ฟ้องคดีต่อศาลหรือเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ผู้ขนส่งมอบของ หรือถ้าไม่มีการส่งมอบนับแต่วันที่ล่วงเลยกำหนดส่งมอบตามมาตรา 41 (1) หรือนับแต่วันที่ล่วงเลยกำหนดเวลาอันสมควรตามมาตรา 41 (2) ให้เป็นอันขาดอายุความ ฟ้องโจทก์ในคดีนี้ที่ฟ้องให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์ในมูลดังกล่าวจึงขาดอายุความ 1 ปี ตามบทมาตราดังกล่าวแล้ว
คดีนี้ลักษณะของการกล่าวอ้างยืนยันตามคำบรรยายฟ้องก็เพื่อที่จะนำสืบพิสูจน์เพียงว่า สินค้าสูญหายไปในระหว่างขนส่งเท่านั้น ไม่ได้กล่าวอ้างยืนยันเพื่อที่จะนำสืบพิสูจน์ว่าทรัพย์ยังอยู่ที่ผู้ขนส่งโดยผู้ขนส่งยึดถือไว้โดยไม่ชอบ จึงเป็นเรื่องการฟ้องให้จำเลยที่ 2 ผู้ขนส่งรับผิดในความสูญหายของสินค้าในระหว่างการขนส่งเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในข้อที่โจทก์ขอให้จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ทำสัญญารับขนแทนจำเลยที่ 2 ซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ด้วย
จำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้เรื่องอายุความว่า นับแต่เวลาอันควรส่งมอบสินค้าจนถึงวันฟ้องคดีล่วงเลยอายุความที่จะต้องฟ้องให้ผู้ขนส่งรับผิดในความสูญหายของสินค้าไปแล้ว และข้อเท็จจริงปรากฏว่าเรือเข้าเทียบท่าปลายทางตั้งแต่วันที่ 5 กรกฎาคม 2543 ซึ่งควรจะมีการส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้รับตราส่งในวันดังกล่าวหรือในระยะเวลาไม่ห่างจากเวลาเรือเทียบท่ามากนัก แต่ปรากฏว่าโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2546 อันเป็นเวลาหลังจากเวลาอันควรส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้รับตราส่ง 3 ปีเศษ และเป็นเวลาหลังจากที่บริษัท ซ. เรียกร้องให้โจทก์ใช้ค่าเสียหายเพราะสินค้าได้สูญหายไประหว่างเรือขนส่งสินค้าถ่ายลำที่ประเทศสิงคโปร์ถึง 3 ปีเศษแล้วเช่นกัน ดังนั้น เมื่อมาตรา 46 แห่ง พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเลฯ บัญญัติว่าสิทธิเรียกร้องเอาค่าเสียหายเพื่อการสูญหาย เสียหาย หรือส่งมอบชักช้าแห่งของที่รับขนตามสัญญารับขนของทางทะเล ถ้าไม่ได้ฟ้องคดีต่อศาลหรือเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ผู้ขนส่งมอบของ หรือถ้าไม่มีการส่งมอบนับแต่วันที่ล่วงเลยกำหนดส่งมอบตามมาตรา 41 (1) หรือนับแต่วันที่ล่วงเลยกำหนดเวลาอันสมควรตามมาตรา 41 (2) ให้เป็นอันขาดอายุความ ฟ้องโจทก์ในคดีนี้ที่ฟ้องให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์ในมูลดังกล่าวจึงขาดอายุความ 1 ปี ตามบทมาตราดังกล่าวแล้ว