พบผลลัพธ์ทั้งหมด 21 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3707/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกอบการผลิตคอนกรีตผสมเสร็จตามสั่งเข้าข่ายเป็นการขายสินค้า ไม่ใช่การรับจ้างทำของ
โจทก์จะผลิตคอนกรีตผสมเสร็จต่อเมื่อได้รับคำสั่งจากลูกค้าตามสูตรสำเร็จของโจทก์หรือตามความต้องการของลูกค้าโดยใช้วัสดุของโจทก์เอง แล้วโจทก์จะนำคอนกรีตผสมเสร็จบรรทุกรถที่มีโม่เพื่อกวนคอนกรีตให้เข้ากันและป้องกันการแข็งตัวไปส่งยังสถานที่ที่ลูกค้ากำหนด แม้โจทก์จะนำคอนกรีตผสมเสร็จที่ใช้แล้วไปทดสอบ แรงอัดประลัย หากไม่ได้ขนาดที่ตกลงกันโจทก์จะต้องรับผิดชอบในความเสียหายนั้นก็เป็นการรับผิดชอบในคุณสมบัติของของที่นำไปใช้งานและการที่ไม่ผลิตเป็นตัวสินค้าให้สำเร็จก่อนมีการสั่งซื้อก็เพราะเกี่ยวกับสภาพของของไม่อาจทำเช่นนั้นได้ การประกอบการของโจทก์จึงเป็นการผลิตเพื่อขายอันเป็นการประกอบการค้าประเภท 1 การขายของต้องเสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 1.5 ของรายรับ ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้า(ฉบับที่ 54) พ.ศ. 2517 มาตรา 7(3) และบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกา ดังกล่าวมิใช่การรับจ้างทำของอันเป็นประเภทการค้า 4 ชนิด 1(ฉ) แห่ง บัญชีอัตราภาษีการค้า ซึ่งจะต้องเสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 3 ของรายรับ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2755/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษีอากร: การให้สัตยาบันการกระทำของตัวแทน & การรับจ้างทำของ
การที่ ป. กรรมการของโจทก์ลงลายมือชื่อในคำอุทธรณ์ที่อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เพียงคนเดียวโดยมิได้ประทับตราบริษัทโจทก์ เป็นการกระทำภายในขอบวัตถุประสงค์ของโจทก์ โจทก์ก็ได้ยอมรับเอาผลของการกระทำนั้น ถือได้ว่าเป็นการให้สัตยาบันแก่การยื่นอุทธรณ์ของโจทก์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยก็ได้ยอมรับคำอุทธรณ์ที่ ป. ทำไปว่าเป็นอุทธรณ์ของโจทก์ ถือว่าโจทก์ได้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แล้ว จึงมีอำนาจฟ้อง การที่โจทก์เพียงแต่ใช้แรงงานและเครื่องมือเครื่องใช้ของโจทก์ผลิตสบู่ขึ้นมาตามสูตรและส่วนผสมที่ผู้ว่าจ้างกำหนด โดยผู้ว่าจ้างเป็นผู้จัดหาสัมภาระทั้งหมดที่ใช้ในการผลิต ย่อมแสดงว่าผู้ว่าจ้างหวังผลสำเร็จแห่งการงานที่จ้างเป็นสำคัญ และเป็นที่เห็นได้ว่าสบู่ที่โจทก์ผลิตขึ้นนั้นตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ว่าจ้างมาแต่แรก เงินที่ผู้ว่าจ้างจ่ายให้โจทก์จึงมิใช่ค่าตอบแทนการโอนกรรมสิทธิ์ในสบู่ที่โจทก์ผลิตขึ้น แต่เป็นเงินสินจ้างหรือค่าตอบแทนในการที่โจทก์ผลิตสบู่ให้ตามที่ว่าจ้าง นอกจากนี้ยังปรากฏด้วยว่าผู้ว่าจ้างได้เสียภาษีการค้าในฐานะผู้ผลิตให้แก่จำเลยไว้แล้ว กรณีจึงมิใช่การขายของแต่เป็นการรับจ้างทำของ จะต้องเสียภาษีการค้าในประเภทการค้า 4 การรับจ้างทำของชนิด 1(ฉ) ในฐานะผู้รับจ้าง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 258/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขาย vs. รับจ้างทำของ: การผลิตอิฐทนไฟตามสั่งเสียภาษีการค้าประเภทใด
ข้อแตกต่างระหว่างการซื้อขายและการรับจ้างทำของนั้นหาได้อยู่ที่เจตนาและกริยาของคู่กรณีที่ประพฤติต่อกันแต่ประการเดียวไม่ แต่ความสำคัญอยู่ที่ว่า สัมภาระกับการงานที่รับทำจนสำเร็จนั้นสิ่งไหนสำคัญกว่ากัน ถ้าการงานที่รับทำจนสำเร็จสำคัญกว่าสัมภาระก็เป็นรับจ้างทำของ แต่ถ้าไม่สำคัญกว่าก็เป็นการซื้อขาย
การผลิตอิฐทนไฟไม่ว่าจะเป็นการผลิตแบบมาตรฐานหรือผลิตตามคำสั่งเป็นการเฉพาะราย วัตถุดิบหรือสัมภาระที่ใช้ได้แก่บล๊อกไซด์ ชามอส อลูมิน่า ดินทนไฟ นำมาผสมกัน เติมด้วยสารเคมีแล้วนาไปอัดเป็นรูปแบบต่าง ๆ จากนั้นจึงนำไปเผาไฟ จึงเห็นได้ว่าอิฐทนไฟที่ผลิตหาได้มีความสำคัญไปกว่าสัมภาระหรือวัตถุดิบที่นำมาใช้ในการผลิตไม่ การผลิตอิฐทนไฟตามคำสั่งเฉพาะรายของลูกค้าจึงมิใช่เป็นการรับจ้างทำของ แต่เป็นการผลิตและจำหน่ายอิฐทนไฟเช่นเดียวกับอิฐทนไฟแบบมาตรฐานนั่นเอง ดังนั้นรายรับที่ได้จากการผลิตและจำหน่ายอิฐทนไฟตามคำสั่งของลูกค้าเป็นการเฉพาะราย จึงต้องเสียภาษีการค้าในประเภทการค้า 1.การขายของ ชนิด 1 (ก) ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 7 เช่นเดียวกับรายรับที่ได้จากการผลิตและจำหน่ายอิฐทนไฟแบบมาตรฐาน มิใช่เสียภาษีการค้าในประเภทการค้า 4.การรับจ้างทำของ ชนิด 1 (ฉ) ในอัตราร้อยละ 2
การผลิตอิฐทนไฟไม่ว่าจะเป็นการผลิตแบบมาตรฐานหรือผลิตตามคำสั่งเป็นการเฉพาะราย วัตถุดิบหรือสัมภาระที่ใช้ได้แก่บล๊อกไซด์ ชามอส อลูมิน่า ดินทนไฟ นำมาผสมกัน เติมด้วยสารเคมีแล้วนาไปอัดเป็นรูปแบบต่าง ๆ จากนั้นจึงนำไปเผาไฟ จึงเห็นได้ว่าอิฐทนไฟที่ผลิตหาได้มีความสำคัญไปกว่าสัมภาระหรือวัตถุดิบที่นำมาใช้ในการผลิตไม่ การผลิตอิฐทนไฟตามคำสั่งเฉพาะรายของลูกค้าจึงมิใช่เป็นการรับจ้างทำของ แต่เป็นการผลิตและจำหน่ายอิฐทนไฟเช่นเดียวกับอิฐทนไฟแบบมาตรฐานนั่นเอง ดังนั้นรายรับที่ได้จากการผลิตและจำหน่ายอิฐทนไฟตามคำสั่งของลูกค้าเป็นการเฉพาะราย จึงต้องเสียภาษีการค้าในประเภทการค้า 1.การขายของ ชนิด 1 (ก) ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 7 เช่นเดียวกับรายรับที่ได้จากการผลิตและจำหน่ายอิฐทนไฟแบบมาตรฐาน มิใช่เสียภาษีการค้าในประเภทการค้า 4.การรับจ้างทำของ ชนิด 1 (ฉ) ในอัตราร้อยละ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 258/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขาย vs. รับจ้างทำของ: การผลิตอิฐทนไฟตามสั่งพิจารณาจากความสำคัญของวัตถุดิบและงานสำเร็จ
ข้อแตกต่างระหว่างการซื้อขายและการรับจ้างทำของนั้นหาได้อยู่ที่เจตนาและกิริยาของคู่กรณีที่ประพฤติต่อกันแต่ประการเดียวไม่แต่ความสำคัญอยู่ที่จะต้องพิจารณาว่าสัมภาระกับงานที่รับทำจนสำเร็จนั้นสิ่งไหนสำคัญกว่ากัน ถ้า การงานที่รับทำจนสำเร็จสำคัญกว่าสัมภาระก็เป็นการรับจ้างทำของ แต่ถ้า ไม่สำคัญกว่าก็เป็นการซื้อขาย การผลิตอิฐทนไฟไม่ว่าจะเป็นการผลิตตามแบบมาตรฐานหรือผลิตตามคำสั่งเป็นการเฉพาะรายของโจทก์นั้น วัตถุดิบหรือสัมภาระที่ใช้ในการทำอิฐ ทน ไฟ ได้แก่ บล๊อกไซด์ชามอสอลูมิน่า ดิน ทนไฟ นำมาผสมกันเติม ด้วยสารเคมี แล้วนำไปอัดเป็นรูปแบบต่าง ๆ จากนั้นจึงนำไปเผาไฟ อิฐทนไฟที่ผลิตได้หาได้มีความสำคัญไปกว่าสัมภาระหรือวัตถุดิบที่นำมาใช้ในการผลิตไม่ การผลิตอิฐทนไฟตามคำสั่งเฉพาะรายของลูกค้าจึงหาใช่เป็นการรับจ้างทำของไม่ แต่เป็นการผลิตและจำหน่ายอิฐทนไฟเช่นเดียวกันอิฐทนไฟแบบมาตรฐานรายรับที่ได้จากการผลิตและจำหน่ายอิฐทนไฟตามคำสั่งของลูกค้าเป็นการเฉพาะรายจึงต้องเสียภาษีการค้าในประเภทการค้า 1.การขายของ ชนิด 1(ก) ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 7 เช่นเดียวกับการผลิตและจำหน่ายอิฐทนไฟแบบมาตรฐาน จะนำมาแยกเสียภาษีการค้าในประเภทการค้า4. การรับจ้างทำของ ชนิด 1(ฉ) ในอัตราร้อยละ 2 หาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 258/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขาย vs. รับจ้างทำของ: การพิจารณาจากความสำคัญของวัตถุดิบและผลงานสำเร็จ
ข้อแตกต่างระหว่างการซื้อขายและการรับจ้างทำของนั้นหาได้อยู่ที่เจตนาและกริยาของคู่กรณีที่ประพฤติต่อกันแต่ประการเดียวไม่ แต่ความสำคัญอยู่ที่ว่า สัมภาระกับการงานที่รับทำจนสำเร็จนั้นสิ่งไหนสำคัญกว่ากัน ถ้าการงานที่รับทำจนสำเร็จสำคัญกว่าสัมภาระก็เป็นรับจ้างทำของ แต่ถ้าไม่สำคัญกว่าก็เป็นการซื้อขาย
การผลิตอิฐทนไฟไม่ว่าจะเป็นการผลิตแบบมาตรฐานหรือผลิตตามคำสั่งเป็นการเฉพาะราย วัตถุดิบหรือสัมภาระที่ใช้ได้แก่บล๊อกไซด์ชามอสอลูมิน่า ดินทนไฟ นำมาผสมกัน เติมด้วยสารเคมีแล้วนาไปอัดเป็นรูปแบบต่าง ๆ จากนั้นจึงนำไปเผาไฟ จึงเห็นได้ว่าอิฐทนไฟที่ผลิตหาได้มีความสำคัญไปกว่าสัมภาระหรือวัตถุดิบที่นำมาใช้ในการผลิตไม่ การผลิตอิฐทนไฟตามคำสั่งเฉพาะรายของลูกค้าจึงมิใช่เป็นการรับจ้างทำของ แต่เป็นการผลิตและจำหน่ายอิฐทนไฟเช่นเดียวกับอิฐทนไฟแบบมาตรฐานนั่นเองดังนั้นรายรับที่ได้จากการผลิตและจำหน่ายอิฐทนไฟตามคำสั่งของลูกค้าเป็นการเฉพาะราย จึงต้องเสียภาษีการค้าในประเภทการค้า 1.การขายของ ชนิด 1(ก) ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 7 เช่นเดียวกับรายรับที่ได้จากการผลิตและจำหน่ายอิฐทนไฟแบบมาตรฐาน มิใช่เสียภาษีการค้าในประเภทการค้า 4.การรับจ้างทำของ ชนิด 1(ฉ) ในอัตราร้อยละ 2.
การผลิตอิฐทนไฟไม่ว่าจะเป็นการผลิตแบบมาตรฐานหรือผลิตตามคำสั่งเป็นการเฉพาะราย วัตถุดิบหรือสัมภาระที่ใช้ได้แก่บล๊อกไซด์ชามอสอลูมิน่า ดินทนไฟ นำมาผสมกัน เติมด้วยสารเคมีแล้วนาไปอัดเป็นรูปแบบต่าง ๆ จากนั้นจึงนำไปเผาไฟ จึงเห็นได้ว่าอิฐทนไฟที่ผลิตหาได้มีความสำคัญไปกว่าสัมภาระหรือวัตถุดิบที่นำมาใช้ในการผลิตไม่ การผลิตอิฐทนไฟตามคำสั่งเฉพาะรายของลูกค้าจึงมิใช่เป็นการรับจ้างทำของ แต่เป็นการผลิตและจำหน่ายอิฐทนไฟเช่นเดียวกับอิฐทนไฟแบบมาตรฐานนั่นเองดังนั้นรายรับที่ได้จากการผลิตและจำหน่ายอิฐทนไฟตามคำสั่งของลูกค้าเป็นการเฉพาะราย จึงต้องเสียภาษีการค้าในประเภทการค้า 1.การขายของ ชนิด 1(ก) ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 7 เช่นเดียวกับรายรับที่ได้จากการผลิตและจำหน่ายอิฐทนไฟแบบมาตรฐาน มิใช่เสียภาษีการค้าในประเภทการค้า 4.การรับจ้างทำของ ชนิด 1(ฉ) ในอัตราร้อยละ 2.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1207/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกอบธุรกิจโฆษณา: ลักษณะการรับจ้างทำของ vs. นายหน้าและตัวแทน เพื่อการเสียภาษีที่ถูกต้อง
การรับจ้างโฆษณาของโจทก์ โจทก์จะให้ความคิดในการออกแบบโฆษณาให้ลูกค้า เมื่อลูกค้าพอใจ โจทก์จะติดต่อกับสื่อ โฆษณาอันได้แก่วิทยุ โทรทัศน์ และภาพยนตร์เอง โจทก์หาได้ทำหน้าที่เป็นคนกลางช่วย ชี้ ช่องให้ลูกค้าของโจทก์กับสื่อ โฆษณา ได้เข้าทำสัญญากันอันเป็นการกระทำของนายหน้าไม่ แต่โจทก์ได้ดำเนินการตามความคิดของโจทก์ โจทก์เป็นฝ่ายลงทุนเองตลอดจนเป็นคู่สัญญากับสื่อ โฆษณา หาใช่เป็นเรื่องออกเงินทดรองหรือค่าใช้จ่ายแทนตัวการดัง ที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 816 ไม่ โจทก์จึงมิใช่ตัวแทนหรือนายหน้า ทั้งไม่ใช่การรับจัดธุรกิจให้ผู้อื่นตามความหมายของประเภทการค้า 10 แห่งบัญชีอัตราภาษีการค้า แต่เป็นเรื่องรับทำการงานโฆษณาโดยถือผลสำเร็จของงานเป็นสาระสำคัญ จึงเป็นการรับจ้างทำของประเภทการค้า 4 ชนิด 1(ฉ) แห่งบัญชีอัตราภาษีการค้าซึ่งขณะพิพาทต้องเสียภาษีการค้าเพียงร้อยละ 2 ของรายรับ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1207/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกอบธุรกิจโฆษณาเป็นรับจ้างทำของ ไม่ใช่ตัวแทนหรือนายหน้า ต้องเสียภาษีการค้าร้อยละ 2
โจทก์ประกอบธุรกิจรับจ้างโฆษณาให้แก่ลูกค้า โดยโจทก์ให้ความคิด ให้แปลนความคิดเกี่ยวกับรูปแบบ คำพูด ภาพยนตร์ เทป ซึ่งเป็นเรื่องสร้างสรรค์แนวความคิดในการออกแบบโฆษณาให้มีผู้รู้จักสินค้าของลูกค้ามากที่สุดแล้วโจทก์จ้างสื่อโฆษณาอันได้แก่วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ให้ทำการโฆษณาหรือโจทก์จ้างผู้อื่นให้ผลิตวัสดุโฆษณาทำการโฆษณา การประกอบธุรกิจโฆษณาดังกล่าวโจทก์ไม่ได้ทำหน้าที่เป็นคนกลางช่วยชี้ช่องให้ลูกค้าของโจทก์กับสื่อโฆษณาได้เข้าทำสัญญากันอันเป็นการกระทำของนายหน้า หรือออกเงินทดรองหรือค่าใช้จ่ายแทนลูกค้าอันเป็นการกระทำของตัวแทน จึงไม่ต้องเสียภาษีการค้าตามประเภทการค้า 10นายหน้าและตัวแทน แห่งบัญชีอัตราภาษีการค้า หากแต่เป็นการรับทำการงานโฆษณาโดยถือผลสำเร็จของงานเป็นสาระสำคัญ จึงเป็นการรับจ้างทำของ ต้องเสียภาษีการค้าตามประเภทการค้า 4 ชนิด 1(ฉ)การรับจ้างทำของอย่างอื่น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1580/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกและละเมิดจากการรับจ้างทำของ: ความรับผิดนอกฟ้อง
ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 รับจ้างทำของ จำเลยที่ 2 เป็นผู้ว่าจ้าง จำเลยทั้งสองร่วมกันบุกรุก จำเลยที่ 1 ตัดต้นไม้ในที่ดินของโจทก์ตามคำสั่งจำเลยที่ 2 เรียกค่าเสียหาย พิจารณาได้ความว่าคนงานของจำเลยที่ 1 ทำละเมิด เป็นเรื่องนอกฟ้องต้องยกฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1314-1315/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับจ้างนำเข้าสินค้ากับประเภทการจดทะเบียนการค้า: กิจการเป็นตัวแทนไม่ใช่รับจ้างทำของ
การรับจ้างนำสินค้าที่ส่งมาจากต่างประเทศผ่านพิธีการของกรมศุลกากรนำออกมามอบให้ผู้ว่าจ้าง โดยผู้ว่าจ้างมอบอำนาจให้ทำแทนและนำสินค้าออกมาในนามของผู้ว่าจ้างนั้น เป็นการประกอบการค้าในประเภทนายหน้าและตัวแทนตามบัญชีอัตราภาษีการค้า มิใช่เป็นการรับจ้างทำของตามบัญชีอัตราภาษีการค้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 287/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกอบอาชีพผดุงครรภ์เป็นการรับจ้างทำของ ต้องเสียภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากร แม้ไม่มีการระบุประเภทสถานพยาบาลโดยเฉพาะ
การที่โจทก์ตั้งสถานพยาบาลและผดุงครรภ์โดยโจทก์ในฐานะนางผดุงครรภ์ จัดการให้ทารกคลอดจากครรภ์มารดา โดยมีสินจ้าง ซึ่งฝ่ายหญิงมีครรภ์ต้องจ่ายให้โจทก์เมื่อโจทก์ทำคลอดแล้วนั้น เป็นการรับจ้างทำของตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 587 ซึ่งต้องจดทะเบียนการค้าและเสียภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากรที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 18) พ.ศ.2504