พบผลลัพธ์ทั้งหมด 33 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6591/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษจำเลยฐานกระทำผิดในฐานะเจ้าพนักงาน vs. ผู้สนับสนุน และขอบเขตการรับฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง/ข้อกฎหมาย
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า สำหรับปัญหาที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ฎีกาข้อแรกตามฟ้องข้อ ก. นั้น ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่เกินห้าปีห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก ที่จำเลยที่ 1ฎีกาว่า จำเลยที่ 1 มิได้กระทำการตามฟ้องโจทก์ เป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามตามกฎหมายดังกล่าว แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 1 ในประเด็นนี้มาก็เป็นการไม่ชอบศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย และที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า การที่โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานปากใดมานำสืบพิสูจน์ให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 กระทำผิดตามมาตรา 162 แล้ว จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดตามฟ้องโจทก์หรือไม่ฎีกาของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลล่างทั้งสอง ซึ่งได้วินิจฉัยเป็นยุติสำหรับจำเลยที่ 1 ไว้แล้วเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายว่า จำเลยที่ 1จะต้องรับผิดตามฟ้องหรือไม่ จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามกฎหมายดังกล่าวข้างต้นเช่นกัน ส่วนความผิดตามฟ้องข้อ ข. ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 1 มาด้วยนั้น ปรากฏว่าความผิดข้อหานี้ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 5 ปี เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลล่างให้ลงโทษจำคุกไม่เกินห้าปี ต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก ที่จำเลยที่ 1ฎีกาว่า เอกสารหมาย จ.14 ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างหรือการเบิกจ่ายพัสดุและเอกสารหมาย จ.41 ที่พนักงานสอบสวนจัดทำขึ้นโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย จะใช้ยันจำเลยที่ 1 ให้ต้องรับผิดตามฟ้องโจทก์ได้หรือไม่ เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลล่างทั้งสองซึ่งได้วินิจฉัยเป็นยุติสำหรับจำเลยที่ 1 ไว้ เพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยที่ 1 ยกขึ้นอ้างจึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามกฎหมายดังกล่าวที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 1 ในข้อนี้มา เป็นการไม่ชอบศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย สำหรับจำเลยที่ 2 ที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษอย่างเจ้าพนักงานซึ่งกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่นั้น จำเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างประจำของกรมชลประทานโจทก์ร่วม ซึ่งมิใช่ข้าราชการที่ได้รับการแต่งตั้งตามกฎหมายว่าด้วยการแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งหรือเป็นผู้ดำรงตำแหน่งหน้าที่ซึ่งกฎหมายระบุไว้โดยเฉพาะให้ถือเป็นเจ้าพนักงาน จำเลยที่ 2 จึงไม่ใช่เจ้าพนักงานตามกฎหมายประมวลกฎหมายอาญา151,157 เป็นบทบัญญัติที่ลงโทษแก่บุคคลผู้กระทำผิดที่เป็นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่เท่านั้น แม้จำเลยที่ 2จะร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 3 กระทำผิดต่อบทบัญญัติดังกล่าวก็จะลงโทษจำเลยที่ 2 อย่างเจ้าพนักงานไม่ได้ คงลงโทษจำเลยที่ 2ได้แต่เพียงในฐานะผู้สนับสนุนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86เท่านั้น ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้จำเลยที่ 2 ไม่ได้ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสองประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 834/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 220 กรณีศาลชั้นต้นรับฎีกาโดยมิชอบ
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ คดีโจทก์ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 220 ที่แก้ไขเพิ่มเติมแล้ว การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์ จึงมิชอบ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4039/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลชั้นต้นในการขยายเวลาฎีกาและการอุทธรณ์คำสั่งเกี่ยวกับการรับฎีกา
คดีอาญา การขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาเป็นอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะพิจารณาและมีคำสั่งไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบด้วยป.วิ.อ. มาตรา 15 เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาของโจทก์ จึงมิใช่กรณีที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาตามป.วิ.อ. มาตรา 223 ดังนี้โจทก์ย่อมมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อศาลอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 วรรคแรก มิใช่อุทธรณ์ต่อศาลฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 224 วรรคแรก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1049/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทเรื่องที่ดินและเงินกู้ การวางเงินค่าฤชาธรรมเนียม และการรับฎีกา
ศาลชั้นต้นได้อนุญาตให้โจทก์ขยายเวลาการวางเงินค่าฤชาธรรมเนียมใช้แทนจำเลยไปอีก 10 วัน และโจทก์ได้นำเงินดังกล่าวมาวางศาลภายในกำหนดที่ศาลชั้นต้นขยายระยะเวลาให้ ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์จึงเป็นการชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2851/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งรับฎีกาที่ไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับพิจารณา
คำสั่งในฎีกาที่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงว่า 'ในฐานะเป็นองค์คณะพิจารณาคดีนี้ขอรับรองให้จำเลยฎีกาได้ จำเลยฎีกาในกำหนดรับเป็นฎีกาของจำเลย' มิใช่คำอนุญาตที่ชอบศาลฎีการับฎีกาไว้พิจารณาไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 191/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง: ศาลต้องเห็นปัญหาสำคัญก่อนจึงจะรับฎีกาได้
ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาว่า "จำเลยฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย จึงรับเป็นฎีกาและรับรองให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง สำเนาให้โจทก์" ตามฎีกาของจำเลยไม่ปรากฏว่ามีข้อใดที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่ได้พิเคราะห์เห็นว่า ข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอย่างไร อันควรสู่ศาลสูงสุดและอนุญาตให้ฎีกาได้ เป็นแต่บันทึกรับรองพ่วงท้ายคำสั่งรับฎีกามาลอยๆ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงโดยชอบ ศาลฎีกาไม่รับพิจารณา
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 1/2520)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 1/2520)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 906/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฎีกาต้องมีปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุด การชดใช้ค่าเสียหายไม่เป็นเหตุให้รับฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221 ที่จะรับเป็นฎีกาได้จะต้องปรากฏว่าข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุดและอนุญาตให้ฎีกาผู้พิพากษาซึ่งลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นลงลายมือชื่อรับรองให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ โดยให้เหตุผลว่า เนื่องจากจำเลยได้ยอมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหายไปแล้ว 5,000 บาท กรณีมีเหตุที่ศาลสูงจะพึงใช้ดุลพินิจในทางที่เป็นคุณแก่จำเลย ดังนี้ หาได้ยกเหตุว่า คดีมีปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุดแต่ประการใดไม่ ศาลฎีกาจึงไม่จำต้องวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 906/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฎีกาต้องมีปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุด การชดใช้ค่าเสียหายไม่เป็นเหตุให้รับฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221 ที่จะรับเป็นฎีกาได้จะต้องปรากฏว่าข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุดและอนุญาตให้ฎีกาผู้พิพากษาซึ่งลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นลงลายมือชื่อรับรองให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ โดยให้เหตุผลว่าเนื่องจากจำเลยได้ยอมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหายไปแล้ว 5,000บาท กรณีมีเหตุที่ศาลสูงจะพึงใช้ดุลพินิจในทางที่เป็นคุณแก่จำเลยดังนี้ หาได้ยกเหตุว่าคดีมีปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุดแต่ประการใดไม่ ศาลฎีกาจึงไม่จำต้องวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1119/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาที่ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ได้ โดยวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงได้ แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งรับฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยคืนสร้อยราคา 5,000 บาทที่ยืมไปหรือให้ใช้ราคาพร้อมทั้งดอกเบี้ยนับจากวันผิดนัดถึงวันฟ้องอีก 560 บาทเป็นคดีมีทุนทรัพย์เกินกว่า 5,000 บาท จึงไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
จำเลยฎีกาว่า พยานหลักฐานจำเลยควรรับฟังได้ว่าจำเลยชำระหนี้ให้โจทก์เสร็จสิ้นแล้ว เป็นการเถียงว่า ควรรับฟังคำพยานอย่างไร จึงเป็นการโต้เถียงในปัญหาข้อเท็จจริง
เมื่อคำฟ้องฎีกาของจำเลยไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงและศาลชั้นต้นก็สั่งรับฎีกามาแล้ว แม้จะใช้คำว่ารับฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายก็ตาม ก็หาได้ผูกมัดศาลฎีกาให้จำต้องถือตามด้วยไม่ศาลฎีกาย่อมวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงในคำฟ้องฎีกาของจำเลยได้
จำเลยฎีกาว่า พยานหลักฐานจำเลยควรรับฟังได้ว่าจำเลยชำระหนี้ให้โจทก์เสร็จสิ้นแล้ว เป็นการเถียงว่า ควรรับฟังคำพยานอย่างไร จึงเป็นการโต้เถียงในปัญหาข้อเท็จจริง
เมื่อคำฟ้องฎีกาของจำเลยไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงและศาลชั้นต้นก็สั่งรับฎีกามาแล้ว แม้จะใช้คำว่ารับฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายก็ตาม ก็หาได้ผูกมัดศาลฎีกาให้จำต้องถือตามด้วยไม่ศาลฎีกาย่อมวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงในคำฟ้องฎีกาของจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 462/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฎีกาและการอนุญาตของผู้พิพากษาที่มีความเห็นแย้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221
ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นที่มีความเห็นแย้งบันทึกไว้ในฎีกาว่า 'สภาพที่ฝ่ายหนึ่งตายไป ฝ่ายจำเลยน่าจะแสดงให้เห็นว่าเป็นการป้องกันตัว ซึ่งเป็นภาระพิสูจน์อันเป็นทฤษฎีที่โต้เถียงกัน ควรส่งให้ศาลสูงพิจารณา จึงรับฎีกานี้' บันทึกนี้มิได้แสดงว่าข้อความที่ตัดสินมาเป็นปัญหาสำคัญมิได้แสดงว่าผู้พิพากษาผู้ทำความเห็นแย้งอนุญาตให้ฎีกา ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221 จึงรับฎีกาไว้พิจารณาไม่ได้