คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
รับผิด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 687 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7507/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าธรรมเนียมยึดทรัพย์สินที่ไม่ชอบ ผู้ดำเนินกระบวนการต้องรับผิด
โจทก์เป็นผู้นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดที่ดินตาม น.ส.3 ก. โดยอ้างว่าเป็นของจำเลยที่ 3 เมื่อปรากฏว่าที่ดินแปลงดังกล่าวไม่ใช่ของจำเลยที่ 3 เนื่องจาก น.ส.3 ก. ดังกล่าวออกทับที่ดินของบุคคลอื่น และศาลมีคำพิพากษาให้เพิกถอนการขายทอดตลาดและคดีถึงที่สุดแล้ว โจทก์ซึ่งเป็นผู้ดำเนินกระบวนพิจารณาส่วนนี้จึงต้องเป็นผู้ชำระค่าธรรมเนียมยึดทรัพย์สินแล้วไม่มีการขายตาม ป.วิ.พ. มาตรา 149 วรรคหนึ่ง และตาราง 5 ข้อ 3 ท้าย ป.วิ.พ. ทั้งไม่มีบทบัญญัติยกเว้นความรับผิดชำระค่าธรรมเนียมในกรณีที่ผู้ขอยึดทำการโดยสุจริต ซึ่งความรับผิดในค่าธรรมเนียมนั้น ป.วิ.พ. มาตรา 161 วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติให้เป็นดุลพินิจของศาลที่จะกำหนดให้คู่ความฝ่ายใดเสียค่าฤชาธรรมเนียมได้ โดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการดำเนินคดี เรื่องนี้เป็นเรื่องที่โจทก์ต้องระมัดระวังในการรับจำนองที่ดินและนำยึดที่ดินว่าเป็นของลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือไม่ เพราะโจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสีย ศาลหรือเจ้าพนักงานบังคับคดีก็มีคำสั่งไปตามคำขอของโจทก์ ดังนั้น จึงสมควรให้โจทก์ชำระค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีกรณียึดทรัพย์สินแล้วไม่มีการขาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 613/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาล: ศาลฎีกายืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยรับผิดค่าขึ้นศาลศาลชั้นต้น แม้ศาลฎีกาแก้แก้ค่าเสียหาย
ค่าขึ้นศาลเฉพาะศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นกำหนดให้เป็นพับ แต่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดใช้แทนตามจำนวนทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดีซึ่งเป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 ต้องวางเงินค่าขึ้นศาลจำนวนนี้ต่อศาลชั้นต้นเมื่อยื่นฎีกา เมื่อศาลฎีกามีคำพิพากษา ศาลฎีกากำหนดให้ค่าฤชาธรรมเนียมซึ่งรวมทั้งค่าขึ้นศาลเฉพาะในชั้นอุทธรณ์และฎีกาให้เป็นพับ โดยระบุว่านอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ดังนี้ย่อมหมายความว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนที่เกี่ยวกับค่าขึ้นศาลเฉพาะในศาลชั้นต้นยังมีผลบังคับแก่คู่ความอยู่ จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดใช้ค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นแทนโจทก์ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ซึ่งการกำหนดให้คู่ความฝ่ายใดต้องรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมเพียงใดนั้นย่อมเป็นดุลพินิจของศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 161 วรรคหนึ่ง โดยไม่จำต้องคำนึงถึงจำนวนทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดีในชั้นที่สุดตามที่จำเลยที่ 2 อ้างมา คดีนี้จำเลยที่ 2 เป็นฝ่ายแพ้คดีในจำนวนทุนทรัพย์ 700,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยเมื่อคำนวณค่าขึ้นศาลทั้งสามชั้นศาลแล้วฎีกาจึงไม่กำหนดให้ค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นเป็นพับไปด้วย ที่ศาลชั้นต้นไม่คืนค่าขึ้นศาลเฉพาะศาลชั้นต้นที่จำเลยที่ 2 วางใช้แทนโจทก์ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เป็นเงิน 42,602.50 บาท จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4947/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยายามปล้นทรัพย์โดยสำคัญผิดถึงตัวผู้เสียหาย ไม่เป็นเหตุให้ไม่ต้องรับผิด
จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์กระบะมีจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 และพวกคนร้ายนั่งอยู่ด้วยไปจอดที่หน้าบ้านเกิดเหตุ คนร้ายส่วนหนึ่งไปเคาะประตูบ้านเกิดเหตุ เรียกให้คนงานเปิดประตูและส่งเงินให้ มิฉะนั้นจะยิง เจ้าพนักงานตำรวจที่ซุ่มอยู่จะเข้าจับกุม คนร้ายดังกล่าววิ่งขึ้นรถยนต์กระบะซึ่งจำเลยที่ 1 ขับย้อนกลับมาพาหลบหนี เจ้าพนักงานตำรวจจึงติดตามจับกุมจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 กับพวกไว้ได้ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 กับพวกย่อมมีความผิดฐานพยายามปล้นทรัพย์
การที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 กับพวกประสงค์จะปล้นทรัพย์ชาวมอญซึ่งพักอาศัยอยู่ในบ้านเกิดเหตุ และได้ลงมือปล้นทรัพย์โดยสำคัญผิดว่าผู้ที่อยู่ในบ้านเกิดเหตุเป็นชาวมอญ แต่ความจริงเป็น ส. ผู้เสียหาย เช่นนี้ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 จะยกความสำคัญผิดมาเป็นข้อแก้ตัวว่ามิได้เจตนากระทำต่อ ส. หาได้ไม่ และกรณีไม่ใช่การพยายามกระทำความผิดที่ไม่สามารถบรรจุผลได้อย่างแน่แท้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4428/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนร่วมก่อสร้างผิดสัญญา: จำเลยทั้งสองต้องรับผิดคืนเงินค่าก่อสร้างและค่าเสียหายต่อโจทก์
จำเลยทั้งสองทำสัญญาก่อสร้างอาคารยกสิทธิต่อกัน โดยจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของที่ดิน ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นผู้ก่อสร้างอาคาร โจทก์ทำสัญญาว่าจ้างสร้างอาคารพาณิชย์กับจำเลยที่ 2 และทำสัญญาเช่าอาคารพาณิชย์กับจำเลยที่ 1 มีกำหนด 28 ปี แต่การก่อสร้างไม่เป็นไปตามรูปแบบที่กำหนด ไม่มีการสร้างส่วนที่เป็นที่พลาซ่าและส่วนที่เป็นตลาด โจทก์จึงบอกเลิกสัญญากับจำเลยทั้งสอง ซึ่งตามสัญญาก่อสร้างอาคารยกสิทธิ ระบุชัดว่าจำเลยที่ 1 จะได้รับผลประโยชน์จากการก่อสร้างอาคารตามรูปแบบที่กำหนดไว้ชัดเจน ในลักษณะที่มีผลประโยชน์ร่วมกันกับจำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้ออกแบบแปลนและแก้ไขแบบแปลนตามความต้องการได้ การยื่นขออนุญาตแบบแปลนอาคารใช้ชื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดิน ทั้งจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ควบคุมรูปแบบการก่อสร้างให้เป็นไปตามสัญญา และยอมให้จำเลยที่ 2 มีสิทธิหาคนเช่าและเรียกเงินค่าก่อสร้างจากผู้มาจองเช่าอาคาร โดยจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องไปจดทะเบียนการเช่าให้กับผู้มาจอง โดยเฉพาะอาคารพลาซ่าระบุว่าเมื่อหักค่าก่อสร้างและค่าใช้จ่ายแล้วกำไรให้แบ่งกันคนละครึ่ง ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นหุ้นส่วนกับจำเลยที่ 1 จึงเป็นคู่สัญญาร่วมประโยชน์ในทางการค้าที่จะต้องดำเนินการก่อสร้างให้เป็นไปตามรูปแบบที่กำหนดตามที่ได้แจ้งแก่โจทก์ผู้ทำสัญญาว่าจ้างอาคารกับจำเลยที่ 2 เพื่อให้ได้สิทธิจดทะเบียนการเช่ากับจำเลยที่ 1 ตามสัญญาก่อสร้างยกสิทธิ เมื่อการก่อสร้างไม่เป็นไปตามรูปแบบที่กำหนด จำเลยทั้งสองจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ทำสัญญาก่อสร้างอาคารกับโจทก์ จำเลยที่ 1 ก็ต้องร่วมกับจำเลยที่ 2 รับผิดต่อโจทก์คืนเงินช่วยค่าก่อสร้างแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 435/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดร่วมกับลูกหนี้เมื่อลูกหนี้กระทำละเมิด แม้ศาลยกฟ้องลูกหนี้ด้วยเหตุอื่น
ศาลแรงงานกลางพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 1 เพราะเป็นฟ้องซ้อนมิได้ยกฟ้องจำเลยที่ 1 เพราะไม่ได้เป็นหนี้โจทก์ตามฟ้องจึงไม่ทำให้จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดทั้งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 686ถ้าลูกหนี้ผิดนัดลงเมื่อใด เจ้าหนี้ชอบที่จะเรียกให้ผู้ค้ำประกันรับผิดได้แต่นั้นประกอบกับมาตรา 691 ถ้าผู้ค้ำประกันต้องรับผิดร่วมกันกับลูกหนี้ผู้ค้ำประกันย่อมไม่มีสิทธิตามมาตรา 688,689 และ 690 เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันที่ต้องรับผิดร่วมกันกับลูกหนี้จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์เสมือนเป็นลูกหนี้ชั้นต้น ศาลแรงงานกลางย่อมมีอำนาจพิจารณาคดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ต่อไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1981/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแสดงเจตนาโดยปริยายและการรับผิดของตัวการต่อบุคคลภายนอกจากการกระทำของตัวแทนเชิด
แม้จำเลยที่ 2 มิได้มอบหมายหรือแต่งตั้งจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนขายรถยนต์คันพิพาทแก่โจทก์โดยแสดงออกชัด แต่พฤติการณ์ที่จำเลยที่ 2 ซื้อรถยนต์คันดังกล่าวมาจากผู้ผลิตแล้วจำเลยที่ 2 ขายรถยนต์คันดังกล่าวแก่บริษัท ต. และยังยินยอมตรวจสภาพรถยนต์คันดังกล่าวตามระยะให้แก่โจทก์ โดยที่จำเลยที่ 2 มิได้ทักท้วงหรือกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งให้เห็นว่ามิได้เป็นตัวการ ทั้งปรากฏด้วยว่าจำเลยที่ 1 กับบริษัท ต. มีกรรมการบริษัทเป็นชุดเดียวกันและมีจำนวน 2 คนเช่นเดียวกัน คือ ช. และ ส. จึงน่าเชื่อว่าบริษัทจำเลยที่ 1 และบริษัท ต. เป็นบริษัทในเครือเดียวกัน พฤติการณ์ตามข้อเท็จจริงแห่งคดีถือได้ว่าจำเลยที่ 2 มีเจตนาให้บริษัท ต. จัดจำหน่ายรถยนต์คันดังกล่าวแทนตนโดยไม่กำหนดว่าต้องจัดการจำหน่ายอย่างไร เป็นการเชิดบริษัท ต. เป็นตัวแทนเชิดและบริษัท ต. ได้ใช้ชื่อของจำเลยที่ 1 ในการจำหน่ายรถยนต์คันพิพาทให้แก่โจทก์ ซึ่งตามพฤติการณ์แห่งคดีเชื่อได้ว่าจำเลยที่ 2 รู้แล้วว่าบริษัท ต. โดยจำเลยที่ 1 จำหน่ายรถยนต์คันดังกล่าวแก่โจทก์ จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวการจึงมีหน้าที่ต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้สุจริต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1648/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยต้องรับผิดในเช็คพิพาท แม้โอนให้ผู้อื่น หากพิสูจน์ไม่ได้ว่าไม่มีมูลหนี้
จำเลยผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาทอ้างว่าเช็คพิพาทไม่มีมูลหนี้ และผู้โอนเช็คพิพาทกับโจทก์ผู้รับโอนคบคิดกันฉ้อฉล จำเลยมีหน้าที่นำสืบให้ได้ความตามที่อ้าง เมื่อจำเลยนำสืบรับฟังไม่ได้ว่าเช็คพิพาทไม่มีมูลหนี้ จำเลยจึงต้องรับผิดต่อผู้ทรงคนก่อน การที่ผู้ทรงคนก่อนโอนเช็คพิพาทแก่โจทก์ ทั้งเช็คพิพาทเป็นเช็คสั่งจ่ายเงินแก่ผู้ถือ การโอนเช็คพิพาททำได้เพียงด้วยส่งมอบให้กัน โจทก์จึงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยชอบ จำเลยไม่มีข้อต่อสู้ที่เกี่ยวกับผู้ทรงคนก่อนที่จะใช้เป็นข้อต่อสู้โจทก์ ทั้งจำเลยจะอ้างว่าโจทก์และผู้ทรงคนก่อนไม่มีหนี้สินต่อกันหาได้ไม่ จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์
(ปัญหานี้วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 4/2547)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 880/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารประมาทเลินเล่อจ่ายเงินตามเช็คปลอม ลูกจ้างเบิกเงินผิดพลาด ธนาคารต้องรับผิดเต็มจำนวน
โจทก์เปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์กับจำเลยที่ 1 โดยฝากสมุดเงินฝากไว้กับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหลานและเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ต่อมาจำเลยที่ 2 ปลอมลายมือชื่อโจทก์ในใบถอนเงินแล้วนำมาถอนเงินในบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของโจทก์ดังกล่าว 21 ครั้ง การที่พนักงานของจำเลยที่ 1 จ่ายเงินให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกจ้างทำงานอยู่ด้วยกันโดยมิได้ใส่ใจให้ความสำคัญแก่ลายมือชื่อผู้ถอนเงินว่าเป็นลายมือชื่อที่แท้จริงหรือไม่ ทั้ง ๆ ที่ลายมือชื่อโจทก์ในใบถอนเงินไม่เหมือนกับลายมือชื่อโจทก์ในตัวอย่างลายมือชื่อที่ให้ไว้โดยชัดแจ้ง และในกรณีที่ใบถอนเงินลงชื่อโจทก์เป็นผู้รับเงินเองแต่ไม่มีตัวโจทก์มา พนักงานของจำเลยที่ 1 ก็ยังจ่ายเงินให้แก่จำเลยที่ 2 ไปแทน พฤติการณ์ชี้ชัดว่าพนักงานของจำเลยที่ 1 ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงในการจ่ายเงินให้แก่จำเลยที่ 2 หากพนักงานของจำเลยที่ 1 ใช้ความละเอียดรอบคอบและความระมัดระวังเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพธนาคารแล้วก็ย่อมจะทราบได้ว่าลายมือชื่อโจทก์ในใบถอนเงินเป็นลายมือชื่อปลอม ส่วนที่โจทก์ฝากสมุดเงินฝากไว้กับจำเลยที่ 2 นั้น โจทก์ทำไปโดยสุจริตเพราะเชื่อใจจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหลาน การที่จำเลยที่ 2 ถอนเงินฝากจากบัญชีเงินฝากของโจทก์ไปได้จึงเกิดจากความประมาทเลินเล่อของพนักงานของจำเลยที่ 1 มิได้เป็นผลโดยตรงจากการที่โจทก์ฝากสมุดเงินฝากไว้กับจำเลยที่ 2 การกระทำของโจทก์ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์มีส่วนประมาทเลินเล่อในการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 2 ด้วย จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 2 รับผิดต่อโจทก์เต็มจำนวน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 880/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารต้องรับผิดเต็มจำนวนต่อความเสียหายจากลายมือชื่อปลอม หากพนักงานประมาทเลินเล่อไม่ตรวจสอบอย่างรอบคอบ
ลายมือชื่อโจทก์ในใบถอนเงินไม่เหมือนกับตัวอย่างลายมือชื่อในสมุดเงินฝากและคำขอเปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์โดยชัดแจ้งเพียงแต่คล้ายกันเท่านั้น ซึ่งโดยปกติถ้าเป็นลูกค้าทั่วไป พนักงานของธนาคารจำเลยที่ 1 จะไม่จ่ายเงินให้ แต่ที่จ่ายให้เพราะจำเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างทำงานอยู่ในสำนักงานของจำเลยที่ 1 ด้วยกัน จึงเชื่อใจอนุโลมและยืดหยุ่นจ่ายให้ไปโดยมิได้ใส่ใจให้ความสำคัญแก่ลายมือชื่อผู้ถอนเงินว่าเป็นลายมือชื่อที่แท้จริงหรือไม่โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ใบถอนเงินลงชื่อโจทก์เป็นผู้รับเงินเองแต่ไม่มีตัวโจทก์มา พนักงานของจำเลยที่ 1 ก็ยังจ่ายเงินให้แก่จำเลยที่ 2 ไปแทน พฤติการณ์ชี้ชัดว่าพนักงานของจำเลยที่ 1 ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงในการจ่ายเงินให้แก่จำเลยที่ 2จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 2 รับผิดต่อโจทก์
โจทก์ฝากสมุดเงินฝากไว้กับจำเลยที่ 2 เพราะเชื่อใจจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหลานของโจทก์และเป็นผู้จัดการให้โจทก์ฝากเงินกับจำเลยที่ 1 แม้ในปกหน้าด้านในจะมีข้อความให้ผู้ฝากเงินเป็นผู้เก็บรักษาสมุดเงินฝากเอง ก็เป็นเพียงคำแนะนำมิใช่ข้อตกลงในการฝากเงินทั้งโจทก์ไม่ได้รับสมุดเงินฝากและไม่เห็นคำแนะนำหรือคำเตือนดังกล่าว เนื่องจากจำเลยที่ 2 เป็นผู้รับและเก็บรักษาสมุดเงินฝากไว้แทนตั้งแต่แรก การที่จำเลยที่ 2ถอนเงินฝากจากบัญชีเงินฝากของโจทก์ไปได้ จึงเกิดจากความประมาทเลินเล่อของพนักงานของจำเลยที่ 1 มิได้เป็นผลโดยตรงจากการที่โจทก์ฝากสมุดเงินฝากไว้กับจำเลยที่ 2 ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์มีส่วนประมาทเลินเล่อในการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 2 ด้วยจำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 2 รับผิดต่อโจทก์เต็มจำนวน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4011/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับผิดของสามีภริยาต่อหนี้ร่วม กรณีศาลพิพากษาเกินกรอบคำฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสองเป็นสามีภริยากันเป็นเจ้าของร้านค้าและจำเลยทั้งสองร่วมกันสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์ ตามคำฟ้องเกี่ยวกับความรับผิดของจำเลยที่ 2 ไม่มีข้อหาว่าเป็นหนี้ร่วมเพราะเป็นหนี้เกี่ยวแก่การจัดการบ้านเรือนและจัดหาสิ่งจำเป็นสำหรับครอบครัว การอุปการะเลี้ยงดู ตลอดถึงการรักษาพยาบาลบุคคลในครอบครัวและการศึกษาของบุตรตามสมควรแก่อัตภาพตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1490(1) เมื่อศาลชั้นต้นมิได้ฟังว่าจำเลยที่ 2 ร่วมด้วยในการสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์หรือร่วมด้วยในการประกอบกิจการของร้านค้า ก็ชอบที่จะพิพากษายกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 2 การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 สั่งซื้อสินค้าจากโจทก์เพื่อใช้ในกิจการค้าขายของร้านค้าซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในครอบครัวของจำเลยทั้งสองเพื่อนำรายได้มาใช้จ่ายในการอุปการะเลี้ยงดูบุคคลในครอบครัวและการศึกษาของบุตรตลอดถึงการรักษาพยาบาลด้วย อันเป็นหนี้ร่วมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1490(1)แล้วพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 จึงเป็นการพิพากษาในเรื่องนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง อันเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142
of 69