คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
รับผิดชอบ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 193 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 212/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดจากน้ำรั่วซึม - ผู้ก่อสร้างต้องรับผิดชอบแม้โอนอาคารไปแล้ว - อายุความ 1 ปี
โจทก์ฟ้องบังคับเพื่อให้จำเลยที่ 1 ดำเนินการระงับความเสียหายอันจะบังเกิดแก่โจทก์ต่อไป ไม่ได้ฟ้องเรียกเอาค่าเสียหายซึ่งเกิดจากการละเมิดโดยตรงจึงไม่อยู่ในบังคับแห่งอายุความ 1 ปีตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคหนึ่ง
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ปฏิบัติฝ่าฝืนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1342 วรรคหนึ่งและวรรคสองจนเป็นเหตุให้มีน้ำโสโครกซึมเข้าไปในที่ดินและบ้านของโจทก์และมีกลิ่นเหม็นไม่อาจพักอาศัยอยู่ในที่ดินและบ้านได้ตามปกติสุขอันเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งกฎหมายซึ่งเป็นข้อห้ามโดยเด็ดขาดจึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ทั้งสองโดยตรง จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ทั้งสองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 420 แม้จะได้ความว่า จำเลยที่ 1 ได้โอนอาคารชุดที่เกิดเหตุไปให้จำเลยที่ 2 แล้วก็ตาม จำเลยที่ 1 ก็ไม่อาจอ้างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 434 มายกเว้นความผิดของตนได้เพราะคดีนี้ความเสียหายมิได้เกิดขึ้นเพราะเหตุที่โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นก่อสร้างไว้ชำรุดบกพร่องหรือบำรุงรักษาไม่เพียงพอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5872/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนซื้อขายที่ดิน-ภาษีธุรกิจเฉพาะ: แม้เป็นตัวแทนแต่ไม่แจ้งต่อเจ้าพนักงาน ทำให้ต้องรับผิดชอบภาษี
แม้จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในการซื้อและขายที่ดิน แต่ในการเสียภาษี จำเลยที่ 1 ยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะต่อเจ้าพนักงานของโจทก์โดยยื่นคำร้องของดเบี้ยปรับและผ่อนชำระภาษี โดยมีจำเลยที่ 2 ทำสัญญารับสภาพหนี้ และจำเลยที่ 3เป็นผู้ค้ำประกันการชำระนี้ แสดงว่าตลอดระยะเวลาที่จำเลยทั้งสามติดต่อโจทก์ จำเลยที่ 1 มิได้แจ้งให้โจทก์ทราบเลยว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 และที่ 3 โจทก์ไม่อยู่ในฐานะที่ได้รู้ข้อเท็จจริงดังกล่าวมาก่อนจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชำระหนี้ค่าภาษีตามฟ้องแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8929/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทเลินเล่อในการลงนามมอบอำนาจ และการรับผิดชอบหนี้จำนองจากการกระทำของผู้อื่น
การที่โจทก์ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจที่ยังไม่ได้กรอกข้อความนับว่าเป็นความประมาทเลินเล่อ โจทก์ไม่อาจยกความบกพร่องของหนังสือมอบอำนาจมายันให้เป็นที่เสียหายแก่ธนาคารจำเลยที่ 3 ซึ่งรับจำนองไว้โดยสุจริตได้ แต่การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันปลอมเอกสารว่าโจทก์มอบอำนาจให้ ธ. บุตรโจทก์ขายที่ดินพร้อมบ้านให้แก่จำเลยที่ 2 แล้วจำเลยที่ 2 โอนขายต่อให้จำเลยที่ 1 จากนั้นจำเลยที่ 1 ทำจำนองไว้แก่จำเลยที่ 3 นั้น จำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็ยังคงต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ในหนี้จำนอง และจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกหนี้ยังคงต้องรับผิดต่อจำเลยที่ 3 อยู่เช่นเดิม ศาลชอบที่จะพิพากษาให้ที่ดินพร้อมบ้านพิพาทกลับมาเป็นของโจทก์ได้โดยไม่จำต้องให้เพิกถอนนิติกรรมทุกฉบับที่เกิดขึ้น เพราะเป็นการเกินจำเป็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5410/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญารับขน: แม้ไม่ได้ออกใบตราส่ง ก็อาจเป็นผู้ร่วมขนส่งและรับผิดชอบความเสียหายได้
แม้จำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นผู้ออกใบตราส่ง แต่ใบตราส่งเป็นเพียงพยานหลักฐานอย่างหนึ่งแห่งสัญญารับขนเท่านั้น โจทก์ย่อมนำสืบพยานหลักฐานอื่นแสดงถึงการทำสัญญารับขนได้ โจทก์ได้นำสืบถึงพฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 ติดต่อทำธุรกิจส่งสินค้าทั้งทางอากาศและทางเรือให้แก่ผู้ซื้อสินค้าทั้งสองรายมาเป็นเวลานาน โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้เสนอค่าจ้างขนส่งและแจ้งชื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้ขนส่งในต่างประเทศ จำเลยที่ 1เป็นผู้เก็บค่าจ้างขนส่งเมื่อทำการขนส่งเสร็จสิ้น และการที่จำเลยที่ 2 ระบุชื่อจำเลยที่1เป็นผู้รับสินค้าที่ปลายทางการขนส่งทางอากาศเพื่อที่จะเป็นผู้มีสิทธิไปขอรับสินค้าออกจากโกดังส่งมอบให้แก่ลูกค้าซึ่งแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้เสนอตัวและดำเนินการเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าให้บริษัทผู้ซื้อทั้งสอง บริษัททั้งสองซึ่งเป็นผู้ซื้อสินค้าและเอาประกันภัยไว้กับโจทก์ได้ทำสัญญารับขนสินค้ากับจำเลยที่ 1 โดยตกลงว่าจ้างให้จำเลยที่ 1ขนส่งสินค้าจากสนามบินต่างประเทศมายังประเทศไทยเพื่อส่งมอบให้แก่บริษัททั้งสอง จำเลยที่ 1 จึงเป็นผู้ร่วมขนส่งสินค้าเมื่อสินค้าสูญหายระหว่างการรับขนจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดในความสูญหายของสินค้าต่อบริษัททั้งสองตามสัญญารับขน และเมื่อโจทก์ผู้รับประกันภัยสินค้าพิพาทได้ชำระค่าสินไหมทดแทนแก่บริษัทผู้ซื้อสินค้าทั้งสองผู้เอาประกันภัยสินค้าดังกล่าวแล้ว ย่อมได้รับช่วงสิทธิมาเรียกร้องเอาจากจำเลยที่ 1 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 54/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาว่าจ้างปลูกต้นไม้: การส่งมอบงาน, การชำระเงิน, และขอบเขตความรับผิดชอบความชำรุดบกพร่อง
สัญญาว่าจ้างปลูกต้นปาล์มน้ำมัน ข้อ 10 ความว่าการส่งมอบงานตามสัญญานี้ให้หมายถึงการส่งมอบงานที่แล้วเสร็จ และถูกต้องสมบูรณ์เป็นช่วง ช่วงละ 50 ต้น และข้อ 16 ความว่า ผู้ว่าจ้างตกลงชำระค่าจ้างแก่ผู้รับจ้างตามสัญญา โดยแบ่งชำระเป็นงวด ๆ ดังต่อไปนี้ (16.1) ชำระราคา ต่อเมื่อผู้รับจ้างได้ทำการปลูกต้นปาล์มน้ำมันจนแล้วเสร็จและ ส่งมอบในแต่ละช่วง ช่วงละ 50 ต้น (16.2) ชำระราคา โดยผู้ว่าจ้างจะทำการจ่ายภายหลัง 3 เดือน นับแต่ส่งมอบงาน แล้วเสร็จในแต่ละช่วง (16.3) ชำระราคา โดยผู้ว่าจ้าง จะทำการจ่ายเมื่อครบกำหนดการรับประกันโดยไม่มีข้อชำรุด บกพร่องในงานแต่ละช่วงตามสัญญา ดังนั้น การที่จำเลย จ่ายค่าจ้างงวดแรกให้โจทก์ตามสัญญา แสดงว่าโจทก์ได้ส่งมอบ งานตามสัญญาที่แล้วเสร็จและถูกต้องสมบูรณ์แล้ว เมื่อครบกำหนด 3 เดือน นับแต่ส่งมอบงานแล้วเสร็จในแต่ละช่วงตามสัญญาจำเลยจึงมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินตามข้อ 16.2 จำเลยแจ้งความเสียหาย ให้โจทก์แก้ไขเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2536 โจทก์ยอมรับว่า มีความชำรุดบกพร่องจริงเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2537 แสดงว่า นับแต่จำเลยแจ้งความชำรุดบกพร่องครั้งแรกจนถึงวันตรวจสอบ ครั้งหลังเป็นเวลาเกือบหนึ่งปีครึ่ง น่าเชื่อว่าโจทก์ปรับปรุง แก้ไขนานแล้ว เมื่อไม่ปรากฏหลักฐานว่าโจทก์ส่งมอบงาน ที่แล้วเสร็จ สมบูรณ์ แก่จำเลยเมื่อใด แต่จำเลยจ่ายเงินค่าจ้าง งวดแรกแก่โจทก์ครบถ้วน ถือว่าโจทก์ปลูกต้นปาล์มน้ำมัน แล้วเสร็จภายใน 45 วัน คือ ถือว่าโจทก์ปลูกต้นปาล์มน้ำมัน และส่งมอบงานที่แล้วเสร็จ สมบูรณ์ แก่จำเลยภายในวันที่ 2 พฤษภาคม 2536 กำหนดเวลาที่โจทก์รับประกันความชำรุด บกพร่องของต้นปาล์มน้ำมันเป็นเวลา 1 ปี นับแต่ส่งมอบงานในแต่ละช่วง จึงมีกำหนดถึงวันที่ 3 พฤษภาคม 2537 จำเลยแจ้ง ให้โจทก์ทราบว่าต้นปาล์มน้ำมันล้มตายเป็นจำนวนมาก ให้โจทก์แก้ไขซ่อมแซมซึ่งเป็นเวลาหลังจากการรับประกัน ความชำรุดบกพร่องของโจทก์สิ้นสุดลงแล้ว เมื่อไม่ปรากฏว่า ความชำรุดบกพร่องเกิดขึ้นภายในระยะเวลาที่โจทก์รับประกัน ความชำรุดบกพร่อง โจทก์จึงไม่ต้องรับผิดแก้ไขซ่อมแซม ที่กรรมการโจทก์แจ้งให้จำเลยทราบว่ามีต้นปาล์มน้ำมันเสียหาย 12 ต้น ก็ไม่มีข้อความใดระบุว่าความเสียหายเกิดขึ้นภายใน ระยะเวลาที่โจทก์รับประกันความชำรุดบกพร่องจำเลยจึง มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินเป็นจำนวนร้อยละ 10 ของจำนวน ค่าจ้างตามสัญญาข้อ 16.3 เมื่อจำเลยไม่จ่ายเงินจึงเป็นฝ่าย ผิดสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4999/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนเชิด การซื้อขายคอนกรีต และการรับผิดชอบหนี้ แม้มิได้ระบุในฟ้อง โจทก์นำสืบได้
แม้โจทก์จะฟ้องว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันซื้อคอนกรีตผสมเสร็จจากโจทก์ แต่การสั่งซื้อคอนกรีตผสมเสร็จของจำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 3 ได้สั่งซื้อเพื่อใช้ในการสร้างบ้านเรือนแถวให้แก่จำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยที่ 1 นำรายจ่ายค่าวัสดุนี้ไปหักจากบัญชีของจำเลยที่ 1 ดังนั้นจำเลยที่ 1 จึงเป็นผู้ได้รับประโยชน์จากการสั่งซื้อคอนกรีตผสมเสร็จของโจทก์โดยตรงแม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะเป็นผู้สั่งซื้อจากโจทก์ แต่ตามพฤติการณ์แล้วจำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 3 ได้สั่งซื้อสินค้าจากโจทก์เพื่อจำเลยที่ 1 นั่นเอง จำเลยที่ 2และที่ 3 จึงเป็นตัวแทนเชิดของจำเลยที่ 1 แม้โจทก์จะมิได้ กล่าวในฟ้องเกี่ยวกับการเป็นตัวแทน โจทก์ก็นำสืบในเรื่องนี้ได้เพราะ เป็นการนำสืบข้อเท็จจริงในรายละเอียดเนื่องจากในการติดต่อทำสัญญาซื้อขาย กันอาจทำโดยตนเองหรือมีตัวแทนไปติดต่อทำสัญญาซื้อขายแทนก็ได้ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1041/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แจ้งความเท็จเกี่ยวกับข้อหาค้าของผิดกฎหมาย แม้สถานที่ไม่มีชื่อ แต่ผู้ครอบครองต้องรับผิดชอบ ศาลให้รอลงโทษปรับ
โจทก์ที่ 1 เป็นเจ้าของสถานที่ที่จำเลยแจ้ง โจทก์ที่ 2เป็นกรรมการผู้จัดการผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์ที่ 1แม้จำเลยจะแจ้งถึงสถานที่ไม่ได้ระบุถึงโจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2 แต่สถานที่ไม่มีสถานะเป็นบุคคลแม้จะมีบุคคลอื่นอยู่ในสถานที่ นั้นอีกหลายคน แต่หากมีสิ่งของผิดกฎหมายซุกซ่อนอยู่จริงโจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ครอบครองสถานที่จะต้องรับผิดชอบ โจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2 จึงเป็นผู้เสียหายฐานแจ้งความเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 173 และไม่ถือว่า ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงในฟ้อง จำเลยประกอบอาชีพเป็นทนายความเป็นผู้มีความรู้ทางกฎหมาย กระทำการอันเป็นความผิดต่อกฎหมายเสียเองแล้วไม่สำนึกผิด กลับต่อสู้คดีวกวนกล่าวโทษผู้อื่น จึงไม่สมควรกำหนดโทษ ให้เบาลงอีก แต่จำเลยกระทำไปก็โดยมุ่งหมายให้สำเร็จประโยชน์ ในงานที่ได้รับมอบหมาย ไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยได้รับโทษ จำคุกมาก่อน ประกอบกับจำเลยได้ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ โจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2 เป็นที่พอใจแล้วและไม่ติดใจ เอาความกับจำเลย สมควรรอการลงโทษจำคุก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6171/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดจากการตอกเสาเข็ม: จำเลยต้องรับผิดชอบความเสียหายต่ออาคารโจทก์ แม้จะใช้วิธีที่ดีที่สุดแล้ว
จำเลยต่อเติมอาคารตึกแถวของจำเลยมีการตอกเสาเข็มโดยใช้เครื่องจักรกลขนาดใหญ่แรงสั่นสะเทือนทำให้เสาอาคารของโจทก์หัก ผนังและพื้นแตกร้าว ก่อนจำเลยได้ก่อสร้างเพิ่มเติมอาคารตึกแถวดังกล่าว จำเลยได้ลงเสาเข็มก่อนทำการก่อสร้างโดยใช้วิธีเจาะเสาเข็มห่างจากแนวรั้วบ้านโจทก์ประมาณ 50 ถึง 100 เซนติเมตร เพื่อรองรับอาคาร ส่วนที่ต่อเติมจำนวนถึง 3 ชั้นซึ่งจะต้องมีการขุดเจาะลงเสาเข็มจำนวนหลายต้น แม้วิธีการขุดเจาะลงเสาเข็มจะเป็นวิธีการที่ดีที่สุดเพียงใดก็ตาม แต่ต้องมีการตอกปลอกเหล็กลงไปในดินก่อนจนถึงดินแข็งซึ่งมีความลึกพอสมควรต่อจากนั้นจึงจะมีการปั๊มลมเพื่อนำดินออกจากปลอกเหล็กแล้ว จึงตอกอัดเสาเข็มลงไป จึงย่อมจะต้องมีแรงสั่นสะเทือน กระทบต่อบริเวณพื้นที่ใกล้เคียงอยู่บ้างไม่มากก็น้อย มิใช่ว่าวิธีการของจำเลยเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะทำให้ ไม่มีแรงสั่นสะเทือนเกิดขึ้นเลย ดังนี้ เมื่อความเสียหาย ของอาคารตึกแถวโจทก์เกิดจากการกระทำของจำเลย จำเลยจึงต้องรับผิดในความเสียหายดังกล่าวต่อโจทก์ แม้ทางนำสืบของโจทก์จะฟังไม่ได้ว่าโจทก์เสียหายตามจำนวนที่ขอมาในฟ้องเป็นค่าเสียหายที่แท้จริงก็ตาม แต่เมื่อเห็นได้ว่าความเสียหายของโจทก์ยังคงมีอยู่ศาลย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจกำหนดค่าเสียหายให้แก่โจทก์ได้ตามความเหมาะสมและพฤติการณ์แห่งรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 356/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนจำกัดรับผิดชอบหนี้ห้างหุ้นส่วน: โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ล้มละลายจากหนี้ของห้างหุ้นส่วนได้ แม้ไม่อุทธรณ์จำเลยที่ 1
จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด ซึ่งต้องรับผิดในหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 โดยไม่จำกัดจำนวนเมื่อจำเลยที่ 1 เป็นหนี้ภาษีอากร โจทก์จึงนำหนี้ภาษีอากรของจำเลยที่ 1 มาฟ้องจำเลยที่ 2 แต่เพียงผู้เดียวขอให้ล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 9 ได้ การที่โจทก์นำหนี้ภาษีอากรของจำเลยที่ 1 มาฟ้องจำเลยทั้งสองให้ล้มละลายเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์ย่อมอุทธรณ์เฉพาะคดีสำหรับจำเลยที่ 2 ได้โดยไม่จำเป็นต้องอุทธรณ์คดีสำหรับจำเลยที่ 1ด้วย เพียงแต่การพิจารณาคดีสำหรับจำเลยที่ 2 ศาลต้องพิจารณาเอาความจริงตามมาตรา 9 ตามที่พระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 14 บัญญัติไว้ กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 89 ดังนั้นที่ศาลอุทธรณ์อ้างว่า โจทก์จะอุทธรณ์เพื่อให้จำเลยที่ 2ล้มละลายแต่ลำพังไม่ได้และไม่รับวินิจฉัยและพิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์ จึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 249/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คเป็นเอกเทศสัญญา ผู้ลงลายมือชื่อต้องรับผิดชอบ ผู้สลักหลังเป็นเพียงผู้ประกัน
เช็คเป็นเอกเทศสัญญาอย่างหนึ่งตาม ป.พ.พ.ที่บัญญัติให้ผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายจะต้องรับผิดชำระเงินให้แก่ผู้ทรงเช็ค เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค ส่วนผู้ลงลายมือชื่อสลักหลังเช็คซึ่งสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือนั้นย่อมเป็นเพียงประกัน (อาวัล) สำหรับผู้สั่งจ่าย ผู้รับอาวัลย่อมต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกันกับบุคคลซึ่งตนประกัน ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาในคำฟ้องโจทก์จึงไม่จำต้องระบุถึงมูลหนี้ว่าเป็นการชำระหนี้ค่าอะไร เพราะเป็นรายละเอียดที่สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ทั้งจำเลยก็สามารถให้การต่อสู้คดีได้ถูกต้องว่าเช็คพิพาทไม่มีมูลหนี้ที่จำเลยต้องรับผิด คำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
of 20