พบผลลัพธ์ทั้งหมด 27 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4749/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฝากเงินโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย และความรับผิดของบริษัทต่อการกระทำของกรรมการ
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด จะกู้ยืมเงินหรือรับเงินออมจากประชาชนได้จะต้องปฏิบัติอยู่ในกรอบกำหนดกฎเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนฯ พ.ศ. 2522 มาตรา 4,27และตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยเรื่อง การกำหนดให้บริษัทเงินทุนปฏิบัติในการกู้ยืมเงินหรือรับเงินจากประชาชนและการกำหนดอัตราดอกเบี้ยหรือส่วนลดที่บริษัทเงินทุนอาจจ่ายหรืออาจเรียกได้ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2528 ข้อ 2(2) ข้อ 3(1) การที่จำเลยที่ 2ที่ 3 ซึ่งเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 รับฝากเงินจากโจทก์แล้วมิได้ออกเอกสารการกู้ยืมเงินหรือออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์และไม่ใช่เพื่อการพัฒนาหรือการเคหะ แม้จำเลยที่ 2 ที่ 3 จะลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คให้โจทก์ แต่ก็ไม่มีตราของจำเลยที่ 1 ประทับไว้ จึงมิได้เป็นการสั่งจ่ายเช็คในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 1 ทั้งเป็นการกระทำนอกขอบวัตถุประสงค์ข้อบังคับของจำเลยที่ 1 และไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดตามบทกฎหมายและประกาศดังกล่าวจำเลยที่ 1 ย่อมไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ แต่ตามพฤติการณ์ที่พนักงานของจำเลยที่ 1 เป็นผู้ดำเนินการรับฝากเงินจากโจทก์ณ สำนักงานของจำเลยที่ 1 ทำให้โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้สุจริตหลงเข้าใจได้ว่าการรับฝากเงินเป็นกิจการของจำเลยที่ 1ที่กระทำได้ตามกฎหมายและอยู่ภายในขอบวัตถุประสงค์ข้อบังคับของจำเลยที่ 1 โดยรับฝากเงินแล้วออกเป็นเช็คให้เช่นนี้ ต้องถือว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ติดต่อรับฝากเงินและรู้เห็นเอง โดยจำเลยที่ 1เชิดจำเลยที่ 2 ที่ 3 เป็นตัวแทนผู้มีอำนาจกระทำการในการรับฝากเงินและออกเช็คให้แก่โจทก์ จำเลยที่ 1 ต้องผูกพันรับเอาผลการกระทำของจำเลยที่ 2 ที่ 3 ไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 821จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดคืนเงินที่รับฝากพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ การกำหนดค่าฤชาธรรมเนียมเป็นดุลพินิจของศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 แล้วยกเสีย มิใช่กรณีที่ศาลสั่งไม่รับฟ้องแย้งซึ่งจะต้องสั่งคืนค่าธรรมเนียมศาลทั้งหมดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 151 แต่จะต้องบังคับตามมาตรา 161 ซึ่งศาลใช้ดุลพินิจไม่คืนค่าธรรมเนียมฟ้องแย้งให้จำเลยที่ 1 ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3076/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฝากเงินและการรับผิดของผู้รับฝากเมื่อทรัพย์สินสูญหาย แม้เหตุสุดวิสัย
จำเลยรับฝากเงินจากโจทก์ จำเลยผู้รับฝากจะเอาเงินซึ่งฝากนั้นออกใช้ก็ได้ แม้ว่าการรับฝากเงินรายนี้จะไม่มีบำเหน็จค่าฝาก และจำเลยจะได้ใช้ความระมัดระวังสงวนทรัพย์สินซึ่งฝากนั้นเหมือนเช่นเคยประพฤติในกิจการของจำเลยก็ตาม เมื่อปรากฏว่าเงินซึ่งฝากนั้นสูญหายเพราะถูกคนร้ายลักไปแม้จะเป็นเหตุสุดวิสัยซึ่งจำเลยไม่อาจป้องกันได้ จำเลยก็ต้องรับผิดคืนเงินจำนวนที่จำเลยรับฝากไว้แก่โจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 672
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3076/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้รับฝากเงินเมื่อเงินสูญหาย แม้เหตุสุดวิสัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 672
จำเลยรับฝากเงินจากโจทก์ จำเลยผู้รับฝากจะเอาเงินซึ่งฝากนั้นออกใช้ก็ได้ ฉะนั้น แม้การรับฝากเงินจะไม่มีบำเหน็จค่าฝากและจำเลยจะได้ใช้ความระมัดระวังสงวนทรัพย์สินซึ่งฝากนั้นเหมือนเช่นเคยประพฤติในกิจการของจำเลยเองก็ตาม เมื่อปรากฏว่าเงินซึ่งฝากนั้นสูญหายเพราะถูกคนร้ายลักไป แม้จะเป็นเหตุสุดวิสัยซึ่งไม่อาจป้องกันได้ จำเลยก็ต้องรับผิดคืนเงินจำนวนที่รับฝากไว้แก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 672.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3076/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้รับฝากเงินกรณีเงินสูญหาย แม้ไม่มีบำเหน็จและใช้ความระมัดระวังแล้ว
จำเลยรับฝากเงินจากโจทก์ จำเลยผู้รับฝากจะเอาเงินซึ่งฝากนั้นออกใช้ก็ได้ แม้ว่าการรับฝากเงินรายนี้จะไม่มีบำเหน็จค่าฝาก และจำเลยจะได้ใช้ความระมัดระวังสงวนทรัพย์สินซึ่งฝากนั้นเหมือนเช่นเคยประพฤติในกิจการของจำเลยก็ตาม เมื่อปรากฏว่าเงินซึ่งฝากนั้นสูญหายเพราะถูกคนร้ายลักไปแม้จะเป็นเหตุสุดวิสัยซึ่งจำเลยไม่อาจป้องกันได้ จำเลยก็ต้องรับผิดคืนเงินจำนวนที่จำเลยรับฝากไว้แก่โจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 672.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1121/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฝากเงินและออกเช็คเพื่อใช้คืน ถือเป็นสัญญารับฝากเงินโดยปริยาย แม้ไม่ได้ทำสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร
โจทก์นำเงินไปฝาก ณ ที่ทำการของบริษัทเงินทุนจำเลย พนักงานของจำเลยรับฝากเงินจากโจทก์และดำเนินการให้กรรมการผู้มีอำนาจออกเช็คสั่งจ่ายเงินตามจำนวนเงินที่รับจากโจทก์ และกำหนดวันสั่งจ่ายคืนตามเช็คเป็นเวลา 1 ปี แล้วนำเช็คบรรจุในซองพลาสติกมีตราของบริษัทจำเลยแล้วใส่ในซองจดหมายซึ่งมีชื่อบริษัทจำเลยนำมามอบให้แก่โจทก์ มีลักษณะเพื่อเป็นการใช้เงินคืนซึ่งจำเลยเคยปฏิบัติต่อโจทก์เช่นเดียวกันนี้มาก่อน อันเป็นการฝ่าฝืนประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้บริษัทเงินทุนปฏิบัติในการกู้ยืมเงินหรือรับเงินจากประชาชนฯ การที่โจทก์นำเงินไปมอบให้แก่จำเลยก็เพื่อประสงค์จะได้ดอกเบี้ยตามข้อตกลงที่จำเลยให้สัญญา แต่โจทก์มิได้ตกลงกับจำเลยโดยเฉพาะว่าการใช้เงินคืนจำเลยจะต้องทำการออกตั๋วสัญญาใช้เงินหรือออกเช็คให้แก่โจทก์หรือต้องทำในรูปสัญญากู้ยืมหรือประการอื่นใด เมื่อกรรมการผู้มีอำนาจออกเช็คสั่งจ่ายเงินตามจำนวนที่รับมอบจากโจทก์ จึงเป็นกรณีที่ตัวแทนจำเลยปฏิบัติต่อโจทก์ฝ่ายเดียว โจทก์มิได้ตกลงหรือรู้เห็นด้วยว่าเป็นการฝ่าฝืนประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย จึงมิใช่นิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์ขัดต่อกฎหมายพฤติการณ์ดังกล่าวฟังได้ว่าจำเลยเป็นคู่สัญญากับโจทก์ จำเลยจึงต้องรับผิดใช้เงินคืนแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2703/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับผิดของธนาคารต่อการกระทำของตัวแทนเชิดในการรับฝากเงิน และผลของการนำเช็คที่ไม่มีผู้สั่งจ่ายที่แท้จริงไปขึ้นเงิน
โจทก์เป็นลูกค้าของธนาคาร จำเลยที่ 3 สาขาลาดพร้าวได้ติดต่อรับซื้อลดเช็คจาก พ. พนักงานฝ่ายสินเชื่อของจำเลยที่ 3 ซึ่งเช็คดังกล่าว พ. อ้างว่าเป็นของลูกค้าจำเลยที่ 3 โดยโจทก์กับ พ. แบ่งผลประโยชน์ในส่วนลดกัน เมื่อเช็คถึงกำหนด พ. จะนำไปเก็บเงินจากลูกค้าแล้วนำเข้าบัญชีกระแสรายวันของโจทก์ ดังนี้ เท่ากับ พ. เป็นผู้ไปรับฝากเงินจากโจทก์โดยที่โจทก์ไม่ต้องนำเงินเข้าบัญชีด้วยตนเองจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นสมุห์บัญชีและผู้จัดการของจำเลยที่ 3 สาขาลาดพร้าว ก็ทราบเรื่องที่ พ. นำเงินเข้าบัญชีโจทก์ดังกล่าว ถือว่าจำเลยทั้งสามเชิดให้ พ. เป็นตัวแทนออกไปรับฝากเงินจากลูกค้านอกสถานที่ตาม ป.พ.พ.มาตรา 821 หาก พ. ได้รับเงินจากลูกค้าผู้สั่งจ่ายเช็คเพื่อนำมาเข้าบัญชีโจทก์แล้ว ถึงแม้ พ. จะทุจริตมิได้นำเข้าบัญชี จำเลยที่ 3 ก็จะต้องรับผิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา820,821.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2703/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคารมีหน้าที่รับผิดต่อความเสียหายจากการที่ตัวแทนเชิดรับฝากเงินจากลูกค้า แต่พิสูจน์ไม่ได้ว่ามีการรับฝากจริง
โจทก์เป็นลูกค้าของธนาคารจำเลยที่ 3 สาขาลาดพร้าวได้ติดต่อรับซื้อลดเช็คจาก พ.พนักงานฝ่ายสินเชื่อของจำเลยที่ 3ซึ่งเช็คดังกล่าว พ.อ้างว่าเป็นของลูกค้าจำเลยที่ 3 โดยโจทก์กับ พ.แบ่งผลประโยชน์ในส่วนลดกันเมื่อเช็คถึงกำหนดพ.จะนำไปเก็บเงินจากลูกค้าแล้วนำเข้าบัญชีกระแสรายวันของโจทก์เท่ากับ พ.เป็นผู้ไปรับฝากเงินจากโจทก์โดยที่โจทก์ไม่ต้องนำเงินเข้าบัญชีด้วยตนเอง จำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นสมุห์บัญชีและผู้จัดการของจำเลยที่ 3 สาขาลาดพร้าวก็ทราบเรื่องที่ พ.นำเงินเข้าบัญชีโจทก์ ถือว่าจำเลยทั้งสามเชิดให้ พ. เป็นตัวแทนออกไปรับฝากเงินจากลูกค้านอกสถานที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 821 หาก พ. ได้รับเงินจากลูกค้าผู้สั่งจ่ายเช็คเพื่อนำมาเข้าบัญชีโจทก์แล้ว ถึงแม้ พ. จะทุจริตมิได้นำเข้าบัญชีจำเลยที่ 3 ก็จะต้องรับผิดต่อโจทก์ตาม มาตรา 820,821
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 882-884/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารรับฝากเงินเพื่อชำระหนี้ ไม่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ จำเลยไม่มีอำนาจฟ้อง
รายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีของพนักงานสอบสวนมีข้อความว่าโจทก์ทั้งสามพร้อมด้วยจำเลยไปแจ้งว่า เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2526 ส. ได้นำเงินจำนวนหนึ่งมาไว้กับจำเลยเพื่อที่ให้มาจ่ายแก่โจทก์ทั้งสาม จำเลยได้เก็บรักษาไว้แล้วและได้พากันมาพบพนักงานสอบสวนเพื่อแจ้งความไว้เป็นหลักฐานว่าในวันที่ 28 มีนาคม 2526 จำเลยจะมาจัดการเคลียเงินทั้งหมดให้แก่โจทก์ทั้งสามรายงานดังกล่าวไม่มีข้อความในทำนองว่ามีข้อตกลงเพื่อระงับข้อพิพาทที่มีอยู่แล้วหรือที่จะมีขึ้นภายหลัง ทั้งไม่ปรากฏมูลหนี้ใด ๆ ที่จำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์ ข้อความในเอกสารดังกล่าวเป็นเรื่องจำเลยรับเงินไว้ในฐานะตัวแทนของ ส.เพื่อนำไปชำระให้โจทก์ การตกลงชำระเงินให้โจทก์ในวันใดก็เป็นการทำตามหน้าที่ของตัวแทนเท่านั้นจำเลยไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว เอกสารดังกล่าวจึงไม่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 882-884/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารรับฝากเงินไม่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ จำเลยไม่ต้องรับผิดในฐานะลูกหนี้
รายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีของพนักงานสอบสวนมีข้อความว่าโจทก์ทั้งสามพร้อมด้วยจำเลยไปแจ้งว่า เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์2526 ส. ได้นำเงินจำนวนหนึ่งมาไว้กับจำเลยเพื่อที่ให้มาจ่ายแก่โจทก์ทั้งสาม จำเลยได้เก็บรักษาไว้แล้วและได้พากันมาพบพนักงานสอบสวนเพื่อแจ้งความไว้เป็นหลักฐานว่าในวันที่28 มีนาคม 2526 จำเลยจะมาจัดการเคลียเงินทั้งหมดให้แก่โจทก์ทั้งสามรายงานดังกล่าวไม่มีข้อความในทำนองว่ามีข้อตกลงเพื่อระงับข้อพิพาทที่มีอยู่แล้วหรือที่จะมีขึ้นภายหลัง ทั้งไม่ปรากฏมูลหนี้ใด ๆ ที่จำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์ ข้อความในเอกสารดังกล่าวเป็นเรื่องจำเลยรับเงินไว้ในฐานะตัวแทนของส.เพื่อนำไปชำระให้โจทก์ การตกลงชำระเงินให้โจทก์ในวันใดก็เป็นการทำตามหน้าที่ของตัวแทนเท่านั้นจำเลยไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว เอกสารดังกล่าวจึงไม่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1124/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฝากเงินประกอบการธนาคารพาณิชย์โดยไม่ได้รับอนุญาตและผลกระทบต่อสิทธิผู้ฝาก เงินฝากไม่เป็นโมฆะหากผู้ฝากไม่รู้
การประกอบกิจการรับฝากเงินซึ่งต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถาม โดยให้ผลประโยชน์ตอบแทนแก่ผู้ฝากเป็นดอกเบี้ย และใช้ประโยชน์เงินฝากนั้นในการให้พ่อค้าและผู้รู้จักชอบพอกู้ยืมโดยเรียกค่านายหน้าค่ารางวัล และดอกเบี้ยจากผู้กู้ยืมมีจำนวนสูงกว่าดอกเบี้ยที่จะจ่ายแก่ผู้ฝาก หากกระทำเป็นปกติธุระย่อมเป็นการประกอบการธนาคารพาณิชย์ซึ่งจะต้องได้รับอนุญาตตามกฎหมาย
การใดอันมีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายซึ่งตกเป็นโมฆะกรรมนั้น ในสัญญาซึ่งเป็นนิติกรรมทำโดยบุคคลสองฝ่าย ประโยชน์อันเป็นผลสุดท้ายที่ทั้งสองฝ่ายต้องการคู่กรณีทั้งสองฝ่ายจะต้องร่วมรู้กัน จึงจะเป็นวัตถุที่ประสงค์ของนิติกรรมสัญญานั้นถ้าคู่สัญญาแต่ฝ่ายเดียวรู้ถึงการกระทำของตนว่าเป็นการต้องห้ามโดยกฎหมาย โดยอีกฝ่ายมิได้ร่วมรู้ด้วย จะถือว่านิติกรรมสัญญานั้นมีวัตถุที่ประสงค์เป็นการต้องห้ามโดยกฎหมายหาได้ไม่
แม้ผู้รับฝากเงินจะประกอบการธนาคารพาณิชย์โดยมิได้รับอนุญาตแต่ผู้ฝากมิได้ร่วมรู้ ในการกระทำของผู้รับฝากซึ่งมีวัตถุที่ประสงค์เป็นการต้องห้ามโดยกฎหมาย ดังนี้นิติกรรมรับฝากเงินระหว่างผู้ฝากกับผู้รับฝากย่อมไม่เป็นโมฆะ ผู้ฝากมีสิทธิเรียกเงินฝากคืนจากผู้รับฝากได้
คดีล้มละลายที่ได้ยื่นฟ้องก่อนวันที่พระราชบัญญัติล้มละลาย(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2511 ใช้บังคับ และยังค้างพิจารณาอยู่ในศาลหรืออยู่ในระหว่างปฏิบัติการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ แม้จะมีการอุทธรณ์ฎีกา คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลหลังจากใช้บังคับพระราชบัญญัติฉบับนี้แล้ว ค่าธรรมเนียมในการอุทธรณ์ฎีกาก็ยังคงเสียตามอัตราเดิมที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483
การใดอันมีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายซึ่งตกเป็นโมฆะกรรมนั้น ในสัญญาซึ่งเป็นนิติกรรมทำโดยบุคคลสองฝ่าย ประโยชน์อันเป็นผลสุดท้ายที่ทั้งสองฝ่ายต้องการคู่กรณีทั้งสองฝ่ายจะต้องร่วมรู้กัน จึงจะเป็นวัตถุที่ประสงค์ของนิติกรรมสัญญานั้นถ้าคู่สัญญาแต่ฝ่ายเดียวรู้ถึงการกระทำของตนว่าเป็นการต้องห้ามโดยกฎหมาย โดยอีกฝ่ายมิได้ร่วมรู้ด้วย จะถือว่านิติกรรมสัญญานั้นมีวัตถุที่ประสงค์เป็นการต้องห้ามโดยกฎหมายหาได้ไม่
แม้ผู้รับฝากเงินจะประกอบการธนาคารพาณิชย์โดยมิได้รับอนุญาตแต่ผู้ฝากมิได้ร่วมรู้ ในการกระทำของผู้รับฝากซึ่งมีวัตถุที่ประสงค์เป็นการต้องห้ามโดยกฎหมาย ดังนี้นิติกรรมรับฝากเงินระหว่างผู้ฝากกับผู้รับฝากย่อมไม่เป็นโมฆะ ผู้ฝากมีสิทธิเรียกเงินฝากคืนจากผู้รับฝากได้
คดีล้มละลายที่ได้ยื่นฟ้องก่อนวันที่พระราชบัญญัติล้มละลาย(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2511 ใช้บังคับ และยังค้างพิจารณาอยู่ในศาลหรืออยู่ในระหว่างปฏิบัติการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ แม้จะมีการอุทธรณ์ฎีกา คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลหลังจากใช้บังคับพระราชบัญญัติฉบับนี้แล้ว ค่าธรรมเนียมในการอุทธรณ์ฎีกาก็ยังคงเสียตามอัตราเดิมที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483