คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
รับฟ้อง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 84 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3697/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนคำสั่งรับฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และสิทธิในการอุทธรณ์ฎีกา
ศาลชั้นต้นไม่รับฟ้องโดยอ้างว่าหนังสือมอบอำนาจท้ายฟ้องโจทก์ไม่ได้มอบอำนาจให้ฟ้องจำเลย แต่เมื่อปรากฏว่าคดีนี้ น. ทนายโจทก์เป็นผู้ลงชื่อในคำฟ้อง แม้ในคำฟ้องจะระบุว่าโจทก์มอบอำนาจให้นาย ส. ดำเนินคดีแทน แต่เมื่อกรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อผูกพันโจทก์เป็นผู้ลงชื่อแต่งตั้งนาย น. เป็นทนายความ พร้อมประทับตราสำคัญของโจทก์ จึงเท่ากับว่าโจทก์ได้ยื่นฟ้องจำเลยด้วยตนเอง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งที่รับฟ้องโจทก์แล้วมีคำสั่งใหม่เป็นไม่รับฟ้องโจทก์ จึงเป็นการสั่งโดยเข้าใจผิด คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ เมื่อโจทก์ร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งแล้ว แต่ศาลชั้นต้นไม่เพิกถอน โจทก์จึงมีสิทธิอุทธรณ์และฎีกาได้ตามบทกฎหมายทั่วไป หาใช่ต้องอุทธรณ์ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 วรรคท้ายไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3398/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลำดับการพิจารณาฎีกาและการสั่งรับฟ้องฎีกาอย่างคนอนาถา: ศาลต้องกำหนดให้ชำระค่าธรรมเนียมก่อนสั่งรับหรือไม่
เมื่อจำเลยฎีกาพร้อมคำร้องขอให้ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ที่นั่งพิจารณาคดีรับรองให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงและยื่นคำร้อง ขอฟ้องฎีกาอย่างคนอนาถาศาลชั้นต้นสั่งในฎีกาและคำร้องขอฟ้อง ฎีกาอย่างคนอนาถาว่า รอฟังคำสั่งศาลอุทธรณ์ก่อนจึงจะ พิจารณาสั่ง ต่อมาผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ที่นั่งพิจารณาคดีนี้ ไม่รับรองให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และเมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่า จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้เพราะต้องห้ามตามกฎหมาย ก็ชอบที่จะสั่งยกคำร้องขอฟ้องฎีกาอย่างคนอนาถานั้นเสีย โดยไม่ต้องไต่สวนคำร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคสาม แต่ศาลชั้นต้นต้องกำหนดให้จำเลย นำเงินค่าธรรมเนียมชั้นฎีกามาชำระภายในเวลาที่ศาลชั้นต้น เห็นสมควรกำหนดก่อน เมื่อถึงกำหนดแล้วไม่ชำระ จึงจะสั่งในฎีกาของจำเลยว่ารับหรือไม่รับฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18ศาลชั้นต้นยังไม่ควรก้าวล่วงไปสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยเสียในตอนนี้ เมื่อศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาไม่ถูกต้องและศาลอุทธรณ์ไม่ได้แก้ไข ศาลฎีกาจึงอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(1)(2)ประกอบด้วยมาตรา 247 แก้ไขให้ถูกต้องโดยให้ศาลชั้นต้นสั่งฎีกา ของจำเลยเสียใหม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 156 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1419/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการขอเพิกถอนกระบวนพิจารณาและการรับฟ้องหลังคำพิพากษาถึงที่สุด
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี จำเลยที่ 2 ขอพิจารณาใหม่ ศาลฎีกาพิพากษาคดีถึงที่สุดแล้วว่าจำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิขอ ให้พิจารณาใหม่ กระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นจึงชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 2 หามีสิทธิจะขอให้ศาลเพิกถอนกระบวนพิจารณาโดยอ้างว่าเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 หรือขอให้เพิกถอน การรับฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 ได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 933/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งเกี่ยวเนื่องกับการซื้อขายที่ดิน: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าฟ้องแย้งมีประเด็นเชื่อมโยงกับคำฟ้องเดิม จึงรับฟ้องแย้ง
แม้ตามคำฟ้องโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระค่าที่ดินและค่าเสารั้วที่โจทก์ออกทดรองไปก่อนแต่เมื่อจำเลยให้การต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ของโจทก์แต่เป็นของบุคคลภายนอกคดีจึงมีประเด็นต้องวินิจฉัยตามข้อต่อสู้ของจำเลยว่าโจทก์จำเลยและบุคคลภายนอกมีการตกลงกันให้จำเลยชำระเงินค่าที่ดินพิพาทแก่บุคคลภายนอกและโจทก์ต้องชำระค่าเสียหายแก่บุคคลภายนอกอีก50,000บาทโดยจำเลยเป็นฝ่ายออกเงินทดรองไปก่อนเพื่อนำไปสู่ข้อเท็จจริงว่าที่ดินพิพาทเป็นของบุคคลภายนอกหรือไม่ดังนั้นแม้ฟ้องแย้งของจำเลยเป็นการเรียกร้องให้โจทก์คืนเงินซึ่งจำเลยชำระให้แก่บุคคลภายนอกแทนโจทก์เนื่องจากการเจรจาเพื่อยุติข้อพิพาทก็ตามฟ้องแย้งดังกล่าวก็เป็นประเด็นสืบเนื่องมาจากการซื้อขายที่ดินพิพาทรายเดียวกันฟ้องแย้งกับคำฟ้องเดิมจึงมีความเกี่ยวพันกันชอบที่จะพิจารณารวมกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 861/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการได้รับข้อมูลสิ่งแวดล้อม, การฟ้องจำเลยที่ 3 และการรับฟ้องกรณีจำเลยที่ 2 ถึงที่สุดแล้ว
โจทก์ทั้งเจ็ดฟ้องจำเลยทั้งสาม ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องแล้วพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 3 คงรับฟ้องสำหรับจำเลยที่ 3โจทก์ร่วมทั้งยี่สิบเก้าจึงได้ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ต่อมาโจทก์ทั้งเจ็ดและโจทก์ร่วมทั้งยี่สิบเก้าได้ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องจำเลยที่ 2 คดีถึงที่สุดไปแล้ว แม้ต่อมาศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นให้รับฟ้องโจทก์ทั้งเจ็ดไว้พิจารณาตามที่โจทก์ทั้งเจ็ดอุทธรณ์ก็ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์มิได้กระทบสิทธิโจทก์ร่วมทั้งยี่สิบเก้าแต่อย่างใด โจทก์ร่วมทั้งยี่สิบเก้าจึงไม่มีสิทธิฎีกาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาโจทก์ร่วมทั้งยี่สิบเก้า แม้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2534 มาตรา 35วรรคหนึ่ง จะบัญญัติว่า "สิทธิของบุคคลในทรัพย์สินย่อมได้รับความคุ้มครอง ขอบเขตแห่งสิทธิและการจำกัดสิทธิเช่นว่านี้ย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายก็ตาม แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าพื้นที่ตามที่โจทก์ทั้งเจ็ดและโจทก์ร่วมทั้งยี่สิบเก้าฟ้องยังไม่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพ.ศ. 2535 มาตรา 43 ทั้งโจทก์ทั้งเจ็ดก็ยอมรับว่าพื้นที่ตามฟ้องเป็นกรรมสิทธิ์ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์มิใช่เป็นที่สาธารณะการที่โจทก์ทั้งเจ็ดมีความประสงค์จะให้ทางราชการกำหนดพื้นที่ตามฟ้องเป็นเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมโดยไม่ต้องการให้มีการปลูกอาคารใด ๆ ลงบนพื้นที่ รวมทั้งต้องการให้กำหนดมาตรการจำกัดการใช้พื้นที่ดังกล่าวนั้นย่อมเป็นการใช้สิทธิโดยละเมิดสิทธิของบุคคลในทรัพย์สินเป็นคำขอที่ไม่อาจบังคับให้ได้ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าพื้นที่ใดจะกำหนดให้เป็นเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องที่อยู่ในดุลพินิจของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติจะพิจารณาเห็นสมควรโดยอาศัยหลักเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติสิ่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 และพื้นที่ตามฟ้อง คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้มีมติว่าพื้นที่ดังกล่าวไม่เข้าเกณฑ์ที่จะประกาศเป็นเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมตาม มาตรา 43 และมาตรา 45แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพ.ศ. 2535 โจทก์ทั้งเจ็ดไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลมีคำพิพากษาเพิกถอนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2535 หรือบังคับนายกรัฐมนตรีจำเลยที่ 1 เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาเพิกถอนมติหรือขอให้ศาลบังคับจำเลยที่ 1 หยุดหรือระงับการก่อสร้างอาคารมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวได้จึงชอบแล้ว สิทธิและหน้าที่ในการรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2534 มาตรา 58 สิทธิในการมีอากาศสะอาดบริสุทธิ์หายใจเพื่อสุขภาพ พลานามัย และคุณภาพชีวิตที่ดี สิทธิในการได้รับความรื่นรมย์ตามธรรมชาติของพื้นที่ตามฟ้อง สิทธิที่จะปลอดจากความเสียหายและเดือนร้อนอันเกิดจากปัญหาน้ำท่วมชุมชนในบริเวณใกล้เคียงกับพื้นที่ตามฟ้อง และสิทธิที่จะปลอดจากเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเกิดจากปัญหาการจราจรติดขัดปัญหามลพิษทางอากาศปัญหาความร้อนที่ระบายจากตึกอาคารสูง ล้วนเป็นสิทธิตามปกติธรรมดาของคนทั่วไปซึ่งมีสิทธิได้รับตามที่กฎหมายกำหนดอยู่แล้ว ไม่ใช่เป็นสิทธิที่โจทก์ได้รับความเสียหายเป็นพิเศษ นายกรัฐมนตรีจำเลยที่ 1 มีฐานะเป็นประธานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติโดยตำแหน่งระเบียบราชการจะต้องมีหน่วยงานพิจารณากลั่นกรองเรื่องราวและเสนอความเห็นตามลำดับขั้นตอนสำนักงานนโบายและแผนสิ่งแวดล้อมเป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเป็นหน่วยงานในบังคับบัญชาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมจำเลยที่ 2 มีหน้าที่โดยตรงที่จะเสนอเรื่องราวต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติอยู่แล้ว เมื่อสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อมยังไม่ได้เสนอคำร้องเรียนของโจทก์ที่ 1 ต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติและจำเลยที่ 1 เพื่อพิจารณา จำเลยที่ 1 จึงยังมิได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งเจ็ดแต่อย่างใด ศาลจึงไม่อาจรับฟ้องโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ตามคำขอท้ายฟ้องที่ขอให้ศาลมีคำพิพากษาบังคับจำเลยที่ 1 ให้นำเรื่องเสนอต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติประกาศกำหนดให้พื้นที่ตามฟ้องเป็นเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมได้ สำหรับคดีระหว่างโจทก์ทั้งเจ็ดกับจำเลยที่ 2 นั้น เมื่อศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้รับฟ้องของโจทก์ทั้งเจ็ดตามคำขอท้ายฟ้องข้อ 2 ตอนต้นและข้อ 5 ไว้พิจารณาแล้ว ศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณาคดีในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 ต่อไป ในระหว่างพิจารณา โจทก์ที่ 1 ในฐานะผู้รับมอบอำนาจของโจทก์ร่วมทั้งยี่สิบเก้ายื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ ศาลชั้นต้นอนุญาตต่อมาในวันนัดชี้สองสถานโจทก์ทั้งเจ็ดและโจทก์ร่วมทั้งยี่สิบเก้ายื่นคำร้องขอถอนฟ้องจำเลยที่ 2 โดยไม่ติดใจที่จะดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 2 อีกต่อไป ทั้งยังได้ระบุไว้ท้ายคำร้องขอถอนฟ้องด้วยว่าการถอนฟ้องนี้เป็นการถอนฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 2 ไม่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 และที่ 3 ซึ่งคดีกำลังอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ดังนั้นคดีของโจทก์ทั้งเจ็ดและโจทก์ร่วมทั้งยี่สิบเก้าในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 จึงถึงที่สุดก่อนที่ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นให้รับฟ้องโจทก์ทั้งเจ็ดและโจทก์ร่วมทั้งยี่สิบเก้าในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 ตามคำขอท้ายฟ้องข้อ 4 ไว้พิจารณา ทั้งตามคำฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งเจ็ดตอนท้ายที่อุทธรณ์คัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นปรากฏว่าโจทก์ทั้งเจ็ดได้ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับและยกคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้ยกฟ้องโจทก์ทั้งเจ็ดในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 และที่ 3 รวมทั้งยกคำขอบังคับท้ายฟ้องข้อ 1 ข้อ 2 ตอนต้น ข้อ 3และข้อ 4 เสีย และมีคำพิพากษาให้ศาลชั้นต้นรับฟ้องโจทก์ทั้งเจ็ดรวมทั้งคำขอบังคับท้ายฟ้องไว้พิจารณาพิพากษาตามรูปคดีต่อไปและบังคับให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความแทนโจทก์ทั้งเจ็ดด้วยเห็นได้ชัดแจ้งว่าคำฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งเจ็ดไม่ได้มีคำขอหรือมีความประสงค์ที่จะให้ศาลอุทธรณ์เปลี่ยนแปลงคำสั่งศาลชั้นต้นในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำสั่งของศาลชั้นต้นให้รับฟ้องโจทก์ทั้งเจ็ดในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 ตามคำขอท้ายฟ้อง ข้อ 4ไว้พิจารณา จึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าที่ปรากฏในคำฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งเจ็ด ไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142 ประกอบด้วยมาตรา 246 เมื่อคดีของจำเลยที่ 2 ถึงที่สุดไปตั้งแต่ศาลชั้นต้นแล้วและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนที่เกี่ยวแก่จำเลยที่ 2 ไม่ชอบ จึงมีผลทำให้จำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิฎีกา สิทธิของโจทก์ทั้งเจ็ดในการรับทราบข้อมูลและข่าวสารจะมีเพียงใดจะต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 หรือตามที่กฎหมายได้บัญญัติไว้ว่าสิทธิดังกล่าวนั้นมีข้อจำกัดอย่างไรและจะส่งข้อมูลข่าวสารอย่างไร เพื่อร่วมกันส่งเสริมและรักษาคุณภาพ รักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 มาตรา 6 ประกอบเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้คือ "(1) ส่งเสริมประชาชนและองค์กรเอกชนให้มีส่วนร่วมในการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม"ซึ่งสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534มาตรา 48 ทวิ ที่บัญญัติว่า "บุคคลย่อมมีสิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลหรือข่าวสารจากหน่วยราชการ หรือหน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ เพื่อการตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการหรือพนักงานรัฐ ในเมื่อการนั้นมีหรืออาจจะมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของตน ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ" ดังนี้เมื่อโจทก์ทั้งเจ็ดได้ขอทราบข้อมูลและข่าวสารตามคำขอท้ายฟ้อง ข้อ 4 จากกรมสรรพากรจำเลยที่ 3 แต่จำเลยที่ 3 ไม่ให้ความร่วมมือและไม่แจ้งเหตุขัดข้องว่าเป็นข้อมูลหรือข่าวสารที่ถือว่าเป็นความลับเกี่ยวข้องกับการรักษาความมั่นคงแห่งชาติหรือเข้าข้อยกเว้นข้ออื่นที่ไม่ต้องเปิดเผยแต่อย่างใดจึงเป็นการกระทบสิทธิโจทก์ทั้งเจ็ดแล้วโจทก์ทั้งเจ็ดจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7179/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาลและการฟ้องเกินกำหนด: ผลกระทบต่อการรับฟ้องคดีอาญา
ตามพระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 2520 มาตรา 2 และมาตรา 3 บัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัดในท้องที่ซึ่งยังมิได้มีศาลแขวงเปิดทำการ ส่วนการที่จะนำมาใช้ในท้องที่ใด เมื่อใดนั้นก็ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา และต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกาให้ใช้บทบัญญัติ มาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 2520 บังคับสำหรับคดีที่เกิดขึ้นในบางท้องที่ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2532 บัญญัติให้นำมาใช้บังคับในจังหวัดบุรีรัมย์ โดยบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกาได้ระบุให้ใช้เฉพาะในเขตหรืออำเภอเมืองบุรีรัมย์ คูเมือง นางรอง บ้านกรวด ประโคนชัยลำปลายมาศและสตึกเท่านั้น มิได้ระบุให้ใช้บังคับแก่คดีที่เกิดขึ้นในเขตท้องที่กิ่งอำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์คดีที่เกิดขึ้นในท้องที่ตำบลทองหลางกิ่งอำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์ จึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัดฯ ในอันที่จะต้องนำวิธีพิจารณาความอาญาตามบทบัญญัติว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับด้วย การที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยเกินกำหนดเวลา 72 ชั่วโมง นับแต่เวลาที่จำเลยถูกจับโดยมิได้ผัดฟ้องหาได้ทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องไม่ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 หยิบยกปัญหาว่าโจทก์ฟ้องจำเลยเกินกำหนดระยะเวลาโดยมิได้มีการผัดฟ้องหรือได้รับอนุญาตให้ฟ้องจากอัยการสูงสุดขึ้นวินิจฉัยโดยพิพากษายกฟ้องโจทก์นั้นจึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 865/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องละเมิดจากคดีอาญาที่ไม่เป็นธรรม: ศาลฎีกาพิพากษากลับให้รับฟ้องเพื่อพิจารณาค่าสินไหมทดแทน
เมื่อโจทก์ทั้งสองบรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสองด้วยการนำข้อความเท็จมาฟ้องโจทก์ทั้งสองเป็นคดีอาญาในข้อหาว่าร่วมกันนำสืบหรือแสดงหลักฐานอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีและร่วมกันเบิกความเท็จจนศาลชั้นต้นหลงเชื่อลงโทษจำคุกโจทก์ทั้งสองแต่ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องทำให้โจทก์ทั้งสองเสียหายหากข้อเท็จจริงเป็นดังที่โจทก์ทั้งสองกล่าวอ้างจำเลยก็ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ทั้งสองฟ้องของโจทก์ทั้งสองจึงเป็นฟ้องที่ศาลชั้นต้นชอบที่จะรับไว้พิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3939/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสั่งรับฟ้องก่อนการชำระค่าขึ้นศาลเป็นเหตุให้คำสั่งและกระบวนการพิจารณาต่อมาไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ในคดีที่โจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ที่เรียกร้องในเวลายื่นคำฟ้องนั้น หากศาลชั้นต้นสั่งรับคำฟ้องของโจทก์และกำหนดระยะเวลาให้โจทก์แถลงเกี่ยวกับกรณีที่ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้อีกฝ่ายไม่ได้ทั้ง ๆ ที่โจทก์ยังมิได้เสียค่าขึ้นศาล และศาลยังมิได้กำหนดระยะเวลาให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาล คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งรับฟ้องโจทก์ตลอดจนกระบวนพิจารณาต่อจากนั้นจนถึงคำสั่งจำหน่ายคดีย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมาย อุทธรณ์ที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ตามตาราง 1 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ข้อ (2)(ก)กำหนดให้เรียกค่าขึ้นศาลเรื่องละ 200 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8336/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล: การจับกุมและการมีภูมิลำเนาของจำเลยมีผลต่อการรับฟ้องคดี
ในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้จำเลยถูกจับในท้องที่อำเภอสระแก้ว จังหวัดปราจีนบุรีในข้อหาพยายามฆ่าและต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ปลอมแปลงเอกสารและใช้เอกสารปลอมกับข้อหาอื่นๆซึ่งมิใช่ข้อหาลักทรัพย์หรือรับของโจรตามที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ศาลจังหวัดกบินทร์บุรีได้พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยจำเลยถูกจำคุกอยู่ในเรือนจำอำเภอกบินทร์บุรี แต่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา22คำว่าจำเลยถูกจับในท้องที่หนึ่งหมายถึงเจ้าพนักงานจับจำเลยจริงๆในเขตศาลนั้นตามที่ถูกกล่าวหาเมื่อจำเลยถูกจับในความผิดฐานอื่นและเจ้าพนักงานตำรวจได้อายัดตัวจำเลยมาสอบสวนในคดีนี้ถือไม่ได้ว่าคดีนี้จำเลยถูกจับในเขตอำนาจศาลจังหวัดกบินทร์บุรีโจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดกบินทร์บุรีไม่ได้ เรือนจำอำเภอกบินทร์บุรีซึ่งจำเลยต้องโทษจำคุกอยู่ในคดีอื่นในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยในคดีนี้คดีดังกล่าวอยู่ในระหว่างอุทธรณ์เรือนจำจึงมิใช่ท้องที่ที่จำเลยมีที่อยู่เพราะคดีดังกล่าวจำเลยมิได้ถูกจำคุกตามคำพิพากษาอันถึงที่สุดของศาลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา47ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ1แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2535จึงไม่อาจถือว่าจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่เรือนจำอำเภอกบินทร์บุรีอีกด้วยโจทก์จึงฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดกบินทร์บุรีไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6287/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล: ศาลแพ่งมีอำนาจพิจารณาคดีนอกเขตได้ตามที่กฎหมายบัญญัติ หากศาลใช้ดุลพินิจรับฟ้อง
ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา14(5)บัญญัติว่าบรรดาคดีที่เกิดขึ้นนอกเขตศาลแพ่งนั้นจะยื่นฟ้องต่อศาลแพ่งก็ได้ทั้งนี้ให้อยู่ในดุลพินิจของศาลแพ่งที่จะไม่ยอมรับพิจารณาพิพากษาคดีใดคดีหนึ่งที่ยื่นฟ้องเช่นนั้นได้คดีนี้ศาลแพ่งรับฟ้องและดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานโจทก์จำเลยจนเสร็จแสดงให้เห็นว่าศาลแพ่งใช้ดุลพินิจยอมรับพิจารณาพิพากษาคดีนี้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา14(5)แล้วศาลแพ่งจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษา
of 9