คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
รับรองบุตร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 91 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2231/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับรองบุตรนอกกฎหมายและการสิทธิในมรดก: บุตรที่บิดารับรองมีสิทธิเท่าบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย
ผู้ตายแนะนำผู้คัดค้านที่ 1 ต่อบุคคลอื่นว่าผู้ตายเป็นบิดาให้ความอุปการะเลี้ยงดูส่งเสียเล่าเรียน ทั้งระบุในใบสมัครสมาชิกฌาปนกิจสงเคราะห์ว่าผู้คัดค้านที่ 1 เป็นบุตรให้เป็นผู้รับประโยชน์ด้วย ผู้คัดค้านที่ 1 จึงเป็นบุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้ว ย่อมถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายและมีสิทธิรับมรดกของผู้ตายซึ่งเป็นบิดาได้โดยไม่ต้องจดทะเบียนรับรองและไม่จำต้องขอให้ศาลสั่งแสดงว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายเสียก่อน ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้สืบสันดาน โดยเป็นทายาทลำดับ 1 ส่วนผู้ร้องเป็นทายาทลำดับ 3 จึงไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตายแม้ผู้ร้องจะมีสิทธิรับมรดกตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ทำกับผู้คัดค้านทั้งสองก็ตาม แต่สัญญาดังกล่าวเป็นข้อตกลงระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านทั้งสองด้วยกันเอง และทำขึ้นหลังจากผู้ตายถึงแก่ความตายไปแล้ว ไม่เกี่ยวข้องกับการมีสิทธิรับมรดกแต่อย่างใดไม่ก่อให้ผู้ร้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมาย ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1505/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับรองบุตรนอกกฎหมายต้องมีหลักฐานการอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษา มิฉะนั้นไม่ถือเป็นทายาท
การรับรองบุตรนอกกฎหมายจะต้องกระทำโดยบุคคลผู้เป็นบิดาเมื่อผู้ตายซึ่งเป็นบิดาไม่ได้ให้การอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่ผู้คัดค้านหรือมอบหมายให้ผู้ใดอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่ผู้คัดค้านแทน จึงฟังไม่ได้ว่าผู้ตายได้รับรองว่าผู้คัดค้านเป็นบุตรของตนโดยพฤตินัย ผู้คัดค้านจึงไม่เป็นทายาทที่มีสิทธิในมรดกของผู้ตาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 กำหนดให้ศาลต้องสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมไม่ว่าคู่ความจะมีคำขอหรือไม่แม้จะให้เป็นพับกันไปก็ตาม เมื่อศาลชั้นต้นมิได้สั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมและศาลอุทธรณ์ก็มิได้สั่งแก้ไขในเรื่องนี้ศาลฎีกาย่อมเห็นสมควรแก้ไขได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1312/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับรองบุตรและการสืบสิทธิมรดกโดยชอบธรรม
ผู้ตายได้แสดงออกกับชาวบ้านในละแวกนั้นว่า นาย ต.เป็นบุตรของผู้ตายและพักอาศัยอยู่ด้วยกันกับผู้ตาย และให้ใช้นามสกุลของผู้ตายด้วย เมื่อครั้นนาย ต.แต่งงานกับมารดาของผู้คัดค้านก็ได้มาอยู่กินกันที่บ้านของผู้ตายตลอดจนผู้คัดค้านเกิด ผู้ตายก็แสดงออกว่าผู้คัดค้านเป็นหลานของผู้ตาย จึงฟังได้ว่านาย ต.เป็นบุตรของผู้ตายซึ่งผู้ตายได้รับรองแล้ว จึงมีสิทธิรับมรดกของผู้ตาย เมื่อนาย ต.ถึงแก่ความตายก่อนผู้ตาย ผู้คัดค้านจึงมีสิทธิรับมรดกของผู้ตายแทนที่นาย ต.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 128/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับรองบุตรโดยปรากฏในสูติบัตร และผลทางกฎหมายต่อการเป็นผู้สืบสันดาน
สูติบัตรซึ่งเป็นเอกสารมหาชนได้ลงข้อเท็จจริงแสดงว่า โจทก์เป็นบุตรของ ส. จึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าเป็นเอกสารที่ทำขึ้นโดยแท้จริงและถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1118/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับรองบุตรนอกกฎหมายและการเป็นผู้จัดการมรดก ศาลพิจารณาจากพฤติการณ์และการปฏิบัติต่อบุตร
ผู้ตายพามารดาผู้คัดค้านที่ 3 ไปคลอดที่โรงพยาบาลกับแจ้งว่าเป็นบิดาของผู้คัดค้านที่ 3 ออกค่าใช้จ่ายการคลอด และรับกลับจากโรงพยาบาล ส่งเสียให้เงินค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันและค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการศึกษาเล่าเรียนตลอดมา ทั้งยังพาผู้คัดค้านที่ 3 ไปสมัครงานโดยใบสมัครงานระบุว่าผู้ตายเป็นบิดาของผู้คัดค้านที่ 3 นอกจากนี้ผู้ตายยังเคยพาผู้คัดค้านที่ 3 ไปเที่ยวเป็นประจำ พฤติการณ์ที่ผู้ตายปฏิบัติต่อผู้คัดค้านที่ 3 เป็นพฤติการณ์ที่แสดงว่าผู้ตายได้รับรองว่าผู้คัดค้านที่ 3 เป็นบุตรของตนแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1627

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3158/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับรองบุตรนอกกฎหมายมีสิทธิรับมรดก
โจทก์เป็นบุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วโดยบิดาได้แสดงต่อผู้อื่นว่าโจทก์เป็นบุตรและให้ใช้นามสกุลโจทก์จึงมีสิทธิรับมรดกแทนที่บิดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1627,1629 และมาตรา 1639

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3158/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมที่ทำในขณะที่ผู้ทำไม่มีสติสัมปชัญญะเป็นโมฆะ และบุตรที่บิดารับรองมีสิทธิรับมรดก
มีผู้จับมือเจ้ามรดกเขียนชื่อในขณะที่เจ้ามรดกมีสติสัมปชัญญะไม่สมบูรณ์เท่ากับว่าเจ้ามรดกไม่ได้แสดงเจตนาทำพินัยกรรม เอกสารที่ทำไว้จึงไม่เป็นพินัยกรรม ไม่มีผลบังคับตามกฎหมาย บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้แสดงออกต่อผู้อื่นว่าบุตรเป็นบุตรของตนและให้ใช้นามสกุลตลอดมา ถือว่าเป็นบุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้ว จึงมีสิทธิรับมรดกแทนที่บิดาได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1639

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 740/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับรองบุตรนอกกฎหมาย, สิทธิในทรัพย์มรดก, และอายุความในการฟ้องแบ่งมรดก
พฤติการณ์ที่ พ. พาโจทก์ไปมอบตัวตามโรงเรียนต่าง ๆ เหมือนบิดากับบุตรโดยทั่วไปได้ปฏิบัติกัน และปฏิบัติต่อโจทก์อย่างโจทก์เป็นบุตรของตนเช่นนี้ถือได้ว่า พ. ได้รับรองโจทก์ซึ่งเป็นบุตรนอกกฎหมายว่าเป็นบุตรของตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1627 พ.ร.บ. ให้ใช้บทบัญญัติ บรรพ 5ฯ มาตรา 4 บัญญัติว่า บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ. ที่ได้ตรวจชำระใหม่ไม่กระทบกระเทือนถึงบทบัญญัติมาตรา 4 และ มาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. ให้ใช้บรรพ 5 แห่งป.พ.พ. พุทธศักราช 2477 ดังนั้นการแบ่งสินสมรสของ พ. กับนาง ฉ. ซึ่งสมรสกันก่อนวันใช้ ป.พ.พ. บรรพ 5 เดิมจึงต้องแบ่งตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย บทที่ 68 หาใช่แบ่งให้คนละส่วนเท่ากันตามมาตรา 1533 ไม่ ไม่ปรากฏว่า พ.กับนางฉ. มีสินเดิมจึงต้องฟังว่าทั้งสองฝ่ายต่างไม่มีสินเดิมด้วยกัน เมื่อ พ.ถึงแก่กรรม สินสมรสต้องแบ่งเป็นสามส่วนโดยเป็นของ พ. สองส่วนอีกส่วนหนึ่งเป็นของ นาง ฉ. โจทก์ฟ้องจำเลยขอแบ่งทรัพย์มรดกจากจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ พ. จำเลยตกอยู่ ในฐานะผู้ครอบครองมรดกแทนทายาททั้งหลายดังนี้จำเลยไม่อาจจะยกอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 740/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับรองบุตรนอกกฎหมาย สิทธิในมรดก และการแบ่งสินสมรสก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
พฤติการณ์ที่ผู้ตายพาโจทก์ไปมอบตัวตามโรงเรียนต่าง ๆเหมือนบิดากับบุตรโดยทั่วไปได้ปฏิบัติกัน และปฏิบัติต่อโจทก์อย่างโจทก์เป็นบุตรโดยให้โจทก์ใช้นามสกุลของผู้ตายและเป็นผู้อุปถัมภ์ค่าเล่าเรียน เครื่องแต่งตัว เครื่องเล่าเรียน ถือได้ว่าผู้ตายได้รับรองโจทก์ซึ่งเป็นบุตรนอกกฎหมายว่าเป็นบุตรของตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1627 แล้ว ผู้ตายกับ ฉ. สมรสกันก่อนวันใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 พ.ศ. 2477 ซึ่งตามพระราชบัญญัติ บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519มาตรา 4 บัญญัติว่า บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ไม่กระทบกระเทือนถึงบทบัญญัติ มาตรา 4และมาตรา 5แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติ บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พุทธศักราช 2477ดังนั้น การแบ่งสินสมรสของผู้ตายกับ ฉ. จึงต้องแบ่งตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย บทที่ 68 หาใช่แบ่งคนละส่วนเท่ากันตามมาตรา 1533 ไม่ทั้งสองฝ่ายต่างไม่มีสินเดิมด้วยกัน เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายสินสมรสต้องแบ่งเป็นสามส่วนเป็นของผู้ตายสองส่วน อีกส่วนหนึ่งเป็นของ ฉ. แม้คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 566/2527 วินิจฉัยถึงสิทธิของ ฉ.ซึ่งฟ้องขอเพิกถอนการโอนที่ดินแปลงอื่นและเรียกที่ดินคืนจากจำเลยในคดีดังกล่าวว่า ฉ. มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวครึ่งหนึ่งแต่ไม่มีประเด็นเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาท คำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวจึงไม่ใช่คำพิพากษาที่แสดงหรือวินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทว่า ฉ. มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทครึ่งหนึ่ง จึงไม่เข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145(2) ที่จะนำคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวมายันโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้ โจทก์ฟ้องจำเลยขอแบ่งมรดกจากจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายจำเลยตกอยู่ในฐานะผู้ครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาทไม่อาจจะยกอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1368/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับรองบุตรนอกกฎหมายและสิทธิในการเป็นผู้จัดการมรดก
การที่ ค. เจ้าบ้านแจ้งย้ายผู้คัดค้านเข้ามาอยู่ในบ้านต่อนายทะเบียนในฐานะบุตรของตน ถือได้ว่าผู้คัดค้านเป็นบุตรนอกกฎหมายที่ ค. บิดารับรองแล้ว ผู้คัดค้านจึงเป็นผู้สืบสันดานของ ค. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1627 มีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกในฐานะทายาทของ ค. ตามมาตรา 1713 เมื่อผู้คัดค้านบรรลุนิติภาวะแล้ว มีอาชีพรับราชการและไม่เป็นบุคคลต้องห้ามตามมาตรา 1718 จึงมีเหตุสมควรตั้งผู้ร้องกับผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของ ค. ร่วมกัน.
of 10