พบผลลัพธ์ทั้งหมด 196 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1999/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการได้รับค่าทดแทนเวนคืน: การหักราคาที่ดินที่เหลือ และขอบเขตสิทธิในการโต้แย้งราคา
สิทธิที่จะอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯกำหนดเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ไม่ถูกต้อง และสิทธิที่จะฟ้องคดีต่อศาลว่าคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 25ไม่ถูกต้อง เป็นสิทธิของผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 18 เท่านั้นเมื่อการเวนคืนที่ดินของโจทก์คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯไม่ได้มีมติว่าที่ดินของโจทก์ที่เหลือจากการเวนคืนมีราคาสูงขึ้นให้เอาราคาที่สูงขึ้นนั้นหักออกจากเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืน จำเลยทั้งสองจึงไม่มีสิทธิฎีกาขอให้เอาราคาที่ดินของโจทก์ที่เหลือจากการเวนคืนซึ่งมีราคาสูงขึ้นมาหักออกจากเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนเพราะเป็นการฎีกาโต้แย้งคำวินิจฉัยของฝ่ายตนเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1385/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาศุลกากรใหม่ชอบด้วยกฎหมายเมื่อสำแดงน้ำหนักและราคาต่ำกว่าความเป็นจริง และคดีไม่ขาดอายุความ
โจทก์ทั้งสองฟ้องบรรยายความเป็นมาแห่งคดีเกี่ยวกับจำเลยได้นำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร และยื่นใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 ต่อมาพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 ตรวจพบว่าจำเลยได้สำแดงน้ำหนักสุทธิของสินค้าไม่ถูกต้อง ต่ำกว่าความเป็นจริง เป็นเหตุให้อากรขาด รวมถึงความรับผิดของจำเลยผู้สั่งสินค้ารายพิพาท ให้เป็นที่เข้าใจได้เป็นอย่างดี ตามคำให้การของจำเลยก็ปรากฏว่าจำเลยเข้าใจและต่อสู้คดีได้ถูกต้องคำฟ้องของโจทก์ทั้งสองจึงเป็นคำฟ้องที่ได้บรรยายโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา และคำขอบังคับรวมทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาครบถ้วน ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์ทั้งสองฟ้องเรียกเอาเงินภาษีอากรส่วนที่ขาดเพราะเหตุอันเกี่ยวกับราคาแห่งสินค้าที่นำเข้า มิใช่กรณีการคิดคำนวณอากรผิดพลาด จึงมีอายุความ10 ปี นับจากวันที่นำของเข้า จำเลยนำสินค้าเข้ามาเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2531โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2541 ยังไม่ครบ 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
จำเลยนำแผ่นพลาสติกชนิดแข็งเข้ามาในราชอาณาจักรโดยระบุในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าว่า สินค้ามีแหล่งกำเนิดในประเทศสาธารณรัฐเกาหลี จำนวน 3,060 แผ่น น้ำหนัก 17,847 กิโลกรัมสำแดงราคา ซี แอนด์ เอฟ 47,959 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งตามพิกัดอัตราศุลกากรได้กำหนดให้คิดอัตราอากรร้อยละ 60 ของราคา หรือในอัตรา 14 บาทต่อ 1 กิโลกรัมเมื่อคำนวณตามน้ำหนักแล้วมีราคา 2.68 ดอลลาร์สหรัฐต่อหน่วยกิโลกรัม แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่าสินค้าที่จำเลยนำเข้ามีน้ำหนัก 52,311.70 กิโลกรัม มิใช่น้ำหนัก 17,847กิโลกรัม ตามที่จำเลยสำแดงราคาสินค้าของจำเลยต่อ 1 กิโลกรัม จึงคิดเป็นเงิน 0.91ดอลลาร์สหรัฐ เมื่อนำราคาดังกล่าวไปเทียบกับราคาสินค้าของผู้นำเข้ารายอื่นที่นำเข้าจากประเทศไต้หวัน ซึ่งมีราคาต่อ 1 กิโลกรัม เท่ากับ 1.31 ถึง 1.50 ดอลลาร์สหรัฐราคาสินค้าที่จำเลยสำแดงจึงต่ำกว่าราคาที่มีผู้นำเข้ารายอื่นสำแดงไว้ แม้โจทก์จะนำสินค้าที่บริษัท ล.นำเข้าซึ่งเป็นสินค้าที่อยู่ในพิกัดต่างประเภทย่อยกับสินค้าของจำเลยราคา 1.539 ดอลลาร์สหรัฐต่อ 1 กิโลกรัม มาใช้เทียบเป็นราคาสินค้าของจำเลยก็ตามแต่โจทก์ก็ได้ลดราคานำเข้าให้จำเลยอีกร้อยละ 10 ของราคาดังกล่าว จึงเป็นการใช้ดุลพินิจกำหนดราคาสินค้าที่เหมาะสมแล้ว การที่โจทก์ทั้งสองได้ทำการประเมินราคาสินค้าใหม่และเรียกเก็บอากรขาเข้าและภาษีการค้าเพิ่มเติมจึงชอบแล้ว
โจทก์ทั้งสองฟ้องเรียกเอาเงินภาษีอากรส่วนที่ขาดเพราะเหตุอันเกี่ยวกับราคาแห่งสินค้าที่นำเข้า มิใช่กรณีการคิดคำนวณอากรผิดพลาด จึงมีอายุความ10 ปี นับจากวันที่นำของเข้า จำเลยนำสินค้าเข้ามาเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2531โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2541 ยังไม่ครบ 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
จำเลยนำแผ่นพลาสติกชนิดแข็งเข้ามาในราชอาณาจักรโดยระบุในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าว่า สินค้ามีแหล่งกำเนิดในประเทศสาธารณรัฐเกาหลี จำนวน 3,060 แผ่น น้ำหนัก 17,847 กิโลกรัมสำแดงราคา ซี แอนด์ เอฟ 47,959 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งตามพิกัดอัตราศุลกากรได้กำหนดให้คิดอัตราอากรร้อยละ 60 ของราคา หรือในอัตรา 14 บาทต่อ 1 กิโลกรัมเมื่อคำนวณตามน้ำหนักแล้วมีราคา 2.68 ดอลลาร์สหรัฐต่อหน่วยกิโลกรัม แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่าสินค้าที่จำเลยนำเข้ามีน้ำหนัก 52,311.70 กิโลกรัม มิใช่น้ำหนัก 17,847กิโลกรัม ตามที่จำเลยสำแดงราคาสินค้าของจำเลยต่อ 1 กิโลกรัม จึงคิดเป็นเงิน 0.91ดอลลาร์สหรัฐ เมื่อนำราคาดังกล่าวไปเทียบกับราคาสินค้าของผู้นำเข้ารายอื่นที่นำเข้าจากประเทศไต้หวัน ซึ่งมีราคาต่อ 1 กิโลกรัม เท่ากับ 1.31 ถึง 1.50 ดอลลาร์สหรัฐราคาสินค้าที่จำเลยสำแดงจึงต่ำกว่าราคาที่มีผู้นำเข้ารายอื่นสำแดงไว้ แม้โจทก์จะนำสินค้าที่บริษัท ล.นำเข้าซึ่งเป็นสินค้าที่อยู่ในพิกัดต่างประเภทย่อยกับสินค้าของจำเลยราคา 1.539 ดอลลาร์สหรัฐต่อ 1 กิโลกรัม มาใช้เทียบเป็นราคาสินค้าของจำเลยก็ตามแต่โจทก์ก็ได้ลดราคานำเข้าให้จำเลยอีกร้อยละ 10 ของราคาดังกล่าว จึงเป็นการใช้ดุลพินิจกำหนดราคาสินค้าที่เหมาะสมแล้ว การที่โจทก์ทั้งสองได้ทำการประเมินราคาสินค้าใหม่และเรียกเก็บอากรขาเข้าและภาษีการค้าเพิ่มเติมจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8152/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคิดคำนวณทุนทรัพย์ต้องอ้างอิงจากราคาที่ฟ้องในศาลชั้นต้น/อุทธรณ์/ฎีกาเท่านั้น
การคิดคำนวณทุนทรัพย์นั้นพึงคิดจากราคาตามทุนทรัพย์ที่โจทก์ฟ้องในศาลชั้นต้น หรือผู้อุทธรณ์ในชั้นศาลอุทธรณ์หรือผู้ฎีกาในชั้นศาลฎีกา มิใช่คิดคำนวณทุนทรัพย์จากผู้ที่มิได้ฟ้องหรือมิได้อุทธรณ์หรือมิได้ฎีกา
โจทก์ทั้งเจ็ดฟ้องขอให้จำเลยแบ่งทรัพย์มรดกให้โจทก์ทั้งเจ็ดคนละเท่า ๆ กัน คือคนละหนึ่งในแปดส่วนของทุนทรัพย์ 345,000 บาท จำเลยให้การว่า ที่พิพาทมิใช่ทรัพย์มรดก ขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์ทั้งเจ็ดอุทธรณ์ ดังนี้ การคิดคำนวณทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์สามารถแยกคิดออกเป็นของโจทก์แต่ละคนได้โดยชัดแจ้ง คือคนละ 43,125 บาท ไม่เกินคนละ 50,000 บาทจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
โจทก์ทั้งเจ็ดฟ้องขอให้จำเลยแบ่งทรัพย์มรดกให้โจทก์ทั้งเจ็ดคนละเท่า ๆ กัน คือคนละหนึ่งในแปดส่วนของทุนทรัพย์ 345,000 บาท จำเลยให้การว่า ที่พิพาทมิใช่ทรัพย์มรดก ขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์ทั้งเจ็ดอุทธรณ์ ดังนี้ การคิดคำนวณทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์สามารถแยกคิดออกเป็นของโจทก์แต่ละคนได้โดยชัดแจ้ง คือคนละ 43,125 บาท ไม่เกินคนละ 50,000 บาทจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7169/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: ศาลพิจารณามูลค่าที่ดินส่วนที่เหลือเพิ่มได้ หากการเวนคืนทำให้ราคาสูงขึ้น และโจทก์ต้องอุทธรณ์ความเสียหายให้ชัดเจน
การเวนคืนที่ดินของโจทก์ส่งผลให้ที่ดินของโจทก์ที่เหลือจากการเวนคืนมีราคาสูงขึ้นมาก โจทก์ย่อมได้รับประโยชน์จากการถูกเวนคืน แม้ฝ่ายจำเลยมิได้นำเอาราคาที่ดินส่วนที่เหลือซึ่งมีราคาสูงขึ้นมาหักออกจากเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืน ศาลฎีกาก็มีอำนาจนำเอามูลค่าของที่ดินของโจทก์ส่วนที่เหลือที่มีราคาสูงขึ้นเพราะการเวนคืนมาคำนึงประกอบว่าสมควรกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนเพิ่มขึ้นให้แก่โจทก์หรือไม่ ดังนั้น ที่ฝ่ายจำเลยกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ตารางวาละ 22,000 บาท โดยมิได้เอาราคาที่ดินส่วนที่เหลือที่สูงขึ้นเนื่องจากการเวนคืนมาหักออกจากเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนนับว่าเป็นประโยชน์แก่โจทก์อย่างมากอยู่แล้ว หากกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มให้แก่โจทก์อีกย่อมไม่เป็นธรรมแก่สังคม
พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ได้กำหนดขั้นตอนการดำเนินการกำหนดเงินค่าทดแทนการจ่ายหรือการวางเงินค่าทดแทนการอุทธรณ์และการฟ้องคดีของผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนไว้โดยให้คณะกรรมการตามมาตรา 9 เป็นผู้กำหนดราคาอสังหาริมทรัพย์หรือจำนวนเงินค่าทดแทนก่อน เมื่อคณะกรรมการตามมาตรา 9 กำหนดราคาของอสังหาริมทรัพย์หรือจำนวนเงินค่าทดแทนแล้ว หากผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนไม่พอใจในราคาอสังหาริมทรัพย์หรือจำนวนเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการตามมาตรา 9 กำหนด ก็ต้องอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง เป็นลำดับต่อมา เพื่อให้รัฐมนตรีพิจารณาวินิจฉัยก่อนต่อจากนั้นจึงถึงขั้นตอนของการฟ้องคดีต่อศาล ตามมาตรา 26 วรรคหนึ่ง แต่ตามอุทธรณ์ของโจทก์ที่ยื่นต่อรัฐมนตรีฯ นั้นไม่ได้กล่าวอ้างว่าโจทก์ได้รับความเสียหาย เนื่องจากการจำต้องออกจากอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องเวนคืนเป็นเงินจำนวนเท่าใดและขอให้รัฐมนตรีฯ เพิ่มเงินค่าทดแทนความเสียหายในส่วนนี้จำนวนเท่าใดจึงจะเป็นที่พอใจของโจทก์ นอกจากนี้ในตอนท้ายอุทธรณ์ของโจทก์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคำขอให้รัฐมนตรีฯ พิจารณาเพิ่มเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ก็มีข้อความว่า ขอให้พิจารณาเพิ่มเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ต้องเวนคืนเพียงอย่างเดียว จากตารางวาละ 21,000 บาท เป็นตารางวาละไม่ต่ำกว่า 150,000 บาท จึงถือไม่ได้ว่า เป็นการอุทธรณ์ขอให้กำหนดเงินค่าทดแทนความเสียหายเนื่องจากการที่ต้องออกจากอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องเวนคืนด้วย เมื่อโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ขอเงินค่าทดแทนในส่วนนี้เพิ่มขึ้นต่อรัฐมนตรีฯโจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนในส่วนนี้เพิ่มขึ้น จากจำเลย
พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ได้กำหนดขั้นตอนการดำเนินการกำหนดเงินค่าทดแทนการจ่ายหรือการวางเงินค่าทดแทนการอุทธรณ์และการฟ้องคดีของผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนไว้โดยให้คณะกรรมการตามมาตรา 9 เป็นผู้กำหนดราคาอสังหาริมทรัพย์หรือจำนวนเงินค่าทดแทนก่อน เมื่อคณะกรรมการตามมาตรา 9 กำหนดราคาของอสังหาริมทรัพย์หรือจำนวนเงินค่าทดแทนแล้ว หากผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนไม่พอใจในราคาอสังหาริมทรัพย์หรือจำนวนเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการตามมาตรา 9 กำหนด ก็ต้องอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง เป็นลำดับต่อมา เพื่อให้รัฐมนตรีพิจารณาวินิจฉัยก่อนต่อจากนั้นจึงถึงขั้นตอนของการฟ้องคดีต่อศาล ตามมาตรา 26 วรรคหนึ่ง แต่ตามอุทธรณ์ของโจทก์ที่ยื่นต่อรัฐมนตรีฯ นั้นไม่ได้กล่าวอ้างว่าโจทก์ได้รับความเสียหาย เนื่องจากการจำต้องออกจากอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องเวนคืนเป็นเงินจำนวนเท่าใดและขอให้รัฐมนตรีฯ เพิ่มเงินค่าทดแทนความเสียหายในส่วนนี้จำนวนเท่าใดจึงจะเป็นที่พอใจของโจทก์ นอกจากนี้ในตอนท้ายอุทธรณ์ของโจทก์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคำขอให้รัฐมนตรีฯ พิจารณาเพิ่มเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ก็มีข้อความว่า ขอให้พิจารณาเพิ่มเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ต้องเวนคืนเพียงอย่างเดียว จากตารางวาละ 21,000 บาท เป็นตารางวาละไม่ต่ำกว่า 150,000 บาท จึงถือไม่ได้ว่า เป็นการอุทธรณ์ขอให้กำหนดเงินค่าทดแทนความเสียหายเนื่องจากการที่ต้องออกจากอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องเวนคืนด้วย เมื่อโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ขอเงินค่าทดแทนในส่วนนี้เพิ่มขึ้นต่อรัฐมนตรีฯโจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนในส่วนนี้เพิ่มขึ้น จากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3428/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
วันใช้บังคับ พ.ร.บ.เวนคืนฯ: นับจากวันที่ประกาศใช้พระราชกฤษฎีกา เพื่อกำหนดราคาค่าทดแทนที่เหมาะสม
วันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาตามความใน พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 21 (1) หมายถึงวันที่เริ่มใช้บังคับพระราชกฤษฎีกา มิใช่ทุก ๆ วันในระยะเวลาสี่ปีที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตลาดพร้าว? กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2533 มีผลใช้บังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3249/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนชำระหนี้โดยไม่คิดราคาท้องตลาดเป็นโมฆะ – จำเป็นต้องสืบพยานเพื่อพิสูจน์ราคาตลาด
ในวันชี้สองสถาน ศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาท ไว้ 2 ข้อ ดังนี้ 1. ข้อตกลงโอนชำระหนี้ตามบันทึกเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 15 และ 16 เป็นโมฆะ เพราะคู่กรณีจัดการ แก่ทรัพย์จำนองผิดไปจากบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วย การบังคับจำนอง และเป็นกรณีที่จำเลยยอมรับเอาทรัพย์สินอื่น แทนการชำระหนี้เงินกู้ โดยไม่ได้คิดเป็นหนี้เงินค้างชำระ เป็นจำนวนเท่ากับราคาท้องตลาดแห่งสิ่งของหรือทรัพย์สิน ในเวลาและสถานที่ส่งมอบหรือไม่ และ 2. ข้อตกลงการโอนชำระหนี้ ตามเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 17 เป็นโมฆะ เพราะจำเลย รับเอาทรัพย์สินอื่นแทนการชำระหนี้เงินกู้โดยไม่ได้คิดเป็น หนี้เงินค้างชำระเป็นจำนวนเท่ากับราคาท้องตลาด แห่งสิ่งของหรือทรัพย์สินนั้นในเวลาและสถานที่ส่งมอบหรือไม่ ประเด็นข้อพิพาททั้งสองข้อนี้คู่ความยังเถียงกันอยู่ แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์และจำเลย ทั้ง ๆ ที่โจทก์แถลงขอสืบพยานเพื่อแสดงให้เห็นว่า ในขณะโอนนั้นทรัพย์ที่โอนมีราคาท้องตลาดสูงกว่าราคาที่จำเลย รับโอน กรณีจึงเป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นได้ปฏิเสธไม่สืบพยาน ตามที่โจทก์ร้องขอแล้วพิพากษาคดีไปโดยมิได้ฟังข้อเท็จจริง ให้ครบถ้วนเสียก่อน เป็นการมิชอบ กรณีจึงมีเหตุอันสมควร ที่จะให้มีการสืบพยานโจทก์และจำเลยในประเด็นข้อพิพาท ดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(2) ประกอบด้วยมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2302/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชัดเจนของฟ้องค่าเสียหายจากผิดสัญญาซื้อขาย กุ้งราคาแพงกว่า
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาต่อโจทก์ ทำให้โจทก์เสียหาย ต้องไปซื้อกุ้งที่มีชนิดและขนาดใกล้เคียงกับกุ้งที่ตกลงซื้อจากจำเลยจากแหล่งอื่น ซึ่งมีราคาแพงกว่ามาแทน และโจทก์ได้แนบเอกสารตารางคำนวณค่าเสียหายไว้ นับได้ว่าฟ้องของโจทก์ชัดแจ้งพอที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาดังกล่าวได้ดีแล้ว ฟ้องของโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1943/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกวดราคา: การยื่นซองใหม่ทำให้ราคายื่นเดิมสิ้นผล ระยะเวลาผูกพันเริ่มนับจากวันยื่นซองใหม่ ผู้เสนอราคาต้องทำสัญญาตามกำหนด
โจทก์เข้ายื่นซองประกวดราคาจ้างก่อสร้างอาคารตามข้อเสนอและเงื่อนไขที่จำเลยกำหนด โจทก์จึงต้องผูกพันที่จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขและข้อกำหนดดังกล่าวตามระยะเวลาที่ตกลงกันไว้ และตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้มีข้อตกลงให้มีการยื่นซองประกวดเฉพาะราคาใหม่ได้ แสดงให้เห็นถึงความประสงค์ของคู่สัญญาว่าหากมีการยื่นซองประกวดเฉพาะราคาใหม่ตามข้อตกลงดังกล่าวแล้ว ราคาที่ผู้ยื่นซองประกวดราคายื่นเสนอไว้เดิมเป็นอันยกเลิกกันไปและต้องถือราคาตามที่ได้มีการเสนอราคาใหม่นั้น ส่วนระยะเวลาการยืนราคาที่เสนอใหม่ยังคงเป็นไปตามข้อตกลงเดิมคือต้องยืนราคาไว้ 90 วัน นับแต่วันที่ได้มีการยื่นซองประกวดราคาใหม่โจทก์ยื่นซองประกวดเฉพาะราคาใหม่ วันที่ 7 ธันวาคม2536 ระยะเวลา 90 วัน จึงต้องนับแต่วันดังกล่าวเป็นต้นไปเมื่อจำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ไปทำสัญญาจ้างและโจทก์ได้รับหนังสือดังกล่าวในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2537 จึงไม่เกินกำหนดระยะเวลาที่โจทก์จะต้องผูกพันตามราคาที่ยืนไว้ตามข้อตกลง เมื่อโจทก์ไม่ไปทำสัญญาจ้างตามกำหนด โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาและต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่จำเลยตามข้อตกลงในการยื่นซองประกวดราคาจ้างก่อสร้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1086/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายทอดตลาดบังคับคดี: ชอบด้วยกฎหมายแม้มีผู้ประมูลรายเดียว และเจ้าพนักงานบังคับคดีมีดุลพินิจอนุมัติราคา
การขายทอดตลาดทรัพย์สินของเจ้าพนักงานบังคับคดีกฎหมายมิได้บัญญัติให้ต้องมีผู้เข้าแข่งขันในการประมูลราคาเมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ประกาศให้ผู้มีส่วนได้เสียรวมทั้ง จำเลยผู้ถูกยึดทรัพย์ทราบโดยชอบแล้ว แม้จะมีผู้เข้าประมูล สู้ราคาเพียงรายเดียว เจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมดำเนินการ ขายทอดตลาดต่อไปได้ หาจำต้องรอผู้เข้าประมูลราคา รายอื่นเข้ามาแข่งขันก่อนไม่ เมื่อการขายทอดตลาดในครั้งที่พิพาทมีผู้แทนโจทก์เข้าประมูลสู้ราคาแล้ว การที่ เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดต่อไปจึงชอบแล้ว อีกทั้งไม่จำต้องเรียกขานชื่อจำเลยก่อนการขายทอดตลาด เพราะเป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะต้องแจ้งให้เจ้าพนักงานบังคับคดี ทราบด้วยตนเอง การอนุมัติให้ขายทอดตลาดโดยวิธีเคาะไม้เป็น ดุลพินิจของเจ้าพนักงานบังคับคดี เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดี เห็นว่าผู้ประมูลให้ราคาที่สมควรแล้วก็มีอำนาจที่จะอนุมัติ ให้ขายโดยวิธีเคาะไม่ได้ โดยไม่จำต้องฟังคำคัดค้านของจำเลย ผู้ถูกยึดทรัพย์ก่อน การขายทอดตลาดในครั้งแรก จำเลยคัดค้านเจ้าพนักงานบังคับคดีก็รับฟัง ทั้งยังได้โทรศัพท์ปรึกษา ตัวผู้บังคับบัญชา และขอให้ผู้แทนโจทก์ประมูลราคาเพิ่มขึ้น เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นว่ามีผู้ประมูลราคาต่ำไป จึงไม่อนุมัติให้ขายมาครั้งหนึ่งแล้วการขายในครั้งพิพาทเป็น การขายครั้งที่สอง เมื่อผู้แทนโจทก์ประมูลราคาเพิ่มขึ้น และเจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นว่าเป็นราคาที่สมควรแล้ว ย่อมมีอำนาจอนุมัติให้ขายโดยวิธีเคาะไม้ได้ หาจำต้องฟัง คำคัดค้านของจำเลยตลอดไปไม่ เมื่อไม่ปรากฏว่าการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีกระทำโดยไม่สุจริตขายในราคาต่ำเกินสมควรย่อมไม่เป็นเหตุให้การขายทอดตลาดเสียไป และไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนการขายทอดตลาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7210/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์: การประเมินค่าทดแทนที่ดิน, ราคาที่ดินส่วนที่เหลือ, และดอกเบี้ยค่าทดแทน
เงินค่าทดแทนของที่ดินที่จะต้องเวนคืนกับเงินค่าทดแทนของที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนมีราคาลดลงนั้นเป็นการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ต้องแยกพิจารณาที่ดินคนละส่วนกันซึ่งในการพิจารณากำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์นี้คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ มิได้พิจารณาถึงเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ในส่วนที่เหลือจากการเวนคืนนั้นราคาลดลงด้วยเมื่อโจทก์อุทธรณ์แต่เรื่องเงินค่าทดแทนที่ดินที่จะต้องเวนคืนที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนดต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยมิได้กล่าวถึงว่าที่ดินของโจทก์ที่เหลือจากการเวนคืนนั้นราคาลดลง จะถือว่าโจทก์ได้อุทธรณ์ขอเงินค่าทดแทนที่ดินในส่วนนี้ย่อมไม่ได้ พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530มาตรา 26 วรรคสาม กำหนดถึงกรณีที่รัฐมนตรีหรือศาลวินิจฉัยให้ชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายเงินหรือวางเงินค่าทดแทนนั้นเมื่อโจทก์มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่ม โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่เพิ่มนับแต่วันวางเงินค่าทดแทนในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสิน ส่วนจะได้รับอัตราเท่าใดต้องเป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสิน ที่ประกาศอัตราดอกเบี้ยขึ้นลง แต่จะให้ดอกเบี้ยเกินอัตราที่โจทก์ขอไม่ได้ เมื่อไม่ปรากฏทางนำสืบของโจทก์หรือจำเลยทั้งสองว่าได้มีการวางเงินค่าทดแทนเมื่อใด แต่อย่างช้าที่สุดต้องมีการวางเงินค่าทดแทนในวันที่ 13 มิถุนายน 2537ซึ่งเป็นวันที่ผู้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่เวนคืน อสังหาริมทรัพย์มีหนังสือแจ้งการวางเงินค่าทดแทนให้โจทก์ทราบจึงต้องคิดดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 14 มิถุนายน 2537 ตามที่โจทก์ขอ