พบผลลัพธ์ทั้งหมด 85 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5636/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชดใช้ทุนการศึกษาต่างประเทศ: สัญญาผูกพันเมื่อรับราชการชดใช้ทุน และการปลดหนี้เมื่อปฏิบัติครบสัญญา
การที่ พ.ข้าราชการสังกัดกรมโจทก์ ได้รับทุนให้ลาไปศึกษาต่อต่างประเทศตามความต้องการของกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ และหลังจากจบการศึกษาแล้ว กรมวิชาการได้ขอโอน พ.จากกรมโจทก์ไปรับราชการที่กรมวิชาการเพื่อชดใช้ทุนดังกล่าวจนกระทั่งครบตามสัญญา และอนุญาตให้ พ. ลาออกจากราชการนั้น เป็นการจัดให้ พ.เข้ารับราชการชดใช้ทุนสำหรับการลาศึกษาต่อต่างประเทศโดย-เฉพาะแล้ว และถือได้ว่าเป็นกรณีที่ พ.ซึ่งเป็นลูกหนี้ได้เข้ารับราชการชดใช้ทุนโดยระบุว่าเป็นการชดใช้ทุนสำหรับการลาศึกษาต่อต่างประเทศอันจะต้องบังคับตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 328 วรรคหนึ่ง ที่จะต้องให้หนี้รายนี้เป็นอันได้เปลื้องไป เมื่อปรากฏว่า พ.ได้ปฏิบัติราชการที่กรมวิชาการชดใช้ทุนครบตามสัญญาดังกล่าวแล้ว พ.จึงไม่ผิดสัญญาศึกษาต่อต่างประเทศ เมื่อ พ.ไม่ผิดสัญญาดังกล่าวแล้วจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันที่ทำไว้
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินจำนวน 203,030.20 บาทกับอีก 14,513.35 เหรียญดอลล่าร์สหรัฐ พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันที่ 22 พฤศจิกายน 2527 ถึงวันฟ้อง ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืน จำเลยฎีกาขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับ ให้ยกฟ้องโจทก์ ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาของจำเลยจึงมีจำนวนเท่ากับที่ศาลชั้นต้นพิพากษาเท่านั้น จำเลยจึงเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเกินมา
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินจำนวน 203,030.20 บาทกับอีก 14,513.35 เหรียญดอลล่าร์สหรัฐ พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันที่ 22 พฤศจิกายน 2527 ถึงวันฟ้อง ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืน จำเลยฎีกาขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับ ให้ยกฟ้องโจทก์ ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาของจำเลยจึงมีจำนวนเท่ากับที่ศาลชั้นต้นพิพากษาเท่านั้น จำเลยจึงเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเกินมา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2590/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของกระทรวงเจ้าสังกัดต่อความเสียหายจากพนักงานขับรถในราชการ ตามมาตรา 76
แม้กรมปศุสัตว์จำเลยที่ 2 จะเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จำเลยที่ 3 แต่จำเลยที่ 2 ก็เป็นส่วนราชการที่ขึ้นตรงต่อการบังคับบัญชาของจำเลยที่ 3 ตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 216 ข้อ 13 และข้อ 14 ที่แก้ไขใหม่ เมื่อจำเลยที่ 1 พนักงานขับรถของจำเลยที่ 2 ได้ปฏิบัติราชการไปตามหน้าที่ทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ จำเลยที่ 3 กระทรวงเจ้าสังกัดก็ต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 76
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1522/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายทรัพย์สินชำรุดของราชการโดยสุจริตและนำเงินชำระค่าทรัพย์สินใหม่ ไม่ถือเป็นความผิดฐานยักยอก
จำเลยขายซากเรือที่ชำรุดใช้การไม่ได้โดยเปิดเผยและสุจริตใจเพียงแต่ไม่ได้ขออนุมัติขายตามระเบียบของทางราชการ แล้วจำเลยนำเงินที่ขายได้ซื้อรถตัดหญ้าในราคาสูงกว่าราคาที่ขายเรือได้ 400 บาท ให้แก่ทางราชการในทันที แสดงว่าจำเลยไม่มีเจตนาทุจริตเบียดบังเอาทรัพย์ของทางราชการเป็นของตนหรือของผู้อื่น จึงไม่ผิด ป.อ. มาตรา 147
จำเลยได้นำเรือลำใหม่มาใช้แทนเรือลำเก่าที่ขายไปให้แก่กรม-ชลประทานแล้ว จำเลยจึงไม่ต้องคืนหรือใช้ราคาเรือแก่ทางราชการกรมชลประทานอีก
จำเลยได้นำเรือลำใหม่มาใช้แทนเรือลำเก่าที่ขายไปให้แก่กรม-ชลประทานแล้ว จำเลยจึงไม่ต้องคืนหรือใช้ราคาเรือแก่ทางราชการกรมชลประทานอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5489/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้บังคับบัญชาต่อความเสียหายจากลูกน้องละเมิด และการปฏิบัติหน้าที่ราชการตามระเบียบ
อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ซึ่งเป็นผู้แทนนิติบุคคลอันเป็นส่วนราชการ ทราบรายงานสรุปผลการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนและวินิจฉัยสั่งการเกี่ยวกับผู้รับผิดในทางแพ่งเมื่อวันที่ 9 มีนาคม2527 ถือว่าโจทก์เพิ่งรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนตั้งแต่วันนั้น โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2528 ยังไม่ล่วงพ้นระยะเวลา 1 ปี จึงไม่ขาดอายุความ
อ.นำเอกสารที่ทำปลอมขึ้นเสนอต่อจำเลยที่ 3 ที่ 4 โดยไม่ผ่านจำเลยที่ 1 ที่ 2 ก่อนตามระเบียบ แม้จำเลยที่ 1 ที่ 2 จะเป็นผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 3 ที่ 4 แต่ความรับผิดของผู้บังคับบัญชาในทางแพ่งจะต้องเป็นไปตามหลักเรื่องละเมิดตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 อันได้แก่การกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ กรณีนี้ถือว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ประมาทเลินเล่อมิได้
จำเลยที่ 3 ที่ 4 จ่ายเงินยืม-ทดรองราชการแก่ อ. ทั้งที่อ. มิได้เสนอผ่านขั้นตอนตามระเบียบ นอกจากนี้ยังมิได้เรียกหนังสือมอบฉันทะจาก อ. และมิได้ดำเนินการทวงถามเงินยืมคืนจากผู้ยืม เมื่อพ้นกำหนด 30 วัน นับจากวันรับเงินอันเป็นการฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ทำให้ อ. สามารถกระทำการทุจริตได้การที่ อ. กระทำการทุจริตได้ จึงเป็นผลโดยตรงจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ไม่ปฏิบัติตามระเบียบดังกล่าว
จำเลยที่ 3 ที่ 4 มีหน้าที่ชดใช้เงินแก่โจทก์ หากโจทก์จะได้รับชำระหนี้จาก อ. และ ฉ. ในคดีที่โจทก์ฟ้อง อ. และ ฉ.ให้รับผิดต่อโจทก์ อันเป็นประโยชน์แก่จำเลยที่ 3 ที่ 4 เพราะอาจไม่ต้องชำระหนี้ให้โจทก์อีก ก็เป็นเรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันในชั้นบังคับคดีต่อไป หนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นคดีนี้จึงหาซ้ำซ้อนกับคดีดังกล่าวไม่.
อ.นำเอกสารที่ทำปลอมขึ้นเสนอต่อจำเลยที่ 3 ที่ 4 โดยไม่ผ่านจำเลยที่ 1 ที่ 2 ก่อนตามระเบียบ แม้จำเลยที่ 1 ที่ 2 จะเป็นผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 3 ที่ 4 แต่ความรับผิดของผู้บังคับบัญชาในทางแพ่งจะต้องเป็นไปตามหลักเรื่องละเมิดตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 อันได้แก่การกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ กรณีนี้ถือว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ประมาทเลินเล่อมิได้
จำเลยที่ 3 ที่ 4 จ่ายเงินยืม-ทดรองราชการแก่ อ. ทั้งที่อ. มิได้เสนอผ่านขั้นตอนตามระเบียบ นอกจากนี้ยังมิได้เรียกหนังสือมอบฉันทะจาก อ. และมิได้ดำเนินการทวงถามเงินยืมคืนจากผู้ยืม เมื่อพ้นกำหนด 30 วัน นับจากวันรับเงินอันเป็นการฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ทำให้ อ. สามารถกระทำการทุจริตได้การที่ อ. กระทำการทุจริตได้ จึงเป็นผลโดยตรงจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ไม่ปฏิบัติตามระเบียบดังกล่าว
จำเลยที่ 3 ที่ 4 มีหน้าที่ชดใช้เงินแก่โจทก์ หากโจทก์จะได้รับชำระหนี้จาก อ. และ ฉ. ในคดีที่โจทก์ฟ้อง อ. และ ฉ.ให้รับผิดต่อโจทก์ อันเป็นประโยชน์แก่จำเลยที่ 3 ที่ 4 เพราะอาจไม่ต้องชำระหนี้ให้โจทก์อีก ก็เป็นเรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันในชั้นบังคับคดีต่อไป หนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นคดีนี้จึงหาซ้ำซ้อนกับคดีดังกล่าวไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3887/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เอกสารราชการปลอมและการใช้รอยตราปลอมเพื่อหลอกลวงผู้อื่น
จำเลยบอก พ. ว่าทุกอย่างเรียบร้อย พร้อมกับยื่นหนังสือเดินทางปลอมให้ พ. ดู แล้วจำเลยเก็บหนังสือเดินทางปลอมนั้นไว้ การกระทำของจำเลยดังกล่าวเพื่อให้ พ. เชื่อว่าหนังสือเดินทางดังกล่าวเป็นเอกสารที่แท้จริงตามที่จำเลยรับไปติดต่อทำหนังสือเดินทางให้โดยจำเลยรู้ว่าเป็นหนังสือเดินทางปลอม ดังนี้การกระทำของจำเลยดังกล่าวถือว่าเป็นการใช้เอกสารปลอม จำเลยใช้หนังสือเดินทางซึ่งเป็นเอกสารราชการปลอมโดยแสดงต่อพ. เพื่อให้หลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริง เมื่อเอกสารนั้นได้ประทับรอยตราครุฑเล็กและรอยตรานูนครุฑใหญ่ของกระทรวงการต่างประเทศปลอม ถือได้ว่าเป็นการใช้รอยตราปลอมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 252ประกอบด้วยมาตรา 251 อีกบทหนึ่ง ให้ลงโทษตามมาตรา 252 ประกอบด้วยมาตรา 251 ซึ่งเป็นบทหนักตามมาตรา 90
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2576/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขเปลี่ยนแปลงมติของราชการโดยชอบด้วยกฎหมาย แม้จะกระทบสิทธิคู่สัญญาเดิม ก็ไม่ถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
บริษัทขนส่ง จำกัด ผู้รับมอบอำนาจจากกรมการขนส่งทางบกได้ทำสัญญาให้โจทก์เข้าปรับปรุงพื้นที่สถานีขนส่งสายเหนือ (ตลาดหมอชิต)ของบริษัทขนส่ง จำกัด แต่บริษัทขนส่ง จำกัด ไม่สามารถส่งมอบที่ดินให้โจทก์ทำการก่อสร้างได้ เนื่องจากกรมธนารักษ์โต้แย้งว่าที่ดินดังกล่าวเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะกรมการขนส่งทางบก จึงไม่มีสิทธิมอบอำนาจให้บริษัทขนส่ง จำกัด ทำสัญญา กระทรวงคมนาคม กระทรวงการคลังกรมการขนส่งทางบก กรมธนารักษ์ และบริษัทขนส่ง จำกัด ได้ร่วมประชุมและมีมติให้กรมการขนส่งทางบก มอบที่ดินดังกล่าวคืน กระทรวงการคลัง เพื่อดำเนินการถอนสภาพการเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ ให้เป็นที่ดินราชพัสดุที่ใช้ในการจัดหาประโยชน์ เพื่อที่จะให้กรมธนารักษ์พิจารณาให้โจทก์มีสิทธิปลูกสร้างและรับประโยชน์ตอบแทนตามเงื่อนไขแห่งสัญญาที่โจทก์ทำไว้กับบริษัทขนส่ง จำกัด ต่อมาเมื่อจำเลยที่ 1ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และจำเลยที่ 2 ในฐานะปลัดกระทรวงคมนาคม พิจารณาเห็นว่ามติดังกล่าวไม่เป็นประโยชน์ต่อทางราชการ ก็ย่อมมีอำนาจที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลง เป็นอย่างอื่นได้การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ทำเรื่องขอที่ดินดังกล่าวคืนจากจำเลยที่ 3 ในฐานะรองอธิบดีกรมธนารักษ์ รักษาการในตำแหน่งอธิบดีกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง เพื่อ กระทรวงคมนาคม จะได้มอบหมายให้กรมการขนส่งทางบกนำที่ดินบริเวณสถานีขนส่งตลาดหมอชิตทั้งหมด รวมทั้งที่ดินแปลงดังกล่าวไปดำเนินการตามโครงการที่ผู้เชี่ยวชาญจากประเทศ เบลเยี่ยม เสนอ อันจะเป็นประโยชน์ต่อทางราชการมากกว่าที่จะแบ่งให้โจทก์ไปทำการปรับปรุงแต่เพียงบางส่วนการกระทำของจำเลยทั้งสามจึงหาใช่เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์แต่อย่างใดไม่ อีกทั้งโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสามทุจริตอย่างไร คดีโจทก์จึงไม่มีมูล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2576/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขมติของราชการเพื่อประโยชน์สูงสุดของทางราชการ แม้จะทำให้เอกชนได้รับความเสียหาย ไม่ถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
การที่บริษัทขนส่ง จำกัด ผู้รับมอบอำนาจจากกรมการขนส่งทางบกได้ทำสัญญาให้โจทก์เข้าปรับปรุงพื้นที่สถานีขนส่งสายเหนือ(ตลาดหมอชิต) ของบริษัทขนส่ง จำกัด แต่บริษัทขนส่ง จำกัดไม่สามารถส่งมอบที่ดินให้โจทก์ทำการก่อสร้าง เนื่องจากกรมธนารักษ์โต้แย้งว่าที่ดินดังกล่าวเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ กรมการขนส่งทางบกไม่มีสิทธิมอบอำนาจให้บริษัทขนส่ง จำกัด ทำสัญญาแล้วกระทรวงคมนาคมกระทรวงการคลัง กรมการขนส่งทางบก กรมธนารักษ์และบริษัทขนส่งจำกัด ได้ร่วมประชุม และมีมติให้กรมการขนส่งทางบกมอบที่ดินดังกล่าวคืนกระทรวงการคลัง เพื่อดำเนินการถอนสภาพการเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะให้เป็นที่ดินราชพัสดุที่ใช้ในการจัดหาประโยชน์ เพื่อที่จะให้กรมธนารักษ์ พิจารณาให้โจทก์มีสิทธิปลูกสร้าง และรับประโยชน์ตอบแทนตามเงื่อนไขแห่งสัญญาที่โจทก์ทำไว้กับบริษัทขนส่ง จำกัด แต่ต่อมาเมื่อจำเลยที่ 1 ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และจำเลยที่ 2 ในฐานะปลัดกระทรวงคมนาคมพิจารณาเห็นว่ามติดังกล่าวไม่เป็นประโยชน์ต่อทางราชการ ก็ย่อมมีอำนาจที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นได้ การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ทำเรื่องขอที่ดินดังกล่าวคืนจากจำเลยที่ 3 ในฐานะรองอธิบดีกรมธนารักษ์รักษาการในตำแหน่งอธิบดีกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง เพื่อกระทรวงคมนาคมจะได้มอบหมายให้กรมการขนส่งทางบกนำที่ดินบริเวณสถานีขนส่งตลาดหมอชิตทั้งหมด รวมทั้งที่ดินแปลงดังกล่าวไปดำเนินการตามโครงการที่ผู้เชี่ยวชาญจากประเทศเบลเยี่ยมเสนออันจะเป็นประโยชน์ต่อทางราชการมากกว่าที่จะแบ่งให้โจทก์ไปทำการปรับปรุงแต่เพียงบางส่วน การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงหาใช่เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์แต่อย่างใดไม่ อีกทั้งโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสามทุจริตอย่างไร คดีโจทก์จึงไม่มีมูล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2576/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนมติของหน่วยงานราชการและการไม่มีความเสียหายจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ
บริษัทขนส่ง จำกัด ผู้รับมอบอำนาจจากกรมการขนส่งทางบกได้ทำสัญญาให้โจทก์เข้าปรับปรุงพื้นที่สถานีขนส่งสายเหนือ (ตลาดหมอชิต)ของบริษัทขนส่ง จำกัด แต่บริษัทขนส่ง จำกัด ไม่สามารถส่งมอบที่ดินให้โจทก์ทำการก่อสร้างได้ เนื่องจากกรมธนารักษ์โต้แย้งว่าที่ดินดังกล่าวเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะกรมการขนส่งทางบก จึงไม่มีสิทธิมอบอำนาจให้บริษัทขนส่ง จำกัด ทำสัญญา กระทรวงคมนาคม กระทรวงการคลังกรมการขนส่งทางบก กรมธนารักษ์ และบริษัทขนส่ง จำกัด ได้ร่วมประชุมและมีมติให้กรมการขนส่งทางบก มอบที่ดินดังกล่าวคืน กระทรวงการคลัง เพื่อดำเนินการถอนสภาพการเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ ให้เป็นที่ดินราชพัสดุที่ใช้ในการจัดหาประโยชน์ เพื่อที่จะให้กรมธนารักษ์พิจารณาให้โจทก์มีสิทธิปลูกสร้างและรับประโยชน์ตอบแทนตามเงื่อนไขแห่งสัญญาที่โจทก์ทำไว้กับบริษัทขนส่ง จำกัด ต่อมาเมื่อจำเลยที่ 1ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และจำเลยที่ 2 ในฐานะปลัดกระทรวงคมนาคม พิจารณาเห็นว่ามติดังกล่าวไม่เป็นประโยชน์ต่อทางราชการ ก็ย่อมมีอำนาจที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลง เป็นอย่างอื่นได้การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ทำเรื่องขอที่ดินดังกล่าวคืนจากจำเลยที่ 3 ในฐานะรองอธิบดีกรมธนารักษ์ รักษาการในตำแหน่งอธิบดีกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง เพื่อ กระทรวงคมนาคม จะได้มอบหมายให้กรมการขนส่งทางบกนำที่ดินบริเวณสถานีขนส่งตลาดหมอชิตทั้งหมด รวมทั้งที่ดินแปลงดังกล่าวไปดำเนินการตามโครงการที่ผู้เชี่ยวชาญจากประเทศ เบลเยี่ยม เสนอ อันจะเป็นประโยชน์ต่อทางราชการมากกว่าที่จะแบ่งให้โจทก์ไปทำการปรับปรุงแต่เพียงบางส่วนการกระทำของจำเลยทั้งสามจึงหาใช่เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์แต่อย่างใดไม่ อีกทั้งโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสามทุจริตอย่างไร คดีโจทก์จึงไม่มีมูล.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2404/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องละเมิดราชการ: การคำนวณค่าเสียหายจากบำนาญถือเป็นค่าเสียหายในมูลละเมิด
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งเจ็ดกระทำการโดยไม่ชอบ ไม่ปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนของทางราชการและกระทำการขัดต่อพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน จนกระทั่งจำเลยที่ 1 มีคำสั่งให้ปลดโจทก์ออกจากราชการ ทำให้โจทก์หมดสิทธิในการรับบำเหน็จบำนาญตามกฎหมายเป็นการละเมิดต่อโจทก์ ดังนี้ ฟ้องโจทก์เป็นเรื่องเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิในการรับราชการของโจทก์ แม้โจทก์คำนวณจำนวนเงินที่โจทก์มีสิทธิได้รับตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญก็มีสภาพเป็นค่าเสียหายในมูลละเมิดนั่นเอง ต้องใช้อายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 เมื่อโจทก์มิได้ฟ้องภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน คดีโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2024-2026/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาตและการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้ปืนพกสั้นออโตเมติกขนาด .45 ใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนดังกล่าวจึงใช้ได้แต่เฉพาะอาวุธปืนกระบอกที่ระบุไว้ในใบอนุญาตนั้นเท่านั้น จะนำไปใช้กับอาวุธปืนกระบอกอื่นไม่ได้ จำเลยจึงไม่อาจที่จะมีอาวุธปืนกระบอกอื่นและกระสุนปืนซึ่งมิใช่สำหรับใช้กับอาวุธปืนที่จำเลยได้รับอนุญาตให้มีและใช้ไว้ในความครอบครองได้ แม้ผู้อื่นจะลืมอาวุธปืนไว้ในรถของจำเลย จำเลยก็ควรจะครอบครองอาวุธปืนนั้นเพียงเพื่อไม่ให้หายเท่านั้น แต่จำเลยกลับพกอาวุธปืนดังกล่าวไว้กับตัวซึ่งแสดงให้เห็นได้ว่าจำเลยมีอาวุธปืนนั้นเพื่อใช้มิได้มีไว้ในความครอบครองเพื่อไม่ให้หาย จำเลยจึงมีความผิดฐานมีอาวุธปืนและกระสุนปืนไว้ในความครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ที่จำเลยอ้างว่าปฏิบัติหน้าที่ราชการตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชานั้นไม่เป็นข้อยกเว้นให้จำเลยมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่ซึ่งเป็นบทบัญญัติของกฎหมายได้ แม้การปฏิบัติหน้าที่ราชการตามคำสั่งนั้น มีความจำเป็นที่จะต้องใช้อาวุธปืนดังที่จำเลยอ้างก็ตาม
จำเลยซึ่งเป็นตำรวจพกพาอาวุธปืนกระบอกที่ไม่ได้รับใบอนุญาตให้มีติดตัว เนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ราชการตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา และถูกจับกุมในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานพาอาวุธปืนตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน ฯลฯ พ.ศ.2490 มาตรา 8(ทวิ) วรรคสาม (1)
จำเลยซึ่งเป็นตำรวจพกพาอาวุธปืนกระบอกที่ไม่ได้รับใบอนุญาตให้มีติดตัว เนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ราชการตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา และถูกจับกุมในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานพาอาวุธปืนตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน ฯลฯ พ.ศ.2490 มาตรา 8(ทวิ) วรรคสาม (1)