คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ราชอาณาจักร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 28 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2741/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายเวลาการยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: เจ้าหนี้ในราชอาณาจักรไม่มีสิทธิได้รับขยายเวลาเกิน 2 เดือน
โจทก์ยื่นคำขอรับชำระหนี้เมื่อพ้นกำหนดเวลา2เดือนอ้างว่าไม่ทราบการโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ในหนังสือพิมพ์ดังนี้เท่ากับเป็นการขยายเวลาตามพ.ร.บ.ล้มละลายฯมาตรา91ออกไปเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์เป็นเจ้าหนี้อยู่นอกราชอาณาจักรจึงไม่มีเหตุที่จะขยายเวลาให้โจทก์ยื่นคำขอรับชำระหนี้เมื่อพ้นกำหนดเวลา2เดือน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 873/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการกักตัวคนต่างด้าวที่อยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง
พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2493 มาตรา 33, 38 หาได้จำกัดเฉพาะคนต่างด้าวที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรไม่ เมื่อคนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต พนักงานเจ้าหน้าที่จะส่งกลับออกไปนอกราชอาณาจักร ย่อมมีอำนาจฝากกักคนต่างด้าวนั้นไว้ที่สถานีตำรวจภูธรได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 873/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ในการกักตัวคนต่างด้าวที่อยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต
พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2493 มาตรา 33,38 หาได้จำกัดเฉพาะคนต่างด้าวที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรไม่เมื่อคนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตพนักงานเจ้าหน้าที่จะส่งกลับออกไปนอกราชอาณาจักร ย่อมมีอำนาจฝากกักคนต่างด้าวนั้นไว้ที่สถานีตำรวจภูธรได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 154/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสียสัญชาติไทยโดยสมัครใจของบุคคลเกิดในราชอาณาจักรที่มีบิดาเป็นชาวต่างชาติ
โจทก์เกิดในราชอาณาจักร โดยบิดาเป็นคนต่างด้าว ถือใบประจำตัวคนต่างด้าวที่มารดาทำให้ตั้งแต่อายุ 14 ปีและโจทก์ต่ออายุมา 30 ปี โดยสมัครใจ โจทก์เสียสัญชาติไทยตาม พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508 มาตรา 21

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2001/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญชาติไทย: การแสดงตนเป็นคนต่างด้าวเมื่อเข้ามาในราชอาณาจักรย่อมตัดสิทธิการขอพิสูจน์สัญชาติไทยในภายหลัง
ผู้ร้องยื่นคำร้องว่าเป็นคนสัญชาติไทย แต่พี่ชายส่งผู้ร้องไปเรียนหนังสือที่ประเทศจีน ผู้ร้องได้เดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทย ต่อมาพนักงานตรวจคนเข้าเมืองได้จับผู้ร้องในข้อหาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยมิได้รับอนุญาต ผู้ร้องอ้างว่าเกิดในประเทศไทย มีสัญชาติเป็นคนไทยขอให้ปล่อยตัวพนักงานตรวจคนเข้าเมืองแจ้งให้ผู้ร้องขอพิสูจน์ให้ศาลสั่งว่าเป็นคนไทยเสียก่อน จึงขอให้ศาลมีคำสั่งว่าผู้ร้องเป็นคนสัญชาติไทยตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2493 มาตรา 43 ได้ความว่าผู้ร้องเข้ามาในราชอาณาจักรไทยตั้งแต่พ.ศ.2489 ครั้งยังใช้พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2480อยู่ ขณะเข้ามาในราชอาณาจักรไทย ผู้ร้องได้แสดงตนเป็นคนต่างด้าว และทำหนังสือสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวไปแล้ว โดยมิได้ขอพิสูจน์ว่าเป็นคนไทยตามมาตรา 28 แต่อย่างใดการมายื่นคำร้องนี้จึงไม่มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง จะอาศัยอำนาจตามบทกฎหมายดังกล่าวหาได้ไม่ บุคคลใดจะใช้สิทธิทางศาลดังบัญญัติไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 นั้น จะต้องมีกฎหมายสนับสนุนหรือรับรองให้ใช้สิทธิเช่นนั้นไว้ เมื่อกรณีนี้จะอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองไม่ได้แล้ว ผู้ร้องย่อมยังไม่มีสิทธิจะเสนอคดีต่อศาลเช่นนี้ได้ หากผู้ร้องถือว่าตนถูกโต้แย้งสิทธิ ก็ชอบที่จะฟ้องผู้โต้แย้งสิทธิเป็นคดีต่อศาลได้ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 657/2498)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1200/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเข้ามาในราชอาณาจักรโดยมีเชื้อชาติจากประเทศที่ไม่มีสัมพันธ์ทางการทูต ไม่ถือเป็นความผิดตามกฎหมายคนเข้าเมืองหากไม่มีลักษณะต้องห้ามอื่น
พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2493 มาตรา 15(7) บัญญัติถึงลักษณะคนต่างด้าวที่ต้องห้ามเข้ามาในราชอาณาจักรว่า "มีพฤติการณ์เป็นที่น่าเชื่อว่าเป็นคนอันธพาลหรือเป็นคนที่น่าจะก่อเหตุร้าย หรืออันตรายต่อความปลอดภัยของประชาชนหรือราชอาณาจักร" แต่โจทก์มิได้บรรยายข้อเท็จจริงในคำฟ้องให้เห็นว่า ผู้โดยสารที่จำเลยนำมากับเครื่องบินเป็นคนต่างด้าวที่มีลักษณะเช่นนั้น โจทก์กล่าวหาในฟ้องแต่ประการเดียวว่า ผู้โดยสารคนนั้นเป็นคนต่างด้าวที่ต้องห้ามเข้ามาในราชอาณาจักร เพราะมีเชื้อชาติรูเมเนียในเครือของประเทศคอมมิวนิสต์ ซึ่งไม่มีสัมพันธ์ไมตรีทางการทูตกับประเทศไทย ข้อกล่าวหาของโจทก์จึงมิได้แสดงว่า ผู้โดยสารคนนั้นเป็นคนต่างด้าวที่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 15(7) แต่อย่างใด
หนังสือของกองตรวจคนเข้าเมืองถึงบริษัทการบินทุกบริษัทมีความว่า ขอมิให้รับบุคคลสัญชาติของประเทศที่ไม่มีสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศไทยหรือคนของประเทศค่ายคอมมิวนิสต์ และไม่มีสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศไทยเข้ามาในราชอาณาจักร หรือเดินทางต่อไปประเทศอื่น เป็นเพียงการขอความร่วมมือ ดังนั้น การที่บุคคลดังกล่าวเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรโดยฝ่าฝืนหนังสือฉบับนี้ หรือการที่จำเลยรับบุคคลดังกล่าวนี้มากับเครื่องบินของจำเลยมาลงที่ท่าอากาศยานกรุงเทพฯ เพื่อบินต่อไปยังประเทศออสเตรเลีย โดยไม่ต้องด้วยหนังสือขอความร่วมมือ จึงหาเป็นความผิดตามกฎหมายอย่างใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1200/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเข้ามาในราชอาณาจักรโดยต่างด้าวที่ต้องห้ามและการตีความหนังสือขอความร่วมมือของเจ้าหน้าที่
พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2493 มาตรา 15(7) บัญญัติถึงลักษณะคนต่างด้าวที่ต้องห้ามเข้ามาในราชอาณาจักรว่า 'มีพฤติการณ์เป็นที่น่าเชื่อว่าเป็นคนอันธพาลหรือเป็นคนที่น่าจะก่อเหตุร้าย. หรืออันตรายต่อความปลอดภัยของประชาชนหรือราชอาณาจักร'. แต่โจทก์มิได้บรรยายข้อเท็จจริงในคำฟ้องให้เห็นว่า ผู้โดยสารที่จำเลยนำมากับเครื่องบินเป็นคนต่างด้าวที่มีลักษณะเช่นนั้น. โจทก์กล่าวหาในฟ้องแต่ประการเดียวว่า ผู้โดยสารคนนั้นเป็นคนต่างด้าวที่ต้องห้ามเข้ามาในราชอาณาจักร. เพราะมีเชื้อชาติรูเมเนียในเครือของประเทศคอมมิวนิสต์. ซึ่งไม่มีสัมพันธ์ไมตรีทางการทูตกับประเทศไทย. ข้อกล่าวหาของโจทก์จึงมิได้แสดงว่า ผู้โดยสารคนนั้นเป็นคนต่างด้าวที่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 15(7)แต่อย่างใด.
หนังสือของกองตรวจคนเข้าเมืองถึงบริษัทการบินทุกบริษัทมีความว่า. ขอมิให้รับบุคคลสัญชาติของประเทศที่ไม่มีสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศไทยหรือคนของประเทศค่ายคอมมิวนิสต์. และไม่มีสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศไทยเข้ามาในราชอาณาจักร. หรือเดินทางต่อไปประเทศอื่น. เป็นเพียงการขอความร่วมมือ. ดังนั้น การที่บุคคลดังกล่าวเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรโดยฝ่าฝืนหนังสือฉบับนี้. หรือการที่จำเลยรับบุคคลดังกล่าวนี้มากับเครื่องบินของจำเลยมาลงที่ท่าอากาศยานกรุงเทพฯ เพื่อบินต่อไปยังประเทศออสเตรเลีย. โดยไม่ต้องด้วยหนังสือขอความร่วมมือ. จึงหาเป็นความผิดตามกฎหมายอย่างใดไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 563/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ผ่านการตรวจของเจ้าหน้าที่ แม้มีเอกสารครบถิ่นที่อยู่และออกนอกประเทศ
บุคคลต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรต้องผ่านการตรวจของพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อน ตาม พระราชบัญญัติตรวจคนเข้าเมือง พ.ศ. 2493 มาตรา 21 นั้น หมายความรวมถึงบุคคลต่างด้าวที่มีใบสำคัญถิ่นที่อยู่และออกไปนอกราชอาณาจักรด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 563/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตรวจคนเข้าเมือง: บุคคลต่างด้าวที่มีใบสำคัญถิ่นที่อยู่ต้องผ่านการตรวจเมื่อเข้ามาในราชอาณาจักร
บุคคลต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรต้องผ่านการตรวจของพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนตาม พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง 2493มาตรา 21 นั้นหมายรวมถึงบุคคลต่างด้าวที่มีใบสำคัญถิ่นที่อยู่ และออกไปนอกราชอาณาจักรตาม มาตรา 26 แล้วเข้ามาในราชอาณาจักรด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 108/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำเครื่องขยายเสียงออกนอกราชอาณาจักรเพื่อเช่า ไม่ใช่การส่งออกสินค้าต้องขออนุญาต
จำเลยได้นำเครื่องขยายเสียงและสิ่งอุปกรณ์ซึ่งเป็นของจำเลยมีไว้ตั้งแต่ พ.ศ.2496 สำหรับรับจ้างโฆษณาในงานต่างๆ ออกไปนอกราชอาณาจักรสู่ประเทศลาว เพื่อให้วัดผาหดซึ่งอยู่ในประเทศลาวคนละฝั่งแม่น้ำโขงกับจังหวัดเลยเช่าเมื่อเดือนมิถุนายน 2500 ต่อมาเครื่องชำรุดระหว่างงาน จำเลยจึงได้ขายเครื่องนี้ให้แก่วัดผาหดไปในราคา 6,200 บาทโดยมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่โดยชอบ เพื่อการนำออกนอกราชอาณาจักร ดังนี้ มิใช่เป็นเรื่องจำเลยได้นำเครื่องขยายเสียงและอุปกรณ์รายนี้ไปในฐานะสินค้าเพื่อเสนอขายแต่เป็นเรื่องที่จำเลยมีเครื่องขยายเสียงไว้สำหรับให้เช่าใช้โฆษณาในงานของวัดผาหดแล้วจะนำกลับเข้ามาแต่ในระหว่างงานเครื่องได้เกิดชำรุด จำเลยจึงขายให้แก่วัดผาหดไป ตามพฤติการณ์ ดังกล่าว ถือไม่ได้ว่าเครื่องขยายเสียงและอุปกรณ์รายนี้เป็นสินค้าตามความหมายแห่งพระราชกฤษฎีกาควบคุมการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ซึ่งสินค้าบางอย่าง (ฉบับที่ 17) พ.ศ.2492 มาตรา 3
of 3