คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
รายจ่าย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 70 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3543/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษี รายได้-รายจ่าย เกณฑ์สิทธิ และรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี(9)
โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลโดยแสดงในงบดุลว่า โจทก์มีลูกหนี้ค่าหุ้นค้างชำระโดยโจทก์ มิได้เรียกเก็บดอกเบี้ยจากบัญชีลูกหนี้ค่าหุ้นดังกล่าวตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1122 ดังนี้ การที่โจทก์ไม่เรียกเก็บดอกเบี้ยจากผู้ถือหุ้นที่ค้างชำระค่าหุ้น ย่อมทำให้โจทก์มีกำไรสุทธิน้อยลง เจ้าพนักงานประเมินจึง มีอำนาจประเมินดอกเบี้ยจากบัญชีลูกหนี้ค่าหุ้นโดยถือเสมือนว่า โจทก์ให้ผู้ถือหุ้นกู้เงินเนื่องจากโจทก์ลงบัญชีว่าได้รับชำระ เงินค่าหุ้นครบตามทุนจดทะเบียนแล้ว ทั้งนี้ตาม ประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ทวิ(4) ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 วรรคสอง ผู้ประกอบการจะต้อง ลงบัญชีรับรู้รายได้และรายจ่ายที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น โดยไม่ต้องคำนึงว่าได้รับชำระเงินหรือได้จ่ายเงินไปแล้ว ภายในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นหรือไม่ แต่การรับรู้รายได้หรือรายจ่ายตามหลักเกณฑ์สิทธินั้นมีหลักสำคัญอยู่ว่า รายได้ หรือรายจ่ายนั้นจะต้องมีความแน่นอนที่ผู้ประกอบการมีสิทธิ จะได้รับชำระหรือมีหน้าที่จะต้องจ่าย อีกทั้งยังต้องเป็นจำนวน ที่แน่นอน สามารถลงบัญชีรับรู้ได้ สำหรับรายจ่ายค่าตอบแทนกรรมการ ในการบริหารงานของปี 2535 ของโจทก์ยังไม่เป็นที่แน่นอนว่า คณะกรรมการบริษัทและที่ประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้นจะอนุมัติให้จ่าย ค่าตอบแทนหรือไม่ ทั้งไม่เป็นการแน่นอนว่าจะจ่ายค่าตอบแทนเป็นเงินเท่าใด สิทธิของกรรมการที่จะเรียกร้องให้บริษัทจ่าย ค่าตอบแทนและหน้าที่ของบริษัทที่จะต้องจ่ายค่าตอบแทน แก่กรรมการจะเกิดขึ้นต่อเมื่อที่ประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้นมีมติ เห็นชอบให้จ่ายค่าตอบแทนตามจำนวนที่คณะกรรมการบริษัทอนุมัติ ดังนั้น แม้ว่าค่าตอบแทนกรรมการในการบริหารงานของปี 2535จะสัมพันธ์กับรายได้ที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2535 แต่ก็ไม่ใช่รายจ่ายที่เกี่ยวกับรายได้หรือเป็นต้นทุนของรายได้ โดยตรง และยังไม่เป็นการแน่นอนว่าโจทก์มีหน้าที่ต้อง จ่ายค่าตอบแทนกรรมการดังกล่าวนั้นหรือไม่ จึงถือไม่ได้ว่ารายจ่าย นั้นได้เกิดขึ้นแล้วในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2535 โจทก์จึงไม่ต้อง นำรายจ่ายดังกล่าวมาลงบัญชีหรือตั้งเป็นค่าใช้จ่ายค้างจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2535 แต่อย่างใด แต่โจทก์สามารถ นำรายจ่ายดังกล่าวมาหักเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2538 ได้ เพราะหน้าที่ของโจทก์ในการจ่ายเงินเกิดขึ้นในรอบระยะเวลา บัญชีนั้นคือหลังจากที่ที่ประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้นให้ความเห็นชอบในการจ่ายค่าตอบแทนให้แก่กรรมการในการประชุมเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2536 เมื่อถือเป็นรายจ่ายของปี 2536 โจทก์ก็ไม่ จำต้องนำรายจ่ายนั้นไปปรับปรุงเป็นรายจ่ายของปี 2535 ในการยื่น เพื่อเสียภาษีตามแบบ ภ.ง.ด.50 ปัญหาตามอุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่า มีเหตุที่จะงดการเรียกเก็บ เบี้ยปรับและเงินเพิ่มจากโจทก์หรือไม่นั้น โจทก์มิได้บรรยายฟ้อง ถึงเหตุที่จะขอให้งดการเรียกเก็บเบี้ยปรับและเงินเพิ่มจากโจทก์ และศาลภาษีอากรมิได้ตั้งประเด็นนี้ไว้ โจทก์ก็มิได้คัดค้าน จึงถือ ว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 29 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1966/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคล: การคำนวณรายได้ รายจ่าย และผลขาดทุนสุทธิ
โจทก์ซื้ออะไหล่และอุปกรณ์ตกแต่งรถยนต์แล้วมิได้มีการลงบัญชีหรือแสดงไว้ในแบบแสดงรายการเป็นจำนวนมาก เมื่อนำมาคำนวณกับมูลค่าสินค้าคงเหลือต้นงวดและปลายงวดแล้ว เห็นได้ชัดแจ้งว่าโจทก์มีเงินได้จากการขายสินค้าดังกล่าวโดยไม่ได้ลงบัญชีและมิได้นำมาแสดงในแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีด้วยเมื่อไม่อาจตรวจสอบได้ว่าโจทก์มีเงินได้ที่แท้จริงเท่าใด การที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยคำนวณหารายได้ที่แท้จริงของรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวโดยคำนวณจากอัตรากำไรขั้นต้นถัวเฉลี่ยของอะไหล่และอุปกรณ์ตกแต่งรถยนต์ดังกล่าวจึงชอบด้วยป.รัษฎากร มาตรา 65 ทวิ (4)
ตามสัญญาเช่าซื้อโจทก์มีสิทธิเรียกเก็บดอกเบี้ยจากลูกค้าตามสัญญาดังกล่าวตั้งแต่วันที่ผิดนัดจนถึงวันที่นำค่าเช่าซื้อที่ค้างมาชำระ ป.รัษฎากรมาตรา 65 วรรค 2 บัญญัติว่า การคำนวณรายได้และรายจ่ายของนิติบุคคลนั้นต้องใช้เกณฑ์สิทธิ กล่าวคือ ต้องนำรายได้ที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีใดแม้จะยังมิได้รับชำระในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นมารวมคำนวณเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นด้วย โจทก์จึงต้องนำดอกเบี้ยที่เกิดจากการผิดนัดซึ่งโจทก์มีสิทธิได้รับในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวมาคำนวณเป็นรายได้ของโจทก์ด้วย ถึงแม้โจทก์จะมิได้เรียกเก็บจากผู้เช่าซื้อก็ตาม
รายจ่ายค่าน้ำมัน โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานมาสนับสนุน ทั้งใบเสร็จรับเงินค่าน้ำมันก็ระบุว่าเป็นเงินสดไม่ปรากฏชื่อผู้จ่ายเงิน รายจ่ายค่าน้ำมันดังกล่าวจึงเป็นรายจ่ายที่ต้องห้ามตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ตรี (3)สำหรับค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมสำนักงานเป็นการซ่อมแซมสถานที่บริการให้ดีขึ้นค่าซ่อมแซมอาคารดังกล่าวจึงไม่ใช่รายจ่ายในการซ่อมแซมให้คงสภาพเดิมต้องห้ามตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ตรี (5)
พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติม ป.รัษฎากร (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2529 ลงวันที่ 31 กรกฎาคม 2529 เป็น พ.ร.ก.นิรโทษกรรมแก่ผู้เสียภาษีหากผู้เสียภาษียื่นแบบ อ.1 ผู้เสียภาษีจะไม่ถูกเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง แต่ผู้เสียภาษีไม่มีสิทธินำผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกิน 5 ปี ซึ่งเกิดขึ้นก่อนปี 2529 มาคิดคำนวณกำไรสุทธิตามกฎหมายในปีต่อมาได้อีก พ.ร.ก.ดังกล่าวได้ประกาศในราชกิจจา-นุเบกษาแล้ว โจทก์จะอ้างว่าไม่รู้หรือปฏิเสธความรับผิดไม่ได้ ที่โจทก์นำผลขาดทุนสุทธิซึ่งเกิดขึ้นก่อนปี 2529 มาใช้ในการคำนวณกำไรสุทธิในปี 2531 ถึง2532 จึงเป็นการไม่ชอบ
ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2532 โจทก์ขายรถยนต์ในช่วงครึ่งปีแรกสูงกว่าช่วงครึ่งปีหลัง จึงไม่มีเหตุผลที่โจทก์จะประมาณกำไรสุทธิขาดเกินกว่าร้อยละ 25 คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินภาษีประเภทต่าง ๆรวมทั้งสิ้นเป็นจำนวนเงินภาษี 2,046,305.38 บาท ซึ่งเป็นจำนวนทุนทรัพย์ตามฟ้อง นอกจากนี้โจทก์ยังฟ้องขอให้เพิกถอนหนังสือแจ้งการเปลี่ยนแปลงผลขาดทุนสุทธิของปี 2530 ซึ่งหากศาลวินิจฉัยให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ตามคำขอ จะมีผลทำให้โจทก์มีผลขาดทุนสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2530เพิ่มขึ้น ซึ่งโจทก์อาจนำไปหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิของรอบระยะเวลาบัญชีปีต่อ ๆ ไปได้ไม่เกิน 5 รอบระยะเวลาบัญชีตามมาตรา 65 ตรี แห่งป.รัษฎากร ทำให้กำไรสุทธิของโจทก์ในรอบระยะเวลาบัญชีปีต่อ ๆ ไปลดลงและเป็นผลทำให้โจทก์เสียภาษีเงินได้ลดลงร้อยละ 35 (อัตราในขณะนั้น)ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่โจทก์จะได้รับประโยชน์ที่แท้จริง โจทก์จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลเพิ่มจากจำนวนเงินที่โจทก์จะได้รับประโยชน์ดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4842/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าบริการทางวิชาชีพและค่าพาหนะ: การพิจารณาความถูกต้องของรายจ่ายในการคำนวณภาษี
โจทก์และบริษัท อ.มิได้ทำสัญญาว่าจ้างให้บริการใด ๆ ต่อกันการว่าจ้างให้บริการทางวิชาชีพที่โจทก์ต้องจ่ายค่าบริการนี้มีการทำสัญญาระหว่างบริษัท อ.กับบริษัท อี โจทก์เพียงแต่ได้รับประโยชน์จากการขยายผลของสัญญาและยอมผูกพันตามสัญญาที่ทั้งสองบริษัททำต่อกันเท่านั้น ทั้งนี้ ในฐานะที่โจทก์เป็นบริษัทในเครือเดียวกับบริษัท อ.และในการจ่ายเงินค่าบริการทางวิชาชีพ โจทก์ก็มิได้จ่ายให้แก่บริษัท อี ผู้ให้บริการโดยตรงแต่จ่ายผ่านบริษัท อ.โดยคิดค่าบริการเป็นสัดส่วนกับยอดขายสินค้าของบริษัทในเครือที่ได้รับการขยายผลตามสัญญาดังกล่าวด้วยกันเช่นเดียวกับโจทก์ หากบริษัทในเครือบริษัทใดขายสินค้าได้มากก็ต้องจ่ายค่าบริการทางวิชาชีพสูงกว่าบริษัทในเครือที่ขายสินค้าได้น้อยกว่า ส่วนบริษัท อ.คู่สัญญากับบริษัท อี กลับไม่ต้องรับผิดจ่ายค่าบริการทางวิชาชีพหรือค่าป่วยการใด ๆให้แก่บริษัท อี การที่บริษัท อ.ซึ่งเป็นผู้ผลิตสินค้าส่งให้บริษัทในเครือของตนเองจำหน่ายแก่ลูกค้ามีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาศึกษาค้นคว้าเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อใช้ในการผลิตสินค้าได้ว่าจ้างให้บริษัท อี ทำการค้นคว้า วิจัย และพัฒนาในด้านการผลิตสินค้าปิโตรเลียมและเคมีภัณฑ์ โดยบริษัท อ.ไม่ต้องจ่ายค่าบริการอันเป็นสินจ้าง แต่ผลักภาระการจ่ายค่าบริการดังกล่าวมาให้แก่บริษัทในเครือซึ่งมิใช่ผู้ผลิต เป็นเพียงแต่ผู้สั่งสินค้ามาจำหน่ายต่อให้แก่ลูกค้า โดยกำหนดให้บริษัทในเครือจ่ายค่าบริการมากน้อยตามสัดส่วนของรายได้จากการจำหน่ายสินค้าเช่นนี้ ผู้ที่ได้รับประโยชน์โดยตรงจากสัญญาจ้างดังกล่าวข้างต้นและสมควรมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าบริการหรือสินจ้างคือบริษัท อ.ซึ่งเป็นทั้งผู้ว่าจ้าง ผู้ผลิตและคู่สัญญากับบริษัท อี หาใช่บริษัทในเครือที่เป็นเพียงผู้จำหน่ายสินค้าที่ผลิตไม่ เพราะคุณภาพหรือคุณลักษณะของสินค้าที่จะนำมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิผลมากน้อยเพียงใดส่วนหนึ่งย่อมขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตที่ผู้ผลิตจักต้องแสดงให้ประจักษ์แก่ลูกค้าหรือผู้แทนจำหน่ายเพื่อประโยชน์ในการแข่งขันทางการค้าในตลาด โจทก์เป็นบริษัทในเครือของบริษัท อ.มิใช่ผู้ผลิต เป็นเพียงผู้สั่งสินค้าที่บริษัท อ.ผลิตเข้ามาจำหน่าย แม้บางครั้งบริษัทผู้ผลิตจะได้แจ้งคุณลักษณะของสินค้าที่ได้จากรายงานการศึกษาค้นคว้ามาให้โจทก์ทราบเพื่อประโยชน์ของลูกค้าที่ซื้อสินค้าไปจากโจทก์ก็ตาม โจทก์ก็จะนำส่วนเฉลี่ยของค่าบริการทางวิชาชีพที่บริษัท อ.ผู้ผลิตจะต้องจ่ายให้แก่บริษัท อี ดังกล่าวมาถือเป็นรายจ่ายเพื่อกิจการในประเทศไทยโดยเฉพาะหาได้ไม่ เพราะรายจ่ายดังกล่าวมีลักษณะเป็นรายจ่ายโดยเฉพาะของบริษัท อ.ค่าบริการทางวิชาชีพที่โจทก์จ่ายให้แก่บริษัท อ.จึงเป็นรายจ่ายต้องห้ามไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิของโจทก์ตามป.รัษฎากร มาตรา 65 ตรี (14)
ค่าพาหนะที่จะได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 42 (1) นั้น ต้องเป็นค่าพาหนะซึ่งลูกจ้างหรือพนักงานผู้นั้นได้จ่ายไปจริงโดยสุจริตตามความจำเป็นเฉพาะในการที่ต้องปฏิบัติตามหน้าที่ของตน และได้จ่ายไปทั้งหมดในการนั้น ค่าพาหนะที่นายจ้างเหมาจ่ายให้แก่ลูกจ้างหาใช่ค่าพาหนะที่ได้รับยกเว้นดังกล่าวไม่ เมื่อค่าพาหนะที่โจทก์จ่ายให้แก่พนักงานของโจทก์ในการออกไปปฏิบัติงานคำนวณโดยโจทก์เหมาจ่ายให้แก่พนักงานตามระยะทางที่พนักงานออกไปปฏิบัติงานโดยไม่คำนึงถึงว่าพนักงานจะได้ใช้จ่ายไปตามนั้นจริงหรือไม่ ย่อมเป็นค่าพาหนะที่นายจ้างเหมาจ่ายให้แก่ลูกจ้าง จึงไม่อยู่ในความหมายของมาตรา 42 (1) และเป็นเงินได้ที่ต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ของพนักงานโดยไม่ได้รับยกเว้นดังที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้น โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องนำไปรวมคำนวณแล้วหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ และนำส่งตามมาตรา 50 และ 52 แห่ง ป.รัษฎากร เมื่อโจทก์มิได้กระทำจึงต้องร่วมรับผิดด้วยตามมาตรา 54

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4842/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รายจ่ายค่าบริการทางวิชาชีพและค่าพาหนะ: การพิจารณาเพื่อการคำนวณภาษีเงินได้
โจทก์และบริษัท อ. มิได้ทำสัญญาว่าจ้างให้บริการใด ๆ ต่อกันการว่าจ้างให้บริการทางวิชาชีพที่โจทก์ต้องจ่ายค่าบริการนี้มีการทำสัญญาระหว่างบริษัท อ. กับบริษัท อี โจทก์เพียงแต่ได้รับประโยชน์จากการขยายผลของสัญญาและยอมผูกพันตามสัญญาที่ทั้งสองบริษัททำต่อกันเท่านั้น ทั้งนี้ ในฐานะที่โจทก์เป็นบริษัทในเครือเดียวกับบริษัท อ. และในการจ่ายเงินค่าบริการทางวิชาชีพ โจทก์ก็มิได้จ่ายให้แก่บริษัท อี ผู้ให้บริการโดยตรงแต่จ่ายผ่านบริษัท อ. โดยคิดค่าบริการเป็นสัดส่วนกับยอดขายสินค้าของบริษัทในเครือที่ได้รับการขยายผลตามสัญญาดังกล่าวด้วยกันเช่นเดียวกับโจทก์ หากบริษัทในเครือบริษัทใดขายสินค้าได้มากก็ต้องจ่ายค่าบริการทางวิชาชีพสูงกว่าบริษัทในเครือที่ขายสินค้าได้น้อยกว่า ส่วนบริษัท อ. คู่สัญญากับบริษัท อี กลับไม่ต้องรับผิดจ่ายค่าบริการทางวิชาชีพหรือค่าป่วยการใด ๆ ให้แก่บริษัท อี การที่บริษัท อ. ซึ่งเป็นผู้ผลิตสินค้าส่งให้บริษัทในเครือของตนเองจำหน่ายแก่ลูกค้ามีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาศึกษาค้นคว้าเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อใช้ในการผลิตสินค้าได้ว่าจ้างให้บริษัท อี ทำการค้นคว้า วิจัย และพัฒนาในด้านการผลิตสินค้าปิโตรเลียมและเคมีภัณฑ์ โดยบริษัท อ. ไม่ต้องจ่ายค่าบริการอันเป็นสินจ้าง แต่ผลักภาระการจ่ายค่าบริการดังกล่าวมาให้แก่บริษัทในเครือซึ่งมิใช่ผู้ผลิต เป็นเพียงแต่ผู้สั่งสินค้ามาจำหน่ายต่อให้แก่ลูกค้า โดยกำหนดให้บริษัทในเครือจ่ายค่าบริการมากน้อยตามสัดส่วนของรายได้จากการจำหน่ายสินค้าเช่นนี้ ผู้ที่ได้รับประโยชน์โดยตรงจากสัญญาจ้างดังกล่าวข้างต้นและสมควรมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าบริการหรือสินจ้างคือบริษัท อ. ซึ่งเป็นทั้งผู้ว่าจ้าง ผู้ผลิตและคู่สัญญากับบริษัท อี หาใช่บริษัทในเครือที่เป็นเพียงผู้จำหน่ายสินค้าที่ผลิตไม่ เพราะคุณภาพหรือคุณลักษณะของสินค้าที่จะนำมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิผลมากน้อยเพียงใดส่วนหนึ่งย่อมขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตที่ผู้ผลิตจักต้องแสดงให้ประจักษ์แก่ลูกค้า หรือผู้แทนจำหน่ายเพื่อประโยชน์ในการแข่งขันทางการค้าในตลาด โจทก์เป็นบริษัทในเครือของบริษัท อ. มิใช่ผู้ผลิต เป็นเพียงผู้สั่งสินค้าที่บริษัท อ. ผลิตเข้ามาจำหน่าย แม้บางครั้งบริษัทผู้ผลิตจะได้แจ้งคุณลักษณะของสินค้าที่ได้จากรายงานการศึกษาค้นคว้ามาให้โจทก์ทราบเพื่อประโยชน์ของลูกค้าที่ซื้อสินค้าไปจากโจทก์ก็ตาม โจทก์ก็จะนำส่วนเฉลี่ยของค่าบริการทางวิชาชีพที่บริษัท อ. ผู้ผลิตจะต้องจ่ายให้แก่บริษัท อี ดังกล่าวมาถือเป็นรายจ่ายเพื่อกิจการในประเทศไทยโดยเฉพาะหาได้ไม่ เพราะรายจ่ายดังกล่าวมีลักษณะเป็นรายจ่ายโดยเฉพาะของบริษัท อ. ค่าบริการทางวิชาชีพที่โจทก์จ่ายให้แก่บริษัท อ. จึงเป็นรายจ่ายต้องห้ามไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิของโจทก์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(14)
ค่าพาหนะที่จะได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร มาตรา 42(1) นั้น ต้องเป็นค่าพาหนะซึ่งลูกจ้างหรือพนักงานผู้นั้นได้จ่ายไปจริงโดยสุจริตตามความจำเป็นเฉพาะในการที่ต้องปฏิบัติตามหน้าที่ของตน และได้จ่ายไปทั้งหมดในการนั้น ค่าพาหนะที่นายจ้างเหมาจ่ายให้แก่ลูกจ้างหาใช่ค่าพาหนะที่ได้รับยกเว้นดังกล่าวไม่ เมื่อค่าพาหนะที่โจทก์จ่ายให้แก่พนักงานของโจทก์ในการออกไปปฏิบัติงานคำนวณโดยโจทก์เหมาจ่ายให้แก่พนักงานตามระยะทางที่พนักงานออกไปปฏิบัติงานโดยไม่คำนึงถึงว่าพนักงานจะได้ใช้จ่ายไปตามนั้นจริงหรือไม่ ย่อมเป็นค่าพาหนะที่นายจ้างเหมาจ่ายให้แก่ลูกจ้าง จึงไม่อยู่ในความหมายของมาตรา 42(1) และเป็นเงินได้ที่ต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ของพนักงานโดยไม่ได้รับยกเว้นดังที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้น โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องนำไปรวมคำนวณแล้วหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ และนำส่งตามมาตรา 50 และ 52 แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อโจทก์มิได้กระทำจึงต้องร่วมรับผิดด้วยตามมาตรา 54

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3665/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีตามวิธีปกติ vs. วิธีพิเศษ (มาตรา 49) ต้องตรวจสอบรายได้และรายจ่ายอย่างละเอียด
การที่เจ้าพนักงานประเมินจะประเมินภาษีโจทก์โดยวิธีพิเศษตามมาตรา 49 แห่ง ป.รัษฎากร ได้นั้น จะต้องเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานประเมินไม่สามารถทราบได้ว่าผู้มีเงินได้มีรายได้และรายจ่ายที่แท้จริงเพียงใด หาใช่เพียงแต่เจ้าพนักงานประเมินเห็นว่าผู้มีเงินได้มิได้ยื่นรายการเงินได้หรือยื่นรายการเงินได้ต่ำกว่าจำนวนที่ควรต้องยื่นก็มีอำนาจกำหนดจำนวนเงินได้สุทธิตามอำนาจพิเศษที่กำหนดไว้ในมาตรา 49 โดยอนุมัติของอธิบดีกรมสรรพากรได้ทันทีไม่ เพราะจากตัวบทมาตรา 49 ที่ให้นำบทบัญญัติมาตรา 19 ถึง 26 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ซึ่งหมายความว่า เจ้าพนักงานประเมินจะต้องทำการตรวจสอบไต่สวนโดยวิธีปกติตามอำนาจในมาตรา 19 และ 23 จนไม่อาจจะทราบได้ว่าผู้มีเงินได้นั้นมีรายได้และรายจ่ายที่แท้จริงเพียงใดแล้ว จึงชอบที่จะใช้อำนาจตามมาตรา 49 ได้ นอกจากนี้ขั้นตอนวิธีการตรวจสอบตามมาตรา 49 จะต้องตรวจสอบถึงมูลค่าทรัพย์สินสุทธิต้นปีและตรวจสอบหามูลค่าทรัพย์สินสุทธิปลายปี จากนั้นจะหาผลต่างระหว่างมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ ณ วันต้นปีกับมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ ณ วันสิ้นปีเดียวกันผลเพิ่มที่หาได้หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งทรัพย์สินสุทธิที่เพิ่มขึ้นให้นำมาบวกกับค่าใช้จ่ายที่ไม่เกี่ยวกับการหารายได้ แล้วหักด้วยเงินได้ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณภาษี ผลลัพธ์เป็นเงินได้สุทธินำไปคำนวณกับอัตราภาษี ก็จะเป็นภาษีที่ต้องเสีย และการประเมินตามมาตรา 49 จะไม่มีการนำค่าใช้จ่ายมาหักออกแต่อย่างใด ส่วนการประเมินตามวิธีปกติตามมาตรา 19 ถึงมาตรา 27 แห่ง ป.รัษฎากรนั้น เป็นวิธีการตรวจสอบไต่สวนหารายได้ของผู้มีเงินได้ที่ได้รับในรอบปีหรือที่เรียกว่าเงินได้พึงประเมินแล้วตรวจดูว่าเป็นเงินประเภทใดตามมาตรา 40 (1) ถึง (8) จากนั้นจึงหักด้วยค่าใช้จ่ายตามประเภทของเงินได้ตามมาตรา 43 ทวิ ถึงมาตรา 46 แล้วหักค่าลดหย่อนตามมาตรา 47 เหลือเท่าใด ถือเป็นเงินได้สุทธิที่จะต้องนำไปคำนวณภาษีเงินได้ตามบัญชีอัตราภาษี
คดีนี้หลังจากกรมสรรพากรจำเลยมีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานตรวจสอบการเสียภาษีของโจทก์แล้ว ได้มีการพิจารณาวิธีการตรวจสอบการเสียภาษีอากรของโจทก์ว่าจะใช้วิธีคำนวณหาค่าเพิ่มทรัพย์สินสุทธิตามมาตรา 49 หรือจะตรวจสอบโดยวิธีปกติ คณะทำงานได้ประชุมลงมติให้ใช้วิธีปกติในการตรวจสอบเพราะการตรวจสอบโดยวิธีหาค่าเพิ่มสุทธิจะมีอุปสรรค จากนั้นเจ้าพนักงานของจำเลยได้ตรวจยอดเงินได้ที่โจทก์และภริยาได้แสดงไว้ในแบบ ภ.ง.ด.91 ประจำปี2531, 2532 และ ภ.ง.ด.90 ประจำปี 2533 แล้ว ปรากฏว่ามียอดเงินรายได้ต่ำกว่ายอดเงินที่ได้รับข้อมูลจากคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินของ รสช.เป็นจำนวนมาก จึงได้ทำการตรวจสอบเบื้องต้นโดยได้ขอหลักฐานเพิ่มเติมจากหน่วยราชการและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น ขอหลักฐานเกี่ยวกับบริษัทที่ภริยาโจทก์และ ร. หลานชายของโจทก์เป็นกรรมการและผู้ถือหุ้นจากกระทรวงพาณิชย์ และขอหลักฐานเกี่ยวกับบัญชีเงินฝากนามแฝงของภริยาโจทก์ทั้ง 6 บัญชี จากธนาคารที่มีบัญชีเงินฝากแล้วคณะทำงานได้ขออนุมัติออกหมายเรียกโจทก์ พร้อมทั้งขอขยายระยะเวลาการออกหมายเรียกต่ออธิบดีจำเลยตามขั้นตอนของกฎหมาย เมื่อได้รับอนุมัติแล้วจึงได้ออกหมายเรียกโจทก์มาชี้แจง สำหรับบัญชีเงินฝากในนามแฝงนั้นโจทก์และภริยาไม่เคยโต้แย้งว่าไม่ใช่บัญชีของโจทก์และภริยา แต่โจทก์ชี้แจงว่าบัญชีเงินฝากนามแฝง 6 บัญชี เป็นบัญชีกิจการร่วมค้าของภริยาโจทก์เพื่อจัดซื้อและพัฒนาที่ดิน ซึ่งเงินฝากเข้าบัญชีส่วนใหญ่เป็นเงินที่ผู้ร่วมลงทุนจ่ายให้ เหตุที่แยกออกเป็น 6 บัญชี เพื่อให้รู้ว่าเป็นเงินฝากของใคร เท่าใด แต่บุคคลที่โจทก์อ้างว่าได้นำเงินมาร่วมลงทุนไม่สามารถชี้แจงหรือให้ข้อมูลอย่างชัดแจ้งเกี่ยวกับการดำเนินกิจการตามที่โจทก์อ้าง คณะทำงานจึงเห็นว่าเงินฝากดังกล่าวมิใช่เป็นเงินที่บุคคลอื่นฝากเข้าบัญชีเพื่อร่วมลงทุนซื้อที่ดิน ส่วนการถือหุ้นในบริษัทนั้นจากการตรวจหลักฐานการถือหุ้นในบริษัทต่าง ๆ ปรากฏว่าภริยาโจทก์มีชื่อเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทต่าง ๆ โดยระบุว่าชำระเงินค่าหุ้นเต็มจำนวนแล้ว แต่โจทก์และภริยาพิสูจน์ไม่ได้ว่าเงินค่าหุ้นดังกล่าวได้มาด้วยวิธีใด คณะทำงานจึงถือว่าเงินฝากในบัญชีนามแฝงและผลประโยชน์รวมทั้งหุ้นที่ได้รับในบริษัทดังกล่าวเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แห่ง ป.รัษฎากร ที่จะต้องนำมารวมคำนวณภาษีเงินได้เมื่อได้ยอดเงินได้พึงประเมินที่โจทก์และภริยาได้รับทั้งหมดในปีภาษีดังกล่าวแล้ว เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยได้นำมาหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนเหลือเป็นเงินได้สุทธิ นำไปคำนวณภาษีเงินได้ตามอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและประเมินให้โจทก์ชำระภาษี จึงถือได้ว่าวิธีการตรวจสอบและประเมินภาษีเงินโจทก์เป็นการตรวจสอบและประเมินภาษีโดยวิธีปกติตามมาตรา 19 ถึงมาตรา 27แห่ง ป.รัษฎากรโดยชอบแล้ว ไม่ใช่เป็นการตรวจสอบและประเมินภาษีโดยวิธีพิเศษตามมาตรา 49 แห่ง ป.รัษฎากร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3615/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคล: การพิสูจน์รายจ่ายค่าสินค้า และการคำนวณรายได้จากสินค้าคงเหลือ
การที่กรมสรรพากรจำเลยที่ 1 ใช้มาตรฐานในการคำนวณต้นทุนสินค้าตามหนังสือกรมสรรพากรที่ กค.0810/13252 ลงวันที่ 29 กันยายน2530 ซึ่งได้กำหนดแนวทางการตรวจสอบผู้ประกอบกิจการค้าพืชผลการเกษตรหากไม่สามารถพิสูจน์ผู้ขายได้ ให้ถือราคารับซื้อตามราคาตลาดที่ปรากฏในเอกสารของส่วนราชการนั้น อาจเกิดข้อผิดพลาดได้ เพราะตามทางนำสืบของจำเลยทั้งสี่ไม่ปรากฏเหตุผลว่าโจทก์ซื้อมันเส้นในราคาสูงไปอย่างไร การที่จำเลยที่ 1ไม่เชื่อถือใบสำคัญหรือหลักฐานแสดงการรับจ่ายเงินค่ามันเส้นของโจทก์ที่สุ่มมาตรวจสอบเพียงบางฉบับ มิใช่เหตุที่จะฟังว่ารายจ่ายค่าซื้อมันเส้นของโจทก์สูงเกินสมควร เพราะราคาซื้อขายมันเส้นโดยทั่วไปมิได้มีราคาตายตัวหรือมีราคาเดียว และราคาซื้อขายมันเส้นโดยเฉลี่ยของสำนักงานพาณิชย์จังหวัดนครราชสีมาที่จำเลยที่ 1 นำมาใช้เป็นเกณฑ์คำนวณมีทั้งที่สูงและต่ำกว่าราคาที่โจทก์ระบุว่ารับซื้อมันเส้นจากผู้ค้าพืชไร่ อีกทั้งโจทก์ตรวจสอบคุณภาพมันเส้นที่จะรับซื้อด้วยว่ามีค่าความชื้นและสิ่งปนเปื้อนเกินมาตรฐานที่โจทก์กำหนดหรือไม่โดยหากปรากฏว่ามันเส้นที่จะรับซื้อมีค่าความชื้นหรือสิ่งปนเปื้อนเกินมาตรฐานโจทก์จะคำนวณน้ำหนักมันเส้นโดยตัดน้ำหนักตามเปอร์เซ็นต์ความชื้นหรือสิ่งปนเปื้อนที่เกินมาตรฐานและคำนวณเงินค่ามันเส้นที่ต้องจ่ายให้ผู้ขายจากน้ำหนักสุทธิภายหลังการตัดน้ำหนักดังกล่าวแล้ว ส่วนการซื้อขายมันเส้นที่สำนักงานพาณิชย์จังหวัดนครราชสีมาจัดทำไม่ปรากฏว่าราคาซื้อขายมันเส้นได้นำมาจากการซื้อขายเช่นกรณีของโจทก์หรือไม่ ดังนั้น การที่โจทก์รับซื้อมันเส้นในราคาสูงหรือต่ำกว่าราคาเฉลี่ยของสำนักงานพาณิชย์จังหวัดนครราชสีมาก็อาจอยู่ภายในกรอบของราคาตลาดได้ มิใช่แสดงว่าราคาที่โจทก์ซื้อสูงเกินปกติโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร นอกจากนี้โจทก์ยังนำสืบแสดงหลักฐานการจ่ายเงินค่ามันเส้นว่าโจทก์จ่ายเป็นเช็ค โดยในใบสำคัญจ่ายจะระบุชื่อธนาคารและหมายเลขเช็คซึ่งสามารถตรวจสอบการเบิกจ่ายเงินได้จากบัญชีกระแสรายวันของโจทก์ รวมทั้งโจทก์ยังบันทึกรายการซื้อมันเส้นในสมุดรายวันซื้อด้วย โดยจำเลยทั้งสี่ก็มิได้นำสืบโต้แย้งว่าเอกสารดังกล่าวไม่ถูกต้อง แต่กลับยอมรับว่าเมื่อได้ตรวจสอบบัญชีกระแสรายวันของโจทก์แล้วพบว่ายอดเงินตามเช็คที่โจทก์สั่งจ่ายและมีการนำมาเรียกเก็บแต่ละยอดตรงกับยอดเงินตามใบรับเงินที่โจทก์อ้างว่าจ่ายเป็นค่าซื้อมันเส้น ดังนี้ แม้จำเลยที่ 1 จะตรวจสอบรายจ่ายโดยเรียกผู้มีชื่อที่ระบุว่าขายมันเส้นให้โจทก์มาสอบถามแล้ว พบว่าหลักฐานการซื้อขายมันเส้นของโจทก์บางรายการไม่น่าเชื่อถือ ก็หาอาจสรุปว่ารายจ่ายค่าซื้อมันเส้นของโจทก์ทั้งหมดทุกรายการเป็นรายจ่ายซึ่งโจทก์พิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับ เนื่องจากการตรวจสอบของจำเลยทั้งสี่เพียงแต่ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างจากรายชื่อผู้ขายบางส่วนเท่านั้น มิได้ตรวจสอบจากเอกสารการจ่ายเงินของโจทก์ทุกรายการ และมิได้ให้โอกาสโจทก์พิสูจน์หลักฐานการจ่ายเงินทั้งหมด การตรวจสอบและให้โจทก์พิสูจน์หลักฐานการจ่ายเงินเพียงบางส่วนจากสุ่มตัวอย่างโดยไม่อาจทราบได้ว่าจำนวนเงินรายจ่ายในส่วนที่มีการสุ่มตัวอย่างตรวจสอบนี้เป็นเงินเท่าใด จึงไม่ชอบที่จะถือว่ารายจ่ายค่าซื้อมันเส้นทั้งหมดของโจทก์เป็นรายจ่ายที่ไม่อาจพิสูจน์ตัวผู้รับได้ แต่กลับฟังได้ว่ารายจ่ายค่าซื้อมันเส้นของโจทก์เป็นรายจ่ายที่โจทก์จ่ายไปจริง มิใช่รายจ่ายซึ่งผู้จ่ายพิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับและมิใช่รายจ่ายค่าซื้อสินค้าที่สูงเกินปกติโดยไม่มีเหตุอันสมควรอันจะถือว่าเป็นรายจ่าย ต้องห้ามตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ตรี (15) และ (18)
แม้ในขั้นตอนการตรวจสอบและการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินจำเลยที่ 1 จะอ้างว่าโจทก์มีรายได้จากการขายมันอัดเม็ดต่ำไป แต่จากข้อเท็จจริงที่คู่ความนำสืบมิใช่เป็นกรณีที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 พบว่าโจทก์ได้ขายมันอัดเม็ดไปจริงแล้วแสดงรายได้จากการขายมัดอัดเม็ดต่ำไป หากแต่เป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 เห็นว่าโจทก์มีเงินได้จากการขายมันอัดเม็ดสูงกว่าที่แสดงไว้เนื่องมาจากจำเลยที่ 1 คำนวณการสูญเสียน้ำหนักในขั้นตอนการผลิตมันอัดเม็ดของโจทก์โดยใช้วิธีบวกน้ำหนักมันเส้นที่โจทก์ตัดออกในขณะรับซื้อกลับเข้ามาเป็นฐานในการคำนวณ จึงทำให้ตัวเลขแสดงยอดมันอัดเม็ดที่ควรผลิตได้สูงกว่าที่โจทก์ระบุในบัญชีขาย แล้วจำเลยที่ 1 จึงถือว่าจำนวนมันอัดเม็ดที่ขาดหายไปเป็นการขายของโจทก์ การประเมินด้วยวิธีการเช่นนี้เท่ากับเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 เห็นว่าโจทก์มีสินค้าขาดจากบัญชีคุมสินค้า จึงให้ถือว่าเป็นการขายสินค้าและให้ถือมูลค่าของสินค้าดังกล่าวเป็นรายรับตามบทบัญญัติแห่ง ป.รัษฎากร มาตรา 79 ทวิ (6) เดิมที่ใช้บังคับในขณะนั้น ซึ่งการประเมินด้วยวิธีการตามมาตรา 79 ทวิ (6) เดิมเป็นบทบัญญัติที่ใช้บังคับแก่ภาษีการค้า หาได้มีบทบัญญัติให้นำไปใช้ในการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลไม่ ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 ให้ถือว่ายอดมันอัดเม็ดที่ขาดไปจากบัญชีขายของโจทก์เป็นการขายเพื่อถือเป็นเงินได้ในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลจึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 123/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทภาษีจากการประเมินค่าเสื่อมราคา, ราคาซื้อขายทรัพย์สินที่ไม่สมเหตุสมผล, และรายจ่ายที่ไม่สามารถนำมาหักลดหย่อนได้
ทั้งในคำอุทธรณ์การประเมินของโจทก์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และในคำฟ้องของโจทก์ได้อ้างว่าเจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งบอกค่าเสื่อมราคาในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2523 เพียง 14,700,159.77 บาทแทนที่จะเป็น 18,700,159.77 บาท จึงเป็นผลทำให้ยอดค่าเสื่อมราคาที่กล่าวข้างต้นสูงกว่าจำนวนเงินที่ระบุในข้อ 2.1.1 ไป 4,000,000 บาท โดยโจทก์ไม่ได้ระบุถึงความเป็นมาของยอดค่าเสื่อมราคาจำนวน 18,700,157.77 บาทว่าได้มาอย่างไร และยอดค่าเสื่อมราคาจำนวน 14,700,157.77 บาทไม่ถูกต้องอย่างไร การกล่าวอ้างของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นการกล่าวอ้างลอย ๆจำเลยไม่สามารถสู้คดีได้ถูกต้อง ฟ้องโจทก์ในส่วนนี้จึงเป็นฟ้องเคลือบคลุม
โจทก์ได้ยอมรับว่าโจทก์ได้ให้บริการรับประทานอาหารฟรีแก่พนักงานของโจทก์บนเรือขุดแร่ กรณีย่อมถือได้ว่าพนักงานที่ทำงานบนเรือขุดแร่ได้รับประโยชน์ในทางทรัพย์สินเพิ่มพูนขึ้นเนื่องจากการทำงานนอกเหนือไปจากเงินเดือนที่พนักงานจะได้รับ แสดงให้เห็นว่าโจทก์ยอมรับว่าการเลี้ยงอาหารแก่พนักงานบนเรือดังกล่าวถือเป็นประโยชน์เพิ่มขึ้นอันเนื่องมาจากการจ้างแรงงานค่าใช้จ่ายดังกล่าว จึงถือเป็นเงินได้ของพนักงานของโจทก์ซึ่งได้รับอันเนื่องมาจากการจ้างแรงงานตามมาตรา 40 (1) แห่ง ป.รัษฎากร และเงินได้ในส่วนดังกล่าวถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 แห่ง ป.รัษฎากร โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องนำค่าใช้จ่ายดังกล่าวมาคำนวณหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมหัก ณ ที่จ่ายและนำส่งต่อจำเลย
เรือขุดแร่ของ ท.ที่มีการซื้อขายในคดีนี้ได้ถูกออกแบบเป็นพิเศษโดยเฉพาะเพื่อใช้งานสำหรับขุดแร่บริเวณที่ ท.ได้รับสัมปทานโดยเฉพาะ เมื่อการทำแร่จะต้องได้รับสัมปทานและ ท.ถูกเพิกถอนสัมปทานไปแล้ว ท.จึงไม่อยู่ในฐานะที่จะต่อรองอะไรกับโจทก์หรือผู้ซื้อทรัพย์สินรายใดได้ ส่วนหนังสือแจ้งราคาเรือที่ต่อใหม่ของบริษัท ม. ก็ปรากฏว่ามีมาถึงโจทก์หลังจากที่โจทก์ได้ทำสัญญาซื้อขายทรัพย์สินไปแล้ว การยืนยันราคาเรือก็เป็นการยืนยันย้อนหลัง แสดงว่าในการทำหนังสือสอบถามราคาไปก็เพียงแต่จะเป็นการสร้างหลักฐานขึ้นมาประกอบการซื้อทรัพย์นั้น ไม่มีเจตนาจะให้มีการต่อเรือกันจริง หนังสือที่ทางบริษัท ม.แจ้งมายังโจทก์จึงไม่น่าเชื่อถือ สำหรับข้อที่โจทก์อ้างว่าหลังจากซื้อเรือขุดแร่จาก ท. แล้ว ได้ประกันภัยในราคาที่ใกล้เคียงกับราคาที่ซื้อมาของโจทก์ โจทก์คงอ้างแต่เพียงลอย ๆ โดยไม่แสดงหลักฐานใด ๆ นอกจากนี้การกำหนดราคาเอาประกันภัยไม่อาจถือเป็นราคาอันสมควรได้เพราะคู่สัญญาประกันภัยสามารถตกลงวงเงินเอาประกันภัยเท่าใดก็ได้ เพียงแต่หากเกิดความเสียหายก็จะชดใช้ให้ตามความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงเท่านั้น ดังนั้นราคาทรัพย์สินที่เอาประกันภัยจึงมิใช่ราคาตลาดของทรัพย์สินที่เอาประกันภัยและไม่อาจเชื่อถือได้ ส่วนที่โจทก์อ้างว่าราคาที่โจทก์และ ท.ทำการตกลงซื้อขายนั้นเป็นราคาของมูลค่าทรัพย์สินตามปกติที่อาจสามารถซื้อขายกันได้ หาได้มีลักษณะเป็นการซื้อขายทรัพย์สินที่มีราคาสูงเกินปกติโดยไม่มีเหตุอันสมควรแต่ประการใดนั้น จากการตรวจสอบของเจ้าพนักงานของจำเลยได้ความว่าในการลงบัญชีทรัพย์ที่ซื้อมาโดยที่สัญญาซื้อขายทรัพย์สินระบุเป็นรายการใหญ่ ๆ ต้องหาวิธีลงบัญชีเพื่อแยกเป็นรายการย่อย ๆจึงได้ใช้ดัชนีมาร์ชแอนด์สตีเว่นมาเพื่อคำนวณหามูลค่าทรัพย์สินเพื่อใช้ลงบัญชี ดัชนีมาร์ชแอนด์สตีเว่นเป็นการคำนวณค่าใช้จ่ายในการแต่งเรือย้อนหลังไป 1 ปี มีอัตราเงินเฟ้อประมาณร้อยละ 16 การเปรียบเทียบจะอยู่ภายใต้เงื่อนไขเดียวกัน แต่กรณีของโจทก์ทรัพย์สินที่โจทก์ซื้อผ่านการใช้งานมาแล้วประมาณ 4 ปี การนำดัชนีราคาดังกล่าวมาเปรียบเทียบกับกรณีของโจทก์จึงไม่ถูกต้อง ราคาต้นทุนทรัพย์สินตามบัญชีท.มีราคา 221,934,959.44 บาท ซึ่งเป็นราคาที่ ท.ได้หักค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินและได้นำไปใช้หักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลของ ท.ไปแล้วและ ท.หักค่าเสื่อมราคาโดยใช้วิธีเส้นตรงในอัตราร้อยละ 10 ต่อปี ซึ่งเป็นการหักค่าใช้จ่ายในอัตราต่ำอยู่แล้ว การที่โจทก์ซื้อทรัพย์สินของ ท.มาในราคา332,800,000 บาท จึงเป็นราคาที่สูงเกินปกติโดยไม่มีเหตุอันสมควร
ตามสัญญาซื้อขายทรัพย์สินหนี้สินและสัญญาเพิ่มเติมเพื่อขายและซื้อทรัพย์สินและหนี้สินมีการระบุรายละเอียดรายการทรัพย์สินและหนี้สินที่โจทก์ซื้อจาก ท.ไว้ โดยไม่มีการระบุว่ามีการซื้อขายเจ้าหนี้ระยะยาวรายของบริษัท ซ.และบริษัท ช.ไว้แต่อย่างใด ดังนั้นการที่โจทก์จ่ายดอกเบี้ยแทน ท.ไป โดยค่าดอกเบี้ยดังกล่าวเป็นค่าดอกเบี้ยของหนี้สินระยะยาวซึ่งโจทก์มิได้ผูกพันด้วยค่าดอกเบี้ยที่โจทก์จ่ายไปจึงเป็นรายจ่ายที่ไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพราะเป็นรายจ่ายซึ่งมิใช่รายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะของโจทก์ตามมาตรา 65 ตรี (13) แห่ง ป.รัษฎากร โจทก์จึงนำรายจ่ายดังกล่าวมาคิดคำนวณกำไรสุทธิไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2662/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลต่างประเทศ: การหักรายจ่าย, การคำนวณกำไรสุทธิ, และการลดเบี้ยปรับ
โจทก์เป็นบริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศเมื่อประกอบกิจการซึ่งถือได้ว่าประกอบกิจการในประเทศไทยก็มีหน้าที่ต้องยื่นรายการและเสียภาษีสำหรับภาษีเงินได้นิติบุคคลที่คำนวณจากฐานกำไรสุทธิซึ่งได้จากรายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่ได้กระทำในประเทศไทยในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีหักด้วยค่าใช้จ่ายตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในมาตรา65ทวิมาตรา65ตรีและคิดตามอัตราที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราภาษีเงินได้ตามมาตรา66และมาตรา67หากจะเสียภาษีในอัตราร้อยละ5ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใดๆตามมาตรา66วรรคสองประกอบมาตรา71(1)ต้องเป็นกรณีที่โจทก์ไม่สามารถคำนวณกำไรสุทธิได้เมื่อโจทก์ยังสามารถที่จะคำนวณกำไรสุทธิเพื่อยื่นรายการและเสียภาษีได้แต่โจทก์ยื่นรายการและเสียภาษีในอัตราร้อยละ5ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใดๆจึงไม่ชอบด้วยประมวลรัษฎากรมาตรา66และมาตรา67เจ้าพนักงานประเมินชอบที่จะประเมินให้โจทก์เสียภาษีให้ถูกต้องได้ การที่บัญชีงบดุลบัญชีกำไรขาดทุนและหลักฐานการทำบัญชีต่างๆของโจทก์ได้จัดทำกันที่สำนักงานใหญ่ของโจทก์ในต่างประเทศลูกจ้างหรือผู้ทำการแทนโจทก์ในประเทศไทยไม่อาจทราบรายการต่างๆตามสมุดบัญชีงบดุลและงบกำไรขาดทุนของโจทก์โดยถูกต้องได้และโจทก์ยังให้บริการแก่บริษัทต่างๆในต่างประเทศอีกหลายประเทศนั้นยังไม่เพียงพอให้รับฟังว่าโจทก์ไม่สามารถคำนวณกำไรสุทธิได้ โจทก์ฟ้องคดีโดยมิได้กล่าวอ้างว่าเจ้าพนักงานประเมินคำนวณกำไรสุทธิของโจทก์ไม่ถูกต้องเพราะหักรายจ่ายไม่ครบถ้วนเนื่องจากโจทก์ยังมีรายจ่ายอื่นอยู่ดังนั้นการที่โจทก์ยกข้อความดังกล่าวขึ้นเป็นข้ออุทธรณ์ในชั้นอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลางศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เชื่อว่าโจทก์ไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงการชำระภาษีจึงลดเบี้ยปรับลงเหลือร้อยละ50เป็นดุลพินิจที่เหมาะสมแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5652/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยเงินกู้จากบริษัทในเครือถือเป็นรายจ่ายที่นำมาหักคำนวณกำไรสุทธิได้ และการหักเงินภาษีที่ชำระแล้ว
โจทก์กู้เงินจากบริษัทในเครือของโจทก์เพื่อนำเงินมาประกอบกิจการโดยต้องเสียดอกเบี้ยให้บริษัทในเครือจริง จึงเป็นรายจ่ายที่นำมาคำนวณกำไรสุทธิได้ มิใช่รายจ่ายซึ่งโจทก์กำหนดขึ้นเองโดยไม่มีการจ่ายจริงตามประมวลรัษฏากร มาตรา 65 ทวิ (9)
การที่โจทก์ชำระหนี้ค่าภาษีบางส่วนให้แก่จำเลยแล้ว ศาลย่อมมีคำพิพากษาให้นำเงินภาษีบางส่วนที่โจทก์ชำระแล้วมาหักออกจากเงินภาษีที่โจทก์ต้องชำระทั้งหมดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5422/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำแนกประเภทเงินได้ตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร: พิจารณาจากลักษณะงานและรายจ่าย
เงินได้ตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากรจะเป็นเงินได้ประเภทใดนั้น ต้องพิจารณาถึงรายจ่ายและลักษณะของงานที่ทำประกอบด้วย เงินได้ตามมาตรา 40(2) แห่งประมวลรัษฎากรซึ่งเป็นเงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำหรือจากการรับทำงานให้ลักษณะงานที่ทำมีค่าใช้จ่ายไม่มาก ประมวลรัษฎากรจึงกำหนดให้หักค่าใช้จ่ายได้น้อยและหักค่าใช้จ่ายเท่ากัน ส่วนเงินได้ตามมาตรา 40(8) เป็นเงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ อันเป็นงานที่ต้องมีค่าใช้จ่ายสูง ประมวลรัษฎากรจึงยอมให้หักค่าใช้จ่ายได้มากกว่าเงินได้ตามมาตรา 40(2) เมื่องานแปลข้อมูลทางธรณีวิทยาเกี่ยวกับแหล่งน้ำมันที่บริษัท ค. แห่งประเทศสหรัฐอเมริการับทำให้โจทก์เป็นงานที่มีค่าใช้จ่ายสูง เงินค่าตอบแทนที่โจทก์จ่ายให้บริษัท ค. จึงมิใช่เงินได้จากการรับทำงานให้ตามมาตรา 40(2)แต่เป็นเงินได้จากการธุรกิจตามมาตรา 40(8) โจทก์จึงไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร
of 7