คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
รายปี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 16 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 61/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องร้องความผิดฐานไม่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว: นับเป็นรายปี
การไม่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวปีใด ถือว่าเป็นความผิดสำหรับปีที่ไม่มีนั้น
จำเลยไม่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวหลายปี ตามประมวล ก.ม.อาญา มาตรา 95 กำหนดให้ฟ้องภายใน 1 ปี จึงลงโทษจำเลยสำหรับการที่จำเลยไม่มีใบสำคัญประจำตัวก่อนวันฟ้องเกิน 1 ปีนั้นไม่ได้ คงลงโทษได้แต่เฉพาะในระยะที่ไม่ขาดอายุความฟ้องร้อง (อ้างฎีกาที่ 942/2498)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 61/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องร้องความผิดฐานไม่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ความผิดสำเร็จเป็นรายปี
การไม่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวปีใดถือว่าเป็นความผิดสำหรับปีที่ไม่มีนั้น
จำเลยไม่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวหลายปีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95 กำหนดให้ฟ้องภายใน 1 ปีจึงลงโทษจำเลยสำหรับการที่จำเลยไม่มีใบสำคัญประจำตัวก่อนวันฟ้องเกิน 1 ปีนั้นไม่ได้ คงลงโทษได้แต่เฉพาะในระยะที่ไม่ขาดอายุความฟ้องร้อง
(อ้างฎีกาที่ 942/2498)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 942/2498 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องร้องคดีคนต่างด้าวขาดต่ออายุใบสำคัญประจำตัว ความผิดแยกรายปี
การขาดต่ออายุใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวปีใดถือว่าเป็นผิดสำหรับปีที่ขาดต่ออายุปีนั้น
จำเลยขาดต่ออายุใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว สำหรับ พ.ศ. 2495 จนถึงวันฟ้อง (1 ก.พ. 97) เป็นเวลาเกินกว่า 1 ปี ถือว่าขาดอายุความฟ้องร้องตาม ก.ม. อาญา ม. 78(4) ซึ่งกำหนดให้ฟ้องภายใน 1 ปี แล้ว จึงลงโทษจำเลยไม่ได้
แต่การที่จำเลยขาดต่ออายุใบสำคัญสำหรับ พ.ศ. 2496 นั้นนับแต่วันจำเลยจะต้องต่ออายุใบสำคัญสำหรับ พ.ศ. 2496 จนถึงวันฟ้องยังไม่เกิน 1 ปี ไม่ขาดอายุความจึงลงโทษได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 13/2498)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 451/2485

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมกำหนดแต่ผลประโยชน์รายปี ไม่ห้ามแบ่งทุนมรดก
พินัยกรรมมีแต่ข้อกำหนดเรื่องการแบ่งผลประโยชน์จากกองมรดกเป็นรายปี ย่อมไม่ห้ามการที่จะแบ่งทุนออกเป็นส่วนได้แก่ผู้รับมรดกตามส่วน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7018/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีป้ายรายปี: การประเมินถูกต้องตามกฎหมาย แต่เงินเพิ่มยกเว้นเมื่อแก้ไขแบบแสดงรายการก่อนแจ้งการประเมิน
ตาม พ.ร.บ.ภาษีป้าย พ.ศ.2510 มาตรา 7 วรรคหนึ่ง กำหนดให้เจ้าของป้ายมีหน้าที่เสียภาษีป้ายเป็นรายปี ซึ่งคำว่า รายปี ย่อมมีความหมายว่า เจ้าของป้ายมีหน้าที่เสียภาษีป้ายปีละหนึ่งครั้งเพียงคราวเดียวโดยไม่ต้องคำนึงว่าป้ายได้ติดตั้งหรือแสดงไว้ในปีนั้นครบทั้งปีหรือไม่ ยกเว้นตามมาตรา 7 วรรคหนึ่ง ตอนท้าย ที่กำหนดว่าเฉพาะป้ายที่เริ่มติดตั้งหรือแสดงในปีแรกที่ให้เสียภาษีป้ายตั้งแต่วันเริ่มติดตั้งหรือแสดงจนถึงวันสิ้นปี ไม่ต้องเสียภาษีป้ายเป็นรายปีแต่ให้คิดเป็นรายงวด งวดละสามเดือนของปี โดยเริ่มเสียภาษีป้ายตั้งแต่งวดที่ติดตั้งป้ายจนถึงงวดสุดท้ายของปี เท่านั้น
โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายพิพาทเพิ่มเติมก่อนแจ้งการประเมิน จึงพอถือได้ว่าเป็นกรณีที่เจ้าของป้ายได้มาขอแก้ไขแบบแสดงรายการภาษีป้ายให้ถูกต้องก่อนที่พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งการประเมิน จึงได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 25 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1232/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ มติจัดเก็บค่าสาธารณูปโภครายปีขัด พ.ร.บ.จัดสรรที่ดิน และกฎหมายความสงบเรียบร้อย โมฆะ
พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 ให้อำนาจโจทก์ในฐานะนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคในส่วนที่โจทก์มีหน้าที่บำรุงรักษาจากสมาชิก การจัดเก็บค่าสาธารณูปโภคของโจทก์จึงต้องอยู่ภายใต้บังคับ พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 เมื่อ พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 มาตรา 49 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและการจัดการการสาธารณูปโภค ให้จัดเก็บเป็นรายเดือน..." โดยวรรคท้ายบัญญัติว่า "หลักเกณฑ์และวิธีการจัดเก็บค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคและการจัดทำบัญชีให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางกำหนด" และตามระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่าย หลักเกณฑ์และวิธีการจัดเก็บค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคและการจัดทำบัญชี พ.ศ. 2545 ข้อ 6 ถึงข้อ 8 ล้วนแต่กำหนดให้การกำหนดอัตราค่าใช้จ่าย การกำหนดวันเก็บค่าใช้จ่าย การกำหนดค่าปรับในกรณีที่ค้างชำระ การออกใบเสร็จรับเงิน และการจัดทำบัญชี จัดทำเป็นรายเดือน โจทก์จึงต้องจัดเก็บค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและการจัดเก็บการสาธารณูปโภคเป็นรายเดือนตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 และเมื่อพระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นกฎหมายที่มีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองผู้ซื้อที่ดินจัดสรรอันถือเป็นกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน การที่โจทก์มีมติที่ประชุมใหญ่วิสามัญสมาชิกครั้งที่ 1/2556 ให้จัดเก็บเงินค่าสาธารณูปโภคส่วนกลางเป็นรายปีครั้งเดียวแตกต่างจากที่ พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 บัญญัติไว้ มติของโจทก์ดังกล่าวจึงแตกต่างกับบทบัญญัติของกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 มติของโจทก์ดังกล่าวจึงไม่มีผลใช้บังคับ
of 2