คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
รายละเอียด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 343 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4497/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องเคลือบคลุม: จำเป็นต้องระบุรายละเอียดการยักยอกในคำฟ้องเพื่อให้จำเลยสามารถต่อสู้คดีได้อย่างถูกต้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ลูกจ้างโจทก์ยักยอกเงินและสินค้าของโจทก์ทำให้โจทก์เสียหาย 202,314 บาท และจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่ 1ยอมรับผิดทำสัญญาชดใช้ค่าเสียหายแทนจำเลยที่ 1 โดยตกลงผ่อนชำระเป็นรายเดือนแต่เมื่อถึงกำหนดชำระเงิน จำเลยทั้งสองเพิกเฉย ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ย จะเห็นได้ว่า คำฟ้องโจทก์มุ่งเน้นเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้อันมีมูลฐานมาจากการที่จำเลยที่ 1 ยักยอกเงินและสินค้าของโจทก์เป็นข้อสำคัญซึ่งโจทก์ต้องบรรยายฟ้องให้แจ้งชัดว่าจำเลยที่ 1 ยักยอกเงินและสินค้าโจทก์ไปเมื่อใด เงินที่ยักยอกเป็นจำนวนเท่าใด สินค้าที่ยักยอกเป็นสินค้าประเภทใด จำนวนเท่าใดและราคาเท่าใด หรือมิฉะนั้นโจทก์จะต้องมีเอกสารหรือหลักฐานที่มีรายละเอียดเกี่ยวกับจำนวนเงินหรือรายการสินค้าที่อ้างว่าจำเลยที่ 1 ยักยอกไปแนบมาท้ายฟ้องด้วย และแม้โจทก์จะเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดตามสัญญาก็ตาม แต่หนี้ตามสัญญาก็มีมูลฐานมาจากการที่โจทก์กล่าวหาจำเลยที่ 1 ยักยอกเงินและสินค้าของโจทก์ ซึ่งจำเลยที่ 2 ย่อมยกเป็นข้อต่อสู้ถึงการมีอยู่ จำนวน และความสมบูรณ์แห่งหนี้ดังกล่าวได้ เมื่อโจทก์มิได้กล่าวแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหากับข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาในเรื่องดังกล่าว คำฟ้องของโจทก์จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสองประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31 เป็นคำฟ้องเคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4497/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องเคลือบคลุม: จำเป็นต้องระบุรายละเอียดการยักยอกทรัพย์ แม้มีสัญญารับผิดรับใช้
โจทก์ฟ้องว่า ประมาณเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม 2542 จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของโจทก์ได้ยักยอกเงินและสินค้าของโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเป็นเงิน202,314 บาท และจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2543จำเลยที่ 2 ได้ขอเข้าทำสัญญารับผิดรับใช้กับโจทก์ ขอบังคับให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ คำฟ้องของโจทก์มีมูลฐานมาจากการที่จำเลยที่ 1 ยักยอกเงินและสินค้าเป็นข้อสำคัญ ซึ่งโจทก์จะต้องบรรยายฟ้องโดยแจ้งชัดว่า จำเลยที่ 1 ได้ยักยอกเงินและสินค้าไปเมื่อใด เงินที่ยักยอกเป็นจำนวนเท่าใด สินค้าที่ยักยอกเป็นสินค้าประเภทใดจำนวนเท่าใด และราคาเท่าใด แม้โจทก์จะเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดตามสัญญารับผิดรับใช้ด้วย แต่หนี้ตามสัญญารับผิดรับใช้ก็มีมูลฐานมาจากที่โจทก์กล่าวหาจำเลยที่ 1ยักยอกเงินและสินค้าของโจทก์ ซึ่งจำเลยที่ 2 ย่อมยกเป็นข้อต่อสู้ถึงการมีอยู่ จำนวนและความสมบูรณ์แห่งหนี้ดังกล่าวได้ เมื่อโจทก์มิได้กล่าวโดยแจ้งชัดถึงเรื่องจำเลยที่ 1ยักยอกเงินและสินค้าของโจทก์ไป จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคสอง ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2905/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องไม่เคลือบคลุม แม้เอกสารท้ายฟ้องเป็นหลักฐานมูลหนี้ การบรรยายรายละเอียดเอกสารในคำฟ้องไม่จำเป็น
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยสั่งซื้อปูนสำเร็จรูปและน้ำยาผสมปูนไปจากโจทก์รวม13 ครั้ง เป็นเงิน 236,871.25 บาท โดยบรรยายรายละเอียดของการสั่งซื้อสินค้าแต่ละครั้งพร้อมจำนวนเงินค่าสินค้าตามเอกสารท้ายฟ้องและจำเลยได้รับสินค้าไปจากโจทก์แล้ว จำเลยไม่ชำระราคาค่าสินค้าภายในกำหนด ขอให้จำเลยชำระราคาค่าสินค้าพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ คำฟ้องของโจทก์จึงแสดงสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาโดยแจ้งชัดแล้ว แม้โจทก์จะแนบเอกสารใบกำกับภาษี อันเป็นหลักฐานแห่งมูลหนี้มาท้ายฟ้องก็เป็นเพียงเอกสารประกอบคำบรรยายฟ้อง โจทก์สามารถนำสืบถึงรายละเอียดของรายการตามเอกสารดังกล่าวได้ในชั้นพิจารณา ไม่จำเป็นต้องบรรยายรายละเอียดของเอกสารไว้ให้ปรากฏในคำฟ้อง คำฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1010/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขฟ้องคดีอาญา: ศาลอนุญาตแก้ฟ้องได้หากเป็นรายละเอียดเล็กน้อยและไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 163กำหนดให้โจทก์ต้องขอแก้หรือเพิ่มเติมฟ้องก่อนมีคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ฉะนั้น การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ฟ้องภายหลังสืบพยานจำเลยไปบ้างแล้ว โดยอ้างเหตุว่าคำฟ้องโจทก์พิมพ์วันที่เกิดเหตุผิดพลาดขอแก้จากวันที่ 29 เป็นวันที่ 26 การยื่นคำร้องดังกล่าวจึงเป็นการยื่นก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว ซึ่งความบกพร่องดังกล่าวอาจเกิดจากการพิมพ์ผิดพลาดเช่นนั้นได้ ประกอบกับการที่โจทก์แก้ฟ้องเฉพาะวันที่ที่อ้างว่าจำเลยกระทำความผิดนั้นเป็นการแก้รายละเอียดซึ่งต้องแถลงในฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 164 ทั้งจำเลยให้การและเบิกความก็เป็นเพียงการปฏิเสธลอย ๆ ไม่ได้ให้รายละเอียดว่าวันที่ 26 จำเลยทำอะไรอยู่ที่ไหน นอกจากนี้ยังปรากฏว่าวันที่ 29ซึ่งเป็นวันที่ระบุในคำฟ้องฉบับเดิม จำเลยก็ถูกขังในเรือนจำตามหมายขังระหว่างการสอบสวนคดีนี้ กรณีถือไม่ได้ว่าจำเลยหลงต่อสู้ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้องได้ จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9359/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำร้องขอพิจารณาใหม่ที่มิได้กล่าวรายละเอียดข้อคัดค้านชัดเจน และผลของการคำร้องถึงที่สุด
เดิมจำเลยยื่นคำร้องฉบับลงวันที่ 24 มีนาคม 2541 เพื่อขอพิจารณาคดีใหม่ต่อศาล ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า คำร้องของจำเลยไม่มีรายละเอียดชัดแจ้งซึ่งข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาล ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 208 วรรคสอง ให้ยกคำร้อง ศาลอุทธรณ์ภาค 1 และศาลฎีกาพิพากษายืน ผลของคดีที่ให้ยกคำร้องจึงเป็นที่สุด จำเลยไม่อาจขอแก้ไขเพิ่มเติมคำร้องขอพิจารณาใหม่ฉบับลงวันที่ 24 มีนาคม 2541 ซึ่งถึงที่สุดไปแล้ว และไม่อาจถือเอารายละเอียดต่าง ๆของคำร้องฉบับดังกล่าวมาเป็นส่วนหนึ่งของคำร้องขอพิจารณาใหม่ฉบับลงวันที่ 26 พฤษภาคม 2543 ซึ่งจำเลยได้ยื่นต่อศาลในภายหลังได้ เพราะพ้นกำหนดระยะเวลา 15 วัน นับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาให้แก่จำเลยแล้ว
การที่จำเลยยื่นคำร้องขอพิจารณาใหม่ฉบับลงวันที่ 24 มีนาคม 2541 โดยไม่ได้กล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งซึ่งข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 208 วรรคสองนั้น เป็นความผิดพลาดบกพร่องของจำเลยเอง ไม่อาจถือได้ว่าเป็นพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ที่จะขยายระยะเวลาให้จำเลยยื่นคำร้องขอพิจารณาใหม่ได้อีก ไม่ชอบที่ศาลจะรับคำร้องฉบับหลังไว้ไต่สวนต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8868/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรื้อฟื้นคดีอาญา: คำร้องต้องระบุเหตุและรายละเอียดพยานหลักฐานใหม่ที่ชัดเจนและสำคัญต่อคดี
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้รื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาพิพากษาใหม่โดยอ้างเหตุตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติการรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ฯ มาตรา 5(3)ซึ่งมาตรา 8 วรรคสอง บัญญัติให้คำร้องนั้นต้องอ้างเหตุตามที่ระบุไว้ในมาตรา 5 โดยละเอียดชัดแจ้ง แต่ปรากฏว่าคำร้องของผู้ร้องอ้างแต่เพียงว่ามีพยานหลักฐานใหม่ตามบัญชีพยานท้ายคำร้องที่จะแสดงชี้ชัดเท่านั้น ไม่ปรากฏข้ออ้างโดยละเอียดชัดแจ้งเพื่อให้เห็นว่าพยานหลักฐานใหม่มีความเป็นมาอย่างไร เหตุใดจึงไม่นำมาพิสูจน์ว่าผู้ร้องมิได้กระทำความผิดตั้งแต่แรก ที่สำคัญพยานหลักฐานใหม่นั้นมีความสำคัญแก่คดีมากพอที่จะสามารถเปลี่ยนแปลงผลของคำพิพากษาที่ได้พิพากษาลงโทษผู้ร้องไปแล้วได้หรือไม่ เมื่อคำร้องมิได้อ้างเหตุโดยละเอียดชัดแจ้งเช่นนี้ จึงฟังไม่ได้ว่าผู้ร้องมีพยานหลักฐานใหม่อันชัดแจ้งและสำคัญแก่คดีคำร้องขอของผู้ร้องจึงไม่มีมูลและชอบที่ศาลจะมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้องได้โดยไม่ต้องทำการไต่สวน
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้องโดยมิได้ทำความเห็นไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 2 เพื่อให้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีคำสั่งและศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืนนั้น ไม่ชอบด้วยมาตรา 10 เพราะอำนาจในการมีคำสั่งตามคำร้องในคดีนั้นเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ภาค 2อย่างไรก็ตามเมื่อปรากฏว่าคดีนี้ได้ขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาแล้วศาลฎีกาย่อมมีอำนาจที่จะมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้องได้โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีคำสั่งใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7073/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความชัดเจนของฟ้องอาญา: การบรรยายรายละเอียดการกระทำความผิดและการเบียดบังทรัพย์สิน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยซึ่งเป็นกรรมการของบริษัท ฟ. ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้จัดการทรัพย์สินของบริษัทดังกล่าวแต่ผู้เดียว ได้จำหน่ายสินค้าของบริษัทโดยระบุประเภท น้ำหนักของสินค้าและจำนวนเงินที่จำหน่ายสินค้าได้แต่ละวันแล้วเบียดบังเงินที่จำหน่ายสินค้าได้นั้นเป็นของตนหรือผู้อื่นโดยทุจริตเช่นนี้ จำเลยสามารถเข้าใจข้อหาได้โดยถูกต้องแล้วว่าโจทก์กล่าวหาว่าจำเลยกระทำผิดอย่างไร ถึงแม้โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องระบุว่าจำเลยเบียดบังเอาเงินของบริษัทไปอย่างไร ด้วยวิธีการใดก็เป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณาคำฟ้องของโจทก์จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7039/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ที่ไม่ชัดเจน: การอ้างเหตุผลจากคำร้องเดิมในอุทธรณ์โดยไม่ระบุรายละเอียด
จำเลยอุทธรณ์ว่า ถ้าศาลชั้นต้นให้จำเลยสืบพยานก็จะทราบข้อเท็จจริงในคดีที่จะทำให้จำเลยชนะคดีได้ โดยไม่ได้กล่าวถึงข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายให้ชัดแจ้ง เพียงแต่กล่าวอ้างถึงคำร้องจำเลยที่คัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งงดสืบพยานจำเลยให้เป็นส่วนหนึ่งของอุทธรณ์จำเลย ทั้งมิได้กล่าวรายละเอียดตามคำร้องคัดค้านดังกล่าวมาในอุทธรณ์ด้วย จึงไม่อาจจะนำเอารายละเอียดในคำร้องนั้นมาประกอบอุทธรณ์จำเลยให้ชัดแจ้งได้ อุทธรณ์จำเลยจึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา225 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1008/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สำคัญผิดในตัวทรัพย์สิน สัญญาประกันภัยรถยนต์ไม่เป็นโมฆะ แม้รายละเอียดไม่ตรงกัน
การทำสัญญาประกันภัยรถยนต์ถือเอาตัวรถยนต์เป็นสาระสำคัญ
ตามกรมธรรม์ประกันภัยซึ่งจำเลยผู้รับประกันภัยออกให้แก่โจทก์ได้ระบุรายการรถยนต์ที่โจทก์เอาประกันภัยคือ ยี่ห้อ รุ่นปี ประเภทรถยนต์นั่งส่วนบุคคลแบบตัวถัง และเป็นรถยนต์ 4 ล้อ ตรงกับรายการจดทะเบียนรถยนต์ของโจทก์ และจำเลยมิได้โต้แย้งว่าโจทก์มีรถยนต์คันอื่นอีก กรณีเช่นนี้จึงมิใช่การสำคัญผิดในตัวรถยนต์ที่โจทก์เอาประกันภัย สำหรับหมายเลขทะเบียนรถยนต์ หมายเลขเครื่องยนต์ และหมายเลขตัวถังเป็นเพียงรายละเอียดเกี่ยวกับรถยนต์ที่เอาประกันภัย แม้จะระบุในกรมธรรม์ประกันภัยคลาดเคลื่อนไปก็ไม่ใช่สิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญ เพราะเมื่อโจทก์ขอแก้หมายเลขทะเบียน หมายเลขเครื่องยนต์ และหมายเลขตัวถังของรถยนต์ที่เอาประกันภัยให้ถูกต้อง แม้เป็นการขอแก้ไขเมื่อเกิดอุบัติเหตุแล้ว จำเลยก็จัดการแก้ไขให้ทุกรายการโดยกรรมการผู้อำนวยการของจำเลยเป็นผู้ลงชื่อในเอกสารการแก้รายการรถยนต์ เมื่อการทำสัญญารับประกันภัยมิใช่การแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในตัวทรัพย์สินซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรม สัญญาประกันภัยระหว่างโจทก์และจำเลยไม่ตกเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9664/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ วันเวลาการกระทำผิดเป็นรายละเอียดในฟ้อง ไม่ใช่สาระสำคัญ หากจำเลยไม่หลงต่อสู้ ศาลลงโทษตามข้อเท็จจริงได้
วันเวลากระทำผิดเป็นเพียงรายละเอียดที่จะต้องกล่าวไว้ในฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ข้อแตกต่างในเรื่องวันกระทำผิดจึงไม่ใช่ข้อสาระสำคัญ หากจำเลยมิได้หลงต่อสู้ ศาลจะลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้นก็ได้ ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง คดีนี้จำเลยให้การและเบิกความว่าไม่ได้กระทำผิดตามฟ้อง และนำสืบข้อเท็จจริงตรงตามที่โจทก์นำสืบมา ถือไม่ได้ว่าจำเลยหลงต่อสู้ ศาลจึงพิพากษาลงโทษจำเลยได้
of 35