พบผลลัพธ์ทั้งหมด 15 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1691/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดสิทธิในที่ดินและการชดใช้ค่าเสียหาย แม้ไม่ได้เสียหายจากเงินมัดจำที่ถูกริบ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยคัดค้านการแบ่งแยกที่ดินทำให้โจทก์แบ่งขายที่ดินไม่ได้ โจทก์จึงไม่ด้เงินไปชำระราคาที่ดินซึ่งโจทก์วางมัดจำซื้อไว้เป็นเหตุให้โจทก์ถูกริบเงินมัดจำแม้จะปรากฏว่าการกระทำของจำเลยเป็นการละเมิดต่อโจทก์ก็ตาม แต่จะถือว่าเงินมัดจำที่โจทก์ถูกริบเป็นค่าเสียหายที่จำเลยต้องรับผิดไม่ได้
เมื่อมีการละเมิดขึ้นแล้ว ศาลย่อมวินิจฉัยให้จำเลยให้ค่าสินไหมทดแทนได้ตามควรแก่พฤติการณ์
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยละเมิดขอค่าเสียหายที่ถูกริบมัดจำหนึ่งหมื่นบาท เมื่อศาลเห็นว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดในเงินมัดจำที่โจทก์ถูกริบศาลจะพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายในการละเมิดแก่โจทก์หนึ่งพันบาทก็ได้ไม่เกินคำขอ.
เมื่อมีการละเมิดขึ้นแล้ว ศาลย่อมวินิจฉัยให้จำเลยให้ค่าสินไหมทดแทนได้ตามควรแก่พฤติการณ์
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยละเมิดขอค่าเสียหายที่ถูกริบมัดจำหนึ่งหมื่นบาท เมื่อศาลเห็นว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดในเงินมัดจำที่โจทก์ถูกริบศาลจะพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายในการละเมิดแก่โจทก์หนึ่งพันบาทก็ได้ไม่เกินคำขอ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1691/2499
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยขัดขวางการแบ่งขายที่ดิน ทำให้โจทก์ถูกริบมัดจำ ศาลพิจารณาค่าเสียหายจากการละเมิด
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยคัดค้านการแบ่งแยกที่ดินทำให้โจทก์แบ่งขายที่ดินไม่ได้ โจทก์จึงไม่ได้เงินไปชำระราคาที่ดินซึ่งโจทก์วางมัดจำซื้อไว้เป็นเหตุให้โจทก์ถูกริบเงินมัดจำ แม้จะปรากฏว่าการกระทำของจำเลยเป็นการละเมิดต่อโจทก์ก็ตาม แต่จะถือว่าเงินมัดจำที่โจทก์ถูกริบเป็นค่าเสียหายที่จำเลยต้องรับผิดไม่ได้
เมื่อมีการละเมิดขึ้นแล้ว ศาลย่อมวินิจฉัยให้จำเลยใช้ค่าสินไหมทดแทนได้ตามควรแก่พฤติการณ์
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยละเมิดขอค่าเสียหายที่ถูกริบมัดจำหนึ่งหมื่นบาท เมื่อศาลเห็นว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดในเงินมัดจำที่โจทก์ถูกริบศาลจะพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายในการละเมิดแก่โจทก์หนึ่งพันบาทก็ได้ไม่เกินคำขอ
เมื่อมีการละเมิดขึ้นแล้ว ศาลย่อมวินิจฉัยให้จำเลยใช้ค่าสินไหมทดแทนได้ตามควรแก่พฤติการณ์
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยละเมิดขอค่าเสียหายที่ถูกริบมัดจำหนึ่งหมื่นบาท เมื่อศาลเห็นว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดในเงินมัดจำที่โจทก์ถูกริบศาลจะพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายในการละเมิดแก่โจทก์หนึ่งพันบาทก็ได้ไม่เกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7302/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายผิดนัด: สิทธิริบมัดจำและผลกระทบจาก พ.ร.บ.ข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม
เมื่อสัญญาจะซื้อจะขายกลายเป็นสัญญาที่มิได้กำหนดเวลาชำระหนี้ตามวันแห่งปฏิทินและจำเลยบอกกล่าวให้เวลาแก่โจทก์ชำระหนี้ภายในกำหนดเวลาใหม่โดยชอบ แต่โจทก์ไม่ปฏิบัติตาม โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาละเลยไม่ชำระหนี้ จำเลยย่อมมีสิทธิริบมัดจำได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 378 (2) และมีสิทธินำที่ดินไปเสนอขายบุคคลอื่นได้ ไม่ถือเป็นการตกลงเลิกสัญญาจะซื้อจะขายกับโจทก์โดยปริยายแต่อย่างใด พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 มาตรา 7 บัญญัติว่า ในสัญญาที่มีการให้สิ่งใดไว้เป็นมัดจำหากมีกรณีที่จะต้องริบมัดจำ ถ้ามัดจำนั้นสูงเกินส่วน ศาลจะลดให้ริบได้เพียงเท่าความเสียหายที่แท้จริงก็ได้ ซึ่งโจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกับจำเลยในราคา 1,400,000 บาท วางมัดจำไว้ 500,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 35.71 ของราคาที่ดิน เมื่อเทียบมัดจำกับราคาที่ซื้อขายกันแล้ว เห็นได้ว่าเป็นมัดจำที่สูงเกินส่วน เห็นควรลดมัดจำที่จะให้ริบลง โจทก์และจำเลยต่างมิได้นำสืบว่าความเสียหายแท้จริงที่จำเลยได้รับมีเพียงใด แต่เห็นว่าหากจำเลยขายและได้รับเงินค่าที่ดินจากโจทก์ย่อมนำเงินไปหาประโยชน์อย่างอื่นได้ เมื่อโจทก์ผิดสัญญาแล้ว จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกับผู้ซื้อรายใหม่ในราคา ที่ลดลง เห็นควรลดมัดจำที่จะให้ริบลงเหลือ 200,000 บาท ซึ่งเป็นจำนวนที่จำเลยน่าจะเสียหายจริงและจำเลยต้องคืนเงินมัดจำอีก 300,000 บาท แก่โจทก์ ปัญหาดังกล่าวเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายที่ให้อำนาจศาลในการพิจารณาคดีและเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ สำหรับเงินมัดจำที่จำเลยต้องคืนแก่โจทก์นั้น มิใช่กรณีที่จำเลยผิดนัดอันจะต้องชำระดอกเบี้ยตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ทั้งเป็นเหตุสืบเนื่องมาจากโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยจึงไม่ต้องชำระดอกเบี้ยในเงิน 300,000 บาท ที่ต้องคืนแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10316/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
มัดจำสัญญาซื้อขาย: การริบมัดจำเมื่อผู้ซื้อผิดสัญญา และหลักการไม่ถือว่าเป็นเบี้ยปรับ
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 377 บัญญัติว่า "เมื่อเข้าทำสัญญา ถ้าได้ให้สิ่งใดไว้เป็นมัดจำ ท่านให้ถือว่าการที่ให้มัดจำนั้นย่อมเป็นพยานหลักฐานว่าสัญญานั้นได้ทำกันขึ้นแล้ว อนึ่ง มัดจำนี้ย่อมเป็นประกันการที่จะปฏิบัติตามสัญญานั้นด้วย" เช่นนี้ ย่อมแสดงว่า มัดจำคือทรัพย์สินซึ่งได้ให้ไว้ในวันทำสัญญา เพื่อเป็นพยานหลักฐานว่าสัญญาจะซื้อขายได้ทำขึ้นแล้ว และเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญาโดยคู่สัญญามีเจตนาจัดเอาเป็นการใช้เงินบางส่วนเมื่อชำระหนี้ ซึ่งตามสัญญาจะซื้อขายหรือสัญญาวางมัดจำ ข้อ 4 ระบุว่า ถ้าผู้จะซื้อปฏิบัติผิดสัญญาไม่ไปรับโอน ให้ถือว่าสัญญานี้เป็นอันยกเลิก ผู้จะขายไม่จำต้องบอกกล่าว และผู้จะซื้อยินยอมให้ผู้จะขายริบมัดจำที่ชำระแล้วได้ทั้งหมด เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายปฏิบัติผิดสัญญา จำเลยย่อมริบมัดจำทั้งหมดได้ตามข้อสัญญาดังกล่าว โดยจำเลยไม่จำต้องนำสืบถึงความเสียหายที่ได้รับนั้น เพราะมัดจำมิใช่เบี้ยปรับ และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มิได้ให้อำนาจศาลที่จะลดมัดจำดังเช่นเบี้ยปรับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10288/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายเลิกกันเนื่องจากผู้ซื้อผิดนัด ไม่ไปรับโอนที่ดิน ผู้ขายมีสิทธิริบมัดจำและเรียกค่าเสียหาย
ป.วิ.พ. มาตรา 148 วรรคหนึ่ง บัญญัติไว้ว่า คดีที่ได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดแล้ว ห้ามมิให้คู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีก ในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ได้ความว่าคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 229/2536 ของศาลชั้นต้น ศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว และคู่ความในคดีแพ่งดังกล่าวกับคู่ความคดีนี้เป็นคู่ความเดียวกัน แต่ในเรื่องประเด็นข้อพิพาทนั้น ประเด็นวินิจฉัยในคดีเรื่องก่อนมีอยู่ว่า จำเลยทั้งหกผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเพราะจัดหาทางภาระจำยอมไม่ได้ภายในกำหนดตามสัญญาและโจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ก่อนหรือไม่ ต่างกับประเด็นวินิจฉัยในคดีเรื่องนี้ที่มีอยู่ว่า จำเลยทั้งหกผิดสัญญาจะซื้อขายที่ดินเพราะโอนขายที่ดินที่ตกลงจะขายตามสัญญาให้บุคคลภายนอกไปเสียก่อนหรือไม่ ดังนั้น แม้ประเด็นทั้งสองคดีจะเป็นเรื่องจำเลยทั้งหกผิดสัญญาจะซื้อขายหรือไม่คล้ายๆ กัน แต่ในเมื่อคดีนี้จะต้องวินิจฉัยเรื่องการผิดสัญญาโดยอาศัยเหตุที่ว่าจำเลยทั้งหกโอนขายที่ดินที่ตกลงจะขายให้บุคคลภายนอกไปมิได้อาศัยเหตุเรื่องจำเลยจัดหาทางภาระจำยอมไม่ไดอย่างในคดีก่อน ซึ่งเป็นเหตุใหม่ที่ไม่เกี่ยวข้องกับเหตุเดิม จึงมิใช่เป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 229/2536 ของศาลชั้นต้น