พบผลลัพธ์ทั้งหมด 51 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4257/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบเงินที่ได้จากการจำหน่ายยาเสพติด ต้องมีพยานหลักฐานยืนยันแหล่งที่มาของเงิน หากจำเลยปฏิเสธการจำหน่าย ศาลต้องฟังพยานหลักฐานอื่นประกอบ
จำเลยให้การรับสารภาพว่ามีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครอง เพื่อเสพ แต่ให้การปฏิเสธว่าไม่ได้จำหน่ายเมทแอมเฟตามีน ตามที่โจทก์ฟ้อง มีผลเท่ากับจำเลยให้การปฏิเสธรวมไปถึง เงินจำนวน 800 บาท ที่โจทก์อ้างว่าจำเลยได้มาจากการจำหน่าย เมทแอมเฟตามีนจำนวนอื่นด้วยนั่นเอง รูปคดีทำให้โจทก์ มีหน้าที่ต้องนำพยานหลักฐานมานำสืบให้ได้ความชัดว่าเงินจำนวน 800 บาท นั้นจำเลยได้มาจากการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน จำนวนอื่นจริงดังที่โจทก์อ้าง แต่โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานอื่นใด นอกจากอ้างถึงคำรับของจำเลยในชั้นจับกุมและสอบสวนเท่านั้น ซึ่งข้ออ้างของโจทก์ดังกล่าวจำเลยได้ให้การปฏิเสธ และเบิกความปฏิเสธในชั้นพิจารณาสืบพยานจำเลยทั้งสิ้น โดยที่โจทก์ไม่สามารถถามค้านเพื่อให้เห็นเป็นอย่างอื่นได้ เพียงเท่านี้คดีโจทก์ยังฟังไม่ได้ว่าเงินจำนวน 800 บาท เป็นเงินที่จำเลยได้มาจากการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน จำนวนอื่นดังที่โจทก์อ้าง จึงริบไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2617/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบเงินที่ได้จากการกระทำผิด: ศาลมีอำนาจริบเงินที่ได้จากการจำหน่ายเฮโรอีน แม้ไม่ได้ฟ้องฐานจำหน่าย
วันเกิดเหตุเจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยทั้งสองและยึดเฮโรอีนกับสิ่งของอุปกรณ์อื่น ๆ ที่จำเลยที่ 1ใช้แบ่งบรรจุเฮโรอีนเพื่อจำหน่ายกับเงินสดของกลางที่จำเลยที่ 2 มาขอซื้อเฮโรอีนและส่งมอบให้แก่จำเลยที่ 1 ไว้ก่อนที่เจ้าพนักงานตำรวจจะเข้าจับกุมจำเลย ดังนี้ เงินสดของกลางจึงเป็นทรัพย์สินซึ่งจำเลยที่ 1 ได้มา โดยได้กระทำความผิดเพราะการจำหน่ายเฮโรอีนซึ่งเป็นการ กระทำที่ผิดกฎหมาย ทั้งคดีนี้โจทก์ได้ฟ้องจำเลยทั้งสอง ในข้อหาผลิตเฮโรอีนและมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย แม้เงินสดของกลางจะไม่ถือเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ ยานพาหนะ หรือวัตถุอื่น ซึ่งบุคคลได้ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ ฯลฯ อันศาลจะมีอำนาจริบได้ตามมาตรา 102 แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522ซึ่งเป็นบทเฉพาะก็ตาม แต่เมื่อเงินสดของกลางจำเลยที่ 1ได้มาโดยการจำหน่ายเฮโรอีน จึงเป็นเงินที่ได้มาจากการกระทำผิดโดยตรง ศาลย่อมก็มีอำนาจริบเงินสดของกลางนี้ได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1159/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร่วมกันกระทำผิดยาเสพติด: จำเลยที่ 2 ไม่มีความผิดฐานร่วมกระทำความผิด และการริบเงินจากการจำหน่ายยาเสพติด
เจ้าพนักงานตำรวจแอบดูเห็นจำเลยที่ 1 ยืนพูดโทรศัพท์ จำเลยที่ 2 ยืนอยู่กลางห้อง เจ้าพนักงานตำรวจเคาะประตู ให้เปิดประตู จำเลยที่ 2 ตะโกนบอกจำเลยที่ 1 ว่า "ตำรวจมา" แล้วจำเลยที่ 1 หยิบถุงพลาสติกเข้าไปในห้องน้ำและ ทิ้งถุงพลาสติก 11 ถุงที่ภายในบรรจุเมทแอมเฟตามีนลงในโถส้วม ขณะนั้นจำเลยที่ 2 เดินเข้าไปในห้องนอนไม่ได้เข้าไปมีส่วน ช่วยเหลือจำเลยที่ 1 ในการซุกซ่อนหรือทำลายเมทแอมเฟตามีน หรือช่วยปกปิดการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 การที่ จำเลยที่ 2 ตะโกนว่า "ตำรวจมา" ไม่ได้หมายความว่า จำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1 กระทำความผิด เพราะเป็นการ ตะโกนบอกไปตามความเป็นจริง และไม่พบสิ่งผิดกฎหมายใด ๆจากจำเลยที่ 2 ทั้งจำเลยที่ 2 ให้การปฏิเสธตลอดมา จำเลยที่ 2 จึงไม่ได้ร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 เจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยพร้อมยึดได้เมทแอมเฟตามีนและเงินสดจำนวน 3,500 บาท จำเลยรับว่าได้เงินดังกล่าวมาจากการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนก่อนที่ถูกจับในคดีนี้เงินสดดังกล่าวเป็นทรัพย์สินที่จำเลยได้มาโดยการกระทำความผิดกฎหมายแม้จะไม่ได้มาโดยการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน ในคดีนี้โดยตรงก็ตาม ศาลก็มีอำนาจริบเงินสดดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6776/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผิดสัญญาซื้อขายและการริบเงินค่าที่ดิน: ข้อตกลงริบเงินไม่ใช่เบี้ยปรับ
โจทก์กับจำเลยทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างกันตามสัญญาจะซื้อขายเอกสารหมาย จ.1 ซึ่งในสัญญาดังกล่าวข้อ 2 ระบุว่า คู่สัญญาได้ตกลงราคาที่จะซื้อขายกันคิดเป็นเงินรวมทั้งสิ้น 1,750,000 บาท โดยในวันทำสัญญานี้ (วันที่ 9 ธันวาคม 2537) ผู้ซื้อได้วางมัดจำไว้จำนวน 250,000 บาท ซึ่งผู้ขายจะได้รับเงินจำนวนดังกล่าวไว้ถูกต้องครบถ้วนแล้ว และผู้ซื้อตกลงจะชำระเงินอีก800,000 บาท ภายในวันที่ 1 มิถุนายน 2538 และสัญญาข้อ 3 ระบุว่า เงินส่วนที่เหลือจำนวน 700,000 บาท คู่สัญญาตกลงจะชำระกันในวันที่ 1 ธันวาคม 2538และผู้ขายตกลงจะไปทำการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามสัญญานี้ให้แก่ผู้ซื้อในวันเดียวกับที่ผู้ซื้อชำระราคาที่ดินส่วนที่เหลือดังกล่าว ต่อมาปรากฏว่าโจทก์ผิดสัญญาโดยชำระเงินงวดที่ 2 ให้จำเลยเพียง 100,000 บาท รวมเป็นเงินที่โจทก์ชำระให้จำเลยไปทั้งสิ้น 350,000 บาท นอกจากนี้สัญญาจะซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยดังกล่าวมีข้อตกลงด้วยว่า หากโจทก์ผิดสัญญาข้อใดข้อหนึ่งให้จำเลยริบเงินค่าที่ดินที่ชำระไว้แล้วทั้งหมดด้วย จึงเห็นได้ว่าตามสัญญาจะซื้อขายข้อ 2 และ ข้อ 3 ดังกล่าวโจทก์กับจำเลยตกลงแบ่งชำระราคาที่ดินเป็น 3 งวด งวดแรกกำหนดชำระในวันทำสัญญาจำนวน 250,000 บาท โดยให้ถือเป็นมัดจำด้วย ส่วนงวดที่ 2 จำนวน800,000 บาท และงวดที่ 3 จำนวน 700,000 บาท จะชำระในภายหลัง ดังนี้จึงถือว่ามีการวางเงินมัดจำตามสัญญาดังกล่าวเพียง 250,000 บาท เท่านั้น
ข้อตกลงในสัญญาจะซื้อขายฉบับพิพาทมีลักษณะเป็นเพียงข้อสัญญากำหนดจำนวนเงินค่าที่ดินที่เหลือที่โจทก์จะต้องชำระให้แก่จำเลยเป็นงวด ๆ ตามกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้ล่วงหน้าเท่านั้น ไม่แน่ว่าเมื่อถึงกำหนดเวลาชำระเงินแต่ละงวดโจทก์จะชำระเงินให้จำเลยครบถ้วนหรือชำระมากน้อยเพียงใด ดังนี้แม้จะมีข้อสัญญาว่าหากโจทก์ผิดสัญญาข้อใดข้อหนึ่งให้จำเลยริบเงินค่าที่ดินที่ชำระไว้แล้วทั้งหมดได้ แต่ก็หาได้มีลักษณะเป็นการกำหนดจำนวนเงินค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าอันจะถือเป็นเบี้ยปรับได้ไม่ ดังนี้ เงินตามข้อตกลงในสัญญาจำนวนดังกล่าวจึงมิใช่เป็นเบี้ยปรับที่ศาลจะมีอำนาจลดลงได้ หากแต่เป็นเงินค่าที่ดินส่วนหนึ่งที่โจทก์ชำระให้แก่จำเลยตามสัญญา ซึ่งเมื่อข้อสัญญาให้สิทธิจำเลยริบเงินค่าที่ดินที่โจทก์ชำระไว้แล้วได้หากโจทก์ผิดสัญญาและปรากฏว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยย่อมชอบที่จะริบเงินจำนวน 100,000 บาท ได้ทั้งหมดตามข้อสัญญาที่โจทก์ตกลงกับจำเลยไว้
ข้อตกลงในสัญญาจะซื้อขายฉบับพิพาทมีลักษณะเป็นเพียงข้อสัญญากำหนดจำนวนเงินค่าที่ดินที่เหลือที่โจทก์จะต้องชำระให้แก่จำเลยเป็นงวด ๆ ตามกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้ล่วงหน้าเท่านั้น ไม่แน่ว่าเมื่อถึงกำหนดเวลาชำระเงินแต่ละงวดโจทก์จะชำระเงินให้จำเลยครบถ้วนหรือชำระมากน้อยเพียงใด ดังนี้แม้จะมีข้อสัญญาว่าหากโจทก์ผิดสัญญาข้อใดข้อหนึ่งให้จำเลยริบเงินค่าที่ดินที่ชำระไว้แล้วทั้งหมดได้ แต่ก็หาได้มีลักษณะเป็นการกำหนดจำนวนเงินค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าอันจะถือเป็นเบี้ยปรับได้ไม่ ดังนี้ เงินตามข้อตกลงในสัญญาจำนวนดังกล่าวจึงมิใช่เป็นเบี้ยปรับที่ศาลจะมีอำนาจลดลงได้ หากแต่เป็นเงินค่าที่ดินส่วนหนึ่งที่โจทก์ชำระให้แก่จำเลยตามสัญญา ซึ่งเมื่อข้อสัญญาให้สิทธิจำเลยริบเงินค่าที่ดินที่โจทก์ชำระไว้แล้วได้หากโจทก์ผิดสัญญาและปรากฏว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยย่อมชอบที่จะริบเงินจำนวน 100,000 บาท ได้ทั้งหมดตามข้อสัญญาที่โจทก์ตกลงกับจำเลยไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6776/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบเงินค่าที่ดินเมื่อผิดสัญญา: ข้อตกลงริบเงินไม่ถือเป็นเบี้ยปรับ
โจทก์กับจำเลยทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างกันตามสัญญาจะซื้อขายเอกสารหมาย จ.1 ซึ่งในสัญญาดังกล่าวข้อ 2 ระบุว่า คู่สัญญาได้ตกลงราคาที่จะซื้อขายกันคิดเป็นเงินรวมทั้งสิ้น 1,750,000 บาท โดยในวันทำสัญญานี้(วันที่ 9 ธันวาคม 2537) ผู้ซื้อได้วางมัดจำไว้จำนวน250,000 บาท ซึ่งผู้ขายจะได้รับเงินจำนวนดังกล่าวไว้ถูกต้องครบถ้วนแล้ว และผู้ซื้อตกลงจะชำระเงินอีก800,000 บาท ภายในวันที่ 1 มิถุนายน 2538 และสัญญาข้อ 3ระบุว่า เงินส่วนที่เหลือจำนวน 700,000 บาท คู่สัญญาตกลง จะชำระกันในวันที่ 1 ธันวาคม 2538 และผู้ขายตกลงจะไปทำการ จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามสัญญานี้ให้แก่ผู้ซื้อ ในวันเดียวกับที่ผู้ซื้อชำระราคาที่ดินส่วนที่เหลือดังกล่าว ต่อมาปรากฏว่าโจทก์ผิดสัญญาโดยชำระเงินงวดที่ 2 ให้จำเลย เพียง 100,000 บาท รวมเป็นเงินที่โจทก์ชำระให้จำเลย ไปทั้งสิ้น 350,000 บาท นอกจากนี้สัญญาจะซื้อขายระหว่างโจทก์ กับจำเลยดังกล่าวมีข้อตกลงด้วยว่า หากโจทก์ผิดสัญญาข้อใดข้อหนึ่งให้จำเลยริบเงินค่าที่ดินที่ชำระไว้แล้วทั้งหมดด้วย จึงเห็นได้ว่าตามสัญญาจะซื้อขายข้อ 2 และข้อ 3ดังกล่าว โจทก์กับจำเลยตกลงแบ่งชำระราคาที่ดินเป็น 3 งวดงวดแรกกำหนดชำระในวันทำสัญญาจำนวน 250,000 บาทโดยให้ถือเป็นมัดจำด้วย ส่วนงวดที่ 2 จำนวน 800,000 บาทและงวดที่ 3 จำนวน 700,000 บาท จะชำระในภายหลัง ดังนี้ จึงถือว่ามีการวางเงินมัดจำตามสัญญาดังกล่าวเพียง250,000 บาท เท่านั้น ข้อตกลงในสัญญาจะซื้อขายฉบับพิพาทมีลักษณะเป็นเพียงข้อสัญญากำหนดจำนวนเงินค่าที่ดินที่เหลือที่โจทก์จะต้องชำระให้แก่จำเลยเป็นงวด ๆ ตามกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้ล่วงหน้า เท่านั้น ไม่แน่ว่าเมื่อถึงกำหนดเวลาชำระเงินแต่ละงวดโจทก์จะชำระเงินให้จำเลยครบถ้วนหรือชำระมากน้อยเพียงใดดังนี้แม้จะมีข้อสัญญาว่าหากโจทก์ผิดสัญญาข้อใดข้อหนึ่งให้จำเลยริบเงินค่าที่ดินที่ชำระไว้แล้วทั้งหมดได้แต่ก็หาได้มีลักษณะเป็นการกำหนดจำนวนเงินค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าอันจะถือเป็นเบี้ยปรับได้ไม่ ดังนี้เงินตามข้อตกลงในสัญญาจำนวนดังกล่าวจึงมิใช่เป็นเบี้ยปรับที่ศาลจะมีอำนาจลดลงได้ หากแต่เป็นเงินค่าที่ดินส่วนหนึ่งที่โจทก์ชำระให้แก่จำเลยตามสัญญา ซึ่งเมื่อข้อสัญญาให้สิทธิจำเลยริบเงินค่าที่ดินที่โจทก์ชำระไว้แล้วได้หากโจทก์ผิดสัญญาและปรากฏว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาจำเลยย่อมชอบที่จะริบเงินจำนวน 100,000 บาท ได้ทั้งหมดตามข้อสัญญาที่โจทก์ตกลงกับจำเลยไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6381/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการริบเงินมัดจำและเงินค่าส้มโอเมื่อผู้ซื้อผิดสัญญาซื้อขาย
โจทก์ทำสัญญาซื้อส้มโอพันธุ์ทองดีจากจำเลย 50,000 ผล ในราคา 1,700,000 บาท โจทก์ชำระเงินมัดจำให้จำเลย 150,000 บาท ในวันทำสัญญาอันเป็นการปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายข้อ 3 ซึ่งกำหนดไว้ว่า "ผู้ซื้อจ่ายเงินมัดจำให้ 150,000 บาท (หนึ่งแสนห้าหมื่นบาทถ้วน) ในวันที่ 23 สิงหาคม 2536Mr.TU I HUI จะมาดูของ ถ้ามีส้มโอ Mr.TU I HUI จะทำการโอนเงินจำนวน1,000,000 บาท (หนึ่งล้านบาทถ้วน) ให้กับผู้ขายทันทีเมื่อส้มโอเข้าตู้คอนเทนเนอร์เรียบร้อยแล้ว เงินส่วนที่เหลือจะจ่ายเป็นเงินสดทันทีทั้งหมด" ดังนี้เงินจำนวน1,000,000 บาท ที่กำหนดไว้ในสัญญาดังกล่าวจึงเป็นเงินที่โจทก์จะต้องชำระหนี้ค่าส้มโอบางส่วนล่วงหน้าให้แก่จำเลย ครั้นเมื่อโจทก์ได้ชำระเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่จำเลยแล้ว จำเลยย่อมมีสิทธิริบเงินจำนวนดังกล่าวพร้อมด้วยเงินมัดจำได้หากโจทก์ไม่มารับส้มโอตามกำหนดเวลาในสัญญา ดังที่กำหนดไว้ในสัญญาซื้อขายข้อ 6 ที่ว่า "ถ้าผู้ซื้อไม่มารับส้มโอตามกำหนดเวลาในสัญญา ผู้ขายมีสิทธิริบเงินจำนวน 1,150,000 บาท (หนึ่งล้านหนึ่งแสนห้าหมื่นบาทถ้วน)" กรณีเงินจำนวน1,000,000 บาท ที่โจทก์ชำระหนี้ให้แก่จำเลยนั้นเป็นเงินที่โจทก์ชำระหนี้บางส่วนโดยมุ่งต่อผลกล่าวคือ ให้จำเลยจัดหาส้มโอที่มีคุณภาพตามจำนวนในสัญญามาขายให้แก่โจทก์ จึงเป็นเงินล่วงหน้าไม่ใช่ลักษณะเป็นเบี้ยปรับ ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 379 แต่เป็นข้อตกลงตามสัญญาซื้อขายที่ว่า ในกรณีที่โจทก์ไม่มารับส้มโอภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ ให้จำเลยมีสิทธิริบเงินค่าส้มโอบางส่วนที่โจทก์ได้ชำระไว้แล้ว หาใช่เงินที่จำเลยมีสิทธิที่จะเรียกจากโจทก์หากโจทก์ผิดนัดผิดสัญญาอันจะถือเป็นค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้า เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา กล่าวคือเมื่อถึงกำหนดวันที่ส่งมอบส้มโอและจำเลยได้จัดหาส้มโอเพื่อส่งมอบแก่โจทก์ตามสัญญาแล้ว แต่โจทก์ไม่มารับส้มโอเพราะโจทก์ไม่สามารถจัดหาตู้ส่งสินค้าทางเรือมารับส้มโอตามสัญญา อีกทั้งยังบอกเลิกการซื้อส้มโอจากจำเลยเสียเช่นนี้ จำเลยจึงมีสิทธิริบเงินจำนวนนี้ได้ตามสัญญาซื้อขาย โจทก์ไม่มีสิทธิอันใดที่จะได้รับเงินจำนวนนี้แม้เพียงบางส่วนคืนจากจำเลย เมื่อเงินจำนวนนี้มิใช่เบี้ยปรับ ศาลย่อมไม่มีอำนาจใช้ดุลพินิจลดจำนวนลงตาม ป.พ.พ.มาตรา 383 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6293/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบเงินจากความผิดยาเสพติด: ศาลมีอำนาจริบทรัพย์สินที่ได้จากการกระทำผิด แม้ไม่ได้ระบุในคำฟ้อง
เงินสดของกลางจำนวน 2,860 บาท เป็นเงินที่จำเลย ได้มาจากการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน แก่บุคคลอื่นก่อนกระทำความผิดคดีนี้ เงินสดของกลางจำนวน 2,860 บาทจึงเป็นทรัพย์สินที่จำเลยได้มาโดยได้กระทำความผิดเพราะการขายเมทแอมเฟตามีนเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายทั้งคดีนี้โจทก์ได้ฟ้องจำเลยในข้อหาจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนแม้ศาลจะไม่มีอำนาจสั่งริบเงินสดของกลางจำนวน2,860 บาท ตามบทบัญญัติแห่ง พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษพ.ศ. 2522 มาตรา 102 ซึ่งเป็นบทเฉพาะเนื่องจากเงินสดดังกล่าวมิใช่เครื่องมือเครื่องใช้ยานพาหนะหรือวัตถุอื่นที่จำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษก็ตาม แต่เงินสดของกลางดังกล่าวจำเลยได้มาจากการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน แม้จะไม่ได้มาโดยการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนในคดีนี้โดยตรงก็ตามศาลก็มีอำนาจริบเงินสด ของกลางจำนวน 2,860 บาท ได้ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33(2) แม้โจทก์จะมิได้ระบุมาตราดังกล่าวมาในคำขอท้ายฟ้อง แต่เมื่อเป็นอำนาจของศาลการสั่งริบของกลางดังกล่าวจึงหาเป็นการสั่งเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้องอันเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติมาตรา 192 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2070/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบเงินที่ได้จากการกระทำผิด แม้ไม่ใช่เงินที่ได้จากการกระทำผิดในคดีปัจจุบัน ศาลมีอำนาจริบได้ตามประมวลกฎหมายอาญา
ธนบัตรของกลางจำนวน 700 บาท เป็นเงินที่จำเลยได้จากการขายเมทแอมเฟตามีนก่อนหน้าที่จะถูกจับ กรณีจึงเป็นทรัพย์สินที่จำเลยได้มาโดยได้กระทำความผิด ทั้งคดีนี้โจทก์ได้ฟ้องจำเลยในข้อหามีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขายและขายเมทแอมเฟตามีน แม้ศาลจะไม่มีอำนาจสั่งริบเงินสดของกลางจำนวน 700 บาท ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษพ.ศ. 2522 มาตรา 102 ซึ่งเป็นบทเฉพาะก็ตาม และแม้ธนบัตรของกลางจะไม่ได้มาโดยการขายเมทแอมเฟตามีนในคดีนี้โดยตรงก็ตาม ศาลก็มีอำนาจริบได้ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 33(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9675/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินชำระค่าที่ดินตามสัญญาจะซื้อจะขาย ไม่ใช่เบี้ยปรับ แม้มีข้อตกลงให้ริบเงินได้เมื่อผิดสัญญา
เบี้ยปรับคือค่าเสียหายจำนวนหนึ่งที่คู่สัญญากำหนดไว้ล่วงหน้าอันอาจจะมีหรือเกิดขึ้นเนื่องจากคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดสัญญาเพื่อให้ฝ่ายที่ผิดสัญญาชดใช้ให้แก่ฝ่ายที่มิได้ผิดสัญญาเงินจำนวน30,000,000บาทที่จำเลยได้รับไว้จากโจทก์ตามสัญญาจะซื้อจะขายเป็นเงินที่โจทก์และจำเลยตกลงกันให้เป็นส่วนหนึ่งของเงินชำระราคาที่ดินที่จะซื้อจะขายกันจึงไม่มีลักษณะเป็นเบี้ยปรับและเมื่อมีข้อกำหนดไว้ในสัญญาจะซื้อจะขายว่าหากโจทก์ผิดสัญญาโจทก์ยินยอมให้บรรดาเงินที่ได้ชำระแล้วตกเป็นของจำเลยทั้งสิ้นซึ่งปรากฎว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาจำเลยจึงมีสิทธิริบเงินจำนวน300,000,000บาทนี้ได้ตามสัญญาจะซื้อจะขาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5925/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษจำเลยคดียาเสพติดซ้ำ และอำนาจศาลในการริบเงินที่ไม่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิด
ผู้ที่จะได้รับการล้างมลทินตามพระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระชนม์พรรษา 60 พรรษา พ.ศ. 2530 มาตรา 4 คือ ผู้ได้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับ แต่จำเลยยังไม่พ้นโทษในวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับ จึงไม่ได้รับผลจากพระราชบัญญัติดังกล่าว เมื่อจำเลยพ้นโทษฐานมียาเสพติดให้โทษไว้ในครอบครองมายังไม่เกินห้าปี กลับมากระทำผิดฐานจำหน่ายเฮโรอีนอีกจึงต้องเพิ่มโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522มาตรา 97 โจทก์ฟ้องว่า จำเลยมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายมิได้ฟ้องว่าจำเลยจำหน่ายเฮโรอีน เงินสดของกลางไม่ใช่ทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดในคดีนี้ จึงมิใช่ทรัพย์สินที่ได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดหรือได้มาโดยการกระทำความผิดในคดีนี้ ศาลจึงไม่มีอำนาจสั่งริบเงินสดของกลางที่ศาลล่างทั้งสองสั่งริบเงินสดของกลางด้วยจึงไม่ชอบ แม้จำเลยไม่ได้ฎีกาปัญหานี้แต่เนื่องจากเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้