คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ริบเงินมัดจำ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 16 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 116/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบเงินมัดจำสัญญาเช่า: ผู้เช่าเลิกสัญญาก่อนกำหนดด้วยเหตุผลที่ไม่ได้ตกลงกันไว้ จำเลยมีสิทธิริบเงินมัดจำได้
โจทก์เช่าบ้านจากจำเลยมีกำหนด 3 ปี สัญญาเช่าข้อ3 มีข้อความว่า'ผู้เช่า(โจทก์)ได้ชำระเงินค่ามัดจำก่อนทำสัญญาเป็นจำนวน 9,000 บาท ให้ผู้ให้เช่ายึดถือไว้และผู้ให้เช่าจะคืนเงินมัดจำครบตามจำนวนให้แก่ผู้ให้เช่าในเมื่อสัญญาสิ้นสุดลงฯลฯ' ดังนี้ เห็นได้ว่า จำเลยจะต้องคืนเงินมัดจำให้โจทก์ต่อเมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดลง คือเมื่อโจทก์เช่าบ้านจำเลยครบกำหนด 3 ปี แต่โจทก์เช่าบ้านจำเลยได้เพียง 3 เดือน ก็มีหนังสือบอกเลิกการเช่าไปยังจำเลยโดยอ้างเหตุผลว่า โจทก์(สมาคม)ได้ขออนุญาตต่อทางราชการตำรวจหลายวันแล้วแต่มิได้รับอนุญาตให้สมาคมย้ายไปอยู่ที่บ้านจำเลยได้ขอเลิกสัญญาเช่าซึ่งข้ออ้างดังกล่าวโจทก์จำเลยไม่ได้ตกลงกันไว้ในสัญญาโจทก์จะสืบเพิ่มเติมสัญญาเช่าไม่ได้ การที่โจทก์เลิกสัญญาก่อนครบกำหนด จึงเป็นความผิดของโจทก์ และเป็นการผิดสัญญาเช่าข้อ 3 จำเลยมีสิทธิริบเงินมัดจำได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 378(2) เพราะเป็นเงินมัดจำในการที่โจทก์จะต้องปฏิบัติตามสัญญาเช่าสิทธิของจำเลยที่จะริบเงินมัดจำของโจทก์ เกิดจากการที่โจทก์เลิกสัญญาโดยความผิดของโจทก์ซึ่งกฎหมายดังกล่าวบัญญัติให้จำเลยริบได้ไว้แล้วโจทก์จำเลยไม่จำต้องตกลงในเรื่องริบนี้อีก ตามสัญญาข้อ 3 ถือว่า โจทก์จำเลยตกลงกันแล้วว่าจำเลยจะคืนเงินมัดจำให้โจทก์ต่อเมื่อโจทก์ไม่ได้ผิดสัญญาเมื่อโจทก์ผิดสัญญา จำเลยจึงมีสิทธิริบเงินมัดจำได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 166/2478

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผิดนัดชำระหนี้และการริบเงินมัดจำ: พฤตติการณ์ที่ไม่สามารถอ้างเป็นเหตุไม่ต้องรับผิด
อย่างไรไม่เรียกว่าเป็นพฤตติการณ์ที่ลูกหนี้จะไม่ต้องรับผิดชอบตามมาตรา 205 ลูกหนี้ต้องคุมขังอยู่แต่ยังมีโอกาศที่จะติดต่อกับเจ้าหนี้ได้ ดังนี้ เมื่อลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้เจ้าหนี้รับเงินมัดจำได้ เงินล่วงหน้าในการซื้อขายเป็นเงินมัดจำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 324-325/2477

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผิดสัญญาเช่าเหมืองเนื่องจากไม่ทำประโยชน์ในเหมืองทั้งหมดตามกำหนด และการริบเงินมัดจำ
แปลสัญญา มัดจำ เช่าทรัพย์ เช่าเหมืองทำ 2 แปลงในสัญญาใช้คำว่า "เหมืองรายนี้" คิดค่าเช่าจากจำนวนแร่ที่ขุดได้ ผู้เช่าทำแต่เหมืองเล็ก ไม่ทำเหมืองใหญ่ในกำหนดเวลา ถือว่าทำผิดสัญญาในข้อสัญญาไม่ปรากฎว่าให้เช่าช่วงให้ ผู้เช่าจะเอาไปให้เช่าช่วงไม่ได้ เงินมัดจำที่ให้ไว้เป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญานั้นเมื่อทำผิดสัญญาก็ริบได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15794/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกเงินเพิ่มเติมจากผู้ซื้อทอดตลาดหลังมีคำร้องเพิกถอน และอำนาจริบเงินมัดจำที่ไม่ชอบ
ตามคำสั่งกรมบังคับคดีที่ 333/2551 เรื่องการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจำหน่ายทรัพย์สิน เมื่อมีผู้ยื่นคำร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาด ไม่มีข้อกำหนดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเรียกให้ผู้ซื้อทรัพย์วางเงินให้ครบร้อยละ 5.5 ของราคาที่ซื้อทรัพย์ได้จากการขายทอดตลาด ส่วนในข้อ 14 ของคำสั่งดังกล่าวที่ว่า "ในกรณีมีการขอเพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์สิน หากผู้ซื้อประสงค์จะได้รับเงินคืน ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีคืนเงินแก่ผู้ซื้อ โดยเหลือไว้ร้อยละ 5.5 ของราคาที่ซื้อขาย" เป็นเรื่องการขอคืนเงิน มิใช่เป็นการให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีเรียกเงินจากผู้ซื้อทรัพย์เพิ่มเติมให้ครบร้อยละ 5.5 ประกอบกับคู่มือการนำระเบียบ คำสั่ง กฎหมาย มาใช้กับการบังคับคดีแพ่งได้ให้คำอธิบายว่า "กรณีมีผู้ร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดนั้น ผู้ซื้อไม่ต้องวางเงิน หากมีการชำระราคาครบถ้วนหรือวางมัดจำเกินร้อยละ 5.5 ของราคาซื้อขาย ให้คืนเงินส่วนเกิน คงเหลือไว้ร้อยละ 5.5" ดังนั้น เมื่อผู้ซื้อทรัพย์ยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีขอชะลอการชำระราคาที่ดินส่วนที่เหลือ เนื่องจากจำเลยทั้งสี่ยื่นคำร้องขอเพิกถอนการขายตลาดที่ดินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายแก่ผู้ซื้อทรัพย์ แต่เจ้าพนักงานบังคับคดีกลับมีคำสั่งให้ผู้ซื้อทรัพย์วางเงินให้ครบร้อยละ 5.5 ของราคาที่ดินที่ซื้อได้ จึงไม่ชอบ เพราะเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่มีอำนาจเรียกให้ผู้ซื้อทรัพย์ชำระเงินให้ครบร้อยละ 5.5 ของราคาซื้อดังกล่าวได้ ส่วนการที่ผู้ซื้อทรัพย์ไม่ชำระเงินให้ครบร้อยละ 5.5 ตามคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีและเจ้าพนักงานบังคับคดีมีคำสั่งริบเงินมัดจำ จำนวน 2,000,000 บาท แล้วประกาศให้ขายทอดตลาดใหม่นั้น ระเบียบกรมบังคับคดีข้อ 12 กำหนดว่า กรณีที่ผู้ซื้อทรัพย์ไม่ชำระราคาทรัพย์ส่วนที่เหลือภายในกำหนด เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจริบมัดจำ แต่กรณีนี้ไม่ใช่เป็นการชำระราคาทรัพย์ส่วนที่เหลือ แต่เป็นกรณีเรียกให้ผู้ซื้อทรัพย์วางเงินให้ครบร้อยละ 5.5 ของราคาซื้อ จึงหมายความว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจริบเงินมัดจำ หากเรียกให้ผู้ซื้อทรัพย์ชำระราคาส่วนที่เหลือ แล้วไม่ปฏิบัติตาม เมื่อกรณีนี้มีการร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาด แล้วผู้ซื้อทรัพย์มีสิทธิขอคืนเงินได้ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อ 14 ทั้งยังไม่แน่นอนว่า เมื่อมีผู้ยื่นคำร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาดแล้ว ผู้ซื้อทรัพย์จะได้ซื้อทรัพย์ตามที่ประมูลหรือไม่ จึงไม่มีเหตุให้เจ้าพนักงานบังคับคดีริบเงินมัดจำของผู้ซื้อทรัพย์ดังกล่าว คำสั่งเจ้าพนักงานบังคับคดีที่ให้ริบเงินมัดจำและสั่งให้ขายทอดตลาดใหม่จึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8755/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประมูลขายทรัพย์สิน: สิทธิในการริบเงินมัดจำและเรียกค่าเสียหายเมื่อผู้ชนะไม่ชำระราคา
บทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา 516 เป็นเพียงการกำหนดความรับผิดชอบชดใช้เงินส่วนที่ขาดไปหากนำทรัพย์สินนั้นออกขายซ้ำอีกครั้งหนึ่งแล้วได้เงินไม่คุ้มราคาและค่าขายทอดตลาดชั้นเดิมเท่านั้น มิได้บังคับว่าจะต้องทำการขายทอดตลาดทรัพย์สินใหม่อีกครั้งหนึ่งเสมอไป เพราะเมื่อพิจารณาตาม ป.พ.พ. มาตรา 510 ประกอบด้วยแล้วจะเห็นว่า ผู้ทอดตลาดสามารถกำหนดหลักเกณฑ์ในคำโฆษณาบอกขายและตามความข้ออื่น ๆ ก็ได้ โดยโจทก์ได้ประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ให้จำเลยและบุคคลอื่นที่เข้าประมูลซื้อทรัพย์สินของโจทก์ทราบก่อนแล้ว และจำเลยก็ได้ลงลายมือชื่อรับทราบข้อกำหนดดังกล่าวของโจทก์และจำเลยจะปฏิบัติตามข้อกำหนดของโจทก์ทุกประการตามใบเสนอราคาทรัพย์สินของจำเลย เมื่อจำเลยในฐานะผู้ชนะการประมูลราคาทรัพย์สินของโจทก์เพราะจำเลยเป็นผู้ให้ราคาสูงสุด แต่จำเลยไม่ชำระราคาทรัพย์สินภายในเวลาที่กำหนดจึงถือว่าจำเลยสละสิทธิในการประมูลดังกล่าวและโจทก์มีสิทธิริบเงินมัดจำซองกับมีสิทธิให้ ช. ผู้ให้ราคาประมูลสูงสุดเป็นอันดับที่สอง เป็นผู้ชนะการประมูลทรัพย์สินของโจทก์ต่อไปและโจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชดใช้เงินส่วนต่างที่โจทก์ควรจะได้รับจากจำเลยอีกด้วย เพราะการที่โจทก์ประกาศข้อกำหนดการประมูลราคาทรัพย์สินโดยไม่ได้ประกาศอีกครั้งหนึ่งนั้นเป็นข้อสัญญาเฉพาะรายที่กำหนดขึ้นไว้เพื่อประโยชน์แก่การประมูลขายทรัพย์สินเท่านั้น ข้อกำหนดดังกล่าวไม่ขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 516 และไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8283/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจองซื้อขายผิดนัดชำระเงิน จำเลยมีสิทธิริบเงินมัดจำและเบี้ยปรับตามสัญญา
โจทก์ทั้งสองผิดนัดไม่ชำระค่างวดตามกำหนด จำเลยได้มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทั้งสองชำระเงินค่างวดที่ 17 และที่ 18 ภายในวันที่ 20 มิถุนายน 2541 แล้ว นับว่าเป็นการให้โอกาสโจทก์ทั้งสองในการปฏิบัติตามสัญญา ถือเป็นการกำหนดเวลาให้คู่สัญญาชำระหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 387 แล้ว เมื่อโจทก์ทั้งสองไม่ชำระเงินค่างวดตามกำหนดรวม 2 งวดติดต่อกันและจำเลยได้บอกกล่าวให้โจทก์ทั้งสองปฏิบัติตามสัญญาแล้ว แต่โจทก์ทั้งสองเพิกเฉย จึงถือว่าโจทก์ทั้งสองเป็นฝ่ายผิดสัญญา สัญญาจองเพื่อจะซื้อขายที่ดินและโรงเรือนจึงเป็นอันเลิกกัน จำเลยมีสิทธิริบเงินมัดจำได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 378 (2) เมื่อจำเลยบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์ทั้งสองเนื่องจากโจทก์ทั้งสองผิดสัญญาแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่ง แต่ปรากฏว่าโจทก์ทั้งสองได้ชำระเงินค่าบ้านและที่ดินบางส่วนและเงินค่าอุปกรณ์เพิ่มเติมเพื่อตกแต่งบ้านให้แก่จำเลยก่อนที่สัญญาจะเลิกกัน การที่โจทก์ทั้งสองและจำเลยตกลงกันตามสัญญาว่าหากผู้จองผิดนัดไม่ชำระราคา ฯลฯ รวม 2 งวด ฯลฯ เมื่อผู้รับจองใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาแล้ว ให้ผู้รับจองมีสิทธิริบเงินมัดจำและเงินที่ผ่อนชำระแล้วได้ทั้งหมดทันที ฯลฯ นั้น ทำให้ข้อตกลงดังกล่าวมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับที่กำหนดเป็นจำนวนเงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 และถ้าเบี้ยปรับสูงเกินส่วน ศาลก็มีอำนาจลดลงให้เหลือเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383
สำหรับเงินค่าอุปกรณ์เพิ่มเติมเพื่อตกแต่งบ้านนั้น มิใช่เงินมัดจำหรือเงินที่ผ่อนชำระตามสัญญา เงินจำนวนนี้จึงไม่ใช่เบี้ยปรับที่คู่สัญญาตกลงกันไว้ แต่เป็นเงินค่าการงานที่จำเลยได้กระทำให้ก่อนเลิกสัญญา ดังนั้น เมื่อสัญญาเลิกกันแล้ว โจทก์ทั้งสองจะต้องใช้เงินตามควรค่าแห่งการนั้นเพื่อให้จำเลยได้กลับสู่ฐานะดั่งที่เป็นอยู่เดิม ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่งและวรรคสาม จำเลยจึงไม่ต้องคืนเงินนี้แก่โจทก์ทั้งสอง ส่วนเงินค่างวดเป็นเงินที่โจทก์ทั้งสองผ่อนชำระให้แก่จำเลย จึงเป็นเบี้ยปรับตามสัญญา เมื่อพิเคราะห์ถึงทางได้เสียของจำเลยทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายแล้ว เห็นสมควรให้จำเลยริบเบี้ยปรับได้บางส่วน และที่โจทก์ขอให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้องนั้น เมื่อโจทก์ทั้งสองเป็นฝ่ายผิดสัญญาจำเลยจึงริบเงินค่างวดที่โจทกทั้งสองชำระไปแล้วตามสัญญาได้ เมื่อศาลฎีกาพิพากษาลดเบี้ยปรับลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง ให้จำเลยคืนเบี้ยปรับบางส่วนให้แก่โจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองหามีสิทธิได้ดอกเบี้ยจากเบี้ยปรับที่ได้รับคืนนั้นไม่เพราะการที่จำเลยรับเงินค่างวดดังกล่าวไว้เป็นการใช้สิทธิโดยชอบ
of 2