คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
รื้อถอนอาคาร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 96 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 464/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรื้อถอนอาคารที่ก่อสร้างไม่ถูกต้องตามกฎหมายควบคุมอาคาร และอำนาจของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์
อำนาจในการสั่งให้รื้อถอนอาคารที่ก่อสร้างผิดแบบแปลนจากที่ได้รับอนุญาตโดยฝ่าฝืนพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ. 2522 มาตรา 40 และ 42 เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานท้องถิ่นและตามมาตรา 4 เจ้าพนักงานท้องถิ่นหมายความว่าผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร สำหรับในเขตกรุงเทพมหานครเมื่ออาคารของโจทก์ซึ่งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครก่อสร้างผิดแบบแปลนจากที่ได้รับอนุญาตโดยฝ่าฝืนพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 40 และ 42ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้โจทก์รื้อถอนอาคารได้ และเนื่องจากมาตรา 35แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครพ.ศ. 2518 ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นให้อำนาจผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมอบอำนาจให้ผู้อำนวยการเขตปฏิบัติราชการแทนได้ เมื่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีคำสั่งมอบอำนาจของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ให้ผู้อำนวยการเขตปฏิบัติราชการแทนและได้ประกาศคำสั่งในกรุงเทพ กิจจานุเบกษาแล้ว ผู้อำนวยการ เขตพระนคร จึงมีอำนาจปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่น จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้อำนวยการเขตพระนครมาลงชื่อในสมุดลงเวลาทำการในตอนเช้าแล้วไม่ได้อยู่ปฏิบัติราชการที่สำนักงานเขตพระนคร กรณีจึงถือได้ว่าในวันดังกล่าวจำเลยที่ 1 ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตพระนครและเป็นผู้มีอาวุโสตามระเบียบแบบแผนของทางราชการจึงมีอำนาจปฏิบัติราชการในฐานะรักษาราชการแทนผู้อำนวยการเขตพระนครปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528มาตรา 84 วรรคสอง การที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะอนุญาตให้ก่อสร้างอาคารใดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 นั้น นอกจากจะ คำนึงถึงความมั่นคงแข็งแรงและความปลอดภัยแล้ว ยังจะต้อง พิจารณาถึงแผนผัง บริเวณ แบบแปลนและรายการประกอบแบบแปลนด้วยดังนั้น การที่โจทก์ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างอาคารตามแบบแปลนเพียง 4 ชั้น แต่กลับก่อสร้างเป็นอาคารถึง 6 ชั้นจึงเป็นการก่อสร้างที่ผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 31 และเมื่อเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามแบบแปลนที่ได้ก่อสร้างเป็นอาคาร 6 ชั้น ตามที่ได้บัญญัติเป็นข้อยกเว้นไว้ในมาตรา 31(1)(2)และ (3) ได้ จึงชอบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งให้โจทก์รื้อถอนอาคารชั้นที่ 5 และชั้นที่ 6 ได้ ตามแผนผังบริเวณของอาคารที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างจะต้องมีที่ว่างปราศจากสิ่งปกคลุมเป็นทางเดินด้านหลังอาคารได้ถึงกันกว้าง 2 เมตร และด้านหลังของอาคารก็ไม่มีการก่อสร้างเชื่อมต่อกับอาคารของบริษัท ต. เพราะเป็นการก่อสร้างแยกต่างหากอาคารเดิมของบริษัท ต. การที่โจทก์ฝ่าฝืนก่อสร้างอาคารเชื่อมต่อกันปกคลุมที่ว่างด้านหลังโดยไม่หลบเขตเป็นทางเดินด้านหลังอาคารกว้าง 2 เมตรจึงขัดกับมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522ทั้งยังขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ข้อ 76(4) ด้วยจึงเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้จึงชอบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งให้โจทก์รื้อถอนอาคารส่วนที่ก่อสร้างปกคลุมที่ว่างทางเดินหลังอาคารทั้งหมดได้ อาคารที่ก่อสร้างตามใบอนุญาตที่ พ.28/2525 ซึ่งก่อสร้างอาคารบนที่ดินโฉนดเลขที่ 6139 และโฉนดที่ดินเลขที่ 6298โจทก์ก่อสร้างอาคารบนที่ดินที่ซื้อมาจาก บ. ที่ดินดังกล่าวทางทิศเหนือจดที่ดินเลขที่ 156,157 และทางสาธารณะต่อมาที่ดินแปลงนี้ได้แบ่งแยกออกเป็นที่ดินแปลงย่อยอีก6 แปลงซึ่งทางทิศเหนือของที่ดินแปลงย่อยที่แบ่งแยกออกเป็นโฉนดที่ดินเลขที่ 6137 และ 6138 ก็อยู่ติดทางสาธารณะต่อมาที่ดินโฉนดเลขที่ 6138 ถูกแบ่งแยกออกเป็น 2 แปลงอีกคือที่ดินแปลงทางทิศใต้โฉนดที่ดินเลขที่ 6298 ส่วนที่ดินโฉนดเลขที่ 6138(แปลงคงเหลือ) เป็นที่ดินแปลงทางทิศเหนือเนื้อที่ 0.4 ตารางวา ซึ่งยังติดทางสาธารณะอยู่เช่นเดิมถัดจากทางสาธารณะขึ้นไปทางทิศเหนือจะเป็นที่ดินโฉนดเลขที่ 1184 เลขที่ดิน 21 พร้อมอาคารของโจทก์ซึ่งทางทิศตะวันออกจะติดกับอาคารของบริษัท ต.โจทก์ก่อสร้างอาคารของโจทก์ให้เชื่อมต่อกับอาคารของบริษัท ต. โจทก์ต้องก่อสร้างอาคารบนที่ดินโฉนดเลขที่ 6298ปกคลุมที่ดินโฉนดเลขที่ 6138 และทางสาธารณะด้วย เพื่อให้ไปเชื่อมต่อกับอาคารบนที่ดินของโจทก์โฉนดเลขที่ 1184และอาคารของบริษัท ต. ให้เป็นอาคารเดียวกัน ซึ่งขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคารพ.ศ. 2522 ข้อ 69 เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้โจทก์รื้อถอนพื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก ส่วนที่ก่อสร้างปกคลุมทางสาธารณะจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 50กำหนดให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นประธานคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ในเขตกรุงเทพมหานคร และในเขตองค์การบริหารส่วนจังหวัด แต่ปลัดกระทรวงมหาดไทยได้อาศัยอำนาจตามความในข้อ 40 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218ลงวันที่ 29 กันยายน 2515 มีคำสั่งมอบอำนาจดังกล่าวให้รองปลัดกระทรวงมหาดไทยฝ่ายบริหารปฏิบัติราชการแทนปลัดกระทรวงมหาดไทยในหน้าที่ประธานคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และปลัดกระทรวงมหาดไทยยังมีคำสั่งมอบอำนาจให้จำเลยที่ 3ปฏิบัติราชการแทนปลัดกระทรวงมหาดไทยในงานฝ่ายบริหารดังนั้น จำเลยที่ 3 ซึ่งดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวงมหาดไทยที่มีอำนาจปฏิบัติราชการแทนปลัดกระทรวงมหาดไทยในงานฝ่ายบริหาร จึงมีอำนาจปฏิบัติราชการแทนปลัดกระทรวงมหาดไทยในหน้าที่ประธานคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ในเขตกรุงเทพมหานครคำวินิจฉัยอุทธรณ์ที่จำเลยที่ 3 ทำหน้าที่ประธานคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จึงชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3179/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องรื้อถอนอาคารผิดแบบ และการมอบอำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามกฎหมาย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของอาคารพิพาทได้ปลูกสร้างอาคารพิพาทผิดจากแบบแปลนและรายการประกอบแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตโจทก์มีคำสั่งให้จำเลยระงับการก่อสร้างและดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องตามแบบแปลนแล้ว แต่จำเลยฝ่าฝืนคำสั่ง โจทก์จึงมีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารพิพาทส่วนที่ก่อสร้างผิดแบบแปลน เป็นการแสดงแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้ว ส่วนที่ว่า พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522ไม่ได้บังคับใช้แก่อาคารที่มีการก่อสร้างจริงก่อน พ.ศ.2522 หรือไม่นั้นโจทก์ไม่จำต้องบรรยายมาในฟ้อง เพราะเป็นรายละเอียดที่สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณาฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2528 มิได้หมายถึงตัวบุคคล หากแต่เป็นตำแหน่งในการบริหารกรุงเทพมหานคร ซึ่งบุคคลผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวมีอำนาจหน้าที่กำหนดนโยบายและบริหารราชการของกรุงเทพมหานครให้เป็นไปตามกฎหมายตามมาตรา49 (1) แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว การดำเนินการในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นย่อมอยู่ในขอบเขตแห่งอำนาจหน้าที่ดังกล่าว และอยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานครตามมาตรา 4, 8 (11) และ 14 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 การที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมอบอำนาจของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ให้หัวหน้าเขต (ผู้อำนวยการเขตในปัจจุบัน) ปฏิบัติราชการแทนจึงเป็นการมอบอำนาจโดยชอบโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 35แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2518 และคำสั่งนี้ยังมีผลใช้บังคับได้จนกว่าจะมีการยกเลิกหรือออกคำสั่งใหม่ตามมาตรา 81 วรรคสามประกอบมาตรา 124 แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครพ.ศ.2528 หาใช่เป็นอำนาจเฉพาะตัวที่ไม่สามารถมอบอำนาจได้และมีวาระ หรือต้องมอบอำนาจกันอีกไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
หลังจากจำเลยก่อสร้างอาคารพิพาทผิดแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตแล้ว จำเลยได้ย้ายภูมิลำเนาไปหลายแห่งเนื่องจากต้องการหนีความผิดโจทก์จึงปิดคำสั่งให้ระงับการก่อสร้าง คำสั่งให้ดำเนินการแก้ไข และคำสั่งให้รื้อถอนอาคารดังกล่าวไว้ที่หน้าอาคารพิพาทของจำเลยโดยมีเจ้าหน้าที่ปกครอง3 งานเทศกิจเป็นพยาน เมื่ออาคารพิพาทนี้เป็นภูมิลำเนาแห่งหนึ่งของจำเลยจึงรับฟังได้ว่าจำเลยได้รับทราบคำสั่งให้รื้อถอนอาคารพิพาทแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องให้จำเลยรื้อถอนอาคารพิพาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3179/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องรื้อถอนอาคารผิดแบบ และการมอบอำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามกฎหมาย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของอาคารพิพาทได้ปลูกสร้างอาคารพิพาทผิดจากแบบแปลนและรายการประกอบแบบแปลน ที่ได้รับอนุญาตโจทก์มีคำสั่งให้จำเลยระงับการก่อสร้าง และดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องตามแบบแปลนแล้ว แต่จำเลยฝ่าฝืนคำสั่ง โจทก์จึงมีคำสั่งให้จำเลย รื้อถอนอาคารพิพาทส่วนที่ก่อสร้างผิดแบบแปลน เป็นการแสดงแจ้งชุดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ และข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้วส่วนที่ว่า พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ไม่ได้บังคับใช้แก่อาคารที่มีการก่อสร้าง จริงก่อน พ.ศ. 2522 หรือไม่นั้นโจทก์ไม่จำต้องบรรยาย มาในฟ้อง เพราะเป็นรายละเอียดที่สามารถนำสืบ ได้ในชั้นพิจารณาฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครตาม พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528มิได้หมายถึงตัวบุคคล หากแต่เป็นตำแหน่งในการบริหารกรุงเทพมหานคร ซึ่งบุคคลผู้ดำรงตำแหน่ง ดังกล่าวมีอำนาจหน้าที่กำหนดนโยบายและบริหารราชการ ของกรุงเทพมหานครให้เป็นไปตามกฎหมายตามมาตรา 49(1)แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว การดำเนินการในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นย่อมอยู่ในขอบเขตแห่งอำนาจ หน้าที่ดังกล่าว และอยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานครตามมาตรา 4,8(11) และ 14 แห่ง พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 การที่ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมอบอำนาจของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ให้หัวหน้าเขต (ผู้อำนวยการเขตในปัจจุบัน) ปฏิบัติราชการแทนจึงเป็นการมอบอำนาจโดยชอบ โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 35 แห่ง พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครพ.ศ. 2518 และคำสั่งนี้ยังมีผลใช้บังคับได้จนกว่าจะมี การยกเลิกหรือออกคำสั่งใหม่ตามมาตรา 81 วรรคสามประกอบมาตรา 124 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 หาใช่เป็นอำนาจเฉพาะตัวที่ไม่สามารถมอบอำนาจได้และมีวาระ หรือ ต้องมอบอำนาจกันอีกไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง หลังจากจำเลยก่อสร้างอาคารพิพาทผิดแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตแล้ว จำเลยได้ย้ายภูมิลำเนาไปหลายแห่งเนื่องจากต้องการหนีความผิดโจทก์จึงปิดคำสั่งให้ระงับการก่อสร้าง คำสั่งให้ดำเนินการแก้ไข และคำสั่งให้รื้อถอนอาคารดังกล่าวไว้ที่หน้าอาคารพิพาท ของจำเลยโดยมีเจ้าหน้าที่ปกครอง 3 งานเทศกิจ เป็นพยาน เมื่ออาคารพิพาทนี้เป็นภูมิลำเนาแห่งหนึ่ง ของจำเลยจึงรับฟังได้ว่าจำเลยได้รับทราบคำสั่ง ให้รื้อถอนอาคารพิพาทแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง ให้จำเลยรื้อถอนอาคารพิพาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2514/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งรื้อถอนอาคารต้องชอบด้วยกฎหมายและแจ้งให้เจ้าของทราบชัดเจน หากไม่เป็นไปตามขั้นตอน เจ้าของไม่ต้องรับผิด
โจทก์ฟ้องจำเลยในข้อหาฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ขอให้ลงโทษปรับจำเลยเป็นรายวันตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 66 ทวิ วรรคสองซึ่งความผิดฐานขัดคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารได้ตามกฎหมายหรือนัยหนึ่งคำสั่งดังกล่าวต้องเป็นคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมายและได้มีการแจ้งคำสั่งให้จำเลยทราบโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว อำนาจในการสั่งให้รื้อถอนอาคาร พระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ. 2522 มาตรา 42 บัญญัติว่า ถ้าการกระทำตามมาตรา 40เป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้หรือเจ้าของอาคารมิได้ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา 41 ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร ผู้ควบคุมงาน หรือผู้ดำเนินการ รื้อถอนอาคารนั้นทั้งหมดหรือบางส่วนได้ภายในระยะเวลาที่กำหนดแต่ต้องไม่น้อยกว่าสามสิบวัน โดยให้ดำเนินการรื้อถอนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 8(11) หรือข้อบัญญัติท้องถิ่นที่ออกตามมาตรา 9หรือมาตรา 10 ข้อเท็จจริงที่ว่าอาคารส่วนที่ก่อสร้างโดยผิดกฎหมายของจำเลยสามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้หรือไม่ จึงเป็นสาระสำคัญในการพิจารณาถึงอำนาจในการออกคำสั่งให้รื้อถอนอาคารของเจ้าพนักงานท้องถิ่น แต่ฟ้องโจทก์บรรยายเพียงว่า จำเลยได้บังอาจก่อสร้างอาคารให้ผิดไปจากแบบแปลนและรายการประกอบแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตจากเทศบาลเมืองอุดรธานีและเป็นแบบแปลนที่ไม่อาจอนุญาตให้ก่อสร้างได้อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ย่อมไม่พอแปลหรือไม่อาจอนุมานได้ว่าเป็นกรณีเดียวกันกับที่กฎหมายบัญญัติว่าไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ เพราะเป็นการตีความให้เป็นผลร้ายเพื่อลงโทษจำเลย เมื่อฟ้องโจทก์มิได้บรรยายว่า การกระทำของจำเลยเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ตามบทบัญญัติใน มาตรา 42กรณีย่อมรับฟังไม่ได้ว่า มีกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะใช้อำนาจสั่งให้รื้อถอนอาคารได้ การที่จำเลยไม่รื้อถอนอาคารจึงไม่มีความผิด ปัญหาที่ว่าคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่สั่งให้รื้อถอนอาคารชอบหรือไม่ ย่อมกระทบกระเทือนถึงความสงบสุขและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง จึงเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะมิได้ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสองประกอบด้วยมาตรา 225 จำเลยได้รับใบอนุญาตให้ก่อสร้างอาคาร แต่ดำเนินการก่อสร้างอาคารผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต จึงไม่อาจปรับบทลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522มาตรา 21 ซึ่งเป็นกรณีก่อสร้างอาคารโดยมิได้รับใบอนุญาตด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7330/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฝ่าฝืนคำสั่งรื้อถอนอาคารและการกำหนดโทษปรับรายวันภายใต้ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร รวมถึงประเด็นอายุความ
จำเลยจัดให้มีการก่อสร้างอาคารที่ผิดรายการที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างอาคาร4 ชั้น ซึ่งขัดต่อมาตรา 31 วรรคหนึ่ง และแม้จำเลยจะเข้าใจโดยสุจริตหรือสำคัญผิดว่าได้รับใบอนุญาตให้ก่อสร้างอาคาร 5 ชั้นก็ตาม อาคารที่จำเลยก่อสร้างก็ยังเป็นอาคารที่ผิดรายการที่ได้รับอนุญาตโดยไม่ต้องพิจารณาถึงเจตนาของผู้ดำเนินการก่อสร้างแต่อย่างใด
แม้จำเลยจะมิใช่ผู้ดำเนินการก่อสร้างอาคารที่ผิดรายการที่ได้รับอนุญาตแต่ได้รับโอนมาเป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารดังกล่าว ก็ไม่สามารถทำให้จำเลยมีอำนาจดำเนินการก่อสร้างให้ผิดรายการที่ได้รับอนุญาตต่อไปได้อีก และจะยกขึ้นเป็นข้อแก้ตัวให้พ้นจากภาระหน้าที่ในการที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือรื้อถอนอาคารที่ผิดรายการที่ได้รับอนุญาตนั้นหาได้ไม่
เจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งให้จำเลยระงับการก่อสร้างอาคารและได้มีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารเพราะไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามกฎหมายได้อันเป็นการปฏิบัติตามขั้นตอนและถูกต้องชอบด้วยกฎหมายแล้ว การที่จำเลยผู้เป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารได้ฝ่าฝืนคำสั่งดังกล่าวของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้ระงับการก่อสร้างอาคารและให้รื้อถอนอาคารด้วยการก่อสร้างอาคารต่อไปและงดเว้นไม่ยอมรื้อถอนอาคาร ย่อมถือได้ว่าจำเลยกระทำโดยรู้สำนึกในการที่กระทำและในขณะเดียวกันจำเลยประสงค์ต่อผลซึ่งเป็นการกระทำโดยเจตนา ต่อมาเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งให้จำเลยดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้อง ซึ่งจำเลยต้องรื้อถอนอาคารบางส่วนก็ตาม แต่จำเลยมิได้ดำเนินการรื้อถอน และยังคงฝ่าฝืนต่อไป กรณีเช่นนี้หาทำให้จำเลยพ้นจากการเป็นผู้กระทำผิดไม่
จำเลยจัดให้มีการก่อสร้างอาคารที่ผิดจากรายการที่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 31 วรรคหนึ่ง เป็นความผิดกรรมหนึ่งแล้ว ส่วนความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างอาคารเกิดขึ้นเมื่อจำเลยทราบคำสั่งแล้วกระทำการก่อสร้างต่อไปเป็นความผิดอีกกรรมหนึ่ง และความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งให้รื้อถอนอาคารเกิดขึ้นเมื่อจำเลยทราบคำสั่งแล้วงดเว้นไม่ยอมรื้อถอนอาคารภายในเวลาที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดก็เป็นความผิดอีกกรรมหนึ่ง
แม้การปรับบทกฎหมายลงโทษจำเลย คู่ความมิได้ฎีกาขึ้นมาแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องได้
เมื่อพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มาตรา 67 วรรคหนึ่ง และมาตรา 66 ทวิ ไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับอายุความไว้ จึงต้องนำอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาปรับใช้ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 17
ความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างอาคารเริ่มแต่วันที่จำเลยได้รับคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างอาคารแล้วไม่ปฏิบัติตามคำสั่งติดต่อกันไปจนถึงวันที่จำเลยดำเนินการก่อสร้างอาคารเสร็จ อายุความฟ้องร้องย่อมนับถัดจากวันที่จำเลยดำเนินการก่อสร้างอาคารเสร็จ กรณีหาใช่ความผิดต่อเนื่อง และหาใช่อายุความยังไม่เริ่มนับตราบใดที่จำเลยยังคงฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นอยู่ไม่
ส่วนความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งให้รื้อถอนอาคารเริ่มเกิดเป็นความผิดขึ้นนับแต่วันที่ฝ่าฝืนไม่ยอมรื้อถอนอาคาร และเป็นความผิดต่อเนื่องตราบเท่าที่ยังคงฝ่าฝืนหรือไม่ยอมรื้อถอนอาคาร เมื่อจำเลยยังฝ่าฝืนอยู่ตลอดมาอายุความจึงยังไม่เริ่มนับ
กรณีที่มีทั้งระวางโทษที่กำหนดและโทษรายวัน การที่จะพิจารณาว่าศาลใดลงโทษสูงต่ำกว่ากัน ต้องพิจารณาลักษณะของโทษแยกกัน
ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกและปรับ กับปรับรายวันวันละ 200 บาท จำเลยอุทธรณ์ฝ่ายเดียว และศาลอุทธรณ์ลงโทษปรับและปรับรายวันวันละ 500 บาท ย่อมเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์ขอให้เพิ่มโทษจำเลย จึงเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6247/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่นในการสั่งแก้ไข/รื้อถอนอาคารผิดกฎหมาย และความชอบด้วยกฎหมายของคำวินิจฉัยอุทธรณ์
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จำเลยที่สั่งให้โจทก์ดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารพิพาท โดยจำเลยอ้างเหตุว่าส่วนที่ต้องแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้นมีการดัดแปลงต่อเติมโดยไม่ได้รับอนุญาตและขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคารพ.ศ.2522 ข้อ 75, 76 (1) (4) แต่โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องยืนยันว่าอาคารพิพาทไม่มีการดัดแปลงขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครตามคำสั่งดังกล่าว ดังนี้ คดีไม่มีประเด็นว่า อาคารพิพาทมีส่วนที่ขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครหรือไม่ และข้อเท็จจริงฟังได้ว่า อาคารพิพาทมีส่วนที่ขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครจริงซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจอนุญาตให้ดัดแปลงต่อเติมอาคารพิพาทในส่วนที่ขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเช่นนั้นได้
เมื่อมีการดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 21 (มาตรา 22 เดิม)เจ้าพนักงานท้องถิ่นย่อมมีอำนาจสั่งให้เจ้าของอาคารยื่นคำขอใบอนุญาตหรือให้ดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522(ฉบับเดิม) มาตรา 40 และ 43 วรรคหนึ่ง และถ้าเจ้าของอาคารไม่ยื่นคำขอรับใบอนุญาตหรือไม่แก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคาร เจ้าพนักงานท้องถิ่นก็มีอำนาจสั่งให้รื้อถอนอาคารดังกล่าวในส่วนที่เห็นสมควรได้ตามมาตรา 43 วรรคสาม และแม้ต่อมามีการแก้ไข พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 โดย พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 ก็ยังคงบัญญัติให้อำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่นในกรณีต่าง ๆดังกล่าวมาแล้วนั้นไว้เช่นเดิม โดยเพียงแต่แก้ไขนำไปบัญญัติเป็นข้อความในมาตรา40, 41 และ 42 เท่านั้น ดังนี้แม้เจ้าพนักงานเพิ่งตรวจพบในปี พ.ศ.2536 ว่าอาคารพิพาทมีส่วนที่ดัดแปลงขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เจ้าพนักงานท้องถิ่นก็มีอำนาจสั่งให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของอาคารพิพาทดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารพิพาทให้ถูกต้องได้โดยชอบ ไม่ว่าโจทก์จะเป็นผู้กระทำการดัดแปลงต่อเติมอาคารพิพาทเองหรือไม่ก็ตาม และเมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าว เจ้าพนักงานท้องถิ่นย่อมสั่งให้โจทก์รื้อถอนอาคารพิพาทได้โดยชอบ
เมื่อข้อเท็จจริงตามคำฟ้องของโจทก์เพียงพอที่จะนำไปวินิจฉัยข้อกฎหมายได้แล้ว คดีไม่จำเป็นต้องสืบพยาน ศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะสั่งงดสืบพยานได้
ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 52 ที่กำหนดระยะเวลาให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จภายในกำหนดนั้นเมื่อไม่ได้กำหนดสภาพบังคับไว้ว่าถ้าวินิจฉัยเสร็จเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลานั้นแล้วถือเป็นคำวินิจฉัยที่ไม่ชอบ ดังนั้น แม้จะวินิจฉัยเสร็จเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าวก็ยังคงถือเป็นคำวินิจฉัยที่ชอบด้วยกฎหมาย
กรณีประธานกรรมการไม่ได้เข้าประชุม ซึ่งที่ประชุมสามารถเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานได้ ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522มาตรา 50 ประกอบด้วยมาตรา 17 ดังนี้ คำวินิจฉัยในการประชุมเช่นนี้เป็นคำวินิจฉัยที่ชอบแล้ว
พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ฉบับที่ใช้บังคับเดิมและพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 ที่แก้ไขใหม่ ต่างก็บัญญัติให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้โจทก์ในฐานะเจ้าของอาคารแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารให้ถูกต้อง หากไม่ปฏิบัติตามก็มีอำนาจสั่งให้รื้อถอนอาคารในส่วนที่เห็นสมควรได้ และเมื่อคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นในกรณีดังกล่าวเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนี้ แม้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะอ้างบทกฎหมายที่แก้ไขใหม่ภายหลังการก่อสร้างอาคารพิพาท ก็มิใช่เหตุทำให้คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์กลายเป็นไม่ชอบแต่ประการใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3882/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างผิดแบบหลังกฎหมายใหม่ใช้บังคับ จำเลยต้องรื้อถอนอาคาร แม้เริ่มก่อสร้างก่อน
แม้การก่อสร้างดัดแปลงอาคารผิดไปจากแบบแปลนที่ขออนุญาตในระหว่างวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2535 ถึงวันที่ 15 มีนาคม 2535 ซึ่งอยู่ในระหว่างใช้กฎหมายเก่าก็ตาม แต่ต่อมาได้มี พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535มาตรา 23 ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 6 มิถุนายน 2535 แก้ไขให้มีบทลงโทษตามมาตรา66 ทวิ และจำเลยได้ขัดคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้รื้อถอนอาคารก่อสร้างผิดแบบที่ขออนุญาตภายในกำหนด 30 วัน หลังจากที่ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 2)พ.ศ.2535 ใช้บังคับแล้ว การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 42, 66 ทวิ และมาตรา 69 พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 มาตรา 23 หาใช่เป็นเรื่องการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดหรือกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 354/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรื้อถอนอาคารผิดแบบ: ประเด็นซ้ำกับคดีก่อนหน้าทำให้ต้องห้ามพิจารณาซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144
โจทก์ทั้งสองปลูกสร้างอาคารพิพาทผิดไปจากแบบแปลน จำเลยที่ 2 โดยผู้อำนวยการเขตจึงมีคำสั่งให้โจทก์ทั้งสองระงับการก่อสร้างและให้โจทก์ทั้งสองยื่นคำร้องขอแก้ไขแบบแปลนภายในเวลาที่กำหนด แต่โจทก์ทั้งสองไม่ปฏิบัติตามทั้งมิได้อุทธรณ์คำสั่งต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลา จำเลยที่ 2จึงฟ้องโจทก์ทั้งสองให้รื้อถอนอาคารที่ปลูกสร้างผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 22886/2532 ให้โจทก์ทั้งสองดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารพิพาทให้ถูกต้องตามแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตหากโจทก์ทั้งสองไม่แก้ไข โจทก์ทั้งสองต้องรื้อถอนอาคารพิพาทส่วนที่ก่อสร้างผิดจากแบบแปลนออกเสีย โจทก์ทั้งสองอุทธรณ์คำพิพากษาดังกล่าว ในขณะที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาในคดีดังกล่าว โจทก์ทั้งสองยื่นคำร้องขอแก้ไขแบบแปลน แต่ผู้อำนวยการเขตไม่อนุญาต โจทก์ทั้งสองอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก็ไม่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขแบบแปลนเช่นเดียวกัน โจทก์ทั้งสองจึงมาฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ ดังนั้นประเด็นในคดีนี้มีว่า คำสั่งของผู้อำนวยการเขตและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เกี่ยวกับคำขออนุญาตแก้ไขแบบแปลนอาคารพิพาทของโจทก์ทั้งสองนั้นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ซึ่งก็จะต้องวินิจฉัยเสียก่อนว่าอาคารพิพาทก่อสร้างผิดจากแบบที่จำเลยสามารถอนุญาตให้แก้ไขให้ถูกต้องได้หรือไม่ หรือจะต้องรื้อถอน ปรากฏว่าในคดีแพ่งดังกล่าว ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า ที่โจทก์ทั้งสองก่อสร้างอาคารพิพาทผิดจากแบบเป็นการก่อสร้างผิดจากแบบที่จำเลยสามารถอนุญาตให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้หรือไม่ หรือจะต้องรื้อถอนทั้งหมด ดังนี้ ประเด็นในคดีนี้ดังกล่าวจึงรวมอยู่ในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 22886/2532 ดังกล่าวนั้นด้วย เมื่อศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาในคดีแรกไปแล้ว จึงต้องห้ามมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวอีก ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 354/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีซ้ำ: การฟ้องขอแก้ไขแบบก่อสร้างหลังศาลมีคำพิพากษาให้รื้อถอนอาคารที่ก่อสร้างผิดแบบแล้ว ถือเป็นการดำเนินกระบวนการซ้ำ
โจทก์ทั้งสองปลูกสร้างอาคารพิพาทผิดไปจากแบบแปลนจำเลยที่2โดยผู้อำนายการเขตจึงมีคำสั่งให้โจทก์ทั้งสองระงับการก่อสร้างและให้โจทก์ทั้งสองยื่นคำร้องขอแก้ไขแบบแปลนภายในเวลาที่กำหนดแต่โจทก์ทั้งสองไม่ปฏิบัติตามทั้งมิได้อุทธรณ์คำสั่งต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลาจำเลยที่2จึงฟ้องโจทก์ทั้งสองให้รื้อถอนอาคารที่ปลูกสร้างผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามคดีแพ่งหมายเลขแดงที่22886/2532ให้โจทก์ทั้งสองดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารพิพาทให้ถูกต้องตามแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตหากโจทก์ทั้งสองไม่แก้ไขโจทก์ทั้งสองต้องรื้อถอนอาคารพิพาทส่วนที่ก่อสร้างผิดจากแบบแปลนออกเสียโจทก์ทั้งสองอุทธรณ์คำพิพากษาดังกล่าวในขณะที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาในคดีดังกล่าวโจทก์ทั้งสองยื่นคำร้องขอแก้ไขแบบแปลนแต่ผู้อำนวยการเขตไม่อนุญาตโจทก์ทั้งสองอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก็ไม่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขแบบแปลนเช่นเดียวกันโจทก์ทั้งสองจึงมาฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ดังนั้นประเด็นในคดีนี้มีว่าคำสั่งของผู้อำนายการเขตและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เกี่ยวกับคำขออนุญาตแก้ไขแบบแปลนอาคารพิพาทของโจทก์ทั้งสองนั้นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ซึ่งก็จะต้องวินิจฉัยเสียก่อนว่าอาคารพิพาทก่อสร้างผิดจากแบบที่จำเลยสามารถอนุญาตให้แก้ไขให้ถูกต้องได้หรือไม่หรือจะต้องรื้อถอนปรากฎว่าในคดีแพ่งดังกล่าวศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าที่โจทก์ทั้งสองก่อสร้างอาคารพิพาทผิดจากแบบเป็นการก่อสร้างผิดจากแบบที่จำเลยสามารถอนุญาตให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้หรือไม่หรือจะต้องรื้อถอนทั้งหมดดังนี้ประเด็นในคดีนี้ดังกล่าวจึงรวมอยู่ในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่22886/2532ดังกล่าวนั้นด้วยเมื่อศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาในคดีแรกไปแล้วจึงต้องห้ามมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวอีกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา144

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9608/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีก่อนการพิจารณาอุทธรณ์ตามขั้นตอนกฎหมายควบคุมอาคาร ถือเป็นเรื่องไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์มีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารส่วนที่ก่อสร้างผิดแบบ พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 52บัญญัติให้จำเลยมีสิทธิยื่นอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โดยยื่นต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นภายใน 30 วัน นับแต่วันทราบคำสั่ง เมื่อจำเลยได้ยื่นหนังสืออุทธรณ์คำสั่งให้รื้อถอนต่อโจทก์ภายในกำหนดแล้วจึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องจัดส่งอุทธรณ์ของจำเลยไปยัง คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และถือได้ว่า จำเลยได้ยื่นอุทธรณ์ ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์โดยชอบแล้ว การที่โจทก์นำคดี มาฟ้องโดยมิได้นำอุทธรณ์ของจำเลยเสนอให้คณะกรรมการพิจารณา อุทธรณ์พิจารณาเสียก่อน เป็นการไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนในการ พิจารณาอุทธรณ์คำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ตามมาตรา 52โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
of 10