คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ร่วมรับผิด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 54 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7168/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมการบริษัทร่วมรับผิดในหนี้จากการทำสัญญา แม้จะอ้างเป็นเพียงตัวแทน
แม้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จะเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลยที่ 1 ก็มิได้หมายความว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จะทำนิติกรรมใด ๆ เป็นส่วนตัวร่วมกับจำเลยที่ 1 ไม่ได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสี่ร่วมกันหรือแทนกันจ้างโจทก์ผลิตเครื่องปรับอากาศ ชิ้นส่วนอะไหล่ของเครื่องปรับอากาศ แล้วผิดสัญญาไม่ชำระค่าจ้าง ขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระค่าจ้างแก่โจทก์ แม้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จะให้การว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นเพียงกรรมการของบริษัทจำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวแต่ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น ทนายจำเลยทั้งสี่แถลงรับข้อเท็จจริงว่าเป็นหนี้โจทก์ตามฟ้องจริง คำแถลงของทนายจำเลยทั้งสี่ดังกล่าวเป็นการสละข้อต่อสู้ในคำให้การ โดยรับข้อเท็จจริงว่าจำเลยทั้งสี่เป็นหนี้โจทก์ตามฟ้อง ข้อเท็จจริงจึงฟังเป็นยุติว่าจำเลยทั้งสี่ร่วมกันจ้างโจทก์ผลิตเครื่องปรับอากาศ ชิ้นส่วนอะไหล่ของเครื่องปรับอากาศ และยังค้างชำระค่าจ้างจำนวนตามฟ้อง จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1524/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดิน ทางออกสู่ถนนสาธารณะสำคัญ จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดได้หากรู้เห็น
ข้อตกลงรับรองว่าที่ดินที่ซื้อขายมีทางออกสู่ถนนสาธารณะได้ สามารถแยกต่างหากจากสัญญาซื้อขายที่ดินได้ และไม่มีกฎหมาย บัญญัติให้ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือจึงจะใช้บังคับกันได้ ดังนั้นแม้ ในสัญญาจะซื้อขายและสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทจะไม่ได้ระบุข้อตกลง เรื่องทางออกสู่ถนนสาธารณะไว้ ก็หาทำให้จำเลยที่ 1 พ้นจาก ความรับผิดตามข้อตกลงดังกล่าว เมื่อปรากฏภายหลังว่า ที่ดินพิพาทไม่มีทางออกสู่ถนนสาธารณะตามข้อตกลงเป็นผลให้ ที่ดินพิพาทมีราคาต่ำลง ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ จำเลยที่ 2 เป็นสามีโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 1แม้จำเลยที่ 2 ไม่มีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแต่จำเลยที่ 2 ก็รับว่าที่ดินพิพาทได้มาหลังจากจำเลยทั้งสองแต่งงานกัน อันถือได้ว่าเป็นสินสมรส ซึ่งในวันทำสัญญาจะซื้อขายและวันจะไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท จำเลยที่ 2ได้ร่วมไปด้วย แสดงว่าจำเลยที่ 2 รู้เห็นให้ความยินยอมในการ ที่จำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ จำเลยที่ 2 จึงต้องผูกพันร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย แม้โจทก์จะนำสืบไม่ได้แน่ชัดว่าโจทก์ได้รับความเสียหายเป็นเงินเท่าใดแน่แต่โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทอย่างที่ดินที่มีทางออกสู่ ถนนสาธารณะ เมื่อปรากฏว่าที่ดินพิพาทไม่มีทางออกสู่ถนนสาธารณะ ย่อมทำให้คุณค่าหรือราคาที่ดินพิพาทตกต่ำลง ศาลย่อมกำหนดค่าเสียหาย ในส่วนนี้ให้ตามความเหมาะสม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 230/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร่วมรับผิดในหนี้ภาษีค้างชำระเมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สิน
ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2479 มาตรา 45กำหนดว่าถ้าค่าภาษีค้างอยู่และยังมิได้ชำระขณะเมื่อทรัพย์สินได้โอนกรรมสิทธิ์ไปเป็นของเจ้าของใหม่โดยเหตุใด ๆ ก็ตามเจ้าของคนเก่าและคนใหม่เป็นลูกหนี้ค่าภาษีนั้นร่วมกัน จึงเห็นได้ว่าความในมาตรา 45 มิได้หมายความถึง มีเงินค่าภาษีค้างชำระตามมาตรา 42 เพราะหากหมายความถึงมีเงินค่าภาษีค้างชำระก็คงไม่ต้องบัญญัติว่า "และยังมิได้ชำระ"ซ้ำลงไปเพียงแต่บัญญัติว่า ถ้าค่าภาษีค้างอยู่ก็ได้ความเพียงพอแล้วเพราะค้างอยู่ก็ย่อมหมายความถึงยังมิได้ชำระนั่นเองแต่การที่มาตรา 45 บัญญัติเช่นนี้ย่อมหมายความว่า หากเจ้าของคนเก่านั้นยังมีหนี้ค่าภาษีอยู่ขณะเมื่อมีการโอนทรัพย์สินนั้นไปยังเจ้าของคนใหม่ เจ้าของคนเก่าและคนใหม่เป็นลูกหนี้ค่าภาษีร่วมกัน คดีนี้จำเลยที่ 1 มีหนี้ค่าภาษีอยู่ตั้งแต่เมื่อได้รับแจ้งการประเมินจากพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว มิใช่เพิ่งมีหนี้เกิดขึ้นเมื่อระยะเวลาที่กำหนดไว้ตามมาตรา 38ล่วงพ้นไปแต่อย่างใด เพราะฉะนั้นเมื่อยังมิได้มีการชำระหนี้ค่าภาษีในขณะที่โอนกรรมสิทธิ์โรงเรือนและที่ดินไปยังจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1ในหนี้ค่าภาษีดังกล่าวรวมทั้งเงินเพิ่มด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7130/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินและการร่วมรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียม
โจทก์ฟ้องโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า ว.ขอไถ่ถอนตั๋วสัญญาใช้เงินของโจทก์โดยโจทก์ไม่ได้มอบอำนาจ จำเลยที่ 2 พนักงานของจำเลยที่ 1 ไม่ตรวจสอบหลักฐานการมอบอำนาจ ร่วมกันยินยอมให้ ว.รับตั๋วสัญญาใช้เงินของโจทก์ไปให้พนักงานฝ่ายตั๋วเงินของจำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเช็คของธนาคารตามจำนวนเงินในตั๋วสัญญาใช้เงินพร้อมดอกเบี้ยโดยระบุชื่อโจทก์หรือผู้ถือเป็นผู้รับเงินแล้วมอบให้ ว.ไป ว.ได้สลักหลังปลอมลายมือชื่อโจทก์ในเช็คแล้วนำไปเข้าบัญชีเรียกเก็บเงินเป็นเหตุให้โจทก์ไม่อาจไถ่ถอนตั๋วสัญญาใช้เงินของโจทก์ได้ ขอให้บังคับให้จำเลยทั้งสองชำระเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินและดอกเบี้ยให้โจทก์ จำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้ว่า โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินต้องฟ้องภายใน 3 ปี นับแต่วันออกตั๋วตาม ป.พ.พ.มาตรา 1001 ดังนี้ คำฟ้องของโจทก์ข้างต้นเป็นการฟ้องเรียกเงินประกันตามตั๋วสัญญาใช้เงินคืนจากจำเลยที่ 1ซึ่งจำเลยที่ 1 มอบให้แก่ ว.ไปโดยมิชอบอันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ ซึ่งจำเลยที่ 1 จะต้องใช้เงินค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์โดยการคืนทรัพย์สิน ซึ่งโจทก์ต้องเสียไปเพราะละเมิดตาม ป.พ.พ.มาตรา 438 วรรคสอง ไม่ใช่ฟ้องเรียกเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงิน และสิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่จะให้จำเลยที่ 1 คืนเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินอันโจทก์ต้องเสียไปเพราะละเมิดดังกล่าว ไม่มีบัญญัติอายุความไว้จึงมีกำหนด 10 ปี ตามมาตรา 193/30
จำเลยที่ 2 เป็นฝ่ายชนะคดีในชั้นศาลอุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์เพียงแต่พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ ซึ่งเป็นผลให้จำเลยที่ 2 ยังคงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นแทนโจทก์อยู่ จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเป็นว่าค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ให้เป็นพับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6400/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทซื้อขายผ้า, อายุความ, การร่วมรับผิดของหุ้นส่วน, และการหักหนี้
อุทธรณ์ของโจทก์มีใจความว่าเมื่อจำเลยที่ 1 ให้การรับว่าเป็นหนี้โจทก์จำนวน 1,889,967.75 บาท แล้ว จึงฟังเป็นยุติได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้จำนวนนี้จริงจะนำข้อต่อสู้เรื่องอายุความมาตัดทอนจำนวนหนี้ที่รับกันหาได้ไม่ ที่ศาลชั้นต้นหักค่าผ้าเป็นเงิน 198,864.80 บาท ออกจากจำนวนหนี้ที่รับฟังเป็นยุติแล้ว จึงคลาดเคลื่อนต่อกฎหมายและการซื้อขายผ้าตามฟ้องจำเลยที่ 1 ก็ไม่ได้ชำระเป็นเงินสดแสดงว่าเป็นการซื้อขายระบบสินเชื่อมีระยะเวลา 90 วัน ตามที่โจทก์นำสืบ เช่นนี้ถือได้ว่า โจทก์ได้อุทธรณ์เรื่องอายุความ เกี่ยวกับสินค้าที่โจทก์ได้ส่งให้แก่จำเลยที่ 1 แล้ว การซื้อขายผ้าระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ไม่มีข้อตกลงว่าจำเลยที่ 1 จะต้องชำระราคาภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ได้รับผ้า โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระราคาผ้านับแต่วันส่งมอบผ้า โจทก์ส่งผ้าตามฟ้องให้แก่จำเลยที่ 1เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2528 ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2528โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 30 เมษายน 2530 ค่าผ้าที่โจทก์ส่งให้แก่จำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2528 รวม 2 รายการเป็นเงิน 198,864.80 บาท จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1)(เดิม) จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดในยอดหนี้จำนวนดังกล่าว การหักกลบลบหนี้เป็นเรื่องบุคคลสองฝ่ายต่างมีความผูกพันเป็นหนี้กัน และหนี้ซึ่งผูกพันกันอยู่อันจะเกิดการหักกลบลบหนี้กันได้นี้ต้องเป็นหนี้สองรายหรือต่างรายกัน แต่ความรับผิดของจำเลยที่จะต้องชำระราคาผ้ากับความรับผิดของโจทก์ใน การรับคืนผ้าที่ขายเพราะเหตุชำรุดบกพร่องนี้เกิดจากสัญญาซื้อขายผ้ารายเดียวกัน ซึ่งต่างฝ่ายต่างผูกพันในหนี้อันเดียวกัน ดังนั้น การหักราคาผ้าที่โจทก์รับคืนเพราะเหตุชำรุดบกพร่องออกจากราคาผ้าที่โจทก์ขายไป จึงไม่ใช่ เรื่องหักกลบลบหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 341 นับตั้งแต่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำการค้าระหว่างกันจนกระทั่งฟ้องร้องคดีนี้ไม่เคยมีการหักทอนบัญชีแต่อย่างใดเนื่องจากมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับตัวเลขแสดงว่ามิได้มีการตกลงกำหนดเวลาให้มีการหักทอนบัญชีในกิจการค้าระหว่างโจทก์กับ จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นสาระสำคัญข้อหนึ่งเกี่ยวกับสัญญา บัญชีเดินสะพัด แม้กฎหมายจะไม่บังคับว่าการจดแจ้งทางบัญชี จะต้องทำอย่างไรและจะต้องถูกต้องตามหลักการทำบัญชีก็ตาม แต่พฤติการณ์ของโจทก์และจำเลยที่ 1 ที่ปฏิบัติต่อกันดังที่ นำสืบมานั้นเป็นเรื่องซื้อขายผ้ากันธรรมดา ถือไม่ได้ว่า กิจการค้าระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เข้าลักษณะเป็น สัญญาบัญชีเดินสะพัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 856 จำเลยทั้งสี่ฎีกาอ้างว่าผ้าที่โจทก์ต้องรับคืนตามฟ้องแย้ง ไม่ใช่ผ้าชำรุดบกพร่อง หากแต่เป็นผ้าที่ไม่อาจใช้งานของ จำเลยที่ 1 ได้ แต่นำไปใช้งานอย่างอื่นได้ กรณีไม่ใช่เป็น การเรียกเอาค่าสินค้าที่เกิดจากความชำรุดบกพร่อง ฟ้องแย้ง จึงไม่ขาดอายุความนั้น ข้ออ้างตามฎีกาจำเลยทั้งสี่ดังกล่าว ขัดกับคำให้การและฟ้องแย้งที่ว่า ผ้าที่โจทก์ส่งแก่จำเลย ที่ 1 หากเกิดชำรุดบกพร่องโดยการทอก็ดี การฟอกย้อมก็ดี และหรือเหตุอื่นใดก็ดี เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ไม่อาจ ใช้ประโยชน์ตามมุ่งหมายแห่งสัญญา โจทก์ยอมรับคืน ซึ่งหมายความ ว่าหากผ้าที่โจทก์ส่งให้แก่จำเลยที่ 1 มีลักษณะดังกล่าว ข้างต้น แม้จะสามารถนำไปใช้งานอย่างอื่นได้ก็ให้ถือว่า เป็นผ้าที่ชำรุดบกพร่องในการที่โจทก์จะต้องรับคืนจากจำเลย ที่ 1 นั่นเอง ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 474 ได้บัญญัติในเหตุที่ว่านี้ให้ฟ้องภายใน 1 ปี นับแต่เวลาที่ พบเห็นความบกพร่อง เมื่อปรากฎว่าโจทก์ส่งผ้าให้แก่ จำเลยที่ 1 ปี 2528 จึงเชื่อว่าฝ่ายจำเลยย่อมจะพบเห็น ความชำรุดบกพร่องของผ้าดังกล่าวตั้งแต่ปีดังกล่าวแล้วการที่จำเลยทั้งสี่มาฟ้องแย้งโจทก์ในปี 2530 จึงเกิน 1 ปีนับแต่ที่ได้พบเห็นความชำรุดบกพร่องฟ้องแย้งจึงขาดอายุความ โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ร่วมรับผิดกับห้าง จำเลยที่ 1 ในหนี้ค่าผ้าทั้งในฐานะส่วนตัวและในฐานะ หุ้นส่วนผู้จัดการห้างจำเลยที่ 1 ซึ่งหมายถึงในฐานะที่ เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดด้วย เพราะตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1087 ห้างหุ้นส่วนจำกัด ต้องให้แต่เฉพาะผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิด เท่านั้นเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 2 เคยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างจำเลยที่ 1 มาก่อน ย่อมแสดงว่าจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัด ความรับผิด แม้ต่อมาในขณะฟ้องจำเลยที่ 2 จะไม่ได้เป็น หุ้นส่วนผู้จัดการห้างจำเลยที่ 1 แต่ก็ไม่ปรากฏว่าได้ เปลี่ยนแปลงเป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิด จึงถือว่า จำเลยที่ 2 ยังเป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดอยู่ ส่วนจำเลยที่ 3 และที่ 4 ปรากฏว่าเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการห้าง จำเลยที่ 1 จึงเป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิด เช่นกัน ดังนั้น แม้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จะมิได้ซื้อผ้า จากโจทก์เป็นการส่วนตัวก็ตาม จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ก็ต้อง รับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ของห้างจำเลยที่ 1 โดยไม่จำกัด จำนวนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1077(2) ด้วย ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ร่วมรับผิด กับจำเลยที่ 1 ตามบทกฎหมายดังกล่าว จึงไม่เกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5279/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของผู้รับประกันภัยค้ำจุนและการร่วมรับผิดในคดีละเมิด
จำเลยร่วมที่ 2 ถูกเรียกให้เข้ามาเป็นจำเลยร่วมเพื่อรับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์คันพิพาท ซึ่งมีความรับผิดแตกต่างกับความรับผิดของจำเลยที่ 3 ที่จะต้องรับผิดในฐานะที่เป็นนายจ้างซึ่งจะต้องร่วมรับผิดในการกระทำละเมิดของลูกจ้างในทางการที่จ้าง ดังนี้ มูลความแห่งคดีจึงเป็นกรณีที่มิได้เป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้หรือมิได้มีกฎหมายบัญญัติไว้ดั่งนั้นโดยชัดแจ้ง อีกทั้งคดีนี้มีโจทก์ที่ 4 เพียงผู้เดียวเท่านั้นที่ขอให้ศาลหมายเรียกจำเลยร่วมที่ 2 เข้ามาเป็นจำเลยร่วม ส่วนการที่ศาลมีคำสั่งให้รวมการพิจารณาและพิพากษาเข้าด้วยกันนั้นก็เป็นเพียงเพื่อความสะดวกเท่านั้น จึงมิได้เป็นเหตุที่ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงมูลความแห่งคดีเกี่ยวกับการชำระหนี้ที่แบ่งแยกจากกันได้หรือไม่แต่ประการใด ดังนี้ เมื่อจำเลยร่วมที่ 2คงต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ 4 เพียงผู้เดียว กรณีก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์ที่ 4 ได้กระทำการแทนโจทก์อื่นด้วย
โจทก์ที่ 4 ได้ขอให้ศาลหมายเรียกจำเลยร่วมที่ 2 เข้ามาร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 3 ในคดีและได้มีการพิจารณาเกี่ยวกับความรับผิดของจำเลยร่วมที่ 2ในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนในรถยนต์คันพิพาทต่อโจทก์ที่ 4 และโจทก์อื่นด้วย อีกทั้งยังมีการแถลงรับในชั้นสืบพยานของศาลชั้นต้นอีกว่าจำเลยร่วมที่ 2 จะต้องรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยคนละไม่เกิน 50,000 บาท ต่อ 1 ครั้ง และศาลชั้นต้นก็ได้วินิจฉัยให้จำเลยร่วมที่ 2 รับผิดร่วมกับจำเลยที่ 3 ต่อโจทก์อื่นอีกด้วย เช่นนี้ถือได้ว่าได้มีการหยิบยกปัญหาเรื่องการขอหมายเรียกของโจทก์ที่ 4 ขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้จำเลยที่ 2 รับผิดเฉพาะต่อโจทก์ที่ 4เพียงผู้เดียวโดยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์อื่นด้วยชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 339/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความยินยอมภรรยาในหนี้สิน: การร่วมรับผิดในหนี้จากการลงลายมือชื่อให้ความยินยอม
จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นภรรยาของจำเลยที่ 1 ได้ลงลายมือชื่อให้ความยินยอมในหนังสือให้ความยินยอม โดยระบุว่าจำเลยที่ 3 ยินยอมให้จำเลยที่ 1คู่สมรสของจำเลยที่ 3 ทำนิติกรรมทุกอย่างกับโจทก์ได้ จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 3ได้ร่วมรับรู้หนี้ที่จำเลยที่ 1 ได้ก่อให้เกิดขึ้นตามสัญญากู้เงิน และจำเลยที่ 3 ได้ให้สัตยาบันในหนี้ดังกล่าว หนี้ตามสัญญากู้เงินจึงเป็นหนี้ร่วมระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 3 ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1490 (4) จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดใช้หนี้ร่วมกันต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 339/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภริยาร่วมรับผิดในหนี้กู้เงิน หากให้ความยินยอมให้คู่สมรสทำนิติกรรมกับเจ้าหนี้
จำเลยที่3เป็นภริยาของจำเลยที่1ได้ลงลายมือชื่อในหนังสือให้ความยินยอมระบุว่าจำเลยที่3ยินยอมให้จำเลยที่1คู่สมรสของตนทำนิติกรรมทุกอย่างกับโจทก์ได้จึงถือว่าจำเลยที่3ได้ร่วมรับรู้หนี้ที่จำเลยที่1ได้ก่อให้เกิดขึ้นตามสัญญากู้เงินและจำเลยที่3ได้ให้สัตยาบันในหนี้ดังกล่าวหนี้ตามสัญญากู้เงินจึงเป็นหนี้ร่วมระหว่างจำเลยที่1กับจำเลยที่3ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1490(4)จำเลยที่1และจำเลยที่3ต้องรับผิดใช้หนี้ร่วมกันต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1208/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดสิทธิฎีกาในคดีละเมิดเมื่อทุนทรัพย์พิพาทในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท แม้เป็นการขอให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิด
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นเงิน 308,147.20 บาท ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้ตัดฟันต้นไม้ที่ปลูกในป่าสงวนแห่งชาติเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ และให้ร่วมกันใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน 125,800 บาท พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ โจทก์ฎีกาว่า จำเลยที่ 3 เป็นผู้จ้างวานจำเลยที่ 1 และที่ 2 จำเลยที่ 3 จึงต้องร่วมรับผิดในความเสียหายต่อโจทก์ด้วย ฎีกาของโจทก์จึงเป็นกรณีที่ขอให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิดในผลแห่งการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 และที่ 2 อันเป็นหนี้ร่วมอันไม่อาจแบ่งแยกได้ หากจำเลยที่ 3 จะต้องรับผิดก็ไม่เกินความเสียหายที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้กระทำ ถือว่าฎีกาของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 3 มีทุนทรัพย์พิพาทในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง เช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2839/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลกระทบของการจำหน่ายคดีจำเลยบางส่วนต่อความรับผิดของจำเลยอื่น และการร่วมรับผิดของผู้รับประกันภัย
โจทก์ฟ้องจำเลยที่1ผู้ทำละเมิดจำเลยที่2ในฐานะนายจ้างหรือตัวการและจำเลยที่3ในฐานะผู้รับประกันภัยรถยนต์ของจำเลยที่2คันที่จำเลยที่1ขับให้ร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ระหว่างพิจารณาจำเลยที่2ขาดนัดยื่นคำให้การแต่โจทก์มิได้ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่าจำเลยที่2ขาดนัดยื่นคำให้การศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งจำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยที่2ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา198วรรคสองดังนี้คำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้นคงมีผลเพียงว่าจำเลยที่2ไม่มีฐานะเป็นคู่ความในคดีและศาลไม่สามารถบังคับคดีแก่จำเลยที่2ได้เท่านั้นหามีผลทำให้หนี้หรือความรับผิดของจำเลยที่2ระงับสิ้นไปดังนั้นแม้ศาลชั้นต้นจะสั่งจำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่2ผู้เอาประกันภัยจำเลยที่3ผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์ของจำเลยที่2ก็อาจถูกพิพากษาให้รับผิดได้ ปัญหาว่าคดีสำหรับจำเลยที่2ขาดอายุความแล้วหรือไม่ไม่มีจำเลยคนใดให้การต่อสู้ไว้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
of 6