พบผลลัพธ์ทั้งหมด 54 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 725/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงหลังร้องขัดทรัพย์ไม่เป็นประนีประนอมยอมความ สิทธิในการขอกันส่วนยังคงมี
แม้ในชั้นร้องขัดทรัพย์ผู้ร้องจะตกลงกับโจทก์ว่า ผู้ร้องจะชำระหนี้แทนจำเลยภายในเวลาที่กำหนดเพื่อให้โจทก์ถอนการยึดทรัพย์ที่ร้องขัดทรัพย์และในที่สุดผู้ร้องก็ผิดนัดไม่นำเงินมาชำระหนี้ให้โจทก์ก็ตาม ข้อตกลงดังกล่าวก็หาเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 13 ไม่ เพราะการตกลงหรือประนีประนอมยอมความกันตามบทกฎหมายดังกล่าวต้องเป็นการตกลงหรือประนีประนอมยอมความกันในประเด็นแห่งคดีโดยมิได้มีการถอนคำฟ้อง เมื่อผู้ร้องขัดทรัพย์ได้ถอนคำร้องขัดทรัพย์เสียแล้ว จึงไม่มีคำฟ้องที่จะทำการตกลงหรือประนีประนอมยอมความอีกต่อไป ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่เป็นการประนีประนอมยอมความ แต่เป็นเพียงข้อแถลงของคู่ความประกอบคำร้องขัดทรัพย์เพื่อให้ศาลพิจารณาสั่งคำร้องดังกล่าวเท่านั้น ทั้งศาลชั้นต้นสั่งเพียงว่า อนุญาตให้ถอนคำร้องขัดทรัพย์ได้ และจำหน่ายคดีจากสารบบความ มิได้สั่งหรือพิพากษาตามที่ผู้ร้องตกลงกับโจทก์แต่อย่างใด ตามคำร้องขอถอนคำร้องขัดทรัพย์ ผู้ร้องยังสงวนสิทธิที่ผู้ร้องมีเหนือทรัพย์สินที่โจทก์นำยึด และตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นระบุว่า"...วันนี้ผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขอถอนคำร้องขัดทรัพย์และแถลงว่าจะไม่เกี่ยวข้องกับทรัพย์ที่ยึดอีกต่อไป ไม่ร้องขัดทรัพย์อีก..." และศาลได้ขีดฆ่าคำว่า "ไม่ขอร้องกันส่วนด้วย"ออก แสดงว่าผู้ร้องจะไม่เกี่ยวข้องกับที่ดินเฉพาะการร้องขัดทรัพย์เท่านั้น แต่ยังติดใจที่จะขอกันส่วนอยู่ ดังนั้น สิทธิของผู้ร้องในการขอกันส่วนจึงยังมีอยู่ และการใช้สิทธิของผู้ร้องหาเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ไม่เพราะผู้ร้องได้แสดงเจตนาสงวนสิทธิไว้แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3278/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการร้องขัดทรัพย์ของผู้เช่าซื้อ แม้ไม่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ หากมีส่วนได้เสียในทรัพย์ที่ถูกยึด
ผู้ร้องเป็นผู้เช่าซื้อเครื่องเช็คปั๊มดีเซลมา ขณะมีการยึดทรัพย์ ผู้ร้องยังชำระค่าเช่าซื้อไม่ครบถ้วน แสดงว่าผู้ร้องเป็นผู้ครอบครองเครื่องเช็คปั๊มดีเซลและใช้ประโยชน์ ผู้ร้องจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสีย กล่าวอ้างได้ว่า จำเลยที่ 2 ไม่ใช่เจ้าของทรัพย์ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288 ผู้ร้องไม่จำต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ก็ร้องขัดทรัพย์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1046/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร้องขัดทรัพย์หลังการขายทอดตลาด: สิทธิของผู้ร้องที่ยื่นคำร้องไม่ทันก่อนการขาย
ผู้ร้องทั้งสองยื่นคำร้องอ้างว่า ทรัพย์ที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้และขายทอดตลาดเป็นของผู้ร้องทั้งสอง โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปทำการยึดทรัพย์ของผู้ร้องทั้งสองซึ่งเป็นบุคคลภายนอกและดำเนินการขายทอดตลาดโดยผู้ร้องทั้งสองไม่รู้เห็นมาก่อน การบังคับคดีจึงกระทำไปโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ตามคำร้องเป็นการกล่าวอ้างว่าจำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ใช่เจ้าของทรัพย์ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดไว้ ขอให้ยกกระบวนวิธีการบังคับคดีทั้งปวงเกี่ยวกับการบังคับคดีครั้งนี้ อันมีความมุ่งหมายเพื่อได้รับผลที่จะให้เจ้าพนักงานบังคับคดีปล่อยทรัพย์ที่ยึดคืนให้แก่ผู้ร้องทั้งสองไปในที่สุด จึงเป็นกรณีที่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288 ที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะในเรื่องร้องขัดทรัพย์นั่นเอง มิใช่เป็นการยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งยกกระบวนวิธีการบังคับคดีตามมาตรา 296 วรรคสอง ประกอบมาตรา 27 และการจะให้เจ้าพนักงานบังคับคดีปล่อยทรัพย์ที่ยึดคืนให้แก่ผู้ร้องทั้งสองได้นั้น ตามมาตรา 288 วรรคแรกก็กำหนดให้ยื่นคำร้องขอต่อศาลก่อนเอาทรัพย์ออกขายทอดตลาด ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงาน-บังคับคดีได้ทำการขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดไปก่อนแล้ว ผู้ร้องทั้งสองจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1046/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร้องขัดทรัพย์หลังการขายทอดตลาด: ผู้ร้องต้องยื่นคำร้องก่อนการขายทอดตลาด
ผู้ร้องทั้งสองยื่นคำร้องอ้างว่า ทรัพย์ที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้และขายทอดตลาดเป็นของผู้ร้องทั้งสอง โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปทำการยึดทรัพย์ของผู้ร้องทั้งสอง ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกและดำเนินการขายทอดตลาดโดยผู้ร้องทั้งสองไม่รู้เห็นมาก่อน การบังคับคดีจึงกระทำไปโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ตามคำร้องเป็นการกล่าวอ้างว่าจำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ใช่เจ้าของทรัพย์ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดไว้ ขอให้ยกกระบวนวิธีการบังคับคดีทั้งปวงเกี่ยวกับการบังคับคดีครั้งนี้ อันมีความมุ่งหมายเพื่อได้รับผลที่จะให้เจ้าพนักงานบังคับคดีปล่อยทรัพย์ที่ยึดคืนให้แก่ผู้ร้องทั้งสองไปในที่สุด จึงเป็นกรณีที่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288 ที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะในเรื่องร้องขัดทรัพย์นั่นเอง มิใช่เป็นการยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งยกกระบวนวิธีการบังคับคดีตามมาตรา 296 วรรคสองประกอบมาตรา 27 และการจะให้เจ้าพนักงานบังคับคดีปล่อยทรัพย์ที่ยึดคืนให้แก่ผู้ร้องทั้งสองได้นั้น ตามมาตรา 288 วรรคแรก ก็กำหนดให้ยื่นคำร้องขอต่อศาลก่อนเอาทรัพย์ออกขายทอดตลาด ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ทำการขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดไปก่อนแล้ว ผู้ร้องทั้งสองจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1342/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร้องขัดทรัพย์ซ้ำในประเด็นที่ศาลเคยวินิจฉัยแล้ว เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตามกฎหมาย
ผู้ร้องเคยฟ้องคดีแพ่งที่ศาลชั้นต้นว่าที่ดินและตึกแถวพิพาทเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาท ผู้ร้องเป็นทายาทจึงเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินและตึกแถวดังกล่าวร่วมกับจำเลย โจทก์คดีนี้รับจำนองทรัพย์ดังกล่าวไว้โดยไม่สุจริต จึงขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมจำนอง ศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดว่าจำเลยคดีนี้เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินและตึกแถวพิพาทที่จำนองแต่ผู้เดียว ซึ่งเท่ากับวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีว่าทรัพย์ที่จำนองมิใช่ของผู้ร้อง การที่ผู้ร้องมาร้องขัดทรัพย์ในคดีนี้ในขณะที่คดีดังกล่าวอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์โดยอ้างว่าที่ดินและตึกแถวพิพาทเป็นของผู้ร้อง จึงเป็นการขอให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในประเด็นเดียวกันกับที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยไว้แล้วดังกล่าวมา การร้องขัดทรัพย์ของผู้ร้องจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1342/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร้องขัดทรัพย์ซ้ำในประเด็นกรรมสิทธิ์ที่ศาลเคยวินิจฉัยแล้ว ถือเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตามกฎหมาย
คดีเดิมผู้ร้องทั้งสองฟ้องโจทก์ในคดีนี้ว่ารับจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 4754,4755,4756 และตึกแถวเลขที่ 35,37,39 ที่ผู้ร้องทั้งสองเป็นเจ้าของร่วมอยู่กับจำเลยในคดีนี้โดยไม่สุจริต ขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมจำนองดังกล่าวแต่ศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าววินิจฉัยชี้ขาดว่า จำเลยเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้างที่จำนองแต่ผู้เดียว เท่ากับว่าศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีแล้วว่าทรัพย์สินที่จำนองมิใช่ของผู้ร้องทั้งสองการที่ผู้ร้องทั้งสองมาร้องขัดทรัพย์ ในคดีนี้ขณะที่คดีเดิมยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ว่าที่ดินโฉนดเลขที่ 4755,4756 และตึกแถวเลขที่ 37,39 เป็นของผู้ร้องทั้งสองตามลำดับ จึงเป็นการขอให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในประเด็นเดียวกันกับที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยไว้แล้วในคดีเดิม การร้องขัดทรัพย์ของผู้ร้องทั้งสองจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีเดิม ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4498/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของร่วมทรัพย์สิน: สามีภรรยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสร่วมกันทำธุรกิจ ทรัพย์สินที่ได้มาถือเป็นของร่วมกัน เจ้าของรวมร้องขัดทรัพย์ไม่ได้
ผู้ร้องกับจำเลยอยู่ด้วยกันฉันสามีภรรยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรสได้ร่วมกันประกอบธุรกิจ และใช้เงินซึ่งทำมาหาได้ด้วยกันซื้อทรัพย์ที่โจทก์นำยึดทรัพย์ดังกล่าวจึงเป็นของผู้ร้องกับจำเลยร่วมกันผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าของรวมจึงร้องขัดทรัพย์ไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2975/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิร้องขัดทรัพย์ต้องเป็นเจ้าของทรัพย์หรือมีสิทธิเหนือทรัพย์นั้น ผู้มีสัญญาซื้อขายแต่ยังไม่ได้สิทธิครอบครองไม่มีอำนาจร้องขัดทรัพย์
ขณะที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขัดทรัพย์ ที่ดินพิพาทเป็นของผู้อื่น ผู้ร้องมิได้ถูกโต้แย้งสิทธิ ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจร้องขัดทรัพย์ การโอนที่ดินพิพาทครั้งสุดท้ายเป็นการโอนระหว่างจำเลยกับบุคคลภายนอกโดยไม่ปรากฏว่าบุคคลภายนอกรับโอนแทนผู้ร้องจึงเป็นเรื่องที่บุคคลภายนอกถูกโต้แย้งสิทธิและจะต้องไปดำเนินการเอง ผู้ร้องไม่มีอำนาจร้องขัดทรัพย์ในนามของตนเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5562/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน แม้ยังมิได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ ก็มีส่วนได้เสียในทรัพย์สิน ย่อมมีสิทธิร้องขัดทรัพย์ได้
ผู้ร้องซื้อที่พิพาทจากจำเลยโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนและขายฝากไว้กับบริษัท ค. ก่อนที่โจทก์จะนำยึด ต่อมาผู้ร้องได้ชำระเงินค่าไถ่ถอนการขายฝากให้แก่ผู้รับซื้อฝากแล้ว แม้ผู้ร้องยังไม่ได้จดทะเบียนไถ่ถอนการขายฝากเนื่องจากโจทก์อายัดที่พิพาทไว้ก็ตาม ก็ต้องถือว่าผู้ร้องมีส่วนได้เสียในที่พิพาท ย่อมร้องขัดทรัพย์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2518/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร้องขัดทรัพย์สินสมรสและการเพิกถอนนิติกรรมอันเกิดจากการฉ้อฉล ผู้ร้องต้องฟ้องเพิกถอนก่อนจึงจะขอปล่อยทรัพย์ได้
การขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดต้องเป็นเรื่องที่ผู้ร้องกล่าวอ้างว่าจำเลยไม่ใช่เจ้าของทรัพย์ดังกล่าว การที่ผู้ร้องอ้างว่าทรัพย์ที่ยึดเป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องกับจำเลยผู้ร้องกับจำเลยจึงเป็นเจ้าของทรัพย์ร่วมกัน ผู้ร้องหามีสิทธิขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดไม่ และที่ผู้ร้องอ้างว่า สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยในคดีที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินกู้จากจำเลย เป็นนิติกรรมอันเกิดจากการฉ้อฉลทำให้ผู้ร้องเสียเปรียบ หากเป็นดังข้ออ้าง ผู้ร้องก็จะต้องฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนการฉ้อฉลนั้นเสียก่อน จะยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนในคดีซึ่งตนมิได้เป็นคู่ความหาได้ไม่
คดีร้องขัดทรัพย์ จำเลยจะเข้ามาในคดีหรือไม่ก็ได้เมื่อเข้ามาแล้ว จำเลยก็มีฐานะเป็นคู่ความ มีสิทธิได้ค่าฤชาธรรมเนียม.
คดีร้องขัดทรัพย์ จำเลยจะเข้ามาในคดีหรือไม่ก็ได้เมื่อเข้ามาแล้ว จำเลยก็มีฐานะเป็นคู่ความ มีสิทธิได้ค่าฤชาธรรมเนียม.