คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ร้องสอด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 147 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7709/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร้องสอดต้องเป็นบุคคลภายนอกคดี การเป็นคู่ความเดิมไม่อาจร้องสอดได้
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่าบุคคลภายนอกซึ่งมิใช่คู่ความอาจเข้ามาเป็นคู่ความได้ด้วยการร้องสอด ตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวเป็นที่ชัดเจนว่าเฉพาะแต่บุคคลภายนอกที่มิใช่คู่ความเท่านั้นที่จะเข้ามาในคดีด้วยการร้องสอด แต่จำเลยที่ 3 เป็นคู่ความในคดีอยู่แล้ว แม้จำเลยที่ 3 อ้างว่าเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ละเลยไม่ต่อสู้คดีกับโจทก์ จำเลยที่ 3ต้องการเข้าเป็นคู่ความฝ่ายที่สามเพื่อคุ้มครองสิทธิของตนในบริษัทจำเลยที่ 1 ก็ตาม จำเลยที่ 3 ก็ไม่ใช่บุคคลภายนอก ไม่อาจร้องสอดเข้ามาในคดีตามมาตรา 57 วรรคหนึ่ง(1) ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6554/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้ถือหุ้นจำกัด หนี้สินบริษัท ไม่ผูกพันผู้ถือหุ้น การร้องสอดไม่มีสิทธิ
++ เรื่อง บัญชีเดินสะพัด ตั๋วเงิน ค้ำประกัน จำนอง (ชั้นไม่รับคำร้องสอด) ++
ผู้ร้องสอดเป็นผู้ถือหุ้นของจำเลยซึ่งเป็นบริษัทจำกัด บรรดาหนี้สินของจำเลยที่ต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอก จำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ผู้ร้องสอดยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าของหุ้นที่ผู้ร้องสอดถือตาม ป.พ.พ.มาตรา 1096 หากศาลมีคำพิพากษาให้จำเลยแพ้คดี คำพิพากษาดังกล่าวย่อมกระทบแต่เฉพาะทรัพย์สิน สิทธิประโยชน์ และกิจการของจำเลย หากจะต้องมีการบังคับคดี ผู้ร้องสอดในฐานะผู้ถือหุ้นหาต้องถูกบังคับคดีด้วยไม่ ผู้ร้องสอดย่อมไม่มีความจำเป็นที่จะได้รับความรับรอง คุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ จึงไม่มีสิทธิร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความด้วยการร้องสอดตาม ป.วิ.พ. มาตรา57(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6554/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้ถือหุ้นจำกัด: การร้องสอดคดีเพื่อคุ้มครองสิทธิในฐานะผู้ถือหุ้นไม่ได้รับอนุญาต
ผู้ร้องสอดเป็นผู้ถือหุ้นของจำเลยซึ่งเป็นบริษัทจำกัด ความรับผิดของผู้ร้องสอดจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ผู้ร้องสอดยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าของหุ้นที่ผู้ร้องสอดถือ หากศาลมีคำพิพากษาให้จำเลยแพ้คดี คำพิพากษาดังกล่าวย่อมกระทบแต่เฉพาะทรัพย์สิน สิทธิประโยชน์ และกิจการของจำเลย หากจะต้องมีการบังคับคดีก็เป็นเพียงจำเลยเท่านั้นที่จะต้องถูกบังคับคดี ผู้ร้องสอดในฐานะผู้ถือหุ้นหาต้องถูกบังคับคดีด้วยไม่ ผู้ร้องสอดย่อมไม่มีความจำเป็นที่จะได้รับความรับรองคุ้มครอง หรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่จึงไม่มีสิทธิร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความด้วยการร้องสอดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6922/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการร้องสอดเป็นจำเลยร่วมขึ้นอยู่กับส่วนได้เสียโดยตรงในมูลหนี้เดิม ไม่ใช่ความผูกพันที่เกิดขึ้นภายหลัง
หนี้เงินกู้ระหว่างโจทก์กับจำเลยอันเป็นฐานแห่งสัญญาจำนองนั้น ผู้ร้องมิได้มีส่วนได้เสียเกี่ยวพันด้วย ที่ผู้ร้องอ้างว่า ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจำนองและรับช่วงภาระการจำนองมาด้วยก็เป็นความเกี่ยวพันรับผิดชอบหลังจากผลพิพาทในมูลหนี้ระหว่างโจทก์กับจำเลยอีกชั้นหนึ่ง ดังนี้ผู้ร้องยังไม่มีส่วนได้เสียเกี่ยวข้องในผลแห่งคดีที่โจทก์กับจำเลยพิพาทกันในส่วนที่เกี่ยวกับมูลหนี้กู้ยืมในคดีนี้ จึงไม่มีสิทธิร้องสอดเข้ามาเป็นจำเลยร่วมได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8945/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องร้องสอดของหน่วยงานราชการ: อำเภอไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล จึงไม่มีอำนาจร้องสอดได้
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มิได้กำหนดให้อำเภอมีฐานะเป็นนิติบุคคลอย่างเช่นจังหวัด แม้จะมีพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พุทธศักราช 2457 มาตรา 122 พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 62 วรรคสามและระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการดูแลรักษาที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ. 2515 ข้อ 4(1) และ ข้อ 5(1) กำหนดให้นายอำเภอหรือกรมการอำเภอมีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาที่ดินอันเป็นสาธารณประโยชน์ก็ไม่เกี่ยวกับผู้ร้องสอด ซึ่งเป็นส่วนราชการ (อำเภอ) และไม่มีกฎหมายใดกำหนดให้ผู้ร้องสอดมีฐานะเป็นนิติบุคคล ผู้ร้องสอดจึงไม่มีอำนาจร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความในคดีนี้ได้ ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็เห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ประกอบมาตรา 246 และ 247 คดีไม่จำต้องวินิจฉัยปัญหาตามที่ผู้ร้องสอดฎีกาขึ้นมาอีกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8657/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องร้องสอดของโจทก์ร่วมในคดีขับไล่ และผลกระทบต่อสัญญาจะซื้อจะขาย
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยผู้อาศัยออกจากที่ดินพิพาท ซึ่งเดิมเป็นของโจทก์ร่วมและโจทก์ร่วมได้ทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาทให้แก่ พ. โดยในวันทำสัญญาพ.ได้ชำระเงินให้แก่โจทก์ร่วมบางส่วน ส่วนเงินที่เหลือ พ.จะนำมามอบให้แก่โจทก์ร่วมต่อเมื่อสามารถขับไล่จำเลยซึ่งอาศัยในที่ดินของโจทก์ร่วมออกไปเสียก่อนและโจทก์ร่วมจะต้องจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ซึ่งจะแต่งงานกับ พ.หลังจากที่มีการจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทแล้ว ดังนี้หากจำเลยอยู่ในที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิโจทก์ร่วมจริงตั้งแต่ก่อนฟ้องคดีนี้ โจทก์ร่วมก็ย่อมมีอำนาจบังคับจำเลยออกจากที่ดินพิพาทอยู่ก่อนโอนให้โจทก์ ทั้งตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท หากโจทก์ไม่สามารถขับไล่จำเลยออกไปจากที่ดินได้และโจทก์เป็นฝ่ายแพ้คดี โจทก์และ พ.ย่อมไม่ชำระเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือให้แก่โจทก์ร่วม และอาจใช้สิทธิเรียกร้องเงินที่ชำระแล้วคืนได้ โจทก์ร่วมจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดี และมีสิทธิยื่นคำร้องเข้าเป็นคู่ความได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 57 (2)
ปัญหาว่า โจทก์ร่วมมีอำนาจฟ้องหรือร้องสอดเข้ามาในคดีได้หรือไม่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลชั้นต้น จำเลยก็มีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาได้ และเมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 ยังมิได้วินิจฉัยปัญหานี้ ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยไปเสียทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิจารณาพิพากษาใหม่
ศาลชั้นต้นยังมิได้สั่งค่าฤชาธรรมเนียมสำหรับฟ้องแย้ง ศาลฎีกาจึงสั่งให้ถูกต้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 161.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7488/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร้องสอดเพื่อต่อสู้คดีกับตัวแทน: ความไม่ชอบและการขาดประโยชน์
คดีนี้โจทก์ฟ้องในฐานะผู้จัดการมรดกของ ส.เจ้ามรดก อ้างว่าที่ดินพิพาทซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 โดยการครอบครองปรปักษ์ ยังเป็นกรรมสิทธิ์และเป็นทรัพย์มรดกของ ส. ขอให้เจ้าพนักงานที่ดินระงับการจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวแก่จำเลยที่ 1 ดังนี้ การที่ผู้ร้องสอดได้ร้องสอดเข้ามาโดยอ้างว่าเป็นทายาทของ ส. ขอแบ่งมรดกเป็นคู่ความฝ่ายที่สามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 57 (1) เช่นนี้ โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกจะต้องรับผิดชอบต่อทายาทของเจ้ามรดกทุกคนเสมือนเป็นตัวแทนตาม ป.พ.พ.มาตรา 809 ถึง 812, 819, 823และ 831 ประกอบด้วยมาตรา 1720 ฉะนั้น ผู้ร้องสอดจะใช้สิทธิร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สามเพื่อเป็นการต่อสู้คดีกับตัวแทนของตนเอง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 58วรรคหนึ่ง ในขณะที่ตัวแทนหรือโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกกำลังฟ้องเรียกทรัพย์มรดกจากบุคคลภายนอกหรือจำเลยทั้งสองอยู่ จึงเป็นการไม่ชอบ อีกทั้งหากศาลฟังว่าที่ดินพิพาทมิได้เป็นทรัพย์มรดก คำร้องของผู้ร้องสอด ก็ไม่มีประโยชน์ที่จะได้รับการวินิจฉัยพฤติการณ์จึงยังไม่เป็นการจำเป็นเพื่อให้ได้รับความรับรองคุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิของตนที่อาจมีอยู่ในชั้นนี้ ศาลชั้นต้นชอบที่จะยกคำร้องของผู้ร้องสอดเสีย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7488/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร้องสอดแบ่งมรดกไม่ชอบ หากผู้จัดการมรดกฟ้องคดีเรียกทรัพย์มรดกอยู่
คดีนี้โจทก์ฟ้องในฐานะผู้จัดการมรดกของ ส.เจ้ามรดกอ้างว่าที่ดินพิพาทซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 โดยการครอบครองปรปักษ์ ยังเป็นกรรมสิทธิ์และเป็นทรัพย์มรดกของ ส. ขอให้เจ้าพนักงานที่ดินระงับการจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวแก่จำเลยที่ 1ดังนี้ การที่ผู้ร้องสอดได้ร้องสอดเข้ามาโดยอ้างว่าเป็นทายาทของ ส. ขอแบ่งมรดกเป็นคู่ความฝ่ายที่สามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) เช่นนี้โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกจะต้องรับผิดชอบต่อทายาทของเจ้ามรดกทุกคนเสมือนเป็นตัวแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 809 ถึง 812,819,823และ 831 ประกอบด้วยมาตรา 1720 ฉะนั้น ผู้ร้องสอดจะใช้สิทธิร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สามเพื่อเป็นการ ต่อสู้คดีกับตัวแทนของตนเอง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 58 วรรคหนึ่ง ในขณะที่ตัวแทนหรือโจทก์ในฐานะ ผู้จัดการมรดกกำลังฟ้องเรียกทรัพย์มรดกจากบุคคลภายนอก หรือจำเลยทั้งสองอยู่ จึงเป็นการไม่ชอบ อีกทั้งหากศาลฟังว่าที่ดินพิพาทมิได้เป็นทรัพย์มรดก คำร้องของผู้ร้องสอดก็ไม่มีประโยชน์ที่จะได้รับการวินิจฉัยพฤติการณ์จึงยังไม่เป็นการจำเป็นเพื่อให้ได้รับความรับรองคุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิของตนที่อาจมีอยู่ในชั้นนี้ศาลชั้นต้นชอบที่จะยกคำร้องของผู้ร้องสอดเสีย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5424/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองแทนทายาทและสิทธิในการแบ่งมรดก: ศาลไม่อาจกันส่วนแบ่งมรดกให้ทายาทที่มิได้ร้องสอด
ห.และจำเลยครอบครองที่พิพาทแทนทายาทของเจ้ามรดก ไม่ใช่ครอบครองเพื่อตนเอง ดังนี้ จำเลยย่อมไม่มีสิทธิยกอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นทายาทของเจ้ามรดกว่าคดีขาดอายุความได้
คดีฟ้องเรียกมรดก ผู้ซึ่งอ้างว่าตนเป็นทายาทมีสิทธิในทรัพย์มรดกนั้นจะร้องสอดเข้ามาในคดีก็ได้ แต่ศาลจะเรียกทายาทอื่น นอกจากคู่ความหรือผู้ร้องสอดให้เข้ามารับส่วนแบ่งหรือกันส่วนแบ่งทรัพย์มรดกไว้เพื่อทายาทอื่นนั้นไม่ได้ การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาแบ่งที่ดินให้แก่ ว.ทายาทคนหนึ่งของเจ้ามรดกโดยที่ ว.มิได้ร้องสอดเข้ามาในคดีหรือ ว.ได้มอบอำนาจให้โจทก์เรียกทรัพย์มรดกแทน จึงเป็นการกันส่วนแบ่งทรัพย์มรดกไว้เพื่อทายาทอื่น ต้องห้ามตาม ป.พ.พ.มาตรา 1749ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4344/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการร้องสอดคดีและการพิจารณาความเหมาะสมของระยะเวลาการยื่นคำร้อง
ตามคำร้องของผู้ร้องสอด ผู้ร้องสอดอ้างว่าจำเลยทั้งสองปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์และผู้ร้องสอด เป็นการละเมิดต่อผู้ร้องสอด ผู้ร้องสอดเป็นผู้เสียหายที่มีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนโดยตรงจากจำเลยทั้งสอง แต่โจทก์กลับนำสิทธิของผู้ร้องสอดมายื่นฟ้องต่อศาลโดยมิได้รับความยินยอมจากผู้ร้องสอด ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายแก่ผู้ร้องสอด โดยข้ออ้างของผู้ร้องสอดนี้มีสภาพแห่งข้อหาเช่นเดียวกับคำฟ้องของโจทก์ ดังนี้ เป็นการที่ผู้ร้องสอดอ้างว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองและโจทก์เป็นการโต้แย้งสิทธิของผู้ร้องสอดถือได้ว่าเป็นกรณีจำเป็นเพื่อยังให้ได้รับความรับรอง คุ้มครอง หรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 57 (1) แห่ง ป.วิ.พ. ผู้ร้องสอดจึงชอบที่จะร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความในคดีนี้ได้ แต่คดีนี้ ผู้ร้องสอดเพิ่งมายื่นคำร้องสอด เมื่อเป็นเวลาหลังจากโจทก์ฟ้องคดีเกือบ 2 ปี โดยโจทก์ได้นำพยานโจทก์เข้าเบิกความและตอบคำถามค้านของทนายจำเลยทั้งสองจนเสร็จสิ้นแล้ว หากจะอนุญาตให้ผู้ร้องสอดร้องสอดเข้ามา ก็จะทำให้กระบวนพิจารณาชักช้าและยุ่งยากขึ้นไปอีก ทั้งสิทธิของผู้ร้องสอดมีอยู่อย่างไร ผู้ร้องสอดก็มีสิทธิที่จะฟ้องร้องเป็นอีกคดีต่างหากได้อยู่แล้วศาลฎีกาจึงเห็นสมควรไม่อนุญาตให้ผู้ร้องสอดร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความในคดี
of 15