พบผลลัพธ์ทั้งหมด 16 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 858/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษจำเลยที่เคยต้องโทษและรอการลงอาญา การลงโทษซ้ำและการไม่พ้นโทษเดิม
ครั้งแรกจำเลยต้องโทษฐานทำร้ายร่างกาย ตาม ก.ม. ลักษณะอาญามาตรา 254 ศาลจำคุก 15 วัน ปรับ 20 บาท โทษจำคุกรอการลงอาญาไว้ครั้งที่สอง ต้องโทษฐานชิงทรัพย์แต่หลบหนีการควบคุม มากระทำผิดฐานชิงทรัพย์อีกเป็นครั้งที่สามได้ยกเอาโทษจำคุกที่รอไว้ในครั้งแรกมาลงแก่จำเลยด้วย แต่จำเลยก็ยังไม่ได้พ้นจากโทษจำคุกนั้นไปจึงจะเพิ่มโทษจำเลยตามมาตรา 72 ในความผิดครั้งที่สามไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 258/2485
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษกักกันซ้ำ แม้ยังไม่พ้นโทษเดิม
การลงโทษกักกันนั้น แม้จำเลยเคยต้องโทษกักกันมาก่อนและยังไม่พ้นโทษ ก็ลงโทษกักกันได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 792-794/2479
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการอุทธรณ์ - ศาลอุทธรณ์ต้องยึดข้อเท็จจริงเดิม - การลงโทษซ้ำ - ขัดคำสั่งเจ้าพนักงาน
จำเลยเคยถูกศาลลงโทษฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงานห้ามมิให้บุกรุกเข้าไปทำนา+ที่สาธารณครั้งหนึ่งแล้ว +คดีนี้จำเลยบุกรุกเข้าไปอีกก่อนนี้ จะลงโทษจำเลยฐานขัดคำสั่งอีกมิได้ ประมวลวิธีพิจารณาอาญา ม.194,243 โจทก์อุทธรณ์ในข้อกฎหมาย ศาลอุทธรณ์จะต้องฟังข้อเท็จจริงตามศาลชั้นต้น ในกรณีศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริง+ใหม่ ศาลฎีกาตัดสินเด็ดขาดไปได้ โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ตัดสินใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16228/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานทุจริต: การลงโทษซ้ำหรือไม่ และความชอบธรรมในการเลิกจ้าง
การที่ผู้บังคับบัญชาชั้นต้นมีคำสั่งลงโทษภาคทัณฑ์โจทก์สำหรับการกระทำที่ถูกกล่าวหาไปแล้ว แต่จำเลยที่ 1 มีคำสั่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยขึ้นสอบสวนใหม่แล้วมีคำสั่งลงโทษทางวินัยให้ไล่โจทก์ออกจากงานเนื่องจากเห็นว่าโจทก์กระทำทุจริตต่อหน้าที่และประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงนั้น เมื่อตามระเบียบข้อบังคับของจำเลยที่ 1 กำหนดขั้นตอนการลงโทษทางวินัยโดยให้ผู้บังคับบัญชาชั้นต้นมีอำนาจลงโทษพนักงานลูกจ้างสำหรับความผิดเล็กน้อยไม่ร้ายแรงได้ แต่ให้อยู่ภายใต้การทบทวนของผู้บังคับบัญชาระดับสูงขึ้นไปเพื่อให้การลงโทษนั้นเหมาะสม โดยระเบียบข้อบังคับกำหนดให้ผู้บังคับบัญชาชั้นต้นที่มีคำสั่งลงโทษในชั้นต้นมีหน้าที่ต้องรายงานการดำเนินการลงโทษทางวินัยนั้นไปยังผู้บังคับบัญชาระดับสูงจนถึงกรรมการผู้จัดการใหญ่เพื่อพิจารณาทบทวนได้ หากผู้บังคับบัญชาระดับสูงพิจารณาแล้วลงโทษเป็นอย่างอื่นก็ให้การลงโทษโดยผู้บังคับบัญชาชั้นต้นถูกยกเลิกเพิกถอนไป กรณีนี้จึงมิใช่เป็นการลงโทษซ้ำสำหรับการกระทำเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4901/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค้าประเวณีในต่างประเทศกับการลงโทษซ้ำในไทย: ข้อหาต่างกันลงโทษได้
ศาลในต่างประเทศพิพากษาให้ลงโทษจำเลยข้อหาค้าประเวณี แต่คดีนี้จำเลยกระทำความผิดข้อหาเป็นธุระจัดหาซึ่งบุคคลใดเพื่อการอนาจาร และเพื่อให้บุคคลนั้นกระทำการค้าประเวณีเป็นคนละข้อหากันและการกระทำต่างกัน การห้ามมิให้ลงโทษจำเลยในราชอาณาจักรตาม ป.อ. มาตรา 10 ต้องเป็นการลงโทษเพราะการกระทำเดียวกัน คือ เมื่อลงโทษข้อหาใดในต่างประเทศแล้วจะลงโทษข้อหาเดียวกันซ้ำในราชอาณาจักรอีกไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2069/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษซ้ำตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์: การพ้นโทษด้วยการชำระค่าปรับ และความหมายของการพ้นโทษ
พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 73 บัญญัติว่า "ผู้ใดกระทำความผิดต้องระวางโทษตามพระราชบัญญัตินี้ เมื่อพ้นโทษแล้วยังไม่ครบกำหนดห้าปีกระทำความผิดต่อพระราชบัญญัตินี้อีกต้องระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น" บทบัญญัติดังกล่าวไม่ได้ระบุว่าการพ้นโทษจะต้องเป็นการพ้นโทษจำคุกอย่างเดียว การปรับก็ถือว่าเป็นโทษอย่างหนึ่งตามป.อ. มาตรา 18 (4) ดังนั้น แม้คดีก่อนศาลจะลงโทษจำคุกและรอการลงโทษให้จำเลย แต่ปรากฏว่า คดีนั้นศาลก็ได้ลงโทษปรับจำเลยอีกสถานหนึ่งด้วย เมื่อมีการชำระค่าปรับครบถ้วนในวันเวลาใด ย่อมถือว่าจำเลยได้พ้นโทษในวันที่ชำระค่าปรับนั้นแล้ว ได้ความว่าขณะกระทำความผิดคดีนี้ จำเลยยังชำระค่าปรับในคดีก่อนไม่ครบถ้วน จึงเป็นกรณีที่จำเลยยังไม่ได้พ้นโทษในคดีก่อนและเมื่อกลับมากระทำความผิดคดีนี้ ซึ่งแม้จะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 เช่นเดียวกันก็ไม่อาจระวางโทษสองเท่าแก่จำเลยตามพ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 73 ได้ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางระวางโทษสองเท่าแก่จำเลยตามมาตรานี้ จึงไม่ชอบ