คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ลดจำนวน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 13 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2866/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับในสัญญาซื้อขาย ศาลมีอำนาจลดจำนวนลงได้หากสูงเกินส่วน โดยคำนึงถึงความเสียหายที่แท้จริง
แม้จะได้มีการกำหนดค่าปรับไว้ในสัญญาก็ตาม แต่เงินค่าปรับตามที่คู่กรณีกำหนดกันไว้นั้น ถือได้ว่าเป็นเบี้ยปรับเพื่อการที่จะชดใช้บรรเทาความเสียหายอันอาจจะมีหรือเกิดขึ้นไว้ล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 383 วรรคแรก ถ้าเบี้ยปรับที่ริบนั้นสูงเกินส่วน ศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ ซึ่งแสดงว่าเบี้ยปรับนั้นแม้จะได้กำหนดกันไว้ในสัญญา แต่ก็มิได้บังคับไว้โดยเด็ดขาดว่าจะต้องให้เป็นไปตามนั้น ทั้งนี้ต้องพิเคราะห์ถึงทางได้เสียของเจ้าหนี้ทุกอย่าง ไม่ใช่แต่ทางได้เสียในเชิงทรัพย์สินเท่านั้น ศาลย่อมใช้ดุลพินิจลดจำนวนค่าปรับหรือเบี้ยปรับตามสัญญาลงได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2508/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับตามสัญญาประกัน: ศาลมีอำนาจลดจำนวนหากสูงเกินควร โดยคำนึงถึงพฤติการณ์และผลกระทบ
ค่าปรับตามสัญญาประกันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ หากมีจำนวนสูงเกินไป ศาลย่อมมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้
จำเลยทำสัญญาประกันผู้ต้องหาความผิดฐานยักยอก เมื่อผิดสัญญาแล้วจำเลยก็มิได้ละเลยทอดทิ้ง ได้ติดตามจนได้ตัวผู้ต้องหามาส่งให้โจทก์ดำเนินคดีผลที่สุดผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์ ศาลสั่งจำหน่ายคดีไปแล้วดังนี้ศาลลดค่าปรับตามสัญญาประกันลงได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13658/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับจากสัญญาซื้อขายและการลดจำนวนเบี้ยปรับเมื่อผู้ขายผิดสัญญา
โจทก์ให้หลักประกันเพื่อให้จำเลยที่ 2 เชื่อได้ว่าโจทก์จะปฏิบัติตามสัญญา หากโจทก์ปฏิบัติผิดสัญญาจำเลยที่ 2 จะได้รับการชดใช้ค่าเสียหายเป็นค่าใช้จ่ายในการฟ้องขับไล่ผู้เช่าและผู้อาศัยที่ไม่ยอมย้ายออกจากทรัพย์สินที่ซื้อขายด้วยเงินที่ยึดถือไว้เป็นประกัน อันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับที่กำหนดเป็นจำนวนเงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 379
เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา จึงหามีสิทธิได้ดอกเบี้ยจากเบี้ยปรับที่ได้รับคืนไม่ ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดให้จำเลยที่ 2 ต้องชำระดอกเบี้ยสำหรับเบี้ยปรับที่ต้องคืนให้แก่โจทก์ด้วยนั้นไม่ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความมิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องเองได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 247 ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 142 (5)
of 2