คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ลดหนี้

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 18 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 948/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากจำเลยมิได้อุทธรณ์ประเด็นลดหนี้ และศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยรับผิดน้อยลงแล้ว
เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์แล้ว โจทก์เป็นฝ่ายอุทธรณ์ให้จำเลยที่ 2 รับผิดเพิ่มขึ้นจากที่ศาลชั้นต้นพิพากษาส่วนจำเลยที่ 2 มิได้อุทธรณ์คดีแต่อย่างใด ในการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ตามที่โจทก์อุทธรณ์ขึ้นมาฝ่ายเดียวนั้น ศาลอุทธรณ์ก็ได้พิพากษาแก้ให้จำเลยที่ 2 รับผิดน้อยลงไปกว่าเดิมด้วยซ้ำดังนี้ จำเลยจึงไม่มีสิทธิฎีกาขอลดจำนวนเงินที่จะต้องรับผิดให้น้อยลงไปอีกได้ เพราะเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในชั้นอุทธรณ์ ทั้งไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 802/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงลดหนี้และการคืนเช็ค ถือเป็นการประนีประนอมยอมความ ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือจึงจะฟ้องบังคับคดีได้
ผู้ทรงเช็คชอบที่จะเรียกให้ผู้สั่งจ่ายชำระหนี้เต็มจำนวนตามเช็คได้ การที่ผู้ทรงและผู้สั่งจ่ายตกลงกัน โดยผู้ทรงยอมให้ชำระหนี้เพียงบางส่วน และผู้ทรงยอมคืนเช็คให้ผู้สั่งจ่าย จึงเป็นการระงับข้อพิพาทซึ่งมีอยู่หรือมีขึ้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน อันเป็นการประนีประนอมยอมความ
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ออกเช็คให้จำเลยเพื่อชำระหนี้เงินยืม ต่อมาโจทก์ไม่มีเงินพอชำระหนี้ โจทก์กับจำเลยตกลงกันลดหนี้ให้โจทก์ โดยจำเลยยอมให้โจทก์ชำระหนี้เพียงบางส่วน และจำเลยจะคืนเช็คให้โจทก์ โจทก์ชำระหนี้ตามที่ตกลงแต่จำเลยไม่คืนเช็คให้จึงขอบังคับให้จำเลยคืนเช็ค ดังนี้ ข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยเป็นการประนอมหนี้ อันเป็นการระงับข้อพิพาทที่จะเรียกร้องเงินเต็มจำนวนตามเช็คให้เสร็จสิ้นไป ด้วยยอมผ่อนผันให้แก่กัน ซึ่งเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 850 เมื่อสภาพแห่งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาและคำขอบังคับตามฟ้องเป็นเรื่องขอให้บังคับจำเลยคืนเช็คให้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ แต่ตามฟ้องไม่ปรากฏว่ามีหลักฐานเป็นหนังสือ ก็จะฟ้องให้บังคับคดีไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 851

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 802/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงลดหนี้และการคืนเช็คถือเป็นการประนีประนอมยอมความ ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือจึงจะฟ้องบังคับคดีได้
ผู้ทรงเช็คชอบที่จะเรียกให้ผู้สั่งจ่ายชำระหนี้เต็มจำนวนตามเช็คได้ การที่ผู้ทรงและผู้สั่งจ่ายตกลงกัน โดยผู้ทรงยอมให้ชำระหนี้เพียงบางส่วน และผู้ทรงยอมคืนเช็คให้ผู้สั่งจ่าย จึงเป็นการระงับข้อพิพาทซึ่งมีอยู่หรือจะมีขึ้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันอันเป็น การประนีประนอมยอมความ
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ออกเช็คให้จำเลยเพื่อชำระหนี้เงินยืมต่อมาโจทก์ไม่มีเงินพอชำระหนี้ โจทก์กับจำเลยตกลงกันลดหนี้ให้โจทก์ โดยจำเลยยอมให้โจทก์ชำระหนี้เพียงบางส่วน และจำเลยจะคืนเช็คให้โจทก์ โจทก์ชำระหนี้ตามที่ตกลงแต่จำเลยไม่คืนเช็คให้จึงขอบังคับให้จำเลยคืนเช็ค ดังนี้ ข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลย เป็นการประนอมหนี้ อันเป็นการระงับข้อพิพาทที่จะเรียกร้องเงิน เต็มจำนวนตามเช็คให้เสร็จสิ้นไปด้วยยอมผ่อนผันให้แก่กัน ซึ่งเป็น สัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 เมื่อสภาพแห่งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาและ คำขอบังคับตามฟ้องเป็นเรื่องขอให้บังคับจำเลยคืนเช็คให้ตาม สัญญาประนีประนอมยอมความ แต่ตามฟ้องไม่ปรากฏว่ามีหลักฐาน เป็นหนังสือก็จะฟ้องให้บังคับคดีไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 851

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 49/2485 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลดหนี้ไม่ใช่แปลงหนี้ใหม่ การวินิจฉัยใบเสร็จชำระดอกเบี้ย/ต้นเงินเป็นปัญหาข้อเท็จจริง
การทำสัญญาลดเงินกู้แต่ยังสงวนสิทธิตามสัญญาเดิมอยู่นั้น ไม่เรียกว่าแปลงหนี้ใหม่การวินิจฉัยเอกสารใบเสร็จรับเงินว่ารายใดเป็นการชำระดอกเบี้ยและรายใดเป็นการชำ ระต้นเงิน เป็นปัญหาข้อเท็จจริง ไม่ใช่การตีความเอกสาร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4392/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลดหนี้สูญและผลกระทบทางภาษีมูลค่าเพิ่ม: การลดหนี้ไม่ใช่ส่วนลดแต่เป็นการชำระหนี้ ทำให้เกิดหน้าที่เสียภาษี
โจทก์ทำบันทึกข้อตกลงลดหนี้ค่าเช่ารถประจำเดือนธันวาคม 2546 ให้แก่บริษัท บ. 35 ล้านบาท แล้วนำเป็นรายจ่ายหนี้สูญในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลโดยไม่ปฏิบัติตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ตรี (9) เจ้าพนักงานประเมินจึงให้โจทก์ปฏิบัติให้ถูกต้อง โดยนำยอดหนี้จำนวนดังกล่าวบวกกลับเป็นยอดลูกหนี้ค้างชำระดังเดิม ซึ่งเป็นเรื่องภาษีเงินได้นิติบุคคลเท่านั้น การกระทำของโจทก์ดังกล่าวไม่ทำให้บันทึกข้อตกลงลดหนี้และรับชำระหนี้ ซึ่งมีผลเป็นการปลดหนี้บางส่วนให้แก่บริษัท บ. ยกเลิกหรือสิ้นสุดลง สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในหนี้จำนวนดังกล่าวจึงระงับลงเสมือนโจทก์ได้รับชำระหนี้ดังกล่าวครบถ้วนแล้วอันเนื่องมาจากการทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าว โดยถือวันที่ทำบันทึกลดหนี้คือวันที่ 30 ธันวาคม 2546 เป็นวันที่ได้รับชำระหนี้ค่าบริการ ซึ่งเป็นวันที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นตามมาตรา 78/1 (1) นอกจากนี้การลดหนี้ของโจทก์มิใช่ส่วนลดหรือค่าลดหย่อนตามมาตรา 79 วรรคสาม (1) ที่ลดให้ในขณะขายสินค้าหรือให้บริการ แต่เป็นการลดหนี้ในกรณีที่ลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ โจทก์จึงมีหน้าที่เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากบริษัท บ. ในวันที่มีการลดหนี้ตามมาตรา 82/4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 368/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดิน: สิทธิของเจ้าหนี้เมื่อผู้ขายผิดสัญญา & ศาลมีสิทธิลดหนี้ตามสภาพ
จำเลยทำคันดินริมแม่น้ำแควน้อยมีผลทำให้ที่ดินที่โจทก์ตกลงจะซื้อจากจำเลยมีสภาพด้อยลงกว่าในขณะทำสัญญา ถือได้ว่าเกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินตามสัญญาจะซื้อจะขายซึ่งเป็นสัญญาต่างตอบแทนโดยจะโทษโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ไม่ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 371 วรรคสอง โจทก์จึงมีสิทธิเลือกที่จะเลิกสัญญาหรือเรียกให้จำเลยชำระหนี้ด้วยการจดทะเบียนโอนที่ดินและบ้านแก่โจทก์ตามสภาพที่เป็นอยู่โดยลดส่วนหนี้ค่าราคาที่ดินที่โจทก์ต้องชำระแก่จำเลยได้ เมื่อโจทก์ไม่ใช้สิทธิเลิกสัญญา โจทก์ก็ย่อมมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระหนี้ดังกล่าว แม้สัญญาจะซื้อขายมีข้อตกลงว่าหากจำเลยผู้จะขายปฏิบัติผิดสัญญา ผู้จะขายตกลงคืนเงินที่ได้รับชำระไว้แล้วพร้อมดอกเบี้ยก็เป็นเพียงทางเลือกทางหนึ่งมิได้เป็นข้อสัญญาจำกัดหรือเป็นการสละสิทธิของโจทก์ในการเลือกใช้สิทธิ
จำเลยทำคันดินขึ้นสูงถึง 4 เมตร เป็นสิ่งกำบังไม่ให้โจทก์สามารถมองไปยังแม่น้ำแควน้อยได้โดยสะดวกเช่นที่เป็นมาแต่เดิม แม้โจทก์มิได้แจ้งหรือโต้แย้งจำเลย จำเลยก็ไม่อาจเรียกให้โจทก์ชำระค่าที่ดินที่เหลือเต็มจำนวน การที่จำเลยเรียกให้โจทก์ไปจดทะเบียนรับโอนที่ดินและให้โจทก์ชำระค่าที่ดินที่เหลือเต็มจำนวนตามสัญญาจึงเป็นการเรียกให้โจทก์ชำระหนี้ต่างตอบแทนโดยไม่ชอบ โจทก์มีสิทธิปฏิเสธได้ และไม่ถือว่าโจทก์ปฏิบัติผิดสัญญา จำเลยไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาการที่จำเลยบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์ก็ไม่เป็นผลให้สัญญาจะซื้อจะขายเลิกกัน โจทก์มีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยจดทะเบียนโอนที่ดินและบ้านให้แก่โจทก์ จำเลยไม่มีสิทธิฟ้องแย้งขับไล่โจทก์ออกจากที่ดินและเรียกค่าเสียหาย
โจทก์ทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้ชำระค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเพิ่มแล้ว โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์คำสั่ง และไม่ได้ชำระค่าขึ้นศาลเพิ่มภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด คำสั่งของศาลชั้นต้นไม่รับฎีกาของโจทก์ชอบแล้ว แม้ศาลชั้นต้นจะดำเนินกระบวนพิจารณาผิดระเบียบที่ไม่แจ้งคำสั่งไม่รับฎีกาให้โจทก์ทราบ แต่การที่จะแก้ไขกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบของศาลชั้นต้นดังกล่าวย่อมไม่เป็นประโยชน์แต่อย่างใด จึงไม่สมควรแก้ไข

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9106/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงลดหนี้และการผ่อนชำระ ไม่ถือเป็นการประนีประนอมยอมความ หากไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข โจทก์มีสิทธิเรียกร้องหนี้เดิมได้
ข้อตกลงในรายงานกระบวนพิจารณาที่โจทก์และจำเลยทั้งห้าเคยตกลงกันว่าโจทก์ตกลงลดหย่อนต้นเงินและลดต้นเงินเหลือ 10,000,000 บาท หากจำเลยทั้งห้าชำระครบถ้วน โจทก์จะถอนฟ้องให้ เป็นเพียงข้อตกลงที่โจทก์ยอมลดยอดหนี้และยอมให้จำเลยทั้งห้าผ่อนชำระหนี้เท่านั้น โดยจำเลยทั้งห้าจะต้องชำระหนี้ให้แก่โจทก์อันเป็นเงื่อนไขที่จำเลยทั้งห้าต้องปฏิบัติให้ครบถ้วนเสียก่อน โจทก์จึงถอนฟ้องให้หากจำเลยทั้งห้าไม่ชำระหนี้ตามข้อตกลง โจทก์ไม่มีความผูกพันที่จะต้องถอนฟ้องกรณีจึงไม่ใช่เรื่องที่โจทก์และจำเลยทั้งห้าตกลงระงับข้อพิพาทที่มีอยู่หรือที่จะมีขึ้นนั้นให้เสร็จไปในทันทีด้วยต่างผ่อนผันให้แก่กัน อันจะถือเป็นการประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 850

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 416/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้จัดการมรดกเจรจาลดหนี้และขายทรัพย์สินเพื่อชำระหนี้ให้เจ้ามรดก การกระทำเข้าข่ายยักยอกทรัพย์หรือไม่
เมื่อศาลตั้งให้จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกไม่มีพินัยกรรมของ ช. และ ป. ตามลำดับ แล้ว จำเลยจักต้องทำหน้าที่ผู้จัดการมรดกภายใต้กรอบและหลักเกณฑ์ตามที่ ป.พ.พ. กำหนดไว้หลายประการ เช่น ต้องลงมือจัดทำบัญชีทรัพย์มรดกของ ช. และ ป. ภายใน 15 วัน นับแต่วันฟังคำสั่งศาลตามมาตรา 1728 (2) ประกอบมาตรา 1716 ทั้งต้องจัดทำบัญชีทรัพย์มรดกต่อหน้าพยานที่มีส่วนได้เสียในกองมรดกอย่างน้อย 2 คน ให้แล้วเสร็จภายใน 1 เดือน นับแต่วันฟังคำสั่งศาลตามมาตรา 1729 และประการสำคัญ จำเลยมีหน้าที่ต้องรวบรวมทรัพย์มรดกทั้งหลายของ ช. และ ป. แล้วนำมาจัดการมรดกโดยทั่วไป และจัดสรรแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทผู้มีสิทธิทุกคนให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี นับแต่วันฟังคำสั่งศาลตามมาตรา 1719 และมาตรา 1732 โดยการแบ่งปันทรัพย์มรดก จำเลยหามีอำนาจจัดการตามอำเภอใจไม่ แต่ต้องกระทำด้วยความซื่อสัตย์สุจริต โปร่งใสและตรงไปตรงมาอย่างเปิดเผยเพื่อไม่ให้เป็นที่คลางแคลงใจอันจะก่อให้เกิดความขัดแย้งกระทบกระทั่งต่อความสัมพันธ์อันดีงามในระหว่างทายาทผู้มีสิทธิทุกคนในครอบครัว มิฉะนั้นจำเลยจักต้องรับผิดในทางแพ่งต่อทายาทตามมาตรา 1720 หากกระทำการโดยทุจริต จำเลยจักต้องรับผิดในทางอาญาในความผิดฐานยักยอกตาม ป.อ. มาตรา 352 และมาตรา 354 ได้ ฟ้อง ข้อ 2.1 ชื่อ ป. เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์และตามสารบัญจดทะเบียนด้านหลังโฉนดมีข้อกำหนดห้ามโอนภายใน 10 ปี ตามมาตรา 58 ทวิ แห่ง ป.ที่ดิน เมื่อ ป. ถึงแก่ความตายในขณะที่ดินยังอยู่ในข้อกำหนดห้ามโอนและยังมีชื่อ ป. เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์โดยมิได้ทำพินัยกรรม ที่ดินตามฟ้อง ข้อ 2.1 จึงเป็นทรัพย์มรดกของ ป. ที่ตกทอดแก่ทายาทของ ป. จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ ป. ต้องแบ่งปันที่ดินมรดกแปลงนี้แก่ทายาทของ ป. ตามสิทธิของแต่ละคนให้เป็นไปตามกฎหมาย การที่จำเลยดำเนินการโอนที่ดินมรดกแปลงนี้มาเป็นชื่อของจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ ป. ก่อน แล้วโอนไปเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยเป็นการส่วนตัวแต่เพียงผู้เดียวในวันเดียวกัน ซึ่งยังอยู่ในระยะเวลาห้ามโอน การกระทำของจำเลยนอกจากจะเป็นการโอนที่ดินมรดกที่ฝ่าฝืนต่อกฎหมายแล้ว ยังบ่งชี้ว่าจำเลยที่เป็นเพียงทายาทผู้มีสิทธิคนหนึ่งไม่ต้องการให้ทายาทของ ป. คนอื่นรวมทั้งโจทก์ร่วมเป็นผู้ได้รับที่ดินมรดกร่วมกับจำเลยโดยถือเป็นกรณีที่จำเลยซึ่งได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์สินของผู้อื่นตามคำสั่งศาล กระทำผิดหน้าที่ด้วยการจดทะเบียนโอนทรัพย์สินนั้นเป็นของตนโดยทุจริตจึงเป็นความผิดฐานยักยอกคำมั่นของ ป. ว่า จะให้ที่ดินแปลงนี้แก่จำเลยไม่ได้มีการทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 526 จึงไม่อาจรับฟังให้มีผลใช้บังคับเป็นประโยชน์แก่จำเลยได้ ทั้งหากจำเลยต้องการได้ที่ดินมรดกแปลงนี้เป็นของจำเลยแต่เพียงผู้เดียว จำเลยก็สามารถประชุมตกลงกับทายาทผู้มีสิทธิทุกคนแล้วทำเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความให้ทายาทผู้มีสิทธิคนอื่นรับรู้และลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐานตามมาตรา 1750 วรรคสองที่ดินตามฟ้อง ข้อ 2.2 ถึง ข้อ 2.7 เคยเป็นที่ดินของ ป. ที่ ป. นำไปจำนองเป็นประกันการชำระหนี้ของ ช. ต่อเจ้าหนี้ เมื่อต่อมาเจ้าหนี้ฟ้อง ช. และ ป. ให้ชำระหนี้และขอบังคับจำนอง แต่จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ ช. ได้เจรจาขอลดยอดหนี้เหลือ 15,000,000 บาท และนำเงินส่วนตัวของจำเลยไปชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองจนเสร็จสิ้นครบถ้วน จำเลยจึงย่อมได้ชื่อว่าเป็นเจ้าหนี้กองมรดกของ ช. และ ป. โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินมรดกที่เคยเป็นทรัพย์จำนอง ขณะเดียวกันจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ ป. และเป็นตัวแทนของทายาทที่มีสิทธิทุกคนก็มีหน้าที่เช่นเดียวกับลูกหนี้ที่จะต้องปฏิบัติการชำระหนี้ด้วยการแบ่งปันทรัพย์มรดกของ ป. ให้แก่ทายาทผู้มีสิทธิให้ถูกต้องตามกฎหมาย เมื่อจำเลยเป็นเจ้าหนี้กองมรดกของ ป. คิดเป็นเงินจำนวนมากและจำเลยมีสองสถานะคือเป็นทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ การจัดการมรดกของจำเลยจึงอาจมีผลกระทบต่อผลประโยชน์ของทายาทอื่นโดยตรง ในเรื่องนี้ ป.พ.พ. ได้บัญญัติทางแก้ไขไว้ในมาตรา 1722 มีใจความว่า ผู้จัดการมรดกจะทำนิติกรรมใด ๆ ซึ่งตนมีส่วนได้เสียเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกหาได้ไม่ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาล ดังนั้น การที่จำเลยนำสืบต่อสู้โดยมี ว. ส. จ. เป็นพยานเบิกความสนับสนุนทำนองว่า เมื่อจำเลยชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองเสร็จสิ้นแล้ว ที่ดินมรดกของ ป. อันเคยเป็นทรัพย์จำนองต้องตกเป็นของจำเลย และจำเลยมีสิทธิที่จะโอนที่ดินดังกล่าวเป็นของจำเลยหรือบุคคลใดตามที่เห็นสมควรก็ได้ จึงเป็นเรื่องที่ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายโดยไม่ต้องพิจารณาว่าที่ดินมรดกอันเคยเป็นทรัพย์จำนองมีราคาเทียบเท่าหรือใกล้เคียงกับเงิน 15,000,000 บาท ที่จำเลยชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ไปหรือไม่ อีกทั้งการจัดสรรทรัพย์สินของเจ้ามรดกเพื่อชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้กองมรดกก็ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 1740 ด้วยการเอาทรัพย์สินของเจ้ามรดกออกขายทอดตลาดแล้ว นำเงินที่ได้ไปชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้กองมรดก แม้จะได้ความในตอนต่อมาว่า เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2553 จำเลยเคยยื่นคำร้อง ขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ ป. ขายที่ดินตามฟ้อง ข้อ 2.2 ถึง ข้อ 2.6 ให้แก่จำเลยในฐานะผู้ซื้อ แต่เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยส่งสำเนาคำร้องแก่ทายาทของ ป. เพื่อให้มีโอกาสโต้แย้งคัดค้าน กลับปรากฏว่า วันที่ 1 ตุลาคม 2553 อันเป็นเวลาหลังจากจำเลยยื่นคำร้องดังกล่าวเพียง 4 วัน จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ ป. ได้ดำเนินการโอนที่ดินตามฟ้อง ข้อ 2.2 ถึง ข้อ 2.6 ไปเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยกับโอนที่ดินตามฟ้อง ข้อ 2.7 ไปเป็นกรรมสิทธิ์ของ ว. พี่สาวของจำเลยโดยไม่นำพาต่อข้อห้ามตามมาตรา 1722 อีกทั้งเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2553 จำเลยได้ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้น ขอถอนคำร้องฉบับลงวันที่ 27 กันยายน 2553 ซึ่งการกระทำของจำเลยดังกล่าวไม่เพียงเป็นการทำผิดหน้าที่ผู้จัดการมรดกในทางแพ่งแต่เป็นการกระทำที่มีเจตนาร้ายทางอาญา โดยหลักฐานบ่งชี้ว่าจำเลยต้องการปกปิดไม่ให้โจทก์ร่วมรับรู้การจัดการมรดกของจำเลย และไม่ต้องการให้โจทก์ร่วมมีส่วนได้รับทรัพย์มรดกของ ป. ตามกฎหมาย อันเป็นกรณีที่จำเลยซึ่งได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์สินของผู้อื่นตามคำสั่งศาล กระทำนิติกรรมเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกและแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น จึงเป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์มรดกตามฟ้องข้อ 2.2 ถึง ข้อ 2.7 ที่ดินตามฟ้อง ข้อ 2.8 มีชื่อ ช. เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์มาตั้งแต่ปี 2527 จนกระทั่ง ช. ถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2544 โดยไม่ได้ทำพินัยกรรม ที่ดินตามฟ้อง ข้อ 2.8 จึงเป็นทรัพย์มรดกของ ช. ที่ตกทอดแก่ทายาทของ ช. รวม 8 คน ได้แก่ ท. คู่สมรสของ ช. บุตรของ ช. 5 คน จ. มารดาของ ช. และ ป. บิดาของ ช. โดยในเบื้องต้น โจทก์ร่วมซึ่งเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับ ช. และเป็นทายาทโดยธรรมลำดับ (3) ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1629 ไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของ ช. ตามมาตรา 1630 วรรคหนึ่ง แต่ต่อมาระหว่างที่การจัดการมรดกของ ช. ยังไม่เสร็จสิ้น ป. ได้ถึงแก่ความตาย ที่ดินมรดกของ ช. ตามฟ้อง ข้อ 2.8 เฉพาะส่วนที่จะตกได้แก่ ป. จึงตกทอดมายังโจทก์ร่วม จำเลยและทายาทคนอื่น ๆ ของ ป. โดยคำนวณหักส่วนแบ่งสินสมรสกึ่งหนึ่งให้แก่ ท. คู่สมรสของ ช. ตามมาตรา 1625 มาตรา 1532 และมาตรา 1533 แล้ว ที่ดินมรดกของ ช. ส่วนที่เหลือต้องแบ่งปันแก่ทายาทของ ช. รวม 8 คน คนละ 1 ใน 8 ส่วนตามมาตรา 1630 วรรคสอง มาตรา 1633 และมาตรา 1635 (1) สำหรับที่ดินมรดกของ ช. เฉพาะส่วนที่จะตกได้แก่ ป. เมื่อตกทอดมายังผู้สืบสันดานของ ป. ได้แก่โจทก์ร่วม จำเลย บุตรคนอื่นและผู้รับมรดกแทนที่รวม 6 ส่วน ซึ่งมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งเท่ากันแล้วจะปรากฏว่าโจทก์ร่วมมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งที่ดินส่วนนี้ 1 ใน 6 ส่วน คิดเป็นเนื้อที่ประมาณ 3.95 ตารางวา ซึ่งนับว่าน้อยมาก รูปคดีจึงไม่มีเหตุผลสนับสนุนเพียงพอให้เชื่อได้ว่าจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ ป. จะทำหน้าที่จัดการมรดกของ ป. เฉพาะส่วนนี้ด้วยเจตนาทุจริตประกอบกับการที่จำเลยดำเนินการโอนที่ดินมรดกของ ช. แปลงนี้เป็นกรรมสิทธิ์ของ จ. มารดาของจำเลยแต่เพียงผู้เดียว เป็นกรณีที่จำเลยกระทำการในฐานะผู้จัดการมรดกของ ช. มิใช่กระทำการในฐานะผู้จัดการมรดกของ ป. แม้การโอนที่ดินมรดกของ ช. ดังกล่าว จะเป็นการโอนรวมเอาส่วนที่จะตกได้แก่ ป. เข้าไปด้วย แต่ข้อเท็จจริงดังที่วินิจฉัยมาก็มีความสงสัยตามสมควรว่า จำเลยกระทำความผิดฐานยักยอกเกี่ยวกับที่ดินตามฟ้อง ข้อ 2.8 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ป. หรือไม่ จึงต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227 วรรคสองอนึ่ง ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ได้มี พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 26) พ.ศ.2560 มาตรา 4 ให้ยกเลิกอัตราโทษในมาตรา 352 วรรคแรก และมาตรา 354 ให้ใช้อัตราโทษใหม่แทน ปรากฎว่าโทษจำคุกตามกฎหมายเดิมและกฎหมายที่แก้ไขใหม่มีระวางโทษจำคุกเท่ากัน ส่วนโทษปรับตามกฎหมายที่แก้ใหม่จะมีระวางโทษปรับสูงกว่าโทษปรับตามกฎหมายเดิม ต้องถือว่ากฎหมายที่แก้ไขใหม่ไม่เป็นคุณแก่จำเลยจึงต้องใช้กฎหมายเดิม ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ขณะกระทำความผิดบังคับแก่จำเลย
of 2