พบผลลัพธ์ทั้งหมด 55 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7679/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความเหมือนหรือความคล้ายของเครื่องหมายการค้าต้องพิจารณาหลายองค์ประกอบ ไม่ใช่แค่ตัวอักษรหรือสำเนียง
แม้เครื่องหมายการค้าคำว่า LACTA ของจำเลยที่ 1 มีตัวอักษรโรมันตรงกับตัวอักษรโรมัน 5 ตัวท้ายของเครื่องหมายการค้าคำว่า ALACTAของโจทก์ก็ตาม แต่การที่เครื่องหมายการค้ารายใดจะเหมือนกันหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าอีกรายหนึ่งจนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนหรือไม่นั้นจำต้องพิเคราะห์องค์ประกอบหลายอย่างเข้าด้วยกัน จะพิเคราะห์แต่ตัวอักษรหรือสำเนียงที่ออกเสียงแต่อย่างเดียวมาเป็นข้อวินิจฉัยหาได้ไม่ สินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าคำว่า ALACTA และ ALACTA-NF ของโจทก์เป็นนมผงสำหรับเลี้ยงทารก ปัจจุบันในประเทศไทยไม่มีสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าคำว่า ALACTAจำหน่าย คงมีจำหน่ายเฉพาะสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าคำว่า ALACTA-NFซึ่งประชาชนเรียกขานกันสั้น ๆ ว่า นมอะแล็คต้า โดยสินค้าดังกล่าวบรรจุอยู่ในภาชนะกระป๋องโลหะทรงกลมขนาดต่าง ๆ สินค้าของโจทก์ขนาดเล็กสุดจำหน่ายในราคากระป๋องละ 62.50 บาท ส่วนสินค้าของจำเลยที่ 1 ภายใต้เครื่องหมายการค้าคำว่า LACTA เป็นนมสดพร้อมดื่มบรรจุอยู่ในกล่องกระดาษสี่เหลี่ยมจำหน่ายในราคากล่องละ 5 ถึง 6 บาท นอกจากการวางรูปตัวอักษรของเครื่องหมายการค้าของโจทก์สำหรับสินค้าของโจทก์และเครื่องหมายการค้าคำว่า LACTAสำหรับสินค้าของจำเลยที่ 1 มีลักษณะไม่เหมือนกันแล้ว ยังปรากฏว่ามีรูปวัวอยู่ที่ด้านข้างทั้ง 4 ด้าน ของกล่องกระดาษบรรจุสินค้าของจำเลยที่ 1 ทั้งมีการระบุไว้โดยชัดแจ้งบนกล่องกระดาษนั้นด้วยว่าผลิตโดยจำเลยที่ 1 ในขณะที่กระป๋องโลหะทรงกลมบรรจุสินค้าของโจทก์มีชื่อโจทก์ปรากฏอยู่และมีข้อความระบุว่าผลิตจากประเทศนิวซีแลนด์ ดังนี้ เมื่อเครื่องหมายการค้าทั้งสองมีข้อแตกต่างกันโดยเครื่องหมายการค้าคำว่า LACTA ประกอบด้วยตัวอักษรโรมัน 5 ตัว และเป็นคำมี 2 พยางค์ โดยมีตัวอักษรตัวแรกเป็นตัว "L" ส่วนเครื่องหมายการค้าคำว่าALACTA ของโจทก์ประกอบด้วยอักษรโรมัน 6 ตัว และเป็นคำมี 3 พยางค์ โดยมีตัวอักษรตัวแรกเป็นตัว "A" สินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าทั้งสองนั้นเป็นสินค้าคนละชนิด บรรจุอยู่ในภาชนะที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด ทั้งมีราคาแตกต่างกันมาก สาธารณชนย่อมไม่หลงผิดว่าสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าคำว่า LACTAเป็นสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าคำว่า ALACTA ของโจทก์ จึงถือไม่ได้ว่าเครื่องหมายการค้าคำว่า LACTA ที่จำเลยที่ 1 โอนให้จำเลยที่ 2 แล้ว เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าคำว่า ALACTA ของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าโจทก์ที่ 1 จึงไม่มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า LACTA ดีกว่าจำเลยทั้งสองและไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า LACTA
คดีนี้จำเลยทั้งสองต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาอย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์โดยไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลอนาคต แต่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาโดยเสียค่าขึ้นศาลอนาคตมาด้วย จำเลยทั้งสองจึงเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเกินมาต้องคืนแก่จำเลยทั้งสอง
คดีนี้จำเลยทั้งสองต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาอย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์โดยไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลอนาคต แต่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาโดยเสียค่าขึ้นศาลอนาคตมาด้วย จำเลยทั้งสองจึงเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเกินมาต้องคืนแก่จำเลยทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7291/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้าที่ยังไม่ได้จดทะเบียน, การลอกเลียนแบบ, การลวงสาธารณชน, และอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหาย
เมื่อโจทก์ทำหนังสือมอบอำนาจให้ธ. เป็นผู้รับมอบอำนาจโดยให้มีอำนาจยื่นฟ้องเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ธ.จึงย่อมมีอำนาจตั้งทนายความยื่นฟ้องคดีนี้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา60วรรคสอง เมื่อโจทก์ได้ยื่นบัญชีระบุพยานอ้างเอกสารเป็นพยานหลักฐานและมีธ. ผู้รับมอบอำนาจโจทก์มาเบิกความประกอบพยานเอกสารนั้นแม้ไม่มีพยานที่รู้เห็นการทำเอกสารดังกล่าวมาเบิกความแต่เอกสารดังกล่าวก็เข้าสู่สำนวนโดยชอบพยานเอกสารดังกล่าวจึงรับฟังประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ได้ว่าโจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในต่างประเทศและมีการผลิตสินค้าตามเครื่องหมายการค้าคำว่าNIKKOHORNกับรูปรอยประดิษฐ์ตามฟ้องออกจำหน่าย เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยมีตัวอักษรโรมันทั้งหมด2คำโดยคำหลังคือHORNมีตัวอักษรเหมือนกันทั้งสี่ตัวส่วนคำหน้าคงแตกต่างกันแต่เพียงคำว่าNIKKOของโจทก์มีตัวอักษรKอยู่2ตัวส่วนคำว่าNIKOของจำเลยมีอักษรKเพียง1ตัวอักษรโรมันดังกล่าวของโจทก์และของจำเลยก็อ่านออกเสียงคล้ายคลึงกันโดยของโจทก์อ่านออกเสียว่านิกโกฮอน ส่วนของจำเลยอ่านออกเสียว่านิโก้ฮอน รูปรอยประดิษฐ์ของเครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยนั้นต่างเป็นสีขาวอยู่กลางพื้นสีดำโดยมีอักษรโรมันว่าNIKKONIKOตามลำดับกำกับอยู่ด้านล่างของรูปรอยประดิษฐ์ซึ่งเขียนด้วยลายเส้นเป็นรอยหยักขนาดใกล้เคียงกันคงต่างกันแต่เฉพาะทิศทางของลายเส้นเท่านั้นเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่าNIKOHORNและรูปNประดิษฐ์ของโจทก์สำหรับเครื่องหมายการค้าของจำเลยอีกเครื่องหมายหนึ่งแม้จะมีตัวอักษรโรมันคำว่าMighty-mateVFD-150อยู่ด้วยก็ตามแต่จุดเด่นของเครื่องหมายการค้าดังกล่าวก็อยู่ที่คำว่าNIKOและรูปรอยประดิษฐ์ซึ่งคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ดังนี้เมื่อโจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่าNIKKOHORNและรูปรอยประดิษฐ์ดังกล่าวมาก่อนจำเลยแม้จำเลยได้นำเครื่องหมายการค้าของจำเลยไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าก่อนโจทก์ก็ยังคงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่าNIKKOHORNและรูปรอยประดิษฐ์นั้นและในเครื่องหมายการค้าที่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลย แม้รูปรอยประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยกับตัวอักษรโรมันบนกล่องบรรจุสินค้าแตรของจำเลยและตัวอักษรโรมันบนกล่องบรรจุสินค้าแตรของโจทก์แตกต่างกันอยู่บ้างโดยตัวอักษรโรมันบนกล่องบรรจุสินค้าแตรของจำเลยมีคำว่าNIKOMightymateVFD-150ส่วนตัวอักษรโรมันบนกล่องบรรจุสินค้าแตรของโจทก์เป็นตัวอักษรโรมันคำว่าNIKOPower-mateSFD-100แต่ความแตกต่างดังกล่าวก็มีเพียงเล็กน้อยซึ่งสำหรับผู้ที่อ่านอักษรโรมันไม่ได้หากได้เห็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยในขณะเดียวกันก็ยากที่จะกล่าวได้ว่ามีอะไรแตกต่างกันบ้างและแม้ผู้ที่อ่านอักษรโรมันได้หากไม่พิจารณาให้รอบคอบหรือได้เป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยต่างเวลากันก็น่าจะไม่สามารถสังเกตเห็นข้อแตกต่างของเครื่องหมายการค้าดังกล่าวการที่เครื่องหมายการค้าที่กล่องบรรจุสินค้าแตรของจำเลยมีลักษณะคล้ายกับเครื่องหมายการค้าที่กล่องบรรจุสินค้าแตรของโจทก์โดยสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าประเภทเดียวกับสินค้าของโจทก์เช่นนี้นับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยคืนสินค้าของโจทก์และเป็นการที่จำเลยได้ลอกเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลย โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่าจำเลยได้นำเครื่องหมายการค้าคำว่าNIKOHORNและรูปรอยประดิษฐ์ที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไปยื่นขอจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลยอันเป็นการกระทำโดยไม่สุจริตเป็นการละเมิดต่อโจทก์เพื่อประโยชน์ในทางการค้าของจำเลยเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดในเครื่องหมายการค้าโดยเข้าใจว่าสินค้าของจำเลยภายใต้เครื่องหมายการค้าคำว่าNIKOHORNและรูปรอยประดิษฐ์เป็นสินค้าของโจทก์หรือโจทก์ร่วมในการผลิตและจำหน่ายทำให้สาธารณชนเสื่อมความนิยมในเครื่องหมายการค้าและสินค้าของโจทก์มีผลทำให้โจทก์ขาดประโยชน์จากการจำหน่ายสินค้าของโจทก์โจทก์ขอคิดค่าเสียหายเดือนละ50,000บาทดังนี้โจทก์หาได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้ทำการลวงขายสินค้าของจำเลยว่าเป็นสินค้าของโจทก์แต่อย่างใดไม่คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยลวงขายสินค้าของจำเลยว่าเป็นสินค้าของโจทก์หรือไม่แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยประเด็นดังกล่าวให้ก็เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาจึงไม่อาจวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวให้ได้ เมื่อปรากฏว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายในการล่วงสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้รับจดทะเบียนนั้นตามมาตรา29วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474อันเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะที่โจทก์อ้างว่าตนถูกโต้แย้งสิทธิและเมื่อโจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้ปรากฏว่าจำเลยได้เอาสินค้าของจำเลยไปลวงขายว่าเป็นสินค้าของโจทก์โจทก์จึงไม่อาจฟ้องเรียกค่าเสียหายในฐานลวงขายตามมาตรา29วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติเดียวกันได้และไม่มีสิทธิที่จะฟ้องขอให้ห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวทั้งนี้เพราะสิทธินั้นเป็นสิทธิแต่ผู้เดียวของบุคคลผู้ได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา27แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6283/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เครื่องหมายการค้าที่คล้ายกันจนทำให้สับสนและหลงผิด ถือเป็นการลวงสาธารณชนและใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
เครื่องหมายการค้าของโจทก์คือคำว่า "THEBEACHBOYS" ใช้เป็นเครื่องหมายบริการและเครื่องหมายการค้าสำหรับสินค้าประเภทแผ่นเสียงแถบบันทึกเสียงเครื่องนุ่งห่มและเครื่องแต่งกายได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศต่างๆหลายประเทศแต่ไม่ได้จดทะเบียนไว้ในประเทศไทยส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยคือคำว่า "BEACHBOYS" เป็นรูปสามเหลี่ยม3รูปวางซ้อนกันโดยสามเหลี่ยมรูปในมีเส้นลวดลายและมีรูปดอกไม้สามดอกมีรูปคนในลักษณะเล่นกระดานโต้คลื่นด้านบนมีอักษรโรมันคำว่า"BEACH" อยู่ในแถบโค้งสีทึบและด้านล่างมีคำว่า "BOYS" อยู่ในรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าตัวอักษรโรมันทั้งสองคำมองเห็นอย่างเด่นชัดเป็นที่สะดุดตาส่วนรูปดอกไม้คนและกระดานโต้คลื่นมองครั้งแรกแทบจะไม่ทราบว่าเป็นอะไรส่วนประกอบสำคัญของเครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงอยู่ที่ตัวหนังสือโรมันคำว่า "BEACHBOYS" แม้ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยจะไม่มีคำว่า "THE" แต่เมื่อเวลาอ่านออกเสียงจะเน้นหนักตรงคำ บีชบอยส์ ย่อมทำให้ประชาชนผู้ใช้ที่ไม่คุ้นเคยต่อภาษาต่างประเทศฟังหรือเรียกขานเป็นอย่างเดียวกันและเครื่องหมายการค้าของจำเลยใช้กับสินค้าจำพวก38เช่นเดียวกับของโจทก์ประชาชนผู้ซื้อสินค้าอาจเรียกว่า ตราบีชบอยส์เหมือนกันทำให้สับสนและหลงผิดในแหล่งผลิตได้อันนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนการที่จำเลยขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า"BEACHBOYS" กับรูปภาพโดยมีเจตนาเลียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "THEBEACHBOYS" ของโจทก์เพื่อแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่มีสิทธิขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1802/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายการค้าไม่เหมือนหรือคล้ายกันจนลวงสาธารณชนได้ แม้ใช้คำ 'กุ๊ก' ซึ่งเป็นคำสามัญได้
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นรูปการ์ตูนเต็มทั้งตัวแต่งตัวเป็นพ่อครัวลำตัวคล้ายขวดมีมือสองข้างและเท้าสองข้างคำว่ากุ๊กและCOOKอยู่กลางลำตัวส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นรูปคนยิ้มสวนหมวกพ่อครัวครึ่งตัวยกมือข้างซ้ายชูนิ้วหัวแม่มือผูกหูกระต่ายที่คออย่างเด่นชัดใต้รูปดังกล่าวมีคำว่ากุ๊กอินเตอร์และINTERCOOKลักษณะเด่นของเครื่องหมายการค้าของจำเลยอยู่ที่รูปคนยิ้มสวมหมวกพ่อครัวครึ่งตัวซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าคำว่ากุ๊กอินเตอร์และINTERCOOKรูปคนครึ่งตัวดังกล่าวแตกต่างจากรูปการ์ตูนเต็มตัวมีลักษณะเป็นขวดตามเครื่องหมายการค้าของโจทก์อย่างชัดเจนประกอบกับสลากปิดสินค้าปลากระป๋องรวมมิตรทะเลตรากุ๊กอินเตอร์ของจำเลยมีรูปคนครึ่งตัวดังกล่าวพร้อมระบุชื่อและที่อยู่ของผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายไว้ด้วยทั้งสินค้าที่โจทก์ผลิตออกจำหน่ายในท้องตลาดภายใต้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ก็มีเพียงชนิดเดียวคือน้ำมันพืชเท่านั้นส่วนสินค้าของจำเลยเป็นอาหารกระป๋องไม่มีน้ำมันพืชยังถือไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาจะทำให้สาธารณชนหลงผิดดังนี้เครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยจึงไม่เหมือนหรือคล้ายกันจนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ.2525คำว่ากุ๊กหมายถึงพ่อครัวทำกับข้าวฝรั่งฉะนั้นคำนี้จึงเป็นคำสามัญที่มีคำแปลไม่ก่อให้โจทก์เป็นผู้มีสิทธิใช้คำว่ากุ๊กแต่เพียงผู้เดียวบุคคลทั่วไปต่างใช้คำว่ากุ๊กได้จำเลยจึงมีสิทธิใช้คำดังกล่าวประกอบเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้าของจำเลยและนำไปยื่นขอจดทะเบียนได้โจทก์ไม่มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่จำเลยได้รับการจดทะเบียนดังกล่าวดีกว่าจำเลยจะร้องขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1706/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การใช้เครื่องหมายที่เหมือนกัน/คล้ายกันเป็นการละเมิดสิทธิและลวงสาธารณชน
การที่โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้พิพากษาว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนสำหรับสินค้าจำพวกที่ 22 รถจักรยานสองล้อดีกว่าจำเลย ให้เพิกถอนเครื่องหมายการค้าที่จำเลยได้จดทะเบียนไว้สำหรับสินค้าจำพวกและชนิดเดียวกัน และให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เพราะการลวงขายสินค้าของจำเลยทั้งสองให้ผู้ซื้อเข้าใจว่าเป็นสินค้าของโจทก์นั้น เป็นการที่โจทก์ทั้งสองฟ้องตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 41(1) และมาตรา 29 วรรคสองซึ่งให้สิทธิแก่เจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนไว้ฟ้องเช่นนั้นได้ ดังนั้น เมื่อปรากฎจากคำฟ้องของโจทก์เพียงว่าโจทก์ที 1 เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด มีโจทก์ที่ 2เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ โจทก์ที่ 2 เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าพิพาทที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียน โจทก์ทั้งสองได้ใช้เครื่องหมายการค้านั้นกับสินค้ารถจักรยานสองล้อ รถจักรยานสามล้อ และอุปกรณ์รถจักรยานดังกล่าว โดยโจทก์ทั้งสองประกอบการค้าเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้านั้นแต่ไม่ปรากฎว่าโจทก์ที่ 1 เป็นเจ้าของหรือเป็นเจ้าของร่วมกับโจทก์ที่ 2 ในเครื่องหมายการค้าพิพาทแต่อย่างใด โจทก์ที่ 1 มิใช่ผู้มีส่วนได้เสียในเครื่องหมายการค้าพิพาทหรือเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนโจทก์ที่ 1 จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 41(1) และมาตรา 29(2) เครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 2 เป็นรูปจระเข้หันหน้าไปทางด้านขวาอยู่ภายในวงกลมกับที่อักษรโรมันคำว่า "THECROCODILE"และ "TRADEMARK" อยู่ในรูปคล้ายห่วงติดกับวงกลมเหนือและใต้รูปจระเข้ตามลำดับ กับมีรูปอาร์ม 6 เหลี่ยม อยู่ใต้วงกลมโดยมีอักษรโรมันคำว่า "THECROCODILEENGLANDLTD" โดยมีหยดน้ำ3หยดใต้ตัวอักษรโรมันดังกล่าวซึ่งอยู่ในรูปอาร์มนั้น ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 เป็นรูปจระเข้หันหน้าไปทางด้านซ้าย กับมีรูปดาว 5 ดวง อยู่ใต้รูปจระเข้ภายในวงกลม 2 ชั้น ระหว่างวงกลม 2 ชั้นซึ่งมีลักษณะเป็นวงแหวนนั้น มีอักษรโรมันคำว่า "THECROCODILE"และ "FIVESTAR" อยู่เหนือรูปจระเข้และใต้รูปดาว 5 ดวง นั้นตามลำดับ กับมีจุดอยู่ในวงแหวนตรงกึ่งกลางด้านซ้ายและด้านขวาด้านละ1 จุด โดยมีรูปอาร์ม6เหลี่ยมอยู่ใต้วงกลมชั้นนอกในรูปอาร์มดังกล่าวมีอักษรโรมันคำว่า "TRADEMARK" อยู่ใต้อักษรโรมันคำว่า"FIVESTAR" ซึ่งอยู่ในวงแหวนดังกล่าว และมีหยดน้ำ3หยดอยู่ด้านล่างซึ่งเครื่องหมายการค้าทั้งสองรูปมีลักษณะคล้ายกันมากโดยมีจุดเด่นเป็นรูปจระเข้อยู่ภายในวงกลมและมีรูปอาร์ม 6 เหลี่ยมใต้วงกลมนั้น มีตัวอักษรโรมันคำว่า"THECROCODILE"อยู่ในวงกลมด้านบน และมีตัวอักษรโรมันกับหยดน้ำ3หยด อยู่ในรูปอาร์มนั้น ซึ่งแม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 2 และของจำเลยที่ 1ดังกล่าวมีข้อแตกต่างกันอยู่บ้าง อาทิเช่น เครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 2 มีวงกลมชั้นเดียว ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1มีวงกลม 2 ชั้น เครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 2 มีอักษรโรมันคำว่า "TRADEMARK" อยู่ด้านล่างของวงกลม ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 มีอักษรโรมันคำว่า "FIVESTAR" อยู่ด้านล่างของวงกลม โดยมีรูปดาว 5 ดวงอยู่ใต้รูปจระเข้ และเครื่องหมายการค้าของโจทก์มี 2 มีอักษรโรมันคำว่า"THECROCODILEENGLANDLTD"อยู่ในรูปอารม์ 6 เหลี่ยม ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1มีอักษรโรมันคำว่า "TRADEMARK" อยู่ในรูปอาร์ม 6 เหลี่ยม ก็ตามแต่ข้อแตกต่างดังกล่าวก็เป็นเพียงข้อแตกต่างในรายละเอียดปลีกย่อยหากไม่พิเคราะห์อย่างละเอียดถี่ถ้วน ก็ยากที่ประชาชนทั่วไปจะแยกแยะข้อแตกต่างเช่นนั้นได้ ประชาชนผู้ซื้อย่อมเรียกขานสินค้าของโจทก์ที่ 2 และ จำเลยที่ 1 เหมือนกันว่า รถจักรยานตราจระเข้เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 จึงเหมือนและคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 2 จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ โจทก์ที่ 2 ได้ใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทมาก่อนจำเลยที่ 1 โจทก์ที่ 2 จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลยที่ 1 และมีสิทธิขอให้เพิกถอนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ได้จดทะเบียนไว้นั้นได้ตามมาตรา 41|1) แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะเกิดข้อพิพาท เมื่อโจทก์ที่ 2 เป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าตามจระเข้ที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียน และเครื่องหมายการค้าตราจระเข้ที่จำเลยที่ 1 ได้รับการจดทะเบียนไว้ดีกว่าจำเลยที่ 1และโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้ลวงขายสินค้าของจำเลยว่าเป็นสินค้าของโจทก์ แม้จำเลยที่ 1 จะเป็นผู้ซึ่งได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นไว้ โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองได้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 29 วรรคสองอันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่เกิดข้อพิพาท การที่จำเลยที่ 1 ใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 กับสินค้ารถจักรยานสองล้อซึ่งเป็นสินค้าประเภทเดียวกันกับสินค้าของโจทก์ย่อมทำให้สาธารณชนหลงผิด เป็นการแสวงหาประโยชน์จากชื่อเสียงในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 2 โดยมิชอบและมีเจตนาเพื่อลวงขายสินค้าของจำเลยที่ 1ว่าเป็นสินค้าของโจทก์ที่ 2 ซึ่งโจทก์ที่ 2 ย่อมได้รับความเสียหายทำให้โจทก์ที่ 2 จำหน่ายสินค้ารถจักรยานสองล้อของโจทก์ที่ 2ได้น้อยลงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ที่ 2 แล้ว ซึ่งศาลมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้ได้ตามสมควรแก่พฤติการณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6555/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดเครื่องหมายการค้า: ความเหมือนและคล้ายคลึงจนลวงสาธารณชน แม้ใช้กับสินค้าต่างชนิดในกลุ่มเดียวกัน
ตามคำฟ้องโจทก์อาศัยสิทธิตามมาตรา 41 (1) แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับขณะเกิดข้อพิพาท ขอให้ศาลมีคำสั่งให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 โดยโจทก์อ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าจำเลยที่ 1 ผู้ที่ได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของดังนี้ ผู้ที่โต้แย้งสิทธิของโจทก์คือ จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ที่โจทก์อ้างว่าได้นำเอาเครื่องหมายการค้าของโจทก์หรือเครื่องหมายการค้าที่คล้ายกับของโจทก์ไปขอจดทะเบียนโดยไม่ชอบ หาใช่จำเลยที่ 2 ผู้เป็นนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า และกรมทะเบียนการค้าจำเลยที่ 3 ไม่
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นอักษรโรมันคำว่า "NattySHOES" และรูปคนยืนในรองเท้า ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 เป็นอักษรโรมัน คำว่า "NATTY" แม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์จะมีคำว่า "SHOES"อยู่ใต้คำว่า "Natty" และมีรูปคนยืนอยู่ในรองเท้าซึ่งเป็นส่วนประกอบ ส่วนของจำเลยที่ 1 ไม่มี คงมีคำว่า "NATTY" ซึ่งเป็นตัวพิมพ์ใหญ่คำเดียว และการประดิษฐ์ตัวอักษรโรมันแตกต่างกัน แต่สำเนียงเรียกขานและคำแปลเหมือนกันคือทั้งของโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างเรียกขานว่า แน็ตตี้ แปลว่า หรู สมาร์ท โก้เหมือนกัน อักษรอื่นและรูปคนยืนในรองเท้าซึ่งเป็นส่วนประกอบในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่มีความเด่นชัดเท่ากับคำว่า "Natty" ที่เป็นอักษรโรมันคำเดียวกันกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 เครื่องหมายการค้าทั้งสองจึงมีสาระสำคัญอยู่ที่ใช้ภาษาต่างประเทศและมีสำเนียงเรียกขานเหมือนกัน ผู้ซื้อย่อมเรียกขานสินค้าของโจทก์และของจำเลยที่ 1 เหมือนกันว่า แน็ตตี้ ผู้ซื้อจึงอาจสับสนหลงผิดได้ว่าสินค้าทั้งสองเครื่องหมายการค้าเป็นเจ้าของคนเดียวกัน เมื่อเครื่องหมายการค้าทั้งของโจทก์และของจำเลยที่ 1 ต่างขอจดทะเบียนในสินค้าจำพวกเดียวกันแม้ขณะพิพาทจะใช้เครื่องหมายการค้ากับสินค้าต่างชนิดกัน แต่ก็อยู่ในจำพวกเดียวกัน ย่อมทำให้สาธารณชนหลงผิดได้ว่าสินค้าของโจทก์และของจำเลยที่ 1เป็นของผู้ผลิตรายเดียวกัน เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยที่ 1จึงเหมือนและคล้ายกันจนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนแล้ว การที่จำเลยที่ 1 ใช้เครื่องหมายการค้าที่เป็นอักษรโรมันคำเดียวกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์และมีลักษณะเหมือนหรือคล้ายกันเช่นนี้ เป็นการจงใจใช้เครื่องหมาย-การค้าคำว่า "NATTY" ให้เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ด้วยจำเลยที่ 1 เห็นว่าสินค้าของโจทก์ที่มีเครื่องหมายการค้าโดยเฉพาะคำว่า"Natty" เป็นที่นิยมแพร่หลายเพื่อให้ผู้ซื้อหลงเข้าใจผิดว่าสินค้าของจำเลยที่ 1เป็นสินค้าของโจทก์ เมื่อโจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "Natty" มาก่อนจำเลยที่ 1 โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า "Natty" ที่เขียนเป็น 2 แบบว่า "Natty" และ "NATTY" ดีกว่าจำเลยที่ 1
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นอักษรโรมันคำว่า "NattySHOES" และรูปคนยืนในรองเท้า ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 เป็นอักษรโรมัน คำว่า "NATTY" แม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์จะมีคำว่า "SHOES"อยู่ใต้คำว่า "Natty" และมีรูปคนยืนอยู่ในรองเท้าซึ่งเป็นส่วนประกอบ ส่วนของจำเลยที่ 1 ไม่มี คงมีคำว่า "NATTY" ซึ่งเป็นตัวพิมพ์ใหญ่คำเดียว และการประดิษฐ์ตัวอักษรโรมันแตกต่างกัน แต่สำเนียงเรียกขานและคำแปลเหมือนกันคือทั้งของโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างเรียกขานว่า แน็ตตี้ แปลว่า หรู สมาร์ท โก้เหมือนกัน อักษรอื่นและรูปคนยืนในรองเท้าซึ่งเป็นส่วนประกอบในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่มีความเด่นชัดเท่ากับคำว่า "Natty" ที่เป็นอักษรโรมันคำเดียวกันกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 เครื่องหมายการค้าทั้งสองจึงมีสาระสำคัญอยู่ที่ใช้ภาษาต่างประเทศและมีสำเนียงเรียกขานเหมือนกัน ผู้ซื้อย่อมเรียกขานสินค้าของโจทก์และของจำเลยที่ 1 เหมือนกันว่า แน็ตตี้ ผู้ซื้อจึงอาจสับสนหลงผิดได้ว่าสินค้าทั้งสองเครื่องหมายการค้าเป็นเจ้าของคนเดียวกัน เมื่อเครื่องหมายการค้าทั้งของโจทก์และของจำเลยที่ 1 ต่างขอจดทะเบียนในสินค้าจำพวกเดียวกันแม้ขณะพิพาทจะใช้เครื่องหมายการค้ากับสินค้าต่างชนิดกัน แต่ก็อยู่ในจำพวกเดียวกัน ย่อมทำให้สาธารณชนหลงผิดได้ว่าสินค้าของโจทก์และของจำเลยที่ 1เป็นของผู้ผลิตรายเดียวกัน เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยที่ 1จึงเหมือนและคล้ายกันจนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนแล้ว การที่จำเลยที่ 1 ใช้เครื่องหมายการค้าที่เป็นอักษรโรมันคำเดียวกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์และมีลักษณะเหมือนหรือคล้ายกันเช่นนี้ เป็นการจงใจใช้เครื่องหมาย-การค้าคำว่า "NATTY" ให้เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ด้วยจำเลยที่ 1 เห็นว่าสินค้าของโจทก์ที่มีเครื่องหมายการค้าโดยเฉพาะคำว่า"Natty" เป็นที่นิยมแพร่หลายเพื่อให้ผู้ซื้อหลงเข้าใจผิดว่าสินค้าของจำเลยที่ 1เป็นสินค้าของโจทก์ เมื่อโจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "Natty" มาก่อนจำเลยที่ 1 โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า "Natty" ที่เขียนเป็น 2 แบบว่า "Natty" และ "NATTY" ดีกว่าจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4891/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดเครื่องหมายการค้า: การใช้สิทธิโดยไม่สุจริตและการลวงสาธารณชน
โจทก์แสดงให้เห็นความเป็นมาของการใช้อักษรโรมันคำว่าRENOMA เป็นชื่อทางการค้าของ ซ.บิดาของ ม. ประธานกรรมการใหญ่ของโจทก์ตั้งแต่ปี 2480 และการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำดังกล่าวในประเทศฝรั่งเศสในปี 2502 และปี 2509 ตลอดจนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำดังกล่าวในประเทศอื่น ๆ ในภายหลังและการโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นของ ซ.ให้โจทก์ จึงฟังได้ว่าโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันดังกล่าว ที่จำเลยอ้างว่าคิดประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าดังกล่าวขึ้นโดยต้องการให้มีความหมายว่า จำเลยไม่มีแม่อีกแล้วนั้น ก็ปรากฏตามคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยว่าจำเลยได้ระบุว่าคำว่า RENOMA เป็นอักษรโรมันอ่านว่า รีโนมา แปลไม่ได้ และปรากฏว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยดังกล่าวมีรูปลักษณะตรงกับรูปลักษณะเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า RENOMA ซึ่งเป็นตัวพิมพ์เล็กภายในกรอบสี่เหลี่ยมของโจทก์ทุกประการ รวมทั้งลักษณะการเอียงขึ้นของเส้นขวางในตัวอักษร "e" และสัดส่วนของช่องว่างระหว่างตัวอักษรแต่ละตัวด้วยการที่รูปลักษณะเครื่องหมายการค้าของจำเลยตรงกับรูปลักษณะของเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทุกประการเช่นนี้ หากจำเลยไม่เคยเห็นเครื่องหมายการค้าดังกล่าวของโจทก์มาก่อน ก็ยากที่เครื่องหมายการค้าของจำเลยจะมีรูปลักษณะตรงกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทุกประการเช่นนั้น นอกจากนี้เครื่องหมายการค้าของจำเลยดังกล่าวยังคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์คำว่า RENOMA ซึ่งเป็นตัวพิมพ์ใหญ่และตัวพิมพ์เล็กซึ่งมิได้อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมอีกด้วย ปรากฏว่าจำเลยเคยเดินทางไปท่องเที่ยวต่างประเทศ เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย ญี่ปุ่น และฮ่องกง และหลังจากโจทก์ได้รับโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า RENOMA มาจาก ซ.แล้ว โจทก์ได้นำเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไปจดทะเบียนไว้ในประเทศต่าง ๆ ประมาณ30 ประเทศ และโจทก์ได้ส่งสินค้าของโจทก์ไปจำหน่ายยังต่างประเทศในทวีปต่าง ๆสินค้าของโจทก์มีวางจำหน่ายที่ห้างสรรพสินค้าโซโกใกล้สถานีรถไฟที่เมืองโกเบประเทศญี่ปุ่น และโจทก์ได้โฆษณาเครื่องหมายการค้าของโจทก์ในนิตยสารและหนังสือต่าง ๆ ในประเทศต่าง ๆ ทั้งได้มีการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไว้ในประเทศญี่ปุ่น ประเทศสิงคโปร์ และเมืองฮ่องกงด้วย จึงเชื่อได้ว่าจำเลยซึ่งเคยเดินทางไปท่องเที่ยวในประเทศญี่ปุ่น ประเทศสิงคโปร์ และเมืองฮ่องกง ได้เห็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ในระหว่างที่เดินทางไปท่องเที่ยวเช่นนั้น แล้วจำเลยได้นำเครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามที่ได้เห็นมานั้นมายื่นขอจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลย จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตโจทก์ย่อมมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า RENOMA ดีกว่าจำเลยและขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้
เครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า RENOMA ซึ่งเป็นตัวพิมพ์เล็กในกรอบสี่เหลี่ยมของจำเลยมีรูปลักษณะตรงกับเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า RENOMA ซึ่งเป็นตัวพิมพ์เล็กในกรอบสี่เหลี่ยมของโจทก์ ทุกประการ แม้กระทั่งลักษณะการเอียงขึ้นของเส้นขวางในตัวอักษร "e" และสัดส่วนของช่องว่างระหว่างตัวอักษร และเครื่องหมายการค้าของจำเลยดังกล่าวยังคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์คำว่า "RENOMA" ซึ่งเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ และตัวพิมพ์เล็กซึ่งมิได้อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมอีกด้วย จึงเห็นได้โดยชัดแจ้งว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนกันกับหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนแล้ว
เครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า RENOMA ซึ่งเป็นตัวพิมพ์เล็กในกรอบสี่เหลี่ยมของจำเลยมีรูปลักษณะตรงกับเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า RENOMA ซึ่งเป็นตัวพิมพ์เล็กในกรอบสี่เหลี่ยมของโจทก์ ทุกประการ แม้กระทั่งลักษณะการเอียงขึ้นของเส้นขวางในตัวอักษร "e" และสัดส่วนของช่องว่างระหว่างตัวอักษร และเครื่องหมายการค้าของจำเลยดังกล่าวยังคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์คำว่า "RENOMA" ซึ่งเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ และตัวพิมพ์เล็กซึ่งมิได้อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมอีกด้วย จึงเห็นได้โดยชัดแจ้งว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนกันกับหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4891/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: การใช้สิทธิโดยไม่สุจริต, ความเหมือน/คล้ายคลึง, การลวงสาธารณชน
โจทก์แสดงให้เห็นความเป็นมาของการใช้อักษรโรมันคำว่าRENOMA เป็นชื่อทางการค้าของ ช. บิดาของ ม.ประธานกรรมการใหญ่ของโจทก์ตั้งแต่ปี 2480 และการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำดังกล่าวในประเทศฝรั่งเศสในปี 2502 และปี 2509 ตลอดจนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำดังกล่าวในประเทศอื่น ๆในภายหลังและการโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นของ ช. ให้โจทก์ จึงฟังได้ว่าโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันดังกล่าว ที่จำเลยอ้างว่าคิดประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าดังกล่าวขึ้นโดยต้องการให้มีความหมายว่า จำเลยไม่มีแม่อีกแล้วนั้น ก็ปรากฏตามคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยว่าจำเลยได้ระบุว่าคำว่า RENOMA เป็นอักษรโรมันอ่านว่ารีโนมา แปลไม่ได้ และปรากฏว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยดังกล่าวมีรูปลักษณะตรงกับรูปลักษณะเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า RENOMA ซึ่งเป็นตัวพิมพ์เล็กภายในกรอบสี่เหลี่ยมของโจทก์ทุกประการ รวมทั้งลักษณะการเอียงขึ้นของเส้นขวางในตัวอักษร "e" และสัดส่วนของช่องว่างระหว่างตัวอักษรแต่ละตัวด้วยการที่รูปลักษณะเครื่องหมายการค้าของจำเลยตรงกับรูปลักษณะของเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทุกประการเช่นนี้ หากจำเลยไม่เคยเห็นเครื่องหมายการค้าดังกล่าวของโจทก์มาก่อน ก็ยากที่เครื่องหมายการค้าของจำเลยจะมีรูปลักษณะตรงกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทุกประการเช่นนั้น นอกจากนี้เครื่องหมายการค้าของจำเลยดังกล่าวยังคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์คำว่า RENOMAซึ่งเป็นตัวพิมพ์ใหญ่และตัวพิมพ์เล็กซึ่งมิได้อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมอีกด้วย ปรากฏว่าจำเลยเคยเดินทางไปท่องเที่ยวต่างประเทศเช่น สิงคโปร มาเลเซีย ญี่ปุ่น และฮ่องกง และหลังจากโจทก์ได้รับโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า RENOMA มาจากช.แล้ว โจทก์ได้นำเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไปจดทะเบียนไว้ในประเทศต่าง ๆ ประมาณ30 ประเทศ และโจทก์ได้ส่งสินค้าของโจทก์ไปจำหน่ายยังต่างประเทศในทวีป ต่าง ๆ สินค้าของโจทก์มีวางจำหน่ายที่ห้างสรรพสินค้าโซโก้ใกล้สถานีรถไฟที่เมืองโกเบประเทศญี่ปุ่น และโจทก์ได้โฆษณาเครื่องหมายการค้าของโจทก์ในนิตยสารและหนังสือต่าง ๆ ในประเทศต่าง ๆทั้งได้มีการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไว้ในประเทศญี่ปุ่น ประเทศสิงคโปร์ และเมืองฮ่องกงด้วยจึงเชื่อได้ว่าจำเลยซึ่งเคยเดินทางไปท่องเที่ยวในประเทศญี่ปุ่นประเทศสิงคโปร์ และเมืองฮ่องกง ได้เห็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ในระหว่างที่เดินทางไปท่องเที่ยวเช่นนั้นแล้วจำเลยได้นำเครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามที่ได้เห็นมานั้นมายื่นขอจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตโจทก์ย่อมมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า RENOMA ดีกว่าจำเลยและขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้ เครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า RENOMA ซึ่งเป็นตัวพิมพ์เล็กในกรอบสี่เหลี่ยมของจำเลยมีรูปลักษณะRENOMA ซึ่งเป็นตัวพิมพ์เล็ก ในกรอบสี่เหลี่ยมของโจทก์ทุกประการ แม้กระทั่งลักษณะการเอียงขึ้นของเส้นขวางในตัวอักษร "e" และสัดส่วนของช่องว่างระหว่างตัวอักษรและเครื่องหมายการค้าของจำเลยดังกล่าวยังคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์คำว่า "RENOMA" ซึ่งเป็นตัวพิมพ์ใหญ่และตัวพิมพ์เล็กซึ่งมิได้อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมอีกด้วยจึงเห็นได้โดยชัดแจ้งว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนกับหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1100/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดเครื่องหมายการค้า: ความคล้ายคลึงและการลวงสาธารณชน
โจทก์ไม่มีตัวผู้มอบอำนาจมาเบิกความแต่โจทก์มีผู้รับมอบอำนาจมาเบิกความประกอบหนังสือมอบอำนาจและคำแปลภาษาไทยว่าโจทก์เป็นบริษัทจำกัดตามกฎหมายของมลรัฐเท็กซัส จำเลยทั้งสามมิได้นำสืบหักล้างให้เห็นเป็นอย่างอื่นทั้งไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าหนังสือมอบอำนาจไม่ใช่หนังสือมอบอำนาจอันแท้จริงข้อเท็จจริงจึงฟังได้ตามข้อความที่ระบุในหนังสือมอบอำนาจว่าโจทก์มีอำนาจฟ้อง
เครื่องหมายการค้า 7-ELEVEn ของโจทก์และ7-BIGSEVEn ของจำเลยต่างมีเลข 7 อารบิคเป็นส่วนสำคัญ เพราะเลข 7 มีขนาดใหญ่กว่าตัวอักษรมากสามารถเห็นได้เด่นชัด แม้เลข 7 อารบิคของจำเลยจะมีลายเส้นซ้อนกัน 4 ตัว ต่างกับเลข 7 อารบิคของโจทก์ซึ่งมีลักษณะทึบเพียงตัวเดียวก็เป็นแต่เพียงรายละเอียด ไม่น่าจะเป็นที่สนใจของผู้พบเห็น ส่วนอักษรโรมันคำว่า ELEVEn ของโจทก์ และคำว่า BIGSEVEn ของจำเลยเป็นตัวพิมพ์เหมือนกันโดยเฉพาะอักษร 4 ตัวท้ายเขียนเหมือนกัน และอักษรตัว n ท้ายสุดก็เป็นตัวพิมพ์เล็กเช่นเดียวกันลักษณะการวางรูปแบบของเครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยเหมือนกัน กล่าวคืออักษรโรมันคำว่า ELEVEn ของโจทก์พาดกลางตัวเลข 7 ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยนั้น อักษรโรมันคำว่าBIGSEVEn ก็พาดกลางตัวเลข 7 อารบิคเช่นเดียวกัน เครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยจึงคล้ายกัน และเมื่อคำนึงถึงว่าสาธารณชนจำนวนมากมิได้มีความรู้ในภาษาอังกฤษหรือตัวอักษรโรมันดีพอที่จะแยกได้ว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยที่ 1 ต่างกัน จึงถือได้ว่าการที่จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิด เมื่อโจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้านี้มาก่อนจำเลย จนเป็นที่แพร่หลายไปทั่วโลกรวมทั้งในประเทศไทย การที่จำเลยประกอบกิจการค้าเช่นเดียวกับโจทก์และใช้เครื่องหมาย-การค้าที่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ก็เห็นได้ว่าจำเลยเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ อันอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดว่ากิจการค้าของจำเลยเป็นกิจการค้าของโจทก์ จึงเป็นการกระทำที่ไม่สุจริตอันเป็นการลวงสาธารณชน และเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์
เครื่องหมายการค้า 7-ELEVEn ของโจทก์และ7-BIGSEVEn ของจำเลยต่างมีเลข 7 อารบิคเป็นส่วนสำคัญ เพราะเลข 7 มีขนาดใหญ่กว่าตัวอักษรมากสามารถเห็นได้เด่นชัด แม้เลข 7 อารบิคของจำเลยจะมีลายเส้นซ้อนกัน 4 ตัว ต่างกับเลข 7 อารบิคของโจทก์ซึ่งมีลักษณะทึบเพียงตัวเดียวก็เป็นแต่เพียงรายละเอียด ไม่น่าจะเป็นที่สนใจของผู้พบเห็น ส่วนอักษรโรมันคำว่า ELEVEn ของโจทก์ และคำว่า BIGSEVEn ของจำเลยเป็นตัวพิมพ์เหมือนกันโดยเฉพาะอักษร 4 ตัวท้ายเขียนเหมือนกัน และอักษรตัว n ท้ายสุดก็เป็นตัวพิมพ์เล็กเช่นเดียวกันลักษณะการวางรูปแบบของเครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยเหมือนกัน กล่าวคืออักษรโรมันคำว่า ELEVEn ของโจทก์พาดกลางตัวเลข 7 ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยนั้น อักษรโรมันคำว่าBIGSEVEn ก็พาดกลางตัวเลข 7 อารบิคเช่นเดียวกัน เครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยจึงคล้ายกัน และเมื่อคำนึงถึงว่าสาธารณชนจำนวนมากมิได้มีความรู้ในภาษาอังกฤษหรือตัวอักษรโรมันดีพอที่จะแยกได้ว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยที่ 1 ต่างกัน จึงถือได้ว่าการที่จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิด เมื่อโจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้านี้มาก่อนจำเลย จนเป็นที่แพร่หลายไปทั่วโลกรวมทั้งในประเทศไทย การที่จำเลยประกอบกิจการค้าเช่นเดียวกับโจทก์และใช้เครื่องหมาย-การค้าที่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ก็เห็นได้ว่าจำเลยเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ อันอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดว่ากิจการค้าของจำเลยเป็นกิจการค้าของโจทก์ จึงเป็นการกระทำที่ไม่สุจริตอันเป็นการลวงสาธารณชน และเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4273/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เครื่องหมายการค้าที่คล้ายกัน พิจารณาความแตกต่างของสินค้า กลุ่มผู้บริโภค และเจตนาของผู้ประกอบการเพื่อตัดสินว่าเป็นการลวงสาธารณชนหรือไม่
เครื่องหมายการค้าของรูปแบบแรกและรูปแบบที่ 2 ประกอบด้วยรูปครึ่งม้าครึ่งคน ที่เป็นรูปตัวม้าท่อนล่างกำลังยืนยกขาหน้าทั้งสองข้างขึ้นโดยขาขวางอขาซ้ายเหยียดตรง และรูปตัวคนท่อนบนอยู่ในท่าพุ่งหอก ใช้มือขวาถือหอกเงื้อไปข้างหลัง ส่วนมือซ้ายเหยียดตรงไปข้างหน้าในระดับเดียวกับแขนขวาหันหน้าไปทางขวา รูปครึ่งม้าครึ่งคนรูปแบบแรกเป็นลายเส้นโปร่ง ส่วนรูปแบบที่ 2 เป็นรูปทึบ นอกจากนี้รูปแบบแรกยังมีข้อความภาษาอังกฤษประดิษฐ์ว่า"E.Remy Martin & Co" บรรทัดหนึ่ง กับอีกบรรทัดหนึ่งมีข้อความภาษาอังกฤษประดิษฐ์อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้าว่า "REMY MARTIN" ส่วนของจำเลยรูปแบบแรกและรูปแบบที่ 2 เป็นรูปครึ่งม้าครึ่งคนเช่นเดียวกัน ส่วนบนเป็นรูปตัวคนอยู่ในท่ากำลังพุ่งหอกซึ่งมีหัวหอกเป็นรูปสามเหลี่ยมในลักษณะท่าทางเหมือนกับรูปเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ส่วนล่างเป็นตัวม้าอยู่ในท่าอย่างเดียวกับของโจทก์คือ ม้ายกขาหน้าทั้งสองข้าง แต่แตกต่างกันตรงที่ว่ารูปม้าของจำเลยเหยียดขาขวาตรง งอขาซ้าย หันหน้าไปทางซ้าย และหัวหอกของจำเลยเป็นรูปสามเหลี่ยม ส่วนรูปม้าของโจทก์งอขาขวาเหยียดขาซ้าย หันหน้าไปทางขวา และหัวหอกของโจทก์เป็นปลายเส้นตรง นอกจากนี้รูปครึ่งม้าครึ่งคนของจำเลยมีส่วนบนเป็นลายเส้นเกือบทึบ ส่วนของโจทก์เป็นลายเส้นสำหรับรูปแบบแรก และเป็นรูปทึบสำหรับรูปแบบที่ 2 ยิ่งกว่านั้นรูปครึ่งม้าครึ่งคนของจำเลยยังอยู่ภายในวงกลม 4 วง มีลวดลายคล้ายดอกไม้ล้อมรอบสำหรับรูปแบบแรก และอยู่ภายในวงกลม 1 วง ซึ่งมีช่อดอกไม้รองรับและยังมีคำว่า"ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยน้ำไทย" อยู่ด้านบน และมีคำว่า "ตราม้าเทวดา" อยู่ด้านล่างของรูปครึ่งม้าครึ่งคนสำหรับรูปแบบที่ 2 เครื่องหมายการค้าของโจทก์รูปแบบแรกใต้รูปครึ่งคนครึ่งม้ายังมีข้อความภาษาอังกฤษประดิษฐ์ว่า "E.Remy Martin & Co"บรรทัดหนึ่งและมีคำว่า "REMY MARTIN" อีกบรรทัดหนึ่ง อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยม-ผืนผ้าซึ่งเป็นชื่อบริษัทโจทก์ และตัวอักษรนี้ก็เป็นชื่อเรียกสินค้าของโจทก์ว่า"เรมี่ มาร์แตง" จนเป็นที่เข้าใจกันทั่วไป ประกอบกับเมื่อเทียบขนาดและสัดส่วนของตัวอักษรคำว่า "REMY MARTIN" กับรูปภาพครึ่งม้าครึ่งคนแล้ว ปรากฎว่าตัวอักษรมีขนาดใหญ่กว่ารูปภาพ ตัวอักษรคำว่า "REMY MARTIN" จึงมีลักษณะเด่นและมีความสำคัญยิ่งกว่ารูปภาพดังกล่าว โจทก์เพิ่งมาจดทะเบียนเฉพาะรูปครึ่งม้าครึ่งคนในท่าพุ่งหอกสำหรับรูปแบบที่ 2 ภายหลังจากที่จำเลยได้รับการจดทะเบียนรูปม้าครึ่งคนของจำเลยรูปแบบแรก และสินค้าสุราของโจทก์ที่ส่งเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยตามใบส่งสินค้า ก็ระบุว่าเป็นบรั่นดี เรมี่ มาร์แตงไม่ปรากฎว่าคนไทยเรียกสินค้าของโจทก์ว่าสุราตราครึ่งม้าครึ่งคนพุ่งหอกแต่อย่างใดส่วนเครื่องหมายการค้ารูปแบบที่ 2 ของจำเลยยังมีคำว่า "ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยน้ำไทยตราม้าเทวดา" แตกต่างกับคำว่า "REMY MARTIN" ซึ่งเป็นชื่อเรียกขานสินค้าของโจทก์ เมื่อประชาชนไม่เห็นคำว่า "REMY MARTIN" อยู่ด้วยย่อมเข้าใจได้ทันทีว่าสินค้าที่พบเห็นนั้นมิใช่สินค้าของโจทก์ ทั้งสินค้าของจำเลยก็เป็นจำพวกปุ๋ยซึ่งมิใช่สินค้าที่เกี่ยวข้องกับสินค้าจำพวกสุราดังเช่นของโจทก์ที่แพร่หลายอยู่แล้วผู้บริโภคสินค้าของโจทก์และของจำเลยเป็นหลักก็เป็นผู้บริโภคคนละกลุ่มกัน จึงไม่ทำให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาจะใช้เครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เพื่อลวงผู้ซื้อและประชาชนให้หลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์หรือโจทก์มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยหรือทำให้ผู้ซื้อและประชาชนหลงผิดในแหล่งกำเนิดของสินค้าแต่อย่างใด เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับเครื่องหมายการค้าของจำเลยไม่เหมือนหรือคล้ายกันจนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสน