คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ละเมิดสิทธิ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 128 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5104/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลียนแบบเครื่องหมายการค้า 'LOVEMAN' ทำให้เกิดความสับสนและละเมิดสิทธิเจ้าของเครื่องหมายการค้า
เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนคำว่า "LOVEMAN" ของโจทก์ร่วม กับเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 2 ซึ่งใช้อักษรโรมันคำว่า "K LOVE MANDESIGN" ประดิษฐ์ขึ้นเป็นรูปครึ่งตัวคนสวมหมวกเป็นเครื่องหมายการค้าประเภทคำเหมือนกัน และใช้อักษรโรมันตัวพิมพ์ใหญ่เช่นเดียวกัน เครื่องหมายการค้าทั้งสองต่างมีคำว่า "LOVE MAN" เหมือนกัน สินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าทั้งสองดังกล่าวเป็นสินค้าชนิดเดียวกันคือเสื้อเชิ้ต แม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมจะเป็นอักษรโรมันตัวพิมพ์ใหญ่ที่เขียนขึ้นโดยมิได้ประดิษฐ์เป็นรูปครึ่งตัวคนสวมหมวกอย่างเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 2 และเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 2 มีอักษร "K" และคำว่า "DESIGN" กับประดิษฐ์ตัวอักษรคำว่า "DESIGN" ให้ใหญ่กว่าคำว่า "LOVEMAN" มาก แต่ก็ปรากฏตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าว่าอักษร "K" กับคำว่า "DESIGN" ซึ่งแปลว่า การออกแบบ เป็นสิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขายซึ่งจำเลยที่ 2 ได้แสดงปฏิเสธไม่ขอถือเป็นสิทธิของตนแต่ผู้เดียวในอันที่จะใช้อักษรและคำดังกล่าว สาระสำคัญในเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 2 จึงเป็นคำว่า "LOVE MAN" ที่เหลืออยู่ แม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมจะเขียนตัวอักษรคำว่า "LOVE" ติดกับคำว่า "MAN" ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 2วางตัวอักษรคำว่า "LOVE" อยู่บนคำว่า "MAN" ก็ตาม แต่ก็อ่านออกเสียงว่า"เลิฟแมน" เหมือนกัน เมื่อเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมและของจำเลยที่ 2ใช้กับสินค้าเสื้อเชิ้ตเช่นเดียวกัน ประชาชนผู้ซื้อสินค้าดังกล่าวอาจเรียกสินค้าเสื้อเชิ้ตของโจทก์ร่วมและของจำเลยทั้งสองที่มีไว้เพื่อจำหน่ายว่า "เสื้อเลิฟแมน" เหมือนกันดังนี้ ประชาชนผู้ซื้อสินค้าย่อมเกิดความสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้านั้นได้ เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 2 จึงเป็นเครื่องหมายการค้าที่คล้ายจนนับได้ว่าเป็นการเลียนแบบเครื่องหมายการค้าคำว่า "LOVEMAN" ของโจทก์ร่วมที่ได้จดทะเบียนแล้ว
จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการบริษัทจำเลยที่ 1 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 มีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าเสื้อเชิ้ตของกลางที่มีเครื่องหมายการค้าที่เลียนแบบเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนคำว่า "LOVEMAN" ของโจทก์ร่วม โดยจำเลยทั้งสองรู้อยู่แล้วว่าสินค้าเสื้อเชิ้ตนั้นมีเครื่องหมายการค้าที่เลียนแบบดังกล่าว การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา110 (1) ประกอบด้วยมาตรา 109 และ ป.อ.มาตรา 83

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4746/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาต้องพิจารณาจากคำฟ้องและเหตุผลที่สมควร กรณีละเมิดสิทธิในที่ดินป่าช้า
ในชั้นขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษา โจทก์จะต้องแสดงให้เห็นเป็นที่พอใจแก่ศาลว่าคำฟ้องที่โจทก์ยื่นและในโอกาสที่ยื่นคำขอนั้นมีเหตุสมควรและมีเหตุเพียงพอที่จะนำวิธีคุ้มครองตามที่ขอนั้นมาใช้ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ.มาตรา 255 วรรคหนึ่ง (1) (2) อีกทั้งโจทก์ยังต้องแสดงให้เป็นที่พอใจแก่ศาลว่าจำเลยที่ 1 ตั้งใจกระทำซ้ำหรือกระทำต่อไปซึ่งการละเมิด การผิดสัญญา หรือการกระทำที่ถูกฟ้องร้องตามมาตรา 255 วรรคสาม อีกด้วย เมื่อปรากฏว่าจำเลยใช้ให้คนงานเข้ารื้อรั้วป่าช้าจีนบ้าบ๋าด้านติดถนน ทำให้รั้วป่าช้าจีนบ้าบ๋าเสียหาย และได้เข้าจัดตกแต่งสถานที่ในป่าช้าจีนบ้าบ๋าทำเป็นร้านขายอาหารและให้รถยนต์เข้าไปจอดโดยจำเลยเก็บค่าจอดรถเอาไปเป็นประโยชน์ส่วนตัว การกระทำของจำเลยกับพวกดังกล่าวเป็นการรบกวนและโต้แย้งสิทธิของโจทก์ในฐานะทายาทของผู้ก่อตั้งทรัสต์ป่าช้าจีนบ้าบ๋า แม้จำเลยที่ 1 จะเปิดกิจการร้านขายอาหารมาก่อนโจทก์ฟ้องคดีก็ตาม แต่การประกอบกิจการดังกล่าวต่อไปย่อมเป็นการกระทำซ้ำหรือกระทำต่อไปซึ่งการละเมิดตามที่ถูกฟ้องร้องนั้น อีกทั้งที่ดินพิพาทเป็นป่าช้าใช้ฝังศพ ย่อมไม่เหมาะสมและบังควรที่จะมาใช้เป็นร้านขายอาหารโต้รุ่งและที่จอดรถยนต์ กรณีมีเหตุสมควรและเพียงพอที่จะนำวิธีคุ้มครองชั่วคราวตามที่โจทก์ขอมาใช้ได้
แม้ตามคำร้องโจทก์อ้างเพียงว่าเหตุที่ขอคุ้มครองเนื่องจากการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นการรบกวนความสงบของสถานที่และบรรดาศพที่ฝังอยู่ในป่าช้า มิได้อ้างเหตุว่าเกิดความเสียหายแก่สภาพสุสานและแก่โจทก์ก็ตามแต่การที่ศาลจะอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้คุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษานั้นต้องพิจารณาคำฟ้องของโจทก์ประกอบด้วย เมื่อตามคำฟ้องของโจทก์มีข้อความระบุไว้โดยชัดแจ้งว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นการรบกวนและโต้แย้งสิทธิของโจทก์เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์หยิบยกเรื่องการทำรั้ว การปรับพื้นที่ส้วมและที่ทิ้งขยะ ว่าเป็นการกระทำอันก่อให้เกิดความเสียหายแก่สภาพสุสานและโจทก์ขึ้นวินิฉัยจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว หาใช่ไม่ตรงกับเหตุผลที่โจทก์กล่าวอ้างและขอมาในคำร้องไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 890/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องค่าก่อสร้างและการละเมิดสิทธิของโจทก์
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจ้างจำเลยที่ 4 ก่อสร้างอาคาร และจำเลยที่ 4 ทำสัญญากู้เงินโจทก์ โดยมีข้อความในสัญญากู้ด้วยว่า จำเลยที่ 4โอนสิทธิเรียกร้องการรับเงินค่าก่อสร้างตามสัญญาให้แก่โจทก์ เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 4 โอนสิทธิเรียกร้องให้แก่โจทก์ และโจทก์กับจำเลยที่ 4 มีหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัด และผู้ว่าราชการจังหวัดแจ้งมายังจำเลยที่ 2 และที่ 3ผู้มีหน้าที่จะต้องเบิกจ่ายเงินค่าจ้าง จึงถือว่าโจทก์และจำเลยที่ 4 ได้ปฏิบัติตามวิธีการโอนสิทธิเรียกร้องที่ ป.พ.พ.มาตรา 303 วรรคหนึ่ง และมาตรา 306บัญญัติไว้แล้ว สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 4 ในการรับเงินค่าจ้างก่อสร้างจึงตกเป็นของโจทก์ตั้งแต่นั้น ส่วนจำเลยที่ 4 ย่อมหมดสิทธิที่จะรับเงินจำนวนดังกล่าวอีกต่อไป จำเลยที่ 1 จึงไม่มีความผูกพันที่จะต้องจ่ายค่าจ้างแก่จำเลยที่ 4เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ขออนุมัติจากผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อจ่ายค่าจ้างให้แก่จำเลยที่ 4 และผู้ว่าราชการจังหวัดอนุมัติให้จ่ายได้ จึงเป็นการละเมิดต่อสิทธิของโจทก์ซึ่งจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ต้องร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 890/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องค่าก่อสร้างและการชดใช้ค่าเสียหายจากการละเมิดสิทธิของเจ้าหนี้
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจ้างจำเลยที่ 4 ก่อสร้างอาคาร และจำเลยที่ 4 ทำสัญญากู้เงินโจทก์ โดยมีข้อความในสัญญากู้ด้วยว่าจำเลยที่ 4 โอนสิทธิเรียกร้องการรับเงินค่าก่อสร้างตามสัญญาให้แก่โจทก์ เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 4 โอนสิทธิเรียกร้องให้แก่โจทก์ และโจทก์กับจำเลยที่ 4 มีหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดและผู้ว่าราชการจังหวัดแจ้งมายังจำเลยที่ 2 และที่ 3 ผู้มีหน้าที่จะต้องเบิกจ่ายเงินค่าจ้าง จึงถือว่าโจทก์และจำเลยที่ 4 ได้ปฏิบัติตามวิธีการโอนสิทธิเรียกร้องที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 303 วรรคหนึ่ง และมาตรา 306 บัญญัติไว้แล้ว สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 4 ในการรับเงินค่าจ้างก่อสร้างจึงตกเป็นของโจทก์ตั้งแต่นั้น ส่วนจำเลยที่ 4 ย่อมหมดสิทธิที่จะรับเงินจำนวนดังกล่าวอีกต่อไป จำเลยที่ 1 จึงไม่มีความผูกพันที่จะต้องจ่ายค่าจ้างแก่จำเลยที่ 4 เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ขออนุมติจากผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อจ่ายค่าจ้างให้แก่จำเลยที่ 4และผู้ว่าราชการจังหวัดอนุมัติให้จ่ายได้ จึงเป็นการละเมิดต่อสิทธิของโจทก์ซึ่งจำเลยที 1 ที่ 2 และที่ 3 ต้องร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 890/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องค่าก่อสร้างและการละเมิดสิทธิของโจทก์จากการจ่ายเงินให้จำเลยที่ 4
จำเลยที่1ทำสัญญาจ้างจำเลยที่4ก่อสร้างอาคารและจำเลยที่4ทำสัญญากู้เงินโจทก์โดยมีข้อความในสัญญากู้ด้วยว่าจำเลยที่4โอนสิทธิเรียกร้องการรับเงินค่าก่อสร้างตามสัญญาให้แก่โจทก์เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่4โอนสิทธิเรียกร้องให้แก่โจทก์และโจทก์กับจำเลยที่4มีหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดและผู้ว่าราชการจังหวัดแจ้งมายังจำเลยที่2และที่3ผู้มีหน้าที่จะต้องเบิกจ่ายเงินค่าจ้างจึงถือว่าโจทก์และจำเลยที่4ได้ปฏิบัติตามวิธีการโอนสิทธิเรียกร้องที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา303วรรคหนึ่งและมาตรา306บัญญัติไว้แล้วสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่4ในการรับเงินค่าจ้างก่อสร้างจึงตกเป็นของโจทก์ตั้งแต่นั้นส่วนจำเลยที่4ย่อมหมดสิทธิที่จะรับเงินจำนวนดังกล่าวอีกต่อไปจำเลยที่1จึงไม่มีความผูกพันที่จะต้องจ่ายค่าจ้างแก่จำเลยที่4เมื่อจำเลยที่2และที่3ได้ขออนุมติจากผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อจ่ายค่าจ้างให้แก่จำเลยที่4และผู้ว่าราชการจังหวัดอนุมัติให้จ่ายได้จึงเป็นการละเมิดต่อสิทธิของโจทก์ซึ่งจำเลยที1ที่2และที่3ต้องร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8118/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน - สัญญาเช่าที่ไม่มีผลต่อเจ้าของสิทธิ - การละเมิดสิทธิครอบครอง
โจทก์ครอบครองที่พิพาทโดยมีเจตนายึดถือเพื่อตน โจทก์จึงมีสิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ.มาตรา 1367 จำเลยอยู่ในที่พิพาทของโจทก์โดยจำเลยไปเช่าที่พิพาทจากบุคคลที่ไม่มีสิทธิให้เช่า จำเลยย่อมไม่อาจอ้างสัญญาเช่ามาใช้ยันโจทก์ได้ การอยู่ในที่ดินของจำเลยจึงเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ โจทก์มีสิทธิฟ้องขับไล่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8118/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน – สัญญาเช่าจากผู้ไม่มีสิทธิ – การละเมิดสิทธิ – การฟ้องขับไล่
โจทก์ครอบครองที่พิพาทโดยมีเจตนายึดถือเพื่อตนโจทก์จึงมีสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1367 จำเลยอยู่ในที่พิพาทของโจทก์โดยจำเลยไปเช่า ที่พิพาทจากบุคคลที่ไม่มีสิทธิให้เช่า จำเลยย่อมไม่อาจ อ้างสัญญาเช่ามาใช้ยันโจทก์ได้ การอยู่ในที่ดินของจำเลย จึงเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ โจทก์มีสิทธิฟ้องขับไล่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7253/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดสิทธิข้างเคียง: อาคารบังลม/เศษขยะ ต้องเสียหายเดือดร้อนเกินควร จึงถือเป็นการละเมิด
ไม่ว่าอาคารพิพาทที่จำเลยปลูกสร้างจะผิดเทศบัญญัติหรือไม่ก็ตามหากไม่ได้ละเมิดสิทธิโจทก์ โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง เพราะไม่ใช่เป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ตามกฎหมายแพ่ง หาใช่ว่าถ้าจำเลยปลูกสร้างอาคารพิพาทผิดเทศบัญญัติดังกล่าวแล้วจะเป็นการละเมิดสิทธิโจทก์ที่เป็นเจ้าของที่ดินข้างเคียงเสมอไป
การละเมิดสิทธิอาจมีได้หลายประการ โจทก์อ้างว่าอาคารพิพาทปลูกสร้างปิดกั้นทางลมที่จะพัดเข้ามาในบ้านโจทก์ ทั้งเศษขยะต่าง ๆ หล่นจากระเบียงช่องระบายลมของอาคารพิพาทลงมาบนที่ดินและบ้านโจทก์ อันเป็นเรื่องละเมิดสิทธิโจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1337 แต่เมื่อปรากฏว่าโจทก์ปลูกห่างจากที่ดินด้านที่ติดกับอาคารพิพาทประมาณ 13 เมตร เป็นบ้านสองชั้นและมีหน้าต่างเปิดได้ทั้งสี่ด้าน ปกติหน้าต่างจะเปิดตลอดเวลา และบ้านโจทก์ไม่ได้ปลูกอยู่ประชิดติดกับอาคารพิพาทและมีระยะห่างเพียงพอที่ลมจะพัดเข้าถึงบ้านโจทก์ได้ ทั้งโจทก์ไม่ได้นำสืบว่าบ้านโจทก์ถูกอาคารพิพาทบังแดดบังลมหรือไม่อย่างไร ส่วนเศษขยะก็มีเพียงเศษกระดาษและวัสดุที่เป็นพลาสติกเพียงไม่กี่ชิ้น ไม่ใช่ขยะที่มีกลิ่นเหม็นหรือมีจำนวนมากมาย ทั้งปรากฏว่าได้มีการนำตาข่ายมาปิดกั้นระเบียงอาคารพิพาทไม่ให้วัสดุหล่นลงมาในที่ดินโจทก์แล้ว กรณีดังกล่าวยังไม่ถือเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายเดือดร้อนเกินที่ควรคิดหรือคาดหมายตามป.พ.พ.มาตรา 1337

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7253/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดสิทธิข้างเคียงต้องพิสูจน์ความเสียหายเดือดร้อนเกินควร การปลูกสร้างผิดเทศบัญญัติไม่ใช่ละเมิดเสมอไป
ไม่ว่าอาคารพิพาทที่จำเลยปลูกสร้างจะผิดเทศบัญญัติหรือไม่ก็ตาม หากไม่ได้ละเมิดสิทธิโจทก์ โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง เพราะไม่ใช่เป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ตามกฎหมายแพ่ง หาใช่ว่าถ้าจำเลยปลูกสร้างอาคารพิพาทผิดเทศบัญญัติดังกล่าวแล้วจะเป็นการละเมิดสิทธิโจทก์ที่เป็นเจ้าของที่ดินข้างเคียงเสมอไป
การละเมิดสิทธิอาจมีได้หลายประการ โจทก์อ้างว่าอาคารพิพาทปลูกสร้างปิดกั้นทางลมที่จะพัดเข้ามาในบ้านโจทก์ ทั้งเศษขยะต่าง ๆ หล่นจากระเบียงช่องระบายลมของอาคารพิพาทลงมาบนที่ดินและบ้านโจทก์ อันเป็นเรื่องละเมิดสิทธิโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1337 แต่เมื่อปรากฏว่าโจทก์ปลูกห่างจากที่ดินด้านที่ติดกับอาคารพิพาทประมาณ 13 เมตร เป็นบ้านสองชั้นและมีหน้าต่างเปิดได้ทั้งสี่ด้าน ปกติหน้าต่างจะเปิดตลอดเวลา และบ้านโจทก์ไม่ได้ปลูกอยู่ประชิดติดกับอาคารพิพาทและมีระยะห่างเพียงพอที่ลมจะพัดเข้าถึงบ้านโจทก์ได้ ทั้งโจทก์ไม่ได้นำสืบว่าบ้านโจทก์ถูกอาคารพิพาทบังแดดบังลมหรือไม่อย่างไร ส่วนเศษขยะก็มีเพียงเศษกระดาษและวัสดุที่เป็นพลาสติกเพียงไม่กี่ชิ้น ไม่ใช่ขยะที่มีกลิ่นเหม็นหรือมีจำนวนมากมาย ทั้งปรากฏว่าได้มีการนำตาข่ายมาปิดกั้นระเบียงอาคารพิพาทไม่ให้วัสดุหล่นลงมาในที่ดินโจทก์แล้ว กรณีดังกล่าวยังไม่ถือเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายเดือดร้อนเกินที่ควรคิดหรือคาดหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1337

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7253/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดสิทธิข้างเคียงต้องพิสูจน์ความเสียหายเดือดร้อนเกินควร แม้ผิดเทศบัญญัติก็ไม่ถือเป็นการละเมิดโดยอัตโนมัติ
ไม่ว่าอาคารพิพาทที่จำเลยปลูกสร้างจะผิดเทศบัญญัติหรือไม่ก็ตาม หากไม่ได้ละเมิดสิทธิโจทก์ โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง เพราะไม่ใช่เป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ตามกฎหมายแพ่ง หาใช่ว่าถ้าจำเลยปลูกสร้างอาคารพิพาทผิดเทศบัญญัติดังกล่าวแล้วจะเป็นการละเมิดสิทธิโจทก์ที่เป็นเจ้าของที่ดินข้างเคียงเสมอไป
การละเมิดสิทธิอาจมีได้หลายประการ โจทก์อ้างว่าอาคารพิพาทปลูกสร้างปิดกั้นทางลมที่จะพัดเข้ามาในบ้านโจทก์ ทั้งเศษขยะต่าง ๆ หล่นจากระเบียงช่องระบายลมของอาคารพิพาทลงมาบนที่ดินและบ้านโจทก์ อันเป็นเรื่องละเมิดสิทธิโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1337 แต่เมื่อปรากฏว่าโจทก์ปลูกห่างจากที่ดินด้านที่ติดกับอาคารพิพาทประมาณ 13 เมตร เป็นบ้านสองชั้นและมีหน้าต่างเปิดได้ทั้งสี่ด้าน ปกติหน้าต่างจะเปิดตลอดเวลา และบ้านโจทก์ไม่ได้ปลูกอยู่ประชิดติดกับอาคารพิพาทและมีระยะห่างเพียงพอที่ลมจะพัดเข้าถึงบ้านโจทก์ได้ ทั้งโจทก์ไม่ได้นำสืบว่าบ้านโจทก์ถูกอาคารพิพาทบังแดดบังลมหรือไม่อย่างไร ส่วนเศษขยะก็มีเพียงเศษกระดาษและวัสดุที่เป็นพลาสติกเพียงไม่กี่ชิ้น ไม่ใช่ขยะที่มีกลิ่นเหม็นหรือมีจำนวนมากมาย ทั้งปรากฏว่าได้มีการนำตาข่ายมาปิดกั้นระเบียงอาคารพิพาทไม่ให้วัสดุหล่นลงมาในที่ดินโจทก์แล้ว กรณีดังกล่าวยังไม่ถือเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายเดือดร้อนเกินที่ควรคิดหรือคาดหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1337
of 13