คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ละเลย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 86 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2191/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมการธนาคารต้องใช้ความเอื้อเฟื้อสอดส่องในการบริหารจัดการธุรกิจ หากปล่อยปละละเลยจนเกิดความเสียหายต้องรับผิด
มีการปล่อยสินเชื่อจำนวน 28 ราย โดยไม่ได้ปฏิบัติตามระเบียบของธนาคารโจทก์ การให้สินเชื่อทั้ง 28 ราย ไม่เคยนำเข้าคณะกรรมการพิจารณาสินเชื่อ คณะกรรมการสะสางหนี้จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 ต่างก็เป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ของโจทก์ต่างวาระกัน มีหน้าที่ดูแลกิจการทั้งหมดของธนาคารโจทก์ให้พนักงานปฏิบัติตามระเบียบของธนาคารที่ได้วางไว้ตลอดถึงการปฏิบัติตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยธนาคารพาณิชย์ เมื่อมีการปล่อยสินเชื่อให้กู้ยืมเงิน การค้ำประกันและอาวัลตั๋วเงินไม่เป็นไปตามระเบียบปกติของธนาคาร มิได้เร่งรัดติดตามหนี้สิน หรือดำเนินการใด เพื่อแก้ไขหนี้ดังกล่าว เป็นเหตุให้ธนาคารโจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 1 และที่ 3 ได้ชื่อว่าทำละเมิดต่อโจทก์ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ สำหรับจำเลยที่ 4 แม้มิใช่เป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่แต่มีหน้าที่ดูแลด้านสินเชื่อภายในประเทศ ซึ่งได้มีการสรุปภาระหนี้สินของธนาคารโจทก์เสนอต่อจำเลยที่ 4 หลายครั้ง เพื่อให้สั่งการ แต่ปรากฏว่าจำเลยที่ 4 มิได้สั่งการแต่ประการใด เป็นเหตุให้ไม่สามารถติดตามหนี้สินจากลูกหนี้ของธนาคารโจทก์ได้ ทั้งนี้เนื่องจากลูกหนี้ทั้ง 28 ราย ที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นบริษัทซึ่งกรรมการของโจทก์หลายคนเป็นกรรมการในบริษัทลูกหนี้หลายบริษัทหรือมิฉะนั้นเป็นเพื่อนสนิทของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบิดาของจำเลยที่ 4 การที่จำเลยที่ 4 ละเว้นไม่ปฏิบัติตามหน้าที่และระเบียบปฏิบัติของธนาคารโจทก์ จำเลยที่ 4 ได้ชื่อว่าทำละเมิดต่อโจทก์ เป็นเหตุให้โจทก์เสียหาย จำเลยที่ 4 ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์
ป.พ.พ. มาตรา 1168 เป็นบทบัญญัติว่าด้วยการประกอบกิจการบริษัทของกรรมการ ซึ่งอำนาจของกรรมการจะมีเพียงใด ย่อมเป็นไปตามมาตรา 1158 ถึง 1164 ส่วนมาตรา 1168 เป็นบทบัญญัติว่าด้วยหน้าที่และความรับผิดชอบของกรรมการ ซึ่งโดยมาตรา 1168 วรรคแรก บัญญัติให้กรรมการใช้ความเอื้อเฟื้อสอดส่องอย่างบุคคลค้าขายผู้ประกอบด้วยความระมัดระวัง ส่วนวรรคสองหมายถึงกิจการที่จะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษมากขึ้น หาได้หมายความว่า กรรมการจะต้องร่วมกันรับผิดเฉพาะกิจการ 4 ประการ ที่บัญญัติในวรรคสอง มาตรา 1168 เท่านั้นไม่ เมื่อมาตรา 1168 บัญญัติให้กรรมการทุกคนต้องมีหน้าที่เอื้อเฟื้อสอดส่อง การจะเป็นกรรมการของบริษัทใด กรรมการผู้นั้นจึงต้องประกอบด้วยความรู้ความเข้าใจในการประกอบกิจการของบริษัทนั้นด้วย มิฉะนั้นกรรมการก็ไม่อาจเอื้อเฟื้อสอดส่องกิจการให้ดีได้
โจทก์เป็นธนาคารพาณิชย์ ประกอบธุรกิจการธนาคารพาณิชย์ ซึ่งมีความหมายตามมาตรา 4 ของ พ.ร.บ. การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 ว่า การประกอบธุรกิจประเภทรับฝากเงินที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามหรือเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้และใช้ประโยชน์เงินนั้นในทางหนึ่งหรือหลายทาง เช่น ก. ให้สินเชื่อ ข. ซื้อขายตั๋วแลกเงินหรือตราสารเปลี่ยนมืออื่นใด ค. ซื้อขายเงินปริวรรตต่างประเทศ และอาจกระทำธุรกิจตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 ทวิ คือธุรกิจที่เกี่ยวกับหรือเนื่องจากการธนาคารพาณิชย์ หรือธุรกิจอันเป็นประเพณีที่ธนาคารพาณิชย์พึงกระทำ เช่น การเรียกเก็บเงินตามตั๋วเงิน การรับอาวัลตั๋วเงิน การรับรองตั๋วเงิน การออกเลตเตอร์ออฟเครดิต หรือการค้ำประกันหรือธุรกิจทำนองเดียวกันด้วย ซึ่งเมื่อมีการดำเนินการประกอบธุรกิจด้วยการให้สินเชื่อไปแล้ว ก็จะต้องมีหน้าที่ติดตามประเมินผลและเร่งรัดจัดเก็บหนี้ดังกล่าวให้ได้ด้วย มิฉะนั้นก็จะทำให้การประกอบธุรกิจธนาคารมีข้อขัดข้อง และทำให้สินทรัพย์ขาดสภาพคล่อง ดังนั้น ธุรกิจการธนาคารพาณิชย์จึงต้องอาศัยกรรมการผู้มีความรอบรู้ในธุรกิจการธนาคารพาณิชย์ด้วย เพื่อให้เอื้อเฟื้อสอดส่องกิจการของธนาคารให้ลุล่วงไปด้วยดี การที่ธุรกิจของโจทก์ประสบปัญหามาเป็นเวลานานตั้งแต่ปี 2523 ไม่ว่าการดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องอยู่ในระดับไม่พอใช้จนถึงด้อยคุณภาพ จัดชั้นเป็นสูญและสงสัยจำนวนสูง การแสดงผลกำไรตั้งแต่ปี 2522 ผิดพลาดเพราะแท้จริงแล้วธุรกิจของโจทก์ขาดทุนมิใช่กำไร มีการให้สินเชื่อแก่กลุ่มผู้บริหารมาก แม้ว่าการให้สินเชื่อดังกล่าวจะไม่ขัดต่อ พ.ร.บ. การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 มาตรา 12 (2) และมาตรา 12 ทวิ ก็ตาม แต่หนี้ในกลุ่มดังกล่าว หลักประกันไม่คุ้มหรือไม่มีเลย ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 2 ที่ 5 ที่ 6 และที่ 7 เป็นกรรมการของโจทก์ มีหน้าที่ต้องดูแลการบริหารกิจการของโจทก์มิให้เสียหาย กลับปล่อยให้มีการให้สินเชื่อโดยหลักประกันไม่คุ้ม เมื่อหนี้ถูกจัดเป็นหนี้เสียก็มิได้เร่งรัดติดตามหนี้ แม้ธนาคารแห่งประเทศไทยแจ้งให้มีการแก้ไขข้อผิดพลาดในการปฏิบัติงานดังกล่าว จำเลยที่ 2 ที่ 5 ที่ 6 และที่ 7 ก็หาได้ดำเนินการใดเพื่อแก้ไขไม่ ดังนั้น เมื่อตามพฤติการณ์ควรจะรู้ข้อปัญหาดังกล่าว หรือโดยสามัญสำนึกของวิญญูชนผู้ประกอบการค้าเช่นนั้นควรจะพึงรู้ได้ แต่มิได้กระทำการใดเพื่อปกป้องความเสียหายอันจะเกิดแก่โจทก์ จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ที่ 5 ที่ 6 และที่ 7 มิได้ใช้ความเอื้อเฟื้อสอดส่องในการประกอบกิจการของโจทก์ จะอ้างว่าไม่รับรู้การบริหารงานของโจทก์หรือมิได้มาทำงานเป็นประจำก็ดี ไม่มีหน้าที่ก็ดี เพื่อปัดความรับผิดของตนหาได้ไม่
กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทยกับจำเลยที่ 3จำเลยที่ 5 และกรรมการธนาคารโจทก์ชุดเดิมทำสัญญาให้ความช่วยเหลือพยุงฐานะธนาคารโจทก์เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2527 แสดงให้เห็นว่าโจทก์เพิ่งทราบถึงการทำละเมิดและผู้ที่จะต้องรับผิดในวันนั้น คดีโจทก์ฟ้องจำเลยเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2528 ไม่เกิน 1 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2030/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาอุทธรณ์ต้องมีพฤติการณ์พิเศษ การละเลยของโจทก์ไม่อาจใช้ขยายเวลาได้
ในเรื่องขยายระยะเวลา เมื่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะจึงต้องนำบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาใช้บังคับ คดีนี้ โจทก์อ้างว่าโจทก์ได้ส่งสำนวนไปให้สำนักงานอัยการเขตเพื่อให้อัยการศาลสูงพิจารณาแต่สำนักงานอัยการเขตมีสำนวนที่จะต้องพิจารณาอุทธรณ์เป็นจำนวนมากจึงไม่อาจพิจารณาให้ทันกำหนดเวลาอุทธรณ์นั้น เมื่อปรากฏว่าคดีนี้มิได้มีถ้อยคำสำนวนจำนวนมากเป็นพิเศษ ทั้งมิได้มีปัญหายุ่งยากสลับซับซ้อนศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาให้โจทก์และจำเลยฟังแล้วแต่โจทก์ละเลยเพิกเฉย เพิ่งมายื่นคำร้องขอถ่ายคำพิพากษาคำให้การพยานโจทก์ คำให้การพยานจำเลย และเอกสารที่โจทก์อ้างส่งศาลก่อนครบกำหนดอุทธรณ์ เพียง 2 วัน ศาลชั้นต้นก็อนุญาตในวันนั้นโดยมิได้ชักช้า ทั้งยังอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้โจทก์อีก 2 ครั้งเป็นเวลากว่า 15 วัน การที่สำนักงานอัยการเขต ไม่อาจพิจารณาอุทธรณ์ได้ทันกำหนดเวลาเกิดจากเหตุ ที่โจทก์ไม่รีบดำเนินการเสียแต่แรกเมื่อได้ฟังคำพิพากษา ศาลชั้นต้น จึงถือไม่ได้ว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษที่ศาลจะขยาย ระยะเวลาอุทธรณ์ให้แก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของเจ้าหน้าที่รัฐและหน่วยงาน กรณีละเลยดูแลทรัพย์ของกลางจนสูญหาย
จำเลยที่2กับที่3ต่างเป็นข้าราชการในสังกัดของจำเลยที่1ได้ยึดรถยนต์พิพาทของโจทก์เป็นของกลางถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่อย่างหนึ่งตามระเบียบข้อบังคับและคำสั่งที่ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่1และมีฐานะเป็นผู้แทนของจำเลยที่1จำเลยที่1มีหน้าที่กำกับดูแลการปฏิบัติงานของจำเลยที่2กับที่3มิให้เกิดความเสียหายส่วนจำเลยที่2กับที่3มีหน้าที่ต้องดูแลรักษาทรัพย์ของกลางเหมือนเช่นวิญญูชนพึงดูแลทรัพย์สินของตนเมื่อประมาทเลินเล่อไม่ได้ดูแลรักษาตามสมควรเป็นเหตุให้รถยนต์พิพาทสูญหายจึงเป็นการกระทำละเมิดในฐานะปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้แทนของจำเลยที่1ซึ่งเป็นนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา76วรรคหนึ่งจำเลยที่1จึงต้องร่วมกับจำเลยที่2กับที่3รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายแก่โจทก์จะอ้างว่าตนไม่มีอำนาจในการยึดสิ่งของในคดีอาญามาปฏิเสธความรับผิดชอบของตนไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6950/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประธานอนุกรรมการมีหน้าที่ควบคุมดูแลการปฏิบัติงาน หากละเลยจนเกิดความเสียหาย ต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายนั้น
จำเลยที่ 1 เป็นประธานอนุกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินของราษฎรที่ถูกเขตชลประทาน มีหน้าที่ควบคุมดูแลการตรวจสอบทรัพย์สินของราษฎรที่ถูกเขตชลประทานเพื่อจ่ายเงินค่าทดแทนการที่จำเลยที่ 1 ปล่อยให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ซึ่งเป็นอนุกรรมการไปตรวจสอบทรัพย์สินของราษฎร แล้วทำรายงานมาให้จำเลยที่ 1ลงชื่อร่วม เป็นเหตุให้โจทก์จ่ายเงินค่าทดแทนแก่ผู้ที่ไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนไปตามรายงานของจำเลยทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ถือว่าจำเลยที่ 1 ไม่เอาใจใส่ปฏิบัติงานตามที่ได้รับแต่งตั้งเป็นความประมาทเลินเล่อแล้วจำเลยที่ 1 จะอ้างว่ามีภารกิจติดราชการอื่นแล้วละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากทางราชการหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 989/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเลยการพิจารณาคำร้องขอใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ถือเป็นการโต้แย้งสิทธิและฟ้องร้องได้
โจทก์ยื่นคำร้องขอใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวต่อจำเลยซึ่งเป็นนายทะเบียนคนต่างด้าว เวลาล่วงเลยมา 2 ปีเศษ แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้พิจารณาคำร้องของโจทก์ตามอำนาจหน้าที่แต่อย่างใด การที่จำเลยจะต้องส่งคำร้องไปให้กองทะเบียนคนต่างด้าวและภาษีอากรตรวจสอบก่อนตามระเบียบ ก็เป็นเรื่องภายในของจำเลย การปล่อยเวลาให้ล่วงเลยไปถึง 2 ปีเศษ โดยไม่ได้ดำเนินการอย่างใดในเรื่องนี้นั้น เป็นการชี้ชัดให้เห็นถึงความละเลยเพิกเฉยไม่ติดตามดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่ ก่อให้เกิดความทุกข์ร้อนและเสียหายแก่โจทก์ ถือได้โดยปริยายว่าจำเลยปฏิเสธที่จะออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวให้โจทก์ เป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์มีอำนาจฟ้อง
ตามมาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ.การทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ.2493เป็นเพียงบทบังคับให้ผู้เสียสัญชาติไทยต้องไปร้องขอใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวจากนายทะเบียนท้องที่ภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่ได้รู้หรือควรรู้ว่าตนได้เสียไปซึ่งสัญชาติไทย มิฉะนั้นจะต้องมีความผิดและต้องรับโทษทางอาญาตามมาตรา 21 เท่านั้นการร้องขอเมื่อพ้นระยะเวลาดังกล่าวมิได้ทำให้เสียสิทธิอันมีอยู่แล้วแต่อย่างใด โจทก์จึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 806/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาละเลยไม่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย ทำให้หมดสิทธิเรียกร้อง
ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา27และมาตรา91เจ้าหนี้ทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือไม่ก็ตามจะต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลาสองเดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่1เด็ดขาดเมื่อวันที่19พฤษภาคม2529ในคดีที่ ก. เป็นโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่1เป็นบุคคลล้มละลายแต่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไม่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดเวลาจนศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายของจำเลยที่1เมื่อวันที่11กันยายน2532เพราะหนี้สินของจำเลยที่1ได้ชำระเต็มจำนวนแล้วตามมาตรา135(3)แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483ซึ่งเป็นผลให้จำเลยที่1หลุดพ้นจากบรรดาหนี้สินทั้งปวงโจทก์จะอ้างว่าไม่ทราบว่าจำเลยที่1ถูกฟ้องคดีล้มละลายไม่ได้เพราะการฟ้องคดีล้มละลายได้กระทำโดยเปิดเผยและมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาตามที่พระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483บัญญัติบังคับไว้แล้วโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7818/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ว่าจ้างต้องรับผิดร่วมกับผู้รับจ้างเมื่อผู้ควบคุมงานละเลยไม่สั่งระงับการก่อสร้างที่เสี่ยงอันตราย
ตามสัญญาจ้างระบุว่าจำเลยที่2ผู้รับจ้างจะต้องก่อสร้างตามรูปแบบและรายการที่จำเลยที่1ผู้ว่าจ้างกำหนดไว้ทุกประการและจำเลยที่1ได้แต่งตั้งให้ว.ช่างโยธาของจำเลยที่1เป็นผู้ควบคุมงานเมื่อว.เห็นว่าจำเลยที่4ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการของจำเลยที่2ใช้คนและเครื่องจักรขุดดินรางระบายน้ำเก่าโดยไม่ได้ใช้ไม้ค้ำยันและอุปกรณ์ป้องกันไม่ให้ดินพังลงมาแต่ว.ก็มิได้สั่งห้ามมิให้ทำเป็นเหตุให้ดินพังลงมาทำให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหายถือว่าจำเลยที่1ในฐานะผู้ว่าจ้างเป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำด้วยจำเลยที่1จึงต้องร่วมรับผิดในความเสียหายที่จำเลยที่2ผู้รับจ้างได้ก่อให้เกิดขึ้นด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา428เพราะว.ผู้ควบคุมงานของจำเลยที่1มีหน้าที่ควบคุมวิธีการก่อสร้างด้วยมิใช่มีหน้าที่เพียงควบคุมให้ผลของงานเป็นไปตามสัญญาเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 75/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เทศบาลต้องรับผิดต่อความเสียหายจากต้นไม้ล้มทับเนื่องจากละเลยดูแล แม้ไม่มีเหตุสุดวิสัย
ต้นสนที่ล้มทับรถยนต์ของโจทก์เสียหายและโจทก์ได้รับอันตรายสาหัส มีสภาพผุกลวงอยู่ในความครอบครองดูแลของเทศบาลเมืองสงขลาจำเลยที่ 1วันเกิดเหตุมีฝนตกเล็กน้อยและปานกลางเป็นช่วงสั้น ๆ และมีฟ้าคะนอง ความเร็วลมเพียง 5 ถึง 25 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ถือเป็นความเร็วลมปกติ การที่ต้นสนดังกล่าวล้มลงทับรถของโจทก์จึงมิใช่เกิดจากเหตุสุดวิสัย แต่เป็นความบกพร่องของจำเลยที่ 1ที่ไม่ยอมโค่นหรือค้ำจุนต้นสนดังกล่าวเพื่อป้องกันมิให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์
ค่าเสียหายเพราะเหตุที่โจทก์ต้องทุพพลภาพตลอดชีวิต โดยระบบประสาทไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายได้ เสียสมรรถภาพทางเพศ และไม่สามารถเดินได้ กับค่าเสียหายที่โจทก์ต้องทนทุกข์ทรมานจากการทุพพลภาพตลอดชีวิตนั้น ถือเป็นค่าเสียหายอันมิใช่ตัวเงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 446 ทั้งสองกรณี อันเนื่องมาจากเหตุที่ต่างกัน จึงแยกจำนวนค่าสินไหมทดแทนที่ให้ชดใช้ตามเหตุที่แยกออกจากกันเป็นแต่ละเหตุได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 75/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เทศบาลต้องรับผิดชอบความเสียหายจากต้นไม้ล้มทับรถยนต์ เนื่องจากละเลยไม่ดูแลรักษา แม้สภาพอากาศปกติ
ต้นสนที่อยู่ข้างถนนซึ่งเทศบาลจำเลยที่1มีหน้าที่ดูแลมีสภาพผุกลวงแม้จะมีฝนตกและฟ้าคะนองในวันเกิดเหตุแต่ก็เป็นฝนตกเล็กน้อยและปานกลางในช่วงสั้นๆและความเร็วของลมก็เป็นความเร็วลมปกติการที่ต้นสนล้มลงทับรถยนต์โจทก์จึงมิใช่เกิดจากเหตุสุดวิสัยเนื่องจากสภาพอากาศแปรปรวนแต่เป็นความบกพร่องของจำเลยที่1ที่ไม่ยอมโค่นหรือค้ำจุนต้นสนเพื่อป้องกันมิให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นจำเลยที่1จึงต้องรับผิด ค่าเสียหายเพราะเหตุที่โจทก์ต้องทุพพลภาพตลอดชีวิตโดยระบบประสาทไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายได้เสียสมรรถภาพทางเพศและไม่สามารถเดินได้กับค่าเสียหายที่โจทก์ต้องทนทุกข์ทรมานจากการทุพพลภาพตลอดชีวิตเป็นค่าเสียหายอันมิใช่ตัวเงินทั้งสองกรณีอันเนื่องมาจากเหตุที่ต่างกันจึงแยกจำนวนให้ชดใช้ตามเหตุที่แยกออกจากกันเป็นแต่ละเหตุได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 698/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเลยซ่อมถนนขาด-ติดป้ายเตือน เสี่ยงอันตรายแก่ผู้ใช้ทาง มีหน้าที่ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
อุทกภัยตัดถนนในเขตเทศบาลจำเลยขาดก่อนที่ผู้ตายจะขับรถจักรยานยนต์มาตกลงไปในช่วงที่ถนนขาดถึงแก่ความตายเป็นเวลาหลายเดือนแล้วจำเลยมีโอกาสติดป้ายแสดงทางเบี่ยงจัดหาสิ่งกีดขวางใหญ่ๆมองได้ชัดในเวลากลางคืนมากีดขวางถนนไว้และต้องจัดการติดตั้งสัญญาณไฟเพื่อแสดงให้เห็นว่าถนนขาดเป็นการเตือนว่าจะเป็นอันตรายผู้สัญจรผ่านไปมาจะต้องระมัดระวังแต่จำเลยไม่ทำเป็นการละเว้นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อและกรณีไม่ได้เกิดเพราะเหตุสุดวิสัย ค่าปลงศพผู้ตายเป็นค่าสินไหมทดแทนซึ่งกฎหมายกำหนดให้ผู้ทำละเมิดต้องจ่ายโจทก์เป็นทายาทของผู้ตายมีหน้าที่จัดการศพผู้ตายไม่ว่าจะทำเองหรือมีผู้อื่นทำแทนหรือโจทก์จะได้ออกค่าใช้จ่ายในการจัดงานศพด้วยตนเองหรือไม่จำเลยก็ต้องรับผิดจ่ายค่าปลงศพแก่โจทก์
of 9