คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ละเลยหน้าที่

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 71 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 24/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทนายความละเลยหน้าที่ตามสัญญาจ้างว่าความ ทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์
เมื่อจำเลยรับจ้างเป็นทนายความแก้ต่างให้โจทก์และโจทก์ได้แต่งตั้งจำเลยเป็นทนายความโดยชอบแล้ว จำเลยย่อมมีอำนาจว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ แทนโจทก์ได้ตามที่เห็นสมควรเพื่อรักษาผลประโยชน์ของโจทก์ แม้การที่จะซักค้านพยานโจทก์ปากใดอย่างไรหรือไม่ หรือสมควรนำพยานปากใดเข้าสืบหรือไม่ก็อยู่ในอำนาจหรือดุลพินิจของจำเลยก็ตาม แต่การที่จำเลยมอบอำนาจให้เสมียนทนายไปเลื่อนคดีหลังจากที่มีการสืบ อ. พยานโจทก์เสร็จแล้วจนเป็นเหตุให้ศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนคดี ทำให้ไม่มีโอกาสซักค้าน อ. พยานโจทก์ก็ดี การที่จำเลยไม่นำตัวโจทก์เข้าเบิกความเป็นพยานทั้ง ๆ ที่โจทก์ได้แสดงเจตนาว่าจะเข้าเบิกความเป็นพยานแล้วก็ดี การที่จำเลยไม่แจ้งวันนัดเดินเผชิญสืบให้โจทก์ทราบรวมทั้งมิได้แจ้งวันนัดฟังคำพิพากษาให้โจทก์ทราบและไม่ใส่ใจที่จะไปฟังคำพิพากษาด้วยตนเองหรือมอบฉันทะให้ผู้อื่นไปฟังแทนก็ดี การไม่อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นต่อศาลอุทธรณ์โดยมิได้ปรึกษาโจทก์ หรือแจ้งให้โจทก์ทราบถึงเหตุผลที่ไม่ควรอุทธรณ์ก็ดี ล้วนแต่เป็นการใช้ดุลพินิจที่ปราศจากเหตุผล มีแต่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ ถือได้ว่าจำเลยละเลยต่อหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติและเป็นการผิดสัญญาจ้างว่าความ จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์
ค่าทนายความที่จำเลยต้องคืนให้โจทก์กับค่าเสียหายที่จำเลยต้องชดใช้ให้โจทก์ต่างเป็นหนี้เงิน จำเลยจึงต้องเสียดอกเบี้ยแก่โจทก์ในอัตราร้อยละ7.5 ต่อปี นับแต่วันผิดนัด ตาม ป.พ.พ.มาตรา 224

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 24/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทนายความละเลยหน้าที่ ชดใช้ค่าเสียหาย - การใช้ดุลพินิจที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อลูกความ
โจทก์แต่งตั้งจำเลยเป็นทนายความ จำเลยมีอำนาจว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ แทนโจทก์ได้ตามที่เห็นสมควรเพื่อรักษาผลประโยชน์ของโจทก์ การที่จะซักค้านพยานโจทก์ปากใดหรือไม่ หรือสมควรนำพยานปากใด เข้าสืบหรือไม่ย่อมอยู่ในดุลพินิจของจำเลย แต่การ ใช้ดุลพินิจนั้นจะต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่โจทก์ การที่จำเลยมอบอำนาจให้เสมียนทนายไปเลื่อนคดี หลังจากที่มีการสืบพยานปากนาย อ. เสร็จแล้วจนเป็นเหตุให้ศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนคดี ทำให้ไม่มีโอกาสซักค้านพยานปากดังกล่าวก็ดี การที่จำเลยไม่นำตัวโจทก์เข้าเบิกความทั้ง ๆ ที่โจทก์แสดงเจตนาว่าจะเข้าเบิกความก็ดี การที่จำเลยไม่แจ้งวันนัดเดินเผชิญสืบรวมทั้งวันนัดฟังคำพิพากษาให้โจทก์ทราบ และไม่ใส่ใจไปฟังคำพิพากษาด้วยตนเองหรือมอบฉันทะให้ผู้อื่นไปฟังแทนก็ดี การไม่อุทธรณ์ คำพิพากษาโดยมิได้ปรึกษาโจทก์ หรือแจ้งให้โจทก์ ทราบถึงเหตุผลที่ไม่ควรอุทธรณ์ก็ดีล้วนแต่เป็นการ ใช้ดุลพินิจที่ปราศจากเหตุผล มีแต่จะก่อให้เกิดความเสียหาย แก่โจทก์ พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยละเลยต่อหน้าที่ ที่จะต้องปฏิบัติและเป็นการผิดสัญญาจ้างว่าความ จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ จำเลยได้ทำหน้าที่ทนายความให้โจทก์ในศาลชั้นต้นเป็นส่วนใหญ่แล้ว โจทก์จึงต้องใช้ค่าแห่งการงานที่จำเลยทำให้โจทก์ด้วยการใช้เงินตามควรแห่งการนั้น การที่ศาลอุทธรณ์ให้โจทก์ใช้ค่าทนายความในส่วนนี้ให้แก่จำเลยจำนวน 10,000 บาท และให้จำเลยคืนค่าทนายความที่รับไปแล้วให้โจทก์ 40,000 บาท จึงเหมาะสมแล้วสำหรับค่าเสียหายนั้น โจทก์นำสืบตนเองเพียงปากเดียวลอย ๆโดยมิได้ชี้ชัดให้เห็นว่า หากจำเลยปฏิบัติหน้าที่ทนายความอย่างเต็มที่แล้ว โจทก์จะชนะคดีในส่วนใดมากน้อยเพียงใดจึงไม่อาจกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์เต็มตามฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 24/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทนายความละเลยหน้าที่ จำเลยต้องชดใช้ค่าเสียหายและคืนค่าทนายความ
เมื่อจำเลยรับจ้างเป็นทนายความแก้ต่างให้โจทก์และโจทก์ได้แต่งตั้งจำเลยเป็นทนายความโดยชอบแล้วจำเลยย่อมมีอำนาจว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆแทนโจทก์ได้ตามที่เห็นสมควรเพื่อรักษาผลประโยชน์ของโจทก์ แม้การที่จะซักค้านพยานโจทก์ปากใดอย่างไรหรือไม่ หรือสมควรนำพยานปากใดเข้าสืบหรือไม่ก็อยู่ในอำนาจหรือดุลพินิจของจำเลยก็ตาม แต่การที่จำเลยมอบอำนาจให้เสมียนทนายไปเลื่อนคดีหลังจากที่มีการสืบ อ. พยานโจทก์เสร็จแล้วจนเป็นเหตุให้ศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนคดี ทำให้ไม่มีโอกาสซักค้าน อ. พยานโจทก์ก็ดีการที่จำเลยไม่นำตัวโจทก์เข้าเบิกความเป็นพยานทั้ง ๆ ที่โจทก์ได้แสดงเจตนาว่าจะเข้าเบิกความเป็นพยานแล้วก็ดี การที่จำเลยไม่แจ้งวันนัดเดินเผชิญสืบให้โจทก์ทราบรวมทั้งมิได้แจ้งวันนัดฟังคำพิพากษาให้โจทก์ทราบและไม่ใส่ใจที่จะไปฟังคำพิพากษาด้วยตนเอง หรือมอบฉันทะให้ผู้อื่นไปฟังแทนก็ดี การไม่อุทธรณ์คำพิพากษา ศาลชั้นต้นต่อศาลอุทธรณ์โดยมิได้ปรึกษาโจทก์ หรือแจ้ง ให้โจทก์ทราบถึงเหตุผลที่ไม่ควรอุทธรณ์ก็ดี ล้วนแต่ เป็นการใช้ดุลพินิจที่ปราศจากเหตุผล มีแต่จะก่อให้เกิด ความเสียหายแก่โจทก์ ถือได้ว่าจำเลยละเลยต่อ หน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติและเป็นการผิดสัญญาจ้าง ว่าความ จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ค่าทนายความที่จำเลยต้องคืนให้โจทก์กับค่าเสียหายที่จำเลยต้องชดใช้ให้โจทก์ต่างเป็นหนี้เงิน จำเลยจึงต้องเสียดอกเบี้ยแก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันผิดนัด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4713/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการจำหน่ายคดีและการทิ้งฟ้องเนื่องจากโจทก์ละเลยหน้าที่
ป.วิ.พ.มาตรา 198 มีเจตนารมณ์ให้เป็นอำนาจของศาลที่จะใช้ดุลพินิจมีคำสั่งจำหน่ายคดีในกรณีที่โจทก์ไม่ยื่นคำขอภายในเวลาตามที่กฎหมายกำหนดไว้ หรืออีกนัยหนึ่งบทบัญญัติดังกล่าวเป็นเรื่องระหว่างศาลกับโจทก์ในอันที่ศาลจะพิจารณาว่าโจทก์ยังประสงค์จะดำเนินคดีในกรณีดังกล่าวหรือไม่ ซึ่งโดยปกติศาลย่อมจะมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีโดยอาศัยเหตุจากการละเว้นของโจทก์ดังกล่าวเว้นแต่จะมีเหตุสมควรที่ศาลจะไม่สั่งจำหน่ายคดีของโจทก์
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลชั้นต้น และกรณีเป็นการส่งหมายข้ามเขตซึ่งศาลเป็นผู้ส่งเอง เมื่อศาลชั้นต้นมิได้แจ้งผลการส่งหมายดังกล่าวให้โจทก์ทราบ โจทก์ย่อมไม่ทราบระยะเวลาที่กำหนดให้จำเลยที่ 1 ยื่นคำให้การได้สิ้นสุดลง นอกจากนี้เมื่อโจทก์มาขอดูสำนวนจึงทราบว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การ และได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การ ซึ่งถือได้ว่าโจทก์ประสงค์จะดำเนินคดีสำหรับจำเลยที่ 1 ต่อไปพฤติการณ์ของโจทก์ในคดีนี้จึงมีเหตุสมควรที่ศาลจะไม่สั่งจำหน่ายคดีของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1
ส่วนจำเลยที่ 2 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งที่โจทก์ยื่นฟ้องว่า "รับคำฟ้องหมายส่งสำเนาให้จำเลย ให้โจทก์จัดการนำส่งภายใน 7 วัน หากส่งไม่ได้ให้โจทก์แถลงภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ส่งไม่ได้ มิฉะนั้นถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง" เมื่อเจ้าหน้าที่ศาลรายงานว่าได้นำหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไปส่งให้แก่จำเลยที่ 2 แล้วปรากฏว่าส่งไม่ได้เพราะหาบ้านไม่พบ และตามแบบพิมพ์ท้ายคำขอท้ายฟ้องซึ่งทนายโจทก์ผู้รับมอบอำนาจลงลายมือชื่อโจทก์มีข้อความว่า "ข้าพเจ้าได้ยื่นสำเนาคำฟ้องโดยข้อความถูกต้องเป็นอย่างเดียวกันมาด้วยสองฉบับ และรอฟังคำสั่งอยู่ ถ้าไม่รอให้ถือว่าทราบแล้ว" จึงต้องถือว่าโจทก์ได้ทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นให้แถลงภายใน7 วัน นับแต่วันส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยที่ 2 ไม่ได้
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์นำส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยที่ 2 ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลชั้นต้น แต่โจทก์กระทำเพียงเสียค่าธรรมเนียมในการส่งหมายให้จำเลยที่ 2 เท่านั้น มิได้นำส่งเอง โจทก์จึงมีหน้าที่ติดตามขวนขวายให้ได้ทราบผลการส่งหมายเอง ไม่จำเป็นที่ศาลจะต้องแจ้งผลการส่งหมายให้โจทก์ทราบอีก เมื่อโจทก์เพิกเฉยมิได้แถลงว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไปภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด จึงถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 174 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 191/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนผู้จัดการมรดกและการแต่งตั้งใหม่เนื่องจากละเลยหน้าที่จัดทำบัญชีทรัพย์มรดก
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งผู้ร้องและผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายร่วมกัน เมื่อผู้คัดค้านมิได้อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นในส่วนที่ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายจึงถึงที่สุดแล้ว การที่ผู้ร้องยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ผู้ร้องแต่เพียงผู้เดียวเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายและยกคำร้องของผู้คัดค้านนั้น ไม่ว่าศาลอุทธรณ์ภาค 2 จะพิพากษาคดีไปในทางใดก็ไม่กระทบกระเทือนต่อสิทธิและหน้าที่ผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตาย จึงมิใช่กรณีที่ยังไม่ทราบว่าใครจะได้เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายดังที่ผู้ร้องกล่าวอ้างแม้คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ตั้งผู้ร้องและผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายร่วมกันที่ยังไม่ถึงที่สุดเพราะผู้ร้องอุทธรณ์นั้น คำสั่งดังกล่าวก็ผูกพันผู้ร้องและผู้คัดค้านซึ่งเป็นคู่ความจนกว่าคำสั่งนั้นจะถูกเปลี่ยนแปลง แก้ไข กลับหรืองดเสีย ตามป.วิ.พ.มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ผู้ร้องและผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลชั้นต้นและทราบคำสั่งแล้ว ถือว่าหน้าที่ผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลได้เริ่มขึ้นแล้วในวันดังกล่าว ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1716 ดังนั้นผู้ร้องและผู้คัดค้านจึงต้องลงมือจัดทำบัญชีทรัพย์มรดกภายในสิบห้าวัน นับแต่วันเริ่มหน้าที่ผู้จัดการมรดกตามมาตรา1728 ทั้งนี้ต้องทำบัญชีทรัพย์มรดกให้เสร็จภายในหนึ่งเดือนตามมาตรา 1729และหากผู้จัดการมรดกไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกภายในกำหนดเวลาและตามแบบที่กำหนดไว้ มาตรา 1731 ก็บัญญัติให้ศาลมีอำนาจถอนผู้จัดการมรดกได้
ที่กฎหมายบัญญัติให้ผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลหน้าที่ผู้จัดการมรดกก็เพราะว่าทรัพย์มรดกของผู้ตายมีอะไรบ้างนั้นเป็นเรื่องสำคัญ และเมื่อบัญชีทรัพย์ที่ผู้ร้องยื่นต่อศาลขณะร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ไม่ใช่บัญชีทรัพย์มรดกที่ผู้จัดการมรดกจะต้องลงมือจัดทำให้แล้วเสร็จภายหลังที่ได้รับแต่งตั้งจากศาลให้ทำหน้าที่เป็นผู้จัดการมรดกตามมาตรา 1728 และ 1729 และโดยที่ข้อเท็จจริงได้ความว่าผู้ร้องครอบครองทรัพย์มรดกของผู้ตายทั้งหมด ทรัพย์มรดกที่ให้เช่าผู้ร้องก็เป็นผู้เก็บค่าเช่าตลอดมา ผู้ตายถึงแก่ความตายตั้งแต่วันที่ 22 ธันวาคม2534 แต่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกและเป็นผู้ครอบครองรวมทั้งเก็บผลประโยชน์จากทรัพย์มรดกแต่ผู้เดียว ยังไม่ทำบัญชีทรัพย์มรดก และแบ่งทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทบ้างเลย ทั้งยังแสดงเจตนาที่จะไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกเช่นนี้ จึงมีเหตุสมควรที่จะถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
ผู้คัดค้านเป็นบุตรนอกกฎหมายของผู้ตายซึ่งผู้ตายได้รับรองแล้วผู้ตายมิได้ทำพินัยกรรมไว้ ผู้คัดค้านซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกของผู้ตาย ผู้คัดค้านไม่เป็นบุคคลต้องห้ามตามกฎหมายที่จะเป็นผู้จัดการมรดกประกอบกับศาลได้ถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแล้ว จึงสมควรตั้งให้ผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 525/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนผู้จัดการมรดกต้องแสดงเหตุละเลยหน้าที่หรือทำให้เกิดความเสียหายต่อกองมรดก
การที่ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านขอให้ถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายนั้นผู้คัดค้านต้องบรรยายในคำร้องขอถอนผู้จัดการมรดกให้ปรากฎว่าผู้ร้องละเลยไม่ทำการตามหน้าที่หรือทำผิดหน้าที่ผู้จัดการมรดกตามกฎหมายอย่างใดหรือกระทำการใดซึ่งจะเป็นที่เสื่อมประโยชน์ต่อกองมรดกของผู้ตายหรือทำให้ทายาทอื่นเสียหายประการใดอันจะเป็นเหตุที่จะถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกแต่ตามคำคัดค้านของผู้คัดค้านระบุเพียงว่าผู้ร้องมีอายุถึง75ปีแล้วไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้โดยมิได้บรรยายถึงเหตุที่ว่าไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้นั้นเป็นอย่างใดที่ว่าพฤติการณ์ที่ผ่านมาเจ้ามรดกมิได้ไว้วางใจให้ดูแลทรัพย์สินหรือเกี่ยวข้องกับทรัพย์มรดกก็มิได้เป็นเหตุถึงขนาดที่ผู้ร้องจะเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายไม่ได้ส่วนข้ออ้างที่ว่าผู้ร้องปกปิดผู้คัดค้านในการมาร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกก็ไม่ใช่เหตุผลที่จะขอให้ถอนผู้จัดการมรดกได้ดังนั้นคำคัดค้านของผู้คัดค้านจึงไม่ต้องด้วยบทกฎหมายที่จะขอให้ถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้ศาลจึงไม่จำต้องทำการไต่สวนคำคัดค้านของผู้คัดค้าน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5001/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทนายความละเลยหน้าที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย แม้โจทก์ไม่เสียสิทธิ แต่จำเลยต้องชดใช้ค่าเสียหาย
ตามฟ้องของโจทก์กล่าวโดยสรุปว่า โจทก์มอบให้สำนักงานของจำเลยฟ้อง ส. ซึ่งเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาเป็นคดีล้มละลายต่อศาลชั้นต้นซึ่งจำเลยร่วมทนายประจำสำนักงานของจำเลยเป็นผู้ดำเนินการ ต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด สำนักงานของจำเลยมีหน้าที่ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้รายนี้ แต่ปล่อยเวลาล่วงเลยจนพ้นกำหนดโดยไม่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ เป็นเหตุให้โจทก์หมดสิทธิได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้รายนี้ ทั้งที่ลูกหนี้มีทรัพย์พอชำระหนี้ได้ ขอให้บังคับจำเลยรับผิดใช้ค่าเสียหายตามจำนวนหนี้ที่ลูกหนี้ค้างชำระโจทก์อยู่ตามคำฟ้องดังกล่าวโจทก์อ้างว่าจำเลยต้องรับผิดเพราะเหตุที่โจทก์หมดสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้แต่คดีล้มละลายดังกล่าว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกเลิกการล้มละลายของ ส. ลูกหนี้ (จำเลย) ตามมาตรา 135(2)แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ซึ่งไม่ทำให้ลูกหนี้หลุดพ้นหนี้สินที่มีอยู่แต่อย่างใด โจทก์จึงยังไม่หมดสิทธิที่จะได้ชำระหนี้จากลูกหนี้โดยยังมีสิทธิขอบังคับคดีตามคำพิพากษาในคดีแพ่งเดิมที่โจทก์อาศัยมาเป็นมูลหนี้ในการฟ้องลูกหนี้เป็นคดีล้มละลายได้ ดังนี้เมื่อข้ออ้างของโจทก์ที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาให้จำเลยและจำเลยร่วมต้องรับผิดมิได้เป็นไปดังที่โจทก์อ้าง จึงไม่อาจจะบังคับให้จำเลยและจำเลยร่วมรับผิดต่อโจทก์ตามฟ้องได้ แต่การที่จำเลยและจำเลยร่วมไม่ยื่นคำรับชำระหนี้ดังกล่าวให้แก่โจทก์ เป็นการไม่ปฏิบัติ หน้าที่ตามสัญญาให้สำเร็จลุล่วงต้องตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้โจทก์มีสิทธิเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยได้ ศาลจึงไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องใหม่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/17

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4729/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทนายความละเลยหน้าที่ยื่นคำให้การเกินกำหนด ทำให้โจทก์เสียเปรียบและต้องรับผิดในสัญญา
จำเลยในฐานะทนายความของโจทก์มีหน้าที่ต้องจัดทำคำให้การแทนโจทก์ และต้องยื่นให้ทันภายในกำหนดเวลายื่นคำให้การ เมื่อจำเลยนำคำให้การมายื่นเมื่อพ้นระยะเวลายื่นคำให้การแล้ว ทั้งมิได้ดำเนินการเพื่อขออนุญาตยื่นคำให้การ ทำให้โจทก์เสียเปรียบในการดำเนินคดีอย่างยิ่งถือได้ว่าจำเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะทนายความก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ เป็นการผิดสัญญา จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ และถึงแม้โจทก์จะมิได้นำสืบว่าค่าเสียหายอันเกิดจากการกระทำของจำเลยมีเพียงใด ศาลย่อมมีอำนาจกำหนดให้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3127/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งผู้จัดการมรดกและการคุ้มครองสิทธิทายาท
การที่จำเลยยื่นคำร้องขอต่อศาลขอให้ตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกนั้น ประเด็นแห่งคดีมีเพียงว่า มีเหตุที่จะแต่งตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกหรือไม่ และจำเลยเป็นบุคคลต้องห้ามในการที่จะเป็นผู้จัดการมรดกหรือไม่ ดังนั้นแม้จำเลยเบิกความในคดีแพ่งดังกล่าวว่า เจ้ามรดกมิได้ทำพินัยกรรมไว้ซึ่งไม่ตรงกับข้อเท็จจริงก็ตาม คำเบิกความดังกล่าวก็หาใช่ข้อสำคัญในคดีนั้นแต่อย่างใดไม่เพราะสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นทายาทในการที่จะรับมรดกยังมีอยู่ แม้เมื่อศาลมีคำสั่งตั้งให้จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกแล้วก็ตาม หากจำเลยละเลยหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามอำนาจหน้าที่ จำเลยย่อมถูกถอนจากการเป็นผู้จัดการมรดกได้ โจทก์ยังคงมีสิทธิรับมรดกอยู่เช่นเดิม คดีโจทก์ไม่มีมูลความผิดฐานเบิกความเท็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1207/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา และความรับผิดจากละเลยหน้าที่ยาม
จำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกลักทรัพย์โจทก์ไปครั้งเดียวข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในคดีนี้เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาซึ่งพนักงานอัยการมีสิทธิเรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนโจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 และมาตรา 44 และในการพิจารณาพิพากษาคดีส่วนแพ่งดังกล่าว ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 40 และมาตรา 47กำหนดว่าต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และกฎหมายอันว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่ง เมื่อศาลสั่งให้จำเลยที่ 1และที่ 2 คืนหรือใช้ราคาทรัพย์แก่โจทก์ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 50 ให้ถือว่าโจทก์เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาและมีอำนาจดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 249ฉะนั้น การที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2เป็นคดีอาญาและในคดีส่วนแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาได้มีคำขอให้ศาลสั่งคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ให้โจทก์ในฐานะผู้เสียหาย จึงเป็นการฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาแทนโจทก์โจทก์จึงมีฐานะเป็นคู่ความและต้องผูกพันตามคำพิพากษาคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีส่วนอาญาดังกล่าวด้วย ดังนั้นโจทก์จะรื้อร้องฟ้องคดีแพ่งในประเด็นที่ศาลในคดีอาญาได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันอีกไม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 จำเลยที่ 3ละทิ้งหน้าที่เฝ้ายามไปเป็นเวลานาน เป็นเหตุให้คนร้ายถือโอกาสเข้าไปลักทรัพย์ของโจทก์ จึงเป็นการประมาทเลินเล่อ เมื่อโจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 3 มิได้ถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีอาญาของศาลชั้นต้นจำเลยที่ 3 จึงไม่ได้เป็นคู่ความ ทั้งคดีนี้โจทก์ฟ้องโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า จำเลยที่ 3 กระทำละเมิดโดยประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติหน้าที่ฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 3 จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
of 8