พบผลลัพธ์ทั้งหมด 21 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5007/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับการชำระหนี้ & อัตราดอกเบี้ย: ตั๋วสัญญาใช้เงิน, การนำเงินชำระหนี้ไปหักต้นเงิน/ดอกเบี้ย, สิทธิคิดดอกเบี้ย
เมื่อสัญญาระบุลำดับการชำระหนี้ไว้โดยชัดแจ้งว่าต้องชำระเงินต้นก่อน เมื่อชำระเงินต้นครบถ้วนแล้วจึงจะชำระดอกเบี้ย ดังนั้นเงินที่ชำระหนี้จึงต้องนำไปหักจากต้นเงินตามที่ได้ตกลงกันไว้ จะนำไปหักจากดอกเบี้ยที่ค้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 329 ไม่ได้ เพราะบทบัญญัติดังกล่าวเป็นกรณีที่ไม่ได้ระบุลำดับการชำระหนี้กันไว้ ตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ออกตกลงคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19.5 และ 18 ต่อปี เป็นการตกลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 911,968(1)ประกอบด้วยมาตรา 985 ซึ่งกฎหมายไม่ได้วางข้อจำกัดอันใดไว้จึงแล้วแต่คู่กรณีจะตกลงกัน การที่จำเลยที่ 1 ยินยอมให้ดอกเบี้ยตามที่ระบุไว้ในตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นก็เป็นผลประโยชน์ที่จำเลยที่ 1 ลูกหนี้ยินยอมเพื่อตอบแทนการที่โจทก์ยอมให้กู้อันเป็นที่มาแห่งมูลหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน หาใช่เป็นการกู้ยืมเงินและเป็นการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราไม่ เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทซึ่งมีรายการใช้เงินเป็นจำนวนแน่นอนพร้อมดอกเบี้ย จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดตามเนื้อความในตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นตามมาตรา 900 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โจทก์ในฐานะสถาบันการเงินมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากการให้กู้ยืม เงินในระหว่างอัตราร้อยละ 18.5 ถึง 19.5 ต่อปีตามที่มีประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดไว้ ดังนั้นที่มีการตกลงเรื่องดอกเบี้ยกันไว้ในตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทในอัตราร้อยละ 19.5 และ 18 ต่อปี จึงเป็นไปตามสิทธิที่โจทก์จะเรียกดอกเบี้ยอัตราดังกล่าวได้จนกว่าจะชำระหนี้ให้โจทก์เสร็จสิ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1331-1332/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับชำระหนี้ที่มีประกันเท่ากัน พิจารณาหนี้ดอกเบี้ยสูงก่อน และการลดเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วน
ในบรรดาหนี้ที่ถึงกำหนดชำระพร้อมกันและมีประกันเท่ากันหนี้ที่มี ดอกเบี้ย สูงกว่า เป็นหนี้รายที่ตกหนักแก่ลูกหนี้มากกว่าจึงควรได้รับการปลดเปลื้องไปก่อน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 328 แม้จะมีข้อสัญญากำหนดเบี้ยปรับที่จำเลยจะต้องชำระให้โจทก์เมื่อผิดสัญญาแต่การที่จำเลยไม่ได้ชำระหนี้ใช้ทุนฝึกอบรมครบถ้วนเป็นเพราะโจทก์มีส่วนอนุญาตให้จำเลยไปศึกษาต่อต่างประเทศเป็นเหตุให้จำเลยไม่กลับมาใช้ทุนและลาออกจากราชการไป การคิดเอาเบี้ยปรับสองเท่าจึงเป็นจำนวนที่สูงเกินส่วน ศาลลดลงได้ ตามป.พ.พ. มาตรา 383.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3876/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับชำระหนี้ภาษีอากรและเงินเพิ่ม: หนี้เก่ากว่าปลดเปลื้องก่อน แม้ธนาคารค้ำประกันชำระเกิน
ที่พระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช 2469 มาตรา 112 จัตวา บัญญัติว่า เมื่อผู้นำของเข้านำเงินมาชำระค่าภาษีอากรที่ต้องเสียหรือเสียเพิ่มให้เรียกเก็บเงินเพิ่มในอัตราร้อยละหนึ่งต่อเดือนของค่าอากรที่นำมาชำระจนถึงวันที่นำเงินมาชำระนั้น เห็นว่า เงินเพิ่มตามมาตรานี้มิใช่ดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 329 โจทก์จึงจะนำเงินที่ธนาคารค้ำประกันมาหักชำระเงินเพิ่มค่าภาษีอากรก่อนไม่ได้ กรณีนี้เป็นเรื่องลูกนี้ต้องผูกพันต่อเจ้าหนี้ในอันจะกระทำการเพื่อชำระหนี้เป็นการอย่างเดียวกันโดยมูลหนี้หลายราย หนี้ถึงกำหนดชำระพร้อมกัน หนี้รายที่เก่าที่สุดเป็นอันได้เปลื้องไปก่อน เมื่อหนี้ค่าภาษีอากรเป็นหนี้เก่ากว่าหนี้เงินเพิ่มค่าภาษีอากร ดังนี้หนี้ค่าภาษีอากรย่อมได้รับการปลดเปลื้องไปก่อนหนี้เงินเพิ่มค่าภาษีอากร ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 328
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3876/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับการชำระหนี้ภาษีอากรและเงินเพิ่ม: หนี้เก่ากว่าปลดเปลื้องก่อน
ที่พระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช 2469 มาตรา 112 จัตวาบัญญัติว่า เมื่อผู้นำของเข้านำเงินมาชำระค่าภาษีอากรที่ต้องเสียหรือเสียเพิ่มให้เรียกเก็บเงินเพิ่มในอัตราร้อยละหนึ่งต่อเดือนของค่าอากรที่นำมาชำระจนถึงวันที่นำเงินมาชำระนั้น เห็นว่าเงินเพิ่มตามมาตรานี้ มิใช่ดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 329 โจทก์จึงจะนำเงินที่ธนาคารค้ำประกันมาหักชำระเงินเพิ่มค่าภาษีอากรก่อนไม่ได้ กรณีนี้เป็นเรื่องลูกหนี้ต้องผูกพันต่อเจ้าหนี้ในอันจะกระทำการเพื่อชำระหนี้เป็นการอย่างเดียวกันโดยมูลหนี้หลายราย หนี้ถึงกำหนดชำระพร้อมกัน หนี้รายที่เก่าที่สุดเป็นอันได้เปลื้องไปก่อน เมื่อหนี้ค่าภาษีอากรเป็นหนี้เก่ากว่าหนี้เงินเพิ่มค่าภาษีอากร ดังนี้ หนี้ค่าภาษีอากรย่อมได้รับการปลดเปลื้องไปก่อนหนี้เงินเพิ่มค่าภาษีอากรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 328
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1450/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับการชำระหนี้: เจ้าหนี้จำนอง, เจ้าหนี้บุริมสิทธิสามัญ และการเฉลี่ยเงินจากการขายทอดตลาด
โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้จำนองมีสิทธิได้รับชำระหนี้จำนองจากเงินที่ขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยที่จำนองโจทก์ไว้ก่อนเจ้าหนี้อื่นส่วนหนี้ของโจทก์นอกจากหนี้จำนองเป็นหนี้สามัญที่เจ้าหนี้อื่น ๆ มีสิทธิขอเฉลี่ยจากเงินที่เหลือ แต่กรมสรรพากรเป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิสามัญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 253(3) ย่อมมีสิทธิ ได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้คนอื่น ๆ จากเงินที่เหลือจากการชำระหนี้ จำนองใช้แก่โจทก์แล้วและจากเงินที่ขายทอดตลาดทรัพย์สินอื่นของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1711/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับการชำระหนี้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนอง: ผู้รับจำนองรายแรกมีสิทธิเหนือกว่า
ทรัพย์ที่มีการจำนองสองราย เมื่อผู้รับจำนองรายแรกขอให้ศาลขายทอดตลาดทรัพย์อย่างปลอดจำนองแล้ว ก็เป็นการปลอดจำนองตลอดไปถึงผู้รับจำนองรายหลังด้วย ผู้รับจำนองรายหลังจะขอให้ขายทอดตลาดไปโดยคงคิดจำนองของตนแย้งกับผู้รับจำนองรายแรกไม่ได้ เพราะเป็นการบังคับตามสิทธิของตนเป็นที่เสียหายแก่ผู้รับจำนองคนก่อน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 881/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับการชำระหนี้ภาษีอากรในคดีล้มละลาย: เกิน 6 เดือน vs. ภายใน 6 เดือน ก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
แม้หนีภาษีอากรจะเป็นหนี้บุริมสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แต่พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษและบัญญัติขึ้นภายหลังได้กำหนดลำดับสิทธิในการที่เจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้ไว้ตามมาตรา 130 จึงเป็นข้อยกเว้นจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งเป็นกฎหมายทั่วไป ในการขอรับชำระหนี้ภาษีอากร จึงต้องถือตามพระราชบัญญัตินี้เป็นสำคัญ
ภาษีอากรถึงกำหนดชำระภายใน 6 เดือน ก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 130(6) นั้นคือ ภาษีอากรที่ถึงกำหนดชำระระหว่าง 6 เดือน ก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์นั่นเอง มิได้รวมถึงภาษีอากรที่ได้ถึงกำหนดชำระเกินกว่า 6 เดือนก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แต่อย่างใด หนี้ภาษีการค้าที่ลูกค้าติดค้างอยู่ถึงกำหนดชำระเกินกว่า 6 เดือนก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 130(6) คงมีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ตามมาตรา 130(8) เท่านั้น
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 84, 85 ทวิ กำหนดให้ผู้ประกอบการค้ายื่นแบบแสดงรายการการค้าแต่ละเดือนภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไปมาตรา 86 กำหนดให้ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้าชำระภาษีภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 85 ทวิ และมาตรา 89 ทวิ วรรคสามบัญญัติว่า การคำนวณเงินเพิ่ม ฯลฯ ให้เริ่มนับเมื่อพ้นสิบห้าวันถัดจากเดือนภาษี ซึ่งหมายความว่าเงินเพิ่มนั้นจะเริ่มคิดคำนวณทันทีหลังจากที่ลูกหนี้ไม่ชำระภาษีการค้าภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป หาใช่นับแต่ภายหลังที่เจ้าหนี้ได้แจ้งการประเมินภาษีไปยังลูกหนี้ แล้วลูกหนี้ไม่ชำระภาษีภายในกำหนด 30 วัน นับแต่เจ้าหนี้แจ้งการประเมินไม่ ฉะนั้นแม้เจ้าหนี้เพิ่งแจ้งการประเมินภายหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว ลูกหนี้ก็ยังคงต้องรับผิดในเงินเพิ่มดังกล่าว
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89 ตรี บัญญัติว่า เบี้ยปรับและเงินเพิ่มให้ถือว่าเป็นเงินภาษี และมาตรา 89 ทวิ บัญญัติให้เสียเงินเพิ่มร้อยละ 1 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ ฉะนั้น เงินเพิ่มที่เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้จึงต้องแยกพิจารณาเป็น 2 ตอน เงินเพิ่มสำหรับระยะเวลา 6 เดือนก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ รวมทั้งภาษีบำรุงเทศบาล เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 130(6) ส่วนเงินเพิ่มและภาษีบำรุงเทศบาลที่ถึงกำหนดชำระเกินกว่า 6 เดือน อยู่ในลำดับที่จะได้รับชำระหนี้ตามมาตรา 130(8)
ภาษีอากรถึงกำหนดชำระภายใน 6 เดือน ก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 130(6) นั้นคือ ภาษีอากรที่ถึงกำหนดชำระระหว่าง 6 เดือน ก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์นั่นเอง มิได้รวมถึงภาษีอากรที่ได้ถึงกำหนดชำระเกินกว่า 6 เดือนก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แต่อย่างใด หนี้ภาษีการค้าที่ลูกค้าติดค้างอยู่ถึงกำหนดชำระเกินกว่า 6 เดือนก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 130(6) คงมีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ตามมาตรา 130(8) เท่านั้น
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 84, 85 ทวิ กำหนดให้ผู้ประกอบการค้ายื่นแบบแสดงรายการการค้าแต่ละเดือนภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไปมาตรา 86 กำหนดให้ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้าชำระภาษีภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 85 ทวิ และมาตรา 89 ทวิ วรรคสามบัญญัติว่า การคำนวณเงินเพิ่ม ฯลฯ ให้เริ่มนับเมื่อพ้นสิบห้าวันถัดจากเดือนภาษี ซึ่งหมายความว่าเงินเพิ่มนั้นจะเริ่มคิดคำนวณทันทีหลังจากที่ลูกหนี้ไม่ชำระภาษีการค้าภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป หาใช่นับแต่ภายหลังที่เจ้าหนี้ได้แจ้งการประเมินภาษีไปยังลูกหนี้ แล้วลูกหนี้ไม่ชำระภาษีภายในกำหนด 30 วัน นับแต่เจ้าหนี้แจ้งการประเมินไม่ ฉะนั้นแม้เจ้าหนี้เพิ่งแจ้งการประเมินภายหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว ลูกหนี้ก็ยังคงต้องรับผิดในเงินเพิ่มดังกล่าว
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89 ตรี บัญญัติว่า เบี้ยปรับและเงินเพิ่มให้ถือว่าเป็นเงินภาษี และมาตรา 89 ทวิ บัญญัติให้เสียเงินเพิ่มร้อยละ 1 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ ฉะนั้น เงินเพิ่มที่เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้จึงต้องแยกพิจารณาเป็น 2 ตอน เงินเพิ่มสำหรับระยะเวลา 6 เดือนก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ รวมทั้งภาษีบำรุงเทศบาล เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 130(6) ส่วนเงินเพิ่มและภาษีบำรุงเทศบาลที่ถึงกำหนดชำระเกินกว่า 6 เดือน อยู่ในลำดับที่จะได้รับชำระหนี้ตามมาตรา 130(8)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 41/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ภาษีและเงินเพิ่มในคดีล้มละลาย: สิทธิเรียกร้องและการลำดับการชำระหนี้
"เงินเพิ่ม" ประมวลรัษฎากร มาตรา 89 ตรี ให้ถือว่าเป็นเงินภาษี และ ถือว่าได้เกิดขึ้นแล้วพร้อมกับหนี้ภาษีการค้า เมื่อกรมสรรพากรมีสิทธิได้รับชำระหนี้ภาษีการค้าก็ย่อมมีสิทธิได้รับชำระเงินเพิ่มด้วย แม้ว่ามูลหนี้ภาษีการค้าจะเกิดขึ้นก่อนผู้ประกอบการค้าถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ และเจ้าพนักงานประเมินจะมิได้แจ้งการประเมินไปยังผู้ประกอบการค้าก็ตาม (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่1826/2511)
ห้างจำเลยและผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์และพิพากษาให้ล้มละลาย กรมสรรพากรยื่นคำขอรับชำระหนี้ค่าภาษีการค้าซึ่งห้างจำเลยค้างชำระในฐานะหนี้บุริมสิทธิ (ลำดับ 6) ศาลชั้นต้นสั่งให้ได้รับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของผู้เป็นหุ้นส่วนเท่านั้น เพราะกรมสรรพากรมิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของห้างจำเลยภายในกำหนด กรมสรรพากรมิได้อุทธรณ์โต้แย้งการที่กรมสรรพากรจะมีสิทธิได้รับชำระหนี้ในลำดับใด ต้องถือวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ผู้เป็นหุ้นส่วนเป็นเกณฑ์พิจารณา จะถือเอาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ห้างจำเลย ซึ่งศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้กรมสรรพากรได้รับชำระหนี้เป็นยุติไปแล้วมาเป็นเกณฑ์หาได้ไม่ เมื่อปรากฏว่าหนี้ค่าภาษีการค้าที่ขอรับชำระหนี้ ถึงกำหนดชำระเกินกว่าหกเดือนก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ผู้เป็นหุ้นส่วนกรมสรรพากรย่อมไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้ดังกล่าวจากกองทรัพย์สินของผู้เป็นหุ้นส่วนในลำดับ 6 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 130 คงมีสิทธิได้รับชำระหนี้ในฐานะหนี้อื่นๆ ตามลำดับ 8 เท่านั้น
ห้างจำเลยและผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์และพิพากษาให้ล้มละลาย กรมสรรพากรยื่นคำขอรับชำระหนี้ค่าภาษีการค้าซึ่งห้างจำเลยค้างชำระในฐานะหนี้บุริมสิทธิ (ลำดับ 6) ศาลชั้นต้นสั่งให้ได้รับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของผู้เป็นหุ้นส่วนเท่านั้น เพราะกรมสรรพากรมิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของห้างจำเลยภายในกำหนด กรมสรรพากรมิได้อุทธรณ์โต้แย้งการที่กรมสรรพากรจะมีสิทธิได้รับชำระหนี้ในลำดับใด ต้องถือวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ผู้เป็นหุ้นส่วนเป็นเกณฑ์พิจารณา จะถือเอาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ห้างจำเลย ซึ่งศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้กรมสรรพากรได้รับชำระหนี้เป็นยุติไปแล้วมาเป็นเกณฑ์หาได้ไม่ เมื่อปรากฏว่าหนี้ค่าภาษีการค้าที่ขอรับชำระหนี้ ถึงกำหนดชำระเกินกว่าหกเดือนก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ผู้เป็นหุ้นส่วนกรมสรรพากรย่อมไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้ดังกล่าวจากกองทรัพย์สินของผู้เป็นหุ้นส่วนในลำดับ 6 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 130 คงมีสิทธิได้รับชำระหนี้ในฐานะหนี้อื่นๆ ตามลำดับ 8 เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 756/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับการชำระหนี้ค่าฤชาธรรมเนียม: แยกค่าธรรมเนียมที่จ่ายให้รัฐกับเงินทดแทนเจ้าหนี้
ค่าฤชาธรรมเนียมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 329 นั้น หมายถึง ค่าฤชาธรรมเนียมที่ลูกหนี้จะต้องใช้ให้แก่รัฐส่วนจำนวนเงินที่ลูกหนี้จะต้องใช้แทนเจ้าหนี้สำหรับค่าฤชาธรรมเนียมที่เจ้าหนี้ได้เสียให้แก่รัฐไปแล้วนั้น แม้จะเรียกว่าเป็นค่าฤชาธรรมเนียม แต่แท้จริงก็เป็นจำนวนเงินที่ใช้แทนกันตามธรรมดา หาใช่ค่าฤชาธรรมเนียมอันลูกหนี้จะต้องเสียให้แก่รัฐไม่ จึงถือได้ว่าเป็นหนี้จำนวนหนึ่งอันลูกหนี้จะต้องใช้ให้แก่เจ้าหนี้ตามธรรมดานั่นเอง
ในกรณีที่มีเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหลายคน การเฉลี่ยส่วนได้ของเจ้าหนี้ได้มีวิธีการกำหนดไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 319 ว่า เมื่อหักค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดีไว้แล้ว ก็ให้ชำระหนี้ที่มีบุริมสิทธิเสียก่อน แล้วจึงเฉลี่ยตามส่วนของหนี้สินให้แก่เจ้าหนี้ที่ขอเฉลี่ย เมื่อค่าฤชาธรรมเนียมในการฟ้องคดีของเจ้าหนี้ไม่เป็นหนี้มีบุริมสิทธิ จึงต้องรวมเฉลี่ยให้เช่นเดียวกับหนี้สินธรรมดา
ในกรณีที่มีเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหลายคน การเฉลี่ยส่วนได้ของเจ้าหนี้ได้มีวิธีการกำหนดไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 319 ว่า เมื่อหักค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดีไว้แล้ว ก็ให้ชำระหนี้ที่มีบุริมสิทธิเสียก่อน แล้วจึงเฉลี่ยตามส่วนของหนี้สินให้แก่เจ้าหนี้ที่ขอเฉลี่ย เมื่อค่าฤชาธรรมเนียมในการฟ้องคดีของเจ้าหนี้ไม่เป็นหนี้มีบุริมสิทธิ จึงต้องรวมเฉลี่ยให้เช่นเดียวกับหนี้สินธรรมดา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1045/2484
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับชำระหนี้, หนี้ร่วม, ความรับผิดภริยา, หนี้นอกกำหนด, การหักชำระหนี้
มีหนี้หลายรายที่ไม่มีกำหนดชำระ แต่มีรายหนึ่งที่มีกำหนดต้องถือว่าหนี้ที่มีกำหนดชำระถึงกำหนดชำระก่อนรายอื่นเพราะรายอื่นจะถือว่าผิดนัดต่อเมื่อได้ให้คำเตือนแล้วหนี้หลายรายลูกหนี้ชำระโดยไม่ระบุว่าชำระรายใดต้องเอาชำระรายที่ถึงกำหนดก่อน ถ้าถึงกำหนดพร้อมกันต้องเอาชำระหนี้รายที่ตกหนักแก่ลูกหนี้ก่อน หนี้สินซึ่งสามีก่อขึ้นก่อนใช้ประมวลแพ่ง ฯ บรรถ 5 นั้น ภริยาต้องรับผิดร่วมด้วย หนี้สินซึ่งสามีก่อขึ้นภายหลังวันใช้ประมวลแพ่ง ฯ บรรพ 5 นั้น เจ้าหนี้จะต้องนำสืบให้ได้ความว่าเป็นหนี้ร่วม ภริยาจึงจะต้องรับผิด